ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเบื้องต้นกับการร่างรัฐธรรมนูญ
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์
๑. ประชาธิปไตยเบื้องต้น
๑.๑ ท่านทั้งหลายส่วนมากย่อมสังเกตได้ว่าในการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์นั้น มนุษย์ได้ใช้สัญญาณที่แสดงออกโดยท่าทาง กริยา อิริยาบถ และอาการต่าง ๆ นอกจากภาษาพูดและภาษาเขียนซึ่งมีผู้ประดิษฐ์ขึ้นในโลกประมาณ ๕,๐๐๐ ปี มานี้เอง หลายศัพท์ในภาษาต่าง ๆ ก็เพิ่งมีผู้คิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เช่นคำว่า “ประชาธิปไตย” นั้นเพิ่งมีผู้ตั้งเป็นศัพท์เมื่อประมาณ ๕๐ ปีมาแล้ว ฉะนั้นเราไม่ควรอาศัยเพียงแต่ภาษาพูดกับภาษาเขียนเป็นหลักวินิจฉัยว่า ปวงชนชาวไทยและมนุษยชาติไม่รู้จักการปกครองประชาธิปไตยเพราะไม่เข้าใจความหมายของศัพท์ว่าประชาธิปไตย แม้ผู้แสดงตนว่าเข้าใจประชาธิปไตยบางคนก็ยังใช้คำนี้ต่างกับความหมายของสถาบันแห่งชาติ คือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานและพจนานุกรมสำหรับนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งได้ให้ความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตย” อันเป็นสัญญาณของปวงชนไว้ว่า
“แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่”
เราควรพิจารณาว่าในยุคที่มนุษยชาติยังไม่มีภาษาเขียนและยังไม่มีผู้ใดคิดศัพท์ “ประชาธิปไตย” หรือศัพท์ในภาษาอื่น ๆ ที่เทียบได้กับคำนั้น มนุษยชาติได้รู้จักการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่หรือไม่
ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในหลายบทความแล้วว่าระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นตามธรรมชาติพร้อมกันกับการมีมนุษยชาติในโลกนี้ ต่อมาระบอบประชาธิปไตยปฐมกาลได้ถูกทำลายโดยระบอบทาสและระบบศักดินา
ปวงชนชาวไทยสมัยก่อนที่จะตกอยู่ภายใต้ระบบทาสกับระบบศักดินานั้นก็มิได้มีลักษณะพิเศษแตกต่างกับมนุษยชาติในโลกที่จะไม่รู้จักการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่
หากปวงชนชาวไทยรู้จักปกครองสังคม หรือกลุ่มชนของตนโดยถือมติปวงชนเป็นส่วนใหญ่มาแล้วตั้งยุคดึกดำบรรพ์ ต่อมาเมื่อตกอยู่ภายใต้ระบบทาสกับระบบศักดินา จึงทำให้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยปฐมกาลนั้นเสื่อมไปในชั่วระยะเวลาหลายพันปี แม้กระนั้นซากแห่งการปกครองประชาธิปไตยก็ยังเหลืออยู่บ้าง
ในชนบทก่อนรัฐประหาร ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ คือยังมีธรรมเนียมประเพณีซึ่งบทกฎหมายที่ขีดเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรรับรองว่าผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้ปกครองหมู่บ้านนั้นเป็นผู้ที่ราษฎรในหมู่บ้านเลือกตั้งขึ้น ถ้าตำแหน่งเจ้าอาวาสของวัดในชนบทว่างลง ทางคณะสงฆ์ก็ปรึกษาพระภิกษุในวัดกับชาวบ้านคัดเลือกเจ้าอาวาสองค์ใหม่ การทำนาในหลายท้องที่ก็มีการลงแขกช่วยกันไถนา ดำนา เกี่ยวข้าว และต่างก็ช่วยกันในการปลูกที่พักอาศัยหลายแห่ง ฯลฯ
อาการกิริยาที่ราษฎรในชนบทแสดงออกนั้นเป็นส่วนหนึ่งแห่งประชาธิปไตยปฐมกาลที่ยังมีซากตกค้างอยู่ ถ้าหากผู้ใดถามราษฎรว่าประชาธิปไตยคืออะไร ราษฎรทุกคนก็ยังไม่อาจตอบให้ถูกต้องได้เพราะศัพท์นั้นเป็นคำที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในภาษาไทย
การที่ปวงชนชาวไทยได้รับพระราชทานสิทธิประชาธิปไตยคืนจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ โดยคณะราษฎรเป็นผู้นำขอพระราชทานนั้น ได้ทำให้พวกที่มีซากทรรศนะทาสและทรรศนะศักดินาเกิดความไม่พอใจ จึงได้พยายามต่อต้านด้วยกลวิธีต่าง ๆ รวมทั้งใส่ความว่าราษฎรไม่เข้าใจประชาธิปไตยบ้าง ไม่เข้าใจคำว่า “รัฐธรรมนูญ” คืออะไรบ้าง และเสกสรรค์ปั้นแต่งว่าราษฎรเข้าใจผิดไปว่า “รัฐธรรมนูญ คือลูกพระยาพหล” ผู้ที่ไม่ศึกษาถึงประวัติของคำนี้ก็พากันหลงเชื่อคำว่าโฆษณานั้นแล้วนำมาเล่าต่อ ๆ กัน ถ้าหากเราปรารถนาสัจจะแห่งประวัติของคำนี้ว่าเป็นมาอย่างไร เราก็อาจทราบได้ว่าคำว่า “รัฐธรรมนูญ” นั้น เพิ่งมีผู้เสนอขึ้นในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕
ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยามนั้นใช้คำว่า “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” แต่คณะอนุกรรมการการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ เห็นว่าควรใช้คำว่า “รัฐธรรมนูญ” ซึ่งเป็นศัพท์ที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อกะทัดรัด จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกศัพท์ที่ตั้งขึ้นใหม่นั้น ในระยะแรก ๆ ราษฎรไม่เข้าใจได้ทั่วถึง อย่างไรก็ตามผู้มีใจเป็นธรรมซึ่งไม่หลงเชื่อคำบอกเล่าง่าย ๆ เช่นท่านที่เคยเป็นครูและนักเรียนในโรงเรียนประถมและมัธยม ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕ – พ.ศ. ๒๔๙๐ นั้น คงยังจำกันได้ว่า ท่านเคยสอนและเคยเรียนตามหลักสูตรสมัยนั้น
ท่านที่เป็นเจ้าหน้าที่ปกครองท้องที่รวมทั้งกำนั้นผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้นก็เคยชี้แจงให้ราษฎรเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญคืออะไร และการปกครองประชาธิปไตยคืออะไร เป็นพื้นเบื้องต้นที่ราษฎรพอเข้าใจได้ และวิทยุกรมโฆษณากลาง (ต่อมาสมัยหลังเปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์) ก็ได้จัดกระจายเสียงคำอธิบายพร้อมทั้งเพลงประกอบแทบทุกวัน ผู้มีใจเป็นธรรมย่อมไม่ใส่ความราษฎรไทยว่าไม่มีสติปัญญาพอที่จะเข้าใจได้
แต่ภายหลังรัฐประหาร ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ แล้วการชี้แจงให้ราษฎรเข้าใจถึงประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ได้ลดน้อยลงไป และภายหลังที่สถาปนาระบอบเผด็จการขึ้นแล้ว การชี้แจงให้ราษฎรเข้าใจประชาธิปไตยสมบูรณ์ก็หยุดชะงักลง จึงทำให้บางคนที่มิได้รับการศึกษาจากโรงเรียนประถมและมัธยมเหมือนระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๐ ไม่เข้าใจหรือเสแสร้งทำเป็นไม่เข้าใจ ผู้ศึกษาประวัติการปกครองย่อมค้นคว้าหลักฐานที่เป็นสัจจะได้อีกว่ารัฐบาลพหลฯได้เสนอพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๗๗ ต่อมาผู้แทนราษฎรซึ่งให้ความเห็นชอบออกเป็นกฎหมายได้ รัฐบาลก็ได้แถลงเจตนารมณ์ให้ราษฎรทราบทั่วกันว่าในการออกกฎหมายนั้น ก็เพื่อให้ราษฎรปกครองตนเองโดยถือมติปวงชนเป็นใหญ่ ตั้งแต่ชั้นตำบลขึ้นมาจนถึงเมืองและนคร เพื่อวางพื้นฐานประชาธิปไตยจากชั้นท้องถิ่นประกอบด้วยประชาธิปไตยระดับชาติทางสภาผู้แทนราษฎร เทศบาลเมืองได้จัดตั้งขึ้นทุกจังหวัด ส่วนเทศบาลตำบลได้จัดตั้งมากหลายตามกำลังของจำนวนผู้ตรวจการเทศบาลที่จะอบรมขึ้นมาได้
แต่ภายหลังเกิดระบอบเผด็จการแล้วระบอบนั้นก็อ้างเหตุผลอย่างเดียวกันกับซากทรรศนะทาสและทรรศนะศักดินาว่า ราษฎรยังไม่รู้เรื่องประชาธิปไตย จึงได้ยุบสภาเทศบาลซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกนั้นเสีย แล้วแต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามที่เจ้าหน้าที่ของระบบเผด็จการเห็นชอบ
ข้าพเจ้าวิตกว่าถ้าหากยังมีผู้หลงเชื่อคำโฆษณาของผู้เห็นว่าไม่ควรเปลี่ยนระบอบสมบูรณาฯ ที่ใช้เป็นข้ออ้างว่าความพยายามของรัฐบาลโดยวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๐ ไม่อาจทำให้ราษฎรทราบแม้แต่เบื้องต้นว่า ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญคืออะไรแล้ว นิสิตนักศึกษาปัจจุบันที่มีความปรารถนาดีอุทิศตนเผยแพร่ประชาธิปไตยแก่ราษฎรนั้น จะได้ผลเพียงใดภายในเวลาไม่กี่เดือนเพราะจำนวนผู้เผยแพร่น้อยกว่าจำนวนครู และพนักงานท้องที่ดังกล่าวข้างบนนั้น
แต่ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใสและมีความเชื่อว่านิสิต นักศึกษามีสติปัญญาพอโดยอาศัยสามัญสำนึกอันเป็นตรรกวิทยาเบื้องต้นของมนุษยชนนั้นเป็นหลักวินิจฉัยว่า คำโฆษณาของผู้เห็นว่าไม่ควรเปลี่ยนระบอบสมบูรณาฯ นั้นควรได้รับความเชื่อถือหรือไม่โดยที่ผู้ปรารถนาดีหลายท่านต้องการทราบความเห็นของข้าพเจ้าเกี่ยวกับประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ และการร่างรัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าจึงสนองศรัทธาโดยเขียนบทความนี้เพื่อประกอบการพิจารณาของท่านทั้งหลาย
