โธมัส มัวร์ นักคิดสังคมนิยม "ยูโธเปีย" คนแรกของโลก
การต่อสู้เพื่อนำอำนาจของปวงชนกลับมาคืนมาเป็นใหญ่ในแผ่นดิน จำเป็นอย่างยิ่งที่พวกเราทุกคนจะต้องศึกษาและช่วยกันเผยแพร่ความรู้ทางประวัติศาสตร์และสังคมตลอดจนวิวัฒนการของมวลมนุษยชาติ
หลายล้านชีวิตของมวลมนุษย์ที่ดับสิ้น ทอดร่างเป็นตำราให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงความผิดพลาด ความล้มเหลวของการพยายามที่จะเรียกร้อง ต่อสู้เพื่อให้สามารถดำรงอยู่อย่างเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์
ทรราชหนึ่งถูกโค่นลง และแล้วทรราชใหม่ก็ก้าวเข้ามา จะรวดเร็วเพียงไม่กี่ปี หรือจะเนิ่นนานหลายร้อยปี แต่ในที่สุดของวงศ์ผู้ปกครองนั้นก็จะเสื่อมทรามลงตามธรรมชาติของสายธารคือ ไหลลงสู่เบื้องต่ำ แล้วฝูงชนก็จะพากันขับไส่ทรราชนั้นไปเสียจากสังคม ชีวิตนับล้านๆที่สูญเสียไปบนโลกใบนี้บอกเราไว้อย่างนั้น!
แต่ในความมืดมนของจริยธรรมของผู้ปกครองที่โลภะครอบงำ ก็จะมีผู้มีสติสัมปชัญญะ รู้ถูกผิด ชั่วหรือดี อยู่บ้าง เขาเหล่านั้นก็ประกาศความคิด โพนทะนาถึงความอยุติธรรม และนำเสนอหนทางที่จะยังความสมภาพ ภราดรภาพ ให้บังเกิดในสังคม แต่เขาเหล่านั้นประเมินคุณธรรมของผู้ปกครองไว้สูงเกินไป พวกเขาจึงสังเวยชีวิตตนต่ออุดมการณ์ ที่ยังไม่ประสบผล
ที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องราวของผู้ที่เห็นความอยุติธรรมของสังคมที่ผู้เป็นใหญ่ในรัฐเห็นแก่ประโยชน์ของตนและบริวาร จึงกดขี่ เบียดเบียนราษฎร จนแตกฉานซ่านเซ็น เหล่านักคิดนักฝันอุดมการณ์ได้ประณาม เรียกร้องความอยุติธรรมให้ประชาชนรับรู้ แต่เมื่อกาลยังไม่เวลาแห่งการเปลียนเปลี่ยง พวกเขาเหล่านี้ก็ถูกกำจัดไปๆ
แต่โลกมนุษย์ก็ช่างประหลาดนัก คือยังไม่เคยสิ้นบุคคลที่ยอมตายแลกกับอุดมการณ์ที่จะไม่ยอมก้มให้กับอำนาจอยุติธรรม โลกจึงไม่สิ้นคนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ ขับไล่ อำนาจอันไม่ชอบธรรม และนี่เป็นเรื่องราวของผู้ฝันถึงสังคมในอุดมคติที่ยังไม่มาถึง ไม่ว่าจะในอดีตหรืออนาคตอันใกล้
โธมัส มัวร์ นักคิดสังคมนิยม "ยูโธเปีย" คนแรกของโลก
นักคิดสังคมนิยม "ยูโธเปีย" หรืออีกนัยหนึ่ง นักคิดสังคมนิยมเพ้อฝัน คนแรกของโลกได้แก่ โธมัส มัวร์ (Thomas More 1477-1535) เขาถือกำเนิดในครอบครัวมั่งคั่งในประเทศอังกฤษ ต่อมาได้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด
ช่วงคริตศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ ในประเทศอังกฤษ อุตสาหกรรมทุนนิยมกำลังขยายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมทอผ้าขนสัตว์กำลังเฟื่องฟูมาก บรรดาเจ้าศักดินาทั้งหลายจึงพากันยึดที่ดินจากชาวนาเป็นจำนวนมาก มาแปลงเป็นทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงแกะเพื่อเอาขนแก้ไปป้อนโรงงาน ยังผลให้ชาวนานับล้านคนต้องสูญเสียที่ดินทำมาหากิน พากันล้มละลายกลายเป็นคนพเนจร หลั่งไหลเข้าไปอยู่ตามตัวเมือง ส่วนพวกกรรมกรที่ทำงานอยู่ในโรงงานของนายทุน ก็ถูกนายจ้างขูดรีดอย่างทารุณ พวกเขาต้องทำงานกันวันละ ๑๖ ถึง ๑๘ ชั่วโมง แต่กระนั้นก็มีรายได้ไม่พอเลี้ยงปากท้อง
สภาวะสังคมอันน่าอเนจอนาถนี้ได้กระทบกระเทือนจิตใจของมัวร์ อย่างมาก เขาจึงพยายามหาทางที่จะจัดสรร รังสรรค์สังคมเสียใหม่ ความใฝ่ฝันของเขาได้ถูกพรรณนาไว้ในหนังสือชื่อ "ยูโธเปีย" (Utopia) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาลาตินเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๕๙ ในหนังสือเล่มนี้ โธมัส มัวร์ ประเดิมด้วยการโจมตีระบอบกษัตริย์อังกฤษสมัยนั้นอย่างรุนแรง โดยชี้ว่า
"ความยากจนคือรากฐานแห่งรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์เป็นผู้ครอบครองทรัพย์สมบัติ และเป็นเจ้าเหนือชีวิตของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งผอง โดยไม่มีขอบเขตจำกัดใดๆ ราษฎรจะใช้จ่ายทรัพย์สินของตนเองได้ก็ต่อเมื่อได้รับพระราชอนุญาตแล้วเท่านั้น นี่คือรากฐานศีลธรรมทางการเมืองของสถาบันแห่งรัฐสมัยนี้"
โธมัส มัวร์ ชี้ต่อไปว่า
"ประชาชนสถาปนากษัตริย์ขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ของตัวเขาเอง หาใช่เพื่อประโยชน์ของกษัตริย์ไม่ ประชาชนตั้งผู้ครองบ้านเมืองก็หวังที่จะได้มีชีวิตรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุขโดยไม่ต้องหวาดกลัวต่อการระรานรังควานของศัตรู หน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ของผู้ปกครองบ้านเมืองก็คือ จักต้องถือเอาความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาราษฎรส่วนรวม ให้อยู่เหนือกว่าความสุขส่วนตัว จักต้องตั้งตนเสมือนหนึ่งคนเลี้ยงแกะที่ซื่อตรงต่อหน้าที่ พลีตนเพื่อนำฝูงแกะสู่ทุ่งหญ้าอันอุดมสมบูรณ์ที่สุด"
แต่สภาพความเป็นจริงที่ปรากฎในสมัยนั้นกลับตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง กษัตริย์ทรราชย์กลับ "ใช้กำลังบังคับ, กดขี่ เดือดร้อนกันไปทุกหย่อมหญ้า"
นี่แหละคือโฉมหน้ากษัตริย์แห่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในสายตาของโธมัส มัวร์ และเพียงแค่นี้เราก็คงจะเข้าใจดีว่าเหตุไฉนทั้ง เฮนรี่ที่ ๗ และที่ ๘ ราชาแห่งอังกฤษ จึงจงเกลียดจงชัง โธมัส มัวร์ เป็นหนักหนา ถึงกับพยายามเข่นฆ่าให้สิ้นชีพไปเลย
