ท่านบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สังคมอีกท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ในยุคศักดินา พวกทาสซึ่งได้กลายเป็นพวกเลก และได้เป็นแรงงานสำคัญในการประกอบกิจการกสิกรรมนั้น ได้ถูกพวกเจ้าผู้ครองนครและเจ้าศักดินากดขี่ขูดรีดอย่างแสนสาหัส ที่ดินเกษตรทั้งหมดตกอยู่ภายใต้อำนาจของเจ้าที่ดินและใช้อิทธิพลทางเศรษฐกิจเกณฑ์เอาพวกเลกมาทำงานให้แก่ตน เพื่อแลกเปลี่ยนกับสิทธิ์ของพวกเลกในอันที่จะได้ที่ดินทำกิน และผลิตผลที่เกิดขึ้นในที่ดินที่พวกเลกได้รับแบ่งให้ประกอบการเกษตรนั้น จะต้องแบ่งให้เจ้าศักดินาไม่ต่ำกว่า ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ ผลิตผลส่วนมากที่เจ้าศักดินาได้รับนี้นอกจากจะใช้เลี้ยงครอบครัวตัวเองอย่างฟุ่มเฟือยแล้ว ยังได้เอาไปใช้เลี้ยงดูบริวารและกองทัพอีกด้วย
ทั้งนี้ เพราะเจ้าศักดินาผู้ยิ่งใหญ่ จะมีกองทหารเป็นของตัวเอง เมื่อเกิดศึกสงคราม เจ้าผู้ครองนคร หรือพระราชาธิบดี ก็ได้พึ่งพาอาศัยทหารของเจ้าศักดินาเหล่านั้น ส่วนผลิตผลที่เหลือกินเหลือใช้ ก็จะนำไปแลกเปลี่ยนซื้อขายกับอาวุธยุทธภัณฑ์หรือสินค้าโพ้นทะเลที่ตนพอใจ การซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ค่อยเจริญขึ้นเป็นลำดับ และยิ่งการค้ายิ่งเจริญเท่าใด พวกเลกก็ยิ่งถูกกดขี่ขูดรีดหนักมือขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เพราะไม่เพียงเพื่อได้ผลิตผลต่างๆ มาเพื่อบริโภคและเลี้ยงดูบริวารเท่านั้น หากยังเพื่อที่จะเอาผลิตผลส่วนเกินนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าโพ้นทะเลที่ตนต้องการอีกด้วย
รัฐบาล ซึ่งในยุคทาสเคยทำหน้าที่ปกครองดูแลพวกทาสนั้น ครั้นมาถึงยุคศักดินา ภาระหน้าที่ของรัฐบาลได้เปลี่ยนไปเป็นดูแลปกครองพวกเลก หรือทาสกสิกร เพื่อให้ทำงานให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของพวกศักดินา และยิ่งกว่านั้น พวกศักดินาโดยอาศัยระบบขูดรีดและอำนาจของรัฐบาล กดขี่กสิกรอิสระลงเป็นทาสกสิกรหรือพวกเลก และตกมาถึงตอนนี้ พวกเลกหรือทาสกสิกรก็มีฐานะเป็นแต่เพียงส่วนประกอบของที่ดินเท่านั้น
ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้มีชนชั้นพวกเลกขึ้นมาอย่างมากมาย คือความระส่ำระสายของสังคมอันเนื่องมาจากชนชั้นปกครอง ไม่สามารถจะให้ความยุติธรรมแก่ผู้ถูกปกครองได้โดยทั่วถึง หรือเพราะว่าพระเดชของกษัตริย์ไม่ “แผ่ทั่วภูวดล” ดังกาลก่อนเสียแล้ว ดังนั้น จึงทำให้ชาวนาอิสระต้องแสวงหาที่พึ่ง เพราะขืนอยู่โดดเดี่ยวเป็นไพร่ไม่มีเจ้าหรือเป็นบ่าวไม่มีนาย ก็จะต้องถูกเบียดเบียนและรังแกจากชนชั้นปกครอง หรือเจ้าศักดินาที่มีอิทธิพล เช่นเดียวกันกับหมาไมมีปลอกคือจะต้องถูกรังแกจากเทศบาล
