ประสบการณ์และความเห็นบางประการของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์
บทความเรื่อง ประสบการณ์และความเห็นบางประการของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ นี้ เป็นการสัมภาษณ์โดยอาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภาต่อท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๒๕ ในปัญหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง ซึ่งมีประเด็นสำคัญๆ ๓ ประการคือ สภาพและปัญหาต่างๆของสังคมไทยก่อน ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ผลงานของคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจ และทัศนะความเห็นที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในสมัยปัจจุบัน
เนื้อหาคำสัมภาษณ์ของท่านปรีดี พนมยงค์ ได้อธิบายให้เห็นถึงสภาพสังคมไทยก่อน พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยเฉพาะความอัตคัตขัดสนของชาวนา, บ่อเกิดแห่งจิตสำนึกของท่านปรีดี พนมยงค์ ในการตกลงใจทำการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕, พื้นฐานความคิดของท่านปรีดี พนมยงค์ ในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจและสหกรณ์ ฯลฯ นอกจากนี้ในบทสัมภาษณ์นี้ ท่านปรีดี พนมยงค์ได้ให้คำชี้แจงเพิ่มเติมในเรื่องที่มีผู้โฆษณาซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ว่าคณะนายทุนให้การสนับสนุนคณะราษฎร, เรื่องความคิดทำโครงการเศรษฐกิจสยาม, เรื่องเกี่ยวกับสหกรณ์ ฯลฯ
บทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทั่วไปที่สนใจปัญหาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเมืองของสังคมไทยตลอดจนได้รับทราบแนวคิดด้านต่างๆ ที่แจ่มชัดขึ้นของท่านปรีดี พนมยงค์
สัมภาษณ์รัฐบุรุษอาวุโส
สวัสดีครับ : ผมฉัตรทิพย์ นาถสุภา วันนี้ผมมาพบ ฯพณฯ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ท่านอาจารย์มีความสำคัญอย่างมากในประวัติศาสตร์ไทย จุดหมายที่ผมมาพบท่านคือ เพื่อที่จะถามเรื่องราวในอดีตทางด้านประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเมืองไทย ซึ่งผมเชื่อว่าท่านจะให้ข้อเท็จจริงต่างๆที่ยังไม่ได้ทราบกันอยู่อย่างมาก แล้วก็ให้ความคิดเห็นที่จะเป็นแนวทางสำคัญสำหรับปัญญาชนและคนหนุ่มสาวของไทยในปัจจุบัน ที่จะคิดต่อไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไปสู่อนาคตที่ดียิ่งขึ้น จึงใคร่กราบขอความกรุณา ฯพณฯ ตอบปัญหาบางประการที่พวกเราอยากทราบด้วย
สำหรับประเด็นที่ผมตั้งมามี ๓ ประเด็น ประเด็นแรกคือยากให้ท่านอาจารย์ได้พูดว่าสังคมไทยที่ท่านโตขึ้นมา ท่านจำความได้ว่าอยู่ในสภาพอย่างไร มีปัญหาต่างๆ อย่างไรที่ทำให้ท่านคิดแล้วเป็นพลังสำคัญผลักดันให้ท่านคิดเปลียนแปลงในครั้งนั้น ประเด็นที่สองก็คือ คณะราษฎรที่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยไปสู่ประชาธิปไตย ได้ทำการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจของไทยได้สำเร็จ และประเด็นไหนที่ท่านถือว่ายังมีข้อขัดข้องอยู่ แล้วก็ข้อขัดข้องที่ทำให้ท่านไม่สามารถบรรลุไปสู่ความคาดหวังได้นี้เป็นเพราะอะไร ประเด็นที่สาม อยากเรียนถามท่านว่า ท่านมองเห็นการเปลี่ยนแปลงในระยะหลังของประเทศไทย ของสังคมไทยนี้อย่างไร มีทางที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สังคมที่ดียิ่งขึ้น มีเสรีภาพมากขึ้น เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้นได้อย่างไร พลังไหนจะเป็นพลังของการเปลี่ยนแปลง ก็มี ๓ ข้อใหญ่ๆ ใคร่เรียนถามท่านอาจารย์ทีละข้อ
ผมจึงขอเรียนถาม ฯพณฯ ในประเด็นของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเมืองไทยเท่าที่ผ่านมา ซึ่ง ฯพณฯ ได้มีส่วนเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ โดยขอเรียนถามในประเด็นแรกเลยว่า เมื่อ ฯพณฯ ท่านโตขึ้นมาจำความได้ ท่านได้เห็นสังคมไทยอยู่ในลักษณะอย่างไร มีปัญหาอย่างไร
ท่านปรีดี
ผมขอแสดงความยินดีที่อาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภาพร้อมทั้งเพื่อนได้มาพบผมในวันนี้ ผมยินดีชี้แจงตามที่ท่านทั้งหลายต้องการจะทราบ เพื่อไปเผยแพร่ให้สานุศิษย์และผู้ที่สนใจอื่นๆ ได้ทราบเรื่องราวตามประเด็น ๓ ประการ ที่อาจารย์ฉัตรทิพย์ได้กำหนดขึ้น
ก่อนอื่นผมขอชี้แจงว่าประเด็นทั้ง ๓ อย่างนั้นผมได้เขียนหรือโต้ตอบ สัมภาษณ์หรือได้ทำเป็นบทความบางเรื่อง เรื่องซึ่งตีพิมพ์ไปแล้วก็มี และที่ยังไม่ได้พิมพ์ก็มี เรื่องทั้ง ๓ นั้น ถ้าหากจะพูดกันให้เข้าใจอย่างละเอียดแจ่มแจ้งก็ต้อง ใช้เวลานาน ฉะนั้นในวันนี้ผมก็ขอกล่าวโดยสังเขปและขอให้อ่านบทสัมภาษณ์และบทความของผมที่ได้พิมพ์ไว้แล้วบ้าง และให้รออ่านบทความที่ผมยังไม่ได้พิมพ์ เมื่อมีโอกาสจะได้พิมพ์ต่อไป
ทีนี้มาถึงปัญหาสำคัญที่คุณได้อ้างถึง ผมยินดีที่คุณสนใจประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศไทย แต่ว่าเศรษฐกิจการเมืองนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของชาติไทยและประวัติศาสตร์ของโลกทั้งหมด การที่จะสนใจประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง ก็ต้องสนใจประวัติศาสตร์ของไทยและของประเทศทั้งหลายที่มีความเกี่ยวพันกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ผมขอทำความเข้าใจในเรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์เสียก่อน เท่าที่ผมสังเกตดูหรือที่ผมกำลังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ซึ่งคุณปรารถนาที่จะรู้นั้นว่ามันเป็นเรื่องที่ต้องแยกนิทานกับประวัติศาสตร์ให้แน่ชัด ที่ผมเรียกนิทานนั้นก็เพราะผมได้พบเอกสารเป็นคำสอนของอาจารย์บางท่าน ที่ได้นำเอาเรื่องซึ่งเข้าลักษณะเป็นนิทานมาสอนในมหาวิทยาลัย นิทานนี้มันเหมาะสำหรับเด็กชั้นมูลและชั้นประถม แต่ไม่เหมาะสำหรับชั้นมัธยมและมหาวิทยาลัย เรื่องที่ “กล่าวกันว่า” นั้นเข้าลักษณะที่กฎหมายลักษณะพยานเรียกว่า “พยานบอกเล่า” ซึ่งเชื่อถือกันไม่ได้ นอกจากมีหลักฐานแน่นอนสนับสนุน
ฉัตรทิพย์ :
อาจารย์ครับ นิทานนี้เป็นนิทานเกี่ยวกับอะไรครับ
ท่านปรีดี :
