ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)
พระไตรปิฎกสำคัญเพียงใด
เมื่อพูดมาถึงขั้นนี้ก็รวมความได้ว่า พระไตรปิฎก ก็คือที่รวบรวมพระธรรมวินัย คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าเป็นพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า นี่แหละคือศาสดาของชาวพุทธทั้งหลาย เราจึงได้ถือกันมาเป็นหลักว่า จะต้องรักษาแล้วก็เล่าเรียน และปฏิบัติตามหลักคำสอนในพระไตรปิฎกนี้ พร้อมกันนั้นก็ใช้คำสั่งสอน คือพระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกนี้แหละเป็นหลักเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการตัดสินความเชื่อถือและการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ว่าเป็นพระพุทธ ศาสนาหรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามที่ได้รวบรวมประมวลสังคายนาและรักษาสืบต่อไว้ในพระไตรปิฎก หรือคลาดเคลื่อนจากนั้น ก็ไม่ใช่พระพุทธศาสนา ถ้าถูกต้องตามนั้นก็เป็นพระพุทธศาสนา
สิ่งที่เราเล่าเรียนปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นด้านวินัยของพระภิกษุสงฆ์ เช่น การบวช การมีโบสถ์ การสร้างกุฏิ การกรานกฐิน และสังฆกรรมต่างๆ การใช้ไตรจีวรของพระภิกษุ การที่พระภิกษุทำอะไรได้หรือไม่ได้ การที่จะต้องอาบัติต่างๆ มีปาราชิกเป็นต้น
เมื่อพูดมาถึงขั้นนี้ก็รวมความได้ว่า พระไตรปิฎก ก็คือที่รวบรวมพระธรรมวินัย คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าเป็นพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า นี่แหละคือศาสดาของชาวพุทธทั้งหลาย เราจึงได้ถือกันมาเป็นหลักว่า จะต้องรักษาแล้วก็เล่าเรียน และปฏิบัติตามหลักคำสอนในพระไตรปิฎกนี้ พร้อมกันนั้นก็ใช้คำสั่งสอน คือพระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกนี้แหละเป็นหลักเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการตัดสินความเชื่อถือและการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ว่าเป็นพระพุทธ ศาสนาหรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามที่ได้รวบรวมประมวลสังคายนาและรักษาสืบต่อไว้ในพระไตรปิฎก หรือคลาดเคลื่อนจากนั้น ก็ไม่ใช่พระพุทธศาสนา ถ้าถูกต้องตามนั้นก็เป็นพระพุทธศาสนา
สิ่งที่เราเล่าเรียนปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นด้านวินัยของพระภิกษุสงฆ์ เช่น การบวช การมีโบสถ์ การสร้างกุฏิ การกรานกฐิน และสังฆกรรมต่างๆ การใช้ไตรจีวรของพระภิกษุ การที่พระภิกษุทำอะไรได้หรือไม่ได้ การที่จะต้องอาบัติต่างๆ มีปาราชิกเป็นต้น
