แก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
วันหนึ่งในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีการพิจารณาเรื่องเงินกู้ต่างประเทศในรัฐบาลสมัยสมบูรณาญา สิทธิราชย์ที่ใช้วิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำด้วยการรีดภาษีจากประชาชนให้มากขึ้น ดุลข้าราชการออกจากงาน และกู้เงินต่างประเทศ (เป็นวิธีหลักที่รัฐบาลในยุคหลังใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ) ปรากฏว่าเงินกู้จากประเทศอังกฤษต้องเสียดอกเบี้ยแพงมาก นายปรีดีจึงเสนอว่า “ผมรับไปเจรจาดอกเบี้ยเอง ขณะเดียวกันก็จะหาทางแก้ไขสนธิสัญญากับนานาประเทศ สร้างความสัมพันธไมตรีอันดีให้เกิดขึ้นด้วย”
ในเวลานั้นสยามยังอยู่ใต้ภายบังคับของสนธิสัญญาระหว่างประเทศอันไม่เป็นธรรมกับประเทศต่างๆ ถึง ๑๓ ประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งล้วนแต่เป็นประเทศมหาอำนาจ การเดินทางไปเจรจาครั้งนั้น นายปรีดีเองก็ตระหนักว่าไม่ง่ายนักที่จะเจรจาให้ประเทศมหาอำนาจยอดลดผลประโยชน์ของตัวเองลง
ตุลาคม ๒๔๗๘ นายปรีดีกับคณะออกเดินทางด้วยเรือโดยสารไปขึ้นบกที่ประเทศอิตาลี ได้พบกับมุโสลินี ผู้นำฟาสซิสม์ของอิตาลี ได้เข้าพบนายปิแอร์ ลาวาล นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ทั้งคู่รับปากกว่าจะยกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ต่อจากนั้นเดินทางไปเยอรมันนีพบตัวแทนของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เพื่อเปิดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกันใหม่ และเดินทางไปกรุงลอนดอนเพื่อเจรจาเงินกู้กับกับเซอร์แซมมวล ฮอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ ผลการเจรจา เจ้าหนี้ยอมลดดอกเบี้ยเงินกู้ที่กู้มาเมื่อพ.ศ. ๒๔๖๗ จำนวนเงิน ๒,๓๔๐,๓๐๐ ปอนด์ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๖ ต่อปี เหลือเพียงร้อยละ ๔ ต่อปี
จากนั้นนายปรีดีนั่งเรือโดยสารข้ามมหาสมุทรไปกรุงวอชิงตัน เข้าพบนายคอร์เดล ฮัลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งรับปากเรื่องสนธิสัญญาเช่นกัน พอมาถึงกรุงโตเกียว นายปรีดีได้เข้าเฝ้าจักรพรรดิฮิโรฮิโต และเข้าพบนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ซึ่งแสดงความเห็นใจและยอมยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
ครั้นเดินทางกลับมาประเทศไทยนายปรีดีคำนึงว่า การบริการราชการแผ่นดินในกระทรวงมหาดไทยดำเนินไปด้วยดี แต่หนึ่งในหลัก ๖ ประการ คือ เอกราชในทางเศรษฐกิจและศาลยังไม่ได้รับการแก้ไข กล่าวคือสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมต่างๆ ที่สยามทำต่อมหาอำนาจทั้งหลาย ซึ่งมีสองประเด็นใหญ่ คือ สิทธิสภาพนอกอาณาเขต คนต่างประเทศไม่ต้องขึ้นศาลสยาม เป็นการเสียเอกราชทางศาล และภาษีร้อยชัก ๓ คือรัฐบาลสามารถเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าของสินค้าได้ไม่เกิน ร้อยละ ๓ ทำให้สยามขาดรายได้ เป็นการเสียเอกราชทางเศรษฐกิจ ดังนั้นนายปรีดีซึ่งเคยนั่งกระทรวงใหญ่มีข้าราชการหลายหมื่นคน จึงตัดสินใจเปลี่ยนมาทำงานที่กระทรวงการต่างประเทศ—กระทรวงเล็กๆ ที่มีข้าราชการร้อยกว่าคน เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธุ์ ๒๔๗๘ (นับตามปฏิทินเก่า) ขณะอายุได้ ๓๕ ปี
ระยะเวลาสามปีกว่าในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายปรีดีได้ใช้ความพยายามทางการทูตเจรจาขอยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมสองประเด็นนี้กับประเทศต่างๆ รวม ๑๒ ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม สวีเดน เดนมาร์ก สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ อังกฤษ สเปน อิตาลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และเยอรมันนี จนสามารถยกเลิกสัญญาทาส หรือสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคที่รัฐบาลสยามสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชทำไว้กับประเทศต่างๆ ในนามสนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์และการเดินเรือได้สำเร็จ จนได้เอกราชทางศาลและเอกราชทางเศรษฐกิจกลับคืนมา พร้อมกันนั้นได้ลงนามในสนธิสัญญาใหม่ที่ใช้หลักการ “ดุลยภาคแห่งอำนาจ” เพื่อให้สยามได้เอกราชอธิปไตยสมบูรณ์และมีสิทธิเสมอภาคกับต่างชาติทุกประการ หนังสือพิมพ์ สเตรตไทม์ ของสิงคโปร์ได้ยกย่องนายปรีดีไว้ในบทบรรณาธิการว่า “ดร.ปรีดี พนมยงค์ เสมือนหนึ่งเป็น แอนโตนี อีเดน” (รัฐมนตรีต่างประเทศคนสำคัญของรัฐบาลอังกฤษ)