โธมัส มัวร์ ไม่เพียงแต่ได้โจมตีระบอบกษัตริย์สมัยนั้นอย่างปราศจากความยำเกรงเท่านั้น สายตาอันคมกริบของเขา ยังกราดไปยังพวกเจ้าขุนมูลนายด้วยความรังเกียจเหยียดหยามอีกด้วย เขาชี้ว่า
"สาเหตุประการสำคัญที่สุดแห่งความยากจนของสังคมก็คือ "เจ้าขุนมูลนาย" มีจำนวนมากมายเหลือเกิน พวกนี้ไม่ต่างอะไรกับตัวแตน ที่บินเตร่เร่ร่อนไปวันหนึ่ง ๆ ดำรงชีพอยู่ด้วยแรงงานของผู้ใกล้ชิด ขูดรีดเลือดเนื้อชาวนาที่ทำนาบนผืนแผ่นดินของเรา เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้แก่เขา นอกเหนือไปจากนี้ พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว"
นอกจากนั้น โธมัส มัวร์ ยังเพ่งเล็งไปยัง กองทหารประจำการอีก โดยเห็นว่ามันคือเครื่องมือกลไกอันสำคัญที่ชนชั้นปกครองใช้สำหรับปกป้องรักษา, ค้ำจุนระบอบเก่าที่ร่อแร่ ด้วยเหตุนี้ เขาจึงประณามมันว่าเป็น "ผีร้ายบนเรือนร่างแห่งสังคม"
โธมัส มัวร์ ไม่เพียงได้เปิดโปงและโจมตีระบอบสังคมยุคนั้นอย่างเผ็ดร้อนเท่านั้น, เมื่อเขาได้ค้นพบมูลเหตุแห่งความยากจนของสังคม ว่าเกิดจากการแบ่งชนออกเป็นชั้นๆ เกิดจากความเหลื่อมล้ำ ต่ำสูงทางฐานะเศรษฐกิจระหว่างชนชั้นในสังคม เกิดจากการขูดรีดระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ อันเนื่องมากจากฐานะทางเศรษฐกิจที่ต่างกันเช่นนี้ เขาก็คิดหาทางจะขจัดปัดเป่าสภาพที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าว เพื่อจัดสรรสังคมให้สมเหตุสมผล และถูกต้องตามทำนองคลองธรรม แต่ทว่าสังคมอันชั่วช้าสามานย์เช่นนี้ควรได้รับการแก้ไขอย่างไรบ้างนั้น โธมัส มัวร์ มีความเห็นว่ามีวิธีการเพียงประการเดียวเท่านั้นคือ วิงวอนผู้ครองบ้านครองเมืองให้กลับอกกลับใจเสียใหม่ หันมาบำบัดทุกข์บำรุงสุขของอาณาราษฎร ด้วยเหตุนี้ เขาจึงเปล่งเสียตะโกนกู่ก้องร้องขอความร่วมมือจากผู้ปกครองอำนาจว่า
"จงรักษาบาดแผลแห่งมาตุภูมิของท่านเถิด ! จงบังคับให้พวกนักก่อวินาศกรรมที่ทรงอำนาจทั้งหลายในหมู่พวกท่านให้ฟื้นฟูเรือกสวนไร่นาที่ถูกพวกเขาทำลายไป อย่างน้อยที่สุดก็สมควรมอบที่ดินให้แก่บุคคลที่ยินดีจะฟื้นฟูกิจการเดิม ! จงกำจัดความเห็นแก่ตัวในหมู่คนมั่งมีเสียเถิด ! จงอย่าได้ให้โอกาสแก่พวกเขา ที่จะสะสมโภคทรัพย์และกอบโกยรายได้ ! จงเลิกการเลี้ยงดูปูเสื่อกันเถิด ! จะได้พัฒนาเกษตรกรรม จะได้สร้างโรงงานผลิตภัณฑ์ขนสัตว์และสร้างอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ เพื่อพวกคนพเนจร, พวกหัวขโมย ที่มีอันเป็นไปเพราะความเคราะห์ร้ายทั้งหลายจะได้มีงานทำ มีอาชีพกันบ้าง...."
