ปัญหาที่ต้องแก้ไขหลังการปฏิวัติ
“เราขอเรียกร้องให้ท่านจัดตั้งกันขึ้น จงจัดตั้งกันขึ้น ยิ่งพวกท่านจัดตั้งได้แข็งแกร่งเพียงไร พวกปฏิปักษ์ปฏิวัติก็ยิ่งมีโอกาสน้อย ที่จะฟื้นอำนาจคืนเท่านั้น” ฮัมเบอร์โต ออเตกา ผู้นำขบวนการซันดินิสต้า กล่าวต่อหน้าประชาชนนิคารากัว
“ประชาชน กองทัพและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะเป็นหลักประกันการปฏิวัติของเรา ความตายจงมาสู่พวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ”
นิคารากัวได้เข้าสู่ภาวะความสงบโดยทั่วไป หน่วยงานของรัฐบาลฟื้นฟูแห่งชาติ โดยความช่วยเหลือขององค์การกาชาดสากล สหรัฐ สหประชาชาติและอื่นๆ ได้จัดตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวตามท้องถิ่นต่างๆเพื่อแจกจ่ายอาหาร เสื้อผ้า และให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย ขณะเดียวกันงานฉลองวีรชนที่เสียชีวิตจากการสู้รบก็ได้มีขึ้นตามเมืองใหญ่ๆ
ผลสะเทือนจากนิคารากัว
ชัยชนะในระดับหนึ่ง ของประชาชนนิคารากัวนำความหวาดวิตกมาสู่ผู้นำรัฐบาลเผด็จการ ในลาตินอเมริกาหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอลซันวาดอร์ กัวเตมาลา และฮอนดูรัส ทั้งนี้แม้ว่าผู้ปกครองชุดใหม่นิคารากัวจะยืนยันว่า “ไม่ส่งการปฏิวัติเป็นสินค้าออก” ก็ตาม
รัฐบาลทั้งสามประเทศ เป็นรัฐบาลเผด็จการปราบปรามประชาชนอย่างโหดเหี้ยม ถึงกับถูกประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์แห่งสหรัฐฯ ซึ่งถือนโยบายว่าลาตินอเมริกาเป็นที่วางเท้าสำคัญ ปฏิเสธไม่ให้ความช่วยเหลือทางทหาร อย่างไรก็ตาม ผลจากนิคารากัวและความกลัวตามทฤษฎีโดมิโนทำให้ผู้นำประเทศเหล่านี้ ต่างพยายามเรียกร้อง ให้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯส่งความช่วยเหลือทางอาวุธให้อีก ทั้งนี้เพื่อจะได้รักษาระบอบเผด็จการอยู่ต่อไป
ในบรรดา ๓ ประเทศนี้ เอลซันวาดอร์เป็นประเทศที่สันหลังหวะที่สุด มีกองกำลังฝ่ายซ้ายต่อต้านรัฐบาลอยู่ถึงสามกลุ่ม กลุ่มแรกเรียกกว่า “กองทัพต่อต้านแห่งชาติ” ทำรายได้สะสมเพื่อการปฏิวัติด้วยการจับนักการทูตและบุคคลสำคัญอื่นๆ ชาวต่างชาติในรอบสองปีที่แล้วได้ทั้งสิ้น ๔๐ ล้านดอลล่าร์
กลุ่มที่สองเรียกว่า “กลุ่มประชาชนปฏิวัติ” มีประชาชนสนับสนุน ๗๐,๐๐๐ คน จากประชาชนทั้งหมดของเอลซัลวาดอร์ ๕.๓ ล้านคน กลุ่มที่สามเป็นกลุ่มไม่มีรายงานข่าวเรื่องชื่อ แต่ว่ากันว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน ถึงกับทำให้ประธานาธิบดีคาร์ลอส ฮัมเบอร์โด โรเมโล หวาดกลัวขนาดหมกตัวอยู่แต่ในทำเนียบที่แวดล้อมไปด้วยบังเกอร์และทหารองค์รักษ์
