สังคมนิยม-ประชาธิปไตยในประเทศไทย
The World is our Country, The Humanity is our Homeland
แนวคิดอุดมคติสังคมนิยม (Socialist) เป็นอุดมการณ์ต่อสู้ของประชาชนที่รักความเป็นธรรม ที่เอาผลประโยชน์ของสังคมเป็นที่ตั้ง เน้นเรื่องคุณค่าของมนุษย์ที่ควรได้รับจากการจัดการของรัฐ อุดมคตินี้ไม่ใช่เรื่องใฝ่ฝันล่องลอยไร้แก่นสาร แต่ได้ผ่านการต่อสู้ยืนยันมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์
ในอดีต ความใฝ่ฝันถึงสังคมยูโธเปีย หรือสังคมยุคพระศรีอาริย์ หรือสังคมคอมมูนแบบมาร์กซ ก็เป็นสังคมนิยมพื้นฐานความใฝ่ฝันเดียวกันที่อยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่เท่าเทียม เป็นธรรม แต่ในปัจจุบันระบบทุนนิยมได้สร้างสภาวะให้โลกต่างไปจากความคิดอุดมคตินั้น จนกระทั่งความคิด ความใฝ่ฝันถึงโลกที่ร่มเย็นนั้น กลายเป็นเรื่อง “เพ้อฝัน-เป็นไปไม่ได้” ชายหนุ่ม-หญิงสาวทุกวันนี้จึงต่างก็คิดถึงแต่เรื่องของตนเอง เพื่อความอยู่รอดในระบบทุนนิยม
ภายหลังจากที่รัฐสังคมนิยมในหลายประเทศได้ล้มครืนลง ความเชื่อ ความใฝ่ฝันของอุดมการณ์สังคมนิยมก็ลดลงในหมู่นักนิยมสังคมนิยม แต่บางส่วนก็ยังเชื่อมั่นตามทฤษฎี วิทยาศาสตร์สังคมที่คาร์ล มาร์กซ ได้ยืนยันผ่านทฤษฎีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ที่เน้นมุมมองมนุษย์และสังคมผ่านความสัมพันธ์ทางการผลิต และความสัมพันธ์นี้ได้เปลี่ยนฐานะสังคมในแต่ละยุค จากยุคบุรพกาลที่มนุษย์มีความสัมพันธ์แบบเท่าเทียมกันในชาติวงศ์ มาสู่ยุคทาส-นายทาส สู่ยุคศักดินา จนถึงทุนนิยมในปัจจุบัน และจะไปถึงสังคมยุคสังคมนิยมอย่างแน่นอนเพราะเงื่อนไขความขัดแย้งการถือครองปัจจัยการผลิต
ความใฝ่ฝันความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์แบบ “จากทุกคนตามความสามารถ แด่ทุกคนตามความจำเป็น” ของคาร์ล มาร์กซ์ ก็ยังอยู่มาจนทุกวันนี้
นักสังคมนิยมย่อมคาดหวังและลงมือกระทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม มีการพูดถึงการจัดวางสังคมใหม่ที่เปลี่ยนความสัมพันธ์ทางการผลิตเสียใหม่ให้เป็นธรรมมากขึ้น เพราะแนวความคิดเสรีนิยมและวิถีของระบบทุนนิยมที่เอา กำไรเป็นตัวตั้ง สิ่งนี้ได้ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ลง เพราะเกิดการแบ่งชนชั้นตามการถือครองปัจจัยการผลิต ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม การกดขี่ ขูดรีดและเอาเปรียบทางโครงสร้างมากมาย
นักคิดหลายคนในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้นำเสนอทฤษฎีต่างๆ เพื่อกำหนดสังคมที่ยุติธรรมและเอาประโยชน์สังคมส่วนรวมเป็นที่ตั้งโดยมอบให้รัฐเป็นผู้ทำหน้าที่นั้น ในการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดำเนินไปสู่สังคมนิยมนั้น มีทั้งแนวทางสังคมนิยมปฏิรูป และ การนำพามวลชนปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐของนายทุนอย่างรุนแรง ดังจะเห็นจากตัวอย่างหลายๆประเทศในประวัติศาสตร์ที่ผ่าน
ปัจจุบันนี้ การต่อสู้เชิงอุดมการณ์สังคมนิยมในทางสากลนั้น มีความแตกต่างไปตามรูปแบบของแต่ละขบวนการในแต่ละประเทศ เช่น ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบเหมาอิสต์ จะเน้นการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธเช่น ในเนปาล ฟิลิปปินส์ หรือกรณีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในอดีตและอุดมคติแบบสังคมนิยม (Social-Democracy) จะเน้นการเคลื่อนไหวโดยการปฏิรูปทางสังคม-การเมือง หรือการจัดตั้งพรรคการเมืองของตนเองเข้าไปต่อสู่ทางการเมืองในระบบรัฐสภา ในปัจจุบันสังคมนิยมปฏิรูปได้มั่นคงพอสมควร ตัวอย่างเช่น ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ในรูปของประเทศรัฐสวัสดิการ
