บันทึกของเนห์รู
(เรียบเรียงจาก The Discovery of India ของยวาหระลาล เนห์รู , กรุณา กุศลาสัย แปล)
ที่คุมขังป้อมอะหะหมัดนคร ค.ศ. ๑๙๔๔
ที่คุมขังป้อมอะหะหมัดนคร ค.ศ. ๑๙๔๔
๕. ปรัชญาชีวิต
ประมาณหกหรือเจ็ดปีที่แล้วมา มีนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้ขอให้ข้าพเจ้าเขียนบทความเกี่ยวกับทรรศนะของข้าพเจ้าที่มีต่อชีวิต เพื่อเขาจะได้นำไปเผยแพร่ในที่ชุมนุมนักประพันธ์ซึ่งเขากำลังจัดให้มีขึ้น ข้าพเจ้าสนใจในความคิดเช่นนั้น แต่ข้าพเจ้ารีๆรอๆ ไม่กล้าลงมือเขียน ครั้นต่อมายิ่งมีเวลาคิดทบทวนมากเท่าใดก็ยิ่งไม่อยากเขียนมากขึ้นเท่านั้น ในที่สุด ข้าพเจ้าก็มิได้เขียนบทความนั้น
อุดมการณ์และจุดมุ่งหมายของวันวาน ยังคงเป็นอุดมการณ์ของวันนี้อยู่ แม้ว่าความสุกใสนวลสกาวของมันจะได้สูญเสียไปบ้าง และเมื่อเราเข้าไปใกล้ มันอาจจะหมดความงามโชติช่วงซึ่งเคยให้ความอบอุ่นแก่ใจและกายของเรา
บ่อยครั้งที่ความชั่วช้ากลับเป็นฝ่ายชนะ แต่ที่เลวร้ายที่สุดก็คือ การทำลายและบิดเบือนสิ่งที่ดีงามถูกต้องให้เป็นอื่นไปเสีย ธรรมชาติของมนุษย์มีความชั่วช้าประจำสันดาน ขนาดถึงต้องใช้การฝึกอบรมในท่ามกลางความทุกข์ยากลำบากเป็นเวลาหลายยุคหลายสมัยเจียวหรือ จึงจะปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม แล้วค่อยๆ ยกระดับของมนุษย์ให้อยู่สูงกว่าระดับของสัตว์เดียรัจฉานผู้เป็นทาสแห่งกิเลสตัณหา และการเบียดเบียนกัน ดังที่มนุษย์ทุกวันนี้ดูมีทีท่าจะเป็นอยู่ ? ขณะเดียวกันความพยายามให้ได้ผลอย่างจริงจัง ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้ ก็เป็นที่สิ้นหวังไปแล้วกระนั้นหรือ?
ทรรศนะของข้าพเจ้าในเยาว์วัยที่มีต่อปัญหาชีวิตได้เป็นไปตามหลักของวิทยาศาสตร์อยู่ ทั้งนี้หมายถึงเป็นทรรศนะที่ประกอบด้วยหลักสุนิยม (optimism) ง่ายๆที่มีอยู่ในวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ ๑๙ และในต้น ศตวรรษที่ ๒๐ ความมีชีวิตการเป็นอยู่อย่างสะดวกสบายและมั่นคงประกอบกับพลังวังชาและความเชื่อมั่นในตนเองที่ข้าพเจ้ามี ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้สึกชนิดสุนิยมเช่นนั้น ความรู้สึกในด้านมนุษยนิยม (Humanism)ที่เลือนรางชนิดหนึ่งได้มีอำนาจดึงดูดจิตใจข้าพเจ้า
