เอ็มเบ็ดก้าร์รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดีย
พัฒนาตนเอง
หลังจากได้ทำศพบิดาเรียบร้อยแล้ว เอ็มเบ็ดก้าร์ก็รู้สึกท้อแท้ใจที่จะกลับไปทำงานที่เมืองบาโรด้าอีก เพราะบรรยากาศในเมืองนั้นไม่ทำให้เขาได้รับความสุขใจเลยแม้แต่น้อย และบัดนี้ความกระหายที่จะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้กระตุ้นให้เขากระเสือกกระสนหาทุนเรียนในขั้นสูงขึ้นไป และโอกาสทองก็ได้เปิดประตู้ให้แก่เขาอีกครั้งเมื่อมหาราชาแห่งรัฐบาโรด้าผู้ที่เคยเป่าปัดปัญหาทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีให้แก่เขาได้ดำริที่จะคัดเลือกนึกศึกษาอินเดีย ส่งไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียสหรัฐอเมริกา เอ็มเบ็ดก้าร์จึงได้เข้าเฝ้ามหาราชา ณ พระราชวังของพระองค์ที่เมืองบอมเบย์ และได้กราบทูลเรื่องราวทั้งหมดของเขาต่อมหาราชา พระองค์ทรงแนะนำให้เขายื่นใบสมัครขอทุนการศึกษาตามที่รัฐบาลของพระองค์ได้ประกาศไว้
เอ็มเบ็ดก้าร์ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำทุกอย่าง ในที่สุด มหาราชาได้ตัดสินพระทัยให้ทุนแก่เอ็มเบ็ดก้าร์และนักศึกษาอื่นอีก ๓ คน เขาถูกเรียกตัวไปยังบาโรด้าในวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๔๕๖ เพื่อเซ็นสัญญากับกระทรวงศึกษาธิการแห่งรัฐบาโรด้า โดยมีข้อตกลงว่าเขาจะเรียนวิชาตามที่กระทรวงกำหนดให้เรียน และหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว เขาจะต้องกลับมาทำงานให้รัฐบาลแห่งรัฐบาโรด้าเป็นเวลา ๑๐ ปี
นับว่าเป็นโชควาสนาของลูกนอกวรรณะอย่างเอ็มเบ็ดก้าร์ ลูกอธิศูทรที่ถูกประณาม ถูกรังเกียจว่าเป็นราคีต่อผู้คบหาสมาคม เขาได้มีโอกาสที่จะไปศึกษาแสวงหาวิชาความรู้ในดินแดนที่ทั่วโลกยอมรับว่ามีความเจริญในทุกสาขาวิชาการ นับเป็นยุคใหม่และเหตุการณ์ใหม่สำหรับชาวอินเดียอีกด้วยที่ยอมเปิดโอกาสให้แก่ชาวอธิศูทร กล่าวกันว่า นักการเมืองชั้นนำของอินเดียในสมัยเดียวกับเอ็มเบ็ดก้าร์ ก็มีแต่เอ็มเบ็ดก้าร์เท่านั้นที่สำเร็จการศึกษาจากดินแดนของลินคอล์นผู้เกลียดความเป็นทาสและรักเสรีภาพเหนือชีวิตจิตใจ
เอ็มเบ็ดก้าร์เดินทางไปถึงเมืองนิวยอร์กในสัปดาห์ที่สามของเดือนกรกฎาคม ๒๔๕๖ อาทิตย์แรกเขาพักที่ Hartley Hall อันเป็นห้องโถงของมหาวิทยาลัย แต่ปัญหาสามัญของนักเรียนต่างประเทศก็คือไม่ชินกับอาหารฝรั่ง เขาจึงย้ายไปอยู่ที่ที่มีนักเรียนอินเดียอยู่ ณ ที่นั้นเขาได้พบกับเพื่อนชาวอินเดียด้วยกันปาซี (ปาซี : คนอินเดียชนกลุ่มน้อย ผิวขาว รูปร่างสูงใหญ่คล้ายชาวยุโรปที่นับถือศาสนาปาซี หรือศาสนาโซโรอัสเตอร์) ชื่อ นาวัล ภาเทวนา ผู้ซึ่งได้มีส่วนช่วยเหลือการสร้างฐานะและชื่อเสียงของเอ็มเบ็ดก้าร์อย่างมากในโอกาสต่อมา
