ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)
ต้องเข้าใจให้ชัด แค่ไหนใช่ แค่ไหนไม่ใช่สังคายนา
การสังคายนานั้นต้องให้รู้ว่าเป็นการที่จะรักษาคำสอนเดิมเอาไว้ให้แม่นยำที่สุดไม่ใช่ว่าพระภิกษุที่สังคายนามีสิทธิ์เอาความคิดเห็นของตนใส่ลงไป การสังคายนา ก็คือ การมาทบทวนซักซ้อมตรวจสอบคัมภีร์ให้ตรงตามของเดิม และซักซ้อมตรวจสอบคนที่ไปทรงจำ หรือไปนับถืออะไรต่างๆ ที่อาจจะผิดเพี้ยนไป ให้มาทบทวนตัวเอง ให้มาซักซ้อมกับที่ประชุม ให้มาปรับความเห็น ความเชื่อ การปฏิบัติของตน ให้ตรงตามพระไตรปิฎกที่รักษากันมาอย่างแม่นยำ ที่เป็นหลักกลางนี้ บางคนเข้าใจผิดว่า ในการสังคายนานี้ ผู้ที่เข้าร่วมสังคายนา จะไปปรับไปแต่งไปทำอะไรกับพระไตรปิฎก ดีไม่ดีอาจจะถึงกับเข้าใจว่ามาแต่งพระไตรปิฎกกันใหม่ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปไกล ซึ่งแสดงว่าไม่รู้จักการสังคายนาและไม่รู้เรื่องอะไรเลย
เพราะฉะนั้น จะต้องย้ำกันว่า การสังคายนาพระไตรปิฎก ก็คือ การมาทบทวนตรวจสอบซักซ้อมกันในการที่จะรักษาพระไตรปิฎกของเดิมที่ท่านสังคายนาไว้ ในการสังคายนาครั้งที่ ๑ เมื่อ ๓ เดือน หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ว่าเป็นอย่างไร ก็ให้คงอยู่อย่างนั้น อย่างแม่นยำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อะไรที่คลาดเคลื่อน ใครทรงจำผิดไป ก็ให้มาปรับเข้ากับของเดิมของแท้นี้เสีย เพราะว่าเมื่อเรารักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็คือเราจะต้องเอาคำตรัสของพระองค์ของเดิมไว้ให้ได้ ถ้าคำสอนคำตรัสเดิมหมดไปก็คือพระพุทธศาสนาหมดไปแล้ว
แต่เราก็ต้องรู้ด้วยว่า ในพระไตรปิฎกไม่ใช่มีเฉพาะคำตรัสของพระพุทธเจ้าอย่างเดียว คำของพระสาวกก็มี เช่นคำของพระสารีบุตรที่ได้แสดงวิธีสังคายนาเป็นตัวอย่างไว้นั้น ก็เป็นพระสูตรอยู่ในพระไตรปิฎกชื่อ สังคีติสูตร แต่ธรรมะที่พระสารีบุตรนำมาสังคายนาไว้ในสังคีติสูตรนั้น ก็คือคำตรัสของพระพุทธเจ้า หรือธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้นั่นเอง นอกจากนั้นก็มีคำสนทนากับผู้อื่น ซึ่งมีคำของผู้อื่นอยู่ด้วยในนั้น หลักคำสอนอะไรเก่าๆ ก่อนพุทธกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงยอมรับ ทรงนำมาเล่าให้นับถือปฏิบัติกันต่อไป ก็มาอยู่ในพระไตรปิฎกด้วย
อย่างเรื่องชาดก เฉพาะส่วนที่เป็นตัวคำสอนแท้ๆ คัมภีร์ที่นิพนธ์แม้หลังพุทธกาลก็มีบ้าง อย่างในสมัยสังคายนาครั้งที่ ๓ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานสังคายนา ท่านได้เห็นว่า พระในสมัยนั้นบางพวกมีความเชื่อถือวิปริตผิดแผกแตกออกไป ท่านก็เรียบเรียงคัมภีร์ขึ้นมาเล่มหนึ่ง เพื่อวินิจฉัยความเชื่อถือ หรือการสั่งสอนที่ผิดพลาดเหล่านั้นแต่การวินิจฉัยนั้นก็เป็นเพียงว่าท่านมาเชื่อมโยง โดยยกเอาคำสอนคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่โน้น ที่นี่ ในเรื่องเดียวกันนั้น มารวมกันไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง เพื่อแสดงให้เห็นว่า เรื่องนั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร เพื่อจะวินิจฉัยความเชื่อหรือคำสอนของผู้ที่เชื่อผิดพลาดไปนั้น อย่างนี้ก็กลายเป็นคัมภีร์ใหม่ แต่แท้จริง ก็เป็นการนำเอาพุทธพจน์ในเรื่องนั้นๆ มารวมไว้ในอีกลักษณะหนึ่ง โดยมีเรื่องราว หรือข้อคิด หรือข้อพิจารณาอะไรอย่างหนึ่งเป็นแกน แต่ก็อย่างที่กล่าวแล้วว่า พระไตรปิฎกนี้เป็นประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน เป็นของส่วนรวมที่พระสงฆ์ทั้งหมดโดยเฉพาะท่านที่เป็นครูอาจารย์และพระเถระที่รับผิดชอบการพระศาสนาต่างก็คอยจับตา คอยระแวดระวัง ถือเป็นสำคัญฉะนั้นใครจะไปเที่ยวใส่เติมอะไรลงไปไม่ได้ จะต้องเป็นที่ยอมรับกันอย่างแน่นอน และไม่ใช่ประเทศเดียวรักษาไว้ หลายๆประเทศต่างก็มี แล้วก็ต้องคอยทานเทียบกัน หมั่นตรวจสอบไม่ให้คลาดเคลื่อนกันไปรวมความก็คือให้จำไว้เลยว่า ประเทศพุทธศาสนาเถรวาททั้งหมด มีพระไตรปิฎกชุดเดียวกัน ซึ่งเนื้อหาเหมือนกันทั้งหมด แม้จะต่างกันในตัวอักษร จ ว บ้าง บางแห่งหรือตกหล่นบางคำบ้าง ก็น้อยเต็มที ความสำนึกตระหนักมั่นนี้ อย่าว่าแต่ต่างประเทศเลย แม้แต่ประเทศไทยเรา ต่อไป ถ้าไม่เห็นความสำคัญ เราเองก็อาจจะทำให้เลือนลางคลาดเคลื่อน
เวลาแปลคำว่า “สังคายนา” เป็นภาษาอังกฤษ เรามักไปเทียบกับภาษาฝรั่ง เช่น Council อย่างของศาสนาคริสต์ เขามี Vatican Council เป็นต้น เราก็แปลว่าเป็นการสังคายนา อันนั้นเป็นการแปลเพียงเทียบในบางแง่ความหมาย ซึ่งที่จริงไม่เหมือนกันเลย
การประชุม Council ของศาสนาคริสต์นั้นเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการมาตกลงกันกำหนดหลักความเชื่อ และแม้แต่การวางนโยบายในการเผยแผ่ศาสนาของเขา แต่การสังคายนาในพระพุทธศาสนาเป็นการรักษาคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้าไว้ให้แม่นยำที่สุด ไม่ให้ใครมาเที่ยวแก้ไขให้คลาดเคลื่อนหรือตัดแต่งต่อเติม จะมาทำให้ตกหล่นก็ไม่ได้ ต่อเติมก็ไม่ได้ ต้องรักษาไว้ให้แม่นยำที่สุด เราเพียงมาตรวจเช็ค มาซักซ้อม ทบทวนกัน ใครที่เชื่อถือหรือสั่งสอนคลาดเคลื่อน หรือผิดแผกไป ก็มาปรับให้ตรงตามของเดิม
เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาเถรวาทจึงมีความภูมิใจโดยชอบธรรมว่า เรารักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้เป็นแบบเดิมแท้ ส่วนพระสูตรต่างๆ ของพระพุทธศาสนาแบบมหายานที่เป็นอาจริยวาท/อาจารยวาท เดี๋ยวนี้ก็รู้กันหมดแล้วว่าเป็นของที่แต่งขึ้นภายหลัง ไม่รักษาคำสอนเดิมแท้ๆไว้ ก็เลยคลาดเคลื่อนหรือหาย คัมภีร์ส่วนมากก็สาบสูญไป เขาก็เลยมายอมรับกันว่า คำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้าที่จะหาได้ครบสมบูรณ์ที่สุด ก็ต้องมาดูในพระไตรปิฎกบาลีของพระพุทธศาสนาเถรวาทของเรานี้ เรื่องนี้เป็นที่ยอมรับกัน เป็นสากล คือนักปราชญ์ วงวิชาการทั่วโลก จะเป็นมหายาน หรือเถรวาท หรือเป็นวัชรยาน ก็รู้กันทั้งนั้น
ควรเห็นคุณค่าของอรรถกถา ที่ค้ำชูอยู่เคียงข้างพระไตรปิฎก
