ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)
พระธรรมวินัยสำคัญเพียงใด จึงทำให้ต้องมีการสังคายนา
ธรรมวินัย หรือหลักคำสอนที่สังคายนาไว้นี่แหละ เป็นตัวพระพุทธศาสนา เพราะได้บอกแล้วว่า พระพุทธศาสนาก็คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เรานับถือพระพุทธศาสนา ก็คือเรานับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติไปตามคำสั่งสอนนั้น พร้อมทั้งดูแลจัดสรรทำการต่างๆ เพื่อให้ชาวพุทธทั้งหลายได้เรียนรู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น การปฏิบัติอย่างนี้ก็เป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าเองได้ตรัสไว้ คือเมื่อพระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระองค์ได้ตรัสไว้เองว่า พระองค์ไม่ได้ทรงแต่งตั้งพระภิกษุสาวกองค์ใดให้เป็นศาสดาแทนพระองค์ แต่พระองค์ตรัสไว้เป็นภาษาบาลีว่า
ธรรมวินัย หรือหลักคำสอนที่สังคายนาไว้นี่แหละ เป็นตัวพระพุทธศาสนา เพราะได้บอกแล้วว่า พระพุทธศาสนาก็คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เรานับถือพระพุทธศาสนา ก็คือเรานับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติไปตามคำสั่งสอนนั้น พร้อมทั้งดูแลจัดสรรทำการต่างๆ เพื่อให้ชาวพุทธทั้งหลายได้เรียนรู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น การปฏิบัติอย่างนี้ก็เป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าเองได้ตรัสไว้ คือเมื่อพระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระองค์ได้ตรัสไว้เองว่า พระองค์ไม่ได้ทรงแต่งตั้งพระภิกษุสาวกองค์ใดให้เป็นศาสดาแทนพระองค์ แต่พระองค์ตรัสไว้เป็นภาษาบาลีว่า
โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา.(ที.ม.๑๐/๑๔๑/๑๗๘)แปลว่า :
ดูกรอานนท์ ธรรมแลวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว และบัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ในเมื่อเราล่วงลับไป
หมายความว่าพระพุทธเจ้าตรัสให้พระธรรมวินัย คือคำสั่งสอนของพระองค์นี้ เป็นศาสดาแทนพระองค์เพราะฉะนั้น การสังคายนาจึงถือว่าเป็นการปฏิบัติตามพุทธพจน์ ที่เหมือนกับได้ทรงฝากฝังสั่งเสียไว้ว่า ให้พระธรรมวินัย คือคำสั่งสอนของพระองค์เป็นศาสดาแทนพระองค์ด้วย เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ถ้าเราเคารพพระพุทธเจ้า เราก็ต้องรักษาพระธรรมวินัย ไว้ให้ดี เพราะการรักษาพระธรรมวินัยที่สังคายนาไว้ ก็คือรักษาพระศาสดาของเราไว้ คือรักษาพระพุทธเจ้าไว้นั่นเอง
พระธรรมวินัย มาอย่างไรจึงเป็นพระไตรปิฎก
ขอกล่าวต่อไปว่า การสังคายนาที่บอกเมื่อกี้ว่าเป็นการประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้ หรือประมวลพระธรรมวินัยไว้นั้นนอกจากประมวลคือรวมมาแล้ว ก็มีการจัดหมวดหมู่ไป ด้วย การจัดหมวดหมู่นั้นก็เพื่อให้ทรงจำได้สะดวก และง่ายต่อการแบ่งหน้าที่กันในการรักษา กับทั้งเกื้อกูลต่อการศึกษาค้นคว้าด้วย นอกจากแบ่งโดยส่วนใหญ่เป็นธรรมกับวินัยแล้ว ก็ยังมีการจัดแยกซอยย่อยออกไปอีก