ศาสนานั้น เท่าที่ข้าพเจ้าเห็นปฏิบัติและยอมรับนับถือกันแม้ในท่ามกลางผู้มีปัญญานึกคิด ไม่ว่าจะเป็นศาสนาฮินดู อิสลาม พุทธ หรือคริสต์ก็ตาม ไม่เป็นที่ดึงดูดจิตใจของข้าพเจ้า ศาสนาดูมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับกิจปฏิบัติอย่างงมงายและความเชื่อถือที่ไร้เหตุผล เบื้องหลังของศาสนามีวิธีเข้าสู่ปัญหาชีวิต ซึ่งมิใช่เป็นวิธีการของนักวิทยาศาสตร์ ศาสนามีเรื่องของอำนาจวิเศษเจือปน มีความเชื่อมั่นอย่างไม่ไต่ถาม และมีสิ่งนอกเหนือธรรมชาติเป็นที่พึ่ง
แม้กระนั้นก็ตาม เป็นที่ประจักษ์แจ้งว่า ศาสนาได้ให้สิ่งที่ธรรมชาติของมนุษย์มีความรู้สึกต้องการอย่างลึกซึ้งภายในและเป็นที่แจ่มแจ้งว่า คนส่วนใหญ่จำนวนมากมายทั่วโลกจะปราศจากเสียมิได้ซึ่งความเชื่อมั่นทางศาสนาไม่รูปใดก็รูปหนึ่ง ศาสนาได้ทำให้เกิดชายหญิงที่ดีเลิศจำนวนมากมาย ในทำนองเดียวกันกับที่ได้สร้างผู้ปกครองที่กดขี่ทารุณ มีน้ำใจคับแคบมีการกระทำอันคลั่งไคล้ไร้สติ จำนวนไม่น้อยด้วย..
วิทยาศาสตร์และปฏิบัติการที่วิทยาศาสตร์มีต่อโลกที่พึงเห็นได้ด้วยตาและต่อกระบวนการของชีวิตนั้น มิได้รับการปรับปรุงให้เข้ากันได้กับธาตุมูลทางกายภาพ ทางศิลปะ ทางจิตใจและธาตุมูลอื่นๆของโลกซึ่งไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา ชีวิตมิได้ประกอบขึ้นด้วยสิ่งที่เราได้เห็น ได้ยินและรู้สึก อันหมายถึงโลกแห่งวัตถุซึ่งเปลี่ยนแปลงตามกาลเทศนะเท่านั้น หากชีวิตยังต้องสัมผัสอยู่ตลอดเวลากับโลกซึ่งไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา โลกซึ่งประกอบด้วยธาตุมูลอื่นที่มีความมั่นคงมากกว่า หรือไม่ก็ที่มีความผันแปรเท่าๆกัน ไม่มีใครที่มีปัญญาความคิดจะปฏิเสธโลกซึ่งไม่อาจมองเห็นด้วยสายตาเช่นนี้ได้
วิทยาศาสตร์ไม่ให้ความอะไรรู้เรามากนักเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของชีวิต หรือจะว่าไม่ให้เลยก็ว่าได้ วิทยาศาสตร์กำลังขยายอาณาเขตการค้นคว้าออกไปอย่างกว้างขวาง ในไมช้ามันคงจะบุกเบิกเข้าสู่โลกที่เรียกกันว่า ไม่สามารถจะมองเห็นได้ด้วยตา และคงจะช่วยให้เราเข้าใจความมุ่งหมายของชีวิตในขอบเขตอันกว้างไกลที่สุดได้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็คงจะให้ความรู้อันจะเป็นแสงสว่าง ช่วยให้เราเข้าใจปัญหาเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น การโต้เถียงเก่าแก่ซึ่งเคยมีอยู่ระหว่างวิทยาศาสตร์กับศาสนาได้เริ่มมีรูปลักษณะใหม่ ซึ่งหมายถึงการใช้วิธีการของวิทยาศาสตร์เข้าประยุกต์กับประสบการณ์ทางศาสนาและจิตใจ..