เหตุฉะนี้ พวกชาวนาอิสระจึงจำต้องกระเสือกกระสนนานายไว้คุ้มหัว แต่ในการแสวงหาโพธิสมภารใหม่นี้ พวกชาวนาก็จะต้องชำระค่าพึ่งโพธิสมภารด้วยราคาอันแพง กล่าวคือ พวกชาวนาจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของเขาไปยังผู้อุปถัมภ์ของเขา แล้วองค์อุปภัมภ์ของเขาก็จะจัดการให้พวกเขาได้ทำไร่ไถนาบนที่ดินแห่งนั้นในฐานะผู้เช่า และการปฏิบัติต่อชาวนาเจ้าที่ดินเดิม ซึ่งได้เปลี่ยนฐานะมาเป็นผู้เช่าแล้วนั้น ก็มีวิธีแตกต่างกันไปหลายรูปแบบ แต่ทุกรูปแบบก็ตกอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า พวกชาวนาเหล่านั้นจะต้องทำงานฉลองพระเดชพระคุณพวกเจ้านายของเขาข้อหนึ่ง และจะต้องชำระค่าเช่าที่ดินให้แก่เจ้านายอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดที่พวกชาวนาได้นำตัวเข้าไปอาศัยอยู่ภายใต้ใบบุญของท่านเหล่านี้ เมื่อนั้นอิสระภาพส่วนตัวของเขาก็ค่อยๆ ถูกเชือดเฉือนไป และเมื่อกาลเวลาล่วงไปสักสองสามชั่วอายุคน ฐานะของพวกเขาส่วนมากก็จะแปรเปลี่ยนไปเป็นพวกเลกหรือพวกทาสที่ดิน
จากพฤติกรรมดังกล่าวมานี้แต่ต้น ก็พอจะสรุปได้ว่า สังคมศักดินา คือ สังคมที่ใช้วิธีการกดขี่บังคับประชาราษฎร ด้วยวิธีการขูดรีดทางเศรษฐกิจและบีบคั้นโดยอาศัยอำนาจบาทใหญ่ของเจ้าขุนมูลนายอันเป็นชนชั้นปกครอง พวกศักดินาจะดูถูกเหยียดหยามสามัญชนคนธรรมดาที่เลี้ยงชีพด้วยการออกแรงทำงานว่าเป็นพวกไพร่สารเลว (ทั้งๆที่พวกไพร่สารเลวนี่แหละที่เป็นผู้ผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหารเลี้ยงสังคม) และยกตัวเองว่าเป็นพวกผู้ดีมีสกุล มีการแบ่งชั้นวรรณะ ส่วนอำนาจต่างๆ ในทางสาธารณะ เช่น อำนาจในทางการเมือง การเศรษฐกิจ และสังคม ล้วนแต่ตกอยู่ในกำมือของพวกศักดินาทั้งสิ้น
จากการที่พวกศักดินากุมอำนาจในทางเศรษฐกิจและการเมือง พวกเหล่านี้จึงมีการกินอยู่อย่างฟุ่มเฟือย และจากการที่พวกศักดินายกตัวเองว่าเป็นผู้ดีมีสกุลคนละวรรณะกับพวกสามัญชน พวกเหล่านี้จึงมีพิธีรีตองผิดแผกแตกต่างไปจากสามัญชนคนธรรมดา และพวกนี้มีศรัทธาและหลงงมงายในประเพณีอันหาคุณค่าแก่สังคมมิได้
ชีวิตประจำวันของพวกศักดินาเหล่านี้ นอกจากงานกดขี่ขูดรีด นอกจากความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมในเกียรติยศเกียรติศักดิ์ ซึ่งสร้างมาด้วยหยาดเหงื่อและน้ำตาของพวกเลก นอกจากพิธีรีตองและการหลงงมงายในประเพณีอันไร้สาระแล้ว ก็คือ “ค่ำเช้าเฝ้าสีซอเข้าแต่หอล่อกามา” หรือดั่งที่ท่านนักวิทยาศาสตร์สังคมได้กล่าวไว้ว่า พฤติกรรมของพวกศักดินาที่นับว่าเป็นภัยอย่างร้ายแรงแก่สังคม ก็คือ “ทำนาบนหลังผู้ชาย-หาความสบายบนอกผู้หญิง”
กระจกเงาอย่างดีที่ฉายให้เราเห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของพวกศักดินาก็คือจำพวกหนังสือต่างๆ ที่พวกชนชั้นปกครองและบริวาร ยกย่องขึ้นเป็นหนังสือ “วรรณคดี” ซึ่งบังคับให้เด็กนักเรียนเรียนอยู่ในปัจจุบันนี้.