นี่แหละคือคำวิงวอนที่ โธมัส มัวร์ เรียกร้องต่อผู้ครองบ้านครองเมืองในสมัยนั้น
จากนี้เราก็มองเห็นได้ว่า ด้านหนึ่ง โธมัส มัวร์ ยอมรับว่า ความยากจนคือรากฐานของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยอมรับว่ากษัตริย์ในสมัยนั้นเป็นผู้"ใช้กำลังบังคับ กดขี่และปล้นสะดม" ทำให้ประชาชนตกอยู่ในภาวะที่ยากจนแต่อีกด้านหนึ่ง เขากลับวิงวอนขอความกรุณาปรานีจากกษัตริย์ทรราชย์องค์เดียวกันนั้นให้ปลดเปลื้องอาณานิกรของพระองค์ ให้พ้นจากความทุกข์ยากทั้งปวง มันช่างเป็นความเพ้อฝันที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งเสียนี่กระไร ! เพราะมันไม่ต่างอะไรกับการวอนขอความเมตตาจิตจากเพชฌฆาตเลย และแล้วสิ่งที่ โธมัส มัวร์ได้รับจากกษัตริย์เฮนรี่ที่ ๘ ก็เป็นบทเรียนที่แพงที่สุดบทหนึ่ง นั่นคือการจบชีวิตบนลานประหารชีวิต !
การต่อสู้เพื่อนำอำนาจของปวงชนกลับมาคืนมาเป็นใหญ่ในแผ่นดิน จำเป็นอย่างยิ่งที่พวกเราทุกคนจะต้องศึกษาและช่วยกันเผยแพร่ความรู้ทางประวัติศาสตร์และสังคมตลอดจนวิวัฒนการของมวลมนุษยชาติ
หลายล้านชีวิตของมวลมนุษย์ที่ดับสิ้น ทอดร่างเป็นตำราให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงความผิดพลาด ความล้มเหลวของการพยายามที่จะเรียกร้อง ต่อสู้เพื่อให้สามารถดำรงอยู่อย่างเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์
ทรราชหนึ่งถูกโค่นลง และแล้วทรราชใหม่ก็ก้าวเข้ามา จะรวดเร็วเพียงไม่กี่ปี หรือจะเนิ่นนานหลายร้อยปี แต่ในที่สุดของวงศ์ผู้ปกครองนั้นก็จะเสื่อมทรามลงตามธรรมชาติของสายธารคือ ไหลลงสู่เบื้องต่ำ แล้วฝูงชนก็จะพากันขับไส่ทรราชนั้นไปเสียจากสังคม ชีวิตนับล้านๆที่สูญเสียไปบนโลกใบนี้บอกเราไว้อย่างนั้น!
