บัณฑิตทางประวัติศาสตร์อังกฤษได้ยกตัวอย่างสถาบันเรื่อง “ฐานันดร” และสถาบันที่เรียกว่า “ฐานันดร” ในอังกฤษมีอยู่สามฐานันดร ได้แก่ พวกพระ พวกขุนนาง และพวกสามัญชน แม้ว่าสถาบันฐานันดรทั้งสามนี้ยังคงมีอยู่ตามแบบพิธีแบ่งสถาบันออกเป็นสภาขุนนางและสภาสามัญชนก็ดี แต่การกำหนดฐานันดรนี้ก็ได้สูญเสียความสำคัญไปหมดแล้ว พร้อมกับที่ระบบศักดินาได้ถูกกวาดล้างไป และได้มีการแบ่งแยกกันใหม่เกิดขึ้นในสังคม คือชนชั้นของพวกนายทุนหรือเจ้าสมบัติกับชนชั้นของพวกคนงาน
ในฝรั่งเศสไม่มีการแบ่งแยกในเรื่อง ฐานันดร เหลือร่องรอยอยู่เลย และในอเมริกาสิ่งที่เรียกว่า ฐานันดร นี้ไม่เคยได้ยินกันเลย เพราะว่าในสมัยที่อเมริกาเติบโตขึ้นมา ระบบศักดินาแทบจะสูญไปหมดแล้ว
อะไรเล่าที่ทำให้เกิดขึ้นและแล้วได้สลายไปซึ่งความคิดและสถาบันดังกล่าวนั้น บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ได้ชี้ไว้ว่า ในที่ทุกหนทุกแห่งและทุกกาลสมัย ความคิดและสถาบันต่างๆ ย่อมจะบังเกิดขึ้นจากความคิดความประพฤติของผู้คนนั่นเอง ความประพฤติข้อแรกได้แก่การผลิตสิ่งที่เป็นเครื่องยังชีพ อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งหม่ และที่อยู่อาศัย ในหมู่ชนที่รวบรวมกันเป็นสังคมที่เป็นมาในประวัติศาสตร์ทุกกาลสมัย นับตั้งแต่สังคมชาติกุลในยุคดึกดำบรรพ์ สังคมทาส สังคมศักดินา และสังคมยุคทุนนิยมสมัยปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกและกลุ่มชนเหล่านั้นขึ้นอยู่แก่แบบหรือรูปแบบของการผลิตในสังคมนั้น สถาบันต่างๆ หาได้รับการคิดค้นสร้างขึ้นไว้ล่วงหน้าไม่ แต่ได้กำเนิดเติบโตขึ้นมาจากความประพฤติที่เป็นขนบธรรมประเพณีของกลุ่มชนนั้นๆ สถาบันก็ดี, กฎหมายก็ดี หลักแห่งศีลธรรมจรรยาก็ดี และความคิดอย่างอื่นๆ ก็ดี เพียงแต่ปรากฎเป็นรูปร่างออกมาจากขนบธรรมเนียมประเพณีเหล่านั้นเท่านั้น และประเพณีนั้นเล่าก็สัมพันธ์อยู่โดยตรงกับแบบของการผลิตที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
พูดให้สั้นก็คือ สถาบันต่างๆ เป็นผลและเป็นสิ่งผูกพันอยู่กับแบบการผลิต สถาบันและความคิดต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยเป็นอิสระแก่ตนเอง
เพราะฉะนั้น ผลต่อไปจึงเป็นว่า เมื่อแบบการผลิตได้เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้นว่า ได้เปลี่ยนแปลงจากแบบการผลิตของระบบเศรษฐกิจศักดินา ไปสู่การผลิตของระบบเศรษฐกิจนายทุน สถาบันและความคิดต่างๆ จึงได้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย สิ่งที่เคยนับถือกันว่าชอบด้วยศีลธรรมจรรยาของยุคหนึ่ง