ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ ๒๑ ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน
ปรีดี พยมยงค์
ปรีดี พยมยงค์
บทที่ ๔ สยาม ราชอาณาจักรใต้ดิน
-๖-
สำหรับรัฐบาลจีนโดยการนำของจอมพลเจียงไคเช็ค ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายคอมมิวนิสต์เองรับรองว่า เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศจีนในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น ขบวนการเสรีไทยได้ส่งผู้แทนไปเจรจา ๓ ครั้ง เรื่องความเป็นเอกราชของสยาม และขอให้คณะผู้แทนของขบวนการฯ ผ่านประเทศจีน เพื่อไปติดต่อกับประเทศสัมพันธมิตรอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น
รัฐบาลจีนได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่จีนชื่อ เหลียง (เกิดในเมืองไทย)เป็นผู้ดำเนินการเจรจากับคณะผู้แทนของขบวนการฯ เจ้าหน้าที่ผู้นี้ทำงานในหน่วยสืบราชการลับของรัฐบาลจีนและเป็นที่ไว้วางใจมาก อันที่จริงแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้นี้สนับสนุนฝ่ายคอมมิวนิสต์และได้เปิดเผยรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับจุดประสงค์ของข้ารัฐการชั้นสูงของจีนที่มีต่อสยาม(ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ เจ้าหน้าที่ผู้นี้ได้เดินทางไปยังกรุงปักกิ่งเพื่อเข้าร่วมกับฝ่ายคอมมิวนิสต์และเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ข้าพเจ้าในการเตรียมการเดินทางไปยังสาธารณรัฐราษฎรจีน)
รัฐบาลจีนไม่พอใจประเทศไทยมาก เพราะรัฐบาลจอมพลพิบูลฯ ไม่เพียงแต่จะส่งกองทหารไปยึดพื้นที่บริเวณตลอดชายแดนจีน-พม่า ที่ขึ้นกับอังกฤษเท่านั้น แต่ยังรับรองรัฐบาลหุ่นของมานจูกั๊วะ ที่ตั้งขึ้นภายใต้การบงการของญี่ปุ่นในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน (อดีตจักรพรรดิปูยี PU YI ซึ่งได้ถูกถอดจากราชบัลลังก์จีนโดยการอภิวัฒน์ชนชั้นเจ้าสมบัติในปี พ.ศ.๒๔๕๔ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นจักรพรรดิในรัฐใหม่แห่งนี้) นอกจากนี้ จอมพลพิบูลฯ ยังรองรับรัฐบาลวังจิงไว WANG Ching-wei ว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศจีนด้วย
รัฐบาลจีนได้ออกข่าวผ่านทางวิทยุกระจายเสียงและหนังสือพิมพ์ขู่ว่า จะบุกเข้าประเทศไทยจับตัวจอมพลพิบูลฯ และผู้สมรู้ร่วมคิดมาชำระคดีฐานเป็นอาชญากรสงคราม การเจรจาของเรากับรัฐบาลจีนจึงลำบากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องพยายามให้รัฐบาลจีนไม่ถือว่าประเทศสยามเป็นศัตรูและเคารพความเป็นเอกราชของสยามภายหลังที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ
การเดินทางของผู้แทนคนแรกของขบวนการฯ คือนายจำกัด พลางกูร ไม่อาจผ่านประเทศจีน เพื่อไปยังประเทศสัมพันธมิตรได้ เพราะติดขัดทางฝ่ายรัฐบาลจีน จึงทำให้เขาไม่สามารถปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงไปได้ การเดินทางครั้งนี้ประสบความลำบากมากมาย นายจำกัดฯ ได้เสียชีวิตลงที่นครจุงกิง ผู้แทนคนที่ ๒คือนายสงวน ตุลารักษ์ ได้รับความสะดวกขึ้นบ้างในการเดินทางไปอังกฤษและ ส.ร.อ.
