สิทธิทางการเมืองคือสมบัติอันล้ำค่าของคนทั้งประเทศ
ศาสตราจารย์ ดร.มนู อมาตยกุล*
“ปัจจุบันทุกคนอ้างว่ารับประชาธิปไตย แต่มีใครสักกี่คนที่พูดถึงผู้เสี่ยงชีวิตนำประชาธิปไตยมาให้ประชาชน”
ข้าพเจ้ามีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเชิญจากคุณสัมผัส พึ่งประดิษฐ์ สาราณียกร คณะกรรมการชมรม ต.ม.ธ.ก. สัมพันธ์ ให้เขียนเรื่องอันเกี่ยวกับเกียรติประวัติชีวิตและการทำงานของ ฯพณฯ รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ บางตอนที่ข้าพเจ้ามีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย มาลงพิมพ์ในหนังสือวัน “ปรีดี พนมยงค์” พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้าพเจ้ารู้จักท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ เป็นครั้งแรก เมื่อท่านสำเร็จการศึกษาเป็น Dr. En Dorit ฝ่ายนิติศาสตร์ (Sciences Juridiques) จากมหาวิทยาลัยเมือง Caen มาใหม่ๆ และมาปาฐกถาที่สามัคยาจารย์สมาคมโรงเรียนสวนกุหลาบเกี่ยวกับเรื่องอาชญากร ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่ได้ไปเข้าฟังการบรรยายของท่านในวันนั้น และเมื่อเสร็จการบรรยายแล้วเพื่อนๆ ของท่านและผู้เข้าฟังเป็นจำนวนมากก็ได้จับท่านขี่คอเดินเป็นขบวนโห่ร้อง แสดงความพอใจชื่นชมยินดีในตัวท่าน ทำให้ข้าพเจ้าซึ่งขณะนั้นยังเป็นเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาอยู่ พลอยตื่นเต้นและชื่นชมยินดีไปด้วย
ข้าพเจ้ามาได้รู้จักท่านใกล้ชิดตอนที่ท่านเป็นอาจารย์สอนกฎหมายปกครองที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมและข้าพเจ้าเข้าเป็นนักเรียนกฎหมายที่นั่น ในขณะเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าก็เข้าทำงานเป็นรองเวรอยู่ที่กองบัญชาการกระทรวงการคลังด้วย ทำให้ข้าพเจ้าไม่มีเวลาได้เข้าฟังเล็กเชอร์ที่โรงเรียนเท่าใดนัก ฉะนั้นเมื่อท่านอาจารย์ปรีดี ประกาศให้นักเรียนที่สนใจไปรับการสอนพิเศษวิชากฎหมายปกครองที่บ้านท่าน ณ บ้านป้อมเพชรตอนค่ำ ข้าพเจ้าจึงได้ร่วมกับเพื่อนนักเรียนกฎหมายรุ่นเดียวกันไปรับการอบรมด้วย มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ ๑๐ กว่าคน
ข้าพเจ้ามีความนิยมชมชอบในตัวท่านตั้งแต่ไปฟังการบรรยายดังกล่าวมาข้างต้นอยู่ก่อนแล้ว จึงสนใจเป็นพิเศษในวิชาที่ท่านสอนนี้ทำให้ท่านพอใจ และได้สนทนาซักถามเกี่ยวกับเรื่องประชาธิปไตยกับท่านลึกซึ้งขึ้น
ในสมัยนั้นมีน้อยคนหนักหนาที่จะรู้ว่า “ประชาธิปไตย” คืออะไร กฎหมายปกครองก็นำมาสอนเป็นครั้งแรกในโรงเรียนกฎหมาย ข้าพเจ้ายังจำได้ว่าวันหนึ่งท่านได้สอนพวกเราซึ่งมีทั้งหญิงและชายทั้งคนจนคนมี ว่า ความเป็นอยู่เป็นสิ่งกำหนดจิตสำนึกของมนุษย์และเป็นมาตั้งแต่โบราณกาล ทำให้มีกำเนิดแห่งทรรศนะทางสังคม เริ่มจากระบบปฐมสหการมาเป็นระบบทาส จากระบบทาสมาเป็นระบบศักดินา และมาเป็นระบบเศรษฐกิจทุนนิยมซึ่งเรียกว่าสมัยการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม(Industrial revolution) ฉะนั้นพวกนายทุนสมัยใหม่จึงต้องเปลี่ยนระบบศักดินาเพื่อให้ราษฎรมีเสรีภาพและสิทธิประชาธิปไตยมากขึ้น ความขัดแย้งระหว่างระบบศักดินากับทรรศนะใหม่และความคิดอันเกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและได้แพร่ขยายมายังประเทศด้อยพัฒนา รวมทั้งประเทศสยามด้วย ทำให้มีเสียงเรียกร้องจากผู้ที่เคยศึกษาในยุโรปและอเมริกา ซึ่งเป็นพวกหัวสมัยใหม่ ให้เลิกระบบศักดินาเสีย
วันหนึ่งข้าพเจ้าไปรับการอบรมถึงบ้านท่านเร็วหน่อยจึงได้มีโอกาสกราบเรียนซักถามท่านโดยลำพังว่า การเรียกร้องให้เลิกระบบศักดินานั้นทำได้อย่างไร ในเมื่อประเทศเรามีระบบศักดินาโดยพระบรมราชโองการทรงแต่งตั้งข้าราชการให้มียศบรรดาศักดิ์ และกำหนดศักดินาเท่านั้นเท่านี้ไร่ไว้สำหรับข้าราชการแต่ละชั้นลดหลั่นกันไป และพระบรมราชโองการก็ถือเป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์ นอกจากนั้นพวกที่ไปได้รับการศึกษาอบรมในยุโรปอเมริกาก็เป็นลูกหลานว่านเครือศักดินากันโดยมาก
ท่านมองหน้าข้าพเจ้าแล้วยิ้มตอบว่า “คุณเกิดแล้วหรือยังเมื่อ รศ. ๑๓๐ ในรัชกาลที่ ๖ ก็ได้มีการเรียกร้องจากพวกก้าวหน้า แต่ไม่สำเร็จจึงต้องรับโทษไป บุคคลในวรรณะเก่าไม่ใช่จะต่อสู้ขัดขวางการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่เสมอไป บางคนเป็นผู้มีความคิดก้าวหน้า มองเห็นประโยชน์ส่วนรวมของสังคมเหนือกว่าประโยชน์ของวรรณะ”
ข้าพเจ้าพอใจและยอมรับความจริงที่ท่านอาจารย์ได้กรุณาให้อรรถาธิบายให้เห็นความเป็นไปได้ของกำเนิดประชาธิปไตยในประเทศเรา และการพยายามโดยเสี่ยงต่อการถูกลงโทษอย่างมหันต์เพื่อถ่ายอำนาจปกครองบ้านเมืองจากพวกศักดินาให้มาอยู่กับประชาชนนั้น ก็ได้เคยเกิดมาแล้วตั้งแต่ข้าพเจ้าเพิ่งเกิด ข้าพเจ้ามีความประทับใจมากที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่า “บุคคลในวรรณะเก่าที่มีความคิดก้าวหน้า เห็นประโยชน์ส่วนรวมของสังคมเหนือประโยชน์ของวรรณะก็มี” เพราะว่าข้าพเจ้าก็อยู่ในพวกวรรณะเก่า บิดาของข้าพเจ้ามีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ได้ทุนระพีไปเรียนที่อังกฤษ กลับมาเป็นผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม และมารดาของข้าพเจ้าก็เป็นข้าหลวงรับใช้ใกล้ชิดสมเด็จพระพันปีหลวงในรัชกาลที่ ๕
ฉะนั้นการอยู่ในกำเนิดของวรรณะเก่าก็คงไม่ปิดทางที่ข้าพเจ้าจะมีโอกาสเข้าอยู่ในพวกก้าวหน้าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมของสังคมเหนือประโยชน์ของวรรณะกับเขาบ้าง
ข้าพเจ้านึกเฉลียวใจอยู่ไม่น้อยในการที่ได้พูดคุยกับท่านอาจารย์ว่าท่านอาจารย์คงจะทำอะไรสักอย่างหนึ่งที่จะนำประเทศชาติไปสู่การถ่ายโอนอำนาจจากพวกศักดินาวรรณะเก่าไปสู่ประชาชน หรือนัยหนึ่ง คือ การนำระบบประชาธิปไตยมาสู่ประเทศสยาม แต่ก็ไม่กล้าถามท่านและคิดว่าถึงถามท่านก็คงจะไม่บอกเด็กอย่างข้าพเจ้า แต่ก็แสดงให้ท่านเห็นว่าข้าพเจ้านิยมต้วท่านที่ยึดถือคติธรรมที่จะนำประเทศชาติไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางการเมืองให้เท่าเทียมประเทศอื่น และสนใจในคำสอนกฎหมายของท่านมาก
ข้าพเจ้าขอย้อนกล่าวไปถึงสมัยเมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนอยู่โรงเรียนเทพศิรินทร์นิดหน่อย เพื่อให้ทราบว่าข้าพเจ้ารู้เบาะแสของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากใครอย่างไร คือในสมัยเป็นนักเรียนสามัญข้าพเจ้าได้ริเป็นนักการพนันแทงม้า ข้าพเจ้าเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดกับนายเปสตันยี (Pestonji) เจ้ามือรับแทงม้า (Book maker) ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักและนับถือของนักการพนันทั่วไป ท่านเป็นเพื่อนเล่นเทนนิส บิลเลียดสโมสรสีลมกับบิดาของข้าพเจ้า และท่านก็รักเอ็นดูข้าพเจ้าในฐานะเป็นเด็กลูกของเพื่อน ทุกครั้งที่มีแข่งม้าไม่ว่าที่สนามสปอร์ตคลับหรือสนามราชตฤณมัย ท่านจะต้องเอาข้าพเจ้าติดไปด้วยเสมอและสอนให้ข้าพเจ้าแทงม้าและเขย่าขลุกขลิกลูกเต๋าเป็นเจ้ามือแทนท่าน บางครั้งท่านเคยใช้ความเป็นเด็กของข้าพเจ้าล่อพระยานนทิเสนเจ้ามือลอตเตอรี่คนแรกในประเทศไทยแทงขลุกขลิกที่ข้าพเจ้าเขย่ากินพระยานนทิเสนหลายหมื่นบาทซึ่งมากทีเดียวในสมัยนั้น
วันพุธวันเสาร์ข้าพเจ้าก็ต้องลาโรงเรียนครึ่งวันบ่อยๆ เวลาข้าพเจ้าลาครึ่งวันข้าพเจ้าก็ต้องเข้าไปลาเจ้าคุณจรัลชวนะเพท อาจารย์ใหญ่ผู้ปกครอง และท่านก็ให้อนุญาตข้าพเจ้าทุกที เพราะข้าพเจ้าเป็นเด็กดี สอบซ้อมสอบไล่ได้เป็นที่ ๑ เสมอ ท่านก็ไม่คิดว่าข้าพเจ้าจะเหลวไหลหัดไปเล่นการพนันและความจริงก็เป็นเช่นท่านเชื่อ ข้าพเจ้าสนใจเพียงไปหาความกว้างขวางรอบรู้ คบค้าสมาคมกับผู้ใหญ่ที่เขาจะให้ความเฉลียวฉลาดแก่เราได้ และข้าพเจ้าก็ไม่ได้ติดการพนัน พอโตหน่อยก็เลิกและไม่ไปสนใจสนามม้าอีกเลยจนบัดนี้
ข้าพเจ้ารู้จักผู้ใหญ่หลายคนในสนามม้าคนหนึ่งในจำนวนนี้ก็มี พล.ต.ชัย ประทีปเสน ตอนนั้นท่านเพิ่งจบ ร.ร.นายร้อยทหารบก ท่านต้องมาถามข้าพเจ้าเสมอว่าจะแทงม้าตัวไหนดี เพราะท่านรู้ว่าข้าพเจ้าเป็นเด็กคนสนิทของนายเปสตันยี ซึ่งข้าพเจ้าเรียกว่า “ป๋าเปท” (PaPet) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีม้าสั่งมาจากเมืองนอกตัวใหม่ๆ เข้าแข่งด้วยเพราะ “ป๋าเปท” ของข้าพเจ้ามีประวัติม้าทุกตัวและข้าพเจ้าก็ถามเขาได้
ข้าพเจ้าสนิทสนมกับ พล.ต.ชัย ประทีปเสน มาตั้งแต่เป็นนายร้อยจนเป็นนายพัน นายพลและไปมาหาสู่กับท่านที่กรมทหารม้าและยานเกราะบางซื่อบ่อยๆ ท่านเป็นลูกน้องคนสนิทของจอมพล ป.พิบูลสงคราม และในการพูดคุยกับก็ได้เบาะแสจากท่านนี้แหละว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประมาณเมื่อใดอีกทางหนึ่ง
ในตอนเช้ามืดราวตี ๕ ของวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ข้าพเจ้าได้ปลุกอาว์ของข้าพเจ้า (นายอุดม อมาตยกุล) ซึ่งอยู่บ้านเดียวกัน ชวนให้ขับรถ Clyno เลขที่ ช.ม. ๒๒ ของบิดาข้าพเจ้า ไปรับทานเลือดหมูเซี่ยงจี๊ที่ตลาดเก่ากัน พอออกรถไปได้หน่อย ข้าพเจ้าก็บอกว่ายังเช้ามากไป ขอให้ขับรถไปกินอากาศแถวพระบรมรูปทรงม้าก่อนเถอะ อาว์ข้าพเจ้าก็ว่าดีเหมือนกันไปก็ไป แล้วก็ขับรถไปยังพระบรมรูปทรงม้า ข้าพเจ้าเห็นทหารตั้งแถวอยู่ประตูหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมก็แน่ใจว่ามีการยึดอำนาจการปกครองจริง ข้าพเจ้าบอกกับอาว์ของข้าพเจ้าว่าข้าพเจ้าจะขอเข้าไปพบเพื่อนข้างในพระที่นั่งคงจะนานหน่อย ขอให้อาว์ของข้าพเจ้ากลับไปก่อนโดยไม่ได้บอกอะไรอีกเลย และไม่ได้ขอให้กราบเรียนคุณพ่อคุณแม่ของข้าพเจ้าว่าอย่างไรด้วย อาว์ของข้าพเจ้าก็ยอมขับรถกลับบ้าน
ข้าพเจ้าขออนุญาตทหารยามแล้วก็เข้าไปพบกันท่านอาจารย์ปรีดี รายงานตัวต่อท่านว่าข้าพเจ้ามาขอร่วมรับใช้ชาติในการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนี้กับอาจารย์ด้วยคนหนึ่ง ท่านมองหน้าข้าพเจ้าด้วยความแปลกใจว่าข้าพเจ้าทราบได้อย่างไร เพราะในบรรดาพวกที่ไปรับการอบรมที่บ้านท่านก็ไม่มีใครสักคนเดียวที่เข้ามาร่วมการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ แต่แล้วท่านก็บอกว่าท่านจะพาไปรายงานตัวต่อ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะปฏิวัติ ข้าพเจ้าก็เดินตามท่านไปรายงานตัวต่อ พ.อ.พระยาพหลฯ แล้วท่านอาจารย์ปรีดีก็พาข้าพเจ้าไปมอบตัวกับนายยล สมานนท์ ให้ทำงานฝ่ายธุรการของกองกลางซึ่งนายยล สมานนท์เป็นหัวหน้าอยู่ ข้าพเจ้าต้องฝากเจ้าหน้าที่ในพระที่นั่งที่ออกไปข้างนอก แวะซื้อสบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ให้ข้าพเจ้า เพราะจะต้องค้างอยู่ที่นั่นจนกว่าการยึดอำนาจจะสำเร็จลง
ที่นั่นข้าพเจ้าพบคนรู้จักเพียง ๒ คนเท่านั้นคือ คุณจรูญ สืบแสง คุณดิเรก ชัยนาม คุณสงวน ทองประเสริฐ ต่อมาจึงได้รู้จักคนอื่นๆอีก และอีก ๓ วันต่อมาในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือจึงได้เป็นผู้รับเชิญรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยให้พวกที่ร่วมก่อการด้วยกันรวมทั้งตัวข้าพเจ้าด้วยก็ได้มาดื่มแชมเปญฉลองกัน ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมนั้น ภายหลังจึงได้มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรซึ่งพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ปีนั้น และได้ถือเอาวันนั้นเป็นวันรัฐธรรมนูญตลอดมา