กัวเตมาลาเป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่สถานการณ์เครีดเขม็งจากการลุกขึ้นของประชาชน ซึ่งยังคมเคียดแค้นการที่องค์การ ซี ไอ เอ ของสหรัฐฯได้ว่าจ้างทหารท้องถิ่นให้ทำรัฐประหาร โค่นล้มรัฐบาลมาร์กซิสต์ของประธานาธิบดี จาโคโบ อา เบนซ์ กัซแมน ในปี ๑๙๕๔ รัฐบาลทหารที่สหรัฐฯเป็นผู้อุปถัมภ์เหมือนที่เคยอุปถัมภ์โซโมซาแห่งนิคารากัวมาก่อน ฆ่าประชาชนทิ้งถึง ๔๐,๐๐๐ คน และต่อมารัฐบาลก็ได้สั่งฆ่าหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านที่ประชาชนนิยมชมชอบในระดับเดียวกับจานควิน คามอร์โรแห่งนิคารากัวที่ถูกโซโมซาฆ่า ซึ่งทำให้เกิดผลทำนองเดียวกันคือ ฝ่ายประชาชนได้บ่ายหน้าเข้าหาการจับอาวุธปฏิวัติกันมากขึ้น แทนที่จะสู้ในหนทางเปิดเผยอย่างเก่าก่อน
ประเทศสุดท้ายคือ ฮอนดูรัส ค่อนข้างจะดีกว่าเพื่อน ฝ่ายประชาชนยังไม่ค่อยแข็งแรงนัก และการปราบปรามก็เป็นไปอย่างรุนแรง อย่างไรก็ดีก็ยังคาดกันว่า ฮอนดูรัสจะเป็นผลไม้สุกงอมในวันใดวันหนึ่งซึ่งอาจจะเร็วกว่าสองประเทศที่กล่าวข้างต้นก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขภายใน
ปัญหาภายในของนิคารากัว
ผู้นำของนิคารากัวได้ร้องขอความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ให้สนับสนุนด้านอาวุธเพื่อนำไปทดแทนอาวุธล้าสมัยในยุคของโซโมซา พร้อมกับความช่วยเหลือด้านอื่นๆ ซึ่งทางสหรัฐฯก็รับปากว่าจะพิจารณาให้ “อย่างถี่ถ้วน” กระนั้นก็ตามก็ยังลังเลอยู่
“เราจำเป็นต้องมีอาวุธเอาไว้ต่อต้านการปฏิวัติ” เจ้าหน้าที่ซันดินิสต้ากล่าว “กำลังของศัตรูยังมีอยู่ ๗,๐๐๐ คน พวกนี้อาจก่อการร้ายเมื่อใดก็ได้”
“ถ้าสหรัฐฯไม่ให้ เราจะหันไปหาความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆ”
“โดยความเป็นจริงแล้ว เราไม่ได้ขอแต่อาวุธจากสหรัฐฯ เราขอความช่วยเหลือด้านอื่นๆด้วย เรารู้ว่าอาวุธเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถพิทักษ์การปฏิวัติได้”
นิคารากัวนอกจากจะเผชิญกับปัญหาความอดอยากและความไข้ ที่องค์การนานาชาติต้องทุ่มเทความช่วยเหลือประทังให้ไว้แล้ว ยังมีปัญหาเศรษฐกิจที่โซโมซาสร้างรอยแผลเอาไว้ แต่ปัญหาสำคัญที่สุด ดูเหมือนจะเป็นปัญหาการพิทักษ์ปฏิวัติไว้จากพวกต่อต้านการปฏิวัติทั้งปวง ซึ่งผู้นำของซันดินิสต้าหาทางออกโดยบากหน้าไปพึ่งสหรัฐฯ ลูกพี่เก่าของโซโมซา
