ชีวิตบั้นปลายและความทรงจำของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์
ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ที่เป็นการร่วมมือระหว่างพลโทผิน ชุณหะวัณ กับพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นปฏิปักษ์กทางการเมืองกับท่านปรีดี ซึ่งทำให้ท่านต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ จนกระทั่งท่านถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบในบ้านพักหลังเล็กๆ ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๒๖ ก่อนอายุจะครบ ๘๔ ปี เพียง ๙ วัน
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยาคู่ทุกข์คู่ยากได้นำเถ้าถ่านจากสังขารของท่านกลับสู่มาตุภูมิเมื่อ ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ท่านผู้หญิงผู้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของรัฐบุรุษอาวุโสวันนี้ท่านดำรงชีวิตอย่างสมถะ ซึ่งท่านรำลึกเรื่องราวแต่หนหลังราวกับพึ่งผ่านไปเมื่อวันวานให้ฟังอย่างละเอียดว่า
“นายปรีดี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นคนกราบบังคมทูลเชิญให้ในหลวงอานันท์ฯ เสด็จนิวัติพระนครเอง จะไปทำเรื่องอย่างนั้นได้อย่างไร”
ท่านผู้หญิงพูนศุข ได้สะท้อนต่องานเขียนของสุพจน์ ด่านตระกูล ผู้ศรัทธาในตัวรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์และได้เขียนหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคตจากหลักฐานทางราชการ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าอาจารย์ปรีดีเป็นผู้บริสุทธิ์มาตลอด ผลงานนี้ได้รับรางวัลเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป โดยท่านผู้หญิงแย้มรอยยิ้มที่อบอุ่นพร้อมกล่าวว่า...
“อ่านงานที่เขาเขียนเกือบทุกเล่ม คุณสุพจน์เป็นคนที่ค้นคว้าหาความจริงมาตลอด เขาติดตามเรื่องนี้มาอย่างใกล้ชิดทุกแง่ทุกมุม ทำงานไม่หยุดยั้ง สมควรได้รับรางวัลเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป จริงๆแล้วเขาไม่เคยรู้จักนายปรีดีมาก่อน เพิ่งรู้จักตอนนายปรีดีอายุ ๘๐ ปี ตอนไปเยี่ยมที่ฝรั่งเศส คุณสุพจน์รู้จักนายปรีดีจากงาน เห็นว่าเป็นบุคคลที่ทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง เมื่อถูกใส่ร้ายอย่างนี้เขาก็คิดหาความเป็นธรรมให้ด้วยสำนึก
“แต่เขาได้ติดต่อกันทางจดหมาย ซึ่งนายปรีดีจะเตือนเขาเรื่องการเขียนหนังสืออยู่เสมอว่า ต้องเขียนให้รอบคอบไม่ใช่ไปอ้างคนที่โน้นที่นี้อะไรมาต่อกัน หนังสือเขาแพร่หลายในต่างประเทศ ห้องสมุดสำคัญๆในอเมริกามีหนังสือของเขาทั้งนั้น เขากล้าสู้ รวมทั้งมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีปก็กล้าด้วยเหมือนกัน
