จดหมายโต้ตอบ
บทความข้างล่างนี้ นำมาจากเวปไซต์พันทิพย์ มีผู้แปลจากภาษาอังกฤษ (ในลิงค์ข้างล่าง) เป็นภาษาไทย เนื้อหาเป็นจดหมายโต้ตอบของข้าราชการไทยในกระทรวงการต่างประเทศ แสดงการตัดพ้อต่อว่ากลุ่มสหภาพยุโรปที่แสดงท่าที่ไม่ยอมรับการปฏิวัติเมื่อวันที่ ๑๙ ก.ย. ไปยังเอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ในฐานะตัวแทนประมุขอียู ที่จะเวียนมาเป็นวาระของประเทศเยอรมัน , ท่านเอกอัคราชทูตได้มีจดหมายตอบกลับ ซึ่งตีแสกหน้าใครหลายๆคน ได้อย่างไม่ปิดบังอำพราง เชิญอ่านครับ
http://www.nationmultimedia.com/2007/01/29/headlines/headlines_30025408.php
จดหมายสองฉบับข้างล่างนี้เป็นการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศไทย และ เอกอัครราชฑูตของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตึงเครียดทางการฑูตระหว่างกรุงเทพฯ และตะวันตก ในกรณีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน นักวิเคราะห์ผู้ซึ่งคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับคำสาปของทักษิณเชื่อมั่นว่า ความขัดแย้งครั้งนี้จะไม่จบลงง่ายๆ แน่นอน
คำแปล
การต่างประเทศ: มิตรภาพและความท้าทาย
โดย นาย กุลกุมุท สิงหรา ณ อยุธยา อธิบดีกรมยุโรป กระทรวงต่างประเทศ ความเห็นข้างล่างนี้เป็นความเห็นส่วนตัว มิได้เป็นความเห็นในนามรัฐบาลไทย
ปีที่แล้วเป็นปีที่พิเศษสำหรับชาวไทย เนื่องจากเป็นปีที่เราเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี และยังเป็นปีที่การเมืองไทยเข้าสู่จุดสำคัญ เนื่องจากทางตันทางการเมืองได้ถูกผ่าออกจนได้ เมื่อประเทศไทยของเราอยู่ในคราวเจริญรุ่งเรือง เพื่อนของเราก็มาร่วมยินดีมีสุข แต่เมื่อเราถึงคราวคับขัน เพื่อนหลายคนก็แสดงน้ำใจและให้ความเข้าใจแก่เรา ในขณะที่เพื่อนบางคนกับชี้นิ้วตราหน้าเรา และสั่งสอนอบรมเรา
ขอให้ผมได้เริ่มจากความทรงจำของการสูญเสียที่เราทั้งหมดได้รับร่วมกัน เมื่อคลื่นสึนามิ ได้พัดพาจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ชายฝั่งไทย เมื่อสองปีที่แล้วไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าคนไทยทั้งหมด ได้ทุ่มเทแรงใจ และความโอบอ้อมอารีในฐานะเจ้าบ้าน เพื่อช่วยผู้ประสบเคราะห์ โดยไม่เลือกสัญชาติ หรือศาสนา
รัฐบาลไทยไม่เพียงแต่ตอบสนองการร้องขอความช่วยเหลือของเพื่อนในทันที แต่เรายังช่วยให้ความสะดวกทุกประการเท่าที่จะเป็นไปได้ ในการให้ความช่วยเหลือชาวต่างชาติ ตั้งแต่ให้เฮลิคอบเตอร์ออกบินตลอด 24 ชั่วโมง จนถึงการจัดการอนุญาตให้เปิดสถานกงสุลที่ภูเก็ตอย่างเร่งด่วน ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วันหลังเกิดเหตุการณ์ เพื่อช่วยส่งให้เพื่อนและผู้เป็นที่รักของเพื่อนของเรากลับบ้าน ชาวไทยได้แสดงความปรารถนาดี และความจริงใจต่อเพื่อน แม้กระนั้นความเอื้ออารีของเราก็ถูกมองข้ามด้วยความสงสัยจากผู้ที่เราช่วยเหลือ จะเป็นที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งหากการทำดีของเราจะต้องมาเปรอะเปื้อน หรือถูกทำให้ด้อยค่าลงด้วยข้อข้องใจต่างๆ เหล่านี้ อย่างไรก็ตามหลังจากที่ตำรวจไทยได้ทำสืบสวนอย่างถี่ถ้วนแล้ว ผมหวังว่าความเข้าใจผิดต่างๆจะถูกแก้ไขในไม่ช้าเพื่อที่เราจะได้รับความเชื่อมั่นจากเพื่อนต่างชาติของเรากลับคืนมา
