ซุนยัดเซน ประธานาธิบดีเฉพาะกาลของสาธารณรัฐจีน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์เสียงสังคมนิยม ชื่อ “เลอ เปอ เปละ” ออกในกรุงบรัสเซลส์ อันเป็นบทความน่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับประชาชนชาวรุสเซีย
มีสุภาษิตกล่าวไว้ว่า ผู้ชมกีฬาย่อมเป็นผู้เห็นเหตุการณ์หรือความเป็นไปในกีฬานั้นมากที่สุด ซุนยัดเซนก็เป็น “ผู้ชม” ที่น่าสนใจที่สุดเพราะดูที่เขาไม่รู้เรื่องอะไรเลยเกี่ยวกับรุสเซีย ทั้งๆ ที่เขามีพื้นการศึกษาอยู่ทางยุโรป แต่ทั้งๆที่เขามิได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับรุสเซียหรือแม้แต่วรรณกรรมของรุสเซีย เขาผู้เป็นปากเสียงของประชาธิปไตยจีนอันมีชัยได้มาซึ่งสาธารณรัฐผู้นี้ (ในปี ค.ศ.๑๙๑๑ ได้เกิดการปฏิวัติในประเทศจีนและจัดตั้งสาธารณรัฐขึ้นโดย ดร.ซุนยัดเซน หัวหน้าคณะปฏิวัติได้เป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาล ต่อมาฝ่ายโต้ปฏิวัติได้บังคับให้เขาลาออกและแต่งตั้ง หยวนซื่อไข่ ให้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของระบอบเผด็จการฝ่ายทหาร)ก็ยังสามารถถกถึงปัญหาซึ่งเกี่ยวกับรุสเซียแท้ๆ ในทำนองเดียวกับที่ชาวรุสเซียพึงกระทำได้ทุกประการ
ความคล้ายระหว่างซุนยัดเซนกับชาวรุสเซียผู้ใดก็ตามที่นิยมในลัทธินารอด (NARODISM - ลัทธินารอดเป็นลัทธินิยมทางการเมืองซึ่งก่อตัวขึ้นในรุสเซียสมัยศตวรรษที่ ๑๙ ลัทธินี้ไม่รับรู้ว่าชนกรรมาชีพมีบทบาทเป็นผู้นำในการรณรงค์เพื่อปฏิวัติและเชื่อว่าชนชั้นกสิกรชาวนาก็สามารถจะทำการปฏิวัติทางสังคมนิยมโดยลำพังได้)มีอยู่มากจนกระทั่งอาจกล่าวได้ว่า ทัศนะขั้นมูลฐานและการแสดงออกอันเป็นส่วนตัวของเขาหลายประการเป็นไปตามลัทธินั้นโดยสมบูรณ์
การที่ซุนยัดเซนเป็นผู้ชมกีฬาดังสุภาษิตว่าไว้จากเวทีของประชาธิปไตยจีนอันยิ่งใหญ่ ทำให้ชาวรุสเซียได้มีโอกาสพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างประชาธิปไตยกับลัทธินารอดในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิวัติในสมัยเจ้าขุนมูลนายทางเอเชีย โดยพิจารณาจากแง่ของเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งอุบัติขึ้นในโลก ข้อนี้เป็นปัญหาสำคัญที่สุดประการหนึ่งสำหรับรุสเซียในสมัยปฏิวัติ ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ๑๙๐๕ อีกทั้งยังเป็นปัญหาสำหรับเอเชียทั้งหมดด้วย
