ภายใต้อาณานิคมฝรั่งเศส
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ได้มีการแข่งขันกันครอบครองดินแดนที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติของมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีน ระหว่างฝรั่งเศสกับสหราชอาณาจักร ในการนี้ฝรั่งเศสได้ยึดตอนใต้ของเวียดนาม คือแคว้นโคชินไชน่าเป็นอาณานิคม แล้วขยายขึ้นมายังแคว้นตังเกี๋ยในเวียดนามตอนเหนือ แล้วเข้ายึดกัมพูชา และลาวเป็นอันดับต่อมา ส่วนสหราชอาณาจักรนั้นยึดครองมาลายู อินเดียและพม่า ทั้งนี้โดยมีราชอาณาจักรสยามหรือไทย เป็นรัฐกันชน
ดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงในอินโดจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลาว ซึ่งเป็นประเทศขนาดเล็ก แม้จะไม่มีพรมแดนติดทะเลแต่ก็มั่งคั่งด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังตั้งอยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เมื่อพิจารณาในด้านภูมิรัฐศาสตร์จะเห็นว่า ลาวมีพรมแดนเชื่อมต่อทั้งกับ จีน พม่า ไทย เวียดนามและกัมพูชา ด้วยเหตุนี้ดินแดนลาวจึงเป็นที่สนใจของฝรั่งเศส ซึ่งกำลังแผ่ขยายอาณานิคมอยู่ในภูมิภาคแถบนี้เป็นอย่างมาก
ปัญหาในอดีตของลาวก็คือ ถูกขนาบข้างไว้ด้วยประเทศใหญ่ที่มีอำนาจเหนือกว่าคือ เวียดนามและไทย จึงต้องรักษาไว้ซึ่งดุลอำนาจของทั้งสองฝ่าย เมื่อใดก็ตามที่ไม่อาจรักษาดุลอำนาจไว้ได้ ก็อาจถูกโน้มน้าวตกอยู่ภายใต้อำนาจการครอบงำหรือตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใดประเทศหนึ่ง
ประวัติศาสตร์ของลาวระบุไว้ว่า ลาวเคยตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นเมืองขึ้นของประเทศเพื่อนบ้าน อันได้แก่ เวียดนาม ไทย และพม่า แล้วแต่อำนาจทางการทหารของอาณาจักรใดจะมีความเข้มแข็งกว่ากัน
กระนั้นก็ไม่เลวร้ายเท่าในช่วงยุคสมัยการล่าอาณานิคม ที่ลาวต้องตกอยู่ใต้อำนาจอันเข้มงวดของฝรั่งเศสเป็นระยะเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ ในฐานะแคว้นหนึ่งของสหภาพฝรั่งเศสในดินแดนอาณานิคมอินโดจีน อันนำไปสู่การรวมตัวกันของประชาชนลาวรวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชาติม้งและและชนชาติที่กระจายอยู่ในภาคเหนือและภาคใต้ ต่อสู้กับกองทหารฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่อง กระทั่งได้มาซึ่งเอกราช เสมอภาค ภราดรภาพ อธิปไตย และประชาธิปไตย
เมื่อมองถึงประวัติศาสตร์ของดินแดนอินโดจีน มีนักสำรวจชาวฝรั่งเศสหลายคนเดินทางเข้ามาสำรวจดินแดนแถบนี้ ในบรรดานักสำรวจชาวฝรั่งเศสเหล่านี้ ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง คือ ออกุส ปาวี (Auguste Pavie) ผู้เข้ามาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในกองทหารฝรั่งเศสประจำอินโดจีน การเป็นผู้มีนิสัยใคร่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ช่วยให้ปาวีสามารถพูด อ่าน เขียน ภาษาในดินแดนอินโดจีนได้ทุกภาษา ๑๑ ปีในเขมรและ ๕ ปีในเวียดนามช่วยให้เขาใช้ภาษาเขมรและเวียดนามได้คล่องแคล่ว รวมทั้งภาษาลาวและไทย ที่สำคัญคือ ปาวีมีความรอบรู้ในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ภาษาและวัฒนธรรมของดินแดนอินโดจีนเป็นอย่างดี
ในเวลานั้น สหภาพฝรั่งเศส (Union Francaise)ใช้ฮานอยเป็นเมืองศูนย์กลางในการปกครองอินโดจีนทั้งหมด การที่ลาวแบ่งออกเป็น ๓ อาณาจักร คือ อาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง๑ อาณาจักรเวียงจันทน์ ๑ อาณาจักรสะหวันนะเขด ๑ ฝรั่งเศสจึงคานอำนาจของทั้งสามอาณาจักรโดยการติดอาวุธให้ชนพื้นเมืองที่สนับสนุนและมีการติดต่อสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายตน
ออกุส ปาวี ได้รับการปรับเปลี่ยนสถานภาพจากการเป็นนักสำรวจก้าวขึ้นเป็นกงสุลประจำเมืองหลวงพระบาง (ในเวลานั้นหลวงพระบางขึ้นอยู่กับราชอาณาจักรสยาม)และดำรงตำแหน่งดังกล่าวยืนยาวถึง ๒๐ ปี คือตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๒๙ – ๒๔๔๘
แนวความคิดของปาวี สอดรับกับนโยบายแผ่ขยายอาณานิคมของรัฐบาลฝรั่งเศส ที่มีนายคาร์โนท์เป็นประธานาธิบดีและได้ส่งนายลาเซนังนักการเมืองที่เขียนหนังสือสนับสนุนให้มีการขยายดินแดนอาณานิคม มาดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการอินโดจีน และต่อมาลาเซนังได้แต่งตั้งให้ปาวีเป็นทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ ในพ.ศ.๒๔๓๖ กระทั่งนำไปสู่ปัญหาขัดแย้งครั้งสำคัญ คือ ปาวีขอให้รัฐบาลฝรั่งเศสส่งเรือลูแตงมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยาตรงหน้าสถานทูตฝรั่งเศส และยิงปืนใหญ่ข่มขู่ไทยในวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๖ โดยบังคับให้สยามยกดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงของสยามที่เรียกว่า “เหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒”
และต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๕ – ๒๔๔๖ (ค.ศ.๑๙๐๒-๑๙๐๓) ฝรั่งเศสนักล่าเมืองขึ้นโดย ม.ปาวี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นทูตฝรั่งเศสประจำกรุงสยาม ได้บีบบังคับให้ไทยยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงปากเซและฝั่งตรงข้ามนครหลวงพระบางให้อีก ดินแดนลาวที่เคยอยู่ภายใต้อธิปไตยของศักดินาสยามก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสนับแต่บัดนั้น แต่เรียกชื่ออย่างหลอกลวงว่า “รัฐในอารักขา”
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ได้มีการแข่งขันกันครอบครองดินแดนที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติของมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีน ระหว่างฝรั่งเศสกับสหราชอาณาจักร ในการนี้ฝรั่งเศสได้ยึดตอนใต้ของเวียดนาม คือแคว้นโคชินไชน่าเป็นอาณานิคม แล้วขยายขึ้นมายังแคว้นตังเกี๋ยในเวียดนามตอนเหนือ แล้วเข้ายึดกัมพูชา และลาวเป็นอันดับต่อมา ส่วนสหราชอาณาจักรนั้นยึดครองมาลายู อินเดียและพม่า ทั้งนี้โดยมีราชอาณาจักรสยามหรือไทย เป็นรัฐกันชน
ดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงในอินโดจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลาว ซึ่งเป็นประเทศขนาดเล็ก แม้จะไม่มีพรมแดนติดทะเลแต่ก็มั่งคั่งด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังตั้งอยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เมื่อพิจารณาในด้านภูมิรัฐศาสตร์จะเห็นว่า ลาวมีพรมแดนเชื่อมต่อทั้งกับ จีน พม่า ไทย เวียดนามและกัมพูชา ด้วยเหตุนี้ดินแดนลาวจึงเป็นที่สนใจของฝรั่งเศส ซึ่งกำลังแผ่ขยายอาณานิคมอยู่ในภูมิภาคแถบนี้เป็นอย่างมาก
ปัญหาในอดีตของลาวก็คือ ถูกขนาบข้างไว้ด้วยประเทศใหญ่ที่มีอำนาจเหนือกว่าคือ เวียดนามและไทย จึงต้องรักษาไว้ซึ่งดุลอำนาจของทั้งสองฝ่าย เมื่อใดก็ตามที่ไม่อาจรักษาดุลอำนาจไว้ได้ ก็อาจถูกโน้มน้าวตกอยู่ภายใต้อำนาจการครอบงำหรือตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใดประเทศหนึ่ง
ประวัติศาสตร์ของลาวระบุไว้ว่า ลาวเคยตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นเมืองขึ้นของประเทศเพื่อนบ้าน อันได้แก่ เวียดนาม ไทย และพม่า แล้วแต่อำนาจทางการทหารของอาณาจักรใดจะมีความเข้มแข็งกว่ากัน