๑.๒ สำหรับผู้ที่รู้หลักภาษาไทยอยู่บ้างก็พอทราบได้ว่าคำว่า “ประชาธิปไตย” ประกอบขึ้นด้วยคำไทย ๒ คำคือ คำว่า “ประชา” ซึ่งหมายถึง หมู่คนหรือปวงชน กับคำว่า “อธิปไตย” ซึ่งหมายถึงอำนาจสูงสุด คำว่า “ประชาธิปไตย” ตามมูลศัพท์จึงหมายถึง “อำนาจสูงสุดของปวงชน” ดังนั้นแบบการปกครองประชาธิปไตยจึงต้องถือมติปวงชนเป็นใหญ่
ส่วนผู้ปรารถนาหาความเข้าใจจากคำอังกฤษ “Democracy” คำฝรั่งเศส “Democratie” หรือคำเยอรมัน “Demokratie” นั้นก็อาจทราบได้ว่าคำฝรั่งทั้งสามคำนั้นแผลงมาจากคำกรีก “Demokratia” ซึ่งมาจากมูลศัพท์ “Demos” แปลว่า “ปวงชน” (สมุหนามของชนทั้งหลายหรือราษฎรทั้งหลาย) ผสมกับคำว่า “Kratos” แปลว่าอำนาจ และ “Kratein” แปลว่าการปกครอง จึงมีความหมายว่า อำนาจสูงสุดของปวงชนการปกครองโดยมติของปวงชน
ดังนั้นไม่ว่าจะตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานกับฉบับสำหรับนักเรียนหรือตามความหมายของมูลศัพท์ หรือตามความหมายของคำฝรั่งต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว คำว่า “ประชาธิปไตย” จะมีความหมายเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากความหมาย “แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่” เพราะอำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนซึ่งมีสิทธิกับหน้าที่ตามธรรมชาติของมนุษยชน
๑.๓ การที่ประชาธิปไตยถือมติปวงชนเป็นใหญ่ก็เพื่อราษฎรทั้งหลายที่ประกอบเป็นปวงชนนั้นได้มีรัฐบาลของปวงชนซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นโดยตรงหรือโดยทางสภาผู้แทนราษฎร จึงจะเป็นรัฐบาลที่กระทำการเพื่อประโยชน์ของราษฎรทั้งหลายให้มีความอุดมสมบูรณ์ในการครองชีพและปลอดภัยจากการกดขี่เบียดเบียนระหว่างกัน อีกทั้งเพื่อให้ราษฎรทั้งหลายประพฤติต่อกันตามศีลธรรมอันดีของประชาชน ชาติจึงจะดำรงคงมีความมีเอกราชและพัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้
ชาติหนึ่ง ๆ ปัจจุบันนี้ประกอบด้วยชนที่มีฐานะและวิถีดำรงชีพต่าง ๆ กัน ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งถืออภิสิทธิ์ชน ซึ่งเป็นคนจำนวนน้อยในชาติ กับอีกฝ่ายหนึ่งคือสามัญชนซึ่งเป็นคนจำนวนส่วนข้างมากในชาติ
อภิสิทธิ์ชนได้แก่บุคคลที่มีฐานะพิเศษตามระบบศักดินา และบุคคลที่เป็นเจ้าสมบัติสมัยใหม่ มีทุนยิ่งใหญ่มหาศาลเป็นจักรวรรดินิยมเป็นบรมธนานุภาพเหนือกว่านายทุนผู้รักชาติที่ทำมาหากินโดยสุจริต อภิสิทธิ์ชน หมายความถึงลูกสมุนที่ยอมตนเป็นเครื่องมือของอภิสิทธิ์ชนด้วย
๑.๑ ท่านทั้งหลายส่วนมากย่อมสังเกตได้ว่าในการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์นั้น มนุษย์ได้ใช้สัญญาณที่แสดงออกโดยท่าทาง กริยา อิริยาบถ และอาการต่าง ๆ นอกจากภาษาพูดและภาษาเขียนซึ่งมีผู้ประดิษฐ์ขึ้นในโลกประมาณ ๕,๐๐๐ ปี มานี้เอง หลายศัพท์ในภาษาต่าง ๆ ก็เพิ่งมีผู้คิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เช่นคำว่า “ประชาธิปไตย” นั้นเพิ่งมีผู้ตั้งเป็นศัพท์เมื่อประมาณ ๕๐ ปีมาแล้ว ฉะนั้นเราไม่ควรอาศัยเพียงแต่ภาษาพูดกับภาษาเขียนเป็นหลักวินิจฉัยว่า ปวงชนชาวไทยและมนุษยชาติไม่รู้จักการปกครองประชาธิปไตยเพราะไม่เข้าใจความหมายของศัพท์ว่าประชาธิปไตย แม้ผู้แสดงตนว่าเข้าใจประชาธิปไตยบางคนก็ยังใช้คำนี้ต่างกับความหมายของสถาบันแห่งชาติ คือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานและพจนานุกรมสำหรับนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งได้ให้ความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตย” อันเป็นสัญญาณของปวงชนไว้ว่า
“แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่”
เราควรพิจารณาว่าในยุคที่มนุษยชาติยังไม่มีภาษาเขียนและยังไม่มีผู้ใดคิดศัพท์ “ประชาธิปไตย” หรือศัพท์ในภาษาอื่น ๆ ที่เทียบได้กับคำนั้น มนุษยชาติได้รู้จักการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่หรือไม่
ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในหลายบทความแล้วว่าระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นตามธรรมชาติพร้อมกันกับการมีมนุษยชาติในโลกนี้ ต่อมาระบอบประชาธิปไตยปฐมกาลได้ถูกทำลายโดยระบอบทาสและระบบศักดินา