แม้ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์จะเคยปฏิเสธไว้ว่า การปฏิวัติของนิคารากัวเป็นไปโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือ “ขนาดใหญ่” จากคิวบา และกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงในนิคารากัวไม่ใช่เป็นผลมาจากคิวบาก็ตามที แต่สหรัฐฯก็วิตกอยู่เหมือนกันว่า นิคารากัวจะกลายเป็นคิวบาแห่งใหม่ของลาตินอเมริกา ดังในกรณีของอังโกล่าในอาฟริกาที่ล่วงหน้าไปก่อน
ด้วยเหตุที่ในวันต่อมานับจากการแถลงของ ปธน. คาร์เตอร์นั้นเอง ผู้นำสองในห้าคนของผู้ปกครองนิคารากัว พร้อมด้วยรัฐมนตรีหนึ่งคน และนายทหารอีก ๓๐ คนได้เดินทางไปเยือนกรุงฮาวานานครหลวงของคิวบา เข้าร่วมการฉลองชาติของคิวบาด้วย
ในการฉลองวันชาตินั้น ปธน.ฟิเดล คาสโตร แห่งคิวบาได้กล่าวว่า มีผู้หวาดเกรงว่านิคารากัวจะเป็นคิวบาแห่งใหม่
“แต่ประชาชนนิคารากัว ตอบว่านิคารากัวจะเป็นนิคารากัวใหม่” คาสโตรกล่าว
“สหรัฐฯคือตัวการสำคัญที่หนุนช่วย เผด็จการทหารในท้องที่แห่งนี้” เขาไม่ละโอกาสโจมตีศัตรู “เราจะต้องรณรงค์ในทางสากลเพื่อโค่นล้มระบอบเผด็จการในลาตินอเมริกาให้สิ้นไป” คาสโตรทำให้ผู้ปกครองสามประเทศ ที่กล่าวถึงข้างต้นสั่นผวา
อย่างไรก็ตาม ด้วยคำยืนยันจากผู้นำนิคารากัวว่าจะไม่ส่งการปฏิวัติออกนอกประเทศ สหรัฐฯก็ยังหวังว่าพอจะดึงรั้งสถานการณ์ไว้ได้ โดยอาศัยการทุ่มเทความช่วยเหลือให้ กระนั้นก็มาถึงจุดบอดเมื่อได้รับการร้องขอให้สนับสนุนด้านอาวุธ
สหรัฐฯเคยมีบทเรียนมาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนๆ ที่สำคัญที่สุดคือสมัยที่อเมริกาปฏิเสธคำร้องขอโฮจิมินห์ ภายหลังเสร็จสงครามโลกครั้งที่สองที่ขอให้สหรัฐให้ความช่วยเหลือในการต่อสู้เพื่อเอกราชของเวียดนามจากฝรั่งเศส แต่สหรัฐฯปฏิเสธ โฮจิมินห์จึงหันไปหาสหภาพโซเวียต
ในสมัยสงครามอังโกล่า ได้มีผู้เสนอให้กองกำลังประชาชนสามผ่าย คือ เอ็มพี แอล เอ. ยูนิต้าและ เอ็ฟ เอ็น แอล เอ. ร่วมมือกันในการปกครองประเทศหลังได้เอกราชจากปอร์ตุเกส แต่สหรัฐฯกลับไปสร้างความแตกแยกด้วยการหนุน เอ็ฟ เอ็น แอล เอ. และยูนิต้า ให้ร่วมกับรัฐบาลเหยียดผิววอร์สเตอร์ แห่งอาฟริกาใต้ ส่งทหารรับจ้างเข้าไปช่วยรบกับเอ็มพีแอลเอ. ผลที่สุดประธานาธิบดี อะกอสตินโฮ เนโตแห่งอังโกล่า ประธานขบวนการเอ็มพีแอลเอ. จึงไปขอความช่วยเหลือจากคิวบา และสหภาพโซเวียต และสามารถเอาชนะปลดปล่อยอังโกล่าได้ในที่สุด
สรุป