กระนั้นก็ไม่เลวร้ายเท่าในช่วงยุคสมัยการล่าอาณานิคม ที่ลาวต้องตกอยู่ใต้อำนาจอันเข้มงวดของฝรั่งเศสเป็นระยะเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ ในฐานะแคว้นหนึ่งของสหภาพฝรั่งเศสในดินแดนอาณานิคมอินโดจีน อันนำไปสู่การรวมตัวกันของประชาชนลาวรวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชาติม้งและและชนชาติที่กระจายอยู่ในภาคเหนือและภาคใต้ ต่อสู้กับกองทหารฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่อง กระทั่งได้มาซึ่งเอกราช เสมอภาค ภราดรภาพ อธิปไตย และประชาธิปไตย
เมื่อมองถึงประวัติศาสตร์ของดินแดนอินโดจีน มีนักสำรวจชาวฝรั่งเศสหลายคนเดินทางเข้ามาสำรวจดินแดนแถบนี้ ในบรรดานักสำรวจชาวฝรั่งเศสเหล่านี้ ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง คือ ออกุส ปาวี (Auguste Pavie) ผู้เข้ามาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในกองทหารฝรั่งเศสประจำอินโดจีน การเป็นผู้มีนิสัยใคร่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ช่วยให้ปาวีสามารถพูด อ่าน เขียน ภาษาในดินแดนอินโดจีนได้ทุกภาษา ๑๑ ปีในเขมรและ ๕ ปีในเวียดนามช่วยให้เขาใช้ภาษาเขมรและเวียดนามได้คล่องแคล่ว รวมทั้งภาษาลาวและไทย ที่สำคัญคือ ปาวีมีความรอบรู้ในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ภาษาและวัฒนธรรมของดินแดนอินโดจีนเป็นอย่างดี
ในเวลานั้น สหภาพฝรั่งเศส (Union Francaise)ใช้ฮานอยเป็นเมืองศูนย์กลางในการปกครองอินโดจีนทั้งหมด การที่ลาวแบ่งออกเป็น ๓ อาณาจักร คือ อาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง๑ อาณาจักรเวียงจันทน์ ๑ อาณาจักรสะหวันนะเขด ๑ ฝรั่งเศสจึงคานอำนาจของทั้งสามอาณาจักรโดยการติดอาวุธให้ชนพื้นเมืองที่สนับสนุนและมีการติดต่อสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายตน
ออกุส ปาวี ได้รับการปรับเปลี่ยนสถานภาพจากการเป็นนักสำรวจก้าวขึ้นเป็นกงสุลประจำเมืองหลวงพระบาง (ในเวลานั้นหลวงพระบางขึ้นอยู่กับราชอาณาจักรสยาม)และดำรงตำแหน่งดังกล่าวยืนยาวถึง ๒๐ ปี คือตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๒๙ – ๒๔๔๘
แนวความคิดของปาวี สอดรับกับนโยบายแผ่ขยายอาณานิคมของรัฐบาลฝรั่งเศส ที่มีนายคาร์โนท์เป็นประธานาธิบดีและได้ส่งนายลาเซนังนักการเมืองที่เขียนหนังสือสนับสนุนให้มีการขยายดินแดนอาณานิคม มาดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการอินโดจีน และต่อมาลาเซนังได้แต่งตั้งให้ปาวีเป็นทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ ในพ.ศ.๒๔๓๖ กระทั่งนำไปสู่ปัญหาขัดแย้งครั้งสำคัญ คือ ปาวีขอให้รัฐบาลฝรั่งเศสส่งเรือลูแตงมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยาตรงหน้าสถานทูตฝรั่งเศส และยิงปืนใหญ่ข่มขู่ไทยในวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๖ โดยบังคับให้สยามยกดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงของสยามที่เรียกว่า “เหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒”
และต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๕ – ๒๔๔๖ (ค.ศ.๑๙๐๒-๑๙๐๓) ฝรั่งเศสนักล่าเมืองขึ้นโดย ม.ปาวี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นทูตฝรั่งเศสประจำกรุงสยาม ได้บีบบังคับให้ไทยยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงปากเซและฝั่งตรงข้ามนครหลวงพระบางให้อีก ดินแดนลาวที่เคยอยู่ภายใต้อธิปไตยของศักดินาสยามก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสนับแต่บัดนั้น แต่เรียกชื่ออย่างหลอกลวงว่า “รัฐในอารักขา”
No comments:
Post a Comment