แต่ในความมืดมนของจริยธรรมของผู้ปกครองที่โลภะครอบงำ ก็จะมีผู้มีสติสัมปชัญญะ รู้ถูกผิด ชั่วหรือดี อยู่บ้าง เขาเหล่านั้นก็ประกาศความคิด โพนทะนาถึงความอยุติธรรม และนำเสนอหนทางที่จะยังความสมภาพ ภราดรภาพ ให้บังเกิดในสังคม แต่เขาเหล่านั้นประเมินคุณธรรมของผู้ปกครองไว้สูงเกินไป พวกเขาจึงสังเวยชีวิตตนต่ออุดมการณ์ ที่ยังไม่ประสบผล
ที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องราวของผู้ที่เห็นความอยุติธรรมของสังคมที่ผู้เป็นใหญ่ในรัฐเห็นแก่ประโยชน์ของตนและบริวาร จึงกดขี่ เบียดเบียนราษฎร จนแตกฉานซ่านเซ็น เหล่านักคิดนักฝันอุดมการณ์ได้ประณาม เรียกร้องความอยุติธรรมให้ประชาชนรับรู้ แต่เมื่อกาลยังไม่เวลาแห่งการเปลียนเปลี่ยง พวกเขาเหล่านี้ก็ถูกกำจัดไปๆ
แต่โลกมนุษย์ก็ช่างประหลาดนัก คือยังไม่เคยสิ้นบุคคลที่ยอมตายแลกกับอุดมการณ์ที่จะไม่ยอมก้มให้กับอำนาจอยุติธรรม โลกจึงไม่สิ้นคนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ ขับไล่ อำนาจอันไม่ชอบธรรม และนี่เป็นเรื่องราวของผู้ฝันถึงสังคมในอุดมคติที่ยังไม่มาถึง ไม่ว่าจะในอดีตหรืออนาคตอันใกล้
โธมัส มัวร์ นักคิดสังคมนิยม "ยูโธเปีย" คนแรกของโลก
นักคิดสังคมนิยม "ยูโธเปีย" หรืออีกนัยหนึ่ง นักคิดสังคมนิยมเพ้อฝัน คนแรกของโลกได้แก่ โธมัส มัวร์ (Thomas More 1477-1535) เขาถือกำเนิดในครอบครัวมั่งคั่งในประเทศอังกฤษ ต่อมาได้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด
ช่วงคริตศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ ในประเทศอังกฤษ อุตสาหกรรมทุนนิยมกำลังขยายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมทอผ้าขนสัตว์กำลังเฟื่องฟูมาก บรรดาเจ้าศักดินาทั้งหลายจึงพากันยึดที่ดินจากชาวนาเป็นจำนวนมาก มาแปลงเป็นทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงแกะเพื่อเอาขนแก้ไปป้อนโรงงาน ยังผลให้ชาวนานับล้านคนต้องสูญเสียที่ดินทำมาหากิน พากันล้มละลายกลายเป็นคนพเนจร หลั่งไหลเข้าไปอยู่ตามตัวเมือง ส่วนพวกกรรมกรที่ทำงานอยู่ในโรงงานของนายทุน ก็ถูกนายจ้างขูดรีดอย่างทารุณ พวกเขาต้องทำงานกันวันละ ๑๖ ถึง ๑๘ ชั่วโมง แต่กระนั้นก็มีรายได้ไม่พอเลี้ยงปากท้อง
สภาวะสังคมอันน่าอเนจอนาถนี้ได้กระทบกระเทือนจิตใจของมัวร์ อย่างมาก เขาจึงพยายามหาทางที่จะจัดสรร รังสรรค์สังคมเสียใหม่ ความใฝ่ฝันของเขาได้ถูกพรรณนาไว้ในหนังสือชื่อ "ยูโธเปีย" (Utopia) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาลาตินเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๕๙ ในหนังสือเล่มนี้ โธมัส มัวร์ ประเดิมด้วยการโจมตีระบอบกษัตริย์อังกฤษสมัยนั้นอย่างรุนแรง โดยชี้ว่า