หรือการที่ชาวบ้านจะทำบุญทำทาน คำว่าทานก็ดี คำว่าบุญก็ดี เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา ไตรสิกขา ภาวนาต่างๆ ขันธ์๕ ไตรลักษณ์ อริยสัจจ์ ตลอดถึงพระนิพพาน ก็ล้วนมาจากพระไตรปิฎกทั้งนั้น ถ้าไม่มีพระไตรปิฎก เราก็ไม่รู้จักถ้อยคำเหล่านี้เลย และพระภิกษุก็ไม่มีมาตรฐานที่จะวัดว่าตัวประพฤติปฏิบัติอย่างไรถูก อย่างไรผิด อะไรเป็นอาบัติปาราชิก อะไรเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ไม่มีพระไตรปิฎกเสียอย่างเดียว เป็นอันหมดสิ้น คือหมดสิ้นพระพุทธศาสนานั่นเอง
เป็นอันว่าเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ เราก็ฟังคำสั่งสอนของพระองค์จากพระพุทธเจ้าโดยตรง แต่เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เราต้องการพระพุทธศาสนา คือ ต้องการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เราจะไปเอาจากที่ไหน ก็ต้องไปเอาจากที่ท่านรวบรวมประมวลไว้ ซึ่งถ่ายทอดสืบต่อกันมาในพระไตรปิฎก เพราะพระไตรปิฎกเป็นที่รักษาสืบทอดพระพุทธศาสนาไว้ หรือรักษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้
พระไตรปิฎกยุคท่องจำ แม่นยำแค่ไหน
ทีนี้การรักษาสืบต่อพระไตรปิฎกนั้นท่านทำกันมาอย่างไร เรื่องนี้ต้องแบ่งเป็น ๒ ยุค คือ
๑. ยุคที่สืบต่อมาด้วยการทรงจำด้วยปากเปล่า เรียกว่ามุขปาฐะหรือมุขปาฐ และ
๒. ยุคที่ได้จารึกเป็นตัวอักษร เช่นในใบลาน เป็นต้น
ช่วงแรก เป็นยุคของการรักษาไว้ด้วยการทรงจำ โดยสวด หรือสาธยาย แต่ก่อนนี้อาตมาเองก็เคยสงสัย เหมือนหลายคนสงสัยว่าเมื่อรักษาด้วยการทรงจำ ก็น่ากลัวว่าจะมีการคลาดเคลื่อนเลอะเลือนหลงลืมไป แต่เมื่อเวลาผ่านมา ได้พิจารณาไตร่ตรอง และได้เห็นหลักฐานและหลักการต่างๆ ก็กลายเป็นว่า การรักษาด้วยการท่อง โดยสวดแล้วทรงจำไว้นั่นแหละ เป็นวิธีที่แม่นยำยิ่งกว่ายุคที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร
ที่ว่าอย่างนั้นเพราะอะไร? เพราะว่าการท่อง ที่จะทรงจำพระไตรปิฎก หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า ธรรมวินัยนั้นท่านทำด้วยวิธีสวดพร้อมกัน คือ คล้ายกับที่เราสวดมนต์กันทุกวันนี้แหละ เวลาสวดมนต์พร้อมกัน เช่นสวดกัน ๑๐ คน ๒๐ คน ๕๐ คน ๑๐๐ คนนั้น จะต้องสวดตรงกันหมดทุกถ้อยคำ จะตกหล่นตัดขาดหายไปก็ไม่ได้ จะเพิ่มแม้คำเดียวก็ไม่ได้ เพราะจะขัดกัน ดีไม่ดีก็สวดล้มไปเลย เพราะฉะนั้น การที่จะสวดโดยคนจำนวนมากๆ ให้เป็นไปด้วยดี ให้สอด คล้องกลมกลืนกัน ก็จะต้องสวดเหมือนกันหมด ท่านจึงรักษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้ด้วยวิธีนี้ คือทรงจำพระไตรปิฎกด้วยวิธีสวดพร้อมกันจำนวนมากๆ
