ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ ๒๐ ความเคลื่อนไหวในทางปฏิวัติของประเทศต่างๆทางยุโรปและเอเชียได้ดำเนินไปอย่างมีน้ำหนัก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกแผ่นดินในหลายประเทศในเวลาต่อมา
ในตอนปลายปี ค.ศ.๑๙๐๕ (พ.ศ.๒๔๔๘) ได้เกิดการปฏิวัติในประเทศเปอร์เซียต่อต้านระบบการปกครองของชาห์ (SHAH) ซึ่งทำให้ประชาชนตกอยู่ในฐานะยากจนข้นแค้นอย่างที่สุดและทำให้เปอร์เซียกลายเป็นกึ่งอาณานิคมของประเทศจักรวรรดินิยม
ซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งราชวงศ์โรมานอฟของรุสเซียที่ปกครองด้วยระบบซาร์ (TSAR) ได้ส่งกองทหารรุสเซียหนึ่งกองพลไปช่วยชาห์แห่งเปอร์เซียปราบปรามประชาชน แต่การปฏิวัติของประชาชนชาวเปอร์เซียก็ยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งขบวนการปฏิวัติของประชาชนเป็นฝ่ายชนะและยึดเมืองหลวงคือกรุงเตหะรานไว้ได้และดำเนินการปลด ชาห์ออกเสียจากตำแหน่งผู้ปกครอง ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๐๙
ซึ่งในระหว่างที่มวลราษฎรเปอร์เซียยังต่อสู้กับกองทหารรุสเซียและทหารแห่งชาห์อยู่นั้น ในรุสเซียเองด้วยความเกรงกลัวในการเริ่มก่อการปฏิวัติของประชาชนในช่วงปี ๑๙๐๕ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ จึงเรียกประชุมรัฐสภาดูมา (Duma) สมัยที่หนึ่งในเดือนเมษายน ๑๙๐๖ แต่แล้วก็สั่งยุบสภาในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน
รัฐสภาดูมาเป็นสภานิติบัญญัติของรุสเซียที่ไม่มีอำนาจที่แท้จริงอย่างใด โดยการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภานี้มิได้เป็นการเลือกตั้งโดยตรง เป็นความไม่เสมอภาคและไม่ทั่วไป โดยสิทธิออกเสียงของชนชั้นกรรมาชีพและของชนชาติที่มิใช่รุสเซียแตอาศัยอยู่ในรุสเซียได้ถูกตัดรอนเป็นอย่างมาก ซาร์นิโคลัสที่ ๒ ได้เรียกประชุมสภาเพราะการปฏิวัติในปี ๑๙๐๕-๑๙๐๗ แต่ซาร์นั่นเองก็สั่งยุบสภาเสียหลายต่อหลายครั้งในช่วง ๑๙๐๖-๑๙๑๗ (อันว่าระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่เจ้ามีอำนาจล้นพ้นไม่จำกัด ย่อมถือเอาสิทธิ์ที่จะล้มสภาเสียตามความพอใจของตนอยู่เป็นนิตย์)ซึ่งการสั่งยุบสภาหรือโค่นล้มเสียงของประชาชนที่ก็มีอยู่น้อยนิดอยู่แล้วนั้น ได้รับการสนับสนุนจากพวกเจ้าที่ดินและนายทุนฝ่ายปฏิกิริยา(ใครเลยจะไม่คิดถึงพวกนายทุนผูกขาดผู้เป็นฝ่ายปฏิกิริยาต่ออำนาจประชาธิปไตยในสยามประเทศไม่ว่าจะก่อน ๒๔๗๕ หรือแม้กระทั่งในปี ๒๕๕๐ นี้)โดยพวกเหล่านี้ได้สนับสนุนระบบเอกาธิปไตยครองเสียงข้างมาก