ทั้งนี้ เพราะเจ้าศักดินาผู้ยิ่งใหญ่ จะมีกองทหารเป็นของตัวเอง เมื่อเกิดศึกสงคราม เจ้าผู้ครองนคร หรือพระราชาธิบดี ก็ได้พึ่งพาอาศัยทหารของเจ้าศักดินาเหล่านั้น ส่วนผลิตผลที่เหลือกินเหลือใช้ ก็จะนำไปแลกเปลี่ยนซื้อขายกับอาวุธยุทธภัณฑ์หรือสินค้าโพ้นทะเลที่ตนพอใจ การซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ค่อยเจริญขึ้นเป็นลำดับ และยิ่งการค้ายิ่งเจริญเท่าใด พวกเลกก็ยิ่งถูกกดขี่ขูดรีดหนักมือขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เพราะไม่เพียงเพื่อได้ผลิตผลต่างๆ มาเพื่อบริโภคและเลี้ยงดูบริวารเท่านั้น หากยังเพื่อที่จะเอาผลิตผลส่วนเกินนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าโพ้นทะเลที่ตนต้องการอีกด้วย
รัฐบาล ซึ่งในยุคทาสเคยทำหน้าที่ปกครองดูแลพวกทาสนั้น ครั้นมาถึงยุคศักดินา ภาระหน้าที่ของรัฐบาลได้เปลี่ยนไปเป็นดูแลปกครองพวกเลก หรือทาสกสิกร เพื่อให้ทำงานให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของพวกศักดินา และยิ่งกว่านั้น พวกศักดินาโดยอาศัยระบบขูดรีดและอำนาจของรัฐบาล กดขี่กสิกรอิสระลงเป็นทาสกสิกรหรือพวกเลก และตกมาถึงตอนนี้ พวกเลกหรือทาสกสิกรก็มีฐานะเป็นแต่เพียงส่วนประกอบของที่ดินเท่านั้น
ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้มีชนชั้นพวกเลกขึ้นมาอย่างมากมาย คือความระส่ำระสายของสังคมอันเนื่องมาจากชนชั้นปกครอง ไม่สามารถจะให้ความยุติธรรมแก่ผู้ถูกปกครองได้โดยทั่วถึง หรือเพราะว่าพระเดชของกษัตริย์ไม่ “แผ่ทั่วภูวดล” ดังกาลก่อนเสียแล้ว ดังนั้น จึงทำให้ชาวนาอิสระต้องแสวงหาที่พึ่ง เพราะขืนอยู่โดดเดี่ยวเป็นไพร่ไม่มีเจ้าหรือเป็นบ่าวไม่มีนาย ก็จะต้องถูกเบียดเบียนและรังแกจากชนชั้นปกครอง หรือเจ้าศักดินาที่มีอิทธิพล เช่นเดียวกันกับหมาไมมีปลอกคือจะต้องถูกรังแกจากเทศบาล
เหตุฉะนี้ พวกชาวนาอิสระจึงจำต้องกระเสือกกระสนนานายไว้คุ้มหัว แต่ในการแสวงหาโพธิสมภารใหม่นี้ พวกชาวนาก็จะต้องชำระค่าพึ่งโพธิสมภารด้วยราคาอันแพง กล่าวคือ พวกชาวนาจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของเขาไปยังผู้อุปถัมภ์ของเขา แล้วองค์อุปภัมภ์ของเขาก็จะจัดการให้พวกเขาได้ทำไร่ไถนาบนที่ดินแห่งนั้นในฐานะผู้เช่า และการปฏิบัติต่อชาวนาเจ้าที่ดินเดิม ซึ่งได้เปลี่ยนฐานะมาเป็นผู้เช่าแล้วนั้น ก็มีวิธีแตกต่างกันไปหลายรูปแบบ แต่ทุกรูปแบบก็ตกอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า