นิทานหรือนิยายอิงประวัติศาสตร์ คือ สอนเรื่องที่ได้ยินได้อ่านที่เขาบอกต่อๆกันมา อย่างนั้นๆโดยไม่มีหลักฐานแน่นอนสนับสนุน
ฉัตรทิพย์ :
เรื่องใกล้ๆตัวหรือเรื่องที่นานๆมาแล้ว
ท่านปรีดี :
เรื่องในอดีตจะใกล้หรือไกลก็ตาม เช่น ตัวอย่างเรื่องภายในระยะเวลาไม่กี่ปีซึ่งควรที่จะหาหลักฐานความจริงจากเอกสารสนับสนุน (Authentic Documents) อ้างอิง แต่ก็ไม่ค้นคว้ากัน ขอยกอุทาหรณ์ว่าเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น เอกสารหลักฐานแท้จริงที่ได้ประกาศเปิดเผยเป็นเอกสารของราชการแล้วก็มีมาก แต่ผมได้ดูเอกสารประกอบการสอนของบางท่านก็สังเกตว่าท่านไม่สนใจในหลักฐาน
ผมขอย้อนไปสักนิด คือ เมื่อคณะราษฎรได้ยึดอำนาจเมื่อ ๒๔ มิถุนายนฯ แล้วหัวหน้าคณะผู้ก่อการฯที่เป็นทหาร ซึ่งเป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารนั้น ได้มีหนังสือและโทรเลขกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ผ่านทางราชเลขาธิการ ขออัญเชิญให้เสด็จกลับมาทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญปกครองแผ่นดิน อันนี้ก็มีหลักฐานซึ่งเปิดเผยแล้ว พร้อมกันนั้นเราก็ได้ให้เรือรบ โดยมีหลวงศุภชลาสัย ซึ่งเป็นผู้ก่อการฯ คนหนึ่ง เป็นผู้บังคับการนำเรือรบสุโขทัยไปยังหัวหินเชิญเสด็จกลับพระนคร แต่พระองค์ท่านโปรดเกล้าฯ ให้หลวงศุภชลาสัยรีบโทรเลขกลับมาว่า พระองค์ขอเสด็จกลับทางรถไฟ คณะราษฎรก็อนุโลมตาม พระองค์เสด็จกลับมาถึงสถานีจิตรลดาวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาประมาณ ๐๑.๐๐ น. ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะราษฎรไปเฝ้าที่วังสุโขทัยในตอนเช้าเวลา ๙.๐๐ น.ปรากฏตามเอกสารหลักฐานแล้ว
เมื่อผู้แทนคณะราษฎรไปเฝ้าวันนั้นก็ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย “พระราชกำหนดนิรโทษกรรม” และ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” เพื่อขอทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทาน
เรื่องนี้ถ้าจะทราบประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญ ก็ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ทางภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์ของคำว่า “รัฐธรรมนูญ” ก็จะทราบได้ว่าคำนี้เกิดขึ้นภายหลังที่คณะอนุกรรมการ (ของสภาผู้แทนราษฎรตามธรรมนูญปกครองแผ่นดินฉบับชั่วคราว ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ) นั้น ได้ร่าง “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” โดยความร่วมมือกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสร็จแล้วรัฐบาลและคณะอนุกรรมการฯ นั้น ได้นำร่างธรรมนูญการปกครองแผ่นดินที่จะใช้เป็นฉบับถาวรนั้น เสนอแก่ราษฎรทั่วไป โดยวิธีลงพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญฯ ที่ร่างขึ้นนั้นในหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับ พร้อมทั้งขอร้องให้ราษฎรทุกคนเสนอความเห็นไปยังรัฐบาลหรือคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งรัฐบาลและคณะอนุกรรมการฯได้รับไว้พิจารณาด้วยดี แล้วได้ปรับปรุงแก้ไขตามที่มีผู้เสนอหลายประการ