ต่อมาเมื่อกองบัญชาการคณะอภิวัฒน์ย้ายเข้าไปอยู่ในวังปารุสกวัน ภาระหน้าที่ผ่ายธุรการพร้อมกับการยึดอำนาจการปกครองได้ผ่านไปด้วยความเรียบร้อยแล้วข้าพเจ้าจึงได้ไปลาท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เพื่อออกไปศึกษากฎหมายต่อไปให้สำเร็จ ในปีต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๖ โรงเรียนกฎหมายก็ย้ายไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักเรียนกฎหมายรุ่นเดียวที่ต้องเรียน ๓ ภาค ข้าพเจ้าสอบไล่จบภาค ๓ และได้เป็นเนติบัณฑติรุ่น ๒๔๗๖ นั้น หลังจากนั้นท่านอาจารย์ปรีจึงจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ข้าพเจ้าได้รับทุนเล่าเรียนไปศึกษาวิชาต่อในยุโรป ท่านอาจารย์ปรีดีกำลังจะเดินทางไปยุโรปเพื่อเจรจาลดดอกเบี้ยเงินกู้ของรัฐบาลและทาบทามนานาประเทศขอแก้ไขสนธิสัญญาทางไมตรีที่ยังไม่มีความเสมอภาคให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ท่านอาจารย์ปรีดีจึงเอาตัวข้าพเจ้าทำหน้าที่เลขานุการส่วนตัวของท่าน เราออกเดินทางโดยรถไฟจากสถานีหัวลำโพงเพื่อไปลงเรือเดินสมุทรอิตาเลี่ยนชื่อ “คองท์แวร์เค” ที่สิงคโปร์ ครั้งนั้นยังไม่มีการเดินทางโดยสายการบินเหมือนสมัยนี้ เป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าจะได้เดินทางไปต่างประเทศ รู้สึกตื่นเต้น มีคนไปส่งมากมายล้นหลามสถานีหัวลำโพง ข้าราชการและมิตรสหายของท่านอาจารย์เยอะแยะไปหมด และญาติสนิทมิตรสหายของข้าพเจ้าก็ไปส่งและนำพวงมาลัยไปสรวมให้ล้นคอ พอไปถึงสิงคโปร์ หลวงวุฒิสารเนติณัติ กงสุลใหญ่ประจำสิงคโปร์ พร้อมด้วยภรรยาซึ่งเป็นญาติชั้นพี่สาวของข้าพเจ้าในสกุลเดียวกันก็มารับท่านอาจารย์และข้าพเจ้าไปพักสถานกงสุล
วันต่อมาเราจึงออกเดินทางโดยเรือที่กล่าวชื่อมาแล้วออกจากสิงคโปร์บ่ายหน้าไปเมืองเวนิส (Venice) ที่อิตาลี มีคนไทยร่วมโดยสารไปด้วย ๒ คนคือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์ซึ่งจะไปรับหน้าที่อัครราชทูตไทย ณ กรุงปรารีส และนายถวิล คูตระกูล ซึ่งจะไปเรียนต่อที่สวิตเซอร์แลนด์โดยทุนส่วนตัว การเดินทางกินเวลาถึงเดือนครึ่ง เมืองแรกที่เรือเข้าเทียบท่าในประเทศอิตาลีคือเมืองบรินดิซิ (Brindisi) ท่านอาจารย์ก็ได้ทราบข่าวในหนังสือพิมพ์ที่ทำให้ท่านตกใจมากคือข่าวปลงพระชนม์ของเสด็จในกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ประธานผู้สำเร็จราชการ แต่ตามโปรแกรมของท่าน ท่านก็จะต้องแวะที่ Venice และเดินทางต่อไปยังเมือง Treeste เพื่อเยี่ยมอู่ต่อเรือรบของประเทศไทย และมีนายทหารเรือคอยต้อนรับพาดูการต่อเรืออยู่ที่นี่นั่นแล้ว เมื่อถึงอิตาลีแล้ว นายถวิลก็แยกทางไปสวิตเซอร์แลนด์ คงเหลือแต่เรา ๓ คน ถึง Trieste ท่านก็ขอเลื่อนเวลาที่จะเข้าพบมุสโสลินี ประมุขของประเทศอิตาลี ออกไป แล้วก็รีบเดินทางโดยรถไฟไปยังโลซานน์เพื่อเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานัทมหิดลตลอดจนสมเด็จพระอนุชา และสมเด็จพระบรมราชนนี ข้าพเจ้าก็ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทั้ง ๓ พระองค์ด้วยเป็นครั้งแรก ตอนนั้นพระองค์ท่าน (รัชกาลที่ ๘ และที่ ๙ )ยังทรงพระเยาว์มากทั้ง ๒ พระองค์ หลวงสิริราชไมตรี เลขานุการในพระองค์ได้เอาโทรเลขเรื่องประธานผู้สำเร็จราชการถูกปลงพระชนม์ชีพมาให้อาจารย์ดู แต่ก็ไม่มีรายละเอียดอะไรมากนัก ต่อมาเมื่อเสร็จธุระจากการเข้าเฝ้าทั้งสามพระองค์แล้ว ท่านอาจารย์จึงเดินทางมากรุงปารีสและได้ทราบรายละเอียดจากสถานทูต ณ กรุงปารีสว่าเสด็จในกรมหมื่นอนุวัตรฯ ปลงพระชนม์เองโดยใช้ปืนพกสั้นยิ่งเข้าไปในพระโอษฐ์และเรื่องอยู่ระหว่างสอบสวนของกรมตำรวจ
ต่อมาในวันที่ ๒๐ เดือนเดียวกันคณะรับมนตรีจึงเสนอแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการใหม่ประกอบด้วย
พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา เป็นประธาน
เจ้าพระยายมราช เป็นผู้สำเร็จราชการ
เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน เป็นผู้สำเร็จราชการ
งานในหน้าที่เลขานุการส่วนตัวของท่านอาจารย์ปรีดีที่ข้าพเจ้าทำอยู่ก็ไม่มีอะไรมากนอกจากดูแลจัดกระเป๋าเดินทาง จัดเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ท่านต้องใช้ตามทางประจำวัน เขียนจดหมายถึงผู้แทนราษฎรและมิตรสหายของท่านในระหว่างเดินทางซึ่งต้องใช้มือเขียนเพราะเราไม่มีเครื่องพิมพ์ดีดติดตัวไปใช้ ถ้าเป็นเรื่องเขียนโปสการ์ดส่งความระลึกถึงธรรมดา ท่านก็ให้ข้าพเจ้าเขียนให้ท่านลงนาม ถ้ามีเรื่องพิเศษท่านก็จะบอกเรื่องให้ข้าพเจ้าเขียน ข้าพเจ้าก็รักษาความลับอย่างดีที่สุด ท่านพักอยู่ปารีสนานหน่อย ทางสถานทูตจัดให้ตัวท่านอาจารย์นั้นอยู่ห้องใหญ่ชั้นล่าง ข้าพเจ้าอยู่ห้องชั้น ๒ ข้าพเจ้าเคยรู้จักแต่ชีวิตเมืองไทย ฉะนั้นรัปทานครัวซอง (Croissant) กับการแฟแล้วก็ลงมานั่งเฝ้าหน้าห้องท่าน เพื่อคอยดูแลจัดเสื้อผ้าให้ท่านและรับใช้ท่าน ส่วนเรื่องจดหมายตอนนี้ท่านก็ใช้สถานทูตพิมพ์เฉพาะที่ไม่เป็นความลับ ที่เป็นความลับท่านก็ยังใช้ข้าพเจ้าทำอยู่ กว่าท่านจะตื่นก็ราว ๑๑ โมงเช้า หลายวันติดๆกัน จึงรู้ว่าในยุโรปเขานอนดึกตื่นสายกันโดยมาก
มีอยู่ตอนหนึ่งระหว่างอยู่ที่ปารีสมีเรื่องข้อพิพาทระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีเข้าสู่ระเบียบวาระของสันนิบาตชาติ ครั้งนั้นยังไม่มีองค์การสหประชาชาติ สันนิบาตชาติ (Loague of Nations) ยังทำหน้าที่รักษาสันติภาพของโลกอยู่ ท่านอาจารย์ก็เข้าไปประชุมสันนิบาตชาติในคณะผู้แทนไทยด้วย ฝ่ายยุโรปและอเมริกันก็รวมหัวกันประณามญี่ปุ่นว่าเข้าไปรังแกครอบงำเกาหลี และชักชวนให้ประเทศสมาชิกอื่นร่วมประณามด้วย แต่ท่านอาจารย์ปรีดีเห็นว่าญี่ปุ่นเป็นชาติเอเชียด้วยกันจึงไม่ร่วมมือด้วย และได้งดเว้นออกเสียง (abstention) ทำให้ญี่ปุ่นขอบอกขอบใจและซาบซึ้งในมิตรภาพที่ตั้งอยู่บนรากฐานของการเป็นประเทศในทวีปเอเชียด้วยกันเป็นอันมาก
เมื่อใกล้จะถึงเวลาเปิดเทอม ข้าพเจ้าก็ได้กราบลาท่านอาจารย์เพื่อไปศึกษาต่อที่ประเทศเยอรมันนี ตอนจากกันท่านอาจารย์และข้าพเจ้าได้ร่ำลากันตามธรรมเนียมสากลซึ่งเป็นการแสดงความรักใคร่สนิทสนมกัน ข้าพเจ้าเรียนรัฐศาสตร์และการหนังสือพิมพ์ที่มหาวิทยาลัยกรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมันนี จบก็พอดีเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก่อนประกาศสงคราม นายบุญยรักษ์ เจริญชัยซึ่งเป็นนักเรียนอยู่ฝรั่งเศสได้มาพักอยู่ที่แฟลตของข้าพเจ้าที่ Charlotenburg อังกาบ กนิษฐเสน ซึ่งเป็นหลานของท่านปรีดี และเป็นเพื่อนสนิทของข้าพเจ้า มีเพื่อนๆหลายคนมาร่วมงานรวมทั้งนายบุณยรักษ์ และ ดร.ถวิล คูตระกูล ซึ่งเดินทางมายุโรปโดยเรือคองต์แวร์เดด้วยกัน ดังข้าพเจ้าได้กล่าวถึงในตอนต้นมาแล้วครั้งหนึ่ง
เรารู้อยู่ก่อนแล้วว่าจะเกิดสงครามจึงฉลองกันจนเช้ามืด แล้วข้าพเจ้ากับนายบุณยรักษ์และ ดร.ถวิล ก็ชวนกันจับรถไฟเดินทางจากกรุงเบอร์ลินไปเมืองโลซานน์ (Lausanne) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รถไฟขบวนนั้นแน่นเอี๊ยด เราต้องยืนไปตลอดทาง พอถึงสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ยินประกาศสงครามทางวิทยุกระจายเสียง จากนั้นเราก็แยกกันไปคนละทิศละทาง ข้าพเจ้าไปเข้าเรียนทางเศรษฐศาสตร์และการคลังต่อที่มหาวิทยาลัยกรุง Bern
สงครามยืดเยื้อและร้ายแรง กระจายกว้างออกไปทุกที ถึงตอนที่เยอรมันนีประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต ทางที่นักเรียนจะกลับประเทศได้เหลือทางเดียวคือทางผ่านสหภาพโซเวียตไปญี่ปุ่น ข้าพเจ้าสอบได้ Lic. rer. Pol. อยู่ก่อนแล้วจึงรีบทำวิทยานิพนธ์และสอบ Dr.rer. Pol. ได้ก่อนที่รัฐบาลไทยจะได้โทรเลขเรียกให้ข้าพเจ้ากลับทันที รัฐบาลได้จัดให้ข้าพเจ้าพร้อมด้วยนายชอบ คงคากุล นายเผดิม บุนนาค และน้องชายรวม ๔ คน เดินทางกลับโดยรถไฟสายไซบีเรียซึ่งเป็นรถไฟสายที่ยาวที่สุดในโลก เดินทางอยู่ในรถไฟถึง ๑๖ วันแล้วถ่ายรถไฟลงเรือข้ามมาติดอยู่ที่ญี่ปุ่นอีกหลายเดือนเพราะหาเรือเดินทางกลับประเทศไทยังไม่ได้ ญี่ปุ่นก็กำลังจะเข้าทำสงครามโลก ในที่สุดรัฐบาลสามารถจัดให้นักเรียนไทยจำนวนกว่าลสิบคนลงเรือญี่ปุ่น นอนกันกับพื้นเรือทั้งหญิงและชายโดยไม่มีห้องหับ ข้าพเจ้าบังเอิญเป็นไส้ติ่งอักเสบ แต่ไม่มีหมอจะผ่าตัด เลยต้องรอจนถึงกรุงเทพฯ แต่ก็เคราะห์ดีที่การอักเสบนั้นยังไม่รุนแรงถึงกับเป็นหนองไส้แตก
พอถึงบ้านก็รีบไปรับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลศิริราช ก่อนวันผ่าตัดญี่ปุ่นก็เข้าทำสงครามร่วมกับฝ่ายอักษะและยกพลขึ้นบกตอนกลางคืนของวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๔๘๔ ถึงตอนเช้ามืดของวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ตามจุดต่างๆ รวม ๗ จุดคือ บางปู ประจวบคีรีขันธ์ ขุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี สมุทรปราการ และฝ่ายไทยก็กำลังยิงต่อสู้ ข้าพเจ้าก็ได้ทราบข่าวนี้ด้วย และเป็นข่าวที่กระทบใจข้าพเจ้าอย่างรุนแรงทำให้ครุ่นคิดว่ารัฐบาลจะต้องทำอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการต่อต้าน และข้าพเจ้าจะต้องขอร่วมอุทิศชีวิตเป็นชาติพลีด้วยแน่นอน
แต่ตอนนั้นข้าพเจ้าก็ยังป่วยและกำลังจะรับการผ่าตัดอยู่แล้วจึงยังทำอะไรไม่ได้ หลังจากฟื้นจากการวางยาสลบแล้ว พล.อ.ท นายแพทย์ตระกูล ถาวรเวช แพทย์ผู้ผ่าตัด และนายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน เพื่อสนิทเรียนหนังสือชั้นเดียวกันมาตั้งแต่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นธุระดูแลข้าพเจ้าอยู่ด้วยได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าเมื่อยังอยู่ในภวังค์ของฤทธิ์ยาสลบแต่เริ่มรู้สึกตัวบ้าง ข้าพเจ้าร้องให้ขอไปรบกับทหารญี่ปุ่น
พอข้าพเจ้าหายแล้วก็ได้ไปรายงานตัวต่อท่านอาจารย์ปรีดี ซึ่งขณะนั้นยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอยู่ แต่กำลังจะต้องออกจากคณะรัฐมนตรีไปรับตำแหน่งใหม่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในตำแหน่งของเจ้าพระยายมราชซึ่งได้ถึงแก่อสัญกรรม ข้าพเจ้าของดเว้นไม่กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องย้ายจากรัฐมนตรีคลังมารับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ข้าพเจ้าจะขอกล่าวแต่เพียงว่าท่านอาจารย์ปรีดีเต็มใจรับตำแหน่งนี้ เนื่องจากต้องการให้พ้นจากการอยู่ในคณะรัฐบาลที่ร่วมมือกับญี่ปุ่น โดยมีจุดประสงค์ในใจที่จะตั้ง “ขบวนการเสรีไทย” ต่อต้านญี่ปุ่นเป็นการลับในกาลต่อไป ซึ่งท่านอาจารย์ปรีดีก็ได้ให้ความไว้วางใจแก่ข้าพเจ้าให้เข้าร่วมงานเสรีไทยนี้ด้วยในสายงานของท่านรัฐมนตรีทวี ตะเวทิกุลโดยให้ข้าพเจ้ามีหน้าที่สร้างกุญแจรหัสถอดและเข้ารหัสความลับติดต่อผ่านหลวงอรรถกิติกำจร อัคราชทูตประจำสวีเดน ซึ่งเป็นน้องชายของท่านปรีดี เพื่อยื่นให้มาดามโคลันโตอัครราชทูตสหภาพโซเวียตประจำสวีเดน ซึ่วจะส่งตรงไปให้รัฐบาลสหภาพโซเวียต และบางเรื่องก็ผ่านหลวงอรรถกิติกำจรติดต่อไปยังรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ข้าพเจ้าได้ร่วมทำงานเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่นจนถึงวันสุดท้ายที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม โดยภายหลังมีนายกำจาย ทิณพงษ์ มาช่วยพิมพ์และเผาเอกสารทุกค่ำที่กระทรวงการต่างประเทศ สมปรารถนาที่ข้าพเจ้าได้เพ้อออกมาเมื่อคลายจากฤทธิ์ยาสลบที่ศิริราชพยาบาลตอนรับการผ่าตัดไส้ติ่ง ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
