ดร.เอ็มเบ็ดก้าร์รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดีย
เริ่มต้นบทบาท
ในเดือนมีนาคม ๒๔๖๓ เอ็มเบ็ดก้าร์ได้รับเลือกเป็นประธานในที่ประชุมของอธิศูทรที่เมืองโคลัคปูระ มหาราชาแห่งโคลัคปูระได้ทรงพระกรุณาเข้าร่วมประชุม และได้ทรงปราศรัยปลุกใจพวกอธิศูทรที่เข้าประชุมมีใจความสำคัญว่า พระองค์มีความเชื่อมั่นในความสามารถของเอ็มเบ็ดก้าร์ ในการที่จะปลดแอกออกจากคอของพวกอธิศูทรทั้งหลาย และนับว่าเป็นโอกาสและโชคของพวกเขาที่มีคนอย่างเอ็มเบ็ดก้าร์เกิดขึ้นในพวกอธิศูทร เอ็มเบ็ดก้าร์จะเป็นผู้นำแสงสว่างมาให้แก่พวกเขาเหล่านั้น เมื่อการประชุมครั้งนั้นจบลง ได้มีการจัดเลี้ยงอาหารค่ำ มหาราชาและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายท่านได้ร่วมรับประทานอาหารกับพวกอธิศูทร โดยมีเอ็มเบ็ดก้าร์เป็นผู้นำฝ่ายอธิศูทรอย่างเป็นกันเอง
ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ๒๔๖๓ ได้มีการประชุมที่สำคัญอีกครั้งที่เมืองนาคปูร ในที่ประชุมนั้นเสียงของเอ็มเบ็ดก้าร์เป็นเสียงที่กึกก้อง และมีความสำคัญในการอภิปรายเกี่ยวกับการเลือกผู้แทนอธิศูทรเข้าสู่สภานิติบัญญัติ ว่าควรจะให้ใครเป็นผู้เลือก คือจะให้รัฐบาลเลือกหรือให้สมาชิกของสภานิติบัญญัติ หรือควรจะให้อธิศูทรเองเลือก เอ็มเบ็ดก้าร์ได้แสดงความคิดเห็นและกล่าวอย่างเผ็ดร้อนโดยย้ำว่า “ถ้ารัฐบาลเป็นผู้เลือกก็เท่ากับเป็นผู้แทนของรัฐบาล ถ้าให้สภาเลือกก็เท่ากับเป็นผู้แทนของสภา ถ้าจะให้เป็นผู้แทนของอธิศูทรก็ควรจะให้อธิศูทรเลือกเอง อธิศูทรมิได้โง่เขลาเสียจนเลือกผู้แทนของตนเองไม่ได้ พวกเขารู้เขาเข้าใจเท่าที่แล้วๆมา สังคมดูถูกพวกเขา กีดกันพวกเขา พวกเขาไม่มีโอกาสได้แสดงความสามารถเลย แล้วเมื่อใดพวกเขาจึงจะพ้นจากสภาพครึ่งสัตว์ครึ่งมนุษย์นั้นเสียที” ในที่สุดที่ประชุมก็เห็นด้วยกับแนวความคิดดังกล่าว ซึ่งนับเป็นชัยชนะครั้งแรกในชีวิตของเขาที่ปรากฏแก่สาธารณชน
ศรีภรรยา
ในเรื่องชีวิตครอบครัวของเอ็มเบ็ดก้าร์นั้น การที่เขาเป็นอาจารย์ในวิทยาลัยทำให้มีรายได้พอสมควรแก่อัตภาพ เขาใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุด ได้แบ่งเงินเดือนให้ภรรยาไว้ใช้จ่ายในครอบครัว อีกส่วนหนึ่งเก็บเอาไว้ เขาคิดเสมอว่าจะรวบรวมให้พอค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายในการกลับไปเรียนกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตที่เรียนไว้เพียงครึ่งเดียวในลอนดอน เอ็มเบ็ดก้าร์นับว่าได้ศรีภรรยาผู้อดทนและสนับสนุนความก้าวหน้าของสามี โดยไม่ย่อท้อต่อความลำบาก