เมื่อกล่าวถึงความเชื่อมั่น หลังผมได้พบกับภาคเอกชนยุโรป ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ผมก็ได้รับทราบว่าพวกเขามีความเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของพื้นฐานเศรษฐกิจไทย และการที่การปฏิรูปทางการเมืองของเรามีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง หลังเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน ก็เป็นเวลาที่เราจะเดินไปข้างหน้าเพื่อสร้างประชาธิปไตยของเราให้เข้มแข็ง
ตัวแทนธุรกิจระดับสูงบางคนจากประเทศในทวีปยุโรป ถึงกับเสนอที่จะเป็นผู้สื่อสารกับรัฐบาลของตัวเอง โดยใช้ประสบการณ์และความคิดของตน เพื่อให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปได้เข้าใจถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ว่าการรัฐประหารในประเทศไทย ไม่เหมือนการรัฐประหารในประเทศอื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปตามตำรา ดังนั้นรัฐบาลต่างชาติจะมาใช้มาตรฐานของตนมาวัดการรัฐประหารครั้งนี้มิได้ มันช่างน่าแปลก ที่การอธิบายปรากฏการณ์รัฐประหารในประเทศไทยแก่รัฐบาลต่างชาติด้วยความเข้าใจอย่างถูกต้องดังกล่าว กลับตกอยู่ในมือของนักธุรกิจ ไม่ใช่ในมือของสถานทูตต่างชาติในประเทศไทย
เมื่อพูดถึงเพื่อนในยามยาก ผมขอแสดงความชื่นชมเป็นอย่างสูงต่อท่านเอกอัครราชฑูต ราล์ฟ บอยซ์ แห่งสหรัฐอเมริกา และท่านเอกอัครราชฑูต จาง จิวหวน แห่งประเทศจีนสำหรับการแสดงความปรารถนาดีต่อประเทศไทยมาโดยตลอด ผมขอแสดงความขอบคุณความพยายามของตัวแทนจากยุโรปหลายประเทศในระหว่างการประชุมสหภาพยุโรปที่ได้แสดงจุดยืนที่เป็นบวกต่อการพัฒนาการ ทางการเมืองไทย ในขณะที่บางประเทศกลับมีท่าทีต่อต้านประเทศไทยอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง
เวลาเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่าประเทศไทยได้อยู่ในกำมือของคนที่เหมาะสมแล้ว และประเทศไทยก็กำลังก้าวไปสู่การเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มตัวเราจะมีการเลือกตั้งก่อนสิ้นปีนี้
ผมเชื่อมั่นว่าประเทศไทยกำลังเดินไปในแนวทางที่ถูกต้อง และเพื่อนของเราหลายๆ ประเทศก็ได้พยายามที่จะแสดงความปรารถนาดีต่อเรา เช่นการเยือนประเทศไทยจากอดีตประธานาธิบดีสหรัฐทั้งสามท่าน เมื่อเร็วๆ นี้ และการที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงชาวยุโรปได้เดินทางมาจัดพิธีแต่งงานตามประเพณีไทย
แต่ผมก็เศร้าใจเมื่อได้รับทราบว่าชาวต่างชาติระดับวีไอพีบางคน ได้รับคำเตือนจากสถานฑูตของประเทศของพวกเขาในกรุงเทพฯ ให้งดเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ผมหวังว่าสัญญาณที่เป็นบวกในเรื่องความก้าวหน้าทางการเมืองของไทย จะทำให้คนเหล่านี้เปลี่ยนใจในไม่ช้า