ก็ได้กลายเป็นสิ่งที่ฝ่าฝืนศีลธรรมจรรยาของอีกยุคหนึ่ง และในทางกลับกัน สิ่งที่ฝ่าฝืนศีลธรรมจรรยาของยุคหนึ่งก็ได้กลายเป็นสิ่งที่ชอบด้วยศีลธรรมของอีกยุคหนึ่ง และการณ์ก็เป็นไปตามธรรมชาติของมันในข้อที่ว่า เมื่อการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุบังเกิดขึ้น การขัดกันในรูปความคิดต่างๆ ก็จะเป็นผลติดตามมา สถาบันต่างๆ ที่มีอยู่เดิมก็จะพลันประสบความสั่นสะเทือน
ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้นเริ่มมาตั้งแต่การอุบัติขึ้นของชนชั้นทีเดียว นั่นคือ เริ่มมาตั้งแต่ยุคทาส กล่าวคือ เมื่อพวกทาสได้รับการกดขี่ข่มเหงจากนายทาสจนอยูในภาวะที่เรียกว่าสุดแสนจะทนทานได้ พวกทาสจึงได้ลุกขึ้นต่อสู้กับชนชั้นนายทาสหลายครั้งหลายหน
อย่างในกรณีที่มีชื่อเสียงโด่งดังของสปาตาคัส ซึ่งได้รวบรวมกองทัพทาสขึ้นต่อสู้กับพวกนายทาสอย่างองอาจกล้าหาญแต่ทว่าก็ต้องล้มเหลวลง เพราะว่าพวกเขาไม่มีจุดหมายปลายทางอันแน่นอนพวกเขาขาดการจัดตั้งอันเข้มแข็งเพื่อเป็นองค์การนำในการต่อสู้ของเขา และประการสุดท้ายและที่สำคัญยิ่งก็คือ การรวมกลุ่มของพวกเขาไม่เป็นเอกภาพ
แต่อย่างไรก็ดี จากการลุกขึ้นดิ้นรนต่อสู้ของพวกทาสหลายครั้งหลายหนยังผลทำให้ระบบสั่นสะเทือน และในที่สุดก็พังทะลายลงพร้อมกับที่สังคมศักดินาได้เข้ามาแทนที่ และในสังคมนี้ก็เช่นเดียวกับสังคมทาสในข้อที่ยังปรากฏชนชั้น ในเมื่อมีชนชั้นมันก็ย่อมหลีกหนีการกดขี่ขูดรีดไปไม่พ้น และดังนั้นการดิ้นรนต่อสู้ทางชนชั้นก็ดำเนินต่อไป นั่นคือการต่อสู้ของพวกเลก (ซึ่งกลายมาจากทาส) พวกไพร่กับพวกเจ้าศักดินา
ในประวัติศาสตร์ของแทบทุกประเทศ ได้ปรากฏการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างพวกเลกหรือไพร่กับพวกศักดินา และตลอดยุคศักดินาพวกไพร่พวกเลกได้ลุกฮือทำการปลดแอกศักดินาหลายครั้งหลายหน และในที่สุด ระบบศักดินาก็ถึงซึ่งกาลอวสานลงไปอีกเช่นเดียวกับระบบทาส และพร้อมกับการปรากฏตัวออกมาของระบบทุนนิยม และในระบบนี้ก็เช่นเดียวกับระบบก่อนๆ ที่การณ์ยังคงปรากฏอยู่ของชนชั้น และก็หลีกเลี่ยงจากการต่อสู้ดิ้นรนไปไม่พ้นเช่นเคย นั่นคือการต่อสู้ดิ้นรนของชนชั้นคนงานกับชนชั้นเจ้าสมบัติ หรือนัยหนึ่งชนชั้นผู้ถูกกดขี่ขูดรีดกับชนชั้นผู้กดขี่ขูดรีด
จะเห็นได้ว่าการต่อสู้ทางชนชั้นตั้งแต่ระบบทาสจนกระทั่งถึงระบบทุนนิยม ถึงแม้ว่าจะมีชื่อของชนชั้นแตกต่างกันก็ตาม แต่ทว่ามันก็มีเนื้อหาและความหมายอย่างเดียวกันนั่นเอง นั่นคือ การต่อสู้ของชนชั้นผู้ถูกกดขี่ขูดรีดกับชนชั้นผู้กดขี่ขูดรีด และแม้จะมีรูปแบบของการต่อสู้ดิ้นรนแตกต่างกันไปก็ตาม แต่ทว่าเนื้อหากของการต่อสู้ดิ้นรนแล้วก็เป็นอย่างเดียวกัน นั่นคือเพื่อแก่การปลดเปลื้องภาวะของการถูกกดขี่ขูดรีดออกไป