เธอต้องรับภาระเพิ่มขึ้นอีกในการดูแลครอบครัวพี่ชายของสามีของเธอที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว บ้านพักของเอ็มเบ็ดก้าร์มีอยู่สองห้องหันหน้าเข้าหากัน ตั้งอยู่ในบริเวณแหล่งสลัม ภรรยาของเขาถึงแม้จะมีศรัทธาในศาสนาอย่างมั่นคงแต่ก็ไม่อาจไปประกอบพิธีทางศาสนาได้ เพราะการไปศาสนาสถานและร่วมประกอบพิธีทางศาสนาเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับคนนอกวรรณะอย่างเธอ
ตอนที่เอ็มเบ็ดก้าร์ไปศึกษาที่อเมริกา รามาไบผู้ภรรยาได้ดำเนินชีวิตไปด้วยความยากลำบาก แต่เธอก็ไม่ได้คร่ำครวญแม้แต่น้อย ได้แต่สวดภาวนาขอความสวัสดีและความรุ่งเรืองจงมีแก่สามีของเธอ เมื่อตอนที่เขาไปอเมริกา เธอกำลังตั้งครรภ์ ต่อมาได้ให้กำเนิดบุตรชายแต่ต้องเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก เมื่อเอ็มเบ็ดก้าร์กลับมาจากอเมริกา เธอก็ตั้งครรภ์อีกและก็ต้องสูญเสียบุตรไปตั้งแต่ยังเป็นทารกอีกเช่นกัน แต่การตั้งครรภ์ครั้งที่สาม ครั้งนี้เธอได้ให้กำเนิดบุตรชายและให้ชื่อว่า เยชวันต์ การให้กำเนิดเยชวันต์ทำให้เธอมีสุขภาพไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน แต่เธอก็อดทนไม่ให้กระทบกระเทือนต่อการศึกษาหาความรู้ของสามีเลยแม้แต่น้อย
ครั้นแล้วเอ็มเบ็ดก้าร์ก็สามารถรวบรวมเงินได้ก้อนหนึ่งและได้เพิ่มเติมจากโดยความช่วยเหลือจากมหาราชาแห่งโคลัคปูระ อีกทั้งได้ยืมเงินจากเพื่อนปาซีของเขาที่เคยร่วมศึกษาด้วยกันที่นิวยอร์ก คือ นาวัล ภาเทนา เป็นจำนวน ๕,๐๐๐ รูปี เขาจึงเดินทางไปยังลอนดอนอีกครั้งหนึ่ง ในเดือนกรกฎาคม ๒๔๖๓ โดยตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะเรียนวิชากฎหมายและเศรษฐศาสตร์ให้สำเร็จ การจากไปในครั้งนี้ รามาไบภรรยาของเขาก็ต้องอยู่ด้วยความยากลำบากอีกครั้ง สุขภาพก็ไม่แข็งแรง ความรู้ก็ไม่มี งานที่เธอจะทำได้ก็คือรับจ้างเป็นกรรมกรและคนใช้เท่าน้น อีกทั้งกลุ่มชุมชนของเธอยังเป็นที่รังเกียจถูกดูถูกจากคนวรรณะอื่นๆ นอกจากจะดูแลลูกชายแล้วเธอยังจะต้องแบกภาระครอบครัวของพี่ชายสามีด้วย ถ้าเอ็มเบ็ดก้าร์ไม่ได้ศรีภรรยาที่อดทนและน่ายกย่องเช่นนี้ ความสำเร็จและความรุ่งโรจน์ของเขาและของประชาชนชาวอินเดียจะมาจากที่ใด ? รามาไบจึงนับว่าเป็นผู้มีคุณูปการแก่ประชาชนชาวอินเดียโดยทางอ้อมทีเดียว
ถูกทวงให้ชดใช้ทุน