ปวงชนชาวไทยสมัยก่อนที่จะตกอยู่ภายใต้ระบบทาสกับระบบศักดินานั้นก็มิได้มีลักษณะพิเศษแตกต่างกับมนุษยชาติในโลกที่จะไม่รู้จักการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่
หากปวงชนชาวไทยรู้จักปกครองสังคม หรือกลุ่มชนของตนโดยถือมติปวงชนเป็นส่วนใหญ่มาแล้วตั้งยุคดึกดำบรรพ์ ต่อมาเมื่อตกอยู่ภายใต้ระบบทาสกับระบบศักดินา จึงทำให้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยปฐมกาลนั้นเสื่อมไปในชั่วระยะเวลาหลายพันปี แม้กระนั้นซากแห่งการปกครองประชาธิปไตยก็ยังเหลืออยู่บ้าง
ในชนบทก่อนรัฐประหาร ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ คือยังมีธรรมเนียมประเพณีซึ่งบทกฎหมายที่ขีดเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรรับรองว่าผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้ปกครองหมู่บ้านนั้นเป็นผู้ที่ราษฎรในหมู่บ้านเลือกตั้งขึ้น ถ้าตำแหน่งเจ้าอาวาสของวัดในชนบทว่างลง ทางคณะสงฆ์ก็ปรึกษาพระภิกษุในวัดกับชาวบ้านคัดเลือกเจ้าอาวาสองค์ใหม่ การทำนาในหลายท้องที่ก็มีการลงแขกช่วยกันไถนา ดำนา เกี่ยวข้าว และต่างก็ช่วยกันในการปลูกที่พักอาศัยหลายแห่ง ฯลฯ
อาการกิริยาที่ราษฎรในชนบทแสดงออกนั้นเป็นส่วนหนึ่งแห่งประชาธิปไตยปฐมกาลที่ยังมีซากตกค้างอยู่ ถ้าหากผู้ใดถามราษฎรว่าประชาธิปไตยคืออะไร ราษฎรทุกคนก็ยังไม่อาจตอบให้ถูกต้องได้เพราะศัพท์นั้นเป็นคำที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในภาษาไทย
การที่ปวงชนชาวไทยได้รับพระราชทานสิทธิประชาธิปไตยคืนจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ โดยคณะราษฎรเป็นผู้นำขอพระราชทานนั้น ได้ทำให้พวกที่มีซากทรรศนะทาสและทรรศนะศักดินาเกิดความไม่พอใจ จึงได้พยายามต่อต้านด้วยกลวิธีต่าง ๆ รวมทั้งใส่ความว่าราษฎรไม่เข้าใจประชาธิปไตยบ้าง ไม่เข้าใจคำว่า “รัฐธรรมนูญ” คืออะไรบ้าง และเสกสรรค์ปั้นแต่งว่าราษฎรเข้าใจผิดไปว่า “รัฐธรรมนูญ คือลูกพระยาพหล” ผู้ที่ไม่ศึกษาถึงประวัติของคำนี้ก็พากันหลงเชื่อคำว่าโฆษณานั้นแล้วนำมาเล่าต่อ ๆ กัน ถ้าหากเราปรารถนาสัจจะแห่งประวัติของคำนี้ว่าเป็นมาอย่างไร เราก็อาจทราบได้ว่าคำว่า “รัฐธรรมนูญ” นั้น เพิ่งมีผู้เสนอขึ้นในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕
ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยามนั้นใช้คำว่า “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” แต่คณะอนุกรรมการการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ เห็นว่าควรใช้คำว่า “รัฐธรรมนูญ” ซึ่งเป็นศัพท์ที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อกะทัดรัด จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกศัพท์ที่ตั้งขึ้นใหม่นั้น ในระยะแรก ๆ ราษฎรไม่เข้าใจได้ทั่วถึง อย่างไรก็ตามผู้มีใจเป็นธรรมซึ่งไม่หลงเชื่อคำบอกเล่าง่าย ๆ เช่นท่านที่เคยเป็นครูและนักเรียนในโรงเรียนประถมและมัธยม ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕ – พ.ศ. ๒๔๙๐ นั้น คงยังจำกันได้ว่า ท่านเคยสอนและเคยเรียนตามหลักสูตรสมัยนั้น
ท่านที่เป็นเจ้าหน้าที่ปกครองท้องที่รวมทั้งกำนั้นผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้นก็เคยชี้แจงให้ราษฎรเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญคืออะไร และการปกครองประชาธิปไตยคืออะไร เป็นพื้นเบื้องต้นที่ราษฎรพอเข้าใจได้ และวิทยุกรมโฆษณากลาง (ต่อมาสมัยหลังเปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์) ก็ได้จัดกระจายเสียงคำอธิบายพร้อมทั้งเพลงประกอบแทบทุกวัน ผู้มีใจเป็นธรรมย่อมไม่ใส่ความราษฎรไทยว่าไม่มีสติปัญญาพอที่จะเข้าใจได้