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2550 นี้ ประเทศเยอรมันนี จะเข้ารับตำแหน่งประมุขของสหภาพยุโรป แล้วจะต่อด้วยประเทศโปรตุเกส เมื่อมองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ของประเทศของเรา เยอรมันนีและประเทศไทยล้วนแต่เป็นประเทศที่มีบทเรียนร่วมกันในเรื่องที่ว่า การเลือกตั้งมิได้นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย และการที่ถึงแม้จะไม่ได้รับการสนับสนุนและความเข้าใจจากเพื่อน ประเทศของเราก็สามารถพัฒนาได้และกลับมาเข้มแข็งมากกว่าที่เคยเป็นอยู่เสียอีก ตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่ของเราทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน ประเทศเยอรมันนีได้พิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่าท่านเป็นมิตรแท้ฝ่ายยุโรปของเรา
ดังนั้นผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ภายใต้การนำของเยอรมันนี สัมพันธภาพระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรปจะเป็นไปในทางสร้างสรรค์กว่าที่ผ่านมา
คำแปลจดหมาย
จากเอกอัครราชฑูตเยอรมันประจำประเทศไทย ดร. คริสตอฟ เบรมเมอร์
ในข้อเขียนเรื่อง การต่างประเทศ: มิตรภาพและความท้าทาย (27 ม.ค.) กุลกุมุท สิงหรา ณ อยุธยา อธิบดีกรมยุโรป แห่งกระทรวงต่างประเทศไทย ได้ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจหลายประการอย่างตรงไปตรงมา ผมขอตอบข้อสังเกตดังกล่าว ทั้งในฐานะตัวแทนของประมุขสหภาพยุโรป และในฐานะเอกอัครราชฑูตเยอรมันประจำประเทศไทย
เรียนคุณกุลกุมุท
สำหรับเราชาวยุโรป ประเทศไทยนั้นนอกจากจะเป็น (และยังคงเป็น) ประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยยังเป็นมิตรประเทศอีกด้วย สิ่งที่คุณประเมินเกี่ยวกับปฏิกริยาของสหภาพยุโรปต่อการรัฐประหารในประเทศไทย (คำแถลงการณ์ของ สหภาพยุโรป วันที่ 29 กันยายน 2549) นั้น เป็นไปในทางขัดแย้งกับสิ่งดังกล่าวข้างต้น หากเราไม่ร่วมนิยมยินดีต่อการยึดอำนาจโดยกองทัพ ว่าเป็นสิ่งที่ดี คุณไม่ควรจะตำหนิเรา แต่ควรจะยอมรับความเป็นจริงกับตัวเองก่อน กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผมอยากจะหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความกังวลใจของเราต่อประชาธิปไตยในประเทศไทยนั้น เป็นความกังวลเดียวกันกับความกังวลใจของประเทศไทย การที่พร่ำเพ้อเกี่ยวกับเพื่อนที่ดีและเพื่อนที่ไม่ค่อยดีนั้น เป็นการพูดที่หลงประเด็น
ในฐานะที่เป็นอธิบดีกรมยุโรป คุณควรจะทราบดีว่านโยบายออกมาเป็นมติร่วมจากสหภาพยุโรปเท่านั้น ที่ถือเป็นท่าทีอย่างเป็นทางการของสหภาพยุโรป ไม่ว่าเบื้องหลังการลงมติต่อนโยบายนั้นจะมีความขัดแย้งกันในหมู่สมาชิกอย่างไรก็ตาม แม้ว่ากระบวนการตัดสินใจในนโยบายดังกล่าวจะยากลำบาก และขัดแย้งกันอย่างมากก็ตาม
กลุ่มนักการฑูตสหภาพยุโรปหลายคณะ รวมทั้งหัวหน้าคณะ ที่ได้ประชุมกันเดือนละหนึ่งครั้ง ที่กรุงเทพฯ นี้ด้วยล้วนเป็นบุคลากรและมือไม้ของสหภาพยุโรป ในการให้คำแนะนำปรึกษา ร่วมมือ และประเมินสถานการณ์ทั่วไปโดยละเอียด สู่กรุงบรัสเซลล์ เมืองหลวงของสหภาพยุโรป ประเทศฟินแลนด์เพิ่งจะส่งผ่านวาระการเป็นประมุขของสหภาพยุโรปมาสู่ประเทศเยอรมันนี ซึ่งในวาระของประเทศฟินแลนด์ ก็ได้ทำหน้าที่ได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง และน่าชื่นชมยกย่องเป็นอย่างยิ่ง ผมสงสัยว่าการที่จะทำหน้าที่ ผู้นำอย่างสร้างสรรค์มากขึ้นกว่าที่ประเทศฟินแลนด์ ได้ทำไปนั้นจะทำได้อย่างไร