ดังจะเห็นได้จากทัศนะของซุนยัดเซนอันแสดงไว้ในบทความที่กล่าวข้างต้น โดยเฉพาะในเมื่อทัศนะนั้นได้เปรียบเทียบระหว่างพัฒนาการของการปฏิวัติในรุสเซีย ตุรกี เปอร์เซีย และจีน อนึ่ง ตามลักษณะสำคัญๆ หลายประการก็ต้องนับว่า รุสเซียเป็นประเทศย่านเอเชียด้วย อีกทั้งยังเป็นประเทศล้าหลังที่สุดในกลุ่มประเทศย่านเอเชียด้วยกัน
ประชาธิปไตยเจ้าขุนมูลนาย ( BOURGEOIS DEMOCRACY) ของรุสเซียได้มีการนิยมในลัทธินารอดระคนอยู่ นับแต่เฮอร์เซ็น (อเล็กซานเดอร์ เฮอร์เซน ALEXANDER HERZEN เป็นนักปฏิวัติชาวรุสเซียผู้ออกหนังสือใต้ดินชื่อ “โกโลกอล” KOLOKOL อันมีบทบาทสำคัญมากในการส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติในประเทศนั้น)เป็นผู้เผยแพร่ลัทธินั้นแต่ผู้เดียว จนกระทั่งมีผู้นิยมเป็นกลุ่มก้อนซึ่งได้แก่สมาชิกสหภาพกสิกรชาวนาในปี ๑๙๐๕ (สหภาพกสิกรชาวนาเป็นองค์การปฏิวัติในรุสเซียระหว่างปี ๑๙๐๕ – ๑๙๐๖)และกลุ่มสมาชิกรัฐสภาดูมาทั้งสามสมัยซึ่งเรียกกันว่ากลุ่มทรูโดวิคในปี ๑๙๐๖-๑๙๑๒ (ทรูโดวิคส์ TRUDOVIKS เป็นกลุ่มสมาชิกรัฐสภาดูมาของรุสเซีย ประกอบด้วยชนชั้นเจ้าขุนมูลนายระดับต่ำต้อยที่นิยมประชาธิปไตย ซึ่งส่วนมากเป็นกสิกรชาวนา
ประชาธิปไตยเจ้าขุนมูลนายในประเทศจีนก็มีการนิยมลัทธินารอดระคนอยู่เช่นเดียวกัน จึงขอให้พิจารณากันต่อไปโดยยกซุนยัดเซนเป็นตัวอย่างว่าทัศนะของกระบวนการปฏิวัติอันประกอบด้วยมวลชนนับร้อยๆ ล้านคนในประเทศจีน ซึ่งกำลังถูกดึงดูดเข้าไปในกระแสธารของอารยธรรมแบบนายทุนสากลนั้นมีความสำคัญทางสังคมเพียงใด
มีสุภาษิตกล่าวไว้ว่า ผู้ชมกีฬาย่อมเป็นผู้เห็นเหตุการณ์หรือความเป็นไปในกีฬานั้นมากที่สุด ซุนยัดเซนก็เป็น “ผู้ชม” ที่น่าสนใจที่สุดเพราะดูที่เขาไม่รู้เรื่องอะไรเลยเกี่ยวกับรุสเซีย ทั้งๆ ที่เขามีพื้นการศึกษาอยู่ทางยุโรป แต่ทั้งๆที่เขามิได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับรุสเซียหรือแม้แต่วรรณกรรมของรุสเซีย เขาผู้เป็นปากเสียงของประชาธิปไตยจีนอันมีชัยได้มาซึ่งสาธารณรัฐผู้นี้ (ในปี ค.ศ.๑๙๑๑ ได้เกิดการปฏิวัติในประเทศจีนและจัดตั้งสาธารณรัฐขึ้นโดย ดร.ซุนยัดเซน หัวหน้าคณะปฏิวัติได้เป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาล ต่อมาฝ่ายโต้ปฏิวัติได้บังคับให้เขาลาออกและแต่งตั้ง หยวนซื่อไข่ ให้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของระบอบเผด็จการฝ่ายทหาร)ก็ยังสามารถถกถึงปัญหาซึ่งเกี่ยวกับรุสเซียแท้ๆ ในทำนองเดียวกับที่ชาวรุสเซียพึงกระทำได้ทุกประการ