ข้าพเจ้าขอย้อนกลับมากล่าวต่อจากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปรายงานตัวต่อท่านอาจารย์ปรีดีก่อนที่ท่านจะพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่า ท่านได้ส่งข้าพเจ้าไปรับตำแหน่งหัวหน้าแผนกภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรมสรรพากร ข้าพเจ้าไม่ใคร่ชอบงานนี้เพราะเป็นงานที่หมิ่นเหม่ต่อการทุจริตกินสินบน ไม่ใช่ข้าพเจ้าไม่ไว้ใจตนเอง แต่ข้าพเจ้ากลัวความมัวหมองจากผู้ร่วมงานที่ทุจริต ข้าพเจ้าจะขอไปอยู่ธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ท่านอาจารย์ปรีดีก็ยืนยันให้ไปอยู่กรมสรรพากรเพื่อช่วยแก้ไขปัรบปรุงเรื่องภาษีเงินได้ซึ่งเป็นภาษีค่อนข้างใหม่ในตอนนั้น ข้าพเจ้าก็ต้องยอมรับ
ม.จ. วิมวาทิตย์ทรงเป็นอธิบดีกรมสรรพากรในตอนนั้น ท่านเป็นเจ้านายที่น่ารักน่าเคารพมากที่สุดพระองค์หนึ่งเป็นหัวสมัยใหม่ ข้าพเจ้าได้รับการบรรจุตำแห่งให้เป็นข้าราชการพลเรือนชั้นโทและตรี ราคาโดย .พ. ให้ได้รับเงินเดือน ๆ ละ ๒๖๐ บาท ซึ่งเป้นขั้นสูงสำหรับคนเข้าใหม่ เพราะข้าพเจ้าได้รับปริญญาจากมหาหวิทยาลัยเยอรมันและสวิสส์ชั้นดุษฎีบัณฑิต ๒ ปริญญาและเนติบัณฑิตไทยอีกด้วย แต่ข้าพเจ้าไม่ได้รับเงินเดือนอยู่เป็นเวลาถึง ๙ เดือน โดยท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสั่งระงับ เนื่องจากข้าพเจ้าขัดรัฐนิยม โดยข้าพเจ้ามีชื่อ “ขวัญใจ” เป็นชื่อผู้หญิงจะต้องให้ข้าพเจ้าเปลี่ยนชื่อก่อน ข้าพเจ้าไม่ยอมเปลี่ยนเพราะเป็นชื่อที่สมเด็จพระพันปีหลวงในรัชกาลที่ ๕ พระราชทานให้และได้รับพระราชทานเหรียญห้อยคอทองคำลงยาเป็นตัวอักษร ส.ผ. (เสาวภาผ่องศรี) การเปลี่ยนย่อมเป็นการหมิ่นต่อพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ม.จ. วิมวาทิตย์ได้ทรงพระกรุณาวิ่งเต้นเจรจากับท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม เอง แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ข้าพเจ้าจึงได้ไปเรียนปรึกษาท่านอาจารย์ปรีดี ท่านก็แนะนำให้เปลี่ยนเพราะเป็นการขัดกับ “รัฐนิยม” ซึ่งเป็นเสมือนกฎหมาย และท่านได้เอาส่วนหนึ่งของราชทินนามของท่านตั้งชื่อให้แทนว่า “มนู” ข้าพจ้าจึงได้รับเงินเดือนในเดือนเกือบจะสุดท้ายของปี
ตอนต่อๆมาข้าพเจ้าได้เป็นอาจารย์พิเศษสอนกฎหมายการคลัง ในคณะบัญชีพาณิชย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย จึงพอมีเงินใช้บ้างนิดหน่อยและข้าพเจ้าก็กินอยู่กับบิดามารดา พอสิ้นปีข้าพเจ้าก็ย้ายมาอยู่กระทรวงการต่างประเทศโดย พล.ต. ชัย ประทีปเสน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการขณะนั้นได้เป็นผู้ขอย้ายข้าพเจ้ามาสังกัดกระทรวงนี้ เสด็จในกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้ขอให้ข้าพเจ้าทำงานเป็นเลขานุการของพระองค์ท่าน แทน ม.จ.วงศานุวัตร เทวกุล อันเป็นตำแหน่งแรกที่ข้าพเจ้าได้รับในกระทรวงนี้
ในระหว่างที่ข้าพเจ้ารับราชการในกรมสรรพากร ๑ ปี ข้าพเจ้าได้ยึดมั่นอยู่ในความประสงค์ของท่านอาจารย์ปรีดีที่เคารพรักของข้าพเจ้าให้ช่วยแก้ไขปรับปรุงภาษีเงินได้เพราะยังใหม่และมีความบกพร่องอยู่มาก ข้าพเจ้าตรวจสอบพบว่าใบประเมินภาษีที่เรียกว่า ภ.ง.ด. ๙ นั้น ข้าราชการผู้น้อยรับจากผู้ยื่นเสียภาษีลวกๆ ตามชอบใจ นำออกไปนอกกรมติดต่อกับผู้ยื่นเสียภาษีและขู่เรียกค่าปรับจากการยื่นรายการไม่ตรงกับความจริง บางรายก็แนะนำพ่อค้าผู้ยื่นเสียภาษีให้มีบัญชี ๒ เล่ม เล่มจริงเล่มหนึ่งและบัญชีสำหรับให้เจ้าหน้าที่ภาษีตรวจอีกเล่มหนึ่ง ลงรายการไม่ตรงกันและผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง ข้าพเจ้าจึงทูลขอห้องเก็บ ภ.ง.ด. ๙ ต่อท่านอธิบดี ๑ ห้อง มีกุญแจที่จะต้องไข ๒ ดอกพร้อมกัน ข้าพเจ้าเก็บไว้ ๑ ดอก และเจ้าหน้าที่รักษา ภ.ง.ด. ๙ เก็บไว้ ๑ ดอก...
ในสมัยนั้นพวกที่มีอาชีพอิสระ เช่น หมอ ทนายความ ฯลฯ นั้นเขาไม่ยื่น ภ.ง.ด. ๙ แสดงภาษีเงินได้เลยเพราะเขาทราบว่าทางกรมสรรพากรไม่มีทางที่จะเอาหลักฐานมายืนยันได้ว่าเขามีรายได้จากผู้ใดเท่าใด ข้าพเจ้าจึงได้หาทางแก้โดยยกร่างพระราชกฤษฎีกาวางรูปบัญชีให้พวกอาชีพอิสระเช่น หมอและทนายความ ฯลฯ ต้องแสดงบัญชีว่าในระยะปีภาษีที่แล้วมามีรายได้จากบริการที่ทำให้ใครที่ไหน เป็นจำนวนเงินเท่าใด ท่านอธิบดี ม.จ. วิมวาทิตย์ได้ทรงเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีประกาศบังคับใช้ได้ผลเป็นที่พอพระทัยมาก และผู้มีอาชีพอิสระก็ต้องยื่นประเมินเสียภาษีเงินได้ตั้งแต่นั้นมา
ข้าพเจ้าได้กราบเรียนให้ท่านอาจารย์ปรีดีทราบเมื่อข้าพเจ้าพ้นจากหน้าที่ทางกรมสรรพากรว่าข้าพเจ้าได้รับการขอตัวให้ไปทำงานในกระทรวงการต่างประเทศ ในหน้าที่เป็นเลขานุการเสด็จในกรมหมื่นนราธิปฯ ท่านอาจารย์ฯก็ไม่ว่ากระไร ต่อมาไม่นานข้าพเจ้าก็ถูกขอตัวโดยไม่ได้ถามความสมัครใจจากกองบัญชาการทหารสูงสุดให้ไปทำงานในหน้าที่ทางเศรษฐกิจอยู่กรมประสานงานพันธมิตรซึ่งตั้งขึ้นเพื่อประสานงานกับกองทัพญี่ปุ่น กรมนี้มี พล.ต. ชัย ประทีปเสน เป็นเจ้ากรม พ.อ.ม.จ.พิสิษฏ์ดิสพงษ์ ดิสกุล เป็นรองเจ้ากรม ข้าพเจ้านึกว่าท่านจะไม่พอใจแต่ท่านกลับบอกว่า เออดีแล้วจะได้เป็นประโยชน์แก่งานเสรีไทยของเรา แต่ข้าพเจ้าจะให้ใครทราบไม่ได้ว่าทำงานลับของเสรีไทยอยู่ด้วย ทำให้ข้าพเจ้าหนักใจเป็นที่สุด เพราะถ้าความลับรั่วไหลออกไปถึงญี่ปุ่นข้าพเจ้าก็ไม่รอดชีวิตแน่ ในการปฏิบัติหน้าที่ข้าพเจ้าเคยขัดขวางไม่ให้ญี่ปุ่นเรียกเกณฑ์เอาข้าวไปเลี้ยงทหารญี่ปุ่น และจะยังเอาวัวควายไปฆ่าเอาเนื้อเลี้ยงกองทัพอีก โดยแสดงให้ญี่ปุ่นเห็นว่าเราต้องใช้วัวควายไถ่นาเพื่อส่งข้าวให้กองทัพญี่ปุ่น ถ้าญี่ปุ่นจะฆ่าวัวควายเราก็จะไม่มีทั้งข้าวและวัวควายส่งให้ นอกจากนั้นข้าพเจ้ายังขัดขวางไม่ให้ญี่ปุ่นเอาไม้ไปต่อเรือลำเลียงตามใจชอบ โดยเสนอให้โรงเลื่อยรวมกันเป็นสมาคมและรัฐบาลควบคุมสมาคมโรงเลื่อยอีกชั้นหนึ่ง ให้กรมป่าไม้กักไม้ไว้ที่ปากน้ำโพอีกด้วย ท่าน พล.ต. ชัย ประทีปเสน เป็นผู้ให้การสนับสนุนและชี้แจงแก่ พล.อ.หลวงพรหมโยธีเพื่อให้กองทัพไทยร่วมขัดขวางมิให้กองทัพญี่ปุ่นผลาญทรัพยากรของชาติได้โดยสะดวก
ข้าพเจ้าเห็นว่าทั้งสองฝ่ายคือทั้งรัฐบาลและเสรีไทยก็รับใช้เพื่อประโยชน์ของชาติบ้านเมืองด้วยกันทั้งฝ่ายเสรีไทยและฝ่ายรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม เพียงแต่ฝ่ายหนึ่งทำด้วยผลปัจจุบันและอีกฝ่ายหนึ่งทำเพื่อผลในอนาคต และทั้งสองฝ่ายก็ได้ผลสมมุ่งหมายคือฝ่ายรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามช่วยให้ชาติพ้นจากความพินาศย่อยยับแต่ฝ่ายเสรีไทยช่วยให้ชาติพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม อนึ่งศาลสถิตยุติธรรมของไทยก็ช่วยปกป้องทำให้หัวหน้ารัฐบาลผู้เสี่ยงภัยเพื่อชาติได้รอดพ้นจากการถูกลงโทษเป็นอาชญากรสงครามโดยตัดสินว่า พ.ร.บ. อาชญากรสงครามเป็นโมฆะ ใช้ลงโทษท่านจอมพล ป.พิบูลสงครามและคนอื่นอีก ๑๐ กว่าคนไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายย้อนหลัง (retroactive)
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประเทศไทยก็สามารถเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติได้ในสมัยแรกภาค ๒ ด้วยคุณูปการของเสรีไทย ดังปรากฏข้อความตอนหนึ่งในบันทึกลงวันที่ ๑๓ มกราคมม ค.ศ. ๑๙๔๕ ของกรมกิจการแปซิฟิกตะวันออกเฉียงใต้ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาว่า
“ภายในประเทศไทยระบบการปกครองซึ่งแต่แรกได้ยอมจำนนต่อญี่ปุ่นและเป็นผู้ร่วมมืออย่างฉาวโฉ่ ได้ถูกเปลี่ยนโดยระบบการปกครองซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในความควบคุมของประดิษฐ์ ผู้ซึ่งได้รับการนับถือสูงสุดในหมู่ผู้นำไทยและปฏิปักษ์ของญี่ปุ่นมาตั้งแต่แรก อเมริกันได้สถาปนาการติดต่อกับประดิษฐ์ผู้ซึ่งช่วยสัมพันธมิตรในงานข่าวอย่างจริงจัง และเป็นผู้ที่ได้แสดงความปรารถนาที่จะให้ประเทศไทยเข้าสู่สงครามต่อต้านญี่ปุ่นและให้กองทัพไทยรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพันธมิตร”
นอกจากนี้ยังมีความในบันทึกของกรมกิจการแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้แห่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาลงวันที่ ๑๓ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๕ เพื่อเตรียมให้ประธานาธิบดี Roosevelt ใช้ในการพบปะสนทนากับ มร. เชอร์ชิลล์ และจอมพลสตาลิน ที่นครยัลต้าของสหภาพโซเวียต ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๘๘ เกี่ยวกับสถานภาพภายหน้าของประเทศไทย มีข้อความตอนหนึ่งว่า
“ในทางตรงกันข้าม (กับนโยบายบริติชต่อประเทศไทย) เราไม่ถือว่าประเทศไทยเป็นศัตรู หากแต่ถือว่าเป็นประเทศที่ถูกยึดครองโดยศัตรู เรารับรองอัครราชทูตไทยในวอชิงตัน เป็นอัครราชทูตของประเทศไทย มีสถานภาพเช่นเดียวกับอัครราชทูตเดนมาร์ก เราใคร่ให้มีประเทศไทยที่เป็นเอกราช อิสระพร้อมด้วยอธิปไตยที่ไม่ถูกบั่นทอนและปกครองโดยรัฐบาลที่เลือกขึ้นมาเอง ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียอาคเนย์ที่ยังคงเป็นเอกราชอยู่ก่อนสงคราม เราเชื่อว่าจะเป็นการทำให้ผลประโยชน์อเมริกันต้องกระทบกระเทือนไปทั่วทั้งเอเชียอาคเนย์ ถ้าหากว่าผลลัพธ์ของสงครามซึ่งเราได้มีบทบาทส่วนใหญ่ในการปราบปรามการรุกรานของญีปุ่นให้พ่ายแพ้ไป จะปรากฏออกมาว่า ประเทศไทยควรจะต้องสูญเสียดินแดนก่อนสงครามส่วนใดส่วนหนึ่งหรือควรจะต้องถูกบั่นทอนสถานภาพที่เป็นเอกราช”
หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้ว กรมประสานงานพันธมิตรก็เลิกล้มไปพร้อมๆกับเอกสารต่างๆ ในกรมถูกเผาไฟหมด ข้าพเจ้าก็ถูกเรียกกลับกระทรวงในเวลาใกล้ๆกันนั้น รัฐบาลก็ทูลเชิญเสด็จในกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์กลับเข้ามาอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศใหม่อีก โดยให้ทรงดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยพระองค์แรกของประเทศไทยประจำสหรัฐอเมริกา เสด็จในกรมฯ ก็ได้ทรงขอตัวข้าพเจ้าไปทำงานกับท่านที่วอชิงตัน และพอประเทศไทยเข้าเป็นสมาขิกองค์การสหประชาชาติได้แล้ว พระองค์ท่านก็ทรงดำรงตำแหน่งผู้แทนไทยถาวรประจำสหประชาชาติอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย พระองค์ก็ไม่อาจทิ้งงานทางสถานทูตไปอยู่นิวยอร์กได้ จึงทรงมอบให้ข้าพเจ้าไปก่อตั้งสำนักงานผู้แทนไทยที่กรุงนิวยอร์ก และเป็นแทนสำรองอยู่ที่นั่น พระองค์ท่านจะเสด็จมากรุงนิวยอร์กเป็นครั้งคราวเฉพาะเมื่อมีประชุมสมัชชาใหญ่ประจำปีหรือมีการประชุมที่สำคัญจริงๆ ในระหว่างที่ไม่ใช่สมัยประชุมสมัชชาใหญ่ นับแต่นั้นมาข้าพเจ้าขาดการติดต่อการงานกับท่านอาจารย์ปรีดีมาตลอดจนถึงสมัยที่ท่านและครอบครัวของท่านลี้ภัยการเมืองออกไปอยู่ประเทศจีน