เมื่อถือพระไตรปิฎกเป็นมาตรฐานชั้นหนึ่งแล้ว ต่อจากนั้น ก็จะมีการปิดรายการว่า เอาละ พระไตรปิฎกมีแค่นี้ ต่อจากนี้พระเถระพระอาจารย์ผู้ใหญ่ ที่เป็นนักปราชญ์ ก็ทำหน้าที่ช่วยกันรักษาพระไตรปิฎกนี้ไว้ นอกจากรักษา ท่านก็มีหน้าที่อธิบายด้วย เพราะต้องสั่งสอนลูกศิษย์จำนวนมากมาย ซึ่งเมื่อศึกษาพระไตรปิฎกนั้น ก็อาจไปติดขัด ไม่เข้าใจบางส่วนบางตอนที่ยาก พระอาจารย์ผู้ใหญ่เหล่านี้ที่ท่านสืบต่อคำสอนกันมา และถ่ายทอดคำอธิบายกันมาเรื่อย ตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระเถระจนถึงพระมหาเถระผู้เป็นครูอาจารย์เหล่านี้ ก็อธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาของท่าน หรือผู้ที่ศึกษาค้นคว้า แล้วคำ อธิบายเหล่านี้ก็มารวบรวมกันเป็นคัมภีร์ระดับรองจากพระไตรปิฎก เรียกชื่อว่า “อรรถกถา” คือไม่จัดรวมเข้าในพระไตรปิฎกตอนนี้เท่ากับมีคัมภีร์ ๒ ระดับ
ระดับที่ ๑ คัมภีร์ที่จารึกพุทธพจน์ พร้อมทั้งเรื่องเกี่ยวข้องที่เป็นหลักฐานดั้งเดิม เป็นมาตรฐานใหญ่ เป็นเกณฑ์ตัดสินพระพุทธศาสนา เรียกว่า พระไตรปิฎกและ
ระดับที่ ๒ คัมภีร์เคียงข้างพระไตรปิฎก ซึ่งมีมาแต่เดิมเหมือนกัน โดยถ่ายทอดกันมา เป็นคำอธิบายพระไตรปิฎกนั้นอีกทีหนึ่งเรียกว่า อรรถกถา
น่าสังเกตว่า การรักษาพระไตรปิฎก กับการรักษาอรรถกถานี้ต่างกัน คือ พระไตรปิฎกนั้นจะต้องรักษาไว้อย่างเดิม ตัวภาษาก็ต้องของเดิม คือภาษาบาลี แต่อรรถกถา ซึ่งเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก มุ่งให้ผู้ศึกษาใช้ประกอบการศึกษาให้เข้าใจพระไตรปิฎกเพราะฉะนั้นอย่างในลังกาสมัยก่อน เดิมนั้นก็รักษากันมาด้วยภาษาสิงหล ซึ่งเป็นภาษาของชาวลังกา หมายความว่า ผู้ศึกษาเรียนพระไตรปิฎกโดยอาศัยคำอธิบายของอรรถกถา จึงเรียนพระไตรปิฎกที่เป็นภาษาบาลี ด้วยอรรกถาคือคำอธิบายที่เป็นภาษาสิงหลของชาวลังกาเอง เป็นเช่นนี้จนกระทั่งต่อมา พ.ศ. ๙๐๐ เศษ พระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งอยู่ในอินเดีย จึงได้เดินทางมายังลังกา และแปลอรรถกถาจากภาษาสิงหลกลับเป็นภาษาบาลี
ตอนนั้น ในอินเดีย พระพุทธศาสนาเสื่อมมากแล้ว กลายเป็นว่าศูนย์กลางพระพุทธศาสนาเถรวาทได้มาอยู่ในลังกา พระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งอยู่ในอินเดีย ต้องการจะให้คนอินเดียได้เรียนรู้พระพุทธศาสนามากหน่อย จึงต้องการอรรถกถาซึ่งเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎกที่อยู่ในลังกา ท่านจึงเดินทางจากอินเดียมาลังกา แล้วมาขอแปลอรรถกถาภาษาสิงหลกลับเป็นภาษาบาลี เพื่อนำไปศึกษาในอินเดีย ตอนนี้เราก็เลยได้อรรถกถาที่เป็นภาษาบาลีอีก ก็เลยมีทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถาที่เป็นภาษาบาลี