รูปการต่อสู้ดิ้นรนของชนชั้นขั้นมูลฐานที่สุด คือการดิ้นรนต่อสู้เพื่ออำนาจทางการเมือง ซึ่งในกรณีแห่งการดิ้นรนต่อสู้ของชนชั้นคนงานในทุกวันนี้ เป็นการดิ้นรนต่อสู้เพื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของประชาชน นี่คือเงื่อนไขอันจำเป็นที่จะให้ได้มาก่อน เพื่อปลดปล่อยชนชั้นคนงานและสังคมทั้งหลายให้พ้นจากการถูกขูดรีด
เมื่อได้สถาปนาระบอบประชาธิปไตยของประชาชนขึ้นแล้ว การดิ้นรนต่อสู้ของชนชั้นก็หาได้สิ้นสุดลงไม่ หากเป็นการดิ้นรนต่อสู้ในรูปใหม่ แต่ทว่าจุดมุ่งหมายปลายทางและท้ายที่สุดนั้น ก็คือการเลิกล้มการดิ้นรนต่อสู้ของชนชั้น โดยการขจัดเสียซึ่งชนชั้น ทั้งนี้เป็นการยกระดับสังคมขึ้นไปสู่ระดับใหม่คือระดับที่สูงขึ้นไป นั่นคือ สังคมที่ส่วนรวมได้รับผลดีและส่วนตัวของแต่ละคนก็ได้รับผลดีด้วย และนั่นคือ สังคมคอมมิวนิสต์หรือสังคมพระศรีอาริย์
การต่อสู้ทางชนชั้นนั้นจะไม่สะดุดยุติลง ตราบที่ปรากฏยังมีชนชั้นอยู่ในสังคม การต่อสู้วันนี้อาจจะอ่อนแอและยืดเยื้อ แต่วันหน้าอาจจะแข็งแกร่งและรวดเร็วก็ได้ ในเมื่อพลังการต่อสู้ของประชาชนผู้ถูกกดขี่ขูดรีดได้หลอมตัวเข้าเป็นเอกภาพ
อนึ่ง เกี่ยวกับการต่อสู้ทางชนชั้น นักโฆษณาชวนเชื่อของระบบทุนนิยมได้กล่าวหาว่านักลัทธิมาร์กซ์-ลัทธิเลนินเป็นผู้ปลุกระดมให้มีการต่อสู้ทางชนชั้น หรือนัยหนึ่งการต่อสู้ทางชนชั้นเป็นประดิษฐกรรมของนักลัทธิมาร์กซ์ ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไร้สาระ เพราะดังที่กล่าวแล้วในตอนต้นว่าการต่อสู้ทางชนชั้น ได้อุบัติขึ้นครั้งแรกเมื่อมีการแบ่งคนในสังคมเดียวกันออกเป็นชนชั้น ตั้งแต่ในยุคครองทาสนั้นแล้วและสืบต่อกันมาจนบัดนี้ และผู้ที่ก่อให้เกิดการแบ่งชนชั้นขึ้นในสังคมก็หาใช่ใครที่ไหนไม่ ก็คือ เจ้าทาสผู้กดขี่ขูดรีดขั้นปฐมภูมินั่นเอง และต่อมากืคือเจ้าศักดินาในยุคศักดินา และเจ้าสมบัติหรือนายทุนในยุคทุนนิยมปัจจุบัน
มาร์กซ์ปฐมาจารย์แห่งลัทธิคอมมิวนิสม์ เป็นแต่เพียงชี้ให้เห็นและชี้แนวทางในการต่อสู้เพื่อยกเลิกการแบ่งชนชั้นเท่านั้น และนักลัทธิมาร์กซ์-ลัทธิเลนินเพียงแต่เดินตามหนทางแห่งการต่อสู้ทางชนชั้นที่มาร์กซ์ชี้แนวไว้เท่านั้น และจากการต่อสู้ทางชนชั้น พรรคแห่งลัทธิมาร์กซ์-ลัทธิเลนินก็จะได้เข้ากุมอำนาจรัฐและใช้อำนาจเผด็จการนำพารัฐ เรียกว่าเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ (เผด็จการต่อนายทุน)เพื่อนำไปสู่การยุติแห่งการต่อสู้ทางชนชั้นในที่สุด.