เมื่อท่านออกจากประเทศจีนกลับไปพำนักอยู๋ในชานกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านได้ยื่นเรื่องราวต่อสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีสซึ่งขณะนั้นนายไพโรจน์ ชัยนาม ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตอยู่ ขอให้ออกหนังสือเดินทาง (Passport) และหนังสือแสดงการมีชีวิตเพื่อรับบำนาญตามกฎหมาย ท่านเอกอัครราชทูตไพโรจน์ ชัยนาม ไม่กล้าออกให้ จึงเสนอเรื่องไปยังรัฐมนตรีว่าการฯ ถนัด คอมันตร์ ซึ่งก็ไม่กล้าสั่งการ แต่ได้ตัดสินใจนำเสนอเรื่องเข้าชี้แจงในคณะรัฐมนตรีด้วยตนเอง โดยไม่ได้ผ่านการพิจารณาของข้าพเจ้าซึ่งเป็นอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และต้องทำหน้าที่ให้คำปรึกษาทางกฎหมายตามระเบียบก่อน คณะรัฐมนตรีได้มีมติไม่ยอมออกหนังสือเดินทางและหนังสือแสดงการมีชีวิตเพื่อรับบำนาญทั้งสองอย่างให้และยืนยันมติมายังกระทรวงเจ้าของเรื่องโดยหนังสือเลขที่ สร.๐๔๐๒/๗๙๖๐ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๑๓ รัฐมนตรีถนัด คอมันตร์ ได้ให้ ม.ล. พีระพงศ์ เกษมศรี เลขานุการนำหนังสือยืนยันมติ ค.ร.ม. นั้นมาให้ข้าพเจ้าพิจารณา
รัฐมนตรีถนัด คอมันตร์ จะนึกผูกมัดข้าพเจ้าให้ต้องยอมรับความถูกต้องของมติด้วยอีกผู้หนึ่ง เพราะได้ข้ามขั้นตอนตามระเบียบไป หรือไม่แน่ใจในข้อกฎหมายที่ตนได้เข้าไปชี้แจงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างใด ข้าพเจ้าไม่สามารถหยั่งรู้ได้
แม้จะเป็นของแปลกไม่เคยมีตัวอย่างมาก่อนในการที่ให้ข้าราชการชั้นอธิบดีพิจารณามติของคณะรัฐมนตรีอันเป็นหน่วยอำนาจบริหารสูงสุด แต่ข้าพเจ้าก็ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ ทั้งเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง และเพื่อความเป็นระเบียบของการปฏิบัติราชการอีกทั้งไม่ใช่เป็นความลับอะไรทางราชการ ข้าพเจ้าจึงมีคำสั่งให้ลงทะเบียนรับและพิจารณาเสนอมาตามลำดับขั้น กองกฎหมายก็พิจารณาเสนอความเห็นสนับสนุนมติ ค.ร.ม. ว่าเป็นการชอบแล้วโดยนำคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๑/๒๕๐๖ มาเป็นบรรทัดฐานอ้างอิงว่า ในการขออาชญาบัตรผูกขาดการสำรวจแร่ที่มิใช่แร่เหล็กนั้น แม้ผู้ขอจะได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ทุกประการแล้ว เจ้ากระทรวงผู้รักษาพระราชบัญญัติแร่ก็มีอำนาจที่จะออกหรือไม่ออกอาชญาบัตรให้ได้ คำพิพากษาฎีกานี้ย่อมนำมาปรับกับกรณีที่ ค.ร.ม. ไม่อนุญาติให้ออกหนังสือเดินทางและหนังสือแสดงการมีชีวิตทั้ง ๒ อย่างนี้แก่ท่านรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ได้
ข้าพเจ้าได้ทำบันทึกปะหน้าเรื่องออกความเห็นคัดค้านว่า ความเห็นของกองกฎหมายที่อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นบรรทัดฐานมาปรับกับกรณีของหนังสือสำคัญ ๒ อย่างของท่านรัฐบุรุษอาวุโสปรีดีนั้น เป็นเรื่องของการขอสิทธิ แต่การปฏิเสธไม่ออกหนังสือสำคัญ ๒ อย่างที่กล่าวให้แก่ท่านรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์นั้นเป็นเรื่องของการ รอนสิทธิ นัยหนึ่งเป็นการตัดสิทธิที่จะพึงได้รับโดยเท่าเทียมกับคนไทยคนอื่นๆ ย่อมผิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๕ ที่ว่าบุคคลทุกคนย่อมมีความเสมอภาคกันในทางกฎหมาย และผิด พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญ ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. นี้ต้องออกหนังสือแสดงการมีชีวิตให้แก่ผู้มีสิทธิรับบำนาญที่ต้องมาแสดงตัวทุกปี ส่วนการไม่ยอมออกหนังสือเดินทาง (Passport) ให้แก่รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ก็เป็นการละเมิดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งประเทศเป็นภาคอยู่ด้วย ในข้อ ๑๒(๒) ซึ่งระบุว่า “ทุกคนมีสิทธิที่จะออกจากประเทศใดๆ ไป รวมทั้งประเทศของตนเอง” คำคัดค้านของข้าพเจ้าทำให้คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรต้องยอมจำนน และตกอยู่ในบังคับให้ต้องกลับมติของตนเอง อนุมัตให้ออกหนังสือแสดงการมีชีวิตเพื่อรับบำนาญและหนังสือเดินทาง (Passport) ให้แก่ท่านรัฐบุรษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ดังปรากฏในหนังสือตอบของ ค.ร.ม. ที่ สร. ๐๔๐๒/๘๙๗๒ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๑๓
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้แปลเป็นไทยเองในเวลาที่ใกล้ๆกันกับที่ข้าพเจ้าได้แปลกฎบัตรสหประชาชาติเพราะทั้ง ๒ เรื่องเป็นกฎหลักมูล (fundamental rules) ของสหประชาชาติ และจำเป็นที่จะต้องให้องค์การต่างๆ ในประเทศไทยและคนไทยที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสและสเปน อันเป็นภาษาทำงาน (Working languages) ของสหประชาชาติ ได้ใช้คำแปลภาษาไทยนี้ ทั้งนี้โดยไม่มีใครเรียกร้องหรือใช้ให้ทำและโดยมิได้ขายหรือรับผลประโยชน์ตอบแทนใดๆเลย นอกจากท่านจอมพล ป.พิบูลสงครามนายกรัฐมนตรี ได้ชมเชยและสั่งให้พิมพ์แจกหน่วยงานราชการและประชาชนเป็นจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ เล่ม อันเป็นการรับรองคำแปลเป็นทางราชการโดยปริยาย
ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอันมากที่สามารถสนองพระคุณท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้เคยประสิทธิ์ประสาทวิชากฎหมายและการเมืองให้ข้าพเจ้า รับข้าพเจ้าเข้าร่วมการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตั้งแต่เช้ามืดวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ให้ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมขบวนการเสรีไทยเพื่อสนองพระคุณชาติให้พ้นจากการเป็นประเทศแพ้สงคราม ให้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้แสดงภูมิปัญญาและความเด็ดเดี่ยว กล้าคัดค้านมติคณะรัฐมนตรีอย่างกลับหน้ามือเป็นหลังมืออันไม่เคยมีตัวอย่างมาก่อนเลย ข้าพเจ้าคาดหวังอยู่ล่วงหน้าว่าการคัดค้านอย่างอุกอาจนี้จะกระทบใจคณะรัฐมนตรีอย่างแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้ากระทรวงของข้าพเจ้าเองก็ต้องเสียหน้าอย่างมาก แต่ข้าเจ้าก็ไม่รู้ว่าจะหลีกเลี่ยงได้อย่างไรในเมื่อเขาเองเป็นผู้เสนอเรื่องโดยข้ามขั้นตอนตามระเบียบและเขาเองเป็นผู้นำเรื่องนั้นกลับมาสู่การพิจารณาของข้าพเจ้าอีกเอง ข้าพเจ้ายอมรับการถูกบั่นทอนอนาคตแต่ไม่ยอมแลกกับการกระทำที่ไม่ถูกต้องและทรยศต่ออาจารย์ปรีดีที่เคารพรักของข้าพเจ้า
อองโตนี ประเทศฝรั่งเศส
วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๔
คุณมนู อมาตยกุล ที่รัก
ได้รับจดหมายของคุณ ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ศกนี้ แจ้งว่าได้รับการมาจนครบเกษียณอายุตามกฎหมายในสิ้นปีงบประมาณนี้ ผมมีความยินดีที่ตลอดเวลารับราชการคุณได้อุทิศตนรับใช้ชาติในตำแหน่งหน้าที่หลายประการโดยเรียบร้อยและทำให้บังเกิดคุณประโยชน์หลายประการแก่ชาติและราษฎรไทยอันเป็นที่รักเคารพยิ่งของเรา จึงจขอถือโอกาสนี้อวยพรให้คุณประสบสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลและบำเพ็ญตนรับใช้ชาติต่อไปตามกำลังความสามารถตราบเท่าที่คุณคงมีอายุต่อไปอีกยืนนาน
ผมยังคงจำได้ว่าคุณเป็นศิษย์ที่ดีคนหนึ่งของผมมาตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ในสมัยที่ผมเป็นผู้สอนที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม นอกจากที่คุณได้ฟังคำสอนที่โรงเรียนแล้วในตอนค่ำคุณก็ได้ร่วมกับเพื่อนนักเรียนกฎหมายอีกหลายคนมารับการอบรมจากผมที่บ้าน ผมได้สังเกตเห็นว่าคุณเป็นผู้หนึ่งที่สนใจในระบบการปกครองของแผ่นดินที่จะให้มีระบบประชาธิปไตยขึ้น ดังนั้นใจตอนเช้าของวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เมื่อคุณได้รู้ข่าวว่าคณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจรัฐซึ่งก็ยังไม่แน่ว่าจะสำเร็จได้แน่นอน คุณก็ได้เสียสละเสี่ยงชีวิตเข้ามาพบผม ณ ห้องชั้นล่างของพระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งเป็นที่ตั้งกองบัญชกาการชั่วคราวของคณะราษฎรของอาสาร่วมรับใช้ชาติ ผมจึงนำคุณไปรายงานตัวต่อท่านเจ้าคุณพหลพลพยุหเสนาแล้วก็มอบหมายหน้าที่อยู่ในกองธุรการ คุณได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอยู่ตลอดเวลาที่กองบัญชาการคณะราษฎรตั้งอยู่ในบริเวณพระที่นั่งอนันตสมาคม ครั้นต่อมาเมื่อกองบัญชาการจะย้ายเข้าไปอยู่ในวังปารุสกวัน คุณได้มาลาผมเพื่อที่จะออกไปศึกษาวิชากฎหมายต่อไปให้สำเร็จ แม้ในทางการคุณจะมิได้ทำงานอย่างใกล้ชิดแต่ในทางส่วนตัวคุณก็ได้ไปมาหาสู่ผมและปวารณาตนที่จะรับใช้เมื่อถึงโอกาส ดังนั้นเมื่อคุณสอบกฎหมายได้เป็นเนติบัณฑิตและสอบชิงทุนเล่าเรียนในต่างประเทศได้ ผมจึงเลือกเอาคุณทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัว ออกเดินทางไปยุโรปพร้อมกันใน พ.ศ. ๒๔๗๘ คุณก็ได้ช่วยเหลือในกิจธุระส่วนตัวของผมเป็นอย่างดีจนกระทั่งได้ไปถึงยุโรปแล้วได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ และองค์ปัจจุบันซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิศรยศเป็นพระอนุชาธิราช และสมเด็จพระราชชนนี ครั้นแล้วคุณก็ได้เดินทางติดตามผมมาจนถึงประเทศฝรั่งเศสแล้วจึงได้แยกย้ายไปศึกษาในประเทศเยอรมัน
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองภายหลังที่ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองประเทศไทย ขบวนการเสรีไทยซึ่งทำการต่อต้านญีปุ่นได้มีภารกิจหลายอย่าง มีภารกิจอย่างหนี่งซึ่งต้องติดตามเป็นการลับกับทูตบางคนในต่างประเทศ ผมจึงได้มอบหมายให้คุณทำงานภายใต้คุณทวี ตะเวทิกุล ซึ่งได้มอบหมายให้คุณมีหน้าที่โดยเฉพาะเข้ารหัสและออกรหัสลับติดต่อกับหลวงอรรถกิติกำจร (กลึง พนมยงค์)อัครราชทูตไทยประจำกรุงสต้อคโฮล์ม ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับเอกอัครราชทูตโซเวียต ณ ที่นั้น กลับสถานทูตไทยในกรุงวอชิงตัน ฯลฯ
โอกาสนี้ ขอขอบใจคุณอีกครั้งหนึ่งในการที่คุณได้ช่วยเหลืองานส่วนรวมของประเทศชาติและธุรกิจส่วนตัวดังได้กล่าวมาแล้ว
ผมจำได้ว่าในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลในสมัยนั้นได้ประกาศรัฐนิยมให้ผู้มีชื่อที่รัฐนิยมเห็นว่าอ่อนโยนเป็นผู้หญิงเปลี่ยนมาใช้ชื่อที่รัฐนิยมนั้นเห็นว่าเข้าลักษณะผู้ชาย คุณจึงได้มาหาผมขอให้ตั้งชื่อให้ใหม่แทนชื่อเดิม “ขวัญใจ” ผมจึงได้ตั้งชื่อใหม่ของคุณว่า “มนู” โดยชี้แจงแก่คุณด้วยว่าผมเอาส่วนหนึ่งแห่งบรรดาศักดิ์เดิมของผม “ประดิษฐ์มนูธรรม” มาตั้งให้
ด้วยความรักจากอาจารย์
ปรีดี พนมยงค์
*เกี่ยวกับผู้เขียน
ศาสตราจารย์ ดร.มนู อมาตยกุล
เนติบัณฑิตไทย ปริญญาเอกทางรัฐศาสตร์และการหนังสือพิมพ์จากมหาวิทยาลัยกรุงเบอร์ลิน และ ปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์และการคลังจากมหาวิทยาลัยกรุงเบอร์น
ท่านเกษียรณอายุในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ในตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงริโอ เด จานิโร ประเทศบราซิล ก่อนหน้านั้นท่านเคยเป็นเอกอัครราชทูต ผู้แทนประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก อธิบดีกรมสหประชาชาติ เอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก เอกอัครราชทุต ณ กรุงมาดริด อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และเป็นผู้จัดการประชุมระหว่างประเทศ สหภาพรัฐสภาและสันนิบาตสมาคมประชาชาติแห่งโลก ที่ศาลาสันติธรรม เป็นครั้งแรก
ท่านเป็นน้องชายของ ศาสตราจารย์ ดร.นวลนาฏ อมาตยกุล
ศาสตราจารย์ ดร.มนู อมาตยกุล*