"ความยากจนคือรากฐานแห่งรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์เป็นผู้ครอบครองทรัพย์สมบัติ และเป็นเจ้าเหนือชีวิตของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งผอง โดยไม่มีขอบเขตจำกัดใดๆ ราษฎรจะใช้จ่ายทรัพย์สินของตนเองได้ก็ต่อเมื่อได้รับพระราชอนุญาตแล้วเท่านั้น นี่คือรากฐานศีลธรรมทางการเมืองของสถาบันแห่งรัฐสมัยนี้"
โธมัส มัวร์ ชี้ต่อไปว่า
"ประชาชนสถาปนากษัตริย์ขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ของตัวเขาเอง หาใช่เพื่อประโยชน์ของกษัตริย์ไม่ ประชาชนตั้งผู้ครองบ้านเมืองก็หวังที่จะได้มีชีวิตรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุขโดยไม่ต้องหวาดกลัวต่อการระรานรังควานของศัตรู หน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ของผู้ปกครองบ้านเมืองก็คือ จักต้องถือเอาความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาราษฎรส่วนรวม ให้อยู่เหนือกว่าความสุขส่วนตัว จักต้องตั้งตนเสมือนหนึ่งคนเลี้ยงแกะที่ซื่อตรงต่อหน้าที่ พลีตนเพื่อนำฝูงแกะสู่ทุ่งหญ้าอันอุดมสมบูรณ์ที่สุด"
แต่สภาพความเป็นจริงที่ปรากฎในสมัยนั้นกลับตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง กษัตริย์ทรราชย์กลับ "ใช้กำลังบังคับ, กดขี่ เดือดร้อนกันไปทุกหย่อมหญ้า"
นี่แหละคือโฉมหน้ากษัตริย์แห่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในสายตาของโธมัส มัวร์ และเพียงแค่นี้เราก็คงจะเข้าใจดีว่าเหตุไฉนทั้ง เฮนรี่ที่ ๗ และที่ ๘ ราชาแห่งอังกฤษ จึงจงเกลียดจงชัง โธมัส มัวร์ เป็นหนักหนา ถึงกับพยายามเข่นฆ่าให้สิ้นชีพไปเลย
โธมัส มัวร์ ไม่เพียงแต่ได้โจมตีระบอบกษัตริย์สมัยนั้นอย่างปราศจากความยำเกรงเท่านั้น สายตาอันคมกริบของเขา ยังกราดไปยังพวกเจ้าขุนมูลนายด้วยความรังเกียจเหยียดหยามอีกด้วย เขาชี้ว่า
"สาเหตุประการสำคัญที่สุดแห่งความยากจนของสังคมก็คือ "เจ้าขุนมูลนาย" มีจำนวนมากมายเหลือเกิน พวกนี้ไม่ต่างอะไรกับตัวแตน ที่บินเตร่เร่ร่อนไปวันหนึ่ง ๆ ดำรงชีพอยู่ด้วยแรงงานของผู้ใกล้ชิด ขูดรีดเลือดเนื้อชาวนาที่ทำนาบนผืนแผ่นดินของเรา เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้แก่เขา นอกเหนือไปจากนี้ พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว"
นอกจากนั้น โธมัส มัวร์ ยังเพ่งเล็งไปยัง กองทหารประจำการอีก โดยเห็นว่ามันคือเครื่องมือกลไกอันสำคัญที่ชนชั้นปกครองใช้สำหรับปกป้องรักษา, ค้ำจุนระบอบเก่าที่ร่อแร่ ด้วยเหตุนี้ เขาจึงประณามมันว่าเป็น "ผีร้ายบนเรือนร่างแห่งสังคม"