ในฝรั่งเศสไม่มีการแบ่งแยกในเรื่อง ฐานันดร เหลือร่องรอยอยู่เลย และในอเมริกาสิ่งที่เรียกว่า ฐานันดร นี้ไม่เคยได้ยินกันเลย เพราะว่าในสมัยที่อเมริกาเติบโตขึ้นมา ระบบศักดินาแทบจะสูญไปหมดแล้ว
อะไรเล่าที่ทำให้เกิดขึ้นและแล้วได้สลายไปซึ่งความคิดและสถาบันดังกล่าวนั้น บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ได้ชี้ไว้ว่า ในที่ทุกหนทุกแห่งและทุกกาลสมัย ความคิดและสถาบันต่างๆ ย่อมจะบังเกิดขึ้นจากความคิดความประพฤติของผู้คนนั่นเอง ความประพฤติข้อแรกได้แก่การผลิตสิ่งที่เป็นเครื่องยังชีพ อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งหม่ และที่อยู่อาศัย ในหมู่ชนที่รวบรวมกันเป็นสังคมที่เป็นมาในประวัติศาสตร์ทุกกาลสมัย นับตั้งแต่สังคมชาติกุลในยุคดึกดำบรรพ์ สังคมทาส สังคมศักดินา และสังคมยุคทุนนิยมสมัยปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกและกลุ่มชนเหล่านั้นขึ้นอยู่แก่แบบหรือรูปแบบของการผลิตในสังคมนั้น สถาบันต่างๆ หาได้รับการคิดค้นสร้างขึ้นไว้ล่วงหน้าไม่ แต่ได้กำเนิดเติบโตขึ้นมาจากความประพฤติที่เป็นขนบธรรมประเพณีของกลุ่มชนนั้นๆ สถาบันก็ดี, กฎหมายก็ดี หลักแห่งศีลธรรมจรรยาก็ดี และความคิดอย่างอื่นๆ ก็ดี เพียงแต่ปรากฎเป็นรูปร่างออกมาจากขนบธรรมเนียมประเพณีเหล่านั้นเท่านั้น และประเพณีนั้นเล่าก็สัมพันธ์อยู่โดยตรงกับแบบของการผลิตที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
พูดให้สั้นก็คือ สถาบันต่างๆ เป็นผลและเป็นสิ่งผูกพันอยู่กับแบบการผลิต สถาบันและความคิดต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยเป็นอิสระแก่ตนเอง
เพราะฉะนั้น ผลต่อไปจึงเป็นว่า เมื่อแบบการผลิตได้เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้นว่า ได้เปลี่ยนแปลงจากแบบการผลิตของระบบเศรษฐกิจศักดินา ไปสู่การผลิตของระบบเศรษฐกิจนายทุน สถาบันและความคิดต่างๆ จึงได้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย สิ่งที่เคยนับถือกันว่าชอบด้วยศีลธรรมจรรยาของยุคหนึ่ง ก็ได้กลายเป็นสิ่งที่ฝ่าฝืนศีลธรรมจรรยาของอีกยุคหนึ่ง และในทางกลับกัน สิ่งที่ฝ่าฝืนศีลธรรมจรรยาของยุคหนึ่งก็ได้กลายเป็นสิ่งที่ชอบด้วยศีลธรรมของอีกยุคหนึ่ง และการณ์ก็เป็นไปตามธรรมชาติของมันในข้อที่ว่า เมื่อการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุบังเกิดขึ้น การขัดกันในรูปความคิดต่างๆ ก็จะเป็นผลติดตามมา สถาบันต่างๆ ที่มีอยู่เดิมก็จะพลันประสบความสั่นสะเทือน
ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้นเริ่มมาตั้งแต่การอุบัติขึ้นของชนชั้นทีเดียว นั่นคือ เริ่มมาตั้งแต่ยุคทาส กล่าวคือ เมื่อพวกทาสได้รับการกดขี่ข่มเหงจากนายทาสจนอยูในภาวะที่เรียกว่าสุดแสนจะทนทานได้ พวกทาสจึงได้ลุกขึ้นต่อสู้กับชนชั้นนายทาสหลายครั้งหลายหน
อย่างในกรณีที่มีชื่อเสียงโด่งดังของสปาตาคัส ซึ่งได้รวบรวมกองทัพทาสขึ้นต่อสู้กับพวกนายทาสอย่างองอาจกล้าหาญแต่ทว่าก็ต้องล้มเหลวลง เพราะว่าพวกเขาไม่มีจุดหมายปลายทางอันแน่นอนพวกเขาขาดการจัดตั้งอันเข้มแข็งเพื่อเป็นองค์การนำในการต่อสู้ของเขา และประการสุดท้ายและที่สำคัญยิ่งก็คือ การรวมกลุ่มของพวกเขาไม่เป็นเอกภาพ
แต่อย่างไรก็ดี จากการลุกขึ้นดิ้นรนต่อสู้ของพวกทาสหลายครั้งหลายหนยังผลทำให้ระบบสั่นสะเทือน และในที่สุดก็พังทะลายลงพร้อมกับที่สังคมศักดินาได้เข้ามาแทนที่ และในสังคมนี้ก็เช่นเดียวกับสังคมทาสในข้อที่ยังปรากฏชนชั้น ในเมื่อมีชนชั้นมันก็ย่อมหลีกหนีการกดขี่ขูดรีดไปไม่พ้น และดังนั้นการดิ้นรนต่อสู้ทางชนชั้นก็ดำเนินต่อไป นั่นคือการต่อสู้ของพวกเลก (ซึ่งกลายมาจากทาส) พวกไพร่กับพวกเจ้าศักดินา
ในประวัติศาสตร์ของแทบทุกประเทศ ได้ปรากฏการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างพวกเลกหรือไพร่กับพวกศักดินา และตลอดยุคศักดินาพวกไพร่พวกเลกได้ลุกฮือทำการปลดแอกศักดินาหลายครั้งหลายหน และในที่สุด ระบบศักดินาก็ถึงซึ่งกาลอวสานลงไปอีกเช่นเดียวกับระบบทาส และพร้อมกับการปรากฏตัวออกมาของระบบทุนนิยม และในระบบนี้ก็เช่นเดียวกับระบบก่อนๆ ที่การณ์ยังคงปรากฏอยู่ของชนชั้น และก็หลีกเลี่ยงจากการต่อสู้ดิ้นรนไปไม่พ้นเช่นเคย นั่นคือการต่อสู้ดิ้นรนของชนชั้นคนงานกับชนชั้นเจ้าสมบัติ หรือนัยหนึ่งชนชั้นผู้ถูกกดขี่ขูดรีดกับชนชั้นผู้กดขี่ขูดรีด
จะเห็นได้ว่าการต่อสู้ทางชนชั้นตั้งแต่ระบบทาสจนกระทั่งถึงระบบทุนนิยม ถึงแม้ว่าจะมีชื่อของชนชั้นแตกต่างกันก็ตาม แต่ทว่ามันก็มีเนื้อหาและความหมายอย่างเดียวกันนั่นเอง นั่นคือ การต่อสู้ของชนชั้นผู้ถูกกดขี่ขูดรีดกับชนชั้นผู้กดขี่ขูดรีด และแม้จะมีรูปแบบของการต่อสู้ดิ้นรนแตกต่างกันไปก็ตาม แต่ทว่าเนื้อหากของการต่อสู้ดิ้นรนแล้วก็เป็นอย่างเดียวกัน นั่นคือเพื่อแก่การปลดเปลื้องภาวะของการถูกกดขี่ขูดรีดออกไป