ธรรมนั้น แยกย่อยออกไปเป็น ๒ ส่วน เพราะธรรมนั้นมากมายเหลือเกิน ต่างจากวินัยซึ่งมีขอบเขตแคบกว่า เพราะวินัยเป็นเรื่องของบทบัญญัติเกี่ยวกับการรักษาสังฆะ คือคณะสงฆ์ไว้ เพื่อให้ชุมชนแห่งพระภิกษุ และพระภิกษุณี ดำรงอยู่ด้วยดี แต่ธรรมเป็นคำสอนที่ครอบคลุมพระพุทธศาสนาทั้งหมด สำหรับพุทธบริษัททั้ง ๔ เนื่องจากธรรมมีมากมาย จึงมีการแบ่งหมวดหมู่ออกไปอีกโดยแยกเป็นว่า
๑. ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไปตามกาลเทศะ ตามเรื่องราวที่เกิดขึ้น คือเสด็จไปพบคนโน้น เขาทูลถามเรื่องนี้ พระองค์ก็ตรัสตอบไป เสด็จไปพบชาวนา ทรงสนทนาโต้ตอบกับเขา จนจบไป ก็เป็นเรื่องหนึ่ง เสด็จไปเจอกับพราหมณ์ ได้สนทนากับเขาหรือตอบคำถามของเขา ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไปเจอกษัตริย์หรือเจ้าชาย ก็สนทนากันอีกเรื่องหนึ่ง ธรรมที่ตรัสแสดงแก่บุคคลต่างๆในสถานการณ์ต่างๆ แต่ละเรื่องๆ จบไปเรื่องหนึ่งๆ นี่ เรียกว่าสูตรหนึ่งๆ
ธรรมมาในรูปนี้มากมาย เรื่องหนึ่งๆ ก็มีสาระไปอย่างหนึ่ง ตามแต่ว่าพระองค์ได้ตรัสแก่บุคคลประเภทใด เพื่อทรงชี้แจงอธิบายหรือตอบปัญหาเรื่องไหน ตรงกับพื้นเพภูมิหลังความสนใจ และระดับความรู้ความเข้าใจหรือระดับสติปัญญาของเขา ฉะนั้นธรรมแบบนี้จึงเห็นได้ว่ามีเนื้อหาแตกต่างกันมาก พอจบเรื่องนี้ที่ตรัสแก่ชาวนา ซึ่งเป็นธรรมระดับหนึ่ง เพียงเปลี่ยนไปอีกเรื่องหนึ่งเท่านั้นก็เป็นธรรมคนละด้านคนละระดับกันเลย
ตัวอย่างเช่นตรัสกับชาวนา เป็นเรื่องการทำมาหากิน หรือเรื่องการหว่านพืช ก็อาจจะตรัสเกี่ยวกับความขยันหมั่นเพียร หรืออาจจะเทียบกับการปฏิบัติของพระภิกษุก็สุดแต่ แต่พอไปอีกเรื่องหนึ่ง พระองค์สนทนากับพราหมณ์ ก็อาจจะตรัสเรื่องวรรณะ หรือเรื่องไตรเพทของพราหมณ์ หรือเรื่องการบูชายัญ ดังนี้เป็นต้น
ธรรมที่ตรัสแบบนี้ พอเปลี่ยนเรื่องไป เนื้อหาก็เปลี่ยนไป ห่างกันมาก ฉะนั้นเนื้อหาสาระจึงไม่ไปตามลำดับ แต่ละเรื่องๆ นั้นก็เรียกว่าสูตรหนึ่งๆ ธรรมที่ตรัสแสดงแบบนี้ คือตรัสแสดงแก่บุคคล โดยปรารภเรื่องราว เหตุการณ์ สถานการณ์คนละอย่างๆ นี้รวมไว้ด้วยกัน จัดไว้พวกหนึ่ง เรียกว่า พระสูตร
๒.ธรรมอีกประเภทหนึ่ง คือธรรมที่แสดงไปตามเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่คำนึงว่าใครจะฟังทั้งสิ้น เอาแต่เนื้อหาเป็นหลัก อย่างที่เรียกกันในปัจจุบันว่าเป็นวิชาการล้วนๆ คือยกหัวข้อธรรมอะไรขึ้นมา ก็อธิบายให้ชัดเจนไปเลย เช่นยกเรื่องขันธ์ ๕ มา ก็อธิบายไปว่าขันธ์ ๕ นั้น คืออะไร แบ่งออกเป็นอะไรบ้าง แต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไรๆ อธิบายไปจนจบ
