ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ ๒๑ ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน
ปรีดี พนมยงค์
ปรีดี พนมยงค์
บทที่ ๒ การเริ่มมีจิตสำนึกอภิวัฒน์ของข้าพเจ้า
-๒-
คนหนุ่มสาวส่วนหนึ่ง รวมทั้งข้าพเจ้าด้วย มีความเห็นอกเห็นใจอย่างยิ่งต่อผู้ที่ถูกลงโทษทางการเมืองเหล่านี้ พวกเราได้พูดคุยถึงเรื่องนี้กันบ่อยๆ ทั้งในโรงเรียนมัธยมและโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งข้าพเจ้าได้ลงทะเบียนเรียนในปี พ.ศ.๒๔๖๐ ต่อมาภายหลังการอภิวัฒน์ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ รัฐบาลประชาธิปไตยของเราได้คืนยศให้นักโทษการเมืองเหล่านี้ตามยศเดิมที่มีอยู่ก่อนที่ถูกคำพิพากษา อันเป็นเครื่องยืนยันถึงความเห็นอกเห็นใจที่เรามีต่อนักอภิวัฒน์รุ่นนั้น
ระหว่างที่ข้าพเจ้าศึกษาวิชากฎหมายนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่า มหาอำนาจต่างชาติถือสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือประเทศสยาม ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางทฤษฎีหรือทางปฏิบัติ คนในสังกัดมหาอำนาจเหล่านี้ ไม่ต้องขึ้นศาลไทย เพราะคดีที่มีคู่ความเป็นคนสังกัดต่างชาติเหล่านั้น จะต้องให้ศาลกงสุล หรือศาลคดีระหว่างประเทศตัดสิน ทั้งนี้เป็นไปตามสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคระหว่างชาติมหาอำนาจกับประเทศสยาม ในศาลคดีระหว่างประเทศ คำวินิจฉัยของผู้พิพากษาชาติยุโรปจะมีน้ำหนักมากกว่าคำวินิจฉัยของผู้พิพากษาชาวสยาม
ข้าพเจ้าไม่พอใจการใช้อำนาจอธิปไตยเช่นนี้เลย ข้าพเจ้าจึงได้ตัดสินใจที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราชของชาติอันสมบูรณ์ โดยมีอำนาจอธิปไตยของตนอย่างเต็มเปี่ยม ขณะเดียวกันข้าพเจ้าได้สังเกตความเป็นไปของราชสำนัก รวมทั้งการบริหารงานภายใต้ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และตั้งความปรารถนาไว้ว่า จักต้องก่อตั้งระบอบประชาธิปไตยขึ้นในประเทศของข้าพเจ้าให้จงได้ แม้ในตอนนั้นข้าพเจ้ายังไม่ทราบว่าจะทำได้อย่างไร
ในปี พ.ศ.๒๔๖๑ มีรายงานข่าวหลายกระแสที่ลงในหนังสือที่กรุงเทพฯ เกี่ยวกับการอภิวัฒน์ของกลุ่มบอลเชวิคในรัสเซีย สิ่งที่ข้าพเจ้าสนใจในครั้งนั้นคือ การล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระเจ้าซาร์ เหตุการณ์นี้ทำให้ข้าพเจ้าระลึกถึงคำพูดของครูข้าพเจ้าที่โรงเรียนมัธยมที่ว่า ระหว่างรัสเซียกับสยามประเทศใดจะล้มเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ก่อนกัน ในเมื่อประเทศรัสเซียล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ ข้าพเจ้าก็มีความหวังอย่างแรงกล้าว่า เหตุการณ์เช่นเดียวกันนี้คงจะเกิดขึ้นในสยาม
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้พูดคุยกับเพื่อนข้าพเจ้าคนหนึ่งอย่างลับๆ เพื่อหาวิธีที่จะทำให้เราได้บรรลุจุดประสงค์นี้ ด้วยเราตระหนักถึงบทเรียนของบรรดานักอภิวัฒน์ที่ถูกจับกุมในปี ร.ศ.๑๓๐ ว่าเกิดจากบุคคลหนึ่งซึ่งเป็นผู้ทรยศได้เปิดโปงแผนการดังกล่าวต่อรัฐบาล อย่างไรก็ตามเราก็ยังไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรจึงจะสามารถตั้งขบวนการอภิวัฒน์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดได้