คณะผู้แทนชุดที่ ๓ นำโดยนายถวิล อุดล สามารถประสานการทำงานระหว่างขบวนการฯของเรากับรัฐบาลจีนได้จนสิ้นสงคราม
ด้วยความพยายามของเราและด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาล ส.ร.อ.โดยประธานาธิบดีรูสเวลท์ รัฐบาลจีนยอมถือตามนโยบายของรัฐบาลอเมริกันในการเคารพความเป็นเอกราชของสยามภายหลังที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ นั้น จอมพลเจียงไคเช็คได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อบัญชาการสู้รบในประเทศจีนและในอินโดจีน หลังปี พ.ศ.๒๔๘๖ เจียงไคเช็คจึงได้รับผิดชอบการสู้รบเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น
แต่เนื่องจากเส้นแบ่งเขตทางภาคเหนือของเอเชียอาคเนย์ยังไม่แน่นอน เจียงไคเช็คพยายามขอให้สัมพันธมิตรยอมให้เขตแดนสยาม และอินโดจีนฝรั่งเศสเหนือเส้นขนานที่ ๑๖ อยู่ในเขตยุทธภูมิจีนที่เจียงไคเช็ครับผิดชอบอยู่ ข้าพเจ้าได้แสดงความวิตกกังวลในเรื่องนี้ต่อรัฐบาลอเมริกัน เนื่องจากถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรยินยอมตามเจียงไคเช็ค กลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลที่คลั่งชาติที่มีอยู่จำนวนมากในสยามย่อมฉวยโอกาสในขณะที่กองทัพจีนเข้ามาอยู่ในประเทศสยาม ก่อความวุ่นวายขึ้น
หลังการยอมจำนนของญี่ปุ่นใน พ.ศ.๒๔๘๘ เจียงไคเช็คได้ขอความเห็นจากสัมพันธมิตรว่า เขาจะส่งกองทัพเข้ามาปลดอาวุธญี่ปุ่นในเขตแดนสยามและอินโดจีนบริเวณเหนือเส้นขนานที่ ๑๖ ได้หรือไม่ ข้าพเจ้าได้ส่งโทรเลขไปถึงรัฐบาลอเมริกัน เพื่อชี้แจงว่า ขบวนการเสรีไทยพร้อมที่จะปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในดินแดนไทยเอง
ประธานาธิบดีทรูแมน ซึ่งรับตำแหน่งสืบต่อจากรูสเวลท์ ตระหนักดีถึงปัญหาชาวจีนโพ้นทะเลดังกล่าว จึงแต่งตั้งให้ผู้บัญชาการทหารอเมริกันที่รับผิดชอบด้านญี่ปุ่นเป็นผู้ออกคำสั่งให้กองกำลังทหารญี่ปุ่นในดินแดนสยามยอมจำนนต่อลอร์ดเมานท์แบทเตน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์
ส่วนเจียงไคเช็คนั้น ได้รับภาระให้ส่งกองทัพเข้าไปปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นทางตอนเหนือของอินโดจีนฝรั่งเศสเท่านั้น
สำหรับรัฐบาลจีนโดยการนำของจอมพลเจียงไคเช็ค ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายคอมมิวนิสต์เองรับรองว่า เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศจีนในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น ขบวนการเสรีไทยได้ส่งผู้แทนไปเจรจา ๓ ครั้ง เรื่องความเป็นเอกราชของสยาม และขอให้คณะผู้แทนของขบวนการฯ ผ่านประเทศจีน เพื่อไปติดต่อกับประเทศสัมพันธมิตรอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น
รัฐบาลจีนได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่จีนชื่อ เหลียง (เกิดในเมืองไทย)เป็นผู้ดำเนินการเจรจากับคณะผู้แทนของขบวนการฯ เจ้าหน้าที่ผู้นี้ทำงานในหน่วยสืบราชการลับของรัฐบาลจีนและเป็นที่ไว้วางใจมาก อันที่จริงแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้นี้สนับสนุนฝ่ายคอมมิวนิสต์และได้เปิดเผยรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับจุดประสงค์ของข้ารัฐการชั้นสูงของจีนที่มีต่อสยาม(ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ เจ้าหน้าที่ผู้นี้ได้เดินทางไปยังกรุงปักกิ่งเพื่อเข้าร่วมกับฝ่ายคอมมิวนิสต์และเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ข้าพเจ้าในการเตรียมการเดินทางไปยังสาธารณรัฐราษฎรจีน)