ขณะเดียวกันอุดมการสังคมนิยมในทางสากล ได้มีการปรับตัวเข้าหาสถานการณ์ทางสังคมและคลี่คลายปัญหาต่างๆตามข้อเท็จจริงมากขึ้น ไม่ใช่มุ่งแต่จะต่อสู้ทางการเมืองอย่างเดียว เพราะอุดมคตินี้ที่แท้จริงนั้นก็คือ “ทุกอย่างที่เอาผลประโยชน์สังคมเป็นที่ตั้ง” นั่นเอง
วาระแห่งการหารือพูดคุยของขบวนการสังคมนิยมสากลในปัจจุบัน เต็มไปด้วยความหลากหลายทางสังคมในแง่มุมต่างๆ มีเวทีสากลมากมาย ถกเถียงกันตั้งแต่หัวข้อเรื่องการพัฒนาสังคม-ประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ การต่อสู้กับเผด็จการทหาร ภัยจากโลกาภิวัฒน์ ไปจนกระทั่งประเด็นทางวัฒนธรรม อย่าง ความเท่าเทียมหญิง-ชาย สิทธิเพศที่สาม ผู้อพยพ แรงงานข้ามชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
โดยสรุปแล้วสังคมนิยมพื้นฐาน ก็คือ ความคิดที่รัฐเอาประโยชน์ของสังคมเป็นศูนย์กลาง มีเป้าหมายและวิถีทางเพื่อความเท่าเทียมกันของประชาชน มีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคมที่แท้จริง ประชาชนทุกคนมีสิทธิ-เสรีภาพโดยรัฐเป็นตัวแทนพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
Socialist จึงมีความหมายกว้างกว่า “สังคมนิยม” ที่เป็นความหมายที่คนไทยได้รับรู้โดยการใส่ร้าย เบี่ยงเบนสร้างภาพให้เป็นปิศาจร้าย โดยฝีมือของชนชั้นปกครองที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนเองไว้
ดังนั้นการผูกขาดอำนาจทางการเมืองเฉพาะชนชั้นนำ ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ของไทย จึงไม่เคยมีนโยบายสังคมนิยมเพื่อประโยชน์แก่สังคมใดๆ หรือการแก้ไขปัญหาทางโครงสร้างใดๆ ที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์แก่คนชั้นล่าง กรรกร ชาวนา ชาวไร่ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศได้ลืมตา อ้าปาก หรือแม้แต่จะแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนเชิงโครงสร้างได้อย่างแท้จริงเลย
ที่ผ่านมารัฐบาลแทบทุกชุดมีนโยบายประชาธิปไตยแบบทุนนิยม ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม จะเห็นได้จากพื้นที่ทางการเมืองส่วนใหญ่ ตกเป็นของชนชั้นนำทางสังคมและมีอำนาจทางเศรษฐกิจเข้ามามีบทบาทอย่างสูง โดยแทบไม่เหลือพื้นที่ให้ชนชั้นล่าง กรรมกร ชาวนา ชาวประมง ฯลฯ กระทั่งกีดกันอย่างเป็นตัวบทกฎหมาย เห็นชัดเจนแม้ในรัฐธรรมนูญที่นับว่าดีที่สุด ๒๕๔๐ ที่ห้ามประชาชนที่ไม่จบปริญญาตรีเข้าสู่การเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และหลังจากการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นล่างหยุดชะงักลง อุดมคติของชาวสังคมนิยม ก็อ่อนแอกลายสภาพเป็นเพียงผู้ดื่มกินมายาและเสพความฝันใฝ่ ความหวังในแต่ละวันคืน...
อย่างไรก็ตาม อุดมการณ์สังคมนิยมไม่ตาย ตราบใดที่ขบวนการคนยากจน คนใช้แรงงานยังคงเคลื่อนไหว มีความขัดแย้งทางชนชั้น หรือมีการเอารัดเอาเปรียบในเชิงโครงสร้างอยู่ เพียงแต่ว่าในสถานการณ์นี้ ขบวนการต่อสู้อาจจะอ่อนแรงหรือยังไม่เข้มแข็งพอที่จะเป็นขบวนการใหญ่ในเชิงอุดมการณ์ร่วมกัน เท่านั้นเอง...
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว แนวคิด “สังคมนิยม” เป็นการแสใหญ่ที่นักปฏิวัติทั่วโลกใช้ในการต่อสู้ ด้วยหมายที่จะสร้างสังคมที่เท่าเทียม แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป กระแส “ทุน” ที่ถั่งโถมเข้ามาทุกทิศทุกทาง ทำให้อุดมการณ์สังคมนิยมอ่อนล้า และดูเหมือนจะเลือนหายไป โดยเฉพาะในประเทศไทย
อย่างไรก็ดี ในภาวะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตหลายด้านและต้องการทางออกในปัจจุบัน แนวคิดสังคมนิยมเริ่มปรากฏขึ้นอีกครั้งในกลุ่มคนเล็กๆ หลายกลุ่ม ในรูปของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม กระทั่งตั้งพรรคแนวสังคมนิยมขึ้นมา...