สำหรับการที่คุณได้กล่าวในเชิงทับถม เกี่ยวกับ มาตรฐานของรัฐบาลต่างชาติว่า ไม่สามารถนำมาใช้กับเหตุการณ์ในประเทศไทยได้นั้น คุณควรจะทราบดีว่า นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ ของคุณ ได้เป็นผู้กล่าวไว้เอง ในช่วงเริ่มต้นของรัฐบาลปัจจุบัน หลังจากที่เราได้แสดงให้ทราบว่าเราต้องการเห็นการกลับสู่ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทยโดยด่วน นายกรัฐมนตรี สุรุยุทธ์ จุลานนท์ ได้กล่าวกับคณะเอกอัครราชทูตจากสหภาพยุโรปว่า
"มาตรฐานของคุณก็คือมาตรฐานเดียวกับของผม" ผมคงไม่ต้องกล่าวว่า เราชอบคำตอบด้วยความเข้าใจแบบนี้ เพราะมันย้ำให้เราเชื่อว่า ประเทศทั้งสองมีจุดยืนร่วมกัน และยังเป็นการตอบที่ไม่หยิ่งยโสอีกด้วย
ประการที่สอง ดูเหมือนคุณจะสัมผัสได้ว่านักธุรกิจต่างชาติส่วนใหญ่ในประเทศไทย ต่างทำธุรกิจกันตามปกติ และมีปฏิกิริยาในเชิงบวกต่อสถานการณ์ในประเทศไทย ซึ่งผมจะไม่กล่าวถึงเรื่องนี้ให้ยืดยาวไป แต่ผมอยากจะขอให้คุณอย่าได้ประเมินความกังวลของนักธุรกิจที่กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ต่ำเกินไป ซึ่งความกังวลต่างๆ ก็เป็นความกังวลอย่างเป็นมิตร และผมก็รู้สึกขอบคุณอย่างมากต่อการที่ นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ เพิ่งจะกล่าวอย่างชัดเจนว่าประเทศไทยยังต้องการมีเครดิตว่า เป็นประเทศที่เปิดและเป็นมิตรต่อการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ
ประการที่สาม คุณกำลังตำหนิคนอย่างผม ในการที่ทวงถามให้มีการตรวจบัญชีจากนักบัญชีที่เป็นกลาง สำหรับการกล่าวหาว่ามีการใช้เงินช่วยเหลือภัยพิบัติ สึนามิ อย่างผิดจุดประสงค์ คุณกุลกุมุทที่รัก ขอได้โปรดอย่าทำให้ความสัมพันธ์อันยอดเยี่ยมระหว่างประเทศไทยกับต่างชาติในเรื่องการบรรเทาทุกข์สึนามิ ต้องมาแปดเปื้อนเลย
กรณีนี้เป็นตัวอย่างอันประเสริฐ ของความสำเร็จ ที่มาจากการมีสปิริต และความเห็นอกเห็นใจกันของเพื่อนในยามเกิดภัยพิบัติ และความน่าสรรเสริญนี้ ผมไม่อยากจะเห็นมันสูญหายไป จะต้องยกให้กับการร่วมมือกันอย่างมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จระหว่างนานาชาติ กับตำรวจไทย ในการพิสูจน์ศพสิ่งที่ยิ่งใหญ่เหล่านี้ จะเอามาเปรียบกับข้อกล่าวหาในการใช้เงินผิดประเภท และในการที่เราร้องขออย่างถ่อมตัวให้มีการตรวจสอบข้อกล่าวหาดังกล่าว ไม่ได้เลย
อย่างไรก็ตามที่สำคัญมากกว่านั้น และคุณควรจะทราบดีก็คือ ข้อกล่าวหาเหล่านั้นมาจากฝ่ายไทยเอง ซึ่งสิ่งที่เราทำก็เพียงแต่ ไม่เอาหูไปนาเอาตาไปไร่เท่านั้นเอง
ดังนั้นสำหรับการขอร้องเรื่องสุดท้ายจากผมถึงคุณ คุณกุลกุมุท ก็คือ อย่าขอให้เพื่อนของคุณปิดหูปิดตา และยิ่งไปกว่านั้นก็คือ อย่าสงสัยในมิตรภาพระหว่างเราอีกด้วย
คริสตอฟ เบรมเมอร์
เอกอัครราชฑูตเยอรมันนี
ผู้แปล คุณตุ้ยนุ้ย แปลลงในเวปพันทิพย์