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น เจ้าหน้าที่แห่งบาโรด้าได้มีหนังสือถึงรัฐบาลแห่งบอมเบย์ ถึงคณะเจ้าหน้าที่วิทยาลัยซิดนาห์มและถึงหัวหน้ากรรมกรที่บอมเบย์ โดยแจ้งให้ทราบว่า เอ็มเบ็ดก้าร์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับมหาราชาแห่งบาโรด้าเกี่ยวกับการทำงานชดใช้ทุน (ซึ่งหากกล่าวอย่างเป็นธรรมแก่เอ็มเบ็ดก้าร์แล้ว เขาไม่มีเจตนาจะละเมิดสัญญานั้นเลย แต่ความบ้าคลั่งและป่าเถื่อนของสังคมฮินดูในเมืองบาโรด้าต่างหากที่ทำให้เขาต้องหนีออกจากเมืองบาโรด้า ซึ่งไมใช่แต่เฉพาะเขาเท่านั้น แต่หากเป็นทุกคนที่ต้องเผชิญความป่าเถื่อนอย่างนั้นก็ไม่สามารถจะทนทำงานชดใช้ทุนต่อไปได้เช่นกัน) เรื่องนี้มหาราชาแห่งบาโรด้าไม่ได้ทรงทราบเรื่องว่าพวกเจ้าหน้าที่ของพระองค์ได้กลั่นแกล้งเอ็มเบ็ดก้าร์ในทางกฎหมาย ซึ่งต่อมาพระองค์ทรงบันทึกไว้ว่า “เงินที่จ่ายให้เอ็มเบ็ดก้าร์ ถือว่าหมดไปในการศึกษา ไม่ควรจะรื้อฟื้นขึ้นอีก” ซึ่งในที่สุดของคดีในปี ๒๔๗๕ เรื่องก็ยุติลงโดยฝ่ายมหาราชาตัดสินยกให้ประโยชน์ทางการศึกษาของเอ็มเบ็ดก้าร์ คือเอ็มเบ็ดก้าร์ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยแต่อย่างใด
อดทนเพื่อความสำเร็จ
เมื่อเอ็มเบ็ดก้าร์กลับมาศึกษาที่กรุงลอนดอนอีกครั้งเขาได้รื้อฟื้นการเรียนของเขาใหม่ ที่สถานศึกษาเรียนเศรษฐศาสตร์และการเมืองที่ลอนดอนในปี ๒๔๖๕ ในวิชาเศรษฐศาสตร์ ขณะเดียวกันก็สมัครเป็นนักศึกษากฎหมายที่เกรส์ อินน์ ตอนนี้เอ็มเบ็ดก้าร์ได้ทุ่มเทความสนใจของเขาไปยังห้องสมุดลอนดอน อันเป็นสถานที่รวบรวมสรรพวิชานานาแขนง นับว่าเป็นสถานที่เหมาะสมที่สุดที่จะขุดค้นหาวิชาความรู้ ซึ่งนักปราชญ์ของโลกหลายต่อหลายคนได้สร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่ตนและโลก โดยอาศัยห้องสมุดแห่งนี้เป็นที่ฝึกฝนมันสมอง
เวลาเป็นเรื่องสำคัญแก่เขาเป็นอย่างมาก ในลอนดอนเขาได้พักอยู่ในห้องเช่ากับเพื่อนชาวอินเดียผู้หนึ่ง เศรษฐีนีเจ้าของห้องเช่าเป็นคนเห็นแก่เงินและดุดัน อาหารเช้าที่เธอจัดให้ก็คือ ปลาหนึ่งชิ้น ขนมปังหนึ่งแผ่น แยมชนิดเลว และน้ำชาหนึ่งถ้วย เอ็มเบ็ดก้าร์มิได้ถือว่าอาหารเป็นเรื่องใหญ่แต่อย่างใดเลย ดังนั้นเขาจึงกินอาหารอันน่าเบื่อนั้นเพียงเพื่อยังชีพ เมื่อเสร็จธุระจากอาหารเขาก็ตรงไปห้องสมุดทันที ณ ที่นั้น เขาตั้งตาอ่านหนังสือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เขาใช้เวลาอยู่ในห้องสมุดตั้งแต่เริ่มเปิดในเวลา ๘.๐๐ น.และกลับเมื่อห้องสมุดปิดในเวลา ๑๗.๐๐ น.