ในประเทศไทย แนวคิดสังคมนิยมที่เข้ามามี ๒ สายใหญ่ สายหนึ่งมาจากยุโรปโดยเฉพาะฝรั่งเศส เมื่อพูดถึงฝรั่งเศส ก็คงเป็นที่เข้าใจกันดีว่าหมายถึงท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีนักคิดสังคมนิยมหลายท่านซึ่งอยู่ในสายนี้(สังคมนิยมจากยุโรป) ท่านเหล่านี้เป็นนักสังคมนิยมปฏิรูป ไม่ใช่นักสังคมนิยมปฏิวัติ กลุ่มที่แนวคิดคล้ายๆท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์มีหลายคนในสังคมไทย เช่น คนในขบวนการเสรีไทย แม้แต่ลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ปรีดี คือ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ก็มีแนวความคิดคล้ายๆกัน คือเป็นสังคมนิยมกลุ่มหนึ่งซึ่งเชื่อในแง่ของการเคลื่อนไหวสังคมโดยไม่ใช้ความรุนแรง
แนวความคิดสังคมนิยมจากยุโรปเมื่อมาถึงประเทศไทย ก็มีกระบวนการในการปรับวิธีคิดสังคมนิยมให้สอดคล้องเข้ากับสังคมและวัฒนธรรมไทย เป็นที่มาของคำว่า “พุทธสังคมนิยม” ส่วนอีกสายหนึ่งเป็นสังคมนิยมที่เรียกว่า เหมาอิสต์ (Maoist) ซึ่งนักคิดในแนวนี้ได้แก่ คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ซึ่งก็เป็นพุทธสังคมนิยมคนหนึ่ง เขาปฏิเสธการใช้ความรุนแรง นักคิดสังคมนิยมอีกท่านหนึ่ง คือ พุทธทาสภิกขุ ซึ่งเสนอแนวคิดหลักทางการเมืองที่เรียกว่า “ธรรมิกสังคมนิยม” ท่านเชื่อในแนวทางสังคมนิยมว่า ถึงที่สุดแล้วมนุษย์ต้องเสมอภาคกัน...
กรณีที่ประเทศรัฐคอมมิวนิสต์หลายประเทศได้แตกสลายลงไปในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ใช่ข้อสรุปว่าสังคมนิยมได้ล่มสลายแล้ว แต่เป็นเครื่องทดสอบระบบสังคมนิยม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสังคมนิยมไม่สามารถใช้ในขอบเขตทั่วโลกได้ ตัวอย่างที่ล้มเหลวในประเทศรัสเซียนั้น หลักจากที่ทำการปฏิวัติเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๑๗ แล้ว กลุ่มชนชั้นนำในการปฏิวัติที่ขึ้นมาบริหารปกครองประเทศนั้น ฟุ้งเฟ้อ หลงติดกับดักการใช้ชีวิต ที่มีศัพท์เรียกว่า “ศักดินาแดง” พวกนี้กระทำตนเป็นชนชั้นอภิสิทธิ์ของพรรค สิ่งเหล่านี้ต่างหากทำให้กระแสสังคมนิยมถูกบั่นทอนอย่างรุนแรง ประกอบกับทุนนิยมมีคำขวัญโฆษณาชวนเชื่ออย่างดีที่เรียกว่า “ต้องใช้แนวทางเศรษฐกิจ การตลาดเท่านั้น ระบอบเศรษฐกิจจึงจะไปได้”
การที่ประเทศสังคมนิยมล่มสลาย ไม่ได้เกิดจากโครงสร้างของแกนหลักคิดแบบสังคมนิยม แต่เกิดจากการปฏิบัติงานของชนชั้นผู้นำที่บริหารประเทศ บริหารพรรคอยู่ในขณะนั้น สำหรับประเทศไทย การต่อสู้ของพี่น้องประชาชนจำนวนหนึ่งที่เคยต้องไปใช้ชีวิตในชทบท ก็ถูกอิทธิพลความหลงการใช้ชีวิตนี้เช่นกัน แต่แกนอุดมการณ์สังคมนิยมก็ยังมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง คนมีความคิดในเชิงลึกซึ้งยังมีอยู่มาก สังเกตจากเอกสาร บทความ กระทั่งในหน้าหนังสือพิมพ์ก็มีออกมาบ่อย
ภายใต้สภาพสังคมไทยปัจจุบันนี้ ความคิดสังคมนิยมสามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ จากประชาชน นักคิด คนใช้แรงงาน นักต่อสู้ ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องลอกต่างประเทศมาทั้งหมด
เช่นในกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ ความคิดด้านนี้มีมาก และกำลังเป็นกระแสหลัก จุดแข็งของเขาคืออาศัยพลังมวลชนและปัญหาของประเทศเขาที่ระบบเศรษฐกิจถูกรุกรานโดยตรงจากจักรวรรดินิยม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำมัน หรือทรัพยากรอื่นๆ จะเห็นได้ว่าความคิดสังคมนิยมยังสามารถเกิดขึ้นได้และเป็นได้ แต่ในเงื่อนไขของประเทศไทยจะเป็นได้อย่างไร ก็ต้องมาศึกษาปัญหาต่างๆที่เกิดจากระบอบทุนนิยมกระทำต่อเศรษฐกิจไทยว่ามีข้อบกพร่องด้านไหน
สำหรับแนวทางแบบพรรคกรีน (Green Party) ก็น่าจะเป็นแนวทางด้านหนึ่งของพรรคสังคมนิยมในอนาคต ซึ่งเราต้องประยุกต์ปรับปรุงตามความเป็นจริงของสังคมไทย รูปแบบวิธีการก็จะยึดหลักการเปลี่ยนแปลงโดยระบอบรัฐสภาเป็นหลักก่อน บนพื้นฐานที่ผลประโยชน์หลักของประเทศต้องเป็นประชาชนโดยแท้จริง กิจการหลักๆ ต้องเป็นของรัฐ ซึ่งตัวแทนที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นรัฐบาลจะต้องมาจากอำนาจที่ถูกวิธี ไม่ใช่ด้วยอำนาจเงิน หากเป็นเช่นนั้นเราก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธโดยสิ้นเชิง ทุกรูปแบบ