บทความข้างล่างนี้ นำมาจากเวปไซต์พันทิพย์ มีผู้แปลจากภาษาอังกฤษ (ในลิงค์ข้างล่าง) เป็นภาษาไทย เนื้อหาเป็นจดหมายโต้ตอบของข้าราชการไทยในกระทรวงการต่างประเทศ แสดงการตัดพ้อต่อว่ากลุ่มสหภาพยุโรปที่แสดงท่าที่ไม่ยอมรับการปฏิวัติเมื่อวันที่ ๑๙ ก.ย. ไปยังเอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ในฐานะตัวแทนประมุขอียู ที่จะเวียนมาเป็นวาระของประเทศเยอรมัน , ท่านเอกอัคราชทูตได้มีจดหมายตอบกลับ ซึ่งตีแสกหน้าใครหลายๆคน ได้อย่างไม่ปิดบังอำพราง เชิญอ่านครับ
http://www.nationmultimedia.com/2007/01/29/headlines/headlines_30025408.php
จดหมายสองฉบับข้างล่างนี้เป็นการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศไทย และ เอกอัครราชฑูตของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตึงเครียดทางการฑูตระหว่างกรุงเทพฯ และตะวันตก ในกรณีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน นักวิเคราะห์ผู้ซึ่งคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับคำสาปของทักษิณเชื่อมั่นว่า ความขัดแย้งครั้งนี้จะไม่จบลงง่ายๆ แน่นอน
คำแปล
การต่างประเทศ: มิตรภาพและความท้าทาย
โดย นาย กุลกุมุท สิงหรา ณ อยุธยา อธิบดีกรมยุโรป กระทรวงต่างประเทศ ความเห็นข้างล่างนี้เป็นความเห็นส่วนตัว มิได้เป็นความเห็นในนามรัฐบาลไทย
ปีที่แล้วเป็นปีที่พิเศษสำหรับชาวไทย เนื่องจากเป็นปีที่เราเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี และยังเป็นปีที่การเมืองไทยเข้าสู่จุดสำคัญ เนื่องจากทางตันทางการเมืองได้ถูกผ่าออกจนได้ เมื่อประเทศไทยของเราอยู่ในคราวเจริญรุ่งเรือง เพื่อนของเราก็มาร่วมยินดีมีสุข แต่เมื่อเราถึงคราวคับขัน เพื่อนหลายคนก็แสดงน้ำใจและให้ความเข้าใจแก่เรา ในขณะที่เพื่อนบางคนกับชี้นิ้วตราหน้าเรา และสั่งสอนอบรมเรา
ขอให้ผมได้เริ่มจากความทรงจำของการสูญเสียที่เราทั้งหมดได้รับร่วมกัน เมื่อคลื่นสึนามิ ได้พัดพาจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ชายฝั่งไทย เมื่อสองปีที่แล้วไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าคนไทยทั้งหมด ได้ทุ่มเทแรงใจ และความโอบอ้อมอารีในฐานะเจ้าบ้าน เพื่อช่วยผู้ประสบเคราะห์ โดยไม่เลือกสัญชาติ หรือศาสนา
รัฐบาลไทยไม่เพียงแต่ตอบสนองการร้องขอความช่วยเหลือของเพื่อนในทันที แต่เรายังช่วยให้ความสะดวกทุกประการเท่าที่จะเป็นไปได้ ในการให้ความช่วยเหลือชาวต่างชาติ ตั้งแต่ให้เฮลิคอบเตอร์ออกบินตลอด 24 ชั่วโมง จนถึงการจัดการอนุญาตให้เปิดสถานกงสุลที่ภูเก็ตอย่างเร่งด่วน ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วันหลังเกิดเหตุการณ์ เพื่อช่วยส่งให้เพื่อนและผู้เป็นที่รักของเพื่อนของเรากลับบ้าน ชาวไทยได้แสดงความปรารถนาดี และความจริงใจต่อเพื่อน แม้กระนั้นความเอื้ออารีของเราก็ถูกมองข้ามด้วยความสงสัยจากผู้ที่เราช่วยเหลือ จะเป็นที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งหากการทำดีของเราจะต้องมาเปรอะเปื้อน หรือถูกทำให้ด้อยค่าลงด้วยข้อข้องใจต่างๆ เหล่านี้ อย่างไรก็ตามหลังจากที่ตำรวจไทยได้ทำสืบสวนอย่างถี่ถ้วนแล้ว ผมหวังว่าความเข้าใจผิดต่างๆจะถูกแก้ไขในไม่ช้าเพื่อที่เราจะได้รับความเชื่อมั่นจากเพื่อนต่างชาติของเรากลับคืนมา
