จากการเสวนาเนื่องในวาระครบรอบ ๗๕ ปี การอภิวัฒน์ไทย ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
หลังจากรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๙ การเปลี่ยนแปลงใหญ่เกิดขึ้น การเปลี่ยนธาตุเปลี่ยนสีของระบอบการปกครองก็ฉายแสงให้เห็นมากขึ้น ได้เกิดรัฐประหารขึ้นโดย พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นผู้นำรัฐประหาร หลวงกาจสงครามเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ แล้วก็แอบเก็บไว้ใต้ตุ่ม ตุ่มน้ำนั้นเป็นตุ่มแดง ก็เลยเรียกรัฐธรรมนูญฉบับนั้นว่า “รัฐธรรมนูญตุ่มแดง”
ในรัฐธรรมนูญนี้มีมาตราเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ โดยเพิ่มมาตราขึ้น มาตรา ๙ บอกว่า “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งอภิรัฐมนตรี เป็นตำแหน่ง สำหรับถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน” มีคำใหม่เกิดขึ้นคำหนึ่ง คือ คำว่า อภิรัฐมนตรี
หลังจากนั้นก็มีรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.๒๔๙๒ สืบต่อจากรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มนั่นเอง เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์รัฐธรรมนูญนี้มี ๒๑ มาตรา เริ่มจากมาตรา ๕ จนถึงมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๑ บอกว่า พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยและทรงเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของทหารทั้งปวง มาตรา ๒๓ บอกว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรี และอีกไม่มากกว่า ๘ คนประกอบเป็น คณะองคมนตรี”
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช้คำว่า องคมนตรี และเพิ่มตำแหน่งกษัตริย์ให้เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของทหารทั้งปวง มีการอภิปรายกันในสภากันอย่างมากมายยืดยาว เป็นที่น่าสนใจและน่าศึกษาจึงขอนำคำอภิปรายบางตอนมาอ่านให้ฟังดังนี้
รายงานการประชุมสภา ครั้งที่ ๑๓ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๒ เป็นคำอภิปรายของนายฟื้น สุพรรณสาร
“เราจะแลเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงอำนาจของพระมหากษัตริย์จากรัฐธรรมนูญฉบับเก่าๆ ไปนั้นเป็นอันมาก แต่รัฐธรรมนูญเก่าๆ ที่ได้ใช้มาจะเป็นฉบับไหนก็ตาม ตั้งแต่ ๒๔๗๕,๒๔๘๙ ได้แบ่งแยกอำนาจพระมหากษัตริย์ไว้ ๓ ประการ ประการที่ ๑ พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจนิติบัญญัติทางสภาผู้แทนราษฎร และใช้พระราชอำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี ใช้พระราชอำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี ใช้พระราชอำนาจตุลาการผ่านทางศาล รัฐธรรมเก่าๆของเรา ที่ให้อำนาจทั้ง ๓ ประการนี้ ต้องมีรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ที่ใช้กันมาแล้วเราถือว่าพระมหากษัตริย์กระทำอะไรไม่ผิด โดยมีรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่ว่าในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้เพิ่มพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ขึ้นอีกอย่างมากมาย
เมื่อได้อ่านดูแล้วข้าพเจ้าใคร่จะขอเรียนแก่ประธานสภาด้วยความเคารพว่า ผู้ร่างมีความปรารถนาจะเหนี่ยวรั้งให้พระมหากษัตริย์เข้ามาพัวพัน ในทางการเมืองให้มากเกินสมควร ข้าพเจ้าไม่วิตกว่าพระมหากษัตริย์เข้ามาพัวพันทางการเมืองแล้วจะใช้อำนาจบีบคั้นอาณาประชาราษฎรของท่านก็หามิได้ แต่ข้าพเจ้าเป็นห่วงเป็นใยในพระองค์เป็นอย่างยิ่ง เพราะการที่เข้ามาเล่นการเมือง หรือเข้ามาพัวพันในการเมืองนั้น ย่อมจะต้องมีการถูกวิจารณ์อย่างมากมาย เพราะสมัยนี้ เป็นสมัยเสรีภาพ ทุกคนเหมือนกันหมด