แต่ภายหลังรัฐประหาร ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ แล้วการชี้แจงให้ราษฎรเข้าใจถึงประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ได้ลดน้อยลงไป และภายหลังที่สถาปนาระบอบเผด็จการขึ้นแล้ว การชี้แจงให้ราษฎรเข้าใจประชาธิปไตยสมบูรณ์ก็หยุดชะงักลง จึงทำให้บางคนที่มิได้รับการศึกษาจากโรงเรียนประถมและมัธยมเหมือนระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๐ ไม่เข้าใจหรือเสแสร้งทำเป็นไม่เข้าใจ ผู้ศึกษาประวัติการปกครองย่อมค้นคว้าหลักฐานที่เป็นสัจจะได้อีกว่ารัฐบาลพหลฯได้เสนอพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๗๗ ต่อมาผู้แทนราษฎรซึ่งให้ความเห็นชอบออกเป็นกฎหมายได้ รัฐบาลก็ได้แถลงเจตนารมณ์ให้ราษฎรทราบทั่วกันว่าในการออกกฎหมายนั้น ก็เพื่อให้ราษฎรปกครองตนเองโดยถือมติปวงชนเป็นใหญ่ ตั้งแต่ชั้นตำบลขึ้นมาจนถึงเมืองและนคร เพื่อวางพื้นฐานประชาธิปไตยจากชั้นท้องถิ่นประกอบด้วยประชาธิปไตยระดับชาติทางสภาผู้แทนราษฎร เทศบาลเมืองได้จัดตั้งขึ้นทุกจังหวัด ส่วนเทศบาลตำบลได้จัดตั้งมากหลายตามกำลังของจำนวนผู้ตรวจการเทศบาลที่จะอบรมขึ้นมาได้
แต่ภายหลังเกิดระบอบเผด็จการแล้วระบอบนั้นก็อ้างเหตุผลอย่างเดียวกันกับซากทรรศนะทาสและทรรศนะศักดินาว่า ราษฎรยังไม่รู้เรื่องประชาธิปไตย จึงได้ยุบสภาเทศบาลซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกนั้นเสีย แล้วแต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามที่เจ้าหน้าที่ของระบบเผด็จการเห็นชอบ
ข้าพเจ้าวิตกว่าถ้าหากยังมีผู้หลงเชื่อคำโฆษณาของผู้เห็นว่าไม่ควรเปลี่ยนระบอบสมบูรณาฯ ที่ใช้เป็นข้ออ้างว่าความพยายามของรัฐบาลโดยวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๐ ไม่อาจทำให้ราษฎรทราบแม้แต่เบื้องต้นว่า ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญคืออะไรแล้ว นิสิตนักศึกษาปัจจุบันที่มีความปรารถนาดีอุทิศตนเผยแพร่ประชาธิปไตยแก่ราษฎรนั้น จะได้ผลเพียงใดภายในเวลาไม่กี่เดือนเพราะจำนวนผู้เผยแพร่น้อยกว่าจำนวนครู และพนักงานท้องที่ดังกล่าวข้างบนนั้น
แต่ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใสและมีความเชื่อว่านิสิต นักศึกษามีสติปัญญาพอโดยอาศัยสามัญสำนึกอันเป็นตรรกวิทยาเบื้องต้นของมนุษยชนนั้นเป็นหลักวินิจฉัยว่า คำโฆษณาของผู้เห็นว่าไม่ควรเปลี่ยนระบอบสมบูรณาฯ นั้นควรได้รับความเชื่อถือหรือไม่โดยที่ผู้ปรารถนาดีหลายท่านต้องการทราบความเห็นของข้าพเจ้าเกี่ยวกับประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ และการร่างรัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าจึงสนองศรัทธาโดยเขียนบทความนี้เพื่อประกอบการพิจารณาของท่านทั้งหลาย
๑.๒ สำหรับผู้ที่รู้หลักภาษาไทยอยู่บ้างก็พอทราบได้ว่าคำว่า “ประชาธิปไตย” ประกอบขึ้นด้วยคำไทย ๒ คำคือ คำว่า “ประชา” ซึ่งหมายถึง หมู่คนหรือปวงชน กับคำว่า “อธิปไตย” ซึ่งหมายถึงอำนาจสูงสุด คำว่า “ประชาธิปไตย” ตามมูลศัพท์จึงหมายถึง “อำนาจสูงสุดของปวงชน” ดังนั้นแบบการปกครองประชาธิปไตยจึงต้องถือมติปวงชนเป็นใหญ่
ส่วนผู้ปรารถนาหาความเข้าใจจากคำอังกฤษ “Democracy” คำฝรั่งเศส “Democratie” หรือคำเยอรมัน “Demokratie” นั้นก็อาจทราบได้ว่าคำฝรั่งทั้งสามคำนั้นแผลงมาจากคำกรีก “Demokratia” ซึ่งมาจากมูลศัพท์ “Demos” แปลว่า “ปวงชน” (สมุหนามของชนทั้งหลายหรือราษฎรทั้งหลาย) ผสมกับคำว่า “Kratos” แปลว่าอำนาจ และ “Kratein” แปลว่าการปกครอง จึงมีความหมายว่า อำนาจสูงสุดของปวงชนการปกครองโดยมติของปวงชน
ดังนั้นไม่ว่าจะตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานกับฉบับสำหรับนักเรียนหรือตามความหมายของมูลศัพท์ หรือตามความหมายของคำฝรั่งต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว คำว่า “ประชาธิปไตย” จะมีความหมายเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากความหมาย “แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่” เพราะอำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนซึ่งมีสิทธิกับหน้าที่ตามธรรมชาติของมนุษยชน
๑.๓ การที่ประชาธิปไตยถือมติปวงชนเป็นใหญ่ก็เพื่อราษฎรทั้งหลายที่ประกอบเป็นปวงชนนั้นได้มีรัฐบาลของปวงชนซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นโดยตรงหรือโดยทางสภาผู้แทนราษฎร จึงจะเป็นรัฐบาลที่กระทำการเพื่อประโยชน์ของราษฎรทั้งหลายให้มีความอุดมสมบูรณ์ในการครองชีพและปลอดภัยจากการกดขี่เบียดเบียนระหว่างกัน อีกทั้งเพื่อให้ราษฎรทั้งหลายประพฤติต่อกันตามศีลธรรมอันดีของประชาชน ชาติจึงจะดำรงคงมีความมีเอกราชและพัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้