พระสงฆ์ทั้งหลายนั้นท่านเห็นความสำคัญของพระไตรปิฎก เพราะรู้อยู่ว่า นี้แหละคือพระพุทธศาสนา ถ้าหมดพระไตรปิฎกเมื่อไร พระพุทธศาสนาก็หมดไปเมื่อนั้น ถ้าพระไตรปิฎกเคลื่อนคลาดไป พระพุทธศาสนาก็เคลื่อนคลาดไปด้วย พระเถระรุ่นก่อนนั้น ถือความสำคัญของพระไตรปิฎกเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ในยุคที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ก็ต้องถึงกับพูดกันว่า อักษรจารึกพระธรรมของพระพุทธเจ้านี้ อักษรเดียวมีค่าเท่ากับพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เพราะฉะนั้น ถ้ามองในแง่บวก ก็คือว่าต้องช่วยกันรักษาไว้ให้ดี แม้แต่จารึกหรือสนับสนุนการจารึกเพียงนิดหน่อยก็เป็นบุญเป็นกุศลมาก แต่มองในแง่ลบก็คือ ถ้าใครไปทำให้ผิดพลาด แม้แต่อักษรเดียว ก็เหมือนทำลายพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เป็นบาปมาก นี่แหละ ท่านให้ความสำคัญถึงอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระเถระรุ่นก่อน ท่านจึงระวังมากในเรื่องการรักษาทรงจำพระไตรปิฎกไม่ให้ผิดเพี้ยน รวมความว่า
๑. มีความระมัดระวังเห็นเป็นสำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นตัวพระพุทธศาสนา
๒.ถือเป็นงานของส่วนรวมโดยเฉพาะพระเถระผู้ใหญ่ ผู้นำหมู่คณะ และพระสงฆ์ทั้งหมดในพระพุทธศาสนา จะต้องเอาธุระในการดูแลรักษาอย่างยิ่ง
เป็นอันว่า การรักษาด้วยวิธีเดิม คือการทรงจำด้วยการสาธยายนั้น เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุด เพราะรักษาโดยส่วนรวมที่สวดพร้อมกัน แต่พร้อมกันนั้นแต่ละองค์ก็มีหน้าที่ต้องท่องจำอยู่แล้ว โดยจะต้องมีการซักซ้อม และทบทวนกันอยู่เสมอ ซึ่งปรากฏแม้แต่ในสมัยนี้ ในพม่าก็ยังรักษาประเพณีนี้ไว้ กล่าวคือในยุคนี้ ทั้งๆ ที่มีคัมภีร์จารึกและพิมพ์เป็นเล่มหนังสือแล้ว เขาก็ยังพยายามสนับสนุนพระภิกษุให้ทรงจำพระไตรปิฎก ในพม่าปัจจุบันยังมีประเพณีเป็นทางการของบ้านเมืองคือ มีการสอบพระภิกษุที่มาสมัครเพื่อจะแสดงความสามารถในการทรงจำพระไตรปิฎก พระภิกษุองค์ใดสอบผ่านแสดงว่าทรงจำพระไตรปิฎกได้หมด ซึ่งถ้านับเป็นตัวหนังสือพิมพ์เป็นอักษรไทย ก็ได้ ๔๕ เล่ม ๒๒,๐๐๐ กว่าหน้า ถ้าท่านจำได้หมด ทางการจะตั้งให้เป็น พระติปิฏกธร แปลว่า ผู้ทรงจำพระไตรปิฎก ได้เป็นพระเป็นที่เคารพนับถือองค์หนึ่ง และทางรัฐบาลจะเลี้ยงดูโยมพ่อแม่ของพระภิกษุนั้น และอุปถัมภ์บำรุงด้วยประการต่างๆ เดี๋ยวนี้ก็ยังมีพระติปิฏกธร คือพระภิกษุรูปเดียวที่สามารถจำพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด ๒๒,๐๐๐ กว่าหน้า ให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ไม่ใช่สิ่งเหลือวิสัย นี่คือองค์เดียวเท่านั้น ก็ยังจำไหว ในสมัยโบราณต้องใช้วิธีทรงจำโดยท่องปากเปล่าอย่างนี้ เพราะไม่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะฉะนั้น พระภิกษุทั้งหลายก็ทรงจำกันไว้ องค์ไหนทรงจำไว้ได้มากที่สุด ก็จะได้รับความเชื่อถือและเคารพนับถือ
