ระลึกถึงคุณเฉียบ อัมพุนันทน์
โดย ปรีดี พนมยงค์
เรื่องงานเสรีไทยบริเวณชุมพรนั้นได้มีข่าวกระเส็นกระสายในระหว่างที่คุณเฉียบลี้ภัยอยู่ในประเทศจีน คือ คุณเฉียบฯ เมื่อได้กลับมาประเทศไทย พ.ศ.๒๔๙๙ แล้วได้เขียนจดหมายแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่าได้มีบุคคลคณะหนึ่งอ้างว่าเป็นผู้นำราษฎรชุมพรต่อสู้ทหารญี่ปุ่นระหว่างสงคราม คุณเฉียบฯจึงถามข้าพเจ้าว่าความจริงเป็นอย่างไร และข้าพเจ้ามีโอกาสก็ขอให้ช่วยถามผู้นำจีนด้วย ข้าพเจ้าตอบว่า ข้าพเจ้าได้กล่าวสุนทรพจน์ไว้เมื่อเสร็จสงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้วว่า ขบวนการเสรีไทยถือว่าคนไทยผู้รักชาติทุกคนมีส่วนรับใช้ชาติโดยตรงหรือโดยปริยายในการต่อต้านญี่ปุ่นผู้รุกรานในสุนทรพจน์ของข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ชัดแจ้งว่า เราไม่ต้องการทวงบุญคุณเอากับชาติ หากเราถือว่าชาติมีบุญคุณสูงสุดแก่เรา ฉะนั้นขบวนการเสรีไทยจึงมิได้อวดอ้างตนเองว่าเป็นผู้นำราษฎรไทยต่อต้านญี่ปุ่นผู้รุกราน
ข้าพเจ้าคิดว่าข่าวที่กระเส็นกระสาย ตามที่คุณเฉียบฯ แจ้งไปยังข้าพเจ้าจะหมดสิ้นไปแล้ว แต่เมื่อไม่นานมานี้ได้มีนักสังคมนิยมชาวยุโรปผู้หนึ่งได้เข้าไปในประเทศไทย พบกับบุคคลหนึ่งที่แจ้งว่า คณะของเขาเป็นผู้นำราษฎรไทยทำการต่อต้านญี่ปุ่นระหว่างสงครามและได้แพร่คำอ้างเช่นนั้นให้ชนรุ่นหลังได้เข้าใจตามนี้
ข้าพเจ้าจะไม่ข้องใจ ถ้าผู้อ้างเช่นนั้นได้ชี้แจงเป็นเอกสารชัดแจ้งในประเทศไทยแทนที่จะกล่าวทางปากเปล่า เพื่อให้คนไทยรู้ทั่วกันถึงการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ว่าคณะของตนได้นำราษฎรไทยในท้องที่ใดทำการต่อสู้ญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เพื่อชนรุ่นหลังในท้องที่นั้นๆ จะได้สอบถามบรรพบุรุษของตนซึ่งทำการต่อสู้ญี่ปุ่นว่า ตนอยู่ภายใต้การนำของคณะนั้นหรือขบวนการใด และเพื่อเสรีไทยทั้งหลายจะได้รับรู้ไว้ด้วยว่า นอกจากขบวนการเสรีไทยซึ่งมหาประเทศสัมพันธมิตรสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ให้ความร่วมมือแล้ว ยังมีคณะอื่นที่เป็นผู้นำมวลราษฎรไทย เพราะสหภาพโซเวียต,สหรัฐอเมริกา,อังกฤษ และจีน ซึ่งขณะนั้นพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ร่วมกับพรรคกัวะมินตั๋ง ถือว่าจีนมีรัฐบาลถูกต้องเพียงรัฐบาลเดียว ซึ่งตั้งอยู่ที่ นครจุงกิง (โจวเอินไหล เข้าร่วมในตำแหน่ง ร.ม.ต.