ความคล้ายระหว่างซุนยัดเซนกับชาวรุสเซียผู้ใดก็ตามที่นิยมในลัทธินารอด (NARODISM - ลัทธินารอดเป็นลัทธินิยมทางการเมืองซึ่งก่อตัวขึ้นในรุสเซียสมัยศตวรรษที่ ๑๙ ลัทธินี้ไม่รับรู้ว่าชนกรรมาชีพมีบทบาทเป็นผู้นำในการรณรงค์เพื่อปฏิวัติและเชื่อว่าชนชั้นกสิกรชาวนาก็สามารถจะทำการปฏิวัติทางสังคมนิยมโดยลำพังได้)มีอยู่มากจนกระทั่งอาจกล่าวได้ว่า ทัศนะขั้นมูลฐานและการแสดงออกอันเป็นส่วนตัวของเขาหลายประการเป็นไปตามลัทธินั้นโดยสมบูรณ์
การที่ซุนยัดเซนเป็นผู้ชมกีฬาดังสุภาษิตว่าไว้จากเวทีของประชาธิปไตยจีนอันยิ่งใหญ่ ทำให้ชาวรุสเซียได้มีโอกาสพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างประชาธิปไตยกับลัทธินารอดในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิวัติในสมัยเจ้าขุนมูลนายทางเอเชีย โดยพิจารณาจากแง่ของเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งอุบัติขึ้นในโลก ข้อนี้เป็นปัญหาสำคัญที่สุดประการหนึ่งสำหรับรุสเซียในสมัยปฏิวัติ ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ๑๙๐๕ อีกทั้งยังเป็นปัญหาสำหรับเอเชียทั้งหมดด้วย
ดังจะเห็นได้จากทัศนะของซุนยัดเซนอันแสดงไว้ในบทความที่กล่าวข้างต้น โดยเฉพาะในเมื่อทัศนะนั้นได้เปรียบเทียบระหว่างพัฒนาการของการปฏิวัติในรุสเซีย ตุรกี เปอร์เซีย และจีน อนึ่ง ตามลักษณะสำคัญๆ หลายประการก็ต้องนับว่า รุสเซียเป็นประเทศย่านเอเชียด้วย อีกทั้งยังเป็นประเทศล้าหลังที่สุดในกลุ่มประเทศย่านเอเชียด้วยกัน
ประชาธิปไตยเจ้าขุนมูลนาย ( BOURGEOIS DEMOCRACY) ของรุสเซียได้มีการนิยมในลัทธินารอดระคนอยู่ นับแต่เฮอร์เซ็น (อเล็กซานเดอร์ เฮอร์เซน ALEXANDER HERZEN เป็นนักปฏิวัติชาวรุสเซียผู้ออกหนังสือใต้ดินชื่อ “โกโลกอล” KOLOKOL อันมีบทบาทสำคัญมากในการส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติในประเทศนั้น)เป็นผู้เผยแพร่ลัทธินั้นแต่ผู้เดียว จนกระทั่งมีผู้นิยมเป็นกลุ่มก้อนซึ่งได้แก่สมาชิกสหภาพกสิกรชาวนาในปี ๑๙๐๕ (สหภาพกสิกรชาวนาเป็นองค์การปฏิวัติในรุสเซียระหว่างปี ๑๙๐๕ – ๑๙๐๖)และกลุ่มสมาชิกรัฐสภาดูมาทั้งสามสมัยซึ่งเรียกกันว่ากลุ่มทรูโดวิคในปี ๑๙๐๖-๑๙๑๒ (ทรูโดวิคส์ TRUDOVIKS เป็นกลุ่มสมาชิกรัฐสภาดูมาของรุสเซีย ประกอบด้วยชนชั้นเจ้าขุนมูลนายระดับต่ำต้อยที่นิยมประชาธิปไตย ซึ่งส่วนมากเป็นกสิกรชาวนา
ประชาธิปไตยเจ้าขุนมูลนายในประเทศจีนก็มีการนิยมลัทธินารอดระคนอยู่เช่นเดียวกัน จึงขอให้พิจารณากันต่อไปโดยยกซุนยัดเซนเป็นตัวอย่างว่าทัศนะของกระบวนการปฏิวัติอันประกอบด้วยมวลชนนับร้อยๆ ล้านคนในประเทศจีน ซึ่งกำลังถูกดึงดูดเข้าไปในกระแสธารของอารยธรรมแบบนายทุนสากลนั้นมีความสำคัญทางสังคมเพียงใด
No comments:
Post a Comment