พระไตรปิฎกยุคจารึกเป็นลายลักษณ์ ถือเป็นหลักของชาติ จึงคงอยู่ได้ด้วยดี
ต่อมาถึง พ.ศ.ใกล้ ๕๐๐ จึงได้เริ่มมีการใช้วิธีจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรลงในใบลาน พอถึงยุคจารึกลงในใบลานนี้แหละกลายเป็นยุคที่จะมีความคลาดเคลื่อนได้ง่าย เพราะคนเริ่มประมาทว่า เออ เรามีใบลาน มีหนังสือที่จารึกไว้แล้ว อยากรู้ก็ไปเปิดดูและตรวจสอบได้ง่าย เราไม่ต้องจำให้มาก ไปๆ มาๆ การสวดสาธยายพระไตรปิฎกก็เหลืออยู่แค่สวดมนต์ อย่างทำวัตรสวดมนต์ที่เราเห็นๆ กันอยู่ คนก็จำพุทธพจน์ได้น้อยลงๆ เหลือน้อยลงไปทุกที
นอกจากนั้น ในการคัดลอกเป็นลายลักษณ์อักษรที่เรียกว่า จาร เวลาคัดลอกกันทีหนึ่ง ก็อดไม่ได้ที่จะมีการตกหล่นหรือผิดเพี้ยนเช่นตัว จ เป็น ว หรือตัว ว เป็น จ เป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงต้องมีการคัดลอกในระดับที่เป็นทางการใหญ่ของคณะสงฆ์ทั้งหมด หรือเป็นระดับของประเทศชาติ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ประเทศพุทธศาสนาทุกประเทศ จะถือเรื่องนี้เป็นสำคัญ จะต้องมีพระไตรปิฎกฉบับหลวงเป็นของราชการ เป็นของแผ่นดิน เป็นของประเทศชาติ รักษาไว้เป็นหลักของกลาง แล้วมาคัดลอกต่อๆ กันไป นานๆ จึงต้องมีการมาประชุมกันระดับชาติ แล้วก็เอามาตรวจสอบกัน เอามาทานกัน ตรงไหนตกหล่น ผิดพลาดไป ก็ทำเชิงอรรถไว้ คือถือเรื่องความบริสุทธิ์บริบูรณ์ของพระไตรปิฎกเป็นเรื่องสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะนี้คือองค์แทนที่แท้ของพระพุทธเจ้า ที่เป็นพระศาสดา และเป็นตัวพระพุทธศาสนา
จะเห็นว่า ประเทศพุทธศาสนาทุกประเทศถือเรื่องพระไตรปิฎกเป็นหลักสำคัญยิ่ง เวลานำพระพุทธศาสนาไปประเทศต่างๆ ก็คือจะต้องนำพระไตรปิฎกไป อย่างพระเจ้าอโนรธามังช่อ ที่เป็นมหาราชของพุกาม ผู้เป็นต้นความยิ่งใหญ่ของพม่า ที่ปราบมอญลงได้ ตอนนั้นมอญนับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้าอนุรุทธมหาราช หรือพระเจ้าอโนรธามังช่อไปปราบมอญได้แล้ว หันมานับถือพระพุทธศาสนา ก็นำเอาพระไตรปิฎกจากมอญไปยังพุกาม พระภิกษุทั้งหลายเดินทางไปมาระหว่างประเทศในสมัยโบราณ ก็เพื่อศึกษาพระไตรปิฎก คัดลอกพระไตรปิฎก และอรรถกถา