รูปการต่อสู้ดิ้นรนของชนชั้นขั้นมูลฐานที่สุด คือการดิ้นรนต่อสู้เพื่ออำนาจทางการเมือง ซึ่งในกรณีแห่งการดิ้นรนต่อสู้ของชนชั้นคนงานในทุกวันนี้ เป็นการดิ้นรนต่อสู้เพื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของประชาชน นี่คือเงื่อนไขอันจำเป็นที่จะให้ได้มาก่อน เพื่อปลดปล่อยชนชั้นคนงานและสังคมทั้งหลายให้พ้นจากการถูกขูดรีด
เมื่อได้สถาปนาระบอบประชาธิปไตยของประชาชนขึ้นแล้ว การดิ้นรนต่อสู้ของชนชั้นก็หาได้สิ้นสุดลงไม่ หากเป็นการดิ้นรนต่อสู้ในรูปใหม่ แต่ทว่าจุดมุ่งหมายปลายทางและท้ายที่สุดนั้น ก็คือการเลิกล้มการดิ้นรนต่อสู้ของชนชั้น โดยการขจัดเสียซึ่งชนชั้น ทั้งนี้เป็นการยกระดับสังคมขึ้นไปสู่ระดับใหม่คือระดับที่สูงขึ้นไป นั่นคือ สังคมที่ส่วนรวมได้รับผลดีและส่วนตัวของแต่ละคนก็ได้รับผลดีด้วย และนั่นคือ สังคมคอมมิวนิสต์หรือสังคมพระศรีอาริย์
การต่อสู้ทางชนชั้นนั้นจะไม่สะดุดยุติลง ตราบที่ปรากฏยังมีชนชั้นอยู่ในสังคม การต่อสู้วันนี้อาจจะอ่อนแอและยืดเยื้อ แต่วันหน้าอาจจะแข็งแกร่งและรวดเร็วก็ได้ ในเมื่อพลังการต่อสู้ของประชาชนผู้ถูกกดขี่ขูดรีดได้หลอมตัวเข้าเป็นเอกภาพ
อนึ่ง เกี่ยวกับการต่อสู้ทางชนชั้น นักโฆษณาชวนเชื่อของระบบทุนนิยมได้กล่าวหาว่านักลัทธิมาร์กซ์-ลัทธิเลนินเป็นผู้ปลุกระดมให้มีการต่อสู้ทางชนชั้น หรือนัยหนึ่งการต่อสู้ทางชนชั้นเป็นประดิษฐกรรมของนักลัทธิมาร์กซ์ ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไร้สาระ เพราะดังที่กล่าวแล้วในตอนต้นว่าการต่อสู้ทางชนชั้น ได้อุบัติขึ้นครั้งแรกเมื่อมีการแบ่งคนในสังคมเดียวกันออกเป็นชนชั้น ตั้งแต่ในยุคครองทาสนั้นแล้วและสืบต่อกันมาจนบัดนี้ และผู้ที่ก่อให้เกิดการแบ่งชนชั้นขึ้นในสังคมก็หาใช่ใครที่ไหนไม่ ก็คือ เจ้าทาสผู้กดขี่ขูดรีดขั้นปฐมภูมินั่นเอง และต่อมากืคือเจ้าศักดินาในยุคศักดินา และเจ้าสมบัติหรือนายทุนในยุคทุนนิยมปัจจุบัน
มาร์กซ์ปฐมาจารย์แห่งลัทธิคอมมิวนิสม์ เป็นแต่เพียงชี้ให้เห็นและชี้แนวทางในการต่อสู้เพื่อยกเลิกการแบ่งชนชั้นเท่านั้น และนักลัทธิมาร์กซ์-ลัทธิเลนินเพียงแต่เดินตามหนทางแห่งการต่อสู้ทางชนชั้นที่มาร์กซ์ชี้แนวไว้เท่านั้น และจากการต่อสู้ทางชนชั้น พรรคแห่งลัทธิมาร์กซ์-ลัทธิเลนินก็จะได้เข้ากุมอำนาจรัฐและใช้อำนาจเผด็จการนำพารัฐ เรียกว่าเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ (เผด็จการต่อนายทุน)เพื่อนำไปสู่การยุติแห่งการต่อสู้ทางชนชั้นในที่สุด.
จากหนังสือ ปทานานุกรมการเมือง ฉบับชาวบ้าน - สุพจน์ ด่านตระกูล
No comments:
Post a Comment