สงครามอินโดจีน : สงครามเวียดนามเหนือ-เวียดนามใต้ (จบ)
การถอนตัว การถอย และการพ่ายแพ้
ต้นปี ๒๕๑๓ การเจรจาที่ปารีสไม่มีอะไรคืบหน้า และทหารอเมริกันยังคงถอนตัวออกจากเวียดนามเรื่อยๆ แต่การรบได้รุนแรงขึ้นอีก เมื่อเจ้าสีหนุถูกรัฐประหารในวันที่ ๑๘ มีนาคม ต้องออกจากกัมพูชาในวันที่ ๓๐ เมษายน กำลังทหารอเมริกันและเวียดนามใต้ได้ข้ามพรมแดนเข้าไปในกัมพูชา เพื่อกวาดล้างฐานกำลังคอมมิวนิสต์ที่นั่น
การรุกเข้าไปในกัมพูชาทำให้เสียงต่อต้านดังขึ้นอีกในสหรัฐฯ แม้ว่าทหารอเมริกันจะถอนตัวกลับออกมาจากกัมพูชาก่อนวันที่ ๓๐ มิถุนายน แต่ทหารเวียดนามใต้ก็ยังปฏิบัติการอยู่ในกัมพูชาแต่เพียงผู้เดียว
การยกกำลังทหารเข้าไปในกัมพูชามีผลทำให้รัฐสภาอเมริกันประท้วงรัฐบาลอเมริกันได้รุนแรงขึ้น ในเดือนมิถุนายนนั้น สภาสูงก็ประสบความสำเร็จในการยกเลิก “ญัตติอ่าวตังเกี๋ย” และสัปดาห์ต่อมาก็ลงมติว่า การปฏิบัติการในกัมพูชามิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเสียก่อน เป็นก้าวแรกที่รัฐสภาเริ่มคุมรัฐบาลได้
ในเดือนพฤศจิกายน สหรัฐฯพบว่าเวียดนามเหนือสะสมกำลังบำรุงไว้ขนานใหญ่ และพยายามเจรจาที่ไม่ให้เวียดนามเหนือลำเลียงลงมาทางใต้ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔ สหรัฐฯ ทำการรุกครั้งใหญ่ในเวียดนามใต้อันเป็นการทดสอบเวียดนามใต้ ทำให้ทำการรบเพียงลำพังปราศจากการสนับสนุนจากทหารอเมริกันภาคพื้นดิน แต่มีเครื่องบินอเมริกันสนับสนุนอยู่ ผลการทดสอบเป็นอย่างไรไม่มีความหมาย เพราะสหรัฐฯ ตั้งใจจะถอนกำลังทหารอยู่ดี
การสู้รบรุนแรงขึ้นทั่วเวียดนามใต้ตลอดปี ๒๕๑๔ เครื่องบินอเมริกันโจมตีคอมมิวนิสต์หนักมือขึ้นพร้อมๆกับการถอนทหารภาคพื้นดินดำเนินการต่อไป แต่การโจมตีทิ้งระเบิดไม่สามารถหยุดยั้งคอมมิวนิสต์ได
ประธานาธิบดีนิกสัน สั่งหว่านทุ่นระเบิดตามท่าเรือของเวียดนามเหนือเพื่อช่วยสภาพการณ์ทางทหารในเวียดนามใต้และกระตุ้นการเจรจาสันติภาพที่ชะงักอยู่ แต่การเจรจาก็ไม่ก้าวหน้าอยู่ดีตลอดปี ๒๕๑๕ เพราะการรบรุนแรงขึ้น การเจรจาหยุดชะงักได้เกิดขึ้นบ่อยๆ อย่างไรก็ดีเกิดจากเจรจาทางลับซ้อนขึ้นระหว่างนายเฮนรี่ เอ คิสซิงเจอร์กับนาย ซวนทุยในปลายปีนั้น
การรบภาคพื้นดินของทหารอเมริกันในเวียดนามใต้ยุติลงในวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๑๖ เมื่อทหารอเมริกันหน่วยสุดท้ายถอนตัวออกมาภายหลังที่มีสัญญาหยุดยิง ณ กรุงปารีสแล้ว ๒ เดือน นับเป็นเวลา ๘ ปี ๒๒ วันตั้งแต่ทหารนาวิกโยธินอเมริกันขึ้นบกเป็นครั้งแรกที่ดานัง ในการเริ่มสงครามที่ยาวนานที่สุดของสหรัฐฯ