ที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในอดีตเมื่อ ๒๘ ปีมาแล้ว ก็เพื่อให้ได้เรียนรู้ว่าการต่อสู้เพื่อนำอำนาจคืนมาสู่ประชาชนนั้นในประเทศนิคารากัวนั้น เกิดจากประชาชนที่ถูกกดขี่ ข่มเหง เป็นเวลาหลายสิบปี เมื่อมีเหตุการณ์ที่เป็นเสมือนฟางเส้นสุดท้ายขาดลง คือนักการเมืองฝ่ายค้านซึ่งเป็นคนที่ประชาชนนิคารากัวส่วนใหญ่รักและชื่นชมถูกสอบสังหารโดยเป็นฝีมือของโซโมซา เมื่อนั้นไฟแห่งการลุกฮืออย่างมีแบบแผนที่ขบวนการซันดินิสต้าได้ชักชวนประชาชนให้ร่วมมือเพื่อโค่นล้มทรราชลง ก็พรึบขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรง
ภายหลังจากชัยชนะของขบวนการปฏิวัติ ปัญหาและอุปสรรคอีกมากมายได้ติดตามมา คือการจะต้องได้รับการยอมรับจากสากล และความจำเป็นจะต้องได้รับการช่วยเหลือทางอาหาร ยา และยุทธภัณฑ์เพื่อป้องกันการโต้ปฏิวัติ
บทเรียนจากการปฏิวัติของนิคารากัว คงจะทำให้ผู้รักในสัจจะ ความยุติธรรม ความสงบสุขของมวลประชาได้ศึกษาอย่างอย่างรอบคอบสะสมเป็นความรู้เพื่อคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นและภาระความรับผิดชอบที่จะต้องมีตามมาในการเปลี่ยนแปลงใดๆ การเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างมั่นคงจะต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีมวลประชาชนเป็นฐานอำนาจ ให้ประชาชนได้เข้าใจถึงสิทธิที่พวกเขาควรจะได้รับอย่างเท่าเทียมกับคนชั้นอื่นๆ ในฐานะที่เขาเป็นเจ้าของประเทศเช่นเดียวกัน แต่หากตราบใดที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่อาจตระหนักถึงความสำคัญของการต่อสู้เรียกร้องอำนาจ เมื่อนั้นการต่อสู้นั้นก็จะขาดกำลังสำคัญและไม่อาจบรรลุผลได้
“ประชาชน กองทัพและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะเป็นหลักประกันการปฏิวัติของเรา ความตายจงมาสู่พวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ”
นิคารากัวได้เข้าสู่ภาวะความสงบโดยทั่วไป หน่วยงานของรัฐบาลฟื้นฟูแห่งชาติ โดยความช่วยเหลือขององค์การกาชาดสากล สหรัฐ สหประชาชาติและอื่นๆ ได้จัดตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวตามท้องถิ่นต่างๆเพื่อแจกจ่ายอาหาร เสื้อผ้า และให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย ขณะเดียวกันงานฉลองวีรชนที่เสียชีวิตจากการสู้รบก็ได้มีขึ้นตามเมืองใหญ่ๆ
ผลสะเทือนจากนิคารากัว
ชัยชนะในระดับหนึ่ง ของประชาชนนิคารากัวนำความหวาดวิตกมาสู่ผู้นำรัฐบาลเผด็จการ ในลาตินอเมริกาหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอลซันวาดอร์ กัวเตมาลา และฮอนดูรัส ทั้งนี้แม้ว่าผู้ปกครองชุดใหม่นิคารากัวจะยืนยันว่า “ไม่ส่งการปฏิวัติเป็นสินค้าออก” ก็ตาม