การสังคายนานั้นต้องให้รู้ว่าเป็นการที่จะรักษาคำสอนเดิมเอาไว้ให้แม่นยำที่สุดไม่ใช่ว่าพระภิกษุที่สังคายนามีสิทธิ์เอาความคิดเห็นของตนใส่ลงไป การสังคายนา ก็คือ การมาทบทวนซักซ้อมตรวจสอบคัมภีร์ให้ตรงตามของเดิม และซักซ้อมตรวจสอบคนที่ไปทรงจำ หรือไปนับถืออะไรต่างๆ ที่อาจจะผิดเพี้ยนไป ให้มาทบทวนตัวเอง ให้มาซักซ้อมกับที่ประชุม ให้มาปรับความเห็น ความเชื่อ การปฏิบัติของตน ให้ตรงตามพระไตรปิฎกที่รักษากันมาอย่างแม่นยำ ที่เป็นหลักกลางนี้ บางคนเข้าใจผิดว่า ในการสังคายนานี้ ผู้ที่เข้าร่วมสังคายนา จะไปปรับไปแต่งไปทำอะไรกับพระไตรปิฎก ดีไม่ดีอาจจะถึงกับเข้าใจว่ามาแต่งพระไตรปิฎกกันใหม่ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปไกล ซึ่งแสดงว่าไม่รู้จักการสังคายนาและไม่รู้เรื่องอะไรเลย
เพราะฉะนั้น จะต้องย้ำกันว่า การสังคายนาพระไตรปิฎก ก็คือ การมาทบทวนตรวจสอบซักซ้อมกันในการที่จะรักษาพระไตรปิฎกของเดิมที่ท่านสังคายนาไว้ ในการสังคายนาครั้งที่ ๑ เมื่อ ๓ เดือน หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ว่าเป็นอย่างไร ก็ให้คงอยู่อย่างนั้น อย่างแม่นยำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อะไรที่คลาดเคลื่อน ใครทรงจำผิดไป ก็ให้มาปรับเข้ากับของเดิมของแท้นี้เสีย เพราะว่าเมื่อเรารักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็คือเราจะต้องเอาคำตรัสของพระองค์ของเดิมไว้ให้ได้ ถ้าคำสอนคำตรัสเดิมหมดไปก็คือพระพุทธศาสนาหมดไปแล้ว
แต่เราก็ต้องรู้ด้วยว่า ในพระไตรปิฎกไม่ใช่มีเฉพาะคำตรัสของพระพุทธเจ้าอย่างเดียว คำของพระสาวกก็มี เช่นคำของพระสารีบุตรที่ได้แสดงวิธีสังคายนาเป็นตัวอย่างไว้นั้น ก็เป็นพระสูตรอยู่ในพระไตรปิฎกชื่อ สังคีติสูตร แต่ธรรมะที่พระสารีบุตรนำมาสังคายนาไว้ในสังคีติสูตรนั้น ก็คือคำตรัสของพระพุทธเจ้า หรือธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้นั่นเอง นอกจากนั้นก็มีคำสนทนากับผู้อื่น ซึ่งมีคำของผู้อื่นอยู่ด้วยในนั้น หลักคำสอนอะไรเก่าๆ ก่อนพุทธกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงยอมรับ ทรงนำมาเล่าให้นับถือปฏิบัติกันต่อไป ก็มาอยู่ในพระไตรปิฎกด้วย
อย่างเรื่องชาดก เฉพาะส่วนที่เป็นตัวคำสอนแท้ๆ คัมภีร์ที่นิพนธ์แม้หลังพุทธกาลก็มีบ้าง อย่างในสมัยสังคายนาครั้งที่ ๓ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานสังคายนา ท่านได้เห็นว่า พระในสมัยนั้นบางพวกมีความเชื่อถือวิปริตผิดแผกแตกออกไป ท่านก็เรียบเรียงคัมภีร์ขึ้นมาเล่มหนึ่ง เพื่อวินิจฉัยความเชื่อถือ หรือการสั่งสอนที่ผิดพลาดเหล่านั้นแต่การวินิจฉัยนั้นก็เป็นเพียงว่าท่านมาเชื่อมโยง โดยยกเอาคำสอนคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่โน้น ที่นี่ ในเรื่องเดียวกันนั้น มารวมกันไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง เพื่อแสดงให้เห็นว่า เรื่องนั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร เพื่อจะวินิจฉัยความเชื่อหรือคำสอนของผู้ที่เชื่อผิดพลาดไปนั้น อย่างนี้ก็กลายเป็นคัมภีร์ใหม่ แต่แท้จริง ก็เป็นการนำเอาพุทธพจน์ในเรื่องนั้นๆ มารวมไว้ในอีกลักษณะหนึ่ง โดยมีเรื่องราว หรือข้อคิด