เรื่องขันธ์ ๕ หรือว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทก็อธิบายไปในแง่ด้านต่างๆ จนกระทั่งจบเรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้น ธรรมที่แสดงเอาเนื้อหาเป็นหลักอย่างนี้ ก็จัดเป็นประเภทหนึ่ง เรียกว่า พระอภิธรรม ส่วนวินัยก็ยังคงเป็นวินัยอยู่เท่านั้น เรียกกันว่า พระวินัย ตอนนี้จะเห็นว่า เมื่อแยกธรรมเป็น ๒ ส่วน คือเป็นพระสูตรกับอภิธรรม แล้วมีวินัยเดิมอีกหนึ่ง ธรรมเป็น ๒ วินัย ๑ รวมกันก็เป็น ๓ ถึงตอนนี้ก็เกิดเป็นการจัดหมวดหมู่พระธรรมวินัยอีกแบบหนึ่ง เป็นปิฎก ๓ ที่เรียกว่า พระไตรปิฎกปิฎก แปลว่าตะกร้าหรือกระจาด โดยมีความหมายเชิงเปรียบเทียบว่าเป็นที่รวบรวม เพราะกระจาด ตะกร้า กระบุง บุ้งกี๋นั้น เป็นที่รวบรวมทัพสัมภาระในที่นี้ก็คือรวบรวมจัดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นประเภทๆ เป็นหมวดๆ จึงเป็น ๓ ปิฎก เรียกว่า ไตรปิฎก คือ
๑. พระวินัยปิฎก เป็นที่รวบรวมพระวินัย ซึ่งประกอบด้วยกฎเกณฑ์กติกา สำหรับรักษาภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ไว้
๒. พระสุตตันปิฎก เป็นที่รวบรวมพระสูตรทั้งหลาย คือธรรมที่ตรัสแสดงแก่บุคคล หรือปรารภเหตุการณ์หรือสถานการณ์อะไรบางอย่าง เป็นแต่ละเรื่องๆ ไป
๓. พระอภิธรรมปิฎก เป็นที่รวบรวมคำอธิบายหลักคำสอน ที่เป็นเนื้อหาสาระ เป็นหลักการแท้ๆ หรือเป็นวิชาการล้วนๆ
หมายความว่าพระพุทธเจ้าตรัสให้พระธรรมวินัย คือคำสั่งสอนของพระองค์นี้ เป็นศาสดาแทนพระองค์เพราะฉะนั้น การสังคายนาจึงถือว่าเป็นการปฏิบัติตามพุทธพจน์ ที่เหมือนกับได้ทรงฝากฝังสั่งเสียไว้ว่า ให้พระธรรมวินัย คือคำสั่งสอนของพระองค์เป็นศาสดาแทนพระองค์ด้วย เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ถ้าเราเคารพพระพุทธเจ้า เราก็ต้องรักษาพระธรรมวินัย ไว้ให้ดี เพราะการรักษาพระธรรมวินัยที่สังคายนาไว้ ก็คือรักษาพระศาสดาของเราไว้ คือรักษาพระพุทธเจ้าไว้นั่นเอง
พระธรรมวินัย มาอย่างไรจึงเป็นพระไตรปิฎก
ขอกล่าวต่อไปว่า การสังคายนาที่บอกเมื่อกี้ว่าเป็นการประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้ หรือประมวลพระธรรมวินัยไว้นั้นนอกจากประมวลคือรวมมาแล้ว ก็มีการจัดหมวดหมู่ไป ด้วย การจัดหมวดหมู่นั้นก็เพื่อให้ทรงจำได้สะดวก และง่ายต่อการแบ่งหน้าที่กันในการรักษา กับทั้งเกื้อกูลต่อการศึกษาค้นคว้าด้วย นอกจากแบ่งโดยส่วนใหญ่เป็นธรรมกับวินัยแล้ว ก็ยังมีการจัดแยกซอยย่อยออกไปอีก
ธรรมนั้น แยกย่อยออกไปเป็น ๒ ส่วน เพราะธรรมนั้นมากมายเหลือเกิน ต่างจากวินัยซึ่งมีขอบเขตแคบกว่า เพราะวินัยเป็นเรื่องของบทบัญญัติเกี่ยวกับการรักษาสังฆะ คือคณะสงฆ์ไว้ เพื่อให้ชุมชนแห่งพระภิกษุ และพระภิกษุณี ดำรงอยู่ด้วยดี แต่ธรรมเป็นคำสอนที่ครอบคลุมพระพุทธศาสนาทั้งหมด สำหรับพุทธบริษัททั้ง ๔ เนื่องจากธรรมมีมากมาย จึงมีการแบ่งหมวดหมู่ออกไปอีกโดยแยกเป็นว่า
๑. ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไปตามกาลเทศะ ตามเรื่องราวที่เกิดขึ้น คือเสด็จไปพบคนโน้น เขาทูลถามเรื่องนี้ พระองค์ก็ตรัสตอบไป เสด็จไปพบชาวนา ทรงสนทนาโต้ตอบกับเขา จนจบไป ก็เป็นเรื่องหนึ่ง เสด็จไปเจอกับพราหมณ์ ได้สนทนากับเขาหรือตอบคำถามของเขา ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไปเจอกษัตริย์หรือเจ้าชาย ก็สนทนากันอีกเรื่องหนึ่ง ธรรมที่ตรัสแสดงแก่บุคคลต่างๆในสถานการณ์ต่างๆ แต่ละเรื่องๆ จบไปเรื่องหนึ่งๆ นี่ เรียกว่าสูตรหนึ่งๆ
