การอภิวัฒน์ประชาธิปไตยในภูฎาน
ภูฎาน อาณาจักรที่แทรกตัวอยู่ท่ามกลางเทือกเขาระหว่างยักษ์ใหญ่อินเดียและจีน ด้วยภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้ภูฎานถูกตัดขาดจากโลกภายนอกทั้งด้านภูมิศาสตร์และด้วยนโยบายแห่งรัฐ
ภูฎานดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในโลกที่ปิดกั้น จนกระทั่งเข้าสู่ปี ค.ศ.๑๙๖๐ จึงมีการพัฒนาสร้างถนน ไฟฟ้า โทรศัพท์และบริการไปรษณีย์ มีบางคนยกให้ ภูฎาน เป็น “แชงกรีลา” เมืองลี้ลับในบทประพันธ์ของ เจมส์ ฮิลตัน เมื่อปี ๑๙๓๓ เรื่อง Lost Horizon
เมื่อเข้าสู่ปี ค.ศ.๑๙๗๒ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ชิงเก วังชุกเสด็จขึ้นครองราชย์ ภูฎานในเวลานั้นตัวเลขอัตราความยากจน การไม่รู้หนังสือ และอัตราการเสียชีวิตของทารกอยู่ในกลุ่มประเทศที่สูงที่สุด อันเป็นผลมาจากนโยบายปิดประเทศจากโลกภายนอก ซึ่งแม้ว่าพระราชบิดาของพระองค์จะได้ทรงริเริ่มเปิดประเทศเพื่อพัฒนาด้านสาธารณูปโภคต่างๆในปี ๑๙๖๐ บ้างแล้วก็ตาม
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ชิงเก วังชุก จึงพยายามจะก้าวไปให้ไกลกว่าพระราชบิดาของพระองค์ โดยใช้นโยบายการเปิดประเทศที่มีการควบคุม พระองค์ได้ให้นิยามใหม่ของคำว่าพัฒนา คือคำว่า “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness : GNH)
ด้วยนโยบายนี้ภูฎานจึงพยายามลากตัวเองออกจากประเทศที่มีฐานยากจนข้นแค้น แต่ก็จะไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ภูฎานยังคงมีพื้นทีป่าไม้อยู่มากเกือบ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศ อัตราการตายของทารก และการไม่รู้หนังสือก็ลดลง
กาลเวลาก็หมุนเวียนเปลี่ยนไปจนเข้าสู่เดือนธันวาคมปี ๒๐๐๖ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ชิงเก วังชุก ได้ทรงสละราชบัลลังก์เพื่อมอบอำนาจคืนให้แก่ประชาชน และพระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯให้จัดงานใหญ่ขึ้นพร้อมกันในปี ๒๐๐๘ ซึ่งจะเป็นพระราชพิธีราชาภิเษกให้พระราชโอรสคือ เจ้าชายจิกมี เคชาร์ นัมเกล วังชุก วัย ๒๘ ชันษาให้เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์ใหม่และจะเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์แรกภายใต้รัฐธรรมนูญ อีกทั้งในปี ๒๐๐๘ ยังเป็นปีที่ฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปีของพระราชวงศ์ และจะเป็นปีแรกที่ภูฎานจะมีรัฐบาลแรกในระบอบประชาธิปไตย
การที่สมเด็จพระราชาธิบดีผู้ครองราชสมบัติมายาวนานถึง ๓๔ ปี ได้ทรงสละราชสมบัติให้พระราชโอรสและยกเลิกการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้สิทธิของตนเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศ ทำให้เป็นสิ่งที่เหนือความคาดฝันของประชาชนชาวภูฎาน ที่ยังไม่ต้องการประชาธิปไตย บางคนถึงกับกล่าวว่า
“ผมไม่ต้องการประชาธิปไตย เพราะทำให้เกิดความวุ่นวายเหมือนในเนปาลหรืออินเดีย แต่ว่าไม่ว่าพระองค์จะทรงบัญชาอย่างไร เราก็ต้องน้อมรับ...”