หรือข้อพิจารณาอะไรอย่างหนึ่งเป็นแกน แต่ก็อย่างที่กล่าวแล้วว่า พระไตรปิฎกนี้เป็นประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน เป็นของส่วนรวมที่พระสงฆ์ทั้งหมดโดยเฉพาะท่านที่เป็นครูอาจารย์และพระเถระที่รับผิดชอบการพระศาสนาต่างก็คอยจับตา คอยระแวดระวัง ถือเป็นสำคัญฉะนั้นใครจะไปเที่ยวใส่เติมอะไรลงไปไม่ได้ จะต้องเป็นที่ยอมรับกันอย่างแน่นอน และไม่ใช่ประเทศเดียวรักษาไว้ หลายๆประเทศต่างก็มี แล้วก็ต้องคอยทานเทียบกัน หมั่นตรวจสอบไม่ให้คลาดเคลื่อนกันไปรวมความก็คือให้จำไว้เลยว่า ประเทศพุทธศาสนาเถรวาททั้งหมด มีพระไตรปิฎกชุดเดียวกัน ซึ่งเนื้อหาเหมือนกันทั้งหมด แม้จะต่างกันในตัวอักษร จ ว บ้าง บางแห่งหรือตกหล่นบางคำบ้าง ก็น้อยเต็มที ความสำนึกตระหนักมั่นนี้ อย่าว่าแต่ต่างประเทศเลย แม้แต่ประเทศไทยเรา ต่อไป ถ้าไม่เห็นความสำคัญ เราเองก็อาจจะทำให้เลือนลางคลาดเคลื่อน
เวลาแปลคำว่า “สังคายนา” เป็นภาษาอังกฤษ เรามักไปเทียบกับภาษาฝรั่ง เช่น Council อย่างของศาสนาคริสต์ เขามี Vatican Council เป็นต้น เราก็แปลว่าเป็นการสังคายนา อันนั้นเป็นการแปลเพียงเทียบในบางแง่ความหมาย ซึ่งที่จริงไม่เหมือนกันเลย
การประชุม Council ของศาสนาคริสต์นั้นเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการมาตกลงกันกำหนดหลักความเชื่อ และแม้แต่การวางนโยบายในการเผยแผ่ศาสนาของเขา แต่การสังคายนาในพระพุทธศาสนาเป็นการรักษาคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้าไว้ให้แม่นยำที่สุด ไม่ให้ใครมาเที่ยวแก้ไขให้คลาดเคลื่อนหรือตัดแต่งต่อเติม จะมาทำให้ตกหล่นก็ไม่ได้ ต่อเติมก็ไม่ได้ ต้องรักษาไว้ให้แม่นยำที่สุด เราเพียงมาตรวจเช็ค มาซักซ้อม ทบทวนกัน ใครที่เชื่อถือหรือสั่งสอนคลาดเคลื่อน หรือผิดแผกไป ก็มาปรับให้ตรงตามของเดิม
เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาเถรวาทจึงมีความภูมิใจโดยชอบธรรมว่า เรารักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้เป็นแบบเดิมแท้ ส่วนพระสูตรต่างๆ ของพระพุทธศาสนาแบบมหายานที่เป็นอาจริยวาท/อาจารยวาท เดี๋ยวนี้ก็รู้กันหมดแล้วว่าเป็นของที่แต่งขึ้นภายหลัง ไม่รักษาคำสอนเดิมแท้ๆไว้ ก็เลยคลาดเคลื่อนหรือหาย คัมภีร์ส่วนมากก็สาบสูญไป เขาก็เลยมายอมรับกันว่า คำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้าที่จะหาได้ครบสมบูรณ์ที่สุด ก็ต้องมาดูในพระไตรปิฎกบาลีของพระพุทธศาสนาเถรวาทของเรานี้ เรื่องนี้เป็นที่ยอมรับกัน เป็นสากล คือนักปราชญ์ วงวิชาการทั่วโลก จะเป็นมหายาน หรือเถรวาท หรือเป็นวัชรยาน ก็รู้กันทั้งนั้น
ควรเห็นคุณค่าของอรรถกถา ที่ค้ำชูอยู่เคียงข้างพระไตรปิฎก