วันหนึ่งในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีการพิจารณาเรื่องเงินกู้ต่างประเทศในรัฐบาลสมัยสมบูรณาญา สิทธิราชย์ที่ใช้วิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำด้วยการรีดภาษีจากประชาชนให้มากขึ้น ดุลข้าราชการออกจากงาน และกู้เงินต่างประเทศ (เป็นวิธีหลักที่รัฐบาลในยุคหลังใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ) ปรากฏว่าเงินกู้จากประเทศอังกฤษต้องเสียดอกเบี้ยแพงมาก นายปรีดีจึงเสนอว่า “ผมรับไปเจรจาดอกเบี้ยเอง ขณะเดียวกันก็จะหาทางแก้ไขสนธิสัญญากับนานาประเทศ สร้างความสัมพันธไมตรีอันดีให้เกิดขึ้นด้วย”
ในเวลานั้นสยามยังอยู่ใต้ภายบังคับของสนธิสัญญาระหว่างประเทศอันไม่เป็นธรรมกับประเทศต่างๆ ถึง ๑๓ ประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งล้วนแต่เป็นประเทศมหาอำนาจ การเดินทางไปเจรจาครั้งนั้น นายปรีดีเองก็ตระหนักว่าไม่ง่ายนักที่จะเจรจาให้ประเทศมหาอำนาจยอดลดผลประโยชน์ของตัวเองลง
ตุลาคม ๒๔๗๘ นายปรีดีกับคณะออกเดินทางด้วยเรือโดยสารไปขึ้นบกที่ประเทศอิตาลี ได้พบกับมุโสลินี ผู้นำฟาสซิสม์ของอิตาลี ได้เข้าพบนายปิแอร์ ลาวาล นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ทั้งคู่รับปากกว่าจะยกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ต่อจากนั้นเดินทางไปเยอรมันนีพบตัวแทนของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เพื่อเปิดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกันใหม่ และเดินทางไปกรุงลอนดอนเพื่อเจรจาเงินกู้กับกับเซอร์แซมมวล ฮอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ ผลการเจรจา เจ้าหนี้ยอมลดดอกเบี้ยเงินกู้ที่กู้มาเมื่อพ.ศ. ๒๔๖๗ จำนวนเงิน ๒,๓๔๐,๓๐๐ ปอนด์ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๖ ต่อปี เหลือเพียงร้อยละ ๔ ต่อปี
จากนั้นนายปรีดีนั่งเรือโดยสารข้ามมหาสมุทรไปกรุงวอชิงตัน เข้าพบนายคอร์เดล ฮัลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งรับปากเรื่องสนธิสัญญาเช่นกัน พอมาถึงกรุงโตเกียว นายปรีดีได้เข้าเฝ้าจักรพรรดิฮิโรฮิโต และเข้าพบนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ซึ่งแสดงความเห็นใจและยอมยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
ครั้นเดินทางกลับมาประเทศไทยนายปรีดีคำนึงว่า การบริการราชการแผ่นดินในกระทรวงมหาดไทยดำเนินไปด้วยดี แต่หนึ่งในหลัก ๖ ประการ คือ เอกราชในทางเศรษฐกิจและศาลยังไม่ได้รับการแก้ไข กล่าวคือสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมต่างๆ ที่สยามทำต่อมหาอำนาจทั้งหลาย ซึ่งมีสองประเด็นใหญ่ คือ สิทธิสภาพนอกอาณาเขต คนต่างประเทศไม่ต้องขึ้นศาลสยาม เป็นการเสียเอกราชทางศาล และภาษีร้อยชัก ๓ คือรัฐบาลสามารถเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าของสินค้าได้ไม่เกิน ร้อยละ ๓ ทำให้สยามขาดรายได้ เป็นการเสียเอกราชทางเศรษฐกิจ ดังนั้นนายปรีดีซึ่งเคยนั่งกระทรวงใหญ่มีข้าราชการหลายหมื่นคน จึงตัดสินใจเปลี่ยนมาทำงานที่กระทรวงการต่างประเทศ—กระทรวงเล็กๆ ที่มีข้าราชการร้อยกว่าคน เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธุ์ ๒๔๗๘ (นับตามปฏิทินเก่า) ขณะอายุได้ ๓๕ ปี
ระยะเวลาสามปีกว่าในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายปรีดีได้ใช้ความพยายามทางการทูตเจรจาขอยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมสองประเด็นนี้กับประเทศต่างๆ รวม ๑๒ ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม สวีเดน เดนมาร์ก สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ อังกฤษ สเปน อิตาลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และเยอรมันนี จนสามารถยกเลิกสัญญาทาส หรือสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคที่รัฐบาลสยามสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชทำไว้กับประเทศต่างๆ ในนามสนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์และการเดินเรือได้สำเร็จ จนได้เอกราชทางศาลและเอกราชทางเศรษฐกิจกลับคืนมา พร้อมกันนั้นได้ลงนามในสนธิสัญญาใหม่ที่ใช้หลักการ “ดุลยภาคแห่งอำนาจ” เพื่อให้สยามได้เอกราชอธิปไตยสมบูรณ์และมีสิทธิเสมอภาคกับต่างชาติทุกประการ หนังสือพิมพ์ สเตรตไทม์ ของสิงคโปร์ได้ยกย่องนายปรีดีไว้ในบทบรรณาธิการว่า “ดร.ปรีดี พนมยงค์ เสมือนหนึ่งเป็น แอนโตนี อีเดน” (รัฐมนตรีต่างประเทศคนสำคัญของรัฐบาลอังกฤษ)
No comments:
Post a Comment