ชาติหนึ่ง ๆ ปัจจุบันนี้ประกอบด้วยชนที่มีฐานะและวิถีดำรงชีพต่าง ๆ กัน ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งถืออภิสิทธิ์ชน ซึ่งเป็นคนจำนวนน้อยในชาติ กับอีกฝ่ายหนึ่งคือสามัญชนซึ่งเป็นคนจำนวนส่วนข้างมากในชาติ
อภิสิทธิ์ชนได้แก่บุคคลที่มีฐานะพิเศษตามระบบศักดินา และบุคคลที่เป็นเจ้าสมบัติสมัยใหม่ มีทุนยิ่งใหญ่มหาศาลเป็นจักรวรรดินิยมเป็นบรมธนานุภาพเหนือกว่านายทุนผู้รักชาติที่ทำมาหากินโดยสุจริต อภิสิทธิ์ชน หมายความถึงลูกสมุนที่ยอมตนเป็นเครื่องมือของอภิสิทธิ์ชนด้วย
ในทางปฏิบัตินั้นอภิสิทธิ์ชนก็มีกำลังทรัพย์ใช้เป็นทุนในการเลือกตั้งได้ยิ่งกว่าผู้สมัครสอบรับเลือกตั้งที่เป็นฝ่ายสามัญอยู่แล้ว ถ้าหากตัวแทนของอภิสิทธิ์ชนได้เป็นวุฒิสมาชิกโดยไม่ต้องรับเลือกจากราษฎร อภิสิทธิ์ชนกับลูกสมุนก็สามารถผูกขาดอำนาจการปกครองไว้โดยเด็ดขาดตลอดกาล ชาติก็จะมีรัฐบาลของอภิสิทธิ์ชนตลอดกาล โดยแต่งตั้งจากอภิสิทธิ์ชนตลอดกาล เป็นรัฐบาลที่กระทำการเพื่ออภิสิทธิ์ชนตลอดกาล
อภิสิทธิ์ชนก็เป็นผู้เสวยผลผลิตของชาติที่เกิดขึ้นด้วยน้ำพักน้ำแรงของปวงชนตลอดกาล อันเป็นการเบียดเบียนสามัญชนคนส่วนมากซึ่งจะมีความอัตคัดขัดสนยิ่งขึ้น ปวงชนที่เป็นพลังสำคัญของชาติก็จะอ่อนเปลี้ยลงซึ่งเป็นการบั่นทอนการพัฒนาก้าวหน้า และการดำรงความเป็นเอกราชของชาติ ดังนั้นประโยชน์ของราษฎรทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นปวงชนและเพื่อประโยชน์ของชาติ แบบการปกครองประชาธิปไตยจึงต้องถือตามมติปวงชนเป็นใหญ่
๑.๔ ทรรศนะประชาธิปไตยเป็นทรรศนะที่เกิดขึ้นจากสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่จะต้องสัมพันธ์กันอยู่เป็นกลุ่มชน หรือสังคม หรือเป็นชาติไม่มีบุคคลใดจะอยู่โดดเดี่ยวโดยลำพังได้ มนุษย์จึงต้องมีทรรศนะที่เป็นหลักนำความประพฤติของตนเพื่ออยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์อื่นในชาติเดียวกันเพื่อให้ชาติดำรงอยู่และเพื่อพัฒนาเติบโตก้าวหน้าต่อไปได้ ทรรศนะประชาธิปไตยจึงเป็นทรรศนะที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งประโยชน์ส่วนรวมของปวงชน แม้ว่ามนุษย์มีเสรีภาพส่วนบุคคลตามธรรมชาติ แต่มนุษย์ก็มีหน้าที่ตามธรรมชาติในการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อมิให้เสียหายแก่เพื่อนมนุษย์อื่น และเพื่อให้ชาติดำรงอยู่กับเติบโตพัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้ ดังนั้นตั้งแต่ยุคปฐมกาลจึงมีธรรมจริยาซึ่งมนุษย์มีจิตสำนึกตามธรรมชาติที่จะต้องใช้สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลมิให้เป็นที่เสียหายแก่เพื่อนมนุษย์อื่นและแก่ส่วนรวมของกลุ่มชน
ทรรศนะประชาธิปไตยจึงต่างกับทรรศนะที่เกิดจากคติ “ปัจเจกนิยม” (Individualism) ซึ่งถือเสรีภาพเฉพาะตัวของบุคคลเป็นใหญ่โดยไม่คำนึงถึงหน้าที่ต่อส่วนรวมของปวงชนและชาติ จากรากฐานปัจเจกนิยมนี้ก่อให้เกิดลัทธิการเมือง ลัทธิเศรษฐกิจ และลัทธิเสพย์สุขหลายอย่างที่ขัดต่อธรรมจริยาส่วนรวมของปวงชนหรือที่เรียกว่าศีลธรรมอันดีของประชาชน อาทิ
ก. ลัทธิการเมือง “อนาธิปัตย์นิยม” (Anarchism) ลัทธิจำพวกนี้ถือว่าเสรีภาพส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด ฉะนั้นแบบการปกครองของมนุษย์จะต้องไม่มีรัฐบาล บุคคลจึงจะมีเสรีภาพเต็มที่โดยแยกย้ายกันอยู่เป็นกลุ่มน้อย ๆ ซึ่งสมานกันโดยความตกลงกันอย่างเสรี ลัทธินี้แยกออกเป็นหลายสาขา บางสาขาที่เชิดชูเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างเต็มที่ก็ประพฤติและสนับสนุน “ลักเพศนิยม”
ข. ลัทธิเศรษฐกิจ “เสรีนิยม” ซึ่งปล่อยให้เอกชนมีเสรีภาพเต็มที่ในการประกอบเศรษฐกิจ ต่างคนต่างทำ ผู้ใดมีทุนมากก็ได้เปรียบผู้ไร้สมบัติในวิชาว่าด้วยประวัติลัทธิเศรษฐกิจ (Histoire des Doctrines Economiques) จัดลัทธิเสรีนิยมเข้าอยู่ในจำพวกสำนักปัจเจกนิยม (Ecole individualiste) เมื่อลัทธินี้ดำเนินถึงขีดสูงสุดก็ช่วยให้ผู้ที่สะสมทุนมหาศาลเป็นเจ้าสมบัติ “จักรวรรดินิยม” ซึ่งมีบรมธนานุภาพกดขี่เบียดเบียนคนส่วนมาก นักประชาธิปไตยผู้หนึ่งเปรียบเทียบเสรีนิยมว่าเสมือน “เสรีภาพของสุนัขจิ้งจอกในเล้าไก่”
