โปรดเกล้าฯ ท่านปรีดีฯ เป็นนายกรัฐมนตรี
ในการประชุมซาวเสียงของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ ๓๐ มกราคม ๒๔๘๙ เพื่อเลือกผู้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ ๖ มกราคม ๒๔๘๙ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ บันทึกรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันนั้นได้บันทึกไว้ดังนี้
"ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้นัดประชุมสมาชิกสภาเพื่อหารือเป็นการภายใน สอบถามความเห็นว่าผู้ใดสมควรจะได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมาชิกส่วนมากเห็นควรให้นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประธานสภาฯ จึงได้ไปแจ้งความเห็นของสมาชิกส่วนข้างมากให้นายปรีดี พนมยงค์ทราบ แต่นายปรีดี พนมยงค์ปฏิเสธ ไม่ขอรับตำแหน่ง โดยแจ้งว่ามีภาระกิจต่าง ๆ อยู่มาก ดังนั้น ประธานสภาฯ จึงได้หารือสมาชิกอีกครั้งหนึ่ง แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า นายปรีดี พนมยงค์ ปฏิเสธไม่ขอรับตำแหน่ง
"ที่ประชุมจึงได้หารือต่อไป ในที่สุดเห็นควรให้พันตรี ควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประธานสภาฯ จึงนำความกราบบังคมทูลตามความเห็นของสมาชิก"
นายควง อภัยวงศ์ จึงได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและอยู่ในตำแหน่งนั้นจนถึงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๔๘๙ แล้วได้ลาออกไปเพราะแพ้มติของสภา (เรื่องพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนหรือตามภาษาชาวบ้านเรียกว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค แต่พรรคประชาธิปัตย์เรียกว่าพระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียวในเชิงดูถูก เพราะผู้เสนอร่าง พ.ร.บ. นี้เป็น ส.ส. ภาคอีสาน) สภาผู้แทนราษฎรจึงได้ประชุมปรึกษาหารือเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีกันอีกครั้งหนึ่งในวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๔๘๙ รายงานการประชุมสภาฯ ได้บันทึกไว้ดังนี้
"วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๔๘๙ ประธานสภาฯ ได้นัดประชุมสมาชิกเป็นการภายใน เพื่อหารือว่า เมื่อนายกรัฐมนตรี (นายควง อภัยวงศ์) กราบถวายบังคับลาออกแล้วเช่นนี้ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปควรจะเป็นผู้ใด สมาชิกในที่ประชุมได้มีความเห็นว่าควรเป็นนายปรีดี พนมยงค์ มีสมาชิกบางท่านได้ให้ความเห็นว่า นายปรีดี พนมยงค์ ไม่อาจรับตำแหน่ง เพราะแม้แต่ตำแหน่งสมาชิกประเภทที่ ๒ ก็ยังแจ้งว่า ไม่สามารถมาประชุมได้สม่ำเสมอ ควรจะสอบถามผู้ถูกเสนอเสียก่อน ดังนั้นจึงพักการหารือไว้ชั่วระยะหนึ่ง เพื่อรอฟังการทาบทามตัว
"ประธานสภาฯ จึงได้ไปพบนายปรีดี พนมยงค์ ที่ทำเนียบท่าช้าง วังหน้า ได้มีสมาชิกอีกหลายคนไปด้วย ประธานสภาได้แจ้งให้ทราบว่า ได้หารือกันระหว่างสมาชิกสภาฯ พิจารณาหาผู้ที่สมควรจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป สมาชิกส่วนมากเห็นว่านายปรีดี พนมยงค์ ควรจะดำรงตำแหน่งนี้ จึงมาเรียนให้ทราบก่อนที่จะนำความขึ้นกราบบังคมทูลในการนี้ได้มีสมาชิกที่ร่วมไปด้วยได้กล่าวขอร้องเป็นทำนองว่า ในภาวะคับขันและสถานการณ์เช่นนี้ ซึ่งจะต้องมีเจรจากับพันธมิตรในปัญหาต่าง ๆ อยู่ต่อไปด้วย ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีควรจะเป็นนายปรีดี พนมยงค์"
ในการประชุมซาวเสียงของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ ๓๐ มกราคม ๒๔๘๙ เพื่อเลือกผู้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ ๖ มกราคม ๒๔๘๙ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ บันทึกรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันนั้นได้บันทึกไว้ดังนี้
"ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้นัดประชุมสมาชิกสภาเพื่อหารือเป็นการภายใน สอบถามความเห็นว่าผู้ใดสมควรจะได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมาชิกส่วนมากเห็นควรให้นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประธานสภาฯ จึงได้ไปแจ้งความเห็นของสมาชิกส่วนข้างมากให้นายปรีดี พนมยงค์ทราบ แต่นายปรีดี พนมยงค์ปฏิเสธ ไม่ขอรับตำแหน่ง โดยแจ้งว่ามีภาระกิจต่าง ๆ อยู่มาก ดังนั้น ประธานสภาฯ จึงได้หารือสมาชิกอีกครั้งหนึ่ง แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า นายปรีดี พนมยงค์ ปฏิเสธไม่ขอรับตำแหน่ง
"ที่ประชุมจึงได้หารือต่อไป ในที่สุดเห็นควรให้พันตรี ควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประธานสภาฯ จึงนำความกราบบังคมทูลตามความเห็นของสมาชิก"
นายควง อภัยวงศ์ จึงได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและอยู่ในตำแหน่งนั้นจนถึงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๔๘๙ แล้วได้ลาออกไปเพราะแพ้มติของสภา (เรื่องพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนหรือตามภาษาชาวบ้านเรียกว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค แต่พรรคประชาธิปัตย์เรียกว่าพระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียวในเชิงดูถูก เพราะผู้เสนอร่าง พ.ร.บ. นี้เป็น ส.ส. ภาคอีสาน) สภาผู้แทนราษฎรจึงได้ประชุมปรึกษาหารือเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีกันอีกครั้งหนึ่งในวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๔๘๙ รายงานการประชุมสภาฯ ได้บันทึกไว้ดังนี้
"วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๔๘๙ ประธานสภาฯ ได้นัดประชุมสมาชิกเป็นการภายใน เพื่อหารือว่า เมื่อนายกรัฐมนตรี (นายควง อภัยวงศ์) กราบถวายบังคับลาออกแล้วเช่นนี้ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปควรจะเป็นผู้ใด สมาชิกในที่ประชุมได้มีความเห็นว่าควรเป็นนายปรีดี พนมยงค์ มีสมาชิกบางท่านได้ให้ความเห็นว่า นายปรีดี พนมยงค์ ไม่อาจรับตำแหน่ง เพราะแม้แต่ตำแหน่งสมาชิกประเภทที่ ๒ ก็ยังแจ้งว่า ไม่สามารถมาประชุมได้สม่ำเสมอ ควรจะสอบถามผู้ถูกเสนอเสียก่อน ดังนั้นจึงพักการหารือไว้ชั่วระยะหนึ่ง เพื่อรอฟังการทาบทามตัว
"ประธานสภาฯ จึงได้ไปพบนายปรีดี พนมยงค์ ที่ทำเนียบท่าช้าง วังหน้า ได้มีสมาชิกอีกหลายคนไปด้วย ประธานสภาได้แจ้งให้ทราบว่า ได้หารือกันระหว่างสมาชิกสภาฯ พิจารณาหาผู้ที่สมควรจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป สมาชิกส่วนมากเห็นว่านายปรีดี พนมยงค์ ควรจะดำรงตำแหน่งนี้ จึงมาเรียนให้ทราบก่อนที่จะนำความขึ้นกราบบังคมทูลในการนี้ได้มีสมาชิกที่ร่วมไปด้วยได้กล่าวขอร้องเป็นทำนองว่า ในภาวะคับขันและสถานการณ์เช่นนี้ ซึ่งจะต้องมีเจรจากับพันธมิตรในปัญหาต่าง ๆ อยู่ต่อไปด้วย ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีควรจะเป็นนายปรีดี พนมยงค์"
"ในที่สุดนายปรีดี พนมยงค์ จึงยอมรับตำแหน่ง ประธานสภาฯ จึงกลับมาแจ้งให้ที่ประชุมสมาชิกสภาฯ ทราบ"
และท่านปรีดีฯ ก็ไม่ได้ทำให้สภาฯ ผิดหวัง ที่หวังให้ท่านเจรจากับพันธมิตรในปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาการให้ข้าวสารโดยไม่คิดมูลค่าแก่อังกฤษ ๑ ล้าน ๕ แสนตัน (คิดเป็นเงินตามราคาข้าวสารขณะนั้นประมาณ ๒,๕๐๐ ล้านบาท) ตามข้อเสนอของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ต่อรัฐบาลอังกฤษ โดยอ้างว่าเพื่ออัธยาศัยไมตรี และต่อมาข้อเสนอให้ข้าวสารฟรีนี้ ได้ถูกระบุไว้ในสัญญาสมบูรณ์แบบข้อที่ ๑๔ ซึ่งรัฐบาลท่านปรีดีฯ ได้เจรจากับอังกฤษจากการให้ฟรีเป็นการขายดังปรากฏในรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (สามัญ) ครั้งที่ ๓๓ วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๙ ดังนี้
"...รัฐบาลมีเรื่องที่จะแจ้งให้สมาชิกทราบ ๒ เรื่อง คือ เรืองต้น เป็นเรื่องที่เมื่อวานนี้ ทางรัฐบาลได้ทำข้อตกลงกับทางฝ่ายอังกฤษในเรื่องการที่แก้ไขสัญญาสมบูรณ์แบบ อันว่าด้วยการที่เราจะต้องส่งข้าวให้แก่อังกฤษเปล่า ๆ นั้น บัดนี้ได้ทำความตกลงกันว่า แทนที่ฝ่ายไทยจะส่งข้าวให้แก่อังกฤษเปล่า ๆ นั้น แต่นี้ต่อไปทางฝ่ายอังกฤษ เป็นฝ่ายที่จะได้มาซื้อข้าวไทยจากรัฐบาลไทย..."
ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร พระยามานวราชเสวี ได้กล่าวยืนยันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ๑ พฤษภาคม ๒๔๘๙ มีความตอนหนึ่งว่าดังนี้
"...ข้าพเจ้าขอเป็นพยานในที่นี้ว่า ท่าน (ปรีดีฯ) ได้ดำรงตำแหน่งของท่านมาอยู่ในความสัตย์ ความจริง ในความบริสุทธิ์ สมควรที่เราจะเคารพนับถือ และแม้ในคราวสุดท้ายที่หานายกรัฐมนตรีไม่ได้ ข้าพเจ้าก็ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อไปหาท่านด้วยได้รับมอบหมายจากท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายนี้ ท่านยินดีรับทำให้ข้าพเจ้าผู้มีหน้าที่ในฐานะเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรหมดความห่วงใย และยังมีหวังว่าท่านจะแก้ไขอุปสรรคต่าง ๆ ของการกระทำที่ได้เป็นมาแล้วให้ตลอดรอดฝั่ง และท่านก็แก้ไขสัญญาให้ข้าวเปล่าได้เป็นการซื้อขาย..."
ท่านปรีดีฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙ ก็ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง อันเนื่องมาจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ฉบับ ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙ ที่แก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ตามวิถีทางประชาธิปไตย สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือ ยกเลิกสมาชิกประเภท ๒ ที่มาจากการแต่งตั้งและให้มี ๒ สภา คือสภาผู้แทนราษฎรและพฤฒสภา ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง)
ต่อมาในวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๔๘๙ สภาทั้ง ๒ ได้ประชุมร่วมกันเพื่อซาวเสียงเลือกหาตัวผู้จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อจากท่านปรีดรฯ ที่ลาออกได้ ที่ประชุมร่วมกันมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ ให้ท่านปรีดีฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อไป
หลังจากที่รัฐสภา (ประกอบด้วยสภาทั้งสอง) ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ท่านปรีดีฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว คณะประธานและรองประธานรัฐสภา รวมทั้งเลขาธิการของทั้งสองสภา ได้เข้าเฝ้าเพื่อกราบบังคมทูล ให้ทรงทราบถึงมติของรัฐสภานั้น รายงานการประชุมรัฐสภาครั้งที่ ๓ วันอาทิตย์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๔๘๙ ได้บันทึกไว้ดังนี้
"ประธานรัฐสภา (นายวิลาศ โอสภานนท์) เรื่องนี้ (เรื่องการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) ข้าพเจ้ายินดีจะชี้แจง ถ้าหากท่านต้องการทราบ เพราะว่าในการที่วันนั้น สภาได้ให้มติในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านยังคงจำได้ในการประชุมรัฐสภาวันแรก พวกเราได้เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๖ คนด้วยกัน คือ ตัวข้าพเจ้า รองประธานเดี๋ยวนี้ (นายเกษม บุญศรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร) และรองประธานอีก ๒ สภา (นายไต๋ ปาณิกบุตร, นายมงคล รัตนวิจิตร, รองประธานพฤฒสภาและสภาผู้แทนราษฎรตามลำดับ) รวมทั้งเลขาธิการ ๒ สภาด้วย (นายไพโรจน์ ชัยนาม, นายเจริญ ปัณทโร เลขาธิการพฤฒสภาและสภาผู้แทนราษฎร ตามลำดับ) รวมเป็น ๖ คนด้วยกัน การเข้าไปนั้นก็เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายให้ท่านทรงทราบว่า บัดนี้รัฐสภาได้มีมติในการแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านก็ได้รับสั่งว่า "อ้อ หลวงประดิษฐ์ดีมาก แล้วจะทำอย่างไรต่อไป ?"