เมื่อกล่าวถึงความเชื่อมั่น หลังผมได้พบกับภาคเอกชนยุโรป ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ผมก็ได้รับทราบว่าพวกเขามีความเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของพื้นฐานเศรษฐกิจไทย และการที่การปฏิรูปทางการเมืองของเรามีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง หลังเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน ก็เป็นเวลาที่เราจะเดินไปข้างหน้าเพื่อสร้างประชาธิปไตยของเราให้เข้มแข็ง
ตัวแทนธุรกิจระดับสูงบางคนจากประเทศในทวีปยุโรป ถึงกับเสนอที่จะเป็นผู้สื่อสารกับรัฐบาลของตัวเอง โดยใช้ประสบการณ์และความคิดของตน เพื่อให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปได้เข้าใจถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ว่าการรัฐประหารในประเทศไทย ไม่เหมือนการรัฐประหารในประเทศอื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปตามตำรา ดังนั้นรัฐบาลต่างชาติจะมาใช้มาตรฐานของตนมาวัดการรัฐประหารครั้งนี้มิได้ มันช่างน่าแปลก ที่การอธิบายปรากฏการณ์รัฐประหารในประเทศไทยแก่รัฐบาลต่างชาติด้วยความเข้าใจอย่างถูกต้องดังกล่าว กลับตกอยู่ในมือของนักธุรกิจ ไม่ใช่ในมือของสถานทูตต่างชาติในประเทศไทย
เมื่อพูดถึงเพื่อนในยามยาก ผมขอแสดงความชื่นชมเป็นอย่างสูงต่อท่านเอกอัครราชฑูต ราล์ฟ บอยซ์ แห่งสหรัฐอเมริกา และท่านเอกอัครราชฑูต จาง จิวหวน แห่งประเทศจีนสำหรับการแสดงความปรารถนาดีต่อประเทศไทยมาโดยตลอด ผมขอแสดงความขอบคุณความพยายามของตัวแทนจากยุโรปหลายประเทศในระหว่างการประชุมสหภาพยุโรปที่ได้แสดงจุดยืนที่เป็นบวกต่อการพัฒนาการ ทางการเมืองไทย ในขณะที่บางประเทศกลับมีท่าทีต่อต้านประเทศไทยอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง
เวลาเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่าประเทศไทยได้อยู่ในกำมือของคนที่เหมาะสมแล้ว และประเทศไทยก็กำลังก้าวไปสู่การเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มตัวเราจะมีการเลือกตั้งก่อนสิ้นปีนี้
ผมเชื่อมั่นว่าประเทศไทยกำลังเดินไปในแนวทางที่ถูกต้อง และเพื่อนของเราหลายๆ ประเทศก็ได้พยายามที่จะแสดงความปรารถนาดีต่อเรา เช่นการเยือนประเทศไทยจากอดีตประธานาธิบดีสหรัฐทั้งสามท่าน เมื่อเร็วๆ นี้ และการที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงชาวยุโรปได้เดินทางมาจัดพิธีแต่งงานตามประเพณีไทย
แต่ผมก็เศร้าใจเมื่อได้รับทราบว่าชาวต่างชาติระดับวีไอพีบางคน ได้รับคำเตือนจากสถานฑูตของประเทศของพวกเขาในกรุงเทพฯ ให้งดเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ผมหวังว่าสัญญาณที่เป็นบวกในเรื่องความก้าวหน้าทางการเมืองของไทย จะทำให้คนเหล่านี้เปลี่ยนใจในไม่ช้า