สำหรับแนวคิดสังคมนิยม มีดังนี้
๑. ต้องนำกิจการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานกลับมาเป็นของรัฐ (ที่มาจากการเลือกตั้งที่ถูกต้องยุติธรรม)
๒. กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ต้องออกบนพื้นฐานผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ นั่นคือระบอบเศรษฐกิจต้องเอื้อต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช้เสรีนิยมการตลาดอย่างเดียว
๓. อำนาจหรือองค์กรปกครองทุกระดับต้องมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
เพราะฉะนั้น ปมเงื่อนของปัญหาตอนนี้จึงอยู่ที่วิธีการเลือกตั้งเพื่อให้ได้ตัวแทนองค์กรปกครองทุกระดับ สิ่งเหล่านี้เป็นข้อเสนอที่เป็นไปได้กับสังคมไทย เพียงแต่ว่าสังคมไทย ที่ผ่านมาถูกครอบงำด้วยมายาคติ เมื่อพูดถึงความคิดสังคมนิยม ก็ถูกมองว่าเป็นความคิดฝ่ายซ้าย ไม่เหมาะกับสังคมไทย จริงๆแล้วไม่ใช่เช่นนั้น
ถ้าเรามีหลักคิดแบบสังคมนิยมเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้ง เราต้องก้าวไปสู่การจัดตั้งพรรคการเมืองของประชาชนอย่างแท้จริงด้วย ถ้าเราสามารถสร้างความคิดสังคมนิยมที่เหมาะสมกับประเทศไทย เราควรจะตั้งพรรคการเมืองที่มีแนวความคิดนี้ขึ้นมาเป็นตัวแทนของประชาชน เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นโดยสันติวิธีต่อไปได้
ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีพรรคการเมืองทางเลือกจริงๆ เพราะตอนนี้มีไม่กี่ตัวเลือกซึ่งล้วนแต่เป็นพรรคอนุรักษ์นิยม พรรคการเมืองในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมามีพรรคเดียวที่มีรากฐานจากมวลชนคือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) แต่การตกต่ำของขบวนการคอมมิวนิสต์ไทยคือ ไปรับเอาแนวทางเหมาอิสต์มา ทั้งที่ปัจจัยของไทยไม่เหมือนจีน ของไทยไปเน้นการต่อสู้ของชาวนาโดยไม่มีคนเข้ามาทำงานกับคนชั้นกลาง ในขณะที่ฝ่ายขวาเข้ามาครอบงำกรรมกร ผ่านระบบทหารเช่น กอ.รมน.
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจึงสูญเสียการนำของคนจนในเมืองและเสียกรรมกรไป จึงไม่สามารถนำพวกนี้มาเป็นกองหน้าของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ดังนั้น พรรคที่จะเติบโตในอนาคตได้จะต้อง
๑. มีพลังความคิดที่จะนำมาสู่การจัดตั้งการเคลื่อนไหวที่มีเอกภาพ และต้องเป็นความคิดที่สามารถยอมรับความคิดที่แตกต่างได้ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาจุดนี้เป็นจุดอ่อนของฝ่ายซ้ายที่ไม่ค่อยยอมรับความคิดเห็นแตกต่าง จึงติดกับดักตัวเอง ทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดสังคมนิยมที่รับฟังความเห็นที่หลากหลายได้
๒. พลังทางเศรษฐกิจต้องมีฐานการเงินที่สามารถพึ่งตัวเองได้ เพื่อต่อสู้ในสนามการเมืองของโลกยุคปัจจุบัน และ
๓. การจัดตั้งภาคประชาชน ซึ่งคนจนจะเป็นกำลังหลักที่จะสร้างพรรคการเมืองก้าวหน้าได้
สรุปอุปสรรคสำคัญของการต่อสู้เพื่อสังคมนิยม คือ
๑)ความคิดและวัฒนธรรมแบบไพร่ฟ้า ระบบอุปถัมภ์-ข้าราชการ-จารีตนิยม ซึ่งแม้แต่สมาชิกในองค์กรฝ่ายซ้าย และนักวิชาการของไทยก็ยังติดกับดักทางความคิดของระบบอุปถัมภ์-จารีตนิยม เชิดชูชนชั้นปกครองที่มากล้นบารมี ไม่เชื่อมั่นประชาชนและประชาธิปไตย สิ่งสำคัญในการสร้างพรรคการเมืองของประชาชนในขณะนี้คือการปฏิวัติทางความคิด และองค์กรที่จะปลดปล่อยคนออกจากสังคมไพร่ฟ้า-อุปถัมภ์ให้ได้ต้องท้าทายทางความคิด
๒) งานจัดตั้ง งานรวมกลุ่มประชาชน การสร้างแนวร่วมประชาชน ถึงแม้จะทำได้ยาก เพราะเราด่วนสรุปกันเร็ว มีลักษณะเป็นพวกพ้องสูง แต่ก็ต้องทำงานกันต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นประชาธิปไตย เพราะไม่เช่นนั้นเราก็จะได้พรรคการเมืองแบบเดิม