“ปัจจุบันทุกคนอ้างว่ารับประชาธิปไตย แต่มีใครสักกี่คนที่พูดถึงผู้เสี่ยงชีวิตนำประชาธิปไตยมาให้ประชาชน”
ข้าพเจ้ามีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเชิญจากคุณสัมผัส พึ่งประดิษฐ์ สาราณียกร คณะกรรมการชมรม ต.ม.ธ.ก. สัมพันธ์ ให้เขียนเรื่องอันเกี่ยวกับเกียรติประวัติชีวิตและการทำงานของ ฯพณฯ รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ บางตอนที่ข้าพเจ้ามีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย มาลงพิมพ์ในหนังสือวัน “ปรีดี พนมยงค์” พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้าพเจ้ารู้จักท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ เป็นครั้งแรก เมื่อท่านสำเร็จการศึกษาเป็น Dr. En Dorit ฝ่ายนิติศาสตร์ (Sciences Juridiques) จากมหาวิทยาลัยเมือง Caen มาใหม่ๆ และมาปาฐกถาที่สามัคยาจารย์สมาคมโรงเรียนสวนกุหลาบเกี่ยวกับเรื่องอาชญากร ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่ได้ไปเข้าฟังการบรรยายของท่านในวันนั้น และเมื่อเสร็จการบรรยายแล้วเพื่อนๆ ของท่านและผู้เข้าฟังเป็นจำนวนมากก็ได้จับท่านขี่คอเดินเป็นขบวนโห่ร้อง แสดงความพอใจชื่นชมยินดีในตัวท่าน ทำให้ข้าพเจ้าซึ่งขณะนั้นยังเป็นเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาอยู่ พลอยตื่นเต้นและชื่นชมยินดีไปด้วย
ข้าพเจ้ามาได้รู้จักท่านใกล้ชิดตอนที่ท่านเป็นอาจารย์สอนกฎหมายปกครองที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมและข้าพเจ้าเข้าเป็นนักเรียนกฎหมายที่นั่น ในขณะเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าก็เข้าทำงานเป็นรองเวรอยู่ที่กองบัญชาการกระทรวงการคลังด้วย ทำให้ข้าพเจ้าไม่มีเวลาได้เข้าฟังเล็กเชอร์ที่โรงเรียนเท่าใดนัก ฉะนั้นเมื่อท่านอาจารย์ปรีดี ประกาศให้นักเรียนที่สนใจไปรับการสอนพิเศษวิชากฎหมายปกครองที่บ้านท่าน ณ บ้านป้อมเพชรตอนค่ำ ข้าพเจ้าจึงได้ร่วมกับเพื่อนนักเรียนกฎหมายรุ่นเดียวกันไปรับการอบรมด้วย มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ ๑๐ กว่าคน
ข้าพเจ้ามีความนิยมชมชอบในตัวท่านตั้งแต่ไปฟังการบรรยายดังกล่าวมาข้างต้นอยู่ก่อนแล้ว จึงสนใจเป็นพิเศษในวิชาที่ท่านสอนนี้ทำให้ท่านพอใจ และได้สนทนาซักถามเกี่ยวกับเรื่องประชาธิปไตยกับท่านลึกซึ้งขึ้น
ในสมัยนั้นมีน้อยคนหนักหนาที่จะรู้ว่า “ประชาธิปไตย” คืออะไร กฎหมายปกครองก็นำมาสอนเป็นครั้งแรกในโรงเรียนกฎหมาย ข้าพเจ้ายังจำได้ว่าวันหนึ่งท่านได้สอนพวกเราซึ่งมีทั้งหญิงและชายทั้งคนจนคนมี ว่า ความเป็นอยู่เป็นสิ่งกำหนดจิตสำนึกของมนุษย์และเป็นมาตั้งแต่โบราณกาล ทำให้มีกำเนิดแห่งทรรศนะทางสังคม เริ่มจากระบบปฐมสหการมาเป็นระบบทาส จากระบบทาสมาเป็นระบบศักดินา และมาเป็นระบบเศรษฐกิจทุนนิยมซึ่งเรียกว่าสมัยการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม(Industrial revolution) ฉะนั้นพวกนายทุนสมัยใหม่จึงต้องเปลี่ยนระบบศักดินาเพื่อให้ราษฎรมีเสรีภาพและสิทธิประชาธิปไตยมากขึ้น ความขัดแย้งระหว่างระบบศักดินากับทรรศนะใหม่และความคิดอันเกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและได้แพร่ขยายมายังประเทศด้อยพัฒนา รวมทั้งประเทศสยามด้วย ทำให้มีเสียงเรียกร้องจากผู้ที่เคยศึกษาในยุโรปและอเมริกา ซึ่งเป็นพวกหัวสมัยใหม่ ให้เลิกระบบศักดินาเสีย
วันหนึ่งข้าพเจ้าไปรับการอบรมถึงบ้านท่านเร็วหน่อยจึงได้มีโอกาสกราบเรียนซักถามท่านโดยลำพังว่า การเรียกร้องให้เลิกระบบศักดินานั้นทำได้อย่างไร ในเมื่อประเทศเรามีระบบศักดินาโดยพระบรมราชโองการทรงแต่งตั้งข้าราชการให้มียศบรรดาศักดิ์ และกำหนดศักดินาเท่านั้นเท่านี้ไร่ไว้สำหรับข้าราชการแต่ละชั้นลดหลั่นกันไป และพระบรมราชโองการก็ถือเป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์ นอกจากนั้นพวกที่ไปได้รับการศึกษาอบรมในยุโรปอเมริกาก็เป็นลูกหลานว่านเครือศักดินากันโดยมาก
ท่านมองหน้าข้าพเจ้าแล้วยิ้มตอบว่า “คุณเกิดแล้วหรือยังเมื่อ รศ. ๑๓๐ ในรัชกาลที่ ๖ ก็ได้มีการเรียกร้องจากพวกก้าวหน้า แต่ไม่สำเร็จจึงต้องรับโทษไป บุคคลในวรรณะเก่าไม่ใช่จะต่อสู้ขัดขวางการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่เสมอไป บางคนเป็นผู้มีความคิดก้าวหน้า มองเห็นประโยชน์ส่วนรวมของสังคมเหนือกว่าประโยชน์ของวรรณะ”
ข้าพเจ้าพอใจและยอมรับความจริงที่ท่านอาจารย์ได้กรุณาให้อรรถาธิบายให้เห็นความเป็นไปได้ของกำเนิดประชาธิปไตยในประเทศเรา และการพยายามโดยเสี่ยงต่อการถูกลงโทษอย่างมหันต์เพื่อถ่ายอำนาจปกครองบ้านเมืองจากพวกศักดินาให้มาอยู่กับประชาชนนั้น ก็ได้เคยเกิดมาแล้วตั้งแต่ข้าพเจ้าเพิ่งเกิด ข้าพเจ้ามีความประทับใจมากที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่า “บุคคลในวรรณะเก่าที่มีความคิดก้าวหน้า เห็นประโยชน์ส่วนรวมของสังคมเหนือประโยชน์ของวรรณะก็มี” เพราะว่าข้าพเจ้าก็อยู่ในพวกวรรณะเก่า บิดาของข้าพเจ้ามีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ได้ทุนระพีไปเรียนที่อังกฤษ กลับมาเป็นผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม และมารดาของข้าพเจ้าก็เป็นข้าหลวงรับใช้ใกล้ชิดสมเด็จพระพันปีหลวงในรัชกาลที่ ๕
ฉะนั้นการอยู่ในกำเนิดของวรรณะเก่าก็คงไม่ปิดทางที่ข้าพเจ้าจะมีโอกาสเข้าอยู่ในพวกก้าวหน้าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมของสังคมเหนือประโยชน์ของวรรณะกับเขาบ้าง
ข้าพเจ้านึกเฉลียวใจอยู่ไม่น้อยในการที่ได้พูดคุยกับท่านอาจารย์ว่าท่านอาจารย์คงจะทำอะไรสักอย่างหนึ่งที่จะนำประเทศชาติไปสู่การถ่ายโอนอำนาจจากพวกศักดินาวรรณะเก่าไปสู่ประชาชน หรือนัยหนึ่ง คือ การนำระบบประชาธิปไตยมาสู่ประเทศสยาม แต่ก็ไม่กล้าถามท่านและคิดว่าถึงถามท่านก็คงจะไม่บอกเด็กอย่างข้าพเจ้า แต่ก็แสดงให้ท่านเห็นว่าข้าพเจ้านิยมต้วท่านที่ยึดถือคติธรรมที่จะนำประเทศชาติไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางการเมืองให้เท่าเทียมประเทศอื่น และสนใจในคำสอนกฎหมายของท่านมาก
ข้าพเจ้าขอย้อนกล่าวไปถึงสมัยเมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนอยู่โรงเรียนเทพศิรินทร์นิดหน่อย เพื่อให้ทราบว่าข้าพเจ้ารู้เบาะแสของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากใครอย่างไร คือในสมัยเป็นนักเรียนสามัญข้าพเจ้าได้ริเป็นนักการพนันแทงม้า ข้าพเจ้าเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดกับนายเปสตันยี (Pestonji) เจ้ามือรับแทงม้า (Book maker) ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักและนับถือของนักการพนันทั่วไป ท่านเป็นเพื่อนเล่นเทนนิส บิลเลียดสโมสรสีลมกับบิดาของข้าพเจ้า และท่านก็รักเอ็นดูข้าพเจ้าในฐานะเป็นเด็กลูกของเพื่อน ทุกครั้งที่มีแข่งม้าไม่ว่าที่สนามสปอร์ตคลับหรือสนามราชตฤณมัย ท่านจะต้องเอาข้าพเจ้าติดไปด้วยเสมอและสอนให้ข้าพเจ้าแทงม้าและเขย่าขลุกขลิกลูกเต๋าเป็นเจ้ามือแทนท่าน บางครั้งท่านเคยใช้ความเป็นเด็กของข้าพเจ้าล่อพระยานนทิเสนเจ้ามือลอตเตอรี่คนแรกในประเทศไทยแทงขลุกขลิกที่ข้าพเจ้าเขย่ากินพระยานนทิเสนหลายหมื่นบาทซึ่งมากทีเดียวในสมัยนั้น
วันพุธวันเสาร์ข้าพเจ้าก็ต้องลาโรงเรียนครึ่งวันบ่อยๆ เวลาข้าพเจ้าลาครึ่งวันข้าพเจ้าก็ต้องเข้าไปลาเจ้าคุณจรัลชวนะเพท อาจารย์ใหญ่ผู้ปกครอง และท่านก็ให้อนุญาตข้าพเจ้าทุกที เพราะข้าพเจ้าเป็นเด็กดี สอบซ้อมสอบไล่ได้เป็นที่ ๑ เสมอ ท่านก็ไม่คิดว่าข้าพเจ้าจะเหลวไหลหัดไปเล่นการพนันและความจริงก็เป็นเช่นท่านเชื่อ ข้าพเจ้าสนใจเพียงไปหาความกว้างขวางรอบรู้ คบค้าสมาคมกับผู้ใหญ่ที่เขาจะให้ความเฉลียวฉลาดแก่เราได้ และข้าพเจ้าก็ไม่ได้ติดการพนัน พอโตหน่อยก็เลิกและไม่ไปสนใจสนามม้าอีกเลยจนบัดนี้
ข้าพเจ้ารู้จักผู้ใหญ่หลายคนในสนามม้าคนหนึ่งในจำนวนนี้ก็มี พล.ต.ชัย ประทีปเสน ตอนนั้นท่านเพิ่งจบ ร.ร.นายร้อยทหารบก ท่านต้องมาถามข้าพเจ้าเสมอว่าจะแทงม้าตัวไหนดี เพราะท่านรู้ว่าข้าพเจ้าเป็นเด็กคนสนิทของนายเปสตันยี ซึ่งข้าพเจ้าเรียกว่า “ป๋าเปท” (PaPet) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีม้าสั่งมาจากเมืองนอกตัวใหม่ๆ เข้าแข่งด้วยเพราะ “ป๋าเปท” ของข้าพเจ้ามีประวัติม้าทุกตัวและข้าพเจ้าก็ถามเขาได้
ข้าพเจ้าสนิทสนมกับ พล.ต.ชัย ประทีปเสน มาตั้งแต่เป็นนายร้อยจนเป็นนายพัน นายพลและไปมาหาสู่กับท่านที่กรมทหารม้าและยานเกราะบางซื่อบ่อยๆ ท่านเป็นลูกน้องคนสนิทของจอมพล ป.พิบูลสงคราม และในการพูดคุยกับก็ได้เบาะแสจากท่านนี้แหละว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประมาณเมื่อใดอีกทางหนึ่ง
ในตอนเช้ามืดราวตี ๕ ของวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ข้าพเจ้าได้ปลุกอาว์ของข้าพเจ้า (นายอุดม อมาตยกุล) ซึ่งอยู่บ้านเดียวกัน ชวนให้ขับรถ Clyno เลขที่ ช.ม. ๒๒ ของบิดาข้าพเจ้า ไปรับทานเลือดหมูเซี่ยงจี๊ที่ตลาดเก่ากัน พอออกรถไปได้หน่อย ข้าพเจ้าก็บอกว่ายังเช้ามากไป ขอให้ขับรถไปกินอากาศแถวพระบรมรูปทรงม้าก่อนเถอะ อาว์ข้าพเจ้าก็ว่าดีเหมือนกันไปก็ไป แล้วก็ขับรถไปยังพระบรมรูปทรงม้า ข้าพเจ้าเห็นทหารตั้งแถวอยู่ประตูหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมก็แน่ใจว่ามีการยึดอำนาจการปกครองจริง ข้าพเจ้าบอกกับอาว์ของข้าพเจ้าว่าข้าพเจ้าจะขอเข้าไปพบเพื่อนข้างในพระที่นั่งคงจะนานหน่อย ขอให้อาว์ของข้าพเจ้ากลับไปก่อนโดยไม่ได้บอกอะไรอีกเลย และไม่ได้ขอให้กราบเรียนคุณพ่อคุณแม่ของข้าพเจ้าว่าอย่างไรด้วย อาว์ของข้าพเจ้าก็ยอมขับรถกลับบ้าน
ข้าพเจ้าขออนุญาตทหารยามแล้วก็เข้าไปพบกันท่านอาจารย์ปรีดี รายงานตัวต่อท่านว่าข้าพเจ้ามาขอร่วมรับใช้ชาติในการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนี้กับอาจารย์ด้วยคนหนึ่ง ท่านมองหน้าข้าพเจ้าด้วยความแปลกใจว่าข้าพเจ้าทราบได้อย่างไร เพราะในบรรดาพวกที่ไปรับการอบรมที่บ้านท่านก็ไม่มีใครสักคนเดียวที่เข้ามาร่วมการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ แต่แล้วท่านก็บอกว่าท่านจะพาไปรายงานตัวต่อ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะปฏิวัติ ข้าพเจ้าก็เดินตามท่านไปรายงานตัวต่อ พ.อ.พระยาพหลฯ แล้วท่านอาจารย์ปรีดีก็พาข้าพเจ้าไปมอบตัวกับนายยล สมานนท์ ให้ทำงานฝ่ายธุรการของกองกลางซึ่งนายยล สมานนท์เป็นหัวหน้าอยู่ ข้าพเจ้าต้องฝากเจ้าหน้าที่ในพระที่นั่งที่ออกไปข้างนอก แวะซื้อสบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ให้ข้าพเจ้า เพราะจะต้องค้างอยู่ที่นั่นจนกว่าการยึดอำนาจจะสำเร็จลง
ที่นั่นข้าพเจ้าพบคนรู้จักเพียง ๒ คนเท่านั้นคือ คุณจรูญ สืบแสง คุณดิเรก ชัยนาม คุณสงวน ทองประเสริฐ ต่อมาจึงได้รู้จักคนอื่นๆอีก และอีก ๓ วันต่อมาในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือจึงได้เป็นผู้รับเชิญรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยให้พวกที่ร่วมก่อการด้วยกันรวมทั้งตัวข้าพเจ้าด้วยก็ได้มาดื่มแชมเปญฉลองกัน ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมนั้น ภายหลังจึงได้มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรซึ่งพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ปีนั้น และได้ถือเอาวันนั้นเป็นวันรัฐธรรมนูญตลอดมา