ทหารอเมริกันเสียชีวิตในการรบหรือเหตุอื่นเป็นจำนวน ๕๗,๗๑๗ คน สูญหายไปประมาณ ๙๐๐ คน จำนวนทหารอเมริกันบาดเจ็บมากกว่า ๓๐๐,๐๐๐ คน วัสดุที่ใช้ในการสงครามมีมูลค่ากว่า ๑๐๐ พันล้านดอลล่าร์
ทหารเวียดนามใต้เสียชีวิตมากกว่า๑๘๐,๐๐๐ คนและบาดเจ็บประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ คน ฝ่ายเวียดนามเหนือและเวียดกงไม่แถลงจำนวนผู้สูญเสีย แต่ประมาณว่าเสียชีวิตมากกว่า ๙๒๕,๐๐๐ คน และบาดเจ็บนับล้านคน
วาระสุดท้ายของเวียดนามเป็นไปอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๑๘ เมื่อประธานาธิบดีเทียวสั่งทหารภาคกลางถอยลงใต้เพื่อหวังจะกู้สถานการณ์ทางทหารที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์บุกรุกอย่างรวดเร็วอันเป็นการเข้าตาจน เหงียนวันเทียว สละตำแหน่งให้ตรันวันเฮืองผู้ส่งต่อให้เดืองวันมินห์อีกทีหนึ่ง และประกาศยอมแพ้ต่อคอมมิวนิสต์ในวันที่ ๓๐ เมษายนปีนั้นเอง
บทเรียนจากเวียดนาม
- ผู้ที่มีอิทธิพลอย่างแท้จริงต่อพวกเวียดมินห์คือทางกรุงมอสโคว์ที่สามารถปลอบเวียดมินห์ให้ยอมรับการยุติสงครามกับฝรั่งเศสได้ แม้ว่าในตอนเริ่มแรกเวียดมินห์จะได้รับการสนับสนุนจากกรุงปักกิ่งมากกว่าจากกรุงมอสโคว์ก็ตาม และการที่เรือลำแรกที่เข้าไปยังกรุงไซ่ง่อนหลังจากแตกแล้ว เป็นเรือบรรทุกน้ำมันของรัสเซีย ยืนยันได้ว่าทางกรุงมอสโคว์ช่วยฮานอยรบตั้งแต่ต้นจนจบ
- คนที่ได้อำนาจมักลืมตัว หลงอำนาจ แม้ว่าทีแรกจะตั้งใจดีต่อบ้านเมืองและไม่คิดจะเป็นใหญ่นานนัก็ตาม อย่างเช่น โงดินห์ เดียม เป็นต้น นำความพินาศมาสู่ตนและประเทศชาติในที่สุด
- ฝ่ายที่สหรัฐฯสนับสนุน เป็นฝ่ายพ่ายแพ้และสหรัฐฯ เองที่เคยชนะในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และ ๒ เสมอตัวในสงครามเกาหลี แต่ต้องมาพ่ายแพ้กับสงครามที่ไม่มีแนวรบในเวียดนาม และพ่ายแพ้แก่ประเทศไม่มีอันดับทางทหารในอินโดจีน
- ในสงครามปลดแอก เกิดกลุ่มที่ ๓ อยู่เสมอ อันเป็นกลุ่มที่เกลียดชังฝ่ายหนึ่งและช่วยอีกฝ่ายหนึ่งแม้ว่าจะไม่นิยมชมชอบเลยก็ตาม
- รัฐบาลเวียดนามใต้ที่พ่ายแพ้แก่คอมมิวนิสต์เป็นรัฐบาลทหารหรือรัฐบาลเผด็จการ
- การเล่นพรรคเล่นพวกในกองทัพของชาติเพื่อรักษาฐานะของตนเองทางการเมืองอย่างกองทัพเวียดนามใต้ เป็นวิธีการบ่อนทำลายขวัญและประสิทธิภาพของกองทัพได้อย่างชงัด
- การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลที่ตนไม่ชอบด้วยการปฏิวัติ รัฐประหาร เป็นวิธีการอย่างหนึ่งของสหรัฐฯ เพื่อให้ได้รัฐบาลต่างชาติที่สหรัฐฯ ควบคุมได้