ท่านนั่งอยู่ในสภาแห่งนี้ ท่านจะแลเห็นได้ชัดแจ้งว่า การวิพากษ์วิจารณ์ในสมัยนี้ หนังสือพิมพ์ก็ดี หรือสภากาแฟก็ดี มิได้มีการไว้หน้ากันเลยจะเป็นใครก็ตาม ได้มีการเขียนข้อความวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างรุนแรงเกือบจะเรียกว่าเป็นการหมิ่นประมาทไปก็ว่าได้ เพราะฉะนั้นหากท่านผู้ร่างได้เขียนรัฐธรรมนูญนี้เหนี่ยวรั้งให้พระมหากษัตริย์เข้ามาพัวพันทางการเมืองมากเกินกว่าหลักของรัฐธรรมนูญที่แล้วๆ มา ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นห่วงพระเกียรติและฐานะของท่านนั้นจะต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์หลายแง่หลายมุม
พระมหากษัตริย์ทรงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา โดยองคมนตรีรับสนองพระบรมราชโองการนั้น อย่างไหนจะดีกว่ากัน ถ้าอย่างไหนจะดีกว่ากันแล้ว ข้าพเจ้าจะไม่เถียง แต่ว่าท่านนึกถึงบ้างหรือเปล่าว่า การที่พระมหากษัตริย์จะมาทรงเลือกท่านสมาชิกวุฒิสภานั้น คือ เลือกนักการเมือง เพราะฉะนั้นในการเลือกก็อาจจะมีได้ทั้งติและทั้งชม ถ้าเลือกผิดก็จะถูกเขาติฉินนินทา ผิดหรือไม่ผิดไม่สำคัญ แต่มีผู้วิ่งไปหาพระมหากษัตริย์ วิ่งไปหาองคมนตรี ขอให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาอย่างแน่นอน เช่นนั้น พระมหากษัตริย์ไม่ทรงโปรดคนไหนบ้าง คนผู้นั้นก็ไม่พอใจบ่นว่า พระมหากษัตริย์เล่นพวกเล่นพ้องอะไรต่างๆ ถ้าพระมหากษัตริย์ถูกวิพากษ์วิจารณ์เช่นนี้แล้ว ท่านคิดบ้างหรือเปล่าว่า ราชบัลลังก์จะสั่นคลอนเพียงไร ข้าพเจ้าเชื่อเหลือเกินว่าหลีกไม่พ้นมั่นคงถาวร”
จากหนังสือ "ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ และพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ฉบับ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕"
ในรัฐธรรมนูญนี้มีมาตราเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ โดยเพิ่มมาตราขึ้น มาตรา ๙ บอกว่า “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งอภิรัฐมนตรี เป็นตำแหน่ง สำหรับถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน” มีคำใหม่เกิดขึ้นคำหนึ่ง คือ คำว่า อภิรัฐมนตรี
หลังจากนั้นก็มีรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.๒๔๙๒ สืบต่อจากรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มนั่นเอง เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์รัฐธรรมนูญนี้มี ๒๑ มาตรา เริ่มจากมาตรา ๕ จนถึงมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๑ บอกว่า พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยและทรงเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของทหารทั้งปวง มาตรา ๒๓ บอกว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรี และอีกไม่มากกว่า ๘ คนประกอบเป็น คณะองคมนตรี”
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช้คำว่า องคมนตรี และเพิ่มตำแหน่งกษัตริย์ให้เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของทหารทั้งปวง มีการอภิปรายกันในสภากันอย่างมากมายยืดยาว เป็นที่น่าสนใจและน่าศึกษาจึงขอนำคำอภิปรายบางตอนมาอ่านให้ฟังดังนี้
รายงานการประชุมสภา ครั้งที่ ๑๓ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๒ เป็นคำอภิปรายของนายฟื้น สุพรรณสาร
“เราจะแลเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงอำนาจของพระมหากษัตริย์จากรัฐธรรมนูญฉบับเก่าๆ ไปนั้นเป็นอันมาก แต่รัฐธรรมนูญเก่าๆ ที่ได้ใช้มาจะเป็นฉบับไหนก็ตาม ตั้งแต่ ๒๔๗๕,๒๔๘๙ ได้แบ่งแยกอำนาจพระมหากษัตริย์ไว้ ๓ ประการ ประการที่ ๑ พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจนิติบัญญัติทางสภาผู้แทนราษฎร และใช้พระราชอำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี ใช้พระราชอำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี ใช้พระราชอำนาจตุลาการผ่านทางศาล รัฐธรรมเก่าๆของเรา ที่ให้อำนาจทั้ง ๓ ประการนี้ ต้องมีรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ที่ใช้กันมาแล้วเราถือว่าพระมหากษัตริย์กระทำอะไรไม่ผิด โดยมีรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่ว่าในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้เพิ่มพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ขึ้นอีกอย่างมากมาย
เมื่อได้อ่านดูแล้วข้าพเจ้าใคร่จะขอเรียนแก่ประธานสภาด้วยความเคารพว่า ผู้ร่างมีความปรารถนาจะเหนี่ยวรั้งให้พระมหากษัตริย์เข้ามาพัวพัน ในทางการเมืองให้มากเกินสมควร ข้าพเจ้าไม่วิตกว่าพระมหากษัตริย์เข้ามาพัวพันทางการเมืองแล้วจะใช้อำนาจบีบคั้นอาณาประชาราษฎรของท่านก็หามิได้ แต่ข้าพเจ้าเป็นห่วงเป็นใยในพระองค์เป็นอย่างยิ่ง เพราะการที่เข้ามาเล่นการเมือง หรือเข้ามาพัวพันในการเมืองนั้น ย่อมจะต้องมีการถูกวิจารณ์อย่างมากมาย เพราะสมัยนี้ เป็นสมัยเสรีภาพ ทุกคนเหมือนกันหมด
ท่านนั่งอยู่ในสภาแห่งนี้ ท่านจะแลเห็นได้ชัดแจ้งว่า การวิพากษ์วิจารณ์ในสมัยนี้ หนังสือพิมพ์ก็ดี หรือสภากาแฟก็ดี มิได้มีการไว้หน้ากันเลยจะเป็นใครก็ตาม ได้มีการเขียนข้อความวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างรุนแรงเกือบจะเรียกว่าเป็นการหมิ่นประมาทไปก็ว่าได้ เพราะฉะนั้นหากท่านผู้ร่างได้เขียนรัฐธรรมนูญนี้เหนี่ยวรั้งให้พระมหากษัตริย์เข้ามาพัวพันทางการเมืองมากเกินกว่าหลักของรัฐธรรมนูญที่แล้วๆ มา ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นห่วงพระเกียรติและฐานะของท่านนั้นจะต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์หลายแง่หลายมุม
พระมหากษัตริย์ทรงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา โดยองคมนตรีรับสนองพระบรมราชโองการนั้น อย่างไหนจะดีกว่ากัน ถ้าอย่างไหนจะดีกว่ากันแล้ว ข้าพเจ้าจะไม่เถียง แต่ว่าท่านนึกถึงบ้างหรือเปล่าว่า การที่พระมหากษัตริย์จะมาทรงเลือกท่านสมาชิกวุฒิสภานั้น คือ เลือกนักการเมือง เพราะฉะนั้นในการเลือกก็อาจจะมีได้ทั้งติและทั้งชม ถ้าเลือกผิดก็จะถูกเขาติฉินนินทา ผิดหรือไม่ผิดไม่สำคัญ แต่มีผู้วิ่งไปหาพระมหากษัตริย์ วิ่งไปหาองคมนตรี ขอให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาอย่างแน่นอน เช่นนั้น พระมหากษัตริย์ไม่ทรงโปรดคนไหนบ้าง คนผู้นั้นก็ไม่พอใจบ่นว่า พระมหากษัตริย์เล่นพวกเล่นพ้องอะไรต่างๆ ถ้าพระมหากษัตริย์ถูกวิพากษ์วิจารณ์เช่นนี้แล้ว ท่านคิดบ้างหรือเปล่าว่า ราชบัลลังก์จะสั่นคลอนเพียงไร ข้าพเจ้าเชื่อเหลือเกินว่าหลีกไม่พ้นมั่นคงถาวร”
จากหนังสือ "ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ และพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ฉบับ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕"
เป็นการเสวนาในวาระครบรอบ ๗๕ ปี การอภิวัฒน์ไทย ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๐
No comments:
Post a Comment