ช่างน่าแปลกที่เสียงเรียกร้องการปฏิรูปการปกครองที่แข็งขันที่สุดกลับมาจากสมเด็จพระราชาธิบดีเอง พระองค์ทรงแย้งว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากภูฎานตกอยู่ในมือของคนชั่วหรือผู้นำที่ไร้ความสามารถ
ผู้นำคนใหม่ของภูฎานจึงต้องทำให้ประชาชนมีความสุข หากต้องการอยู่รอดในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย และในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังก้าวไปสู่ความทันสมัย ความอยู่รอดอาจขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับประเทศภายนอก ซึ่งภูฎานผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศเพียง ๒๑ ประเทศเท่านั้น และในจำนวนนั้นไม่มีประเทศมหาอำนาจทั้งหลายรวมถึง สหรัฐอเมริกา (มหามิตรที่แสนประเสริฐของประเทศไทยนับแต่ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐ จนถึงบัดนี้)
ภูฎาน อาณาจักรที่แทรกตัวอยู่ท่ามกลางเทือกเขาระหว่างยักษ์ใหญ่อินเดียและจีน ด้วยภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้ภูฎานถูกตัดขาดจากโลกภายนอกทั้งด้านภูมิศาสตร์และด้วยนโยบายแห่งรัฐ
ภูฎานดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในโลกที่ปิดกั้น จนกระทั่งเข้าสู่ปี ค.ศ.๑๙๖๐ จึงมีการพัฒนาสร้างถนน ไฟฟ้า โทรศัพท์และบริการไปรษณีย์ มีบางคนยกให้ ภูฎาน เป็น “แชงกรีลา” เมืองลี้ลับในบทประพันธ์ของ เจมส์ ฮิลตัน เมื่อปี ๑๙๓๓ เรื่อง Lost Horizon
เมื่อเข้าสู่ปี ค.ศ.๑๙๗๒ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ชิงเก วังชุกเสด็จขึ้นครองราชย์ ภูฎานในเวลานั้นตัวเลขอัตราความยากจน การไม่รู้หนังสือ และอัตราการเสียชีวิตของทารกอยู่ในกลุ่มประเทศที่สูงที่สุด อันเป็นผลมาจากนโยบายปิดประเทศจากโลกภายนอก ซึ่งแม้ว่าพระราชบิดาของพระองค์จะได้ทรงริเริ่มเปิดประเทศเพื่อพัฒนาด้านสาธารณูปโภคต่างๆในปี ๑๙๖๐ บ้างแล้วก็ตาม
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ชิงเก วังชุก จึงพยายามจะก้าวไปให้ไกลกว่าพระราชบิดาของพระองค์ โดยใช้นโยบายการเปิดประเทศที่มีการควบคุม พระองค์ได้ให้นิยามใหม่ของคำว่าพัฒนา คือคำว่า “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness : GNH)
ด้วยนโยบายนี้ภูฎานจึงพยายามลากตัวเองออกจากประเทศที่มีฐานยากจนข้นแค้น แต่ก็จะไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ภูฎานยังคงมีพื้นทีป่าไม้อยู่มากเกือบ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศ อัตราการตายของทารก และการไม่รู้หนังสือก็ลดลง
กาลเวลาก็หมุนเวียนเปลี่ยนไปจนเข้าสู่เดือนธันวาคมปี ๒๐๐๖ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ชิงเก วังชุก ได้ทรงสละราชบัลลังก์เพื่อมอบอำนาจคืนให้แก่ประชาชน และพระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯให้จัดงานใหญ่ขึ้นพร้อมกันในปี ๒๐๐๘ ซึ่งจะเป็นพระราชพิธีราชาภิเษกให้พระราชโอรสคือ เจ้าชายจิกมี เคชาร์ นัมเกล วังชุก วัย ๒๘ ชันษาให้เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์ใหม่และจะเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์แรกภายใต้รัฐธรรมนูญ อีกทั้งในปี ๒๐๐๘ ยังเป็นปีที่ฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปีของพระราชวงศ์ และจะเป็นปีแรกที่ภูฎานจะมีรัฐบาลแรกในระบอบประชาธิปไตย
การที่สมเด็จพระราชาธิบดีผู้ครองราชสมบัติมายาวนานถึง ๓๔ ปี ได้ทรงสละราชสมบัติให้พระราชโอรสและยกเลิกการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้สิทธิของตนเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศ ทำให้เป็นสิ่งที่เหนือความคาดฝันของประชาชนชาวภูฎาน ที่ยังไม่ต้องการประชาธิปไตย บางคนถึงกับกล่าวว่า
“ผมไม่ต้องการประชาธิปไตย เพราะทำให้เกิดความวุ่นวายเหมือนในเนปาลหรืออินเดีย แต่ว่าไม่ว่าพระองค์จะทรงบัญชาอย่างไร เราก็ต้องน้อมรับ...”
ช่างน่าแปลกที่เสียงเรียกร้องการปฏิรูปการปกครองที่แข็งขันที่สุดกลับมาจากสมเด็จพระราชาธิบดีเอง พระองค์ทรงแย้งว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากภูฎานตกอยู่ในมือของคนชั่วหรือผู้นำที่ไร้ความสามารถ
ผู้นำคนใหม่ของภูฎานจึงต้องทำให้ประชาชนมีความสุข หากต้องการอยู่รอดในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย และในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังก้าวไปสู่ความทันสมัย ความอยู่รอดอาจขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับประเทศภายนอก ซึ่งภูฎานผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศเพียง ๒๑ ประเทศเท่านั้น และในจำนวนนั้นไม่มีประเทศมหาอำนาจทั้งหลายรวมถึง สหรัฐอเมริกา (มหามิตรที่แสนประเสริฐของประเทศไทยนับแต่ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐ จนถึงบัดนี้)
No comments:
Post a Comment