“เล่มล่าสุดที่ได้รับรางวัลนี้คือ “๕๐ ปีพระทูลกระหม่อมแก้วจากพศกนิกรไปแล้ว ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙” สืบเนื่องมาจากเขาโต้คุณ ”สนทะเล” ในมติชนรายวัน “สนทะเล”เข้าใจคลาดเคลื่อนบางอย่างในกรณีสวรรคต โดยไม่ตั้งคำถามหาเหตุผล แต่มติชนไม่ลง(บทความของคุณสุพจน์)ให้ ทางหนังสือพิมพ์เขาคงคิดว่าจดหมายตอบโต้ยาวเกินไป เพราะคุณสุพจน์เขียนไปเยอะน่ะ พอเขาไม่ลงชี้แจงให้ แกเลยพิมพ์เองเลย”
ท่านผู้หญิงพูนศุข บอกว่า “เพราะนายปรีดีบริสุทธิ์ ตอนหลังจอมพล ป.พิบูลสงคราม เขียนไปรษณียบัตรมาถึงนายปรีดีเป็นภาษาอังกฤษว่า Please Ahosikam (โปรดอโหสิกรรม)”
ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ที่เป็นการร่วมมือระหว่างพลโทผิน ชุณหะวัณ กับพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นปฏิปักษ์กทางการเมืองกับท่านปรีดี ซึ่งทำให้ท่านต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ จนกระทั่งท่านถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบในบ้านพักหลังเล็กๆ ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๒๖ ก่อนอายุจะครบ ๘๔ ปี เพียง ๙ วัน
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยาคู่ทุกข์คู่ยากได้นำเถ้าถ่านจากสังขารของท่านกลับสู่มาตุภูมิเมื่อ ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ท่านผู้หญิงผู้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของรัฐบุรุษอาวุโสวันนี้ท่านดำรงชีวิตอย่างสมถะ ซึ่งท่านรำลึกเรื่องราวแต่หนหลังราวกับพึ่งผ่านไปเมื่อวันวานให้ฟังอย่างละเอียดว่า
“นายปรีดี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นคนกราบบังคมทูลเชิญให้ในหลวงอานันท์ฯ เสด็จนิวัติพระนครเอง จะไปทำเรื่องอย่างนั้นได้อย่างไร”
ท่านผู้หญิงพูนศุข ได้สะท้อนต่องานเขียนของสุพจน์ ด่านตระกูล ผู้ศรัทธาในตัวรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์และได้เขียนหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคตจากหลักฐานทางราชการ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าอาจารย์ปรีดีเป็นผู้บริสุทธิ์มาตลอด ผลงานนี้ได้รับรางวัลเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป โดยท่านผู้หญิงแย้มรอยยิ้มที่อบอุ่นพร้อมกล่าวว่า...
“อ่านงานที่เขาเขียนเกือบทุกเล่ม คุณสุพจน์เป็นคนที่ค้นคว้าหาความจริงมาตลอด เขาติดตามเรื่องนี้มาอย่างใกล้ชิดทุกแง่ทุกมุม ทำงานไม่หยุดยั้ง สมควรได้รับรางวัลเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป จริงๆแล้วเขาไม่เคยรู้จักนายปรีดีมาก่อน เพิ่งรู้จักตอนนายปรีดีอายุ ๘๐ ปี ตอนไปเยี่ยมที่ฝรั่งเศส คุณสุพจน์รู้จักนายปรีดีจากงาน เห็นว่าเป็นบุคคลที่ทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง เมื่อถูกใส่ร้ายอย่างนี้เขาก็คิดหาความเป็นธรรมให้ด้วยสำนึก
“แต่เขาได้ติดต่อกันทางจดหมาย ซึ่งนายปรีดีจะเตือนเขาเรื่องการเขียนหนังสืออยู่เสมอว่า ต้องเขียนให้รอบคอบไม่ใช่ไปอ้างคนที่โน้นที่นี้อะไรมาต่อกัน หนังสือเขาแพร่หลายในต่างประเทศ ห้องสมุดสำคัญๆในอเมริกามีหนังสือของเขาทั้งนั้น เขากล้าสู้ รวมทั้งมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีปก็กล้าด้วยเหมือนกัน