๓) นโยบายของพรรคต้องก่อรูปมาจากภาคประชาชนอย่างแท้จริง
สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การแสดง “พลังเจตจำนง” โดยเฉพาะจากปัญญาชนก้าวหน้า นักวิชาการฝ่ายซ้ายและไฟที่คุโชนจากคนหนุ่มสาวผสานกันอย่างเข้มแข็งกับ พลังในการเปลี่ยนแปลงในขบวนการกรรมกร-ชาวนา
เรียบเรียงจากบทความ สังคมนิยม-ประชาธิปไตยในประเทศไทย วารสารสยามปริทัศน์ เดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นบทความจากการสัมนาเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ที่ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา
The World is our Country, The Humanity is our Homeland
แนวคิดอุดมคติสังคมนิยม (Socialist) เป็นอุดมการณ์ต่อสู้ของประชาชนที่รักความเป็นธรรม ที่เอาผลประโยชน์ของสังคมเป็นที่ตั้ง เน้นเรื่องคุณค่าของมนุษย์ที่ควรได้รับจากการจัดการของรัฐ อุดมคตินี้ไม่ใช่เรื่องใฝ่ฝันล่องลอยไร้แก่นสาร แต่ได้ผ่านการต่อสู้ยืนยันมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์
ในอดีต ความใฝ่ฝันถึงสังคมยูโธเปีย หรือสังคมยุคพระศรีอาริย์ หรือสังคมคอมมูนแบบมาร์กซ ก็เป็นสังคมนิยมพื้นฐานความใฝ่ฝันเดียวกันที่อยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่เท่าเทียม เป็นธรรม แต่ในปัจจุบันระบบทุนนิยมได้สร้างสภาวะให้โลกต่างไปจากความคิดอุดมคตินั้น จนกระทั่งความคิด ความใฝ่ฝันถึงโลกที่ร่มเย็นนั้น กลายเป็นเรื่อง “เพ้อฝัน-เป็นไปไม่ได้” ชายหนุ่ม-หญิงสาวทุกวันนี้จึงต่างก็คิดถึงแต่เรื่องของตนเอง เพื่อความอยู่รอดในระบบทุนนิยม
ภายหลังจากที่รัฐสังคมนิยมในหลายประเทศได้ล้มครืนลง ความเชื่อ ความใฝ่ฝันของอุดมการณ์สังคมนิยมก็ลดลงในหมู่นักนิยมสังคมนิยม แต่บางส่วนก็ยังเชื่อมั่นตามทฤษฎี วิทยาศาสตร์สังคมที่คาร์ล มาร์กซ ได้ยืนยันผ่านทฤษฎีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ที่เน้นมุมมองมนุษย์และสังคมผ่านความสัมพันธ์ทางการผลิต และความสัมพันธ์นี้ได้เปลี่ยนฐานะสังคมในแต่ละยุค จากยุคบุรพกาลที่มนุษย์มีความสัมพันธ์แบบเท่าเทียมกันในชาติวงศ์ มาสู่ยุคทาส-นายทาส สู่ยุคศักดินา จนถึงทุนนิยมในปัจจุบัน และจะไปถึงสังคมยุคสังคมนิยมอย่างแน่นอนเพราะเงื่อนไขความขัดแย้งการถือครองปัจจัยการผลิต
ความใฝ่ฝันความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์แบบ “จากทุกคนตามความสามารถ แด่ทุกคนตามความจำเป็น” ของคาร์ล มาร์กซ์ ก็ยังอยู่มาจนทุกวันนี้
นักสังคมนิยมย่อมคาดหวังและลงมือกระทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม มีการพูดถึงการจัดวางสังคมใหม่ที่เปลี่ยนความสัมพันธ์ทางการผลิตเสียใหม่ให้เป็นธรรมมากขึ้น เพราะแนวความคิดเสรีนิยมและวิถีของระบบทุนนิยมที่เอา กำไรเป็นตัวตั้ง สิ่งนี้ได้ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ลง เพราะเกิดการแบ่งชนชั้นตามการถือครองปัจจัยการผลิต ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม การกดขี่ ขูดรีดและเอาเปรียบทางโครงสร้างมากมาย
นักคิดหลายคนในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้นำเสนอทฤษฎีต่างๆ เพื่อกำหนดสังคมที่ยุติธรรมและเอาประโยชน์สังคมส่วนรวมเป็นที่ตั้งโดยมอบให้รัฐเป็นผู้ทำหน้าที่นั้น ในการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดำเนินไปสู่สังคมนิยมนั้น มีทั้งแนวทางสังคมนิยมปฏิรูป และ การนำพามวลชนปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐของนายทุนอย่างรุนแรง ดังจะเห็นจากตัวอย่างหลายๆประเทศในประวัติศาสตร์ที่ผ่าน
ปัจจุบันนี้ การต่อสู้เชิงอุดมการณ์สังคมนิยมในทางสากลนั้น มีความแตกต่างไปตามรูปแบบของแต่ละขบวนการในแต่ละประเทศ เช่น ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบเหมาอิสต์ จะเน้นการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธเช่น ในเนปาล ฟิลิปปินส์ หรือกรณีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในอดีตและอุดมคติแบบสังคมนิยม (Social-Democracy) จะเน้นการเคลื่อนไหวโดยการปฏิรูปทางสังคม-การเมือง หรือการจัดตั้งพรรคการเมืองของตนเองเข้าไปต่อสู่ทางการเมืองในระบบรัฐสภา ในปัจจุบันสังคมนิยมปฏิรูปได้มั่นคงพอสมควร ตัวอย่างเช่น ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ในรูปของประเทศรัฐสวัสดิการ