ต่อมาเมื่อกองบัญชาการคณะอภิวัฒน์ย้ายเข้าไปอยู่ในวังปารุสกวัน ภาระหน้าที่ผ่ายธุรการพร้อมกับการยึดอำนาจการปกครองได้ผ่านไปด้วยความเรียบร้อยแล้วข้าพเจ้าจึงได้ไปลาท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เพื่อออกไปศึกษากฎหมายต่อไปให้สำเร็จ ในปีต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๖ โรงเรียนกฎหมายก็ย้ายไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักเรียนกฎหมายรุ่นเดียวที่ต้องเรียน ๓ ภาค ข้าพเจ้าสอบไล่จบภาค ๓ และได้เป็นเนติบัณฑติรุ่น ๒๔๗๖ นั้น หลังจากนั้นท่านอาจารย์ปรีจึงจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ข้าพเจ้าได้รับทุนเล่าเรียนไปศึกษาวิชาต่อในยุโรป ท่านอาจารย์ปรีดีกำลังจะเดินทางไปยุโรปเพื่อเจรจาลดดอกเบี้ยเงินกู้ของรัฐบาลและทาบทามนานาประเทศขอแก้ไขสนธิสัญญาทางไมตรีที่ยังไม่มีความเสมอภาคให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ท่านอาจารย์ปรีดีจึงเอาตัวข้าพเจ้าทำหน้าที่เลขานุการส่วนตัวของท่าน เราออกเดินทางโดยรถไฟจากสถานีหัวลำโพงเพื่อไปลงเรือเดินสมุทรอิตาเลี่ยนชื่อ “คองท์แวร์เค” ที่สิงคโปร์ ครั้งนั้นยังไม่มีการเดินทางโดยสายการบินเหมือนสมัยนี้ เป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าจะได้เดินทางไปต่างประเทศ รู้สึกตื่นเต้น มีคนไปส่งมากมายล้นหลามสถานีหัวลำโพง ข้าราชการและมิตรสหายของท่านอาจารย์เยอะแยะไปหมด และญาติสนิทมิตรสหายของข้าพเจ้าก็ไปส่งและนำพวงมาลัยไปสรวมให้ล้นคอ พอไปถึงสิงคโปร์ หลวงวุฒิสารเนติณัติ กงสุลใหญ่ประจำสิงคโปร์ พร้อมด้วยภรรยาซึ่งเป็นญาติชั้นพี่สาวของข้าพเจ้าในสกุลเดียวกันก็มารับท่านอาจารย์และข้าพเจ้าไปพักสถานกงสุล
วันต่อมาเราจึงออกเดินทางโดยเรือที่กล่าวชื่อมาแล้วออกจากสิงคโปร์บ่ายหน้าไปเมืองเวนิส (Venice) ที่อิตาลี มีคนไทยร่วมโดยสารไปด้วย ๒ คนคือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์ซึ่งจะไปรับหน้าที่อัครราชทูตไทย ณ กรุงปรารีส และนายถวิล คูตระกูล ซึ่งจะไปเรียนต่อที่สวิตเซอร์แลนด์โดยทุนส่วนตัว การเดินทางกินเวลาถึงเดือนครึ่ง เมืองแรกที่เรือเข้าเทียบท่าในประเทศอิตาลีคือเมืองบรินดิซิ (Brindisi) ท่านอาจารย์ก็ได้ทราบข่าวในหนังสือพิมพ์ที่ทำให้ท่านตกใจมากคือข่าวปลงพระชนม์ของเสด็จในกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ประธานผู้สำเร็จราชการ แต่ตามโปรแกรมของท่าน ท่านก็จะต้องแวะที่ Venice และเดินทางต่อไปยังเมือง Treeste เพื่อเยี่ยมอู่ต่อเรือรบของประเทศไทย และมีนายทหารเรือคอยต้อนรับพาดูการต่อเรืออยู่ที่นี่นั่นแล้ว เมื่อถึงอิตาลีแล้ว นายถวิลก็แยกทางไปสวิตเซอร์แลนด์ คงเหลือแต่เรา ๓ คน ถึง Trieste ท่านก็ขอเลื่อนเวลาที่จะเข้าพบมุสโสลินี ประมุขของประเทศอิตาลี ออกไป แล้วก็รีบเดินทางโดยรถไฟไปยังโลซานน์เพื่อเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานัทมหิดลตลอดจนสมเด็จพระอนุชา และสมเด็จพระบรมราชนนี ข้าพเจ้าก็ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทั้ง ๓ พระองค์ด้วยเป็นครั้งแรก ตอนนั้นพระองค์ท่าน (รัชกาลที่ ๘ และที่ ๙ )ยังทรงพระเยาว์มากทั้ง ๒ พระองค์ หลวงสิริราชไมตรี เลขานุการในพระองค์ได้เอาโทรเลขเรื่องประธานผู้สำเร็จราชการถูกปลงพระชนม์ชีพมาให้อาจารย์ดู แต่ก็ไม่มีรายละเอียดอะไรมากนัก ต่อมาเมื่อเสร็จธุระจากการเข้าเฝ้าทั้งสามพระองค์แล้ว ท่านอาจารย์จึงเดินทางมากรุงปารีสและได้ทราบรายละเอียดจากสถานทูต ณ กรุงปารีสว่าเสด็จในกรมหมื่นอนุวัตรฯ ปลงพระชนม์เองโดยใช้ปืนพกสั้นยิ่งเข้าไปในพระโอษฐ์และเรื่องอยู่ระหว่างสอบสวนของกรมตำรวจ
ต่อมาในวันที่ ๒๐ เดือนเดียวกันคณะรับมนตรีจึงเสนอแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการใหม่ประกอบด้วย
พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา เป็นประธาน
เจ้าพระยายมราช เป็นผู้สำเร็จราชการ
เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน เป็นผู้สำเร็จราชการ
งานในหน้าที่เลขานุการส่วนตัวของท่านอาจารย์ปรีดีที่ข้าพเจ้าทำอยู่ก็ไม่มีอะไรมากนอกจากดูแลจัดกระเป๋าเดินทาง จัดเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ท่านต้องใช้ตามทางประจำวัน เขียนจดหมายถึงผู้แทนราษฎรและมิตรสหายของท่านในระหว่างเดินทางซึ่งต้องใช้มือเขียนเพราะเราไม่มีเครื่องพิมพ์ดีดติดตัวไปใช้ ถ้าเป็นเรื่องเขียนโปสการ์ดส่งความระลึกถึงธรรมดา ท่านก็ให้ข้าพเจ้าเขียนให้ท่านลงนาม ถ้ามีเรื่องพิเศษท่านก็จะบอกเรื่องให้ข้าพเจ้าเขียน ข้าพเจ้าก็รักษาความลับอย่างดีที่สุด ท่านพักอยู่ปารีสนานหน่อย ทางสถานทูตจัดให้ตัวท่านอาจารย์นั้นอยู่ห้องใหญ่ชั้นล่าง ข้าพเจ้าอยู่ห้องชั้น ๒ ข้าพเจ้าเคยรู้จักแต่ชีวิตเมืองไทย ฉะนั้นรัปทานครัวซอง (Croissant) กับการแฟแล้วก็ลงมานั่งเฝ้าหน้าห้องท่าน เพื่อคอยดูแลจัดเสื้อผ้าให้ท่านและรับใช้ท่าน ส่วนเรื่องจดหมายตอนนี้ท่านก็ใช้สถานทูตพิมพ์เฉพาะที่ไม่เป็นความลับ ที่เป็นความลับท่านก็ยังใช้ข้าพเจ้าทำอยู่ กว่าท่านจะตื่นก็ราว ๑๑ โมงเช้า หลายวันติดๆกัน จึงรู้ว่าในยุโรปเขานอนดึกตื่นสายกันโดยมาก
มีอยู่ตอนหนึ่งระหว่างอยู่ที่ปารีสมีเรื่องข้อพิพาทระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีเข้าสู่ระเบียบวาระของสันนิบาตชาติ ครั้งนั้นยังไม่มีองค์การสหประชาชาติ สันนิบาตชาติ (Loague of Nations) ยังทำหน้าที่รักษาสันติภาพของโลกอยู่ ท่านอาจารย์ก็เข้าไปประชุมสันนิบาตชาติในคณะผู้แทนไทยด้วย ฝ่ายยุโรปและอเมริกันก็รวมหัวกันประณามญี่ปุ่นว่าเข้าไปรังแกครอบงำเกาหลี และชักชวนให้ประเทศสมาชิกอื่นร่วมประณามด้วย แต่ท่านอาจารย์ปรีดีเห็นว่าญี่ปุ่นเป็นชาติเอเชียด้วยกันจึงไม่ร่วมมือด้วย และได้งดเว้นออกเสียง (abstention) ทำให้ญี่ปุ่นขอบอกขอบใจและซาบซึ้งในมิตรภาพที่ตั้งอยู่บนรากฐานของการเป็นประเทศในทวีปเอเชียด้วยกันเป็นอันมาก
เมื่อใกล้จะถึงเวลาเปิดเทอม ข้าพเจ้าก็ได้กราบลาท่านอาจารย์เพื่อไปศึกษาต่อที่ประเทศเยอรมันนี ตอนจากกันท่านอาจารย์และข้าพเจ้าได้ร่ำลากันตามธรรมเนียมสากลซึ่งเป็นการแสดงความรักใคร่สนิทสนมกัน ข้าพเจ้าเรียนรัฐศาสตร์และการหนังสือพิมพ์ที่มหาวิทยาลัยกรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมันนี จบก็พอดีเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก่อนประกาศสงคราม นายบุญยรักษ์ เจริญชัยซึ่งเป็นนักเรียนอยู่ฝรั่งเศสได้มาพักอยู่ที่แฟลตของข้าพเจ้าที่ Charlotenburg อังกาบ กนิษฐเสน ซึ่งเป็นหลานของท่านปรีดี และเป็นเพื่อนสนิทของข้าพเจ้า มีเพื่อนๆหลายคนมาร่วมงานรวมทั้งนายบุณยรักษ์ และ ดร.ถวิล คูตระกูล ซึ่งเดินทางมายุโรปโดยเรือคองต์แวร์เดด้วยกัน ดังข้าพเจ้าได้กล่าวถึงในตอนต้นมาแล้วครั้งหนึ่ง
เรารู้อยู่ก่อนแล้วว่าจะเกิดสงครามจึงฉลองกันจนเช้ามืด แล้วข้าพเจ้ากับนายบุณยรักษ์และ ดร.ถวิล ก็ชวนกันจับรถไฟเดินทางจากกรุงเบอร์ลินไปเมืองโลซานน์ (Lausanne) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รถไฟขบวนนั้นแน่นเอี๊ยด เราต้องยืนไปตลอดทาง พอถึงสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ยินประกาศสงครามทางวิทยุกระจายเสียง จากนั้นเราก็แยกกันไปคนละทิศละทาง ข้าพเจ้าไปเข้าเรียนทางเศรษฐศาสตร์และการคลังต่อที่มหาวิทยาลัยกรุง Bern
สงครามยืดเยื้อและร้ายแรง กระจายกว้างออกไปทุกที ถึงตอนที่เยอรมันนีประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต ทางที่นักเรียนจะกลับประเทศได้เหลือทางเดียวคือทางผ่านสหภาพโซเวียตไปญี่ปุ่น ข้าพเจ้าสอบได้ Lic. rer. Pol. อยู่ก่อนแล้วจึงรีบทำวิทยานิพนธ์และสอบ Dr.rer. Pol. ได้ก่อนที่รัฐบาลไทยจะได้โทรเลขเรียกให้ข้าพเจ้ากลับทันที รัฐบาลได้จัดให้ข้าพเจ้าพร้อมด้วยนายชอบ คงคากุล นายเผดิม บุนนาค และน้องชายรวม ๔ คน เดินทางกลับโดยรถไฟสายไซบีเรียซึ่งเป็นรถไฟสายที่ยาวที่สุดในโลก เดินทางอยู่ในรถไฟถึง ๑๖ วันแล้วถ่ายรถไฟลงเรือข้ามมาติดอยู่ที่ญี่ปุ่นอีกหลายเดือนเพราะหาเรือเดินทางกลับประเทศไทยังไม่ได้ ญี่ปุ่นก็กำลังจะเข้าทำสงครามโลก ในที่สุดรัฐบาลสามารถจัดให้นักเรียนไทยจำนวนกว่าลสิบคนลงเรือญี่ปุ่น นอนกันกับพื้นเรือทั้งหญิงและชายโดยไม่มีห้องหับ ข้าพเจ้าบังเอิญเป็นไส้ติ่งอักเสบ แต่ไม่มีหมอจะผ่าตัด เลยต้องรอจนถึงกรุงเทพฯ แต่ก็เคราะห์ดีที่การอักเสบนั้นยังไม่รุนแรงถึงกับเป็นหนองไส้แตก
พอถึงบ้านก็รีบไปรับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลศิริราช ก่อนวันผ่าตัดญี่ปุ่นก็เข้าทำสงครามร่วมกับฝ่ายอักษะและยกพลขึ้นบกตอนกลางคืนของวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๔๘๔ ถึงตอนเช้ามืดของวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ตามจุดต่างๆ รวม ๗ จุดคือ บางปู ประจวบคีรีขันธ์ ขุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี สมุทรปราการ และฝ่ายไทยก็กำลังยิงต่อสู้ ข้าพเจ้าก็ได้ทราบข่าวนี้ด้วย และเป็นข่าวที่กระทบใจข้าพเจ้าอย่างรุนแรงทำให้ครุ่นคิดว่ารัฐบาลจะต้องทำอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการต่อต้าน และข้าพเจ้าจะต้องขอร่วมอุทิศชีวิตเป็นชาติพลีด้วยแน่นอน
แต่ตอนนั้นข้าพเจ้าก็ยังป่วยและกำลังจะรับการผ่าตัดอยู่แล้วจึงยังทำอะไรไม่ได้ หลังจากฟื้นจากการวางยาสลบแล้ว พล.อ.ท นายแพทย์ตระกูล ถาวรเวช แพทย์ผู้ผ่าตัด และนายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน เพื่อสนิทเรียนหนังสือชั้นเดียวกันมาตั้งแต่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นธุระดูแลข้าพเจ้าอยู่ด้วยได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าเมื่อยังอยู่ในภวังค์ของฤทธิ์ยาสลบแต่เริ่มรู้สึกตัวบ้าง ข้าพเจ้าร้องให้ขอไปรบกับทหารญี่ปุ่น
พอข้าพเจ้าหายแล้วก็ได้ไปรายงานตัวต่อท่านอาจารย์ปรีดี ซึ่งขณะนั้นยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอยู่ แต่กำลังจะต้องออกจากคณะรัฐมนตรีไปรับตำแหน่งใหม่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในตำแหน่งของเจ้าพระยายมราชซึ่งได้ถึงแก่อสัญกรรม ข้าพเจ้าของดเว้นไม่กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องย้ายจากรัฐมนตรีคลังมารับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ข้าพเจ้าจะขอกล่าวแต่เพียงว่าท่านอาจารย์ปรีดีเต็มใจรับตำแหน่งนี้ เนื่องจากต้องการให้พ้นจากการอยู่ในคณะรัฐบาลที่ร่วมมือกับญี่ปุ่น โดยมีจุดประสงค์ในใจที่จะตั้ง “ขบวนการเสรีไทย” ต่อต้านญี่ปุ่นเป็นการลับในกาลต่อไป ซึ่งท่านอาจารย์ปรีดีก็ได้ให้ความไว้วางใจแก่ข้าพเจ้าให้เข้าร่วมงานเสรีไทยนี้ด้วยในสายงานของท่านรัฐมนตรีทวี ตะเวทิกุลโดยให้ข้าพเจ้ามีหน้าที่สร้างกุญแจรหัสถอดและเข้ารหัสความลับติดต่อผ่านหลวงอรรถกิติกำจร อัคราชทูตประจำสวีเดน ซึ่งเป็นน้องชายของท่านปรีดี เพื่อยื่นให้มาดามโคลันโตอัครราชทูตสหภาพโซเวียตประจำสวีเดน ซึ่วจะส่งตรงไปให้รัฐบาลสหภาพโซเวียต และบางเรื่องก็ผ่านหลวงอรรถกิติกำจรติดต่อไปยังรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ข้าพเจ้าได้ร่วมทำงานเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่นจนถึงวันสุดท้ายที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม โดยภายหลังมีนายกำจาย ทิณพงษ์ มาช่วยพิมพ์และเผาเอกสารทุกค่ำที่กระทรวงการต่างประเทศ สมปรารถนาที่ข้าพเจ้าได้เพ้อออกมาเมื่อคลายจากฤทธิ์ยาสลบที่ศิริราชพยาบาลตอนรับการผ่าตัดไส้ติ่ง ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