"ก็ได้ทูลพระองค์ท่านว่า ตามระเบียบและตามประเพณีที่ปฏิบัติมา ก็น่าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เชิญนายปรีดี พนมยงค์ มาสอบถามดูว่าจะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนี้ได้หรือไม่อย่างไร ทั้งนี้ก็สุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ท่านก็มิได้รับสั่งประการใด ได้แต่พยักพระพักตร์ซึ่งหมายความว่า ท่านจะได้เชิญนายปรีดี พนมยงค์มา..."
และในคืนวันที่ ๗ มิถุนายนนั้นเอง เวลาประมาณสองทุ่มครึ่ง ท่านปรีดีฯ ได้ถูกเรียกให้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อทรงซักถามความสมัครใจที่จะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านปรีดีฯ เข้าเฝ้าอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมงกว่า ๆ แล้วถวายบังคมทูลลากลับ
นายปรีดีฯ ได้พูดถึงข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ในที่ประชุมรัฐสภาครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๔๘๙ (ภายหลังสวรรคตสี่วัน) รายงานการประชุมรัฐสภาได้บันทึกไว้ดังนี้
"...ข้าพเจ้ารู้ว่ามีพวกที่แกล้งท่านต่าง ๆ นานา โดยให้มหาชนเข้าใจผิด และสำหรับในหลวงพระองค์นี้ ทุกคนที่ใจเป็นธรรม ก็จะรู้ว่าข้าพเจ้าได้เสียสละและทำทุกอย่างที่จะโปรเต็คท์ราชบัลลังก์ให้แก่พระองค์ในยามคริติกอลโมเมนท์ตลอดมา ตลอดจนพระราชวงศ์ข้าพเจ้าก็ได้ทำมาเป็นอย่างดี ข้าพเจ้าเคารพพระมหากษัตริย์ไม่ใช่ว่าแต่ปากแล้วใจไม่เคารพ ข้าพเจ้าไม่ทำให้เด็ดซตอรยด์ ข้าพเจ้าไม่ทำ และไม่เป็นนิสัยของข้าพเจ้าที่จะทำเช่นนี้ เจ้านายฝ่ายในย่อมจะรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี
"เพราะฉะนั้นข่าวลือต่าง ๆ เป็นเรื่องที่จงใจจะปัดแข้งปัดขาต่างหาก ข้าพเจ้าได้ยินถึงกับว่า ข้าพเจ้าไปทำเพรสเซอร์พระมหากษัตริย์ ว่าข้าพเจ้าเฝ้าถึง ๒ ยาม ที่จริงข้าพเจ้าเฝ้าท่านในวันศุกร์ที่ ๗ ภายหลังที่สภาได้ฟังเสียง (มีมติให้ท่านปรีดีฯ เป็นนายกรัฐมนตรี) และวันอาทิตย์ก็มีการสะไตร๊ค์ที่มักกะสัน ซึ่งเจ้ากรท่านนัดข้าพเจ้าไปเฝ้า ๒ ทุ่มครึ่ง ก่อนไปวังยังได้โทรศัพท์เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเชิญอธิบดีกรมรถไพมาด้วย ข้าพเจ้ารู้สึกว่าจะอยู่อย่างช้าไม่ถึงชั่วโมง ข้าพเจ้าเฝ้าครึ่งชั่วโมง รับสั่งถึงเรื่องที่ท่านจะตั้งข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี ข้าพเจ้าอยู่ราวครึ่งชั่วโมงแล้วก็กราบทูลว่ามีเรื่องสะไตร๊ค์เกิดขึ้น ข้าพเจ้าผิดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและอธิบดีกรมรถไฟมาเพื่อจะต้องทราบรายละเอียด และถ้าอยากจะทราบรายละเอียดในการที่ว่าประธานและรองประธานและเลขาธิการ ได้ไปเฝ้าท่านในการตั้งข้าพเจ้าก็มีหลักฐานพยานอยู่เสร็จ ท่านรับสั่งอย่างไร (ดังที่ประธานรัฐสภากล่าวข้างต้น)
"มีข่าวลือ (ปล่อยข่าวลือ) หลายอย่างในทางอกุศลทั้งสิ้น เอาไปลือเป็นทำนองที่ว่าท่านไม่พอพระทัย ที่จะตั้งข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีอะไรบ้าง ล้วนแล้วแต่ข่าวซึ่งเป็นอกุศลลอย ๆ ไม่มีเหตุผล นอกจากทำการปัดแข้งปัดขา ซึ่งข้าพเจ้าถือว่าข้าพเจ้าเป็น ซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ด้วยใจจริง ตั้งแต่ไหน ๆ ข้าพเจ้าได้ฝ่าอันตรายมาอย่างไร ทุกอย่างนี้ ถ้าหากว่าใครไม่ลืมคงจะรู้ ตลอดเวลาที่เป็นผู้สำเร็จราชการฯ เมื่อครั้งข้าพเจ้าเป็นผู้สำเร็จราชการฯ ได้ทำอย่างไร เพราะฉะนั้น ข่าวลืออะไรต่าง ๆ เป็นข่าวที่ปลุกปั้นทั้งสิ้น ขอให้ผู้ที่ใจเป็นธรรมระลึกถึงข้อนี้..."