โดยเฉพาะศัพท์ “รัฐธรรมนูญ” นั้น กรมหมื่นนราธิปฯ ขณะยังทรงพระอิสสริยยศ”หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร” ได้ทรงเสนอผ่านทางหนังสือ “ประชาชาติ” ว่าคำว่า “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” นั้นยืดยาวไป จึงสมควรใช้คำว่า “รัฐธรรมนูญ” คณะอนุกรรมการฯ และรัฐบาลเห็นชอบด้วยตามที่หม่อมเจ้าวรรณเสนอ เพราะเป็นคำกระทัดรัด ได้ความตรงกับคำว่า “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” ซึ่งถ่ายทอดมาจากคำอังกฤษและคำฝรั่งเศส “Constitution” รัฐบาลจึงนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเห็นชอบด้วยแล้ว คณะอนุกรรมการจึงแก้คำว่า ““ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” ในต้นร่างและใช้คำว่า “รัฐธรรมนูญ” แทน และได้เสนอสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้พิจารณาทุกตัวบทที่เป็นสาระบัญญัติ แล้วลงมติให้นำเสนอพระมหากษัตริย์เพื่อประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕
ถ้าท่านผู้ใดศึกษาปรวัติศาตร์ทางภาษาศาสตร์และทางนิรุกติศาสตร์ดังกล่าวมาแล้ว ท่านก็จะไม่สอนนิสิตนักศึกษาของท่านโดยอาศัยคำบอกเล่า (Hearsay)เป็นหลักวิชาการว่า เมื่อคณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น ราษฎรไทยคิดว่า “รัฐธรรมนูญคือลูกพระยาพหลฯ” แต่อันที่จริงคำว่า “รัฐธรรมนูญ” เกิดขึ้นหลายเดือน ภายหลังพระราชทานธรรมนูญการปกครองแผ่นดินฉบับชั่วคราว ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕
แม้อาจารย์ผู้มีหน้าที่สอนวิชาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและการปกครอง จะไม่มีเวลาที่จะค้นคว้าย้อนไปถึงสมัยพระเอกาทศรฐ ที่ได้ทรงใช้คำว่า “ธรรมนูน” โดยแผลงมาจากคำบาลี “ธมฺมานุญโญ” ตามคำภีร์พระธรรมศาสตร์ และต่อมารัชกาลที่ ๑ ทรงแผลงคำบาลีนั้นเป็นคำไทยว่า “พระธรรมนูญ” ก็ดี แต่อย่างน้อยท่านผู้สอนก็ควรสังเกตว่า รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้ทรงใช้คำว่า “ธรรมนูญ” ประกอบกับคำว่า “ศาล” เช่น “พระธรรมนูญศาลหัวเมือง ร.ศ. ๑๑๔” , “พระธรรมนูญศาลทหารบก ร.ศ. ๑๒๖”, ”พระธรรมนูญศาลทหารเรือ ร.ศ. ๑๒๗ ”,”พระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ร.ศ. ๑๒๗” ฯลฯ ทั้งนี้หมายถึงกฎหมายว่าด้วยระเบียบการของศาลนั้นๆ ราษฎรไทยส่วนมากก็ย่อมรู้มาหลายชั่วคนก่อน พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว
ราชบัญฑิตสถานจึงบรรจุคำว่า “ธรรมนูญไว้ในพจนานุกรม” โดยให้ความหมายว่า “ ธรรมนูญ น. ชื่อกฎหมายว่าด้วยระเบีบบการ” และในปัจจุบันนี้คนไทยจำนวนไม่น้อยก็รู้ความหมายของคำว่า “ธรรมนูญ” ดังกล่าวมาแล้ว
เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ขณะที่ยังไม่มีผู้ใดตั้งศัพท์ไทยว่า “รัฐธรรมนูญ” เพื่อถ่ายทอดคำอังกฤษและฝรั่งเศส “Constitution” นั้น คณะราษฎรจึงใช้คำว่า “ธรรมนูญ” ประกอบคำว่า “การปกครองแผ่นดิน” เพื่อให้ราษฎรได้เข้าใจง่ายๆว่า “กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองแผ่นดิน”