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2550 นี้ ประเทศเยอรมันนี จะเข้ารับตำแหน่งประมุขของสหภาพยุโรป แล้วจะต่อด้วยประเทศโปรตุเกส เมื่อมองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ของประเทศของเรา เยอรมันนีและประเทศไทยล้วนแต่เป็นประเทศที่มีบทเรียนร่วมกันในเรื่องที่ว่า การเลือกตั้งมิได้นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย และการที่ถึงแม้จะไม่ได้รับการสนับสนุนและความเข้าใจจากเพื่อน ประเทศของเราก็สามารถพัฒนาได้และกลับมาเข้มแข็งมากกว่าที่เคยเป็นอยู่เสียอีก ตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่ของเราทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน ประเทศเยอรมันนีได้พิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่าท่านเป็นมิตรแท้ฝ่ายยุโรปของเรา
ดังนั้นผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ภายใต้การนำของเยอรมันนี สัมพันธภาพระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรปจะเป็นไปในทางสร้างสรรค์กว่าที่ผ่านมา
คำแปลจดหมาย
จากเอกอัครราชฑูตเยอรมันประจำประเทศไทย ดร. คริสตอฟ เบรมเมอร์
ในข้อเขียนเรื่อง การต่างประเทศ: มิตรภาพและความท้าทาย (27 ม.ค.) กุลกุมุท สิงหรา ณ อยุธยา อธิบดีกรมยุโรป แห่งกระทรวงต่างประเทศไทย ได้ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจหลายประการอย่างตรงไปตรงมา ผมขอตอบข้อสังเกตดังกล่าว ทั้งในฐานะตัวแทนของประมุขสหภาพยุโรป และในฐานะเอกอัครราชฑูตเยอรมันประจำประเทศไทย
เรียนคุณกุลกุมุท
สำหรับเราชาวยุโรป ประเทศไทยนั้นนอกจากจะเป็น (และยังคงเป็น) ประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยยังเป็นมิตรประเทศอีกด้วย สิ่งที่คุณประเมินเกี่ยวกับปฏิกริยาของสหภาพยุโรปต่อการรัฐประหารในประเทศไทย (คำแถลงการณ์ของ สหภาพยุโรป วันที่ 29 กันยายน 2549) นั้น เป็นไปในทางขัดแย้งกับสิ่งดังกล่าวข้างต้น หากเราไม่ร่วมนิยมยินดีต่อการยึดอำนาจโดยกองทัพ ว่าเป็นสิ่งที่ดี คุณไม่ควรจะตำหนิเรา แต่ควรจะยอมรับความเป็นจริงกับตัวเองก่อน กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผมอยากจะหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความกังวลใจของเราต่อประชาธิปไตยในประเทศไทยนั้น เป็นความกังวลเดียวกันกับความกังวลใจของประเทศไทย การที่พร่ำเพ้อเกี่ยวกับเพื่อนที่ดีและเพื่อนที่ไม่ค่อยดีนั้น เป็นการพูดที่หลงประเด็น
ในฐานะที่เป็นอธิบดีกรมยุโรป คุณควรจะทราบดีว่านโยบายออกมาเป็นมติร่วมจากสหภาพยุโรปเท่านั้น ที่ถือเป็นท่าทีอย่างเป็นทางการของสหภาพยุโรป ไม่ว่าเบื้องหลังการลงมติต่อนโยบายนั้นจะมีความขัดแย้งกันในหมู่สมาชิกอย่างไรก็ตาม แม้ว่ากระบวนการตัดสินใจในนโยบายดังกล่าวจะยากลำบาก และขัดแย้งกันอย่างมากก็ตาม
กลุ่มนักการฑูตสหภาพยุโรปหลายคณะ รวมทั้งหัวหน้าคณะ ที่ได้ประชุมกันเดือนละหนึ่งครั้ง ที่กรุงเทพฯ นี้ด้วยล้วนเป็นบุคลากรและมือไม้ของสหภาพยุโรป ในการให้คำแนะนำปรึกษา ร่วมมือ และประเมินสถานการณ์ทั่วไปโดยละเอียด สู่กรุงบรัสเซลล์ เมืองหลวงของสหภาพยุโรป ประเทศฟินแลนด์เพิ่งจะส่งผ่านวาระการเป็นประมุขของสหภาพยุโรปมาสู่ประเทศเยอรมันนี ซึ่งในวาระของประเทศฟินแลนด์ ก็ได้ทำหน้าที่ได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง และน่าชื่นชมยกย่องเป็นอย่างยิ่ง ผมสงสัยว่าการที่จะทำหน้าที่ ผู้นำอย่างสร้างสรรค์มากขึ้นกว่าที่ประเทศฟินแลนด์ ได้ทำไปนั้นจะทำได้อย่างไร