ข้าพเจ้าขอย้อนกลับมากล่าวต่อจากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปรายงานตัวต่อท่านอาจารย์ปรีดีก่อนที่ท่านจะพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่า ท่านได้ส่งข้าพเจ้าไปรับตำแหน่งหัวหน้าแผนกภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรมสรรพากร ข้าพเจ้าไม่ใคร่ชอบงานนี้เพราะเป็นงานที่หมิ่นเหม่ต่อการทุจริตกินสินบน ไม่ใช่ข้าพเจ้าไม่ไว้ใจตนเอง แต่ข้าพเจ้ากลัวความมัวหมองจากผู้ร่วมงานที่ทุจริต ข้าพเจ้าจะขอไปอยู่ธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ท่านอาจารย์ปรีดีก็ยืนยันให้ไปอยู่กรมสรรพากรเพื่อช่วยแก้ไขปัรบปรุงเรื่องภาษีเงินได้ซึ่งเป็นภาษีค่อนข้างใหม่ในตอนนั้น ข้าพเจ้าก็ต้องยอมรับ
ม.จ. วิมวาทิตย์ทรงเป็นอธิบดีกรมสรรพากรในตอนนั้น ท่านเป็นเจ้านายที่น่ารักน่าเคารพมากที่สุดพระองค์หนึ่งเป็นหัวสมัยใหม่ ข้าพเจ้าได้รับการบรรจุตำแห่งให้เป็นข้าราชการพลเรือนชั้นโทและตรี ราคาโดย .พ. ให้ได้รับเงินเดือน ๆ ละ ๒๖๐ บาท ซึ่งเป้นขั้นสูงสำหรับคนเข้าใหม่ เพราะข้าพเจ้าได้รับปริญญาจากมหาหวิทยาลัยเยอรมันและสวิสส์ชั้นดุษฎีบัณฑิต ๒ ปริญญาและเนติบัณฑิตไทยอีกด้วย แต่ข้าพเจ้าไม่ได้รับเงินเดือนอยู่เป็นเวลาถึง ๙ เดือน โดยท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสั่งระงับ เนื่องจากข้าพเจ้าขัดรัฐนิยม โดยข้าพเจ้ามีชื่อ “ขวัญใจ” เป็นชื่อผู้หญิงจะต้องให้ข้าพเจ้าเปลี่ยนชื่อก่อน ข้าพเจ้าไม่ยอมเปลี่ยนเพราะเป็นชื่อที่สมเด็จพระพันปีหลวงในรัชกาลที่ ๕ พระราชทานให้และได้รับพระราชทานเหรียญห้อยคอทองคำลงยาเป็นตัวอักษร ส.ผ. (เสาวภาผ่องศรี) การเปลี่ยนย่อมเป็นการหมิ่นต่อพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ม.จ. วิมวาทิตย์ได้ทรงพระกรุณาวิ่งเต้นเจรจากับท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม เอง แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ข้าพเจ้าจึงได้ไปเรียนปรึกษาท่านอาจารย์ปรีดี ท่านก็แนะนำให้เปลี่ยนเพราะเป็นการขัดกับ “รัฐนิยม” ซึ่งเป็นเสมือนกฎหมาย และท่านได้เอาส่วนหนึ่งของราชทินนามของท่านตั้งชื่อให้แทนว่า “มนู” ข้าพจ้าจึงได้รับเงินเดือนในเดือนเกือบจะสุดท้ายของปี
ตอนต่อๆมาข้าพเจ้าได้เป็นอาจารย์พิเศษสอนกฎหมายการคลัง ในคณะบัญชีพาณิชย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย จึงพอมีเงินใช้บ้างนิดหน่อยและข้าพเจ้าก็กินอยู่กับบิดามารดา พอสิ้นปีข้าพเจ้าก็ย้ายมาอยู่กระทรวงการต่างประเทศโดย พล.ต. ชัย ประทีปเสน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการขณะนั้นได้เป็นผู้ขอย้ายข้าพเจ้ามาสังกัดกระทรวงนี้ เสด็จในกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้ขอให้ข้าพเจ้าทำงานเป็นเลขานุการของพระองค์ท่าน แทน ม.จ.วงศานุวัตร เทวกุล อันเป็นตำแหน่งแรกที่ข้าพเจ้าได้รับในกระทรวงนี้
ในระหว่างที่ข้าพเจ้ารับราชการในกรมสรรพากร ๑ ปี ข้าพเจ้าได้ยึดมั่นอยู่ในความประสงค์ของท่านอาจารย์ปรีดีที่เคารพรักของข้าพเจ้าให้ช่วยแก้ไขปรับปรุงภาษีเงินได้เพราะยังใหม่และมีความบกพร่องอยู่มาก ข้าพเจ้าตรวจสอบพบว่าใบประเมินภาษีที่เรียกว่า ภ.ง.ด. ๙ นั้น ข้าราชการผู้น้อยรับจากผู้ยื่นเสียภาษีลวกๆ ตามชอบใจ นำออกไปนอกกรมติดต่อกับผู้ยื่นเสียภาษีและขู่เรียกค่าปรับจากการยื่นรายการไม่ตรงกับความจริง บางรายก็แนะนำพ่อค้าผู้ยื่นเสียภาษีให้มีบัญชี ๒ เล่ม เล่มจริงเล่มหนึ่งและบัญชีสำหรับให้เจ้าหน้าที่ภาษีตรวจอีกเล่มหนึ่ง ลงรายการไม่ตรงกันและผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง ข้าพเจ้าจึงทูลขอห้องเก็บ ภ.ง.ด. ๙ ต่อท่านอธิบดี ๑ ห้อง มีกุญแจที่จะต้องไข ๒ ดอกพร้อมกัน ข้าพเจ้าเก็บไว้ ๑ ดอก และเจ้าหน้าที่รักษา ภ.ง.ด. ๙ เก็บไว้ ๑ ดอก...
ในสมัยนั้นพวกที่มีอาชีพอิสระ เช่น หมอ ทนายความ ฯลฯ นั้นเขาไม่ยื่น ภ.ง.ด. ๙ แสดงภาษีเงินได้เลยเพราะเขาทราบว่าทางกรมสรรพากรไม่มีทางที่จะเอาหลักฐานมายืนยันได้ว่าเขามีรายได้จากผู้ใดเท่าใด ข้าพเจ้าจึงได้หาทางแก้โดยยกร่างพระราชกฤษฎีกาวางรูปบัญชีให้พวกอาชีพอิสระเช่น หมอและทนายความ ฯลฯ ต้องแสดงบัญชีว่าในระยะปีภาษีที่แล้วมามีรายได้จากบริการที่ทำให้ใครที่ไหน เป็นจำนวนเงินเท่าใด ท่านอธิบดี ม.จ. วิมวาทิตย์ได้ทรงเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีประกาศบังคับใช้ได้ผลเป็นที่พอพระทัยมาก และผู้มีอาชีพอิสระก็ต้องยื่นประเมินเสียภาษีเงินได้ตั้งแต่นั้นมา
ข้าพเจ้าได้กราบเรียนให้ท่านอาจารย์ปรีดีทราบเมื่อข้าพเจ้าพ้นจากหน้าที่ทางกรมสรรพากรว่าข้าพเจ้าได้รับการขอตัวให้ไปทำงานในกระทรวงการต่างประเทศ ในหน้าที่เป็นเลขานุการเสด็จในกรมหมื่นนราธิปฯ ท่านอาจารย์ฯก็ไม่ว่ากระไร ต่อมาไม่นานข้าพเจ้าก็ถูกขอตัวโดยไม่ได้ถามความสมัครใจจากกองบัญชาการทหารสูงสุดให้ไปทำงานในหน้าที่ทางเศรษฐกิจอยู่กรมประสานงานพันธมิตรซึ่งตั้งขึ้นเพื่อประสานงานกับกองทัพญี่ปุ่น กรมนี้มี พล.ต. ชัย ประทีปเสน เป็นเจ้ากรม พ.อ.ม.จ.พิสิษฏ์ดิสพงษ์ ดิสกุล เป็นรองเจ้ากรม ข้าพเจ้านึกว่าท่านจะไม่พอใจแต่ท่านกลับบอกว่า เออดีแล้วจะได้เป็นประโยชน์แก่งานเสรีไทยของเรา แต่ข้าพเจ้าจะให้ใครทราบไม่ได้ว่าทำงานลับของเสรีไทยอยู่ด้วย ทำให้ข้าพเจ้าหนักใจเป็นที่สุด เพราะถ้าความลับรั่วไหลออกไปถึงญี่ปุ่นข้าพเจ้าก็ไม่รอดชีวิตแน่ ในการปฏิบัติหน้าที่ข้าพเจ้าเคยขัดขวางไม่ให้ญี่ปุ่นเรียกเกณฑ์เอาข้าวไปเลี้ยงทหารญี่ปุ่น และจะยังเอาวัวควายไปฆ่าเอาเนื้อเลี้ยงกองทัพอีก โดยแสดงให้ญี่ปุ่นเห็นว่าเราต้องใช้วัวควายไถ่นาเพื่อส่งข้าวให้กองทัพญี่ปุ่น ถ้าญี่ปุ่นจะฆ่าวัวควายเราก็จะไม่มีทั้งข้าวและวัวควายส่งให้ นอกจากนั้นข้าพเจ้ายังขัดขวางไม่ให้ญี่ปุ่นเอาไม้ไปต่อเรือลำเลียงตามใจชอบ โดยเสนอให้โรงเลื่อยรวมกันเป็นสมาคมและรัฐบาลควบคุมสมาคมโรงเลื่อยอีกชั้นหนึ่ง ให้กรมป่าไม้กักไม้ไว้ที่ปากน้ำโพอีกด้วย ท่าน พล.ต. ชัย ประทีปเสน เป็นผู้ให้การสนับสนุนและชี้แจงแก่ พล.อ.หลวงพรหมโยธีเพื่อให้กองทัพไทยร่วมขัดขวางมิให้กองทัพญี่ปุ่นผลาญทรัพยากรของชาติได้โดยสะดวก
ข้าพเจ้าเห็นว่าทั้งสองฝ่ายคือทั้งรัฐบาลและเสรีไทยก็รับใช้เพื่อประโยชน์ของชาติบ้านเมืองด้วยกันทั้งฝ่ายเสรีไทยและฝ่ายรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม เพียงแต่ฝ่ายหนึ่งทำด้วยผลปัจจุบันและอีกฝ่ายหนึ่งทำเพื่อผลในอนาคต และทั้งสองฝ่ายก็ได้ผลสมมุ่งหมายคือฝ่ายรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามช่วยให้ชาติพ้นจากความพินาศย่อยยับแต่ฝ่ายเสรีไทยช่วยให้ชาติพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม อนึ่งศาลสถิตยุติธรรมของไทยก็ช่วยปกป้องทำให้หัวหน้ารัฐบาลผู้เสี่ยงภัยเพื่อชาติได้รอดพ้นจากการถูกลงโทษเป็นอาชญากรสงครามโดยตัดสินว่า พ.ร.บ. อาชญากรสงครามเป็นโมฆะ ใช้ลงโทษท่านจอมพล ป.พิบูลสงครามและคนอื่นอีก ๑๐ กว่าคนไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายย้อนหลัง (retroactive)
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประเทศไทยก็สามารถเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติได้ในสมัยแรกภาค ๒ ด้วยคุณูปการของเสรีไทย ดังปรากฏข้อความตอนหนึ่งในบันทึกลงวันที่ ๑๓ มกราคมม ค.ศ. ๑๙๔๕ ของกรมกิจการแปซิฟิกตะวันออกเฉียงใต้ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาว่า
“ภายในประเทศไทยระบบการปกครองซึ่งแต่แรกได้ยอมจำนนต่อญี่ปุ่นและเป็นผู้ร่วมมืออย่างฉาวโฉ่ ได้ถูกเปลี่ยนโดยระบบการปกครองซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในความควบคุมของประดิษฐ์ ผู้ซึ่งได้รับการนับถือสูงสุดในหมู่ผู้นำไทยและปฏิปักษ์ของญี่ปุ่นมาตั้งแต่แรก อเมริกันได้สถาปนาการติดต่อกับประดิษฐ์ผู้ซึ่งช่วยสัมพันธมิตรในงานข่าวอย่างจริงจัง และเป็นผู้ที่ได้แสดงความปรารถนาที่จะให้ประเทศไทยเข้าสู่สงครามต่อต้านญี่ปุ่นและให้กองทัพไทยรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพันธมิตร”
นอกจากนี้ยังมีความในบันทึกของกรมกิจการแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้แห่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาลงวันที่ ๑๓ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๕ เพื่อเตรียมให้ประธานาธิบดี Roosevelt ใช้ในการพบปะสนทนากับ มร. เชอร์ชิลล์ และจอมพลสตาลิน ที่นครยัลต้าของสหภาพโซเวียต ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๘๘ เกี่ยวกับสถานภาพภายหน้าของประเทศไทย มีข้อความตอนหนึ่งว่า
“ในทางตรงกันข้าม (กับนโยบายบริติชต่อประเทศไทย) เราไม่ถือว่าประเทศไทยเป็นศัตรู หากแต่ถือว่าเป็นประเทศที่ถูกยึดครองโดยศัตรู เรารับรองอัครราชทูตไทยในวอชิงตัน เป็นอัครราชทูตของประเทศไทย มีสถานภาพเช่นเดียวกับอัครราชทูตเดนมาร์ก เราใคร่ให้มีประเทศไทยที่เป็นเอกราช อิสระพร้อมด้วยอธิปไตยที่ไม่ถูกบั่นทอนและปกครองโดยรัฐบาลที่เลือกขึ้นมาเอง ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียอาคเนย์ที่ยังคงเป็นเอกราชอยู่ก่อนสงคราม เราเชื่อว่าจะเป็นการทำให้ผลประโยชน์อเมริกันต้องกระทบกระเทือนไปทั่วทั้งเอเชียอาคเนย์ ถ้าหากว่าผลลัพธ์ของสงครามซึ่งเราได้มีบทบาทส่วนใหญ่ในการปราบปรามการรุกรานของญีปุ่นให้พ่ายแพ้ไป จะปรากฏออกมาว่า ประเทศไทยควรจะต้องสูญเสียดินแดนก่อนสงครามส่วนใดส่วนหนึ่งหรือควรจะต้องถูกบั่นทอนสถานภาพที่เป็นเอกราช”
หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้ว กรมประสานงานพันธมิตรก็เลิกล้มไปพร้อมๆกับเอกสารต่างๆ ในกรมถูกเผาไฟหมด ข้าพเจ้าก็ถูกเรียกกลับกระทรวงในเวลาใกล้ๆกันนั้น รัฐบาลก็ทูลเชิญเสด็จในกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์กลับเข้ามาอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศใหม่อีก โดยให้ทรงดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยพระองค์แรกของประเทศไทยประจำสหรัฐอเมริกา เสด็จในกรมฯ ก็ได้ทรงขอตัวข้าพเจ้าไปทำงานกับท่านที่วอชิงตัน และพอประเทศไทยเข้าเป็นสมาขิกองค์การสหประชาชาติได้แล้ว พระองค์ท่านก็ทรงดำรงตำแหน่งผู้แทนไทยถาวรประจำสหประชาชาติอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย พระองค์ก็ไม่อาจทิ้งงานทางสถานทูตไปอยู่นิวยอร์กได้ จึงทรงมอบให้ข้าพเจ้าไปก่อตั้งสำนักงานผู้แทนไทยที่กรุงนิวยอร์ก และเป็นแทนสำรองอยู่ที่นั่น พระองค์ท่านจะเสด็จมากรุงนิวยอร์กเป็นครั้งคราวเฉพาะเมื่อมีประชุมสมัชชาใหญ่ประจำปีหรือมีการประชุมที่สำคัญจริงๆ ในระหว่างที่ไม่ใช่สมัยประชุมสมัชชาใหญ่ นับแต่นั้นมาข้าพเจ้าขาดการติดต่อการงานกับท่านอาจารย์ปรีดีมาตลอดจนถึงสมัยที่ท่านและครอบครัวของท่านลี้ภัยการเมืองออกไปอยู่ประเทศจีน