ชีวิตในอเมริกาเป็นประสบการณ์ใหม่ เป็นโลกอีกโลกหนึ่งผิดจากที่เอ็มเบ็ดก้าร์ได้รับมาจากบ้านเกิดเมืองนอนของตน บัดนี้เขามีอิสระเสรีทัดเทียมกับเพื่อนนักศึกษาทั่วไป สามารถจะหาหนังสืออ่านได้ทุกชนิดเท่าที่ต้องการ สามารถพักผ่อนหาความเพลิดเพลินได้จากการเดินเล่นในสถานที่ต่างๆ การอาบน้ำ ดื่มน้ำก็ไม่ถูกกีดกัน เขามีสิทธิในการนั่งร่วมโต๊ะอาหารกับนักศึกษาอื่นๆ แม้แต่กับนักศึกษาชาวอินเดียด้วยกันที่เรียกตัวเองว่าเป็นลูกพราหมณ์ เป็นคนวรรณะสูง บัดนี้ความคิดใหม่ๆกำลังไหลมาสู่สมองของเขา
เอ็มเบ็ดก้าร์ได้ตั้งคำถามแก่ตัวเองว่า ทำไมพวกพราหมณ์ในอินเดียจึงประณามพวกอธิศูทรเหมือนกับไม่ใช่มนุษย์ ไม่กล้าคบค้าสมาคมด้วย กลัวจะเกิดราคีต่อชีวิต แต่พวกพราหมณ์ที่อเมริกากลับกล้านั่งร่วมโต๊ะ เรียนร่วมชั้น นอนร่วมห้องกับลูกนอกวรรณะอย่างเขา ลูกพราหมณ์เหล่านั้นไม่กลัวความมัวหมองจะเกิดขึ้นแก่พวกเขาหรอกหรือ เอ็มเบ็ดก้าร์มั่นใจและเชื่อมั่นว่า ระบบสังคมในอินเดียคือระบบทาส ระบบนี้จะต้องหมดไปได้ก็ด้วยการช่วยเหลือตัวเองของพวกอธิศูทร เท่านั้น มิใช่ด้วยการกราบไหว้วิงวอนต่อเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่บรรพบุรุษได้เคยเชื่อถือและปฏิบัติกันมาหลายชั่วคนแล้ว เครื่องมือหรือปัจจัยที่จะช่วยปลดแอกให้พวกอธิศูทรปรับปรุงตัวเองได้ ก็โดยการให้การศึกษาทัดเทียมกับคนในวรรณะอื่นๆทั้งหญิงและชาย เพราะการศึกษาทำคนให้รู้ทันต่อเหตุการณ์และรู้จักความเป็นจริงของธรรมชาติและสังคม
เอ็มเบ็ดก้าร์ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำทุกอย่าง ในที่สุด มหาราชาได้ตัดสินพระทัยให้ทุนแก่เอ็มเบ็ดก้าร์และนักศึกษาอื่นอีก ๓ คน เขาถูกเรียกตัวไปยังบาโรด้าในวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๔๕๖ เพื่อเซ็นสัญญากับกระทรวงศึกษาธิการแห่งรัฐบาโรด้า โดยมีข้อตกลงว่าเขาจะเรียนวิชาตามที่กระทรวงกำหนดให้เรียน และหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว เขาจะต้องกลับมาทำงานให้รัฐบาลแห่งรัฐบาโรด้าเป็นเวลา ๑๐ ปี
นับว่าเป็นโชควาสนาของลูกนอกวรรณะอย่างเอ็มเบ็ดก้าร์ ลูกอธิศูทรที่ถูกประณาม ถูกรังเกียจว่าเป็นราคีต่อผู้คบหาสมาคม เขาได้มีโอกาสที่จะไปศึกษาแสวงหาวิชาความรู้ในดินแดนที่ทั่วโลกยอมรับว่ามีความเจริญในทุกสาขาวิชาการ นับเป็นยุคใหม่และเหตุการณ์ใหม่สำหรับชาวอินเดียอีกด้วยที่ยอมเปิดโอกาสให้แก่ชาวอธิศูทร กล่าวกันว่า นักการเมืองชั้นนำของอินเดียในสมัยเดียวกับเอ็มเบ็ดก้าร์ ก็มีแต่เอ็มเบ็ดก้าร์เท่านั้นที่สำเร็จการศึกษาจากดินแดนของลินคอล์นผู้เกลียดความเป็นทาสและรักเสรีภาพเหนือชีวิตจิตใจ
เอ็มเบ็ดก้าร์เดินทางไปถึงเมืองนิวยอร์กในสัปดาห์ที่สามของเดือนกรกฎาคม ๒๔๕๖ อาทิตย์แรกเขาพักที่ Hartley Hall อันเป็นห้องโถงของมหาวิทยาลัย แต่ปัญหาสามัญของนักเรียนต่างประเทศก็คือไม่ชินกับอาหารฝรั่ง เขาจึงย้ายไปอยู่ที่ที่มีนักเรียนอินเดียอยู่ ณ ที่นั้นเขาได้พบกับเพื่อนชาวอินเดียด้วยกันปาซี (ปาซี : คนอินเดียชนกลุ่มน้อย ผิวขาว รูปร่างสูงใหญ่คล้ายชาวยุโรปที่นับถือศาสนาปาซี หรือศาสนาโซโรอัสเตอร์) ชื่อ นาวัล ภาเทวนา ผู้ซึ่งได้มีส่วนช่วยเหลือการสร้างฐานะและชื่อเสียงของเอ็มเบ็ดก้าร์อย่างมากในโอกาสต่อมา