ค. ลัทธิลักเพศนิยม (Homosexuality) คือการเสพย์เมถุนระหว่างชายกับชาย และหญิงกับหญิงซึ่งเป็นเพศเดียวกัน ลัทธิเสพย์เมถุนระหว่างหญิงกับหญิงนั้นยังมีชื่ออีกอย่างว่า “เลสเบียนิสม์ ” (Lesbianism) “ลักเพศนิยม” ถือว่าเสรีภาพของบุคคลที่จะกระทำการใดตามความพอใจในการเสพย์สุขนั้นมีค่าสูงสุด บุคคลจึงต้องหาความสุขสำราญให้เต็มที่ โดยไม่ต้องคำนึงศีลธรรมอันดีของปวงชน เพราะการเสพย์เมถุนระหว่างคนเพศเดียวกัน ลัทธินี้ถือเอาความเสพย์สุขทางเมถุนเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าชาติพันธ์ของมนุษยชาติ โดยไม่คำนึงถึงว่ามนุษยชาติมีเพศชายและเพศหญิง ซึ่งได้แพร่พันธุ์สืบต่อ ๆ มา ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ มิฉะนั้นมนุษยชาติก็สูญสิ้นชาติพันธุ์ไปพ้นจากโลกนี้ช้านานมาแล้ว ผู้ประพฤติลักเพศและเผยแพร่ลักเพศในชาติใด ผู้นั้นก็ทำลายชาติพันธุ์แห่งชาติของตนเอง อันเป็นอาชญากรรมอย่างมหันต์
ในประเทศอังกฤษนั้น ท่านเจ้าศักดินาหลายท่านที่โปรดลักเพศนิยม ได้พยายามติดต่อกันมาหลายปีในการเสนอทางสภาเจ้าศักดินา (House of Lords) เพื่อให้ยกเลิกกฎหมายห้ามการลักเพศ แต่ท่านเจ้าศักดินาถูกคัดค้านจากสภาสามัญชน (House of Commons) โดยเฉพาะพรรคแรงงานซึ่งเป็นสังคมนิยมอังกฤษที่ต้องการรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชนไว้ แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ พรรคจารีตนิยมซึ่งเป็นฝ่ายอภิสิทธิ์ชนได้ชนะการเลือกตั้ง ความปรารถนาของท่านเจ้าศักดินาและอภิสิทธิ์ชนก็ประสบความสำเร็จในการยกเลิกกฎหมายห้ามการลักเพศ
เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๑๔ ข้าพเจ้าได้มีจดหมายตอบคณะผู้จัดทำมหิดลสาร ซึ่งต้องการบทความของข้าพเจ้าเกี่ยวกับสาธารณรัฐราษฎรจีนข้าพเจ้าได้เขียนตอนหนึ่งว่า “ส่วนชายกองกลางซึ่งเป็นการพัฒนาคนแบบใหม่ในบางประเทศนั้น ไม่เคยมีในประเทศจีนเก่าหรือปัจจุบัน” ในอดีตของไทยนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า การทำชำเราผิดธรรมดามนุษย์เป็นการผิดศีลธรรมอย่างแรง จึงโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ลงโทษจำคุกหลายปีแก่ผู้กระทำกามวิตถารเช่นนั้น (แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้บางคนอ้างว่าจงรักภักดี ในรัชกาลที่ ๕ ได้ยอมลงมติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ )
ง. ลัทธิ “ฮิปปี้” ซึ่งคัดค้านธรรมจริยาของปวงชนว่าเป็นการตัดเสรีภาพสมบูรณ์เฉพาะตัวซึ่งบุคคลมีเสรีภาพที่จะแต่งกาย อยู่กิน เสพย์ยาต่าง ๆซึ่งทำให้จิตใจเบิกบาน (Narcotic Drug) อาทิ กัญชา, ยาฝิ่น, เฮโรอีนและผลิตภัณฑ์เคมี ทำนองเดียวกันนั้น ลัทธิฮิปปี้เป็นที่คู่กันไปกับลักเพศนิยม เพราะผู้ประพฤติตามลัทธิฮิปปี้นี้ก็ประพฤติลักเพศด้วย และผู้ประพฤติลักเพศก็ประพฤติลัทธิฮิปปี้ ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทุกส่วนด้วย
๑.๔ ทรรศนะประชาธิปไตยเป็นทรรศนะที่เกิดขึ้นจากสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่จะต้องสัมพันธ์กันอยู่เป็นกลุ่มชน หรือสังคม หรือเป็นชาติไม่มีบุคคลใดจะอยู่โดดเดี่ยวโดยลำพังได้ มนุษย์จึงต้องมีทรรศนะที่เป็นหลักนำความประพฤติของตนเพื่ออยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์อื่นในชาติเดียวกันเพื่อให้ชาติดำรงอยู่และเพื่อพัฒนาเติบโตก้าวหน้าต่อไปได้ ทรรศนะประชาธิปไตยจึงเป็นทรรศนะที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งประโยชน์ส่วนรวมของปวงชน แม้ว่ามนุษย์มีเสรีภาพส่วนบุคคลตามธรรมชาติ แต่มนุษย์ก็มีหน้าที่ตามธรรมชาติในการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อมิให้เสียหายแก่เพื่อนมนุษย์อื่น และเพื่อให้ชาติดำรงอยู่กับเติบโตพัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้ ดังนั้นตั้งแต่ยุคปฐมกาลจึงมีธรรมจริยาซึ่งมนุษย์มีจิตสำนึกตามธรรมชาติที่จะต้องใช้สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลมิให้เป็นที่เสียหายแก่เพื่อนมนุษย์อื่นและแก่ส่วนรวมของกลุ่มชน
ทรรศนะประชาธิปไตยจึงต่างกับทรรศนะที่เกิดจากคติ “ปัจเจกนิยม” (Individualism) ซึ่งถือเสรีภาพเฉพาะตัวของบุคคลเป็นใหญ่โดยไม่คำนึงถึงหน้าที่ต่อส่วนรวมของปวงชนและชาติ จากรากฐานปัจเจกนิยมนี้ก่อให้เกิดลัทธิการเมือง ลัทธิเศรษฐกิจ และลัทธิเสพย์สุขหลายอย่างที่ขัดต่อธรรมจริยาส่วนรวมของปวงชนหรือที่เรียกว่าศีลธรรมอันดีของประชาชน อาทิ