เมื่อถือพระไตรปิฎกเป็นมาตรฐานชั้นหนึ่งแล้ว ต่อจากนั้น ก็จะมีการปิดรายการว่า เอาละ พระไตรปิฎกมีแค่นี้ ต่อจากนี้พระเถระพระอาจารย์ผู้ใหญ่ ที่เป็นนักปราชญ์ ก็ทำหน้าที่ช่วยกันรักษาพระไตรปิฎกนี้ไว้ นอกจากรักษา ท่านก็มีหน้าที่อธิบายด้วย เพราะต้องสั่งสอนลูกศิษย์จำนวนมากมาย ซึ่งเมื่อศึกษาพระไตรปิฎกนั้น ก็อาจไปติดขัด ไม่เข้าใจบางส่วนบางตอนที่ยาก พระอาจารย์ผู้ใหญ่เหล่านี้ที่ท่านสืบต่อคำสอนกันมา และถ่ายทอดคำอธิบายกันมาเรื่อย ตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระเถระจนถึงพระมหาเถระผู้เป็นครูอาจารย์เหล่านี้ ก็อธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาของท่าน หรือผู้ที่ศึกษาค้นคว้า แล้วคำ อธิบายเหล่านี้ก็มารวบรวมกันเป็นคัมภีร์ระดับรองจากพระไตรปิฎก เรียกชื่อว่า “อรรถกถา” คือไม่จัดรวมเข้าในพระไตรปิฎกตอนนี้เท่ากับมีคัมภีร์ ๒ ระดับ
ระดับที่ ๑ คัมภีร์ที่จารึกพุทธพจน์ พร้อมทั้งเรื่องเกี่ยวข้องที่เป็นหลักฐานดั้งเดิม เป็นมาตรฐานใหญ่ เป็นเกณฑ์ตัดสินพระพุทธศาสนา เรียกว่า พระไตรปิฎกและ
ระดับที่ ๒ คัมภีร์เคียงข้างพระไตรปิฎก ซึ่งมีมาแต่เดิมเหมือนกัน โดยถ่ายทอดกันมา เป็นคำอธิบายพระไตรปิฎกนั้นอีกทีหนึ่งเรียกว่า อรรถกถา
น่าสังเกตว่า การรักษาพระไตรปิฎก กับการรักษาอรรถกถานี้ต่างกัน คือ พระไตรปิฎกนั้นจะต้องรักษาไว้อย่างเดิม ตัวภาษาก็ต้องของเดิม คือภาษาบาลี แต่อรรถกถา ซึ่งเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก มุ่งให้ผู้ศึกษาใช้ประกอบการศึกษาให้เข้าใจพระไตรปิฎกเพราะฉะนั้นอย่างในลังกาสมัยก่อน เดิมนั้นก็รักษากันมาด้วยภาษาสิงหล ซึ่งเป็นภาษาของชาวลังกา หมายความว่า ผู้ศึกษาเรียนพระไตรปิฎกโดยอาศัยคำอธิบายของอรรถกถา จึงเรียนพระไตรปิฎกที่เป็นภาษาบาลี ด้วยอรรกถาคือคำอธิบายที่เป็นภาษาสิงหลของชาวลังกาเอง เป็นเช่นนี้จนกระทั่งต่อมา พ.ศ. ๙๐๐ เศษ พระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งอยู่ในอินเดีย จึงได้เดินทางมายังลังกา และแปลอรรถกถาจากภาษาสิงหลกลับเป็นภาษาบาลี
ตอนนั้น ในอินเดีย พระพุทธศาสนาเสื่อมมากแล้ว กลายเป็นว่าศูนย์กลางพระพุทธศาสนาเถรวาทได้มาอยู่ในลังกา พระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งอยู่ในอินเดีย ต้องการจะให้คนอินเดียได้เรียนรู้พระพุทธศาสนามากหน่อย จึงต้องการอรรถกถาซึ่งเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎกที่อยู่ในลังกา ท่านจึงเดินทางจากอินเดียมาลังกา แล้วมาขอแปลอรรถกถาภาษาสิงหลกลับเป็นภาษาบาลี เพื่อนำไปศึกษาในอินเดีย ตอนนี้เราก็เลยได้อรรถกถาที่เป็นภาษาบาลีอีก ก็เลยมีทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถาที่เป็นภาษาบาลี
คัมภีร์พุทธศาสนามีหลายชั้น ทรงความสำคัญลดหลั่นลงมา
ต่อจากนั้นก็ยังมีคัมภีร์รุ่นสืบมาหลังจากอรรถกถา กล่าวคือ เนื้อหาในพระไตรปิฎก ส่วนใดที่อรรถกถาอธิบายไว้ อาจารย์ใหญ่รุ่นต่อมาเห็นว่าอธิบายยังไม่พอ ควรจะให้ชัดกว่านั้น คือพุทธพจน์บางแห่งในพระไตรปิฎก พระอรรถกถาจารย์เห็นว่าง่าย รู้กันดีอยู่แล้ว เพราะรุ่นของท่านยังใกล้พุทธกาล ท่านก็ไม่อธิบาย พระอาจารย์รุ่นต่อมาเห็นว่าคนรุ่นหลังนี้ไม่เข้าใจ ก็อธิบายเสียด้วย หรือแม้แต่คำของพระอรรถกถาจารย์นั้นเอง คนรุ่นหลังก็อาจเข้าใจไม่ชัด ก็มีพระอาจารย์ผู้ใหญ่ที่เชี่ยวชาญมาอธิบายขยายความไปอีก คัมภีร์รุ่นหลังต่อจากอรรถกถานี้เรียกว่า ฎีกา ต่อจากฎีกาก็มีอนุฎีกาลดหลั่นกันลงมา