ขณะเดียวกันอุดมการสังคมนิยมในทางสากล ได้มีการปรับตัวเข้าหาสถานการณ์ทางสังคมและคลี่คลายปัญหาต่างๆตามข้อเท็จจริงมากขึ้น ไม่ใช่มุ่งแต่จะต่อสู้ทางการเมืองอย่างเดียว เพราะอุดมคตินี้ที่แท้จริงนั้นก็คือ “ทุกอย่างที่เอาผลประโยชน์สังคมเป็นที่ตั้ง” นั่นเอง
วาระแห่งการหารือพูดคุยของขบวนการสังคมนิยมสากลในปัจจุบัน เต็มไปด้วยความหลากหลายทางสังคมในแง่มุมต่างๆ มีเวทีสากลมากมาย ถกเถียงกันตั้งแต่หัวข้อเรื่องการพัฒนาสังคม-ประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ การต่อสู้กับเผด็จการทหาร ภัยจากโลกาภิวัฒน์ ไปจนกระทั่งประเด็นทางวัฒนธรรม อย่าง ความเท่าเทียมหญิง-ชาย สิทธิเพศที่สาม ผู้อพยพ แรงงานข้ามชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
โดยสรุปแล้วสังคมนิยมพื้นฐาน ก็คือ ความคิดที่รัฐเอาประโยชน์ของสังคมเป็นศูนย์กลาง มีเป้าหมายและวิถีทางเพื่อความเท่าเทียมกันของประชาชน มีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคมที่แท้จริง ประชาชนทุกคนมีสิทธิ-เสรีภาพโดยรัฐเป็นตัวแทนพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
Socialist จึงมีความหมายกว้างกว่า “สังคมนิยม” ที่เป็นความหมายที่คนไทยได้รับรู้โดยการใส่ร้าย เบี่ยงเบนสร้างภาพให้เป็นปิศาจร้าย โดยฝีมือของชนชั้นปกครองที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนเองไว้
ดังนั้นการผูกขาดอำนาจทางการเมืองเฉพาะชนชั้นนำ ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ของไทย จึงไม่เคยมีนโยบายสังคมนิยมเพื่อประโยชน์แก่สังคมใดๆ หรือการแก้ไขปัญหาทางโครงสร้างใดๆ ที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์แก่คนชั้นล่าง กรรกร ชาวนา ชาวไร่ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศได้ลืมตา อ้าปาก หรือแม้แต่จะแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนเชิงโครงสร้างได้อย่างแท้จริงเลย
ที่ผ่านมารัฐบาลแทบทุกชุดมีนโยบายประชาธิปไตยแบบทุนนิยม ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม จะเห็นได้จากพื้นที่ทางการเมืองส่วนใหญ่ ตกเป็นของชนชั้นนำทางสังคมและมีอำนาจทางเศรษฐกิจเข้ามามีบทบาทอย่างสูง โดยแทบไม่เหลือพื้นที่ให้ชนชั้นล่าง กรรมกร ชาวนา ชาวประมง ฯลฯ กระทั่งกีดกันอย่างเป็นตัวบทกฎหมาย เห็นชัดเจนแม้ในรัฐธรรมนูญที่นับว่าดีที่สุด ๒๕๔๐ ที่ห้ามประชาชนที่ไม่จบปริญญาตรีเข้าสู่การเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และหลังจากการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นล่างหยุดชะงักลง อุดมคติของชาวสังคมนิยม ก็อ่อนแอกลายสภาพเป็นเพียงผู้ดื่มกินมายาและเสพความฝันใฝ่ ความหวังในแต่ละวันคืน...
อย่างไรก็ตาม อุดมการณ์สังคมนิยมไม่ตาย ตราบใดที่ขบวนการคนยากจน คนใช้แรงงานยังคงเคลื่อนไหว มีความขัดแย้งทางชนชั้น หรือมีการเอารัดเอาเปรียบในเชิงโครงสร้างอยู่ เพียงแต่ว่าในสถานการณ์นี้ ขบวนการต่อสู้อาจจะอ่อนแรงหรือยังไม่เข้มแข็งพอที่จะเป็นขบวนการใหญ่ในเชิงอุดมการณ์ร่วมกัน เท่านั้นเอง...
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว แนวคิด “สังคมนิยม” เป็นการแสใหญ่ที่นักปฏิวัติทั่วโลกใช้ในการต่อสู้ ด้วยหมายที่จะสร้างสังคมที่เท่าเทียม แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป กระแส “ทุน” ที่ถั่งโถมเข้ามาทุกทิศทุกทาง ทำให้อุดมการณ์สังคมนิยมอ่อนล้า และดูเหมือนจะเลือนหายไป โดยเฉพาะในประเทศไทย
อย่างไรก็ดี ในภาวะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตหลายด้านและต้องการทางออกในปัจจุบัน แนวคิดสังคมนิยมเริ่มปรากฏขึ้นอีกครั้งในกลุ่มคนเล็กๆ หลายกลุ่ม ในรูปของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม กระทั่งตั้งพรรคแนวสังคมนิยมขึ้นมา...