“เล่มล่าสุดที่ได้รับรางวัลนี้คือ “๕๐ ปีพระทูลกระหม่อมแก้วจากพศกนิกรไปแล้ว ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙” สืบเนื่องมาจากเขาโต้คุณ ”สนทะเล” ในมติชนรายวัน “สนทะเล”เข้าใจคลาดเคลื่อนบางอย่างในกรณีสวรรคต โดยไม่ตั้งคำถามหาเหตุผล แต่มติชนไม่ลง(บทความของคุณสุพจน์)ให้ ทางหนังสือพิมพ์เขาคงคิดว่าจดหมายตอบโต้ยาวเกินไป เพราะคุณสุพจน์เขียนไปเยอะน่ะ พอเขาไม่ลงชี้แจงให้ แกเลยพิมพ์เองเลย”
ท่านผู้หญิงพูนศุข บอกว่า “เพราะนายปรีดีบริสุทธิ์ ตอนหลังจอมพล ป.พิบูลสงคราม เขียนไปรษณียบัตรมาถึงนายปรีดีเป็นภาษาอังกฤษว่า Please Ahosikam (โปรดอโหสิกรรม)”
ภายหลังที่ท่านผู้หญิงพูนศุข ต้องระเห่เร่ร่อนไปกับอาจารย์ปรีดีกว่า ๑๘ ปี ก็กลับเมืองไทย หลังจากที่อาจารย์ปรีดีถึงแก่อสัญกรรมแล้ว หนังสือพิมพ์มาสัมภาษณ์กันใหญ่ ท่านผู้หญิงพูนศุข ไม่ขอพูดเรื่องกรณีสวรรคต ท่านบอกว่า
“เพราะนึกถึงทีไร ความดันโลหิตขึ้นทุกที แต่เวลานี้สงบหมดแล้ว ปล่อยวางหมดแล้ว คิดว่าวันเวลาจะทำให้ความจริงปรากฏเอง”
วันนี้แม้จะอายุมากแล้วแต่ท่านก็ยังแข็งแรงมีชีวิตอย่างสงบอยู่ในบ้านที่ซื้อมาจากกองมรดกของท่านแม่ท่านเอง ในซอยสวนพลู อันร่มรื่นจากแมกไม้ บริเวณบ้านส่วนหนึ่งสร้างเป็นหอพักให้นักเรียนหญิงเช่าในราคาถูก ทุกวันนี้ท่านออกกำลังโดยการเดินเป็นส่วนใหญ่
“ตอนนี้เดินไม่ค่อยไหว” ท่านว่า
“แต่ได้เดินตรวจบ้านว่าแป๊ปน้ำแตกหรือเปล่า ดูนั่นดูนี่อย่างเรียบง่ายที่สุด ไม่เหงาหรอก เพราะลูกสาวสอนดนตรีที่นี้ ได้ยินเสียงดนตรีทุกวัน ยายได้ยินแต่สิ่งที่ดีงามทั้งนั้น ชีวิตจึงไม่ซึมเศร้า มีความบริสุทธิ์ใจทุกอย่าง ซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ ต่อบุพพการี ต่อผู้มีคุณทั้งหลาย
“ที่สำคัญคือ วันนี้เป็นวันของเด็กรุ่นใหม่ เด็กรุ่นใหม่ควรจะเอาใจใส่เรื่องการเมือง เพราะการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกชีวิต ตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ไม่ได้หมายความทุกคนจะต้องปฏิบัติภาระหน้าที่ทางการเมือง หน้าที่ของใครอย่างไรก็ทำไปตามนั้น...สื่อสารมวลชนก็ควรมีจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์ เราต้องอย่าลืมอดีต ไม่มีอดีตจะมีวันนี้ได้อย่างไร ?”
นั่นคือบทสรุปจากภริยารัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ที่ชีวิตของท่านทั้งสองถือเป็นประวัติศาสตร์สำคัญอีกหน้าหนึ่งของไทย แม้จะเผชิญมรสุมร้ายอยู่หลายหน ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักรที่หนักหน่วง คุกตะรางก็เคยนอนมาแล้วในท่ามกลางกระแสผันผวนทางการเมืองครั้งแล้วครั้งเล่า.
จากหนังสือ “๘๐ ปีสุพจน์ ด่านตระกูล” พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖
No comments:
Post a Comment