รัฐบาลทั้งสามประเทศ เป็นรัฐบาลเผด็จการปราบปรามประชาชนอย่างโหดเหี้ยม ถึงกับถูกประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์แห่งสหรัฐฯ ซึ่งถือนโยบายว่าลาตินอเมริกาเป็นที่วางเท้าสำคัญ ปฏิเสธไม่ให้ความช่วยเหลือทางทหาร อย่างไรก็ตาม ผลจากนิคารากัวและความกลัวตามทฤษฎีโดมิโนทำให้ผู้นำประเทศเหล่านี้ ต่างพยายามเรียกร้อง ให้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯส่งความช่วยเหลือทางอาวุธให้อีก ทั้งนี้เพื่อจะได้รักษาระบอบเผด็จการอยู่ต่อไป
ในบรรดา ๓ ประเทศนี้ เอลซันวาดอร์เป็นประเทศที่สันหลังหวะที่สุด มีกองกำลังฝ่ายซ้ายต่อต้านรัฐบาลอยู่ถึงสามกลุ่ม กลุ่มแรกเรียกกว่า “กองทัพต่อต้านแห่งชาติ” ทำรายได้สะสมเพื่อการปฏิวัติด้วยการจับนักการทูตและบุคคลสำคัญอื่นๆ ชาวต่างชาติในรอบสองปีที่แล้วได้ทั้งสิ้น ๔๐ ล้านดอลล่าร์
กลุ่มที่สองเรียกว่า “กลุ่มประชาชนปฏิวัติ” มีประชาชนสนับสนุน ๗๐,๐๐๐ คน จากประชาชนทั้งหมดของเอลซัลวาดอร์ ๕.๓ ล้านคน กลุ่มที่สามเป็นกลุ่มไม่มีรายงานข่าวเรื่องชื่อ แต่ว่ากันว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน ถึงกับทำให้ประธานาธิบดีคาร์ลอส ฮัมเบอร์โด โรเมโล หวาดกลัวขนาดหมกตัวอยู่แต่ในทำเนียบที่แวดล้อมไปด้วยบังเกอร์และทหารองค์รักษ์
กัวเตมาลาเป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่สถานการณ์เครีดเขม็งจากการลุกขึ้นของประชาชน ซึ่งยังคมเคียดแค้นการที่องค์การ ซี ไอ เอ ของสหรัฐฯได้ว่าจ้างทหารท้องถิ่นให้ทำรัฐประหาร โค่นล้มรัฐบาลมาร์กซิสต์ของประธานาธิบดี จาโคโบ อา เบนซ์ กัซแมน ในปี ๑๙๕๔ รัฐบาลทหารที่สหรัฐฯเป็นผู้อุปถัมภ์เหมือนที่เคยอุปถัมภ์โซโมซาแห่งนิคารากัวมาก่อน ฆ่าประชาชนทิ้งถึง ๔๐,๐๐๐ คน และต่อมารัฐบาลก็ได้สั่งฆ่าหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านที่ประชาชนนิยมชมชอบในระดับเดียวกับจานควิน คามอร์โรแห่งนิคารากัวที่ถูกโซโมซาฆ่า ซึ่งทำให้เกิดผลทำนองเดียวกันคือ ฝ่ายประชาชนได้บ่ายหน้าเข้าหาการจับอาวุธปฏิวัติกันมากขึ้น แทนที่จะสู้ในหนทางเปิดเผยอย่างเก่าก่อน
ประเทศสุดท้ายคือ ฮอนดูรัส ค่อนข้างจะดีกว่าเพื่อน ฝ่ายประชาชนยังไม่ค่อยแข็งแรงนัก และการปราบปรามก็เป็นไปอย่างรุนแรง อย่างไรก็ดีก็ยังคาดกันว่า ฮอนดูรัสจะเป็นผลไม้สุกงอมในวันใดวันหนึ่งซึ่งอาจจะเร็วกว่าสองประเทศที่กล่าวข้างต้นก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขภายใน
ปัญหาภายในของนิคารากัว
ผู้นำของนิคารากัวได้ร้องขอความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ให้สนับสนุนด้านอาวุธเพื่อนำไปทดแทนอาวุธล้าสมัยในยุคของโซโมซา พร้อมกับความช่วยเหลือด้านอื่นๆ ซึ่งทางสหรัฐฯก็รับปากว่าจะพิจารณาให้ “อย่างถี่ถ้วน” กระนั้นก็ตามก็ยังลังเลอยู่