ในประเทศไทย แนวคิดสังคมนิยมที่เข้ามามี ๒ สายใหญ่ สายหนึ่งมาจากยุโรปโดยเฉพาะฝรั่งเศส เมื่อพูดถึงฝรั่งเศส ก็คงเป็นที่เข้าใจกันดีว่าหมายถึงท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีนักคิดสังคมนิยมหลายท่านซึ่งอยู่ในสายนี้(สังคมนิยมจากยุโรป) ท่านเหล่านี้เป็นนักสังคมนิยมปฏิรูป ไม่ใช่นักสังคมนิยมปฏิวัติ กลุ่มที่แนวคิดคล้ายๆท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์มีหลายคนในสังคมไทย เช่น คนในขบวนการเสรีไทย แม้แต่ลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ปรีดี คือ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ก็มีแนวความคิดคล้ายๆกัน คือเป็นสังคมนิยมกลุ่มหนึ่งซึ่งเชื่อในแง่ของการเคลื่อนไหวสังคมโดยไม่ใช้ความรุนแรง
แนวความคิดสังคมนิยมจากยุโรปเมื่อมาถึงประเทศไทย ก็มีกระบวนการในการปรับวิธีคิดสังคมนิยมให้สอดคล้องเข้ากับสังคมและวัฒนธรรมไทย เป็นที่มาของคำว่า “พุทธสังคมนิยม” ส่วนอีกสายหนึ่งเป็นสังคมนิยมที่เรียกว่า เหมาอิสต์ (Maoist) ซึ่งนักคิดในแนวนี้ได้แก่ คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ซึ่งก็เป็นพุทธสังคมนิยมคนหนึ่ง เขาปฏิเสธการใช้ความรุนแรง นักคิดสังคมนิยมอีกท่านหนึ่ง คือ พุทธทาสภิกขุ ซึ่งเสนอแนวคิดหลักทางการเมืองที่เรียกว่า “ธรรมิกสังคมนิยม” ท่านเชื่อในแนวทางสังคมนิยมว่า ถึงที่สุดแล้วมนุษย์ต้องเสมอภาคกัน...
กรณีที่ประเทศรัฐคอมมิวนิสต์หลายประเทศได้แตกสลายลงไปในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ใช่ข้อสรุปว่าสังคมนิยมได้ล่มสลายแล้ว แต่เป็นเครื่องทดสอบระบบสังคมนิยม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสังคมนิยมไม่สามารถใช้ในขอบเขตทั่วโลกได้ ตัวอย่างที่ล้มเหลวในประเทศรัสเซียนั้น หลักจากที่ทำการปฏิวัติเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๑๗ แล้ว กลุ่มชนชั้นนำในการปฏิวัติที่ขึ้นมาบริหารปกครองประเทศนั้น ฟุ้งเฟ้อ หลงติดกับดักการใช้ชีวิต ที่มีศัพท์เรียกว่า “ศักดินาแดง” พวกนี้กระทำตนเป็นชนชั้นอภิสิทธิ์ของพรรค สิ่งเหล่านี้ต่างหากทำให้กระแสสังคมนิยมถูกบั่นทอนอย่างรุนแรง ประกอบกับทุนนิยมมีคำขวัญโฆษณาชวนเชื่ออย่างดีที่เรียกว่า “ต้องใช้แนวทางเศรษฐกิจ การตลาดเท่านั้น ระบอบเศรษฐกิจจึงจะไปได้”
การที่ประเทศสังคมนิยมล่มสลาย ไม่ได้เกิดจากโครงสร้างของแกนหลักคิดแบบสังคมนิยม แต่เกิดจากการปฏิบัติงานของชนชั้นผู้นำที่บริหารประเทศ บริหารพรรคอยู่ในขณะนั้น สำหรับประเทศไทย การต่อสู้ของพี่น้องประชาชนจำนวนหนึ่งที่เคยต้องไปใช้ชีวิตในชทบท ก็ถูกอิทธิพลความหลงการใช้ชีวิตนี้เช่นกัน แต่แกนอุดมการณ์สังคมนิยมก็ยังมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง คนมีความคิดในเชิงลึกซึ้งยังมีอยู่มาก สังเกตจากเอกสาร บทความ กระทั่งในหน้าหนังสือพิมพ์ก็มีออกมาบ่อย
ภายใต้สภาพสังคมไทยปัจจุบันนี้ ความคิดสังคมนิยมสามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ จากประชาชน นักคิด คนใช้แรงงาน นักต่อสู้ ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องลอกต่างประเทศมาทั้งหมด
เช่นในกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ ความคิดด้านนี้มีมาก และกำลังเป็นกระแสหลัก จุดแข็งของเขาคืออาศัยพลังมวลชนและปัญหาของประเทศเขาที่ระบบเศรษฐกิจถูกรุกรานโดยตรงจากจักรวรรดินิยม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำมัน หรือทรัพยากรอื่นๆ จะเห็นได้ว่าความคิดสังคมนิยมยังสามารถเกิดขึ้นได้และเป็นได้ แต่ในเงื่อนไขของประเทศไทยจะเป็นได้อย่างไร ก็ต้องมาศึกษาปัญหาต่างๆที่เกิดจากระบอบทุนนิยมกระทำต่อเศรษฐกิจไทยว่ามีข้อบกพร่องด้านไหน
สำหรับแนวทางแบบพรรคกรีน (Green Party) ก็น่าจะเป็นแนวทางด้านหนึ่งของพรรคสังคมนิยมในอนาคต ซึ่งเราต้องประยุกต์ปรับปรุงตามความเป็นจริงของสังคมไทย รูปแบบวิธีการก็จะยึดหลักการเปลี่ยนแปลงโดยระบอบรัฐสภาเป็นหลักก่อน บนพื้นฐานที่ผลประโยชน์หลักของประเทศต้องเป็นประชาชนโดยแท้จริง กิจการหลักๆ ต้องเป็นของรัฐ ซึ่งตัวแทนที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นรัฐบาลจะต้องมาจากอำนาจที่ถูกวิธี ไม่ใช่ด้วยอำนาจเงิน หากเป็นเช่นนั้นเราก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธโดยสิ้นเชิง ทุกรูปแบบ
สำหรับแนวคิดสังคมนิยม มีดังนี้