รัฐบาลจีนไม่พอใจประเทศไทยมาก เพราะรัฐบาลจอมพลพิบูลฯ ไม่เพียงแต่จะส่งกองทหารไปยึดพื้นที่บริเวณตลอดชายแดนจีน-พม่า ที่ขึ้นกับอังกฤษเท่านั้น แต่ยังรับรองรัฐบาลหุ่นของมานจูกั๊วะ ที่ตั้งขึ้นภายใต้การบงการของญี่ปุ่นในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน (อดีตจักรพรรดิปูยี PU YI ซึ่งได้ถูกถอดจากราชบัลลังก์จีนโดยการอภิวัฒน์ชนชั้นเจ้าสมบัติในปี พ.ศ.๒๔๕๔ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นจักรพรรดิในรัฐใหม่แห่งนี้) นอกจากนี้ จอมพลพิบูลฯ ยังรองรับรัฐบาลวังจิงไว WANG Ching-wei ว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศจีนด้วย
รัฐบาลจีนได้ออกข่าวผ่านทางวิทยุกระจายเสียงและหนังสือพิมพ์ขู่ว่า จะบุกเข้าประเทศไทยจับตัวจอมพลพิบูลฯ และผู้สมรู้ร่วมคิดมาชำระคดีฐานเป็นอาชญากรสงคราม การเจรจาของเรากับรัฐบาลจีนจึงลำบากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องพยายามให้รัฐบาลจีนไม่ถือว่าประเทศสยามเป็นศัตรูและเคารพความเป็นเอกราชของสยามภายหลังที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ
การเดินทางของผู้แทนคนแรกของขบวนการฯ คือนายจำกัด พลางกูร ไม่อาจผ่านประเทศจีน เพื่อไปยังประเทศสัมพันธมิตรได้ เพราะติดขัดทางฝ่ายรัฐบาลจีน จึงทำให้เขาไม่สามารถปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงไปได้ การเดินทางครั้งนี้ประสบความลำบากมากมาย นายจำกัดฯ ได้เสียชีวิตลงที่นครจุงกิง ผู้แทนคนที่ ๒คือนายสงวน ตุลารักษ์ ได้รับความสะดวกขึ้นบ้างในการเดินทางไปอังกฤษและ ส.ร.อ.
คณะผู้แทนชุดที่ ๓ นำโดยนายถวิล อุดล สามารถประสานการทำงานระหว่างขบวนการฯของเรากับรัฐบาลจีนได้จนสิ้นสงคราม
ด้วยความพยายามของเราและด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาล ส.ร.อ.โดยประธานาธิบดีรูสเวลท์ รัฐบาลจีนยอมถือตามนโยบายของรัฐบาลอเมริกันในการเคารพความเป็นเอกราชของสยามภายหลังที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ นั้น จอมพลเจียงไคเช็คได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อบัญชาการสู้รบในประเทศจีนและในอินโดจีน หลังปี พ.ศ.๒๔๘๖ เจียงไคเช็คจึงได้รับผิดชอบการสู้รบเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น
แต่เนื่องจากเส้นแบ่งเขตทางภาคเหนือของเอเชียอาคเนย์ยังไม่แน่นอน เจียงไคเช็คพยายามขอให้สัมพันธมิตรยอมให้เขตแดนสยาม และอินโดจีนฝรั่งเศสเหนือเส้นขนานที่ ๑๖ อยู่ในเขตยุทธภูมิจีนที่เจียงไคเช็ครับผิดชอบอยู่ ข้าพเจ้าได้แสดงความวิตกกังวลในเรื่องนี้ต่อรัฐบาลอเมริกัน เนื่องจากถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรยินยอมตามเจียงไคเช็ค กลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลที่คลั่งชาติที่มีอยู่จำนวนมากในสยามย่อมฉวยโอกาสในขณะที่กองทัพจีนเข้ามาอยู่ในประเทศสยาม ก่อความวุ่นวายขึ้น
หลังการยอมจำนนของญี่ปุ่นใน พ.ศ.๒๔๘๘ เจียงไคเช็คได้ขอความเห็นจากสัมพันธมิตรว่า เขาจะส่งกองทัพเข้ามาปลดอาวุธญี่ปุ่นในเขตแดนสยามและอินโดจีนบริเวณเหนือเส้นขนานที่ ๑๖ ได้หรือไม่ ข้าพเจ้าได้ส่งโทรเลขไปถึงรัฐบาลอเมริกัน เพื่อชี้แจงว่า ขบวนการเสรีไทยพร้อมที่จะปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในดินแดนไทยเอง
ประธานาธิบดีทรูแมน ซึ่งรับตำแหน่งสืบต่อจากรูสเวลท์ ตระหนักดีถึงปัญหาชาวจีนโพ้นทะเลดังกล่าว จึงแต่งตั้งให้ผู้บัญชาการทหารอเมริกันที่รับผิดชอบด้านญี่ปุ่นเป็นผู้ออกคำสั่งให้กองกำลังทหารญี่ปุ่นในดินแดนสยามยอมจำนนต่อลอร์ดเมานท์แบทเตน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์
ส่วนเจียงไคเช็คนั้น ได้รับภาระให้ส่งกองทัพเข้าไปปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นทางตอนเหนือของอินโดจีนฝรั่งเศสเท่านั้น
No comments:
Post a Comment