อภิปรัชญาและปรัชญา หรือที่เรียกกันว่าปรัชญาเชิงอภิปรัชญา เป็นวิชาที่น่าสนใจมาก ทั้งสองเป็นวิชาที่ต้องใช้ความคิดอย่างหนัก ต้องอาศัยหลักแห่งตรรกะและการใช้เหตุผล และแม้ว่าทฤษฎีเหล่านี้จำเป็นต้องประกอบด้วยหลักฐานบางประการซึ่งถือกันว่าสมจริงสมจังอย่างชัดแจ้งโดยตัวของมันเองแล้วก็ตาม แต่หลักฐานนั้นๆ อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้..
บางคนก็ชอบวิชาทั้งสองนี้กว่าวิชาอื่น ความสำคัญที่วิชาทั้งสองได้รับย่อมแตกต่างกันไปตามยุคสมัยในโลกสมัยโบราณ ทั้งในเอเชียและยุโรปความเน้นหนักทั้งหมดอยู่ที่อำนาจสูงสุดแห่งชีวิตภายใน ซึ่งเชื่อกันว่ามีอำนาจเหนือกว่าสิ่งภายนอก ความเชื่อเช่นนี้ย่อมนำไปสู่อภิปรัชญาและปรัชญา มนุษย์ในยุคปัจจุบันต้องหมกหมุ่นอยู่กับสิ่งภายนอกมากกว่าในสมัยโบราณมากนัก แม้กระนั้นก็ตาม ในเมื่อเกิดวิกฤตกาลและความยุ่งยากทางจิตใจ เขาก็มักจะหันเข้าหาปรัชญาและจินตนาการทางอภิปรัชญา
ตัวข้าพเจ้าเองไม่สนใจกับวิชาอภิปรัชญาและอันที่จริงแล้ว ข้าพเจ้าชิงชังการคิดนึกใดๆ ที่เลือนรางไม่แน่นอน แม้กระนั้นก็ดี บางครั้งข้าพเจ้าก็รู้สึกว่า ตนเองได้รับความเพลิดเพลินทางสมองบางประการในการพยายามเจริญรอยตามวิถีทางอันคับแคบแห่งความคิดนึกทางอภิปรัชญาและปรัชญาของคนโบราณหรือของคนในยุคปัจจุบัน แต่ข้าพเจ้าไม่เคยรู้สึกสบายใจในการกระทำเช่นนั้น
โดยเนื้อแท้แล้ว ข้าพเจ้ามีความสนใจในโลกนี้ในชีวิตนี้ มิใช่ในโลกอื่นหรือในชีวิตหน้า อาตมัน (soul) มีจริงหรือไม่? ตายแล้วเกิดใหม่หรือเปล่า ? ข้าพเจ้าไม่ทราบและแม้ว่าปัญหาเหล่านี้จะมีความสำคัญอยู่ มันก็ไม่ก่อความยุ่งยากแก่ข้าพเจ้าเลย สภาพแวดล้อมที่ข้าพเจ้าได้เติบโตขึ้นมา ยอมรับนับถือว่า มีอาตมัน มีชีวิตหน้า ยอมรับทฤษฎีแห่งกรรมอันว่าด้วยเหตุและผลและยอมรับว่าตายแล้วมีการเกิดใหม่ ข้าพเจ้าเองก็ได้รับอิทธิพลจากการเชื่อเช่นนี้ เพราะฉะนั้น โดยนัยหนึ่งแล้วข้าพเจ้ามีจิตใจที่พอจะเข้ากันได้กับความเชื่อถือเช่นนี้ หลังจากสิ้นสุดสังขารแล้วอาจจะมีอาตมันเหลืออยู่ก็ได้..