บทความเรื่อง ประสบการณ์และความเห็นบางประการของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ นี้ เป็นการสัมภาษณ์โดยอาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภาต่อท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๒๕ ในปัญหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง ซึ่งมีประเด็นสำคัญๆ ๓ ประการคือ สภาพและปัญหาต่างๆของสังคมไทยก่อน ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ผลงานของคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจ และทัศนะความเห็นที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในสมัยปัจจุบัน
เนื้อหาคำสัมภาษณ์ของท่านปรีดี พนมยงค์ ได้อธิบายให้เห็นถึงสภาพสังคมไทยก่อน พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยเฉพาะความอัตคัตขัดสนของชาวนา, บ่อเกิดแห่งจิตสำนึกของท่านปรีดี พนมยงค์ ในการตกลงใจทำการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕, พื้นฐานความคิดของท่านปรีดี พนมยงค์ ในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจและสหกรณ์ ฯลฯ นอกจากนี้ในบทสัมภาษณ์นี้ ท่านปรีดี พนมยงค์ได้ให้คำชี้แจงเพิ่มเติมในเรื่องที่มีผู้โฆษณาซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ว่าคณะนายทุนให้การสนับสนุนคณะราษฎร, เรื่องความคิดทำโครงการเศรษฐกิจสยาม, เรื่องเกี่ยวกับสหกรณ์ ฯลฯ
บทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทั่วไปที่สนใจปัญหาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเมืองของสังคมไทยตลอดจนได้รับทราบแนวคิดด้านต่างๆ ที่แจ่มชัดขึ้นของท่านปรีดี พนมยงค์
สัมภาษณ์รัฐบุรุษอาวุโส
สวัสดีครับ : ผมฉัตรทิพย์ นาถสุภา วันนี้ผมมาพบ ฯพณฯ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ท่านอาจารย์มีความสำคัญอย่างมากในประวัติศาสตร์ไทย จุดหมายที่ผมมาพบท่านคือ เพื่อที่จะถามเรื่องราวในอดีตทางด้านประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเมืองไทย ซึ่งผมเชื่อว่าท่านจะให้ข้อเท็จจริงต่างๆที่ยังไม่ได้ทราบกันอยู่อย่างมาก แล้วก็ให้ความคิดเห็นที่จะเป็นแนวทางสำคัญสำหรับปัญญาชนและคนหนุ่มสาวของไทยในปัจจุบัน ที่จะคิดต่อไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไปสู่อนาคตที่ดียิ่งขึ้น จึงใคร่กราบขอความกรุณา ฯพณฯ ตอบปัญหาบางประการที่พวกเราอยากทราบด้วย
สำหรับประเด็นที่ผมตั้งมามี ๓ ประเด็น ประเด็นแรกคือยากให้ท่านอาจารย์ได้พูดว่าสังคมไทยที่ท่านโตขึ้นมา ท่านจำความได้ว่าอยู่ในสภาพอย่างไร มีปัญหาต่างๆ อย่างไรที่ทำให้ท่านคิดแล้วเป็นพลังสำคัญผลักดันให้ท่านคิดเปลียนแปลงในครั้งนั้น ประเด็นที่สองก็คือ คณะราษฎรที่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยไปสู่ประชาธิปไตย ได้ทำการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจของไทยได้สำเร็จ และประเด็นไหนที่ท่านถือว่ายังมีข้อขัดข้องอยู่ แล้วก็ข้อขัดข้องที่ทำให้ท่านไม่สามารถบรรลุไปสู่ความคาดหวังได้นี้เป็นเพราะอะไร ประเด็นที่สาม อยากเรียนถามท่านว่า ท่านมองเห็นการเปลี่ยนแปลงในระยะหลังของประเทศไทย ของสังคมไทยนี้อย่างไร มีทางที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สังคมที่ดียิ่งขึ้น มีเสรีภาพมากขึ้น เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้นได้อย่างไร พลังไหนจะเป็นพลังของการเปลี่ยนแปลง ก็มี ๓ ข้อใหญ่ๆ ใคร่เรียนถามท่านอาจารย์ทีละข้อ
