คุยกันเรื่องท่านปรีดีฯ
เป็นบทสัมภาษณ์ ดร.จริย์วัฒน์ สันตะบุตร ผู้ที่ได้ใกล้ชิดรับรู้เรื่องราวของท่านปรีดีในช่วงเวลาที่ท่านปรีดีฯพำนักอยู่ที่ฝรั่งเศส,โดยคณะผู้จัดทำหนังสือ “วันปรีดี พนมยงค์”
เป็นบทสัมภาษณ์ ดร.จริย์วัฒน์ สันตะบุตร ผู้ที่ได้ใกล้ชิดรับรู้เรื่องราวของท่านปรีดีในช่วงเวลาที่ท่านปรีดีฯพำนักอยู่ที่ฝรั่งเศส,โดยคณะผู้จัดทำหนังสือ “วันปรีดี พนมยงค์”
ถาม มีอะไรที่คุณจิรย์วัฒน์ ประทับใจเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ อื่นๆ อีกไหมครับ ที่อยากจะเล่าให้พวกเราฟัง ?
ตอบ มีเยอะเลยครับ เรื่องความประทับใจในตัวท่าน ผมขอยกแค่สองเรื่องก็แล้วกันน่ะครับ เรื่องแรกคือเมื่อตอนที่ผมจะเขียนวิทยานิพนธ์ ผมก็ไปเรียนท่านว่า คนเราทำวิทยานิพนธ์ไปเพื่อให้ได้ปริญญาเอก เพียงเพื่อประกาศให้โลกเขารู้หรือว่าเรารู้ มันจะมีประโยชน์อะไร ความรู้ก็คือความรู้ ก็เลยถามท่านว่า ทำไมท่านถึงต้องเขียนวิทยานิพนธ์เพื่อให้ได้ปริญญาเอก ท่านก็ตอบช้าๆ ตามแบบของท่านน่ะครับว่า คนที่มีสัมมาทิฏฐิ มีปัญญา มีเงินทองและมีโอกาสที่ได้เรียน ก็จำเป็นต้องทำให้มันได้ เพื่อว่าจะได้ใช้สิ่งที่เราได้ให้เป็นที่พึ่งทางปัญญาแก่ผู้ที่ไม่มี่โอกาสได้มาศึกษาอย่างเรานี่ครับ
ผมฟังแล้วก็รู้สึกเลยว่า ผมต้องทำให้ได้ มันไม่ใช่ทำเพื่อตัวเราเอง เพราะต้องทำเพื่อคนอื่นด้วย เมื่อช่วยใครได้แล้วต้องช่วย ไม่ใช่ทำไปเพื่อข่มคนอื่นเขา นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกประทับใจมากและรู้สึกว่ามันทำให้เกิดแสงสว่าง ทำให้เกิดความเพียรพยายามจริงๆ
อีกตัวอย่างหนึ่งมันค่อนข้างเศร้าน่ะครับ คือ เมื่อกลางๆปี ค.ศ.๑๙๘๑ บุตรชายคนโตของท่านคือ พี่ปาล พนมยงค์ อยู่ที่เมืองไทยและไม่สบายมากเป็นมะเร็งที่ลำไส้ หมอก็บอกว่า อาจจะเสียชีวิต ในช่วงนั้นท่านผู้หญิงก็บินไปอยู่ที่เมืองไทยรวมทั้งพี่ๆ บางคนด้วย ผมก็โชคดีกำลังจะส่งวิทยานิพนธ์ ก็ได้มีโอกาสได้บินไปที่ปารีส เลยได้ไปอาศัยอยู่กับท่านปรีดีฯ อีกพักหนึ่ง ก็ไปคุยกับท่านหลายๆเรื่องและได้อยู่เป็นเพื่อนท่านนิดหน่อย วันหนึ่งในขณะที่เราเดินไปสวนในช่วงบ่ายๆ ท่านเดินอยู่กับผม แล้วก็มีเด็กเล็กๆ วิ่งเล่นอยู่ วิ่งมาใกล้ๆ ท่าน ท่านก็ก้มลงไป ค่อยๆ เอามือลูบศรีษะเด็กคนนั้น บอกว่า
“ปาลนี่ไม่น่าอายุสั้นเลย ยังไม่ได้มีโอกาสทำประโยชน์ให้ประเทศชาติคุ้มกับที่เกิดมาเลย”
ได้ฟังแล้วผมแทบน้ำตาตกน่ะครับ นึกถึงว่าคนที่ลูกต้องอยู่ห่างไกลกัน กำลังไม่สบายหนัก ไม่ทราบว่าจะรอดหรือไม่ สิ่งที่ท่านนึกถึงก็คือว่ายังไม่ได้ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติคุ้มค่า ผมไม่แน่ใจว่า ผมจะได้ยินจากคนอื่นในชีวิตนี้ ผมประทับใจมาก และรู้สึกว่า นี่คือความผูกพันที่ท่านมีต่อประเทศชาติของเรา น่าเสียดายน่ะครับที่ประเทศชาติของเราไม่ได้ผูกพันกับท่านเหมือนกับที่ท่านผูกพันกับประเทศชาติของเรา.