- การนำเอาญาติหรือบริวารว่านเครือ มาดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยไม่ฟังคำทักท้วงของใครเป็นหนทางแห่งหายนะได้อย่างฉมังทางหนึ่ง
- การส่งหน่วยงานลับอย่าง ซี ไอ เอ ไปปฏิบัติงานโดยใช้หน่วยงานอื่นบังหน้าในการปฏิบัติงานทางลับเพื่อผลประโยชน์ในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นวิธีการที่ใช้มากและแพร่หลายในอินโดจีน
- การ สร้างสถานการณ์ เพื่อที่ตนจะได้มีเหตุผลหรือข้อแก้ตัวที่จะกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นลูกไม้ที่สหรัฐฯ ใช้อยู่ในเวียดนามและคงใช้ต่อไปอีกนาน
- การโจมตีทางอากาศต่อประเทศที่ไม่มีกำลังทางอากาศเพียงพอที่จะต่อต้านได้ เป็นเครื่องมือและกลยุทธอย่างหนึ่งที่สหรัฐฯ ใช้ “บีบ” ฝ่ายตรงข้ามให้ยอมทำตามใจตน
- การครองอากาศของสหรัฐฯ ในอินโดจีนไม่ได้ผลนักต่อการรบนอกแบบในภูมิประเทศอย่างอินโดจีน
- การประท้วงของชาวอเมริกันมีอานุภาพมากจนรัฐบาลต้องอ่อนข้อให้ แสดงว่าสังคมของสหรัฐฯนั้น ประชาชนเป็นฝ่ายนำผู้นำ
- การใช้เงินเข้าล่อ เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งสำหรับปฏิบัติการ “ตบหัวแล้วลูบหลัง” ของสหรัฐฯ
- ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสหรัฐฯในเวียดนามทำให้ชาวไร่ ชาวนาต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือน มีผลให้รัฐบาลไม่มีกำลังผลิตและจำเป็นต้องรับการช่วยเหลือจากต่างประเทศอยู่เสมอ
- การใช้จ่ายอย่างมหาศาลของสหรัฐฯ ในเวียดนามใต้ทำให้เงินเฟ้อและกระกระเทือนต่อสังคม ศีลธรรมของชาวญวนอย่างประเมินไม่ได้
- นักการเมือง นักการทหาร ข้าราชการตลอดจนพ่อค้าประชาชนที่ติดต่อกับสหรัฐฯเป็นประจำ ต่างร่ำรวยมหาศาล เร่งให้สังคมพิการเกิดช่องว่างระหว่างคนพวกนี้กับคนส่วนใหญ่ในสังคม
- เหงียนวัน เทียว มีทองติดตัวหนีออกนอกประเทศเท่าใดยังเป็นปัญหาอยู่ และเชื่อกันว่าผู้นำรัฐบาลทหาร กอบโกยสมบัติ
- ทหารต่างชาติที่ไปร่วมรบช่วยเวียดนามใต้ ไม่มีความหมายทางทหาร แต่เป็นความหมายทางการเมืองว่ามีหลายชาติสนับสนุนตนทำการรบตามที่สหรัฐฯ ต้องการเท่านั้น
- การรบที่ปราศจากแนวรบนั้น ทหารอเมริกันไม่ชอบ จนบางพวกเสียสติไปเลยก็มี
การถอนตัว การถอย และการพ่ายแพ้
ต้นปี ๒๕๑๓ การเจรจาที่ปารีสไม่มีอะไรคืบหน้า และทหารอเมริกันยังคงถอนตัวออกจากเวียดนามเรื่อยๆ แต่การรบได้รุนแรงขึ้นอีก เมื่อเจ้าสีหนุถูกรัฐประหารในวันที่ ๑๘ มีนาคม ต้องออกจากกัมพูชาในวันที่ ๓๐ เมษายน กำลังทหารอเมริกันและเวียดนามใต้ได้ข้ามพรมแดนเข้าไปในกัมพูชา เพื่อกวาดล้างฐานกำลังคอมมิวนิสต์ที่นั่น
