สัญญาณอันตรายว่ารัฐธรรมนูญใหม่จะไม่บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะฯ
ท่านอธิการบดีมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสงฆ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย) ได้มีจดหมายถึง พล.อ. สุรยุทธ์ เนื้อความในจดหมายท่านแสดงความเป็นห่วงว่าการที่ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ และใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี ๒๕๔๙ จึงไม่ได้บัญญัติบทบัญญัติข้อสำคัญในหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์คือ ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี ๒๕๔๙ ไม่ได้คงไว้ซึ่งบัญญัติมาตรา ๙ ที่ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก”
นี่เป็นสัญญาณอันตรายอย่างแรกของพระพุทธศาสนาหลังจากที่มีการปฏิวัติเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาจะมีการปฏิวัติชั่วร้ายยังไง มาตรา๙ ที่บัญญัติให้ “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก” ก็ยังคงไว้
สัญญาณประการที่สองคือ มีการเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติบางกลุ่ม เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะมีการแก้ไขบางประเด็นที่จะเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่ม อันจะก่อให้เกิดความวุ่นวายในคณะสงฆ์
ท่านอธิการบดีจึงส่งจดหมายนี้เพื่อหวังพึ่งพิงนายกที่มาจากการทำรัฐประหาร และท่านยังอำนวยพรประการต่างๆ ซึ่งก็น่าเห็นใจท่านอธิการบดี ที่ไม่รู้ว่าจะฝากความหวังกับใครกัน
พวกเราทั้งหลาย การต่อสู้เรียกร้องอำนาจของประชาชนคืนมาครั้งนี้ไม่ใช่เพื่ออำนาจประชาธิปไตยเพียงอย่างเดียวเสียแล้ว แต่เป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาด้วย เราไม่ได้ต่อสู้เพื่อคนในวันนี้แต่ต้องสู้เพื่อรักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับแผ่นดินไทยให้ตราบนานเพื่อคนรุ่นหลัง
การต่อสู้เพื่อพระพุทธศาสนามิได้หมายถึงสงครามศาสนา แต่ผมหมายถึงการที่เราชาวพุทธจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาโดยศึกษาหลักธรรมและช่วยกันเผยแพร่หลักธรรมที่ถูกต้องให้แพร่หลายออกไป ให้ประชาชนไทยชาวพุทธได้เข้าใจถูก ไม่งมงายในมายาคติทั้งหลายนั่นเอง
รายละเอียดของจดหมายมีดังนี้
สำเนา
ที่ ศธ ๖๑๐๐ / ๙๖๗
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
วัดมหาธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
โทร. -----
โทรสาร. ----
๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๙
เรื่อง ขออนุโมทนาขอบคุณในความห่วงใยของ ฯพณฯ ที่มีต่อพระพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์
เจริญพร ฯพณฯ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. สำเนารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๙๐
๒. สำเนาคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๔๙๓
อนุสนธิจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้วนั้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์อย่างน้อย ๒ ประการ คือ
๑. การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ แล้วประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๕๔๙ แทนนั้น เป็นการยกเลิกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบางประการที่มีความสำคัญต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ในบทบัญญัติมาตรา ๙ แห่งหมวดที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก”
ในหมวดที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราวพุทธศักร ๒๕๔๙ ที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ประกาศใช้นั้น ไม่มีบทบัญญัติที่ว่าด้วย “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก” ดังกล่าว ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นฉบับถาวรหรือชั่วคราว ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจน
มหาวิทยาลัยจึงขอเจริญพรยืนยันเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะให้มีบทบัญญัติรับรองเรื่อง “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก” ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับถาวร ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้
๒.การเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติบางกลุ่ม เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ ที่ผ่านมานั้น ถือว่าไม่เป็นการอันสมควร เพราะ การเสนอขอแก้ไขพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ไม่สมบูรณ์และครบถ้วน เพราะเป็นการเสนอขอแก้ไขเพียงบางประเด็น ซึ่งอาจชวนให้คิดได้ว่า เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อันจะก่อให้เกิดความวุ่นวายในคณะสงฆ์ และที่สำคัญยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม
มหาวิทยาลัยจึงขอเจริญพรมายัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดพิจารณา ถ้าหากจะมีการเสนอขอแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ขอให้ดำเนินการผ่านความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์
ด้วยความห่วงใยในความมั่นคงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ พระพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์ดังกล่าวแล้ว อาตมภาพ ในนามมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จึงขอเจริญพรมายัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร ได้โปรดพิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างรอบคอบเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของประชาคมหมาวิทยาลัย คณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป
ในท้ายที่สุดนี้ ขอแสดงความชื่นชมยินดีและขออนุโมทนาในกุศลเจตนของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีที่มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติและธำรงรักษาพระพุทธศาสนาด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและด้วยความเสียสละเป็นอย่างยิ่ง
ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยได้โปรดอภิบาลประทานพรให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี จงประสบแต่ความเจริญงอกงามในบวรพระพุทธศาสนา มีสติปัญญาสามารถนำพาประเทศชาติ และคณะรัฐบาล ฟันฝ่าอุปสรรคนานาประการไปได้ด้วยดี เพื่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรื่องของประเทศชาติสืบไป
ขอเจริญพร
(พระธรรมโกศาจารย์)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
นี่เป็นสัญญาณอันตรายอย่างแรกของพระพุทธศาสนาหลังจากที่มีการปฏิวัติเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาจะมีการปฏิวัติชั่วร้ายยังไง มาตรา๙ ที่บัญญัติให้ “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก” ก็ยังคงไว้
สัญญาณประการที่สองคือ มีการเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติบางกลุ่ม เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะมีการแก้ไขบางประเด็นที่จะเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่ม อันจะก่อให้เกิดความวุ่นวายในคณะสงฆ์
ท่านอธิการบดีจึงส่งจดหมายนี้เพื่อหวังพึ่งพิงนายกที่มาจากการทำรัฐประหาร และท่านยังอำนวยพรประการต่างๆ ซึ่งก็น่าเห็นใจท่านอธิการบดี ที่ไม่รู้ว่าจะฝากความหวังกับใครกัน
พวกเราทั้งหลาย การต่อสู้เรียกร้องอำนาจของประชาชนคืนมาครั้งนี้ไม่ใช่เพื่ออำนาจประชาธิปไตยเพียงอย่างเดียวเสียแล้ว แต่เป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาด้วย เราไม่ได้ต่อสู้เพื่อคนในวันนี้แต่ต้องสู้เพื่อรักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับแผ่นดินไทยให้ตราบนานเพื่อคนรุ่นหลัง
การต่อสู้เพื่อพระพุทธศาสนามิได้หมายถึงสงครามศาสนา แต่ผมหมายถึงการที่เราชาวพุทธจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาโดยศึกษาหลักธรรมและช่วยกันเผยแพร่หลักธรรมที่ถูกต้องให้แพร่หลายออกไป ให้ประชาชนไทยชาวพุทธได้เข้าใจถูก ไม่งมงายในมายาคติทั้งหลายนั่นเอง
รายละเอียดของจดหมายมีดังนี้
สำเนา
ที่ ศธ ๖๑๐๐ / ๙๖๗
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
วัดมหาธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
โทร. -----
โทรสาร. ----
๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๙
เรื่อง ขออนุโมทนาขอบคุณในความห่วงใยของ ฯพณฯ ที่มีต่อพระพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์
เจริญพร ฯพณฯ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. สำเนารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๙๐
๒. สำเนาคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๔๙๓
อนุสนธิจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้วนั้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์อย่างน้อย ๒ ประการ คือ
๑. การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ แล้วประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๕๔๙ แทนนั้น เป็นการยกเลิกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบางประการที่มีความสำคัญต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ในบทบัญญัติมาตรา ๙ แห่งหมวดที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก”
ในหมวดที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราวพุทธศักร ๒๕๔๙ ที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ประกาศใช้นั้น ไม่มีบทบัญญัติที่ว่าด้วย “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก” ดังกล่าว ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นฉบับถาวรหรือชั่วคราว ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจน
มหาวิทยาลัยจึงขอเจริญพรยืนยันเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะให้มีบทบัญญัติรับรองเรื่อง “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก” ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับถาวร ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้
๒.การเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติบางกลุ่ม เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ ที่ผ่านมานั้น ถือว่าไม่เป็นการอันสมควร เพราะ การเสนอขอแก้ไขพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ไม่สมบูรณ์และครบถ้วน เพราะเป็นการเสนอขอแก้ไขเพียงบางประเด็น ซึ่งอาจชวนให้คิดได้ว่า เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อันจะก่อให้เกิดความวุ่นวายในคณะสงฆ์ และที่สำคัญยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม
มหาวิทยาลัยจึงขอเจริญพรมายัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดพิจารณา ถ้าหากจะมีการเสนอขอแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ขอให้ดำเนินการผ่านความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์
ด้วยความห่วงใยในความมั่นคงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ พระพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์ดังกล่าวแล้ว อาตมภาพ ในนามมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จึงขอเจริญพรมายัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร ได้โปรดพิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างรอบคอบเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของประชาคมหมาวิทยาลัย คณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป
ในท้ายที่สุดนี้ ขอแสดงความชื่นชมยินดีและขออนุโมทนาในกุศลเจตนของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีที่มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติและธำรงรักษาพระพุทธศาสนาด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและด้วยความเสียสละเป็นอย่างยิ่ง
ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยได้โปรดอภิบาลประทานพรให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี จงประสบแต่ความเจริญงอกงามในบวรพระพุทธศาสนา มีสติปัญญาสามารถนำพาประเทศชาติ และคณะรัฐบาล ฟันฝ่าอุปสรรคนานาประการไปได้ด้วยดี เพื่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรื่องของประเทศชาติสืบไป
ขอเจริญพร
(พระธรรมโกศาจารย์)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
No comments:
Post a Comment