ผมจึงขอเรียนถาม ฯพณฯ ในประเด็นของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเมืองไทยเท่าที่ผ่านมา ซึ่ง ฯพณฯ ได้มีส่วนเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ โดยขอเรียนถามในประเด็นแรกเลยว่า เมื่อ ฯพณฯ ท่านโตขึ้นมาจำความได้ ท่านได้เห็นสังคมไทยอยู่ในลักษณะอย่างไร มีปัญหาอย่างไร
ท่านปรีดี
ผมขอแสดงความยินดีที่อาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภาพร้อมทั้งเพื่อนได้มาพบผมในวันนี้ ผมยินดีชี้แจงตามที่ท่านทั้งหลายต้องการจะทราบ เพื่อไปเผยแพร่ให้สานุศิษย์และผู้ที่สนใจอื่นๆ ได้ทราบเรื่องราวตามประเด็น ๓ ประการ ที่อาจารย์ฉัตรทิพย์ได้กำหนดขึ้น
ก่อนอื่นผมขอชี้แจงว่าประเด็นทั้ง ๓ อย่างนั้นผมได้เขียนหรือโต้ตอบ สัมภาษณ์หรือได้ทำเป็นบทความบางเรื่อง เรื่องซึ่งตีพิมพ์ไปแล้วก็มี และที่ยังไม่ได้พิมพ์ก็มี เรื่องทั้ง ๓ นั้น ถ้าหากจะพูดกันให้เข้าใจอย่างละเอียดแจ่มแจ้งก็ต้อง ใช้เวลานาน ฉะนั้นในวันนี้ผมก็ขอกล่าวโดยสังเขปและขอให้อ่านบทสัมภาษณ์และบทความของผมที่ได้พิมพ์ไว้แล้วบ้าง และให้รออ่านบทความที่ผมยังไม่ได้พิมพ์ เมื่อมีโอกาสจะได้พิมพ์ต่อไป
ทีนี้มาถึงปัญหาสำคัญที่คุณได้อ้างถึง ผมยินดีที่คุณสนใจประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศไทย แต่ว่าเศรษฐกิจการเมืองนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของชาติไทยและประวัติศาสตร์ของโลกทั้งหมด การที่จะสนใจประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง ก็ต้องสนใจประวัติศาสตร์ของไทยและของประเทศทั้งหลายที่มีความเกี่ยวพันกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ผมขอทำความเข้าใจในเรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์เสียก่อน เท่าที่ผมสังเกตดูหรือที่ผมกำลังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ซึ่งคุณปรารถนาที่จะรู้นั้นว่ามันเป็นเรื่องที่ต้องแยกนิทานกับประวัติศาสตร์ให้แน่ชัด ที่ผมเรียกนิทานนั้นก็เพราะผมได้พบเอกสารเป็นคำสอนของอาจารย์บางท่าน ที่ได้นำเอาเรื่องซึ่งเข้าลักษณะเป็นนิทานมาสอนในมหาวิทยาลัย นิทานนี้มันเหมาะสำหรับเด็กชั้นมูลและชั้นประถม แต่ไม่เหมาะสำหรับชั้นมัธยมและมหาวิทยาลัย เรื่องที่ “กล่าวกันว่า” นั้นเข้าลักษณะที่กฎหมายลักษณะพยานเรียกว่า “พยานบอกเล่า” ซึ่งเชื่อถือกันไม่ได้ นอกจากมีหลักฐานแน่นอนสนับสนุน
ฉัตรทิพย์ :
อาจารย์ครับ นิทานนี้เป็นนิทานเกี่ยวกับอะไรครับ
ท่านปรีดี :
นิทานหรือนิยายอิงประวัติศาสตร์ คือ สอนเรื่องที่ได้ยินได้อ่านที่เขาบอกต่อๆกันมา อย่างนั้นๆโดยไม่มีหลักฐานแน่นอนสนับสนุน