เป็นอย่างนี้ทุกวัน เขาไม่เคยสนใจอาหารกลางวันเลย เขาเป็นคนแรกที่ไปถึงห้องสมุดและเป็นคนสุดท้ายที่เดินออกพร้อมด้วยกระเป๋าเอกสารที่บันทึกสิ่งที่ได้อ่านเป็นประจำทุกวัน หน้าตาของเขาซีดเซียวเหนื่อยอ่อนและสะลึมสะลือ แต่ก็แฝงด้วยความหวังว่าจะสำเร็จในไม่ช้า พอถึงที่พักเขาจะพักผ่อนชั่วครู่แล้วรับประทานอาหารเย็น ซึ่งเป็นน้ำซุปใสๆและขนมปังทาเนย ๒-๓ ชิ้น นับเป็นความโหดร้ายไร้ความเมตตาจากเจ้าของห้องเช่าหน้าเลือด ตกกลางคืนท้องจะร้องด้วยความหิวโหยอย่างมาก เอ็มเบ็ดก้าร์นอกจากทำงานอย่างเคร่งเครียดมาตลอดวัน มาซ้ำด้วยการกินแบบอดๆอยากๆ เขาต้องได้รับความทรมานอย่างมาก เขาไม่ซื้ออาหารทานพิเศษ แม้แต่ค่าโดยสารรถประจำทางเขาก็เลือกที่จะเดิน เพราะต้องใช้เงินอย่างระมัดระวัง
เขาพักผ่อนด้วยการเดินเล่นสักครู่แล้วจึงเริ่มอ่านหนังสือต่อไป อ่านทบทวนสิ่งที่ได้จากห้องสมุดหรืออ่านจากตำราที่เรียนบ้างจนดึกดื่น บางครั้งเพื่อนร่วมห้องซึ่งเข้านอนตอนที่เอ็มเบ็ดก้าร์อ่านหนังสือและเมื่อตื่นมาตอนตี ๔ ตี ๕ ก็พบว่าเอ็มเบ็ดก้าร์ยังอ่านหนังสืออยู่เช่นเดิม เขาจึงสงสารและเตือนด้วยความหวังดีให้เขาลดความขยันลงบ้างเพื่อรักษาสุขภาพ เอ็มเบ็ดก้าร์ได้ตอบอย่างนุ่มนวล่า “ความทุกข์และเวลาอันจำกัด บังคับให้ต้องรีบเรียนและให้สำเร็จการศึกษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้” อยู่มาคืนหนึ่งเนื่องจากอาหารอันแสนจะทารุณของเจ้าของห้องเช่าทำพิษให้เอ็มเบ็ดก้าร์ตัวร้อนแสบไส้ นอนบิดตัวไปมาด้วยความหิว เพื่อนร่วมห้องได้ช่วยชีวิตเขาไว้โดยให้อาหารที่นำไปจากอินเดียมีลักษณะคล้ายข้าวเกรียบมาทอดให้เขากินประทังความหิวและยืดชีวิตเขาออกไป...
ในเดือนมีนาคม ๒๔๖๓ เอ็มเบ็ดก้าร์ได้รับเลือกเป็นประธานในที่ประชุมของอธิศูทรที่เมืองโคลัคปูระ มหาราชาแห่งโคลัคปูระได้ทรงพระกรุณาเข้าร่วมประชุม และได้ทรงปราศรัยปลุกใจพวกอธิศูทรที่เข้าประชุมมีใจความสำคัญว่า พระองค์มีความเชื่อมั่นในความสามารถของเอ็มเบ็ดก้าร์ ในการที่จะปลดแอกออกจากคอของพวกอธิศูทรทั้งหลาย และนับว่าเป็นโอกาสและโชคของพวกเขาที่มีคนอย่างเอ็มเบ็ดก้าร์เกิดขึ้นในพวกอธิศูทร เอ็มเบ็ดก้าร์จะเป็นผู้นำแสงสว่างมาให้แก่พวกเขาเหล่านั้น เมื่อการประชุมครั้งนั้นจบลง ได้มีการจัดเลี้ยงอาหารค่ำ มหาราชาและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายท่านได้ร่วมรับประทานอาหารกับพวกอธิศูทร โดยมีเอ็มเบ็ดก้าร์เป็นผู้นำฝ่ายอธิศูทรอย่างเป็นกันเอง
ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ๒๔๖๓ ได้มีการประชุมที่สำคัญอีกครั้งที่เมืองนาคปูร ในที่ประชุมนั้นเสียงของเอ็มเบ็ดก้าร์เป็นเสียงที่กึกก้อง และมีความสำคัญในการอภิปรายเกี่ยวกับการเลือกผู้แทนอธิศูทรเข้าสู่สภานิติบัญญัติ ว่าควรจะให้ใครเป็นผู้เลือก คือจะให้รัฐบาลเลือกหรือให้สมาชิกของสภานิติบัญญัติ หรือควรจะให้อธิศูทรเองเลือก เอ็มเบ็ดก้าร์ได้แสดงความคิดเห็นและกล่าวอย่างเผ็ดร้อนโดยย้ำว่า “ถ้ารัฐบาลเป็นผู้เลือกก็เท่ากับเป็นผู้แทนของรัฐบาล ถ้าให้สภาเลือกก็เท่ากับเป็นผู้แทนของสภา ถ้าจะให้เป็นผู้แทนของอธิศูทรก็ควรจะให้อธิศูทรเลือกเอง อธิศูทรมิได้โง่เขลาเสียจนเลือกผู้แทนของตนเองไม่ได้ พวกเขารู้เขาเข้าใจเท่าที่แล้วๆมา สังคมดูถูกพวกเขา กีดกันพวกเขา พวกเขาไม่มีโอกาสได้แสดงความสามารถเลย แล้วเมื่อใดพวกเขาจึงจะพ้นจากสภาพครึ่งสัตว์ครึ่งมนุษย์นั้นเสียที” ในที่สุดที่ประชุมก็เห็นด้วยกับแนวความคิดดังกล่าว ซึ่งนับเป็นชัยชนะครั้งแรกในชีวิตของเขาที่ปรากฏแก่สาธารณชน
ศรีภรรยา
ในเรื่องชีวิตครอบครัวของเอ็มเบ็ดก้าร์นั้น การที่เขาเป็นอาจารย์ในวิทยาลัยทำให้มีรายได้พอสมควรแก่อัตภาพ เขาใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุด ได้แบ่งเงินเดือนให้ภรรยาไว้ใช้จ่ายในครอบครัว อีกส่วนหนึ่งเก็บเอาไว้ เขาคิดเสมอว่าจะรวบรวมให้พอค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายในการกลับไปเรียนกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตที่เรียนไว้เพียงครึ่งเดียวในลอนดอน เอ็มเบ็ดก้าร์นับว่าได้ศรีภรรยาผู้อดทนและสนับสนุนความก้าวหน้าของสามี โดยไม่ย่อท้อต่อความลำบาก เธอต้องรับภาระเพิ่มขึ้นอีกในการดูแลครอบครัวพี่ชายของสามีของเธอที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว บ้านพักของเอ็มเบ็ดก้าร์มีอยู่สองห้องหันหน้าเข้าหากัน ตั้งอยู่ในบริเวณแหล่งสลัม ภรรยาของเขาถึงแม้จะมีศรัทธาในศาสนาอย่างมั่นคงแต่ก็ไม่อาจไปประกอบพิธีทางศาสนาได้ เพราะการไปศาสนาสถานและร่วมประกอบพิธีทางศาสนาเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับคนนอกวรรณะอย่างเธอ
ตอนที่เอ็มเบ็ดก้าร์ไปศึกษาที่อเมริกา รามาไบผู้ภรรยาได้ดำเนินชีวิตไปด้วยความยากลำบาก แต่เธอก็ไม่ได้คร่ำครวญแม้แต่น้อย ได้แต่สวดภาวนาขอความสวัสดีและความรุ่งเรืองจงมีแก่สามีของเธอ เมื่อตอนที่เขาไปอเมริกา เธอกำลังตั้งครรภ์ ต่อมาได้ให้กำเนิดบุตรชายแต่ต้องเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก เมื่อเอ็มเบ็ดก้าร์กลับมาจากอเมริกา เธอก็ตั้งครรภ์อีกและก็ต้องสูญเสียบุตรไปตั้งแต่ยังเป็นทารกอีกเช่นกัน แต่การตั้งครรภ์ครั้งที่สาม ครั้งนี้เธอได้ให้กำเนิดบุตรชายและให้ชื่อว่า เยชวันต์ การให้กำเนิดเยชวันต์ทำให้เธอมีสุขภาพไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน แต่เธอก็อดทนไม่ให้กระทบกระเทือนต่อการศึกษาหาความรู้ของสามีเลยแม้แต่น้อย