เมื่อท่านออกจากประเทศจีนกลับไปพำนักอยู๋ในชานกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านได้ยื่นเรื่องราวต่อสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีสซึ่งขณะนั้นนายไพโรจน์ ชัยนาม ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตอยู่ ขอให้ออกหนังสือเดินทาง (Passport) และหนังสือแสดงการมีชีวิตเพื่อรับบำนาญตามกฎหมาย ท่านเอกอัครราชทูตไพโรจน์ ชัยนาม ไม่กล้าออกให้ จึงเสนอเรื่องไปยังรัฐมนตรีว่าการฯ ถนัด คอมันตร์ ซึ่งก็ไม่กล้าสั่งการ แต่ได้ตัดสินใจนำเสนอเรื่องเข้าชี้แจงในคณะรัฐมนตรีด้วยตนเอง โดยไม่ได้ผ่านการพิจารณาของข้าพเจ้าซึ่งเป็นอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และต้องทำหน้าที่ให้คำปรึกษาทางกฎหมายตามระเบียบก่อน คณะรัฐมนตรีได้มีมติไม่ยอมออกหนังสือเดินทางและหนังสือแสดงการมีชีวิตเพื่อรับบำนาญทั้งสองอย่างให้และยืนยันมติมายังกระทรวงเจ้าของเรื่องโดยหนังสือเลขที่ สร.๐๔๐๒/๗๙๖๐ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๑๓ รัฐมนตรีถนัด คอมันตร์ ได้ให้ ม.ล. พีระพงศ์ เกษมศรี เลขานุการนำหนังสือยืนยันมติ ค.ร.ม. นั้นมาให้ข้าพเจ้าพิจารณา
รัฐมนตรีถนัด คอมันตร์ จะนึกผูกมัดข้าพเจ้าให้ต้องยอมรับความถูกต้องของมติด้วยอีกผู้หนึ่ง เพราะได้ข้ามขั้นตอนตามระเบียบไป หรือไม่แน่ใจในข้อกฎหมายที่ตนได้เข้าไปชี้แจงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างใด ข้าพเจ้าไม่สามารถหยั่งรู้ได้
แม้จะเป็นของแปลกไม่เคยมีตัวอย่างมาก่อนในการที่ให้ข้าราชการชั้นอธิบดีพิจารณามติของคณะรัฐมนตรีอันเป็นหน่วยอำนาจบริหารสูงสุด แต่ข้าพเจ้าก็ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ ทั้งเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง และเพื่อความเป็นระเบียบของการปฏิบัติราชการอีกทั้งไม่ใช่เป็นความลับอะไรทางราชการ ข้าพเจ้าจึงมีคำสั่งให้ลงทะเบียนรับและพิจารณาเสนอมาตามลำดับขั้น กองกฎหมายก็พิจารณาเสนอความเห็นสนับสนุนมติ ค.ร.ม. ว่าเป็นการชอบแล้วโดยนำคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๑/๒๕๐๖ มาเป็นบรรทัดฐานอ้างอิงว่า ในการขออาชญาบัตรผูกขาดการสำรวจแร่ที่มิใช่แร่เหล็กนั้น แม้ผู้ขอจะได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ทุกประการแล้ว เจ้ากระทรวงผู้รักษาพระราชบัญญัติแร่ก็มีอำนาจที่จะออกหรือไม่ออกอาชญาบัตรให้ได้ คำพิพากษาฎีกานี้ย่อมนำมาปรับกับกรณีที่ ค.ร.ม. ไม่อนุญาติให้ออกหนังสือเดินทางและหนังสือแสดงการมีชีวิตทั้ง ๒ อย่างนี้แก่ท่านรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ได้
ข้าพเจ้าได้ทำบันทึกปะหน้าเรื่องออกความเห็นคัดค้านว่า ความเห็นของกองกฎหมายที่อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นบรรทัดฐานมาปรับกับกรณีของหนังสือสำคัญ ๒ อย่างของท่านรัฐบุรุษอาวุโสปรีดีนั้น เป็นเรื่องของการขอสิทธิ แต่การปฏิเสธไม่ออกหนังสือสำคัญ ๒ อย่างที่กล่าวให้แก่ท่านรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์นั้นเป็นเรื่องของการ รอนสิทธิ นัยหนึ่งเป็นการตัดสิทธิที่จะพึงได้รับโดยเท่าเทียมกับคนไทยคนอื่นๆ ย่อมผิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๕ ที่ว่าบุคคลทุกคนย่อมมีความเสมอภาคกันในทางกฎหมาย และผิด พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญ ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. นี้ต้องออกหนังสือแสดงการมีชีวิตให้แก่ผู้มีสิทธิรับบำนาญที่ต้องมาแสดงตัวทุกปี ส่วนการไม่ยอมออกหนังสือเดินทาง (Passport) ให้แก่รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ก็เป็นการละเมิดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งประเทศเป็นภาคอยู่ด้วย ในข้อ ๑๒(๒) ซึ่งระบุว่า “ทุกคนมีสิทธิที่จะออกจากประเทศใดๆ ไป รวมทั้งประเทศของตนเอง” คำคัดค้านของข้าพเจ้าทำให้คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรต้องยอมจำนน และตกอยู่ในบังคับให้ต้องกลับมติของตนเอง อนุมัตให้ออกหนังสือแสดงการมีชีวิตเพื่อรับบำนาญและหนังสือเดินทาง (Passport) ให้แก่ท่านรัฐบุรษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ดังปรากฏในหนังสือตอบของ ค.ร.ม. ที่ สร. ๐๔๐๒/๘๙๗๒ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๑๓
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้แปลเป็นไทยเองในเวลาที่ใกล้ๆกันกับที่ข้าพเจ้าได้แปลกฎบัตรสหประชาชาติเพราะทั้ง ๒ เรื่องเป็นกฎหลักมูล (fundamental rules) ของสหประชาชาติ และจำเป็นที่จะต้องให้องค์การต่างๆ ในประเทศไทยและคนไทยที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสและสเปน อันเป็นภาษาทำงาน (Working languages) ของสหประชาชาติ ได้ใช้คำแปลภาษาไทยนี้ ทั้งนี้โดยไม่มีใครเรียกร้องหรือใช้ให้ทำและโดยมิได้ขายหรือรับผลประโยชน์ตอบแทนใดๆเลย นอกจากท่านจอมพล ป.พิบูลสงครามนายกรัฐมนตรี ได้ชมเชยและสั่งให้พิมพ์แจกหน่วยงานราชการและประชาชนเป็นจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ เล่ม อันเป็นการรับรองคำแปลเป็นทางราชการโดยปริยาย
ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอันมากที่สามารถสนองพระคุณท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้เคยประสิทธิ์ประสาทวิชากฎหมายและการเมืองให้ข้าพเจ้า รับข้าพเจ้าเข้าร่วมการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตั้งแต่เช้ามืดวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ให้ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมขบวนการเสรีไทยเพื่อสนองพระคุณชาติให้พ้นจากการเป็นประเทศแพ้สงคราม ให้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้แสดงภูมิปัญญาและความเด็ดเดี่ยว กล้าคัดค้านมติคณะรัฐมนตรีอย่างกลับหน้ามือเป็นหลังมืออันไม่เคยมีตัวอย่างมาก่อนเลย ข้าพเจ้าคาดหวังอยู่ล่วงหน้าว่าการคัดค้านอย่างอุกอาจนี้จะกระทบใจคณะรัฐมนตรีอย่างแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้ากระทรวงของข้าพเจ้าเองก็ต้องเสียหน้าอย่างมาก แต่ข้าเจ้าก็ไม่รู้ว่าจะหลีกเลี่ยงได้อย่างไรในเมื่อเขาเองเป็นผู้เสนอเรื่องโดยข้ามขั้นตอนตามระเบียบและเขาเองเป็นผู้นำเรื่องนั้นกลับมาสู่การพิจารณาของข้าพเจ้าอีกเอง ข้าพเจ้ายอมรับการถูกบั่นทอนอนาคตแต่ไม่ยอมแลกกับการกระทำที่ไม่ถูกต้องและทรยศต่ออาจารย์ปรีดีที่เคารพรักของข้าพเจ้า
อองโตนี ประเทศฝรั่งเศส
วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๔
คุณมนู อมาตยกุล ที่รัก
ได้รับจดหมายของคุณ ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ศกนี้ แจ้งว่าได้รับการมาจนครบเกษียณอายุตามกฎหมายในสิ้นปีงบประมาณนี้ ผมมีความยินดีที่ตลอดเวลารับราชการคุณได้อุทิศตนรับใช้ชาติในตำแหน่งหน้าที่หลายประการโดยเรียบร้อยและทำให้บังเกิดคุณประโยชน์หลายประการแก่ชาติและราษฎรไทยอันเป็นที่รักเคารพยิ่งของเรา จึงจขอถือโอกาสนี้อวยพรให้คุณประสบสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลและบำเพ็ญตนรับใช้ชาติต่อไปตามกำลังความสามารถตราบเท่าที่คุณคงมีอายุต่อไปอีกยืนนาน
ผมยังคงจำได้ว่าคุณเป็นศิษย์ที่ดีคนหนึ่งของผมมาตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ในสมัยที่ผมเป็นผู้สอนที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม นอกจากที่คุณได้ฟังคำสอนที่โรงเรียนแล้วในตอนค่ำคุณก็ได้ร่วมกับเพื่อนนักเรียนกฎหมายอีกหลายคนมารับการอบรมจากผมที่บ้าน ผมได้สังเกตเห็นว่าคุณเป็นผู้หนึ่งที่สนใจในระบบการปกครองของแผ่นดินที่จะให้มีระบบประชาธิปไตยขึ้น ดังนั้นใจตอนเช้าของวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เมื่อคุณได้รู้ข่าวว่าคณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจรัฐซึ่งก็ยังไม่แน่ว่าจะสำเร็จได้แน่นอน คุณก็ได้เสียสละเสี่ยงชีวิตเข้ามาพบผม ณ ห้องชั้นล่างของพระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งเป็นที่ตั้งกองบัญชกาการชั่วคราวของคณะราษฎรของอาสาร่วมรับใช้ชาติ ผมจึงนำคุณไปรายงานตัวต่อท่านเจ้าคุณพหลพลพยุหเสนาแล้วก็มอบหมายหน้าที่อยู่ในกองธุรการ คุณได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอยู่ตลอดเวลาที่กองบัญชาการคณะราษฎรตั้งอยู่ในบริเวณพระที่นั่งอนันตสมาคม ครั้นต่อมาเมื่อกองบัญชาการจะย้ายเข้าไปอยู่ในวังปารุสกวัน คุณได้มาลาผมเพื่อที่จะออกไปศึกษาวิชากฎหมายต่อไปให้สำเร็จ แม้ในทางการคุณจะมิได้ทำงานอย่างใกล้ชิดแต่ในทางส่วนตัวคุณก็ได้ไปมาหาสู่ผมและปวารณาตนที่จะรับใช้เมื่อถึงโอกาส ดังนั้นเมื่อคุณสอบกฎหมายได้เป็นเนติบัณฑิตและสอบชิงทุนเล่าเรียนในต่างประเทศได้ ผมจึงเลือกเอาคุณทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัว ออกเดินทางไปยุโรปพร้อมกันใน พ.ศ. ๒๔๗๘ คุณก็ได้ช่วยเหลือในกิจธุระส่วนตัวของผมเป็นอย่างดีจนกระทั่งได้ไปถึงยุโรปแล้วได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ และองค์ปัจจุบันซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิศรยศเป็นพระอนุชาธิราช และสมเด็จพระราชชนนี ครั้นแล้วคุณก็ได้เดินทางติดตามผมมาจนถึงประเทศฝรั่งเศสแล้วจึงได้แยกย้ายไปศึกษาในประเทศเยอรมัน
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองภายหลังที่ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองประเทศไทย ขบวนการเสรีไทยซึ่งทำการต่อต้านญีปุ่นได้มีภารกิจหลายอย่าง มีภารกิจอย่างหนี่งซึ่งต้องติดตามเป็นการลับกับทูตบางคนในต่างประเทศ ผมจึงได้มอบหมายให้คุณทำงานภายใต้คุณทวี ตะเวทิกุล ซึ่งได้มอบหมายให้คุณมีหน้าที่โดยเฉพาะเข้ารหัสและออกรหัสลับติดต่อกับหลวงอรรถกิติกำจร (กลึง พนมยงค์)อัครราชทูตไทยประจำกรุงสต้อคโฮล์ม ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับเอกอัครราชทูตโซเวียต ณ ที่นั้น กลับสถานทูตไทยในกรุงวอชิงตัน ฯลฯ
โอกาสนี้ ขอขอบใจคุณอีกครั้งหนึ่งในการที่คุณได้ช่วยเหลืองานส่วนรวมของประเทศชาติและธุรกิจส่วนตัวดังได้กล่าวมาแล้ว
ผมจำได้ว่าในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลในสมัยนั้นได้ประกาศรัฐนิยมให้ผู้มีชื่อที่รัฐนิยมเห็นว่าอ่อนโยนเป็นผู้หญิงเปลี่ยนมาใช้ชื่อที่รัฐนิยมนั้นเห็นว่าเข้าลักษณะผู้ชาย คุณจึงได้มาหาผมขอให้ตั้งชื่อให้ใหม่แทนชื่อเดิม “ขวัญใจ” ผมจึงได้ตั้งชื่อใหม่ของคุณว่า “มนู” โดยชี้แจงแก่คุณด้วยว่าผมเอาส่วนหนึ่งแห่งบรรดาศักดิ์เดิมของผม “ประดิษฐ์มนูธรรม” มาตั้งให้
ด้วยความรักจากอาจารย์
ปรีดี พนมยงค์
*เกี่ยวกับผู้เขียน
ศาสตราจารย์ ดร.มนู อมาตยกุล
เนติบัณฑิตไทย ปริญญาเอกทางรัฐศาสตร์และการหนังสือพิมพ์จากมหาวิทยาลัยกรุงเบอร์ลิน และ ปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์และการคลังจากมหาวิทยาลัยกรุงเบอร์น
ท่านเกษียรณอายุในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ในตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงริโอ เด จานิโร ประเทศบราซิล ก่อนหน้านั้นท่านเคยเป็นเอกอัครราชทูต ผู้แทนประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก อธิบดีกรมสหประชาชาติ เอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก เอกอัครราชทุต ณ กรุงมาดริด อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และเป็นผู้จัดการประชุมระหว่างประเทศ สหภาพรัฐสภาและสันนิบาตสมาคมประชาชาติแห่งโลก ที่ศาลาสันติธรรม เป็นครั้งแรก
ท่านเป็นน้องชายของ ศาสตราจารย์ ดร.นวลนาฏ อมาตยกุล
download file PDF ที่ http://www.wikiupload.com/download_page.php?id=86574
No comments:
Post a Comment