กลับมาที่ชัยชนะของมวลประชาชนชาวเปอร์เซียที่ยึดกรุงเตหะรานและขับไล่ชาห์ไปเสียจากสังคมในปี ๑๙๐๙ แต่ต่อมาไม่นานความชั่วร้ายของประเทศจักรวรรดินิยมอย่างอังกฤษก็ยื่นมือสกปรกเข้ามาโดยร่วมกับรุสเซียทำการแทรกแซงและปราบปรามขบวนการปฏิวัติของประชาชนในเปอร์เซียจนราบคาบลง แล้วอังกฤษกับรุสเซียก็แบ่งกันยึดครองดินแดนเปอร์เซียไว้เป็นส่วนมากในปี ๑๙๑๑ และได้สถาปนาระบบชาห์ขึ้นมาใหม่
แต่ก่อนหน้านั้นไม่กี่ปีความพ่ายแพ้อย่างน่าละอายในสงครามระหว่างรุสเซียกับญี่ปุ่นในปี ๑๙๐๔-๑๙๐๕ ทำให้กองทหารรุสเซียแก้ความอัปยศโดยใช้ความรุนแรงทำการปราบปรามประชาชนที่กบฏต่อพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ ด้วยการสังหารหมู่และปล้นสะดมเป็นต้น และยิ่งไปกว่านั้นยังเข้าไปแทรกแซงและร่วมมือกับทหารอังกฤษปราบปรามประชาชนเปอร์เซียดังที่กล่าวมา
นี่มิใช่ครั้งแรกที่กองทหารคริสเตียนของรุสเซียได้แสดงบทบาทเป็นเพชรฆาตในระดับนานาชาติ และก็พอเข้าใจได้ว่าเหตุใดซาร์นิโคลัสแห่งรุสเซียผู้ตกอยู่ในความตื่นตระหนกเพราะตระหนักถึงการเคลื่อนไหวของประชาชนที่ต่อต้านการปกครองที่กดขี่ขูดรีดของตนด้วยการผละงานและก่อศึกกลางเมืองกับทหาร ทั้งนี้ซาร์นิโคลัสเป็นหัวหน้าขบวนการ “ร้อยทมิฬ” (Black Hundreds) โดยการสนับสนุนของพวกเจ้าที่ดินและนายทุนปฏิกิริยา (ใครเลยจะไม่นึกไปถึง “กระทิงแดง” หรือ “นวพล” หรือ “ลูกเสือชาวบ้าน” หรือ “นักศึกษาอาชีวะ” ที่ตั้งขึ้นมาจากการสนับสนุนของนายทุนปฏิกิริยาและพวกศักดินาขวาตกขอบ)ดังนั้นการปราบปรามประชาชนในเปอร์เซียจึงเป็นการระบายอารมณ์พิโรธของซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งระบบซาร์นั่นเอง
ขณะเดียวกันการที่อังกฤษแสดงมายาว่าไม่ข้องเกี่ยวกับเหตุการณ์ในเปอร์เซีย โดยตั้งตนเป็นกลางฉันมิตรต่อฝ่ายปฏิวัติและฝ่ายสนับสนุนสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในเปอร์เซีย ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า ชนชั้นเจ้าขุนมูลนายฝ่ายลิเบอรัลของอังกฤษมีความขุ่นเคืองต่อการตื่นตัวของประชาชนที่เคลื่อนไหวในทางแรงงานในประเทศของตน ในขณะเดียวกับที่มีความตื่นตระหนกในการรณรงค์เพื่อปฏิวัติซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในประเทศอินเดียซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของอังกฤษ
ชนชั้นเจ้าขุนมูลนายดังกล่าวจึงได้กระทำการในทำนองสำแดงออกอย่างเปิดเผยอยู่บ่อยครั้งว่า ชาวยุโรปผู้ผ่านการศึกษาในเรื่องรัฐธรรมนูญมาแล้วและเรียกตนเองว่าเป็น “นักการเมือง” บ้าง “ผู้เจริญแล้ว” บ้าง นั้นสามารถกระทำตนเป็นคนป่าเถื่อนได้เพียงใดหากเกิดการรณรงค์ของมวลชนต่อต้านนายทุนและระบบอาณานิคมของนายทุน ซึ่งเป็นระบบทำคนให้เป็นทาส ระบบปล้นสะดม และระบบของความรุนแรงทารุณ
ขบวนการปฏิวัติในเปอร์เซียสมัยนั้นอยู่ในฐานะลำบาก เพราะรัฐบาลอังกฤษกับรัฐบาลรุสเซียกำลังจะตกลงแบ่งดินแดนเปอร์เซียระหว่างกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าในบางเวลาดูทีว่าฝ่ายปฏิวัติต้องปราชัยอย่างราบคาบ แต่การที่ฝ่ายปฏิวัติสามารถต่อสู้อย่างทรหดที่เมืองทาบริซและชนะในการต่อสู้ตามท้องถิ่นบางแห่งอยู่บ่อยๆ ก็แสดงว่ากำลังทหารของรัฐบาลเปอร์เซียยังต้องเผชิญกับการต่อต้านของประชาชนอย่างเข้มแข็งที่สุด
และถึงแม้ว่าฝ่ายรัฐบาลเปอร์เซียจะได้รับการสนับสนุนกำลังทหารจากรุสเซียโดยมีนักการทูตอังกฤษเป็นผู้ช่วยเหลือก็ดี การปฏิวัติของประชาชนที่ใช้กำลังอาวุธต่อต้านฝ่ายปฏิกิริยาจนทำให้ฝ่ายนั้นต้องร้องขอความช่วยเหลือจากต่างชาติ เป็นการปฏิวัติที่ไม่อาจจะถูกมองข้ามไปได้ และถึงแม้ว่าฝ่ายปฏิกิริยาในเปอร์เซียจะได้ครองชัยชนะอย่างเต็มที่ นั่นก็จะเป็นเพียงการโหมโรงสำหรับการปฏิวัติซึ่งมวลชนจะเปิดฉากขึ้นใหม่ในประเทศนั้นอีก.
ในตอนปลายปี ค.ศ.๑๙๐๕ (พ.ศ.๒๔๔๘) ได้เกิดการปฏิวัติในประเทศเปอร์เซียต่อต้านระบบการปกครองของชาห์ (SHAH) ซึ่งทำให้ประชาชนตกอยู่ในฐานะยากจนข้นแค้นอย่างที่สุดและทำให้เปอร์เซียกลายเป็นกึ่งอาณานิคมของประเทศจักรวรรดินิยม
ซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งราชวงศ์โรมานอฟของรุสเซียที่ปกครองด้วยระบบซาร์ (TSAR) ได้ส่งกองทหารรุสเซียหนึ่งกองพลไปช่วยชาห์แห่งเปอร์เซียปราบปรามประชาชน แต่การปฏิวัติของประชาชนชาวเปอร์เซียก็ยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งขบวนการปฏิวัติของประชาชนเป็นฝ่ายชนะและยึดเมืองหลวงคือกรุงเตหะรานไว้ได้และดำเนินการปลด ชาห์ออกเสียจากตำแหน่งผู้ปกครอง ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๐๙
ซึ่งในระหว่างที่มวลราษฎรเปอร์เซียยังต่อสู้กับกองทหารรุสเซียและทหารแห่งชาห์อยู่นั้น ในรุสเซียเองด้วยความเกรงกลัวในการเริ่มก่อการปฏิวัติของประชาชนในช่วงปี ๑๙๐๕ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ จึงเรียกประชุมรัฐสภาดูมา (Duma) สมัยที่หนึ่งในเดือนเมษายน ๑๙๐๖ แต่แล้วก็สั่งยุบสภาในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน
รัฐสภาดูมาเป็นสภานิติบัญญัติของรุสเซียที่ไม่มีอำนาจที่แท้จริงอย่างใด โดยการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภานี้มิได้เป็นการเลือกตั้งโดยตรง เป็นความไม่เสมอภาคและไม่ทั่วไป โดยสิทธิออกเสียงของชนชั้นกรรมาชีพและของชนชาติที่มิใช่รุสเซียแตอาศัยอยู่ในรุสเซียได้ถูกตัดรอนเป็นอย่างมาก ซาร์นิโคลัสที่ ๒ ได้เรียกประชุมสภาเพราะการปฏิวัติในปี ๑๙๐๕-๑๙๐๗ แต่ซาร์นั่นเองก็สั่งยุบสภาเสียหลายต่อหลายครั้งในช่วง ๑๙๐๖-๑๙๑๗ (อันว่าระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่เจ้ามีอำนาจล้นพ้นไม่จำกัด ย่อมถือเอาสิทธิ์ที่จะล้มสภาเสียตามความพอใจของตนอยู่เป็นนิตย์)ซึ่งการสั่งยุบสภาหรือโค่นล้มเสียงของประชาชนที่ก็มีอยู่น้อยนิดอยู่แล้วนั้น ได้รับการสนับสนุนจากพวกเจ้าที่ดินและนายทุนฝ่ายปฏิกิริยา(ใครเลยจะไม่คิดถึงพวกนายทุนผูกขาดผู้เป็นฝ่ายปฏิกิริยาต่ออำนาจประชาธิปไตยในสยามประเทศไม่ว่าจะก่อน ๒๔๗๕ หรือแม้กระทั่งในปี ๒๕๕๐ นี้)โดยพวกเหล่านี้ได้สนับสนุนระบบเอกาธิปไตยครองเสียงข้างมาก
กลับมาที่ชัยชนะของมวลประชาชนชาวเปอร์เซียที่ยึดกรุงเตหะรานและขับไล่ชาห์ไปเสียจากสังคมในปี ๑๙๐๙ แต่ต่อมาไม่นานความชั่วร้ายของประเทศจักรวรรดินิยมอย่างอังกฤษก็ยื่นมือสกปรกเข้ามาโดยร่วมกับรุสเซียทำการแทรกแซงและปราบปรามขบวนการปฏิวัติของประชาชนในเปอร์เซียจนราบคาบลง แล้วอังกฤษกับรุสเซียก็แบ่งกันยึดครองดินแดนเปอร์เซียไว้เป็นส่วนมากในปี ๑๙๑๑ และได้สถาปนาระบบชาห์ขึ้นมาใหม่
แต่ก่อนหน้านั้นไม่กี่ปีความพ่ายแพ้อย่างน่าละอายในสงครามระหว่างรุสเซียกับญี่ปุ่นในปี ๑๙๐๔-๑๙๐๕ ทำให้กองทหารรุสเซียแก้ความอัปยศโดยใช้ความรุนแรงทำการปราบปรามประชาชนที่กบฏต่อพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ ด้วยการสังหารหมู่และปล้นสะดมเป็นต้น และยิ่งไปกว่านั้นยังเข้าไปแทรกแซงและร่วมมือกับทหารอังกฤษปราบปรามประชาชนเปอร์เซียดังที่กล่าวมา
นี่มิใช่ครั้งแรกที่กองทหารคริสเตียนของรุสเซียได้แสดงบทบาทเป็นเพชรฆาตในระดับนานาชาติ และก็พอเข้าใจได้ว่าเหตุใดซาร์นิโคลัสแห่งรุสเซียผู้ตกอยู่ในความตื่นตระหนกเพราะตระหนักถึงการเคลื่อนไหวของประชาชนที่ต่อต้านการปกครองที่กดขี่ขูดรีดของตนด้วยการผละงานและก่อศึกกลางเมืองกับทหาร ทั้งนี้ซาร์นิโคลัสเป็นหัวหน้าขบวนการ “ร้อยทมิฬ” (Black Hundreds) โดยการสนับสนุนของพวกเจ้าที่ดินและนายทุนปฏิกิริยา (ใครเลยจะไม่นึกไปถึง “กระทิงแดง” หรือ “นวพล” หรือ “ลูกเสือชาวบ้าน” หรือ “นักศึกษาอาชีวะ” ที่ตั้งขึ้นมาจากการสนับสนุนของนายทุนปฏิกิริยาและพวกศักดินาขวาตกขอบ)ดังนั้นการปราบปรามประชาชนในเปอร์เซียจึงเป็นการระบายอารมณ์พิโรธของซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งระบบซาร์นั่นเอง