การรุกเข้าไปในกัมพูชาทำให้เสียงต่อต้านดังขึ้นอีกในสหรัฐฯ แม้ว่าทหารอเมริกันจะถอนตัวกลับออกมาจากกัมพูชาก่อนวันที่ ๓๐ มิถุนายน แต่ทหารเวียดนามใต้ก็ยังปฏิบัติการอยู่ในกัมพูชาแต่เพียงผู้เดียว
การยกกำลังทหารเข้าไปในกัมพูชามีผลทำให้รัฐสภาอเมริกันประท้วงรัฐบาลอเมริกันได้รุนแรงขึ้น ในเดือนมิถุนายนนั้น สภาสูงก็ประสบความสำเร็จในการยกเลิก “ญัตติอ่าวตังเกี๋ย” และสัปดาห์ต่อมาก็ลงมติว่า การปฏิบัติการในกัมพูชามิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเสียก่อน เป็นก้าวแรกที่รัฐสภาเริ่มคุมรัฐบาลได้
ในเดือนพฤศจิกายน สหรัฐฯพบว่าเวียดนามเหนือสะสมกำลังบำรุงไว้ขนานใหญ่ และพยายามเจรจาที่ไม่ให้เวียดนามเหนือลำเลียงลงมาทางใต้ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔ สหรัฐฯ ทำการรุกครั้งใหญ่ในเวียดนามใต้อันเป็นการทดสอบเวียดนามใต้ ทำให้ทำการรบเพียงลำพังปราศจากการสนับสนุนจากทหารอเมริกันภาคพื้นดิน แต่มีเครื่องบินอเมริกันสนับสนุนอยู่ ผลการทดสอบเป็นอย่างไรไม่มีความหมาย เพราะสหรัฐฯ ตั้งใจจะถอนกำลังทหารอยู่ดี
การสู้รบรุนแรงขึ้นทั่วเวียดนามใต้ตลอดปี ๒๕๑๔ เครื่องบินอเมริกันโจมตีคอมมิวนิสต์หนักมือขึ้นพร้อมๆกับการถอนทหารภาคพื้นดินดำเนินการต่อไป แต่การโจมตีทิ้งระเบิดไม่สามารถหยุดยั้งคอมมิวนิสต์ได
ประธานาธิบดีนิกสัน สั่งหว่านทุ่นระเบิดตามท่าเรือของเวียดนามเหนือเพื่อช่วยสภาพการณ์ทางทหารในเวียดนามใต้และกระตุ้นการเจรจาสันติภาพที่ชะงักอยู่ แต่การเจรจาก็ไม่ก้าวหน้าอยู่ดีตลอดปี ๒๕๑๕ เพราะการรบรุนแรงขึ้น การเจรจาหยุดชะงักได้เกิดขึ้นบ่อยๆ อย่างไรก็ดีเกิดจากเจรจาทางลับซ้อนขึ้นระหว่างนายเฮนรี่ เอ คิสซิงเจอร์กับนาย ซวนทุยในปลายปีนั้น
การรบภาคพื้นดินของทหารอเมริกันในเวียดนามใต้ยุติลงในวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๑๖ เมื่อทหารอเมริกันหน่วยสุดท้ายถอนตัวออกมาภายหลังที่มีสัญญาหยุดยิง ณ กรุงปารีสแล้ว ๒ เดือน นับเป็นเวลา ๘ ปี ๒๒ วันตั้งแต่ทหารนาวิกโยธินอเมริกันขึ้นบกเป็นครั้งแรกที่ดานัง ในการเริ่มสงครามที่ยาวนานที่สุดของสหรัฐฯ
ทหารอเมริกันเสียชีวิตในการรบหรือเหตุอื่นเป็นจำนวน ๕๗,๗๑๗ คน สูญหายไปประมาณ ๙๐๐ คน จำนวนทหารอเมริกันบาดเจ็บมากกว่า ๓๐๐,๐๐๐ คน วัสดุที่ใช้ในการสงครามมีมูลค่ากว่า ๑๐๐ พันล้านดอลล่าร์
ทหารเวียดนามใต้เสียชีวิตมากกว่า๑๘๐,๐๐๐ คนและบาดเจ็บประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ คน ฝ่ายเวียดนามเหนือและเวียดกงไม่แถลงจำนวนผู้สูญเสีย แต่ประมาณว่าเสียชีวิตมากกว่า ๙๒๕,๐๐๐ คน และบาดเจ็บนับล้านคน