แต่ข้าพเจ้าไม่ยอมเชื่อในทฤษฎีและแนวคิดเหล่านี้ในฐานะที่เป็นศรัทธาปสาทะทางศาสนา เพราะมันเป็นแต่เพียงจินตนาการทางพุทธิปัญญาเกี่ยวกับขอบเขตที่ยังไม่มีใครทราบ และเราเองก็ยังมีความรู้น้อยเต็มที ทฤษฎีและแนวความคิดเหล่านี้มิได้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อชีวิตของข้าพเจ้า และถึงแม้ว่าต่อไปจะได้รับการพิสูจน์ว่าถูกหรือผิดก็ตาม ก็ย่อมจะสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าได้น้อยมาก
บ่อยครั้งที่ข้าพเจ้ามองดูโลกแล้วเกิดรู้สึกถึงความเร้นลับมหัศจรรย์และความลึกสุดที่จะหยั่งได้ ความอยากรู้อยากเข้าใจ เท่าที่ข้าพเจ้าพอจะรู้จะเข้าใจได้ ได้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าอยากจะเข้าใจสิ่งเหล่านี้ให้ได้ เข้าใจมันอย่างสมบูรณ์ แต่ข้าพเจ้ารู้สึกว่า วิธีที่จะเข้าสู่ความเข้าใจเช่นนี้ ต้องเป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ วิธีของการหาความจริงแบบภววิสัย (Objective) จริงอยู่ข้าพเจ้าตระหนักแก่ใจดีว่า ภววิสัยอันแท้จริงนั้นไม่มี แต่ถ้าหากว่า อัตวิสัย (subjective) เป็นเรื่องที่จะหลีกเลี่ยงและหนีไม่พ้นแล้วไซร้ มันก็ควรจะได้รับการวิเคราะห์และกำหนดโดยวิธีการของวิทยาศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
สิ่งเร้นลับมหัศจรรย์คืออะไร ข้าพเจ้าไม่ทราบ แต่ข้าพเจ้าจะไม่ขอเรียกสิ่งนั้นว่า พระเจ้า (God) เพราะว่าคำว่าพระเจ้าได้กลายเป็นคำพูดที่มีความหมายถึงอะไรต่อมิอะไรหลายสิ่งหลายอย่างที่ข้าพเจ้าไม่เชื่อ ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะนึกคิดถึงพระเจ้าหรืออำนาจสูงสุดที่ไม่รู้ไม่เห็นใดๆ ในรูปลักษณะของมนุษย์ และการที่มีคนจำนวนมากคิดนึกถึงพระเจ้าในทำนองนี้ได้ก่อให้เกิดความประหลาดใจแก่ข้าพเจ้าเสมอมา
ประมาณหกหรือเจ็ดปีที่แล้วมา มีนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้ขอให้ข้าพเจ้าเขียนบทความเกี่ยวกับทรรศนะของข้าพเจ้าที่มีต่อชีวิต เพื่อเขาจะได้นำไปเผยแพร่ในที่ชุมนุมนักประพันธ์ซึ่งเขากำลังจัดให้มีขึ้น ข้าพเจ้าสนใจในความคิดเช่นนั้น แต่ข้าพเจ้ารีๆรอๆ ไม่กล้าลงมือเขียน ครั้นต่อมายิ่งมีเวลาคิดทบทวนมากเท่าใดก็ยิ่งไม่อยากเขียนมากขึ้นเท่านั้น ในที่สุด ข้าพเจ้าก็มิได้เขียนบทความนั้น
อุดมการณ์และจุดมุ่งหมายของวันวาน ยังคงเป็นอุดมการณ์ของวันนี้อยู่ แม้ว่าความสุกใสนวลสกาวของมันจะได้สูญเสียไปบ้าง และเมื่อเราเข้าไปใกล้ มันอาจจะหมดความงามโชติช่วงซึ่งเคยให้ความอบอุ่นแก่ใจและกายของเรา
บ่อยครั้งที่ความชั่วช้ากลับเป็นฝ่ายชนะ แต่ที่เลวร้ายที่สุดก็คือ การทำลายและบิดเบือนสิ่งที่ดีงามถูกต้องให้เป็นอื่นไปเสีย ธรรมชาติของมนุษย์มีความชั่วช้าประจำสันดาน ขนาดถึงต้องใช้การฝึกอบรมในท่ามกลางความทุกข์ยากลำบากเป็นเวลาหลายยุคหลายสมัยเจียวหรือ จึงจะปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม แล้วค่อยๆ ยกระดับของมนุษย์ให้อยู่สูงกว่าระดับของสัตว์เดียรัจฉานผู้เป็นทาสแห่งกิเลสตัณหา และการเบียดเบียนกัน ดังที่มนุษย์ทุกวันนี้ดูมีทีท่าจะเป็นอยู่ ? ขณะเดียวกันความพยายามให้ได้ผลอย่างจริงจัง ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้ ก็เป็นที่สิ้นหวังไปแล้วกระนั้นหรือ?