ครั้นแล้วเอ็มเบ็ดก้าร์ก็สามารถรวบรวมเงินได้ก้อนหนึ่งและได้เพิ่มเติมจากโดยความช่วยเหลือจากมหาราชาแห่งโคลัคปูระ อีกทั้งได้ยืมเงินจากเพื่อนปาซีของเขาที่เคยร่วมศึกษาด้วยกันที่นิวยอร์ก คือ นาวัล ภาเทนา เป็นจำนวน ๕,๐๐๐ รูปี เขาจึงเดินทางไปยังลอนดอนอีกครั้งหนึ่ง ในเดือนกรกฎาคม ๒๔๖๓ โดยตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะเรียนวิชากฎหมายและเศรษฐศาสตร์ให้สำเร็จ การจากไปในครั้งนี้ รามาไบภรรยาของเขาก็ต้องอยู่ด้วยความยากลำบากอีกครั้ง สุขภาพก็ไม่แข็งแรง ความรู้ก็ไม่มี งานที่เธอจะทำได้ก็คือรับจ้างเป็นกรรมกรและคนใช้เท่าน้น อีกทั้งกลุ่มชุมชนของเธอยังเป็นที่รังเกียจถูกดูถูกจากคนวรรณะอื่นๆ นอกจากจะดูแลลูกชายแล้วเธอยังจะต้องแบกภาระครอบครัวของพี่ชายสามีด้วย ถ้าเอ็มเบ็ดก้าร์ไม่ได้ศรีภรรยาที่อดทนและน่ายกย่องเช่นนี้ ความสำเร็จและความรุ่งโรจน์ของเขาและของประชาชนชาวอินเดียจะมาจากที่ใด ? รามาไบจึงนับว่าเป็นผู้มีคุณูปการแก่ประชาชนชาวอินเดียโดยทางอ้อมทีเดียว
ถูกทวงให้ชดใช้ทุน
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น เจ้าหน้าที่แห่งบาโรด้าได้มีหนังสือถึงรัฐบาลแห่งบอมเบย์ ถึงคณะเจ้าหน้าที่วิทยาลัยซิดนาห์มและถึงหัวหน้ากรรมกรที่บอมเบย์ โดยแจ้งให้ทราบว่า เอ็มเบ็ดก้าร์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับมหาราชาแห่งบาโรด้าเกี่ยวกับการทำงานชดใช้ทุน (ซึ่งหากกล่าวอย่างเป็นธรรมแก่เอ็มเบ็ดก้าร์แล้ว เขาไม่มีเจตนาจะละเมิดสัญญานั้นเลย แต่ความบ้าคลั่งและป่าเถื่อนของสังคมฮินดูในเมืองบาโรด้าต่างหากที่ทำให้เขาต้องหนีออกจากเมืองบาโรด้า ซึ่งไมใช่แต่เฉพาะเขาเท่านั้น แต่หากเป็นทุกคนที่ต้องเผชิญความป่าเถื่อนอย่างนั้นก็ไม่สามารถจะทนทำงานชดใช้ทุนต่อไปได้เช่นกัน) เรื่องนี้มหาราชาแห่งบาโรด้าไม่ได้ทรงทราบเรื่องว่าพวกเจ้าหน้าที่ของพระองค์ได้กลั่นแกล้งเอ็มเบ็ดก้าร์ในทางกฎหมาย ซึ่งต่อมาพระองค์ทรงบันทึกไว้ว่า “เงินที่จ่ายให้เอ็มเบ็ดก้าร์ ถือว่าหมดไปในการศึกษา ไม่ควรจะรื้อฟื้นขึ้นอีก” ซึ่งในที่สุดของคดีในปี ๒๔๗๕ เรื่องก็ยุติลงโดยฝ่ายมหาราชาตัดสินยกให้ประโยชน์ทางการศึกษาของเอ็มเบ็ดก้าร์ คือเอ็มเบ็ดก้าร์ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยแต่อย่างใด
อดทนเพื่อความสำเร็จ
เมื่อเอ็มเบ็ดก้าร์กลับมาศึกษาที่กรุงลอนดอนอีกครั้งเขาได้รื้อฟื้นการเรียนของเขาใหม่ ที่สถานศึกษาเรียนเศรษฐศาสตร์และการเมืองที่ลอนดอนในปี ๒๔๖๕ ในวิชาเศรษฐศาสตร์ ขณะเดียวกันก็สมัครเป็นนักศึกษากฎหมายที่เกรส์ อินน์ ตอนนี้เอ็มเบ็ดก้าร์ได้ทุ่มเทความสนใจของเขาไปยังห้องสมุดลอนดอน อันเป็นสถานที่รวบรวมสรรพวิชานานาแขนง นับว่าเป็นสถานที่เหมาะสมที่สุดที่จะขุดค้นหาวิชาความรู้ ซึ่งนักปราชญ์ของโลกหลายต่อหลายคนได้สร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่ตนและโลก โดยอาศัยห้องสมุดแห่งนี้เป็นที่ฝึกฝนมันสมอง