“เราจำเป็นต้องมีอาวุธเอาไว้ต่อต้านการปฏิวัติ” เจ้าหน้าที่ซันดินิสต้ากล่าว “กำลังของศัตรูยังมีอยู่ ๗,๐๐๐ คน พวกนี้อาจก่อการร้ายเมื่อใดก็ได้”
“ถ้าสหรัฐฯไม่ให้ เราจะหันไปหาความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆ”
“โดยความเป็นจริงแล้ว เราไม่ได้ขอแต่อาวุธจากสหรัฐฯ เราขอความช่วยเหลือด้านอื่นๆด้วย เรารู้ว่าอาวุธเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถพิทักษ์การปฏิวัติได้”
นิคารากัวนอกจากจะเผชิญกับปัญหาความอดอยากและความไข้ ที่องค์การนานาชาติต้องทุ่มเทความช่วยเหลือประทังให้ไว้แล้ว ยังมีปัญหาเศรษฐกิจที่โซโมซาสร้างรอยแผลเอาไว้ แต่ปัญหาสำคัญที่สุด ดูเหมือนจะเป็นปัญหาการพิทักษ์ปฏิวัติไว้จากพวกต่อต้านการปฏิวัติทั้งปวง ซึ่งผู้นำของซันดินิสต้าหาทางออกโดยบากหน้าไปพึ่งสหรัฐฯ ลูกพี่เก่าของโซโมซา
แม้ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์จะเคยปฏิเสธไว้ว่า การปฏิวัติของนิคารากัวเป็นไปโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือ “ขนาดใหญ่” จากคิวบา และกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงในนิคารากัวไม่ใช่เป็นผลมาจากคิวบาก็ตามที แต่สหรัฐฯก็วิตกอยู่เหมือนกันว่า นิคารากัวจะกลายเป็นคิวบาแห่งใหม่ของลาตินอเมริกา ดังในกรณีของอังโกล่าในอาฟริกาที่ล่วงหน้าไปก่อน
ด้วยเหตุที่ในวันต่อมานับจากการแถลงของ ปธน. คาร์เตอร์นั้นเอง ผู้นำสองในห้าคนของผู้ปกครองนิคารากัว พร้อมด้วยรัฐมนตรีหนึ่งคน และนายทหารอีก ๓๐ คนได้เดินทางไปเยือนกรุงฮาวานานครหลวงของคิวบา เข้าร่วมการฉลองชาติของคิวบาด้วย
ในการฉลองวันชาตินั้น ปธน.ฟิเดล คาสโตร แห่งคิวบาได้กล่าวว่า มีผู้หวาดเกรงว่านิคารากัวจะเป็นคิวบาแห่งใหม่
“แต่ประชาชนนิคารากัว ตอบว่านิคารากัวจะเป็นนิคารากัวใหม่” คาสโตรกล่าว
“สหรัฐฯคือตัวการสำคัญที่หนุนช่วย เผด็จการทหารในท้องที่แห่งนี้” เขาไม่ละโอกาสโจมตีศัตรู “เราจะต้องรณรงค์ในทางสากลเพื่อโค่นล้มระบอบเผด็จการในลาตินอเมริกาให้สิ้นไป” คาสโตรทำให้ผู้ปกครองสามประเทศ ที่กล่าวถึงข้างต้นสั่นผวา
อย่างไรก็ตาม ด้วยคำยืนยันจากผู้นำนิคารากัวว่าจะไม่ส่งการปฏิวัติออกนอกประเทศ สหรัฐฯก็ยังหวังว่าพอจะดึงรั้งสถานการณ์ไว้ได้ โดยอาศัยการทุ่มเทความช่วยเหลือให้ กระนั้นก็มาถึงจุดบอดเมื่อได้รับการร้องขอให้สนับสนุนด้านอาวุธ