ทรรศนะของข้าพเจ้าในเยาว์วัยที่มีต่อปัญหาชีวิตได้เป็นไปตามหลักของวิทยาศาสตร์อยู่ ทั้งนี้หมายถึงเป็นทรรศนะที่ประกอบด้วยหลักสุนิยม (optimism) ง่ายๆที่มีอยู่ในวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ ๑๙ และในต้น ศตวรรษที่ ๒๐ ความมีชีวิตการเป็นอยู่อย่างสะดวกสบายและมั่นคงประกอบกับพลังวังชาและความเชื่อมั่นในตนเองที่ข้าพเจ้ามี ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้สึกชนิดสุนิยมเช่นนั้น ความรู้สึกในด้านมนุษยนิยม (Humanism)ที่เลือนรางชนิดหนึ่งได้มีอำนาจดึงดูดจิตใจข้าพเจ้า
ศาสนานั้น เท่าที่ข้าพเจ้าเห็นปฏิบัติและยอมรับนับถือกันแม้ในท่ามกลางผู้มีปัญญานึกคิด ไม่ว่าจะเป็นศาสนาฮินดู อิสลาม พุทธ หรือคริสต์ก็ตาม ไม่เป็นที่ดึงดูดจิตใจของข้าพเจ้า ศาสนาดูมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับกิจปฏิบัติอย่างงมงายและความเชื่อถือที่ไร้เหตุผล เบื้องหลังของศาสนามีวิธีเข้าสู่ปัญหาชีวิต ซึ่งมิใช่เป็นวิธีการของนักวิทยาศาสตร์ ศาสนามีเรื่องของอำนาจวิเศษเจือปน มีความเชื่อมั่นอย่างไม่ไต่ถาม และมีสิ่งนอกเหนือธรรมชาติเป็นที่พึ่ง
แม้กระนั้นก็ตาม เป็นที่ประจักษ์แจ้งว่า ศาสนาได้ให้สิ่งที่ธรรมชาติของมนุษย์มีความรู้สึกต้องการอย่างลึกซึ้งภายในและเป็นที่แจ่มแจ้งว่า คนส่วนใหญ่จำนวนมากมายทั่วโลกจะปราศจากเสียมิได้ซึ่งความเชื่อมั่นทางศาสนาไม่รูปใดก็รูปหนึ่ง ศาสนาได้ทำให้เกิดชายหญิงที่ดีเลิศจำนวนมากมาย ในทำนองเดียวกันกับที่ได้สร้างผู้ปกครองที่กดขี่ทารุณ มีน้ำใจคับแคบมีการกระทำอันคลั่งไคล้ไร้สติ จำนวนไม่น้อยด้วย..