ชีวิตในอเมริกาเป็นประสบการณ์ใหม่ เป็นโลกอีกโลกหนึ่งผิดจากที่เอ็มเบ็ดก้าร์ได้รับมาจากบ้านเกิดเมืองนอนของตน บัดนี้เขามีอิสระเสรีทัดเทียมกับเพื่อนนักศึกษาทั่วไป สามารถจะหาหนังสืออ่านได้ทุกชนิดเท่าที่ต้องการ สามารถพักผ่อนหาความเพลิดเพลินได้จากการเดินเล่นในสถานที่ต่างๆ การอาบน้ำ ดื่มน้ำก็ไม่ถูกกีดกัน เขามีสิทธิในการนั่งร่วมโต๊ะอาหารกับนักศึกษาอื่นๆ แม้แต่กับนักศึกษาชาวอินเดียด้วยกันที่เรียกตัวเองว่าเป็นลูกพราหมณ์ เป็นคนวรรณะสูง บัดนี้ความคิดใหม่ๆกำลังไหลมาสู่สมองของเขา
เอ็มเบ็ดก้าร์ได้ตั้งคำถามแก่ตัวเองว่า ทำไมพวกพราหมณ์ในอินเดียจึงประณามพวกอธิศูทรเหมือนกับไม่ใช่มนุษย์ ไม่กล้าคบค้าสมาคมด้วย กลัวจะเกิดราคีต่อชีวิต แต่พวกพราหมณ์ที่อเมริกากลับกล้านั่งร่วมโต๊ะ เรียนร่วมชั้น นอนร่วมห้องกับลูกนอกวรรณะอย่างเขา ลูกพราหมณ์เหล่านั้นไม่กลัวความมัวหมองจะเกิดขึ้นแก่พวกเขาหรอกหรือ เอ็มเบ็ดก้าร์มั่นใจและเชื่อมั่นว่า ระบบสังคมในอินเดียคือระบบทาส ระบบนี้จะต้องหมดไปได้ก็ด้วยการช่วยเหลือตัวเองของพวกอธิศูทร เท่านั้น มิใช่ด้วยการกราบไหว้วิงวอนต่อเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่บรรพบุรุษได้เคยเชื่อถือและปฏิบัติกันมาหลายชั่วคนแล้ว เครื่องมือหรือปัจจัยที่จะช่วยปลดแอกให้พวกอธิศูทรปรับปรุงตัวเองได้ ก็โดยการให้การศึกษาทัดเทียมกับคนในวรรณะอื่นๆทั้งหญิงและชาย เพราะการศึกษาทำคนให้รู้ทันต่อเหตุการณ์และรู้จักความเป็นจริงของธรรมชาติและสังคม
ขณะที่เอ็มเบ็ดก้าร์กำลังสร้างวิมานในอากาศในการที่จะยกระดับและขจัดความเป็นทาสของอธิศูทรนั้น เขาก็มิได้หลงลืมความเป็นนักศึกษาของตน ชีวิตและสิ่งแวดล้อมใหม่ในมหานครนิวยอร์กมิได้ทำให้ลูกวรรณะอย่างเขาลืมตัวแม้แต่น้อย เขาได้มุ่งหน้าศึกษาอย่างหนักไม่มีเวลาจะไปเดินเที่ยวเตร่เหมือนลูกผู้ดีมีเงินทั้งหลาย ความคิดที่จะไปดูหนังดูละครหรือเที่ยวไนท์คลับมิได้ผ่านเข้ามาในสมองของเขาเลย เขาดำรงชีวิตอย่างประหยัดเพื่อจะให้เหลือเงินสำหรับซื้อหนังสือที่เขาชอบและเห็นว่าเป็นประโยชน์ เขารู้ตัวว่าโอกาสอย่างนี้จะหาไม่ได้ง่ายสำหรับคนจนๆอย่างเขา จุดมุ่งหมายในการศึกษาของเขามิใช่เพื่อให้ได้รับใบปริญญาเท่านั้น แต่จะต้องให้เป็นผู้มีความรู้ดีในวิชานั้นๆด้วย เข้าทำนองที่ว่า “เรียนอะไรก็เรียนให้รู้เป็นครูเขา”
บัดนี้เอ็มเบ็ดก้าร์เลือกเรียนวิชารัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์โดยมีวิชาสังคมวิทยาเป็นวิชาประกอบ ศาสตราจารย์ คนหนึ่งชื่อ เอ็ดวิน (Edwin Selignan R.A.) เป็นคนที่เขาเลื่อมใสในบุคลิกและวิธีการสอนอย่างมาก เขาจะติดตามและขออนุญาตพิเศษเข้าฟังคำบรรยายของศาสตราจารย์ผู้นี้เสมอ เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการศึกษา เขาจะไปขอความช่วยเหลือและขอคำแนะนำและไม่เคยได้รับความผิดหวังเลย