สหรัฐฯเคยมีบทเรียนมาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนๆ ที่สำคัญที่สุดคือสมัยที่อเมริกาปฏิเสธคำร้องขอโฮจิมินห์ ภายหลังเสร็จสงครามโลกครั้งที่สองที่ขอให้สหรัฐให้ความช่วยเหลือในการต่อสู้เพื่อเอกราชของเวียดนามจากฝรั่งเศส แต่สหรัฐฯปฏิเสธ โฮจิมินห์จึงหันไปหาสหภาพโซเวียต
ในสมัยสงครามอังโกล่า ได้มีผู้เสนอให้กองกำลังประชาชนสามผ่าย คือ เอ็มพี แอล เอ. ยูนิต้าและ เอ็ฟ เอ็น แอล เอ. ร่วมมือกันในการปกครองประเทศหลังได้เอกราชจากปอร์ตุเกส แต่สหรัฐฯกลับไปสร้างความแตกแยกด้วยการหนุน เอ็ฟ เอ็น แอล เอ. และยูนิต้า ให้ร่วมกับรัฐบาลเหยียดผิววอร์สเตอร์ แห่งอาฟริกาใต้ ส่งทหารรับจ้างเข้าไปช่วยรบกับเอ็มพีแอลเอ. ผลที่สุดประธานาธิบดี อะกอสตินโฮ เนโตแห่งอังโกล่า ประธานขบวนการเอ็มพีแอลเอ. จึงไปขอความช่วยเหลือจากคิวบา และสหภาพโซเวียต และสามารถเอาชนะปลดปล่อยอังโกล่าได้ในที่สุด
สรุป
ที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในอดีตเมื่อ ๒๘ ปีมาแล้ว ก็เพื่อให้ได้เรียนรู้ว่าการต่อสู้เพื่อนำอำนาจคืนมาสู่ประชาชนนั้นในประเทศนิคารากัวนั้น เกิดจากประชาชนที่ถูกกดขี่ ข่มเหง เป็นเวลาหลายสิบปี เมื่อมีเหตุการณ์ที่เป็นเสมือนฟางเส้นสุดท้ายขาดลง คือนักการเมืองฝ่ายค้านซึ่งเป็นคนที่ประชาชนนิคารากัวส่วนใหญ่รักและชื่นชมถูกสอบสังหารโดยเป็นฝีมือของโซโมซา เมื่อนั้นไฟแห่งการลุกฮืออย่างมีแบบแผนที่ขบวนการซันดินิสต้าได้ชักชวนประชาชนให้ร่วมมือเพื่อโค่นล้มทรราชลง ก็พรึบขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรง
ภายหลังจากชัยชนะของขบวนการปฏิวัติ ปัญหาและอุปสรรคอีกมากมายได้ติดตามมา คือการจะต้องได้รับการยอมรับจากสากล และความจำเป็นจะต้องได้รับการช่วยเหลือทางอาหาร ยา และยุทธภัณฑ์เพื่อป้องกันการโต้ปฏิวัติ
บทเรียนจากการปฏิวัติของนิคารากัว คงจะทำให้ผู้รักในสัจจะ ความยุติธรรม ความสงบสุขของมวลประชาได้ศึกษาอย่างอย่างรอบคอบสะสมเป็นความรู้เพื่อคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นและภาระความรับผิดชอบที่จะต้องมีตามมาในการเปลี่ยนแปลงใดๆ การเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างมั่นคงจะต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีมวลประชาชนเป็นฐานอำนาจ ให้ประชาชนได้เข้าใจถึงสิทธิที่พวกเขาควรจะได้รับอย่างเท่าเทียมกับคนชั้นอื่นๆ ในฐานะที่เขาเป็นเจ้าของประเทศเช่นเดียวกัน แต่หากตราบใดที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่อาจตระหนักถึงความสำคัญของการต่อสู้เรียกร้องอำนาจ เมื่อนั้นการต่อสู้นั้นก็จะขาดกำลังสำคัญและไม่อาจบรรลุผลได้
No comments:
Post a Comment