โธมัส มัวร์ ไม่เพียงได้เปิดโปงและโจมตีระบอบสังคมยุคนั้นอย่างเผ็ดร้อนเท่านั้น, เมื่อเขาได้ค้นพบมูลเหตุแห่งความยากจนของสังคม ว่าเกิดจากการแบ่งชนออกเป็นชั้นๆ เกิดจากความเหลื่อมล้ำ ต่ำสูงทางฐานะเศรษฐกิจระหว่างชนชั้นในสังคม เกิดจากการขูดรีดระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ อันเนื่องมากจากฐานะทางเศรษฐกิจที่ต่างกันเช่นนี้ เขาก็คิดหาทางจะขจัดปัดเป่าสภาพที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าว เพื่อจัดสรรสังคมให้สมเหตุสมผล และถูกต้องตามทำนองคลองธรรม แต่ทว่าสังคมอันชั่วช้าสามานย์เช่นนี้ควรได้รับการแก้ไขอย่างไรบ้างนั้น โธมัส มัวร์ มีความเห็นว่ามีวิธีการเพียงประการเดียวเท่านั้นคือ วิงวอนผู้ครองบ้านครองเมืองให้กลับอกกลับใจเสียใหม่ หันมาบำบัดทุกข์บำรุงสุขของอาณาราษฎร ด้วยเหตุนี้ เขาจึงเปล่งเสียตะโกนกู่ก้องร้องขอความร่วมมือจากผู้ปกครองอำนาจว่า
"จงรักษาบาดแผลแห่งมาตุภูมิของท่านเถิด ! จงบังคับให้พวกนักก่อวินาศกรรมที่ทรงอำนาจทั้งหลายในหมู่พวกท่านให้ฟื้นฟูเรือกสวนไร่นาที่ถูกพวกเขาทำลายไป อย่างน้อยที่สุดก็สมควรมอบที่ดินให้แก่บุคคลที่ยินดีจะฟื้นฟูกิจการเดิม ! จงกำจัดความเห็นแก่ตัวในหมู่คนมั่งมีเสียเถิด ! จงอย่าได้ให้โอกาสแก่พวกเขา ที่จะสะสมโภคทรัพย์และกอบโกยรายได้ ! จงเลิกการเลี้ยงดูปูเสื่อกันเถิด ! จะได้พัฒนาเกษตรกรรม จะได้สร้างโรงงานผลิตภัณฑ์ขนสัตว์และสร้างอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ เพื่อพวกคนพเนจร, พวกหัวขโมย ที่มีอันเป็นไปเพราะความเคราะห์ร้ายทั้งหลายจะได้มีงานทำ มีอาชีพกันบ้าง...."
นี่แหละคือคำวิงวอนที่ โธมัส มัวร์ เรียกร้องต่อผู้ครองบ้านครองเมืองในสมัยนั้น
จากนี้เราก็มองเห็นได้ว่า ด้านหนึ่ง โธมัส มัวร์ ยอมรับว่า ความยากจนคือรากฐานของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยอมรับว่ากษัตริย์ในสมัยนั้นเป็นผู้"ใช้กำลังบังคับ กดขี่และปล้นสะดม" ทำให้ประชาชนตกอยู่ในภาวะที่ยากจนแต่อีกด้านหนึ่ง เขากลับวิงวอนขอความกรุณาปรานีจากกษัตริย์ทรราชย์องค์เดียวกันนั้นให้ปลดเปลื้องอาณานิกรของพระองค์ ให้พ้นจากความทุกข์ยากทั้งปวง มันช่างเป็นความเพ้อฝันที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งเสียนี่กระไร ! เพราะมันไม่ต่างอะไรกับการวอนขอความเมตตาจิตจากเพชฌฆาตเลย และแล้วสิ่งที่ โธมัส มัวร์ได้รับจากกษัตริย์เฮนรี่ที่ ๘ ก็เป็นบทเรียนที่แพงที่สุดบทหนึ่ง นั่นคือการจบชีวิตบนลานประหารชีวิต !
1 comment:
ไม่ง่ายเลยที่จะให้ทายาทแห่งชนชั้นที่อยู่ในฐานะดีกว่า สูงกว่าในสังคม หันกลับมาคิดถึงการขจัดความเหลื่อมล้ำของชนชั้นในสังคม ศักดินาไม่มีวันเป็นแนวหน้าในการต่อสู้เพื่อคนยากจน อ่าน แนวคิดของโธมัส มัวร์ แล้วมาเปรียบเทียบกับการต่อสู้ของ ดร. เอ็มเบ็ดก้าร์แล้ว มันแสดงถึงความฝัน และความเป็นจริง การต่อสู้ของดร.เอ็มเบ็ดก้าร์ เป็นของจริง และจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป จะไม่มีชนชั้นสูงระลึกถึงความเจ็บปวดของชนชั้นล่างที่ถูกกดขี่ และในความเป็นจริงจะไม่มีการปลดปล่อยที่เกิดจากชนชั้นศักดินา
Post a Comment