ธรรมมาในรูปนี้มากมาย เรื่องหนึ่งๆ ก็มีสาระไปอย่างหนึ่ง ตามแต่ว่าพระองค์ได้ตรัสแก่บุคคลประเภทใด เพื่อทรงชี้แจงอธิบายหรือตอบปัญหาเรื่องไหน ตรงกับพื้นเพภูมิหลังความสนใจ และระดับความรู้ความเข้าใจหรือระดับสติปัญญาของเขา ฉะนั้นธรรมแบบนี้จึงเห็นได้ว่ามีเนื้อหาแตกต่างกันมาก พอจบเรื่องนี้ที่ตรัสแก่ชาวนา ซึ่งเป็นธรรมระดับหนึ่ง เพียงเปลี่ยนไปอีกเรื่องหนึ่งเท่านั้นก็เป็นธรรมคนละด้านคนละระดับกันเลย
ตัวอย่างเช่นตรัสกับชาวนา เป็นเรื่องการทำมาหากิน หรือเรื่องการหว่านพืช ก็อาจจะตรัสเกี่ยวกับความขยันหมั่นเพียร หรืออาจจะเทียบกับการปฏิบัติของพระภิกษุก็สุดแต่ แต่พอไปอีกเรื่องหนึ่ง พระองค์สนทนากับพราหมณ์ ก็อาจจะตรัสเรื่องวรรณะ หรือเรื่องไตรเพทของพราหมณ์ หรือเรื่องการบูชายัญ ดังนี้เป็นต้น
ธรรมที่ตรัสแบบนี้ พอเปลี่ยนเรื่องไป เนื้อหาก็เปลี่ยนไป ห่างกันมาก ฉะนั้นเนื้อหาสาระจึงไม่ไปตามลำดับ แต่ละเรื่องๆ นั้นก็เรียกว่าสูตรหนึ่งๆ ธรรมที่ตรัสแสดงแบบนี้ คือตรัสแสดงแก่บุคคล โดยปรารภเรื่องราว เหตุการณ์ สถานการณ์คนละอย่างๆ นี้รวมไว้ด้วยกัน จัดไว้พวกหนึ่ง เรียกว่า พระสูตร
๒.ธรรมอีกประเภทหนึ่ง คือธรรมที่แสดงไปตามเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่คำนึงว่าใครจะฟังทั้งสิ้น เอาแต่เนื้อหาเป็นหลัก อย่างที่เรียกกันในปัจจุบันว่าเป็นวิชาการล้วนๆ คือยกหัวข้อธรรมอะไรขึ้นมา ก็อธิบายให้ชัดเจนไปเลย เช่นยกเรื่องขันธ์ ๕ มา ก็อธิบายไปว่าขันธ์ ๕ นั้น คืออะไร แบ่งออกเป็นอะไรบ้าง แต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไรๆ อธิบายไปจนจบ
เรื่องขันธ์ ๕ หรือว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทก็อธิบายไปในแง่ด้านต่างๆ จนกระทั่งจบเรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้น ธรรมที่แสดงเอาเนื้อหาเป็นหลักอย่างนี้ ก็จัดเป็นประเภทหนึ่ง เรียกว่า พระอภิธรรม ส่วนวินัยก็ยังคงเป็นวินัยอยู่เท่านั้น เรียกกันว่า พระวินัย ตอนนี้จะเห็นว่า เมื่อแยกธรรมเป็น ๒ ส่วน คือเป็นพระสูตรกับอภิธรรม แล้วมีวินัยเดิมอีกหนึ่ง ธรรมเป็น ๒ วินัย ๑ รวมกันก็เป็น ๓ ถึงตอนนี้ก็เกิดเป็นการจัดหมวดหมู่พระธรรมวินัยอีกแบบหนึ่ง เป็นปิฎก ๓ ที่เรียกว่า พระไตรปิฎกปิฎก แปลว่าตะกร้าหรือกระจาด โดยมีความหมายเชิงเปรียบเทียบว่าเป็นที่รวบรวม เพราะกระจาด ตะกร้า กระบุง บุ้งกี๋นั้น เป็นที่รวบรวมทัพสัมภาระในที่นี้ก็คือรวบรวมจัดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นประเภทๆ เป็นหมวดๆ จึงเป็น ๓ ปิฎก เรียกว่า ไตรปิฎก คือ
๑. พระวินัยปิฎก เป็นที่รวบรวมพระวินัย ซึ่งประกอบด้วยกฎเกณฑ์กติกา สำหรับรักษาภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ไว้
๒. พระสุตตันปิฎก เป็นที่รวบรวมพระสูตรทั้งหลาย คือธรรมที่ตรัสแสดงแก่บุคคล หรือปรารภเหตุการณ์หรือสถานการณ์อะไรบางอย่าง เป็นแต่ละเรื่องๆ ไป
๓. พระอภิธรรมปิฎก เป็นที่รวบรวมคำอธิบายหลักคำสอน ที่เป็นเนื้อหาสาระ เป็นหลักการแท้ๆ หรือเป็นวิชาการล้วนๆ
No comments:
Post a Comment