คำอ้างของท่านปรีดีฯ ในตอนต้นที่ว่า "เจ้านายฝ่ายในย่อมจะรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี" (เรื่องความจงรักภักดี) ซึ่งเป็นการสอดรับกับคำของ ม.จ. อัปภัศราภา เทวกุล ผู้รับใช้ใกล้ชิดสมเด็ยพระพันวิสสา อัยยิกาเจ้า ที่ได้ประทานเล่าแก่นายสมภพ จันทรประภา ผู้เขียนชีวประวัติของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา พระบรมราชเทวี พระพันวิสสาอัยยิกาเจ้าเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ ได้ถวายความปลอดภัยในระหว่างสงคราม มีความตอนหนึ่งว่าดังนี้
"ที่อยุธยา ดร. ปรีดีฯ และภรรยาได้เข้าเฝ้าแหนกราบทูลซักถามถึงความสะดวกสบายอยู่เป็นเนืองนิจ จนคนที่คลางแคลงอยู่บางคนชักจะไม่แน่ใจ เพราะกิริยาพาที่ในเวลาเข้าเฝ้านั้นเรียบร้อย นักนุ่มนวลนักนัยน์ตาก็ไม่มีวี่แววอันควรจะระแวง..."
เวลาเย็น ๆ ผู้สำเร็จราชการฯ ก็เชิญเสด็จประทับรถยนต์ประพาสรอบ ๆ เกาะ
"หลานฉันยังเด็ก ฝากด้วยนะ"
เป็นกระแสพระดำรัสครั้งหนึ่ง ผู้สำเร็จราชการฯ ก็กราบทูลสนองพระราชประสงค์เป็นอย่างดีด้วยความเคารพ ทำให้ผู้ที่ชื่นชมก็ทวีความชื่นชมยิ่งขึ้น ผู้ที่คลางแคลงก็เริ่มไม่แน่ใจตนเอง
วันหนึ่งที่วัดมงคลบพิตร จังหวัดอยุธยา สมเด็จฯ ตรัสว่า
"ฉันจะไปปิดทอง"
ตรัสแล้วเสด็จไปทรงซื้อทองที่วางขายอยู่บริเวณนั้น เมื่อเสด็จไปถึงองค์พระปรากฏว่าทรงปิดไม่ถึง ผู้สำเร็จราชการจึงกราบทูลว่า
"ข้าพระพุทธเจ้าจะไปปิดถวาย"
สมเด็จฯ จึงประทานทองให้ไปพร้อมตรัสว่า
"เอาไปปิดเถอะ คนที่ทำบุญด้วยกันชาติหน้าก็เป็นญาติกัน"
เล่าลือกันว่า กระแสพระดำรัสนั้น ทำให้ผู้สำเร็จราชการฯ ซาบซึ้งมาก
ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้พูดถึงเจ้านายฝ่ายในกับท่านปรีดีฯ ไว้ในบันทึกของท่านเรื่อง "พระบรมวงศานุวงศ์และขบวนการเสรีไทย" มีความตอนหนึ่งว่าดังนี้
"การที่เสรีไทย โดยเฉพาะหัวหน้าเสรีไทยได้ถวายความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ถวายความอารักขาให้พ้นภัยสงครามครั้งนั้น สมเด็จพระพันวิสสาพระบรมอัยยิกาเจ้าได้ทรงซาบซึ้งพระทัยดี และเมื่อสิ้นสงคราม ได้รับสั่งเรียกนายปรีดีฯ ไปที่ประทับและขอบใจซึ่งคณะเสรีไทยถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง"
No comments:
Post a Comment