สำหรับการที่คุณได้กล่าวในเชิงทับถม เกี่ยวกับ มาตรฐานของรัฐบาลต่างชาติว่า ไม่สามารถนำมาใช้กับเหตุการณ์ในประเทศไทยได้นั้น คุณควรจะทราบดีว่า นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ ของคุณ ได้เป็นผู้กล่าวไว้เอง ในช่วงเริ่มต้นของรัฐบาลปัจจุบัน หลังจากที่เราได้แสดงให้ทราบว่าเราต้องการเห็นการกลับสู่ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทยโดยด่วน นายกรัฐมนตรี สุรุยุทธ์ จุลานนท์ ได้กล่าวกับคณะเอกอัครราชทูตจากสหภาพยุโรปว่า
"มาตรฐานของคุณก็คือมาตรฐานเดียวกับของผม" ผมคงไม่ต้องกล่าวว่า เราชอบคำตอบด้วยความเข้าใจแบบนี้ เพราะมันย้ำให้เราเชื่อว่า ประเทศทั้งสองมีจุดยืนร่วมกัน และยังเป็นการตอบที่ไม่หยิ่งยโสอีกด้วย
ประการที่สอง ดูเหมือนคุณจะสัมผัสได้ว่านักธุรกิจต่างชาติส่วนใหญ่ในประเทศไทย ต่างทำธุรกิจกันตามปกติ และมีปฏิกิริยาในเชิงบวกต่อสถานการณ์ในประเทศไทย ซึ่งผมจะไม่กล่าวถึงเรื่องนี้ให้ยืดยาวไป แต่ผมอยากจะขอให้คุณอย่าได้ประเมินความกังวลของนักธุรกิจที่กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ต่ำเกินไป ซึ่งความกังวลต่างๆ ก็เป็นความกังวลอย่างเป็นมิตร และผมก็รู้สึกขอบคุณอย่างมากต่อการที่ นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ เพิ่งจะกล่าวอย่างชัดเจนว่าประเทศไทยยังต้องการมีเครดิตว่า เป็นประเทศที่เปิดและเป็นมิตรต่อการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ
ประการที่สาม คุณกำลังตำหนิคนอย่างผม ในการที่ทวงถามให้มีการตรวจบัญชีจากนักบัญชีที่เป็นกลาง สำหรับการกล่าวหาว่ามีการใช้เงินช่วยเหลือภัยพิบัติ สึนามิ อย่างผิดจุดประสงค์ คุณกุลกุมุทที่รัก ขอได้โปรดอย่าทำให้ความสัมพันธ์อันยอดเยี่ยมระหว่างประเทศไทยกับต่างชาติในเรื่องการบรรเทาทุกข์สึนามิ ต้องมาแปดเปื้อนเลย
กรณีนี้เป็นตัวอย่างอันประเสริฐ ของความสำเร็จ ที่มาจากการมีสปิริต และความเห็นอกเห็นใจกันของเพื่อนในยามเกิดภัยพิบัติ และความน่าสรรเสริญนี้ ผมไม่อยากจะเห็นมันสูญหายไป จะต้องยกให้กับการร่วมมือกันอย่างมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จระหว่างนานาชาติ กับตำรวจไทย ในการพิสูจน์ศพสิ่งที่ยิ่งใหญ่เหล่านี้ จะเอามาเปรียบกับข้อกล่าวหาในการใช้เงินผิดประเภท และในการที่เราร้องขออย่างถ่อมตัวให้มีการตรวจสอบข้อกล่าวหาดังกล่าว ไม่ได้เลย
อย่างไรก็ตามที่สำคัญมากกว่านั้น และคุณควรจะทราบดีก็คือ ข้อกล่าวหาเหล่านั้นมาจากฝ่ายไทยเอง ซึ่งสิ่งที่เราทำก็เพียงแต่ ไม่เอาหูไปนาเอาตาไปไร่เท่านั้นเอง
ดังนั้นสำหรับการขอร้องเรื่องสุดท้ายจากผมถึงคุณ คุณกุลกุมุท ก็คือ อย่าขอให้เพื่อนของคุณปิดหูปิดตา และยิ่งไปกว่านั้นก็คือ อย่าสงสัยในมิตรภาพระหว่างเราอีกด้วย
คริสตอฟ เบรมเมอร์
เอกอัครราชฑูตเยอรมันนี
ผู้แปล คุณตุ้ยนุ้ย แปลลงในเวปพันทิพย์
No comments:
Post a Comment