พระเจ้าแผ่นดินไทยแต่ละยุค เวลาสร้างบ้านเมืองใหม่ ก็ทรงถือเรื่องพระไตรปิฎกเป็นการสำคัญ เช่นเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก ถูกพม่าเผา พระเจ้ากรุงธนบุรีรวบรวมประเทศชาติได้ ทรงตั้งเมืองหลวงใหม่ที่กรุงธนบุรี พอตั้งเมืองหลวงเสร็จ ก็จัดการเรื่องคณะสงฆ์ หาพระภิกษุที่น่าเคารพนับถือมาสถาปนาเป็นองค์สมเด็จพระสังฆราช เสร็จแล้วภาระใหญ่อันสำคัญที่พระองค์ทำ ก็คือให้รวบรวมพระไตรปิฎก เพราะว่าอยุธยาถูกเผา พระคัมภีร์ถูกไฟไหม้ไปแล้ว ก็โปรดให้ไปรวบรวมพระไตรปิฎกจากหัวเมือง ทั้งเมืองเหนือ เมืองใต้ เอามาเลือกคัดจัดตั้งเป็นสมบัติกลางไว้ที่เมืองหลวง เพื่อเป็นหลักของบ้านเมืองต่อไป
พอมาถึงแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ สมัยกรุงเทพฯก็เหมือนกัน พอเริ่มตั้งกรุง เมื่อจัดบ้านเมืองพอเข้าที่ สิ่งที่พระองค์ทรงรีบทำ คือเรื่องของพระไตรปิฎก ถึงกับมีการสังคายนาของกรุงเทพฯ ขึ้นมา ครั้นสังคายนาเสร็จเรียบร้อย สอบทานได้พระไตรปิฎกมาเป็นหลัก ก็จัดตั้งเป็นฉบับหลวงของแผ่นดิน จึงเป็นที่รู้กันว่า การรักษาพระไตรปิฎกเป็นงานสำคัญอย่างยิ่งยวดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในยุคทรงจำด้วยปาก การรักษาพระไตรปิฎกก็คือ ท่องพร้อมกัน สวดพร้อมกัน มาสอบทานกันด้วยวาจาอยู่เสมอ ต่อมาในยุคที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็คือเอาคัมภีร์ที่จารึกไว้ทั้งหลาย มาเทียบเคียงสอบทานกันอยู่เสมอการสอบทานกันนี้ เป็นความหมายของการสังคายนาในยุคหลัง ซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์ว่า พระไตรปิฎกของเราที่เป็นบาลี จะไปอยู่ในพม่า ไปเป็นของสิงหลอยู่ในลังกาไปอยู่ในประเทศไทย หรือไปอยู่ในประเทศไหน แม้แต่ฝรั่งเอาไปคัดลอกเป็นฉบับอักษรโรมัน ก็เหมือนกันหมด เนื้อหาอย่างเดียวกัน จะมีแปลกไปก็เพราะพิมพ์ผิดนิดๆ หน่อยๆ อย่างของเรามีอยู่แห่งหนึ่ง ตกหล่นไป ยาวหน่อย สักครึ่งค่อนหน้า ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่มากแล้ว หมายความว่า พระไตรปิฎกบาลีของเถรวาทเรานี้ ไม่ว่าจะเป็นของประเทศไหน ทั้งๆ ที่อยู่ห่างไกลกันไป แสนนาน ก็ยังเหมือนกัน เนื้อหาอย่างเดียวกัน แสดงถึงการที่ท่านให้ความสำคัญกับการรักษา
ในเวลาที่เรามีการตรวจชำระพระไตรปิฎกครั้งหนึ่ง เราก็เอาของทุกประเทศมาสอบทานเทียบเคียงกัน เพื่อดูว่ามีข้อความถ้อยคำหรืออักษรตัวไหนผิดเพี้ยนกันไหม แม้แต่เล็กๆ น้อยๆ เพียงว่า อักษร จ เป็น ว เราก็จะทำเชิงอรรถไว้ว่า ตรงนี้ฉบับของเราเป็นอย่างนี้ ฉบับพม่าหรือฉบับไหนเป็นอย่างนั้น อย่างชื่อพระอัญญาโกณฑัญญะ ก็มีการผิดเพี้ยนกันไปนิดหน่อย ฉบับของเราเป็นอัญญาโกณฑัญญะ ฉบับอักษรโรมันของ Pali Text Society เป็นอัญญาตโกณฑัญญะ เป็นต้น ความแตกต่างแม้แต่นิดเดียวเราก็บันทึกไว้ให้รู้ในเชิงอรรถ
No comments:
Post a Comment