คัมภีร์เหล่านี้ใช้เป็นหลักที่จะตัดสินวินิจฉัยคำสอนในพระพุทธศาสนาลดหลั่นกันลงมา โดยถือว่าพระไตรปิฎกเป็นอันดับหนึ่ง เป็นมาตรฐานใหญ่ และเป็นมาตรฐานกลาง ซึ่งตัดสินเด็ดขาดว่าเป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่ ต่อจากนั้นมาก็มีอรรถกถามาช่วยเป็นเกณฑ์วินิจฉัยต่อ คือถ้าในพระไตรปิฎกนั้นเรามีข้อสงสัยอะไร ก็มาดูคำวินิจฉัยในอรรถกถา ที่ว่านี้ไม่ได้หมายความว่า อรรถกถามาตัดสินพระไตรปิฎก แต่หมายความว่า เราคนรุ่นหลังอ่านพระไตรปิฎกกัน อาจจะเข้าใจไม่ชัดเจน พระอรรถกถาจารย์ก็มาอธิบายไว้ให้ชัด เราจึงใช้อรรถกถาเป็นเครื่องช่วยวินิจฉัยในส่วนที่เรายังไม่ชัดเจน ต่อจากนั้นก็มีฎีกา อนุฎีกา ตามลำดับต่อกันไป
คัมภีร์เหล่านี้ท่านถือเป็นสำคัญสืบกันมา เพราะผู้ที่จะเรียบเรียงคัมภีร์ขึ้นมาได้ ก็ต้องเป็นที่ยอมรับ เป็นครูอาจารย์ เป็นผู้ที่รู้หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เชี่ยวชาญจัดเจนตลอดพระไตรปิฎก และช่ำชองทั่วตลอดในคัมภีร์ทั้งหลายในชั้นที่เหนือตนขึ้นไป และเมื่อนิพนธ์ขึ้นมาแล้วก็ต้องเป็นที่ยอมรับของปราชญ์ด้วยกันในยุคนั้นแล้วจึงอยู่ได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นหลักของพระศาสนา
ส่วนพระอาจารย์รุ่นหลังต่อจากที่ว่ามาแล้ว ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ในยุคนั้นๆ ที่มาแสดงคำสอนหรือคำอธิบายต่างๆ ก็เรียกกันว่าเป็น อัตตโนมติ หมด ไม่ว่าจะเป็นพระอาจารย์องค์ไหนก็ตาม แต่ละองค์ๆ ก็เรียก อัตตโนมติ คือมติของบุคคล หรือเป็นมติส่วนตัวของท่านผู้นั้นๆ ซึ่งถือเป็นสำคัญน้อยลงมา
เป็นอันว่า ถือพระไตรปิฎกเป็นหนึ่ง อรรถกถาเป็นสอง รองลงมา แล้วก็เป็นฎีกา อนุฎีกา เป็นต้น จนมาถึงอัตตโนมติของอาจารย์ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน หรือแม้ก่อนนั้น ที่แต่งตำรับตำราไว้หลังจากรุ่นอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา จัดเป็นอัตตโนมติทั้งหมด
ถ้านับถือพระบรมศาสดา ก็ต้องรักษาพระไตรปิฎก
ที่กล่าวมานี้ ก็ด้วยมุ่งจะให้รู้จักว่า พระไตรปิฎกคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร การสังคายนาคืออะไร และการรักษาสืบต่อพระไตรปิฎกทำกันมาอย่างไร
เวลานี้น่าเสียดายว่า ชาวพุทธจำนวนมาก ไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งเป็นแก่น และเป็นเนื้อตัวของพระพุทธศาสนา ไม่รู้จักพระไตรปิฎก ไม่รู้จักการสังคายนา ไม่รู้จักวิธีรักษาสืบทอดพระไตรปิฎก หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าธรรมวินัยนั้น เพราะฉะนั้น จึงเป็นโอกาส หรือเป็นช่องทางให้เกิดความสับสน ตลอดจนความเสื่อมโทรมและความคลาดเคลื่อนต่างๆ พร้อมทั้งคำสอนที่ผิดเพี้ยนแปลกปลอมจะแทรกซ้อนหรือแอบแฝงเข้ามา