ก. ลัทธิการเมือง “อนาธิปัตย์นิยม” (Anarchism) ลัทธิจำพวกนี้ถือว่าเสรีภาพส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด ฉะนั้นแบบการปกครองของมนุษย์จะต้องไม่มีรัฐบาล บุคคลจึงจะมีเสรีภาพเต็มที่โดยแยกย้ายกันอยู่เป็นกลุ่มน้อย ๆ ซึ่งสมานกันโดยความตกลงกันอย่างเสรี ลัทธินี้แยกออกเป็นหลายสาขา บางสาขาที่เชิดชูเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างเต็มที่ก็ประพฤติและสนับสนุน “ลักเพศนิยม”
ข. ลัทธิเศรษฐกิจ “เสรีนิยม” ซึ่งปล่อยให้เอกชนมีเสรีภาพเต็มที่ในการประกอบเศรษฐกิจ ต่างคนต่างทำ ผู้ใดมีทุนมากก็ได้เปรียบผู้ไร้สมบัติในวิชาว่าด้วยประวัติลัทธิเศรษฐกิจ (Histoire des Doctrines Economiques) จัดลัทธิเสรีนิยมเข้าอยู่ในจำพวกสำนักปัจเจกนิยม (Ecole individualiste) เมื่อลัทธินี้ดำเนินถึงขีดสูงสุดก็ช่วยให้ผู้ที่สะสมทุนมหาศาลเป็นเจ้าสมบัติ “จักรวรรดินิยม” ซึ่งมีบรมธนานุภาพกดขี่เบียดเบียนคนส่วนมาก นักประชาธิปไตยผู้หนึ่งเปรียบเทียบเสรีนิยมว่าเสมือน “เสรีภาพของสุนัขจิ้งจอกในเล้าไก่”
ค. ลัทธิลักเพศนิยม (Homosexuality) คือการเสพย์เมถุนระหว่างชายกับชาย และหญิงกับหญิงซึ่งเป็นเพศเดียวกัน ลัทธิเสพย์เมถุนระหว่างหญิงกับหญิงนั้นยังมีชื่ออีกอย่างว่า “เลสเบียนิสม์ ” (Lesbianism) “ลักเพศนิยม” ถือว่าเสรีภาพของบุคคลที่จะกระทำการใดตามความพอใจในการเสพย์สุขนั้นมีค่าสูงสุด บุคคลจึงต้องหาความสุขสำราญให้เต็มที่ โดยไม่ต้องคำนึงศีลธรรมอันดีของปวงชน เพราะการเสพย์เมถุนระหว่างคนเพศเดียวกัน ลัทธินี้ถือเอาความเสพย์สุขทางเมถุนเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าชาติพันธ์ของมนุษยชาติ โดยไม่คำนึงถึงว่ามนุษยชาติมีเพศชายและเพศหญิง ซึ่งได้แพร่พันธุ์สืบต่อ ๆ มา ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ มิฉะนั้นมนุษยชาติก็สูญสิ้นชาติพันธุ์ไปพ้นจากโลกนี้ช้านานมาแล้ว ผู้ประพฤติลักเพศและเผยแพร่ลักเพศในชาติใด ผู้นั้นก็ทำลายชาติพันธุ์แห่งชาติของตนเอง อันเป็นอาชญากรรมอย่างมหันต์
ในประเทศอังกฤษนั้น ท่านเจ้าศักดินาหลายท่านที่โปรดลักเพศนิยม ได้พยายามติดต่อกันมาหลายปีในการเสนอทางสภาเจ้าศักดินา (House of Lords) เพื่อให้ยกเลิกกฎหมายห้ามการลักเพศ แต่ท่านเจ้าศักดินาถูกคัดค้านจากสภาสามัญชน (House of Commons) โดยเฉพาะพรรคแรงงานซึ่งเป็นสังคมนิยมอังกฤษที่ต้องการรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชนไว้ แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ พรรคจารีตนิยมซึ่งเป็นฝ่ายอภิสิทธิ์ชนได้ชนะการเลือกตั้ง ความปรารถนาของท่านเจ้าศักดินาและอภิสิทธิ์ชนก็ประสบความสำเร็จในการยกเลิกกฎหมายห้ามการลักเพศ
เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๑๔ ข้าพเจ้าได้มีจดหมายตอบคณะผู้จัดทำมหิดลสาร ซึ่งต้องการบทความของข้าพเจ้าเกี่ยวกับสาธารณรัฐราษฎรจีนข้าพเจ้าได้เขียนตอนหนึ่งว่า “ส่วนชายกองกลางซึ่งเป็นการพัฒนาคนแบบใหม่ในบางประเทศนั้น ไม่เคยมีในประเทศจีนเก่าหรือปัจจุบัน” ในอดีตของไทยนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า การทำชำเราผิดธรรมดามนุษย์เป็นการผิดศีลธรรมอย่างแรง จึงโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ลงโทษจำคุกหลายปีแก่ผู้กระทำกามวิตถารเช่นนั้น (แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้บางคนอ้างว่าจงรักภักดี ในรัชกาลที่ ๕ ได้ยอมลงมติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ )
ง. ลัทธิ “ฮิปปี้” ซึ่งคัดค้านธรรมจริยาของปวงชนว่าเป็นการตัดเสรีภาพสมบูรณ์เฉพาะตัวซึ่งบุคคลมีเสรีภาพที่จะแต่งกาย อยู่กิน เสพย์ยาต่าง ๆซึ่งทำให้จิตใจเบิกบาน (Narcotic Drug) อาทิ กัญชา, ยาฝิ่น, เฮโรอีนและผลิตภัณฑ์เคมี ทำนองเดียวกันนั้น ลัทธิฮิปปี้เป็นที่คู่กันไปกับลักเพศนิยม เพราะผู้ประพฤติตามลัทธิฮิปปี้นี้ก็ประพฤติลักเพศด้วย และผู้ประพฤติลักเพศก็ประพฤติลัทธิฮิปปี้ ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทุกส่วนด้วย
No comments:
Post a Comment