ฉัตรทิพย์ :
เรื่องใกล้ๆตัวหรือเรื่องที่นานๆมาแล้ว
ท่านปรีดี :
เรื่องในอดีตจะใกล้หรือไกลก็ตาม เช่น ตัวอย่างเรื่องภายในระยะเวลาไม่กี่ปีซึ่งควรที่จะหาหลักฐานความจริงจากเอกสารสนับสนุน (Authentic Documents) อ้างอิง แต่ก็ไม่ค้นคว้ากัน ขอยกอุทาหรณ์ว่าเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น เอกสารหลักฐานแท้จริงที่ได้ประกาศเปิดเผยเป็นเอกสารของราชการแล้วก็มีมาก แต่ผมได้ดูเอกสารประกอบการสอนของบางท่านก็สังเกตว่าท่านไม่สนใจในหลักฐาน
ผมขอย้อนไปสักนิด คือ เมื่อคณะราษฎรได้ยึดอำนาจเมื่อ ๒๔ มิถุนายนฯ แล้วหัวหน้าคณะผู้ก่อการฯที่เป็นทหาร ซึ่งเป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารนั้น ได้มีหนังสือและโทรเลขกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ผ่านทางราชเลขาธิการ ขออัญเชิญให้เสด็จกลับมาทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญปกครองแผ่นดิน อันนี้ก็มีหลักฐานซึ่งเปิดเผยแล้ว พร้อมกันนั้นเราก็ได้ให้เรือรบ โดยมีหลวงศุภชลาสัย ซึ่งเป็นผู้ก่อการฯ คนหนึ่ง เป็นผู้บังคับการนำเรือรบสุโขทัยไปยังหัวหินเชิญเสด็จกลับพระนคร แต่พระองค์ท่านโปรดเกล้าฯ ให้หลวงศุภชลาสัยรีบโทรเลขกลับมาว่า พระองค์ขอเสด็จกลับทางรถไฟ คณะราษฎรก็อนุโลมตาม พระองค์เสด็จกลับมาถึงสถานีจิตรลดาวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาประมาณ ๐๑.๐๐ น. ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะราษฎรไปเฝ้าที่วังสุโขทัยในตอนเช้าเวลา ๙.๐๐ น.ปรากฏตามเอกสารหลักฐานแล้ว
เมื่อผู้แทนคณะราษฎรไปเฝ้าวันนั้นก็ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย “พระราชกำหนดนิรโทษกรรม” และ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” เพื่อขอทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทาน
เรื่องนี้ถ้าจะทราบประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญ ก็ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ทางภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์ของคำว่า “รัฐธรรมนูญ” ก็จะทราบได้ว่าคำนี้เกิดขึ้นภายหลังที่คณะอนุกรรมการ (ของสภาผู้แทนราษฎรตามธรรมนูญปกครองแผ่นดินฉบับชั่วคราว ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ) นั้น ได้ร่าง “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” โดยความร่วมมือกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสร็จแล้วรัฐบาลและคณะอนุกรรมการฯ นั้น ได้นำร่างธรรมนูญการปกครองแผ่นดินที่จะใช้เป็นฉบับถาวรนั้น เสนอแก่ราษฎรทั่วไป โดยวิธีลงพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญฯ ที่ร่างขึ้นนั้นในหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับ พร้อมทั้งขอร้องให้ราษฎรทุกคนเสนอความเห็นไปยังรัฐบาลหรือคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งรัฐบาลและคณะอนุกรรมการฯได้รับไว้พิจารณาด้วยดี แล้วได้ปรับปรุงแก้ไขตามที่มีผู้เสนอหลายประการ