เรื่องนี้ต่างจากชาวพุทธในสมัยโบราณมาก แม้เขาจะไม่มีการศึกษารู้อะไรมากมายในความหมายของคนปัจจุบัน แต่เขาเข้าใจสิ่งเหล่านี้ อย่างน้อยรู้จักว่าพระไตรปิฎกคืออะไร เป็นหลักของพระศาสนาอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร ต่อความเป็นความตายของพระพุทธศาสนา เพราะว่าถ้าพระไตรปิฎกคลาดเคลื่อน ก็คือพระพุทธศาสนาคลาดเคลื่อน หรือกำลังเลือนลางไป ถ้าพระไตรปิฎกหายไป หมดไป ก็คือพระพุทธศาสนาสูญสิ้น เพราะจะไม่มีแหล่งคำสอนของพระพุทธเจ้าเหลืออยู่อย่างที่กล่าวแล้วว่า เรานับถือพระพุทธศาสนา ก็คือนับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ต้องการฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อต้องการรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างไร เราจะไปรู้เอาเองได้อย่างไร ก็ต้องไปฟังจากพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าไม่อยู่ ก็ต้องไปดูคำสอนที่จารึกไว้ ซึ่งก็ได้จารึกไว้และรักษากันมาในพระไตรปิฎกนี้ ถ้าหมดพระไตรปิฎก ก็คือหมดพระพุทธศาสนาหมดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หมดพระธรรมวินัย หมดพระศาสดาของชาวพุทธ
จึงเป็นหน้าที่ของชาวพุทธ ที่จะต้องรักษาพระธรรมวินัยไว้ ด้วยการเล่าเรียนพระไตรปิฎก แล้วก็รักษาพระไตรปิฎกไว้ให้อยู่มั่นคงด้วยดี ดังที่ชาวพุทธโบราณทุกประเทศได้พยายามรักษากันมาเป็นงานสำคัญของชาติ ถ้าเราเห็นความสำคัญของพระไตรปิฎก ก็คือเห็นความสำคัญของพระพุทธเจ้า เพราะว่าเรานับถือคำสั่งสอนของพระองค์ ถ้าเรารักษาพระไตรปิฎกไว้ได้ พระพุทธศาสนาก็อยู่อย่างดีที่สุด แล้วก็จะมีหลักที่เป็นแกนกลาง ที่เรานับถือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในหมู่ชาวพุทธทั้งหมด ชาวพุทธทั้งปวงในประเทศ เถรวาททุกประเทศ ก็จะมีเอกภาพดังที่เคยมีเอกภาพกันมาแล้ว
อย่างที่กล่าวแล้วว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกของประเทศไทย พม่า ลังกา หรือในประเทศไหนๆ แม้แต่ที่เอาไปในยุโรป เช่นที่อังกฤษ ก็เป็นเนื้อหาอันเดียวกันหมด เป็นคำสอนเดียวกัน เช่น ทาน ศีล ภาวนา อันเดียวกัน ศีล สมาธิ ปัญญา ไตรสิกขา อันเดียวกัน ขันธ์ ๕ ปฏิจจสมุปบาท อันเดียวกัน ไม่ว่าพระสูตรใดๆ ไปดูเนื้อหาก็เหมือนกันหมด ไปที่ไหนก็ใช้กันได้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น ถ้าพระไตรปิฎกที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนายังคงอยู่ ชาวพุทธก็ยังมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ถ้าเราเสียหลักเรื่องนี้เมื่อไร ก็เป็นอันว่าพระพุทธศาสนาจะเริ่มมีปัญหา ชาวพุทธเองก็จะทะเลาะเบาะแว้งกัน นั่นก็คือความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนา และความเสื่อมโทรมแห่งประโยชน์สุขของประชาชน ที่จะไม่รู้จักพระพุทธศาสนาที่แท้จริงและไม่สามารถปฏิบัติให้ถูกต้อง
เพราะฉะนั้น จะต้องช่วยกันสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระไตรปิฎก และชวนกันรักษาด้วยการศึกษาพระไตรปิฎกกันอย่างจริงจัง
No comments:
Post a Comment