วิทยาศาสตร์และปฏิบัติการที่วิทยาศาสตร์มีต่อโลกที่พึงเห็นได้ด้วยตาและต่อกระบวนการของชีวิตนั้น มิได้รับการปรับปรุงให้เข้ากันได้กับธาตุมูลทางกายภาพ ทางศิลปะ ทางจิตใจและธาตุมูลอื่นๆของโลกซึ่งไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา ชีวิตมิได้ประกอบขึ้นด้วยสิ่งที่เราได้เห็น ได้ยินและรู้สึก อันหมายถึงโลกแห่งวัตถุซึ่งเปลี่ยนแปลงตามกาลเทศนะเท่านั้น หากชีวิตยังต้องสัมผัสอยู่ตลอดเวลากับโลกซึ่งไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา โลกซึ่งประกอบด้วยธาตุมูลอื่นที่มีความมั่นคงมากกว่า หรือไม่ก็ที่มีความผันแปรเท่าๆกัน ไม่มีใครที่มีปัญญาความคิดจะปฏิเสธโลกซึ่งไม่อาจมองเห็นด้วยสายตาเช่นนี้ได้
วิทยาศาสตร์ไม่ให้ความอะไรรู้เรามากนักเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของชีวิต หรือจะว่าไม่ให้เลยก็ว่าได้ วิทยาศาสตร์กำลังขยายอาณาเขตการค้นคว้าออกไปอย่างกว้างขวาง ในไมช้ามันคงจะบุกเบิกเข้าสู่โลกที่เรียกกันว่า ไม่สามารถจะมองเห็นได้ด้วยตา และคงจะช่วยให้เราเข้าใจความมุ่งหมายของชีวิตในขอบเขตอันกว้างไกลที่สุดได้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็คงจะให้ความรู้อันจะเป็นแสงสว่าง ช่วยให้เราเข้าใจปัญหาเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น การโต้เถียงเก่าแก่ซึ่งเคยมีอยู่ระหว่างวิทยาศาสตร์กับศาสนาได้เริ่มมีรูปลักษณะใหม่ ซึ่งหมายถึงการใช้วิธีการของวิทยาศาสตร์เข้าประยุกต์กับประสบการณ์ทางศาสนาและจิตใจ..
อภิปรัชญาและปรัชญา หรือที่เรียกกันว่าปรัชญาเชิงอภิปรัชญา เป็นวิชาที่น่าสนใจมาก ทั้งสองเป็นวิชาที่ต้องใช้ความคิดอย่างหนัก ต้องอาศัยหลักแห่งตรรกะและการใช้เหตุผล และแม้ว่าทฤษฎีเหล่านี้จำเป็นต้องประกอบด้วยหลักฐานบางประการซึ่งถือกันว่าสมจริงสมจังอย่างชัดแจ้งโดยตัวของมันเองแล้วก็ตาม แต่หลักฐานนั้นๆ อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้..
บางคนก็ชอบวิชาทั้งสองนี้กว่าวิชาอื่น ความสำคัญที่วิชาทั้งสองได้รับย่อมแตกต่างกันไปตามยุคสมัยในโลกสมัยโบราณ ทั้งในเอเชียและยุโรปความเน้นหนักทั้งหมดอยู่ที่อำนาจสูงสุดแห่งชีวิตภายใน ซึ่งเชื่อกันว่ามีอำนาจเหนือกว่าสิ่งภายนอก ความเชื่อเช่นนี้ย่อมนำไปสู่อภิปรัชญาและปรัชญา มนุษย์ในยุคปัจจุบันต้องหมกหมุ่นอยู่กับสิ่งภายนอกมากกว่าในสมัยโบราณมากนัก แม้กระนั้นก็ตาม ในเมื่อเกิดวิกฤตกาลและความยุ่งยากทางจิตใจ เขาก็มักจะหันเข้าหาปรัชญาและจินตนาการทางอภิปรัชญา
ตัวข้าพเจ้าเองไม่สนใจกับวิชาอภิปรัชญาและอันที่จริงแล้ว ข้าพเจ้าชิงชังการคิดนึกใดๆ ที่เลือนรางไม่แน่นอน แม้กระนั้นก็ดี บางครั้งข้าพเจ้าก็รู้สึกว่า ตนเองได้รับความเพลิดเพลินทางสมองบางประการในการพยายามเจริญรอยตามวิถีทางอันคับแคบแห่งความคิดนึกทางอภิปรัชญาและปรัชญาของคนโบราณหรือของคนในยุคปัจจุบัน แต่ข้าพเจ้าไม่เคยรู้สึกสบายใจในการกระทำเช่นนั้น