เวลาเป็นเรื่องสำคัญแก่เขาเป็นอย่างมาก ในลอนดอนเขาได้พักอยู่ในห้องเช่ากับเพื่อนชาวอินเดียผู้หนึ่ง เศรษฐีนีเจ้าของห้องเช่าเป็นคนเห็นแก่เงินและดุดัน อาหารเช้าที่เธอจัดให้ก็คือ ปลาหนึ่งชิ้น ขนมปังหนึ่งแผ่น แยมชนิดเลว และน้ำชาหนึ่งถ้วย เอ็มเบ็ดก้าร์มิได้ถือว่าอาหารเป็นเรื่องใหญ่แต่อย่างใดเลย ดังนั้นเขาจึงกินอาหารอันน่าเบื่อนั้นเพียงเพื่อยังชีพ เมื่อเสร็จธุระจากอาหารเขาก็ตรงไปห้องสมุดทันที ณ ที่นั้น เขาตั้งตาอ่านหนังสือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เขาใช้เวลาอยู่ในห้องสมุดตั้งแต่เริ่มเปิดในเวลา ๘.๐๐ น.และกลับเมื่อห้องสมุดปิดในเวลา ๑๗.๐๐ น.เป็นอย่างนี้ทุกวัน เขาไม่เคยสนใจอาหารกลางวันเลย เขาเป็นคนแรกที่ไปถึงห้องสมุดและเป็นคนสุดท้ายที่เดินออกพร้อมด้วยกระเป๋าเอกสารที่บันทึกสิ่งที่ได้อ่านเป็นประจำทุกวัน หน้าตาของเขาซีดเซียวเหนื่อยอ่อนและสะลึมสะลือ แต่ก็แฝงด้วยความหวังว่าจะสำเร็จในไม่ช้า พอถึงที่พักเขาจะพักผ่อนชั่วครู่แล้วรับประทานอาหารเย็น ซึ่งเป็นน้ำซุปใสๆและขนมปังทาเนย ๒-๓ ชิ้น นับเป็นความโหดร้ายไร้ความเมตตาจากเจ้าของห้องเช่าหน้าเลือด ตกกลางคืนท้องจะร้องด้วยความหิวโหยอย่างมาก เอ็มเบ็ดก้าร์นอกจากทำงานอย่างเคร่งเครียดมาตลอดวัน มาซ้ำด้วยการกินแบบอดๆอยากๆ เขาต้องได้รับความทรมานอย่างมาก เขาไม่ซื้ออาหารทานพิเศษ แม้แต่ค่าโดยสารรถประจำทางเขาก็เลือกที่จะเดิน เพราะต้องใช้เงินอย่างระมัดระวัง
เขาพักผ่อนด้วยการเดินเล่นสักครู่แล้วจึงเริ่มอ่านหนังสือต่อไป อ่านทบทวนสิ่งที่ได้จากห้องสมุดหรืออ่านจากตำราที่เรียนบ้างจนดึกดื่น บางครั้งเพื่อนร่วมห้องซึ่งเข้านอนตอนที่เอ็มเบ็ดก้าร์อ่านหนังสือและเมื่อตื่นมาตอนตี ๔ ตี ๕ ก็พบว่าเอ็มเบ็ดก้าร์ยังอ่านหนังสืออยู่เช่นเดิม เขาจึงสงสารและเตือนด้วยความหวังดีให้เขาลดความขยันลงบ้างเพื่อรักษาสุขภาพ เอ็มเบ็ดก้าร์ได้ตอบอย่างนุ่มนวล่า “ความทุกข์และเวลาอันจำกัด บังคับให้ต้องรีบเรียนและให้สำเร็จการศึกษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้” อยู่มาคืนหนึ่งเนื่องจากอาหารอันแสนจะทารุณของเจ้าของห้องเช่าทำพิษให้เอ็มเบ็ดก้าร์ตัวร้อนแสบไส้ นอนบิดตัวไปมาด้วยความหิว เพื่อนร่วมห้องได้ช่วยชีวิตเขาไว้โดยให้อาหารที่นำไปจากอินเดียมีลักษณะคล้ายข้าวเกรียบมาทอดให้เขากินประทังความหิวและยืดชีวิตเขาออกไป...
No comments:
Post a Comment