ขณะเดียวกันการที่อังกฤษแสดงมายาว่าไม่ข้องเกี่ยวกับเหตุการณ์ในเปอร์เซีย โดยตั้งตนเป็นกลางฉันมิตรต่อฝ่ายปฏิวัติและฝ่ายสนับสนุนสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในเปอร์เซีย ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า ชนชั้นเจ้าขุนมูลนายฝ่ายลิเบอรัลของอังกฤษมีความขุ่นเคืองต่อการตื่นตัวของประชาชนที่เคลื่อนไหวในทางแรงงานในประเทศของตน ในขณะเดียวกับที่มีความตื่นตระหนกในการรณรงค์เพื่อปฏิวัติซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในประเทศอินเดียซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของอังกฤษ
ชนชั้นเจ้าขุนมูลนายดังกล่าวจึงได้กระทำการในทำนองสำแดงออกอย่างเปิดเผยอยู่บ่อยครั้งว่า ชาวยุโรปผู้ผ่านการศึกษาในเรื่องรัฐธรรมนูญมาแล้วและเรียกตนเองว่าเป็น “นักการเมือง” บ้าง “ผู้เจริญแล้ว” บ้าง นั้นสามารถกระทำตนเป็นคนป่าเถื่อนได้เพียงใดหากเกิดการรณรงค์ของมวลชนต่อต้านนายทุนและระบบอาณานิคมของนายทุน ซึ่งเป็นระบบทำคนให้เป็นทาส ระบบปล้นสะดม และระบบของความรุนแรงทารุณ
ขบวนการปฏิวัติในเปอร์เซียสมัยนั้นอยู่ในฐานะลำบาก เพราะรัฐบาลอังกฤษกับรัฐบาลรุสเซียกำลังจะตกลงแบ่งดินแดนเปอร์เซียระหว่างกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าในบางเวลาดูทีว่าฝ่ายปฏิวัติต้องปราชัยอย่างราบคาบ แต่การที่ฝ่ายปฏิวัติสามารถต่อสู้อย่างทรหดที่เมืองทาบริซและชนะในการต่อสู้ตามท้องถิ่นบางแห่งอยู่บ่อยๆ ก็แสดงว่ากำลังทหารของรัฐบาลเปอร์เซียยังต้องเผชิญกับการต่อต้านของประชาชนอย่างเข้มแข็งที่สุด
และถึงแม้ว่าฝ่ายรัฐบาลเปอร์เซียจะได้รับการสนับสนุนกำลังทหารจากรุสเซียโดยมีนักการทูตอังกฤษเป็นผู้ช่วยเหลือก็ดี การปฏิวัติของประชาชนที่ใช้กำลังอาวุธต่อต้านฝ่ายปฏิกิริยาจนทำให้ฝ่ายนั้นต้องร้องขอความช่วยเหลือจากต่างชาติ เป็นการปฏิวัติที่ไม่อาจจะถูกมองข้ามไปได้ และถึงแม้ว่าฝ่ายปฏิกิริยาในเปอร์เซียจะได้ครองชัยชนะอย่างเต็มที่ นั่นก็จะเป็นเพียงการโหมโรงสำหรับการปฏิวัติซึ่งมวลชนจะเปิดฉากขึ้นใหม่ในประเทศนั้นอีก.
No comments:
Post a Comment