วาระสุดท้ายของเวียดนามเป็นไปอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๑๘ เมื่อประธานาธิบดีเทียวสั่งทหารภาคกลางถอยลงใต้เพื่อหวังจะกู้สถานการณ์ทางทหารที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์บุกรุกอย่างรวดเร็วอันเป็นการเข้าตาจน เหงียนวันเทียว สละตำแหน่งให้ตรันวันเฮืองผู้ส่งต่อให้เดืองวันมินห์อีกทีหนึ่ง และประกาศยอมแพ้ต่อคอมมิวนิสต์ในวันที่ ๓๐ เมษายนปีนั้นเอง
บทเรียนจากเวียดนาม
- ผู้ที่มีอิทธิพลอย่างแท้จริงต่อพวกเวียดมินห์คือทางกรุงมอสโคว์ที่สามารถปลอบเวียดมินห์ให้ยอมรับการยุติสงครามกับฝรั่งเศสได้ แม้ว่าในตอนเริ่มแรกเวียดมินห์จะได้รับการสนับสนุนจากกรุงปักกิ่งมากกว่าจากกรุงมอสโคว์ก็ตาม และการที่เรือลำแรกที่เข้าไปยังกรุงไซ่ง่อนหลังจากแตกแล้ว เป็นเรือบรรทุกน้ำมันของรัสเซีย ยืนยันได้ว่าทางกรุงมอสโคว์ช่วยฮานอยรบตั้งแต่ต้นจนจบ
- คนที่ได้อำนาจมักลืมตัว หลงอำนาจ แม้ว่าทีแรกจะตั้งใจดีต่อบ้านเมืองและไม่คิดจะเป็นใหญ่นานนัก็ตาม อย่างเช่น โงดินห์ เดียม เป็นต้น นำความพินาศมาสู่ตนและประเทศชาติในที่สุด
- ฝ่ายที่สหรัฐฯสนับสนุน เป็นฝ่ายพ่ายแพ้และสหรัฐฯ เองที่เคยชนะในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และ ๒ เสมอตัวในสงครามเกาหลี แต่ต้องมาพ่ายแพ้กับสงครามที่ไม่มีแนวรบในเวียดนาม และพ่ายแพ้แก่ประเทศไม่มีอันดับทางทหารในอินโดจีน
- ในสงครามปลดแอก เกิดกลุ่มที่ ๓ อยู่เสมอ อันเป็นกลุ่มที่เกลียดชังฝ่ายหนึ่งและช่วยอีกฝ่ายหนึ่งแม้ว่าจะไม่นิยมชมชอบเลยก็ตาม
- รัฐบาลเวียดนามใต้ที่พ่ายแพ้แก่คอมมิวนิสต์เป็นรัฐบาลทหารหรือรัฐบาลเผด็จการ
- การเล่นพรรคเล่นพวกในกองทัพของชาติเพื่อรักษาฐานะของตนเองทางการเมืองอย่างกองทัพเวียดนามใต้ เป็นวิธีการบ่อนทำลายขวัญและประสิทธิภาพของกองทัพได้อย่างชงัด
- การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลที่ตนไม่ชอบด้วยการปฏิวัติ รัฐประหาร เป็นวิธีการอย่างหนึ่งของสหรัฐฯ เพื่อให้ได้รัฐบาลต่างชาติที่สหรัฐฯ ควบคุมได้
- การนำเอาญาติหรือบริวารว่านเครือ มาดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยไม่ฟังคำทักท้วงของใครเป็นหนทางแห่งหายนะได้อย่างฉมังทางหนึ่ง
- การส่งหน่วยงานลับอย่าง ซี ไอ เอ ไปปฏิบัติงานโดยใช้หน่วยงานอื่นบังหน้าในการปฏิบัติงานทางลับเพื่อผลประโยชน์ในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นวิธีการที่ใช้มากและแพร่หลายในอินโดจีน