พวกชาวนาเหล่านั้นจะต้องทำงานฉลองพระเดชพระคุณพวกเจ้านายของเขาข้อหนึ่ง และจะต้องชำระค่าเช่าที่ดินให้แก่เจ้านายอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดที่พวกชาวนาได้นำตัวเข้าไปอาศัยอยู่ภายใต้ใบบุญของท่านเหล่านี้ เมื่อนั้นอิสระภาพส่วนตัวของเขาก็ค่อยๆ ถูกเชือดเฉือนไป และเมื่อกาลเวลาล่วงไปสักสองสามชั่วอายุคน ฐานะของพวกเขาส่วนมากก็จะแปรเปลี่ยนไปเป็นพวกเลกหรือพวกทาสที่ดิน
จากพฤติกรรมดังกล่าวมานี้แต่ต้น ก็พอจะสรุปได้ว่า สังคมศักดินา คือ สังคมที่ใช้วิธีการกดขี่บังคับประชาราษฎร ด้วยวิธีการขูดรีดทางเศรษฐกิจและบีบคั้นโดยอาศัยอำนาจบาทใหญ่ของเจ้าขุนมูลนายอันเป็นชนชั้นปกครอง พวกศักดินาจะดูถูกเหยียดหยามสามัญชนคนธรรมดาที่เลี้ยงชีพด้วยการออกแรงทำงานว่าเป็นพวกไพร่สารเลว (ทั้งๆที่พวกไพร่สารเลวนี่แหละที่เป็นผู้ผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหารเลี้ยงสังคม) และยกตัวเองว่าเป็นพวกผู้ดีมีสกุล มีการแบ่งชั้นวรรณะ ส่วนอำนาจต่างๆ ในทางสาธารณะ เช่น อำนาจในทางการเมือง การเศรษฐกิจ และสังคม ล้วนแต่ตกอยู่ในกำมือของพวกศักดินาทั้งสิ้น
จากการที่พวกศักดินากุมอำนาจในทางเศรษฐกิจและการเมือง พวกเหล่านี้จึงมีการกินอยู่อย่างฟุ่มเฟือย และจากการที่พวกศักดินายกตัวเองว่าเป็นผู้ดีมีสกุลคนละวรรณะกับพวกสามัญชน พวกเหล่านี้จึงมีพิธีรีตองผิดแผกแตกต่างไปจากสามัญชนคนธรรมดา และพวกนี้มีศรัทธาและหลงงมงายในประเพณีอันหาคุณค่าแก่สังคมมิได้
ชีวิตประจำวันของพวกศักดินาเหล่านี้ นอกจากงานกดขี่ขูดรีด นอกจากความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมในเกียรติยศเกียรติศักดิ์ ซึ่งสร้างมาด้วยหยาดเหงื่อและน้ำตาของพวกเลก นอกจากพิธีรีตองและการหลงงมงายในประเพณีอันไร้สาระแล้ว ก็คือ “ค่ำเช้าเฝ้าสีซอเข้าแต่หอล่อกามา” หรือดั่งที่ท่านนักวิทยาศาสตร์สังคมได้กล่าวไว้ว่า พฤติกรรมของพวกศักดินาที่นับว่าเป็นภัยอย่างร้ายแรงแก่สังคม ก็คือ “ทำนาบนหลังผู้ชาย-หาความสบายบนอกผู้หญิง”
กระจกเงาอย่างดีที่ฉายให้เราเห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของพวกศักดินาก็คือจำพวกหนังสือต่างๆ ที่พวกชนชั้นปกครองและบริวาร ยกย่องขึ้นเป็นหนังสือ “วรรณคดี” ซึ่งบังคับให้เด็กนักเรียนเรียนอยู่ในปัจจุบันนี้.
จากหนังสือ ปทานานุกรม ฉบับ ชาวบ้าน ของคุณสุพจน์ ด่านตระกูล
No comments:
Post a Comment