๑. ต้องนำกิจการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานกลับมาเป็นของรัฐ (ที่มาจากการเลือกตั้งที่ถูกต้องยุติธรรม)
๒. กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ต้องออกบนพื้นฐานผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ นั่นคือระบอบเศรษฐกิจต้องเอื้อต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช้เสรีนิยมการตลาดอย่างเดียว
๓. อำนาจหรือองค์กรปกครองทุกระดับต้องมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
เพราะฉะนั้น ปมเงื่อนของปัญหาตอนนี้จึงอยู่ที่วิธีการเลือกตั้งเพื่อให้ได้ตัวแทนองค์กรปกครองทุกระดับ สิ่งเหล่านี้เป็นข้อเสนอที่เป็นไปได้กับสังคมไทย เพียงแต่ว่าสังคมไทย ที่ผ่านมาถูกครอบงำด้วยมายาคติ เมื่อพูดถึงความคิดสังคมนิยม ก็ถูกมองว่าเป็นความคิดฝ่ายซ้าย ไม่เหมาะกับสังคมไทย จริงๆแล้วไม่ใช่เช่นนั้น
ถ้าเรามีหลักคิดแบบสังคมนิยมเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้ง เราต้องก้าวไปสู่การจัดตั้งพรรคการเมืองของประชาชนอย่างแท้จริงด้วย ถ้าเราสามารถสร้างความคิดสังคมนิยมที่เหมาะสมกับประเทศไทย เราควรจะตั้งพรรคการเมืองที่มีแนวความคิดนี้ขึ้นมาเป็นตัวแทนของประชาชน เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นโดยสันติวิธีต่อไปได้
ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีพรรคการเมืองทางเลือกจริงๆ เพราะตอนนี้มีไม่กี่ตัวเลือกซึ่งล้วนแต่เป็นพรรคอนุรักษ์นิยม พรรคการเมืองในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมามีพรรคเดียวที่มีรากฐานจากมวลชนคือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) แต่การตกต่ำของขบวนการคอมมิวนิสต์ไทยคือ ไปรับเอาแนวทางเหมาอิสต์มา ทั้งที่ปัจจัยของไทยไม่เหมือนจีน ของไทยไปเน้นการต่อสู้ของชาวนาโดยไม่มีคนเข้ามาทำงานกับคนชั้นกลาง ในขณะที่ฝ่ายขวาเข้ามาครอบงำกรรมกร ผ่านระบบทหารเช่น กอ.รมน.
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจึงสูญเสียการนำของคนจนในเมืองและเสียกรรมกรไป จึงไม่สามารถนำพวกนี้มาเป็นกองหน้าของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ดังนั้น พรรคที่จะเติบโตในอนาคตได้จะต้อง
๑. มีพลังความคิดที่จะนำมาสู่การจัดตั้งการเคลื่อนไหวที่มีเอกภาพ และต้องเป็นความคิดที่สามารถยอมรับความคิดที่แตกต่างได้ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาจุดนี้เป็นจุดอ่อนของฝ่ายซ้ายที่ไม่ค่อยยอมรับความคิดเห็นแตกต่าง จึงติดกับดักตัวเอง ทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดสังคมนิยมที่รับฟังความเห็นที่หลากหลายได้
๒. พลังทางเศรษฐกิจต้องมีฐานการเงินที่สามารถพึ่งตัวเองได้ เพื่อต่อสู้ในสนามการเมืองของโลกยุคปัจจุบัน และ
๓. การจัดตั้งภาคประชาชน ซึ่งคนจนจะเป็นกำลังหลักที่จะสร้างพรรคการเมืองก้าวหน้าได้
สรุปอุปสรรคสำคัญของการต่อสู้เพื่อสังคมนิยม คือ
๑)ความคิดและวัฒนธรรมแบบไพร่ฟ้า ระบบอุปถัมภ์-ข้าราชการ-จารีตนิยม ซึ่งแม้แต่สมาชิกในองค์กรฝ่ายซ้าย และนักวิชาการของไทยก็ยังติดกับดักทางความคิดของระบบอุปถัมภ์-จารีตนิยม เชิดชูชนชั้นปกครองที่มากล้นบารมี ไม่เชื่อมั่นประชาชนและประชาธิปไตย สิ่งสำคัญในการสร้างพรรคการเมืองของประชาชนในขณะนี้คือการปฏิวัติทางความคิด และองค์กรที่จะปลดปล่อยคนออกจากสังคมไพร่ฟ้า-อุปถัมภ์ให้ได้ต้องท้าทายทางความคิด
๒) งานจัดตั้ง งานรวมกลุ่มประชาชน การสร้างแนวร่วมประชาชน ถึงแม้จะทำได้ยาก เพราะเราด่วนสรุปกันเร็ว มีลักษณะเป็นพวกพ้องสูง แต่ก็ต้องทำงานกันต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นประชาธิปไตย เพราะไม่เช่นนั้นเราก็จะได้พรรคการเมืองแบบเดิม
๓) นโยบายของพรรคต้องก่อรูปมาจากภาคประชาชนอย่างแท้จริง
สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การแสดง “พลังเจตจำนง” โดยเฉพาะจากปัญญาชนก้าวหน้า นักวิชาการฝ่ายซ้ายและไฟที่คุโชนจากคนหนุ่มสาวผสานกันอย่างเข้มแข็งกับ พลังในการเปลี่ยนแปลงในขบวนการกรรมกร-ชาวนา
เรียบเรียงจากบทความ สังคมนิยม-ประชาธิปไตยในประเทศไทย วารสารสยามปริทัศน์ เดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นบทความจากการสัมนาเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ที่ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา
No comments:
Post a Comment