โดยเฉพาะศัพท์ “รัฐธรรมนูญ” นั้น กรมหมื่นนราธิปฯ ขณะยังทรงพระอิสสริยยศ”หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร” ได้ทรงเสนอผ่านทางหนังสือ “ประชาชาติ” ว่าคำว่า “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” นั้นยืดยาวไป จึงสมควรใช้คำว่า “รัฐธรรมนูญ” คณะอนุกรรมการฯ และรัฐบาลเห็นชอบด้วยตามที่หม่อมเจ้าวรรณเสนอ เพราะเป็นคำกระทัดรัด ได้ความตรงกับคำว่า “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” ซึ่งถ่ายทอดมาจากคำอังกฤษและคำฝรั่งเศส “Constitution” รัฐบาลจึงนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเห็นชอบด้วยแล้ว คณะอนุกรรมการจึงแก้คำว่า ““ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” ในต้นร่างและใช้คำว่า “รัฐธรรมนูญ” แทน และได้เสนอสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้พิจารณาทุกตัวบทที่เป็นสาระบัญญัติ แล้วลงมติให้นำเสนอพระมหากษัตริย์เพื่อประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕
ถ้าท่านผู้ใดศึกษาปรวัติศาตร์ทางภาษาศาสตร์และทางนิรุกติศาสตร์ดังกล่าวมาแล้ว ท่านก็จะไม่สอนนิสิตนักศึกษาของท่านโดยอาศัยคำบอกเล่า (Hearsay)เป็นหลักวิชาการว่า เมื่อคณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น ราษฎรไทยคิดว่า “รัฐธรรมนูญคือลูกพระยาพหลฯ” แต่อันที่จริงคำว่า “รัฐธรรมนูญ” เกิดขึ้นหลายเดือน ภายหลังพระราชทานธรรมนูญการปกครองแผ่นดินฉบับชั่วคราว ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕
แม้อาจารย์ผู้มีหน้าที่สอนวิชาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและการปกครอง จะไม่มีเวลาที่จะค้นคว้าย้อนไปถึงสมัยพระเอกาทศรฐ ที่ได้ทรงใช้คำว่า “ธรรมนูน” โดยแผลงมาจากคำบาลี “ธมฺมานุญโญ” ตามคำภีร์พระธรรมศาสตร์ และต่อมารัชกาลที่ ๑ ทรงแผลงคำบาลีนั้นเป็นคำไทยว่า “พระธรรมนูญ” ก็ดี แต่อย่างน้อยท่านผู้สอนก็ควรสังเกตว่า รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้ทรงใช้คำว่า “ธรรมนูญ” ประกอบกับคำว่า “ศาล” เช่น “พระธรรมนูญศาลหัวเมือง ร.ศ. ๑๑๔” , “พระธรรมนูญศาลทหารบก ร.ศ. ๑๒๖”, ”พระธรรมนูญศาลทหารเรือ ร.ศ. ๑๒๗ ”,”พระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ร.ศ. ๑๒๗” ฯลฯ ทั้งนี้หมายถึงกฎหมายว่าด้วยระเบียบการของศาลนั้นๆ ราษฎรไทยส่วนมากก็ย่อมรู้มาหลายชั่วคนก่อน พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว
ราชบัญฑิตสถานจึงบรรจุคำว่า “ธรรมนูญไว้ในพจนานุกรม” โดยให้ความหมายว่า “ ธรรมนูญ น. ชื่อกฎหมายว่าด้วยระเบีบบการ” และในปัจจุบันนี้คนไทยจำนวนไม่น้อยก็รู้ความหมายของคำว่า “ธรรมนูญ” ดังกล่าวมาแล้ว
เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ขณะที่ยังไม่มีผู้ใดตั้งศัพท์ไทยว่า “รัฐธรรมนูญ” เพื่อถ่ายทอดคำอังกฤษและฝรั่งเศส “Constitution” นั้น คณะราษฎรจึงใช้คำว่า “ธรรมนูญ” ประกอบคำว่า “การปกครองแผ่นดิน” เพื่อให้ราษฎรได้เข้าใจง่ายๆว่า “กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองแผ่นดิน”
No comments:
Post a Comment