คนหนุ่มสาวส่วนหนึ่ง รวมทั้งข้าพเจ้าด้วย มีความเห็นอกเห็นใจอย่างยิ่งต่อผู้ที่ถูกลงโทษทางการเมืองเหล่านี้ พวกเราได้พูดคุยถึงเรื่องนี้กันบ่อยๆ ทั้งในโรงเรียนมัธยมและโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งข้าพเจ้าได้ลงทะเบียนเรียนในปี พ.ศ.๒๔๖๐ ต่อมาภายหลังการอภิวัฒน์ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ รัฐบาลประชาธิปไตยของเราได้คืนยศให้นักโทษการเมืองเหล่านี้ตามยศเดิมที่มีอยู่ก่อนที่ถูกคำพิพากษา อันเป็นเครื่องยืนยันถึงความเห็นอกเห็นใจที่เรามีต่อนักอภิวัฒน์รุ่นนั้น
ระหว่างที่ข้าพเจ้าศึกษาวิชากฎหมายนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่า มหาอำนาจต่างชาติถือสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือประเทศสยาม ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางทฤษฎีหรือทางปฏิบัติ คนในสังกัดมหาอำนาจเหล่านี้ ไม่ต้องขึ้นศาลไทย เพราะคดีที่มีคู่ความเป็นคนสังกัดต่างชาติเหล่านั้น จะต้องให้ศาลกงสุล หรือศาลคดีระหว่างประเทศตัดสิน ทั้งนี้เป็นไปตามสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคระหว่างชาติมหาอำนาจกับประเทศสยาม ในศาลคดีระหว่างประเทศ คำวินิจฉัยของผู้พิพากษาชาติยุโรปจะมีน้ำหนักมากกว่าคำวินิจฉัยของผู้พิพากษาชาวสยาม
ข้าพเจ้าไม่พอใจการใช้อำนาจอธิปไตยเช่นนี้เลย ข้าพเจ้าจึงได้ตัดสินใจที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราชของชาติอันสมบูรณ์ โดยมีอำนาจอธิปไตยของตนอย่างเต็มเปี่ยม ขณะเดียวกันข้าพเจ้าได้สังเกตความเป็นไปของราชสำนัก รวมทั้งการบริหารงานภายใต้ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และตั้งความปรารถนาไว้ว่า จักต้องก่อตั้งระบอบประชาธิปไตยขึ้นในประเทศของข้าพเจ้าให้จงได้ แม้ในตอนนั้นข้าพเจ้ายังไม่ทราบว่าจะทำได้อย่างไร
ในปี พ.ศ.๒๔๖๑ มีรายงานข่าวหลายกระแสที่ลงในหนังสือที่กรุงเทพฯ เกี่ยวกับการอภิวัฒน์ของกลุ่มบอลเชวิคในรัสเซีย สิ่งที่ข้าพเจ้าสนใจในครั้งนั้นคือ การล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระเจ้าซาร์ เหตุการณ์นี้ทำให้ข้าพเจ้าระลึกถึงคำพูดของครูข้าพเจ้าที่โรงเรียนมัธยมที่ว่า ระหว่างรัสเซียกับสยามประเทศใดจะล้มเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ก่อนกัน ในเมื่อประเทศรัสเซียล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ ข้าพเจ้าก็มีความหวังอย่างแรงกล้าว่า เหตุการณ์เช่นเดียวกันนี้คงจะเกิดขึ้นในสยาม
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้พูดคุยกับเพื่อนข้าพเจ้าคนหนึ่งอย่างลับๆ เพื่อหาวิธีที่จะทำให้เราได้บรรลุจุดประสงค์นี้ ด้วยเราตระหนักถึงบทเรียนของบรรดานักอภิวัฒน์ที่ถูกจับกุมในปี ร.ศ.๑๓๐ ว่าเกิดจากบุคคลหนึ่งซึ่งเป็นผู้ทรยศได้เปิดโปงแผนการดังกล่าวต่อรัฐบาล อย่างไรก็ตามเราก็ยังไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรจึงจะสามารถตั้งขบวนการอภิวัฒน์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดได้
No comments:
Post a Comment