ตอบ มีเยอะเลยครับ เรื่องความประทับใจในตัวท่าน ผมขอยกแค่สองเรื่องก็แล้วกันน่ะครับ เรื่องแรกคือเมื่อตอนที่ผมจะเขียนวิทยานิพนธ์ ผมก็ไปเรียนท่านว่า คนเราทำวิทยานิพนธ์ไปเพื่อให้ได้ปริญญาเอก เพียงเพื่อประกาศให้โลกเขารู้หรือว่าเรารู้ มันจะมีประโยชน์อะไร ความรู้ก็คือความรู้ ก็เลยถามท่านว่า ทำไมท่านถึงต้องเขียนวิทยานิพนธ์เพื่อให้ได้ปริญญาเอก ท่านก็ตอบช้าๆ ตามแบบของท่านน่ะครับว่า คนที่มีสัมมาทิฏฐิ มีปัญญา มีเงินทองและมีโอกาสที่ได้เรียน ก็จำเป็นต้องทำให้มันได้ เพื่อว่าจะได้ใช้สิ่งที่เราได้ให้เป็นที่พึ่งทางปัญญาแก่ผู้ที่ไม่มี่โอกาสได้มาศึกษาอย่างเรานี่ครับ
ผมฟังแล้วก็รู้สึกเลยว่า ผมต้องทำให้ได้ มันไม่ใช่ทำเพื่อตัวเราเอง เพราะต้องทำเพื่อคนอื่นด้วย เมื่อช่วยใครได้แล้วต้องช่วย ไม่ใช่ทำไปเพื่อข่มคนอื่นเขา นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกประทับใจมากและรู้สึกว่ามันทำให้เกิดแสงสว่าง ทำให้เกิดความเพียรพยายามจริงๆ
อีกตัวอย่างหนึ่งมันค่อนข้างเศร้าน่ะครับ คือ เมื่อกลางๆปี ค.ศ.๑๙๘๑ บุตรชายคนโตของท่านคือ พี่ปาล พนมยงค์ อยู่ที่เมืองไทยและไม่สบายมากเป็นมะเร็งที่ลำไส้ หมอก็บอกว่า อาจจะเสียชีวิต ในช่วงนั้นท่านผู้หญิงก็บินไปอยู่ที่เมืองไทยรวมทั้งพี่ๆ บางคนด้วย ผมก็โชคดีกำลังจะส่งวิทยานิพนธ์ ก็ได้มีโอกาสได้บินไปที่ปารีส เลยได้ไปอาศัยอยู่กับท่านปรีดีฯ อีกพักหนึ่ง ก็ไปคุยกับท่านหลายๆเรื่องและได้อยู่เป็นเพื่อนท่านนิดหน่อย วันหนึ่งในขณะที่เราเดินไปสวนในช่วงบ่ายๆ ท่านเดินอยู่กับผม แล้วก็มีเด็กเล็กๆ วิ่งเล่นอยู่ วิ่งมาใกล้ๆ ท่าน ท่านก็ก้มลงไป ค่อยๆ เอามือลูบศรีษะเด็กคนนั้น บอกว่า
“ปาลนี่ไม่น่าอายุสั้นเลย ยังไม่ได้มีโอกาสทำประโยชน์ให้ประเทศชาติคุ้มกับที่เกิดมาเลย”
ได้ฟังแล้วผมแทบน้ำตาตกน่ะครับ นึกถึงว่าคนที่ลูกต้องอยู่ห่างไกลกัน กำลังไม่สบายหนัก ไม่ทราบว่าจะรอดหรือไม่ สิ่งที่ท่านนึกถึงก็คือว่ายังไม่ได้ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติคุ้มค่า ผมไม่แน่ใจว่า ผมจะได้ยินจากคนอื่นในชีวิตนี้ ผมประทับใจมาก และรู้สึกว่า นี่คือความผูกพันที่ท่านมีต่อประเทศชาติของเรา น่าเสียดายน่ะครับที่ประเทศชาติของเราไม่ได้ผูกพันกับท่านเหมือนกับที่ท่านผูกพันกับประเทศชาติของเรา.
No comments:
Post a Comment