เอ็มเบ็ดก้าร์ทำงานหนักเสมอต้นเสมอปลาย อ่านหนังสือไม่น้อยกว่าวันละ ๑๘ ชั่วโมง ขุดค้นอย่างไม่ยอมเหน็ดเหนื่อย สองปีให้หลังนับแต่เหยียบเท้าลงบนแผ่นดินแห่งเสรีภาพ เขาก็ได้รับความสำเร็จมาไว้ในกำมือพร้อมด้วยความปีติยินดี เขาได้รับปริญญาโท โดยวิทยานิพนธ์ชื่อ “การพาณิชย์ของอินเดีย สมัยโบราณ” (Ancient Indian Commerce) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ซึ่งนับว่าเป็นบันไดขั้นแรกแห่งความสำเร็จและนับว่าเป็นขั้นสำคัญมาก ความสำเร็จขั้นที่สองก็มาสู่มือเขาในเวลาไม่นาน เพราะเขาได้ทำวิทยานิพนธ์อีกเรื่องหนึ่งชื่อว่า “เงินปันผลแห่งชาติอินเดีย” (National Dividend of India) หลังจากได้ทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังใจเข้าต่อสู้เพื่องานค้นคว้าในที่สุดวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ก็สำเร็จ และมหาวิทยาลัยโคลัมเบียยอมรับในสัปดาห์ที่สองของเดือนมิถุนายน ๒๔๕๙ (ซึ่งในอีก ๘ ปีให้หลัง บริษัท พี เอส คิง แอนด์ซัน ในลอนดอน ได้ตีพิมพ์วิทยานิพนธ์ฉบับนี้อีก โดยให้ชื่อว่า “การวิวัฒนาการการคลังส่วนจังหวัดในอินเดียของอังกฤษ”(The Evolution of Provincial Finance in British India)) ด้วยวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มหาวิทยาลัยโคลัมเบียได้ให้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตแก่เอ็มเบ็ดก้าร์ หนังสือเล่มนี้เมื่อถูกตีพิมพ์แล้วก็ได้กลายเป็นตำราอ้างอิงและเป็นคู่มือสำคัญของสมาชิกสภานิติบัญญัติของอินเดียและเป็นคู่มือสำคัญของสมาชิกสภานิติบัญญัติของอินเดีย สมัยอังกฤษยังมีอำนาจอยู่ ซึ่งมักจะนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงเวลาพิจารณางบประมาณประจำปีเสมอๆ
เมื่อมีเวลาว่างเอ็มเบ็ดการ์จะพักผ่อนด้วยการเดินหาซื้อหนังสือเก่า เพราะหนังสือเก่าราคาถูก แต่เนื้อหาสาระไม่ผิดจากหนังสือใหม่ ในนิวยอร์กเขาได้เงินซื้อหนังสือวิชาต่างๆประมาณ ๒,๐๐๐ เล่ม และได้ขอร้องเพื่อนที่จะกลับอินเดียให้ช่วยนำหนังสือจำนวนนี้กลับอินเดียให้ด้วย แต่ตอนหลังได้ทราบว่า หนังสือบางส่วนได้สูญหายไป
สิ่งที่เขาได้รับความประทับใจขณะอยู่ในอเมริกาที่สุดมีอยู่ ๒ ประการ คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญของอเมริกา โดยเฉพาะที่แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกาศรับร้องสิทธิของพวกนิโกร ประการที่สองคือ ชีวิตของบุคเก้อ ที.วอชิงตัน (Booker T. Washington) ผู้เป็นนักปฏิรูปและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ของพวกนิโกรในอเมริกา ท่านผู้นี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้พัฒนาชาวนิโกรให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งในทางร่างกายและจิตใจ
หลังจากได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียแล้ว เอ็มเบ็ดก้าร์ก็ได้มุ่งความสนใจไปยังลอนดอน อันเป็นศูนย์กลางการศึกษาอันยิ่งใหญ่ของโลกอีกแห่งหนึ่ง เขาออกจากอเมริกาในเดือนมิถุนายน ๒๔๕๙ ซึ่งไม่กี่วันก็มาถึงกรุงลอนดอนเมืองอันเรืองนามของโลก...
No comments:
Post a Comment