โดยเนื้อแท้แล้ว ข้าพเจ้ามีความสนใจในโลกนี้ในชีวิตนี้ มิใช่ในโลกอื่นหรือในชีวิตหน้า อาตมัน (soul) มีจริงหรือไม่? ตายแล้วเกิดใหม่หรือเปล่า ? ข้าพเจ้าไม่ทราบและแม้ว่าปัญหาเหล่านี้จะมีความสำคัญอยู่ มันก็ไม่ก่อความยุ่งยากแก่ข้าพเจ้าเลย สภาพแวดล้อมที่ข้าพเจ้าได้เติบโตขึ้นมา ยอมรับนับถือว่า มีอาตมัน มีชีวิตหน้า ยอมรับทฤษฎีแห่งกรรมอันว่าด้วยเหตุและผลและยอมรับว่าตายแล้วมีการเกิดใหม่ ข้าพเจ้าเองก็ได้รับอิทธิพลจากการเชื่อเช่นนี้ เพราะฉะนั้น โดยนัยหนึ่งแล้วข้าพเจ้ามีจิตใจที่พอจะเข้ากันได้กับความเชื่อถือเช่นนี้ หลังจากสิ้นสุดสังขารแล้วอาจจะมีอาตมันเหลืออยู่ก็ได้..
แต่ข้าพเจ้าไม่ยอมเชื่อในทฤษฎีและแนวคิดเหล่านี้ในฐานะที่เป็นศรัทธาปสาทะทางศาสนา เพราะมันเป็นแต่เพียงจินตนาการทางพุทธิปัญญาเกี่ยวกับขอบเขตที่ยังไม่มีใครทราบ และเราเองก็ยังมีความรู้น้อยเต็มที ทฤษฎีและแนวความคิดเหล่านี้มิได้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อชีวิตของข้าพเจ้า และถึงแม้ว่าต่อไปจะได้รับการพิสูจน์ว่าถูกหรือผิดก็ตาม ก็ย่อมจะสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าได้น้อยมาก
บ่อยครั้งที่ข้าพเจ้ามองดูโลกแล้วเกิดรู้สึกถึงความเร้นลับมหัศจรรย์และความลึกสุดที่จะหยั่งได้ ความอยากรู้อยากเข้าใจ เท่าที่ข้าพเจ้าพอจะรู้จะเข้าใจได้ ได้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าอยากจะเข้าใจสิ่งเหล่านี้ให้ได้ เข้าใจมันอย่างสมบูรณ์ แต่ข้าพเจ้ารู้สึกว่า วิธีที่จะเข้าสู่ความเข้าใจเช่นนี้ ต้องเป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ วิธีของการหาความจริงแบบภววิสัย (Objective) จริงอยู่ข้าพเจ้าตระหนักแก่ใจดีว่า ภววิสัยอันแท้จริงนั้นไม่มี แต่ถ้าหากว่า อัตวิสัย (subjective) เป็นเรื่องที่จะหลีกเลี่ยงและหนีไม่พ้นแล้วไซร้ มันก็ควรจะได้รับการวิเคราะห์และกำหนดโดยวิธีการของวิทยาศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
สิ่งเร้นลับมหัศจรรย์คืออะไร ข้าพเจ้าไม่ทราบ แต่ข้าพเจ้าจะไม่ขอเรียกสิ่งนั้นว่า พระเจ้า (God) เพราะว่าคำว่าพระเจ้าได้กลายเป็นคำพูดที่มีความหมายถึงอะไรต่อมิอะไรหลายสิ่งหลายอย่างที่ข้าพเจ้าไม่เชื่อ ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะนึกคิดถึงพระเจ้าหรืออำนาจสูงสุดที่ไม่รู้ไม่เห็นใดๆ ในรูปลักษณะของมนุษย์ และการที่มีคนจำนวนมากคิดนึกถึงพระเจ้าในทำนองนี้ได้ก่อให้เกิดความประหลาดใจแก่ข้าพเจ้าเสมอมา
No comments:
Post a Comment