- การ สร้างสถานการณ์ เพื่อที่ตนจะได้มีเหตุผลหรือข้อแก้ตัวที่จะกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นลูกไม้ที่สหรัฐฯ ใช้อยู่ในเวียดนามและคงใช้ต่อไปอีกนาน
- การโจมตีทางอากาศต่อประเทศที่ไม่มีกำลังทางอากาศเพียงพอที่จะต่อต้านได้ เป็นเครื่องมือและกลยุทธอย่างหนึ่งที่สหรัฐฯ ใช้ “บีบ” ฝ่ายตรงข้ามให้ยอมทำตามใจตน
- การครองอากาศของสหรัฐฯ ในอินโดจีนไม่ได้ผลนักต่อการรบนอกแบบในภูมิประเทศอย่างอินโดจีน
- การประท้วงของชาวอเมริกันมีอานุภาพมากจนรัฐบาลต้องอ่อนข้อให้ แสดงว่าสังคมของสหรัฐฯนั้น ประชาชนเป็นฝ่ายนำผู้นำ
- การใช้เงินเข้าล่อ เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งสำหรับปฏิบัติการ “ตบหัวแล้วลูบหลัง” ของสหรัฐฯ
- ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสหรัฐฯในเวียดนามทำให้ชาวไร่ ชาวนาต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือน มีผลให้รัฐบาลไม่มีกำลังผลิตและจำเป็นต้องรับการช่วยเหลือจากต่างประเทศอยู่เสมอ
- การใช้จ่ายอย่างมหาศาลของสหรัฐฯ ในเวียดนามใต้ทำให้เงินเฟ้อและกระกระเทือนต่อสังคม ศีลธรรมของชาวญวนอย่างประเมินไม่ได้
- นักการเมือง นักการทหาร ข้าราชการตลอดจนพ่อค้าประชาชนที่ติดต่อกับสหรัฐฯเป็นประจำ ต่างร่ำรวยมหาศาล เร่งให้สังคมพิการเกิดช่องว่างระหว่างคนพวกนี้กับคนส่วนใหญ่ในสังคม
- เหงียนวัน เทียว มีทองติดตัวหนีออกนอกประเทศเท่าใดยังเป็นปัญหาอยู่ และเชื่อกันว่าผู้นำรัฐบาลทหาร กอบโกยสมบัติ
- ทหารต่างชาติที่ไปร่วมรบช่วยเวียดนามใต้ ไม่มีความหมายทางทหาร แต่เป็นความหมายทางการเมืองว่ามีหลายชาติสนับสนุนตนทำการรบตามที่สหรัฐฯ ต้องการเท่านั้น
- การรบที่ปราศจากแนวรบนั้น ทหารอเมริกันไม่ชอบ จนบางพวกเสียสติไปเลยก็มี
- “กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้” คือการที่กว่าสหรัฐฯ จะมอบอาวุธยุทโธปกรณ์อันทันสมัยคู่ควรกับของข้าศึกให้ ก็เมื่อทหารอเมริกันจะถอนตัว และสายไปเสียแล้วสำหรับทหารเวียดนามใต้จะคุ้นเคยกับของใช้ใหม่ๆ
- แม้รู้อยู่แก่ใจว่าเพื่อนยังไม่เก่งพอ แต่เมื่อตกลงใจว่าจะไป สหรัฐฯ ก็ไป โดยยกยอเพื่อนว่าเก่ง ซึ่งเป็นการฆ่าเพื่อนอย่างเลือดเย็น
- อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ เริ่มเหนือกว่าฝ่ายบริหารในสหรัฐฯ
- การเล่นพรรคเล่นพวกจนกองทัพขวัญเสีย ตัวนาย เตรียมหนีทีไล่ ทหารหมดศรัทธาในตัวนาย ทหารหมดกำลังใจในการสู้รบ การสั่งกองทัพถอยอย่างไม่รอบคอบ ปราศจากแผนที่เห็นการณ์ไกล เป็นวาระสุดท้ายของกองทัพและชาติเวียดนามใต้
No comments:
Post a Comment