ช่วยว่าการต่างประเทศ และกองทัพแดงของคอมมิวนิสต์เปลี่ยนเป็นกองทัพที่ ๘ ของจีนที่ร่วมกันนั้น)ได้ตกลงกันตั้งกองบัญชาการสูงสุดขึ้นหลายเขต โดยเฉพาะย่านเอเชียอาคเนย์นั้น มอบให้ลอร์ดเมาแบทเทน เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดตามข้อตกลงระหว่างกองบัญชาการสัมพันธมิตรกับข้าพเจ้ามีว่า บรรดานายทหารสัมพันธมิตรที่เข้ามาในประเทศไทยโดยไม่แจ้งให้ข้าพเจ้าทราบก่อน จึงถูกตำรวจและพนักงานท้องที่ยิงตายบ้าง จับกุมบ้าง ภายหลังจึงแจ้งและขอความช่วยเหลือข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงให้หน่วยเสรีไทยรับรองความปลอดภัย เช่น ที่บริเวณอุทัยธานี
เมื่อเสร็จสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขบวนการเสรีไทยได้มีการชุมนุมใหญ่ และมีการเดินขบวนสวนสนามในกรุงเทพมหานคร ในการนั้นข้าพเจ้าได้จัดให้หน่วยเสรีไทยทั่วราชอาณาจักรส่งพลพรรคจำนวนหนึ่งของแต่ละหน่วยมาเข้าร่วม และมิได้เลือกเจาะจงเฉพาะหน่วยที่ขึ้นตรงกับขบวนการเสรีไทยเท่านั้น คือแม้หน่วยอื่นที่จัดตั้งกันต่อสู้กับญี่ปุ่น เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ ภายหลังก็ได้ให้เข้าร่วมชุมนุมและสวนสนามด้วย เพราะถือว่าเป็นการปฏิบัติรับใช้ชาติเช่นกัน เช่น หน่วยของคุณบุญผ่องฯ ที่ได้ช่วยเหลือเชลยซึ่งเป็นคนสัญชาติสัมพันธมิตรฯลฯ ฉะนั้น ถ้าหากมีคณะใดซึ่งทำการนำมวลราษฎรไทยต่อต้านญี่ปุ่นแล้ว ก็ต้องเป็นการปฏิบัติกว้างขวางใหญ่โตยิ่งกว่าหน่วยของคุณบุญผ่องฯ ที่บริเวณนครปฐมกับกาญจนบุรี ข้าพเจ้าจึงจะต้องมีความบกพร่องมาก ที่มิได้เชิญคณะนั้นเข้าร่วมชุมนุมและสวนสนามด้วย แต่ข้าพเจ้ามิได้ตั้งใจกีดกันคณะใดเลย คือ ถ้าหากมีผู้ใดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบในสมัยนั้น ข้าพเจ้าก็จะเชิญเข้าร่วมชุมนุมและสวนสนามด้วย เพื่อเชิดชูเกียรติคุณให้ประจักษ์ตั้งแต่ครั้งกระนั้นอันจะเป็นหลักฐานดีกว่าที่อ้างแก่ชนรุ่นหลังและแก่นักสังคมนิยมชาวยุโรปบางคน ดังกล่าวแล้ว
อนึ่ง เมื่อค.ศ.๑๙๖๒ ข้าพเจ้าได้เห็นข้อความในสารานุกรมภาษาจีนเล่มหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนเกี่ยวกับประเทศไทยได้กล่าวไว้ว่า คณะหนึ่งเป็นผู้นำ ‘ไท่โกวะเหรินมิน’ ต่อต้านญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยมิได้กล่าวถึงขบวนการเสรีไทย ข้าพเจ้าจะไม่ข้องใจถ้าหากผู้เขียนคนนั้นกล่าวเฉพาะเจาะจงเป็นรูปธรรมว่าคณะของตนนำราษฎรในท้องที่ใดต่อสู้ญี่ปุ่น แต่ผู้เขียนใช้คำว่า ‘ไท่โกวะเหรินมิน’ คำว่า ‘เหรินมิน’ เป็นสมุหนาม (Collective Noun) ซึ่งตรงกับ People ฉะนั้น ‘ไท่โกวะเหรินมิน’ จึงหมายถึง ‘มวลราษฎรไทย’ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าถ้านิ่งไว้ก็จะทำให้คนรุ่นหลังเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงแห่งประวัติศาสตร์ ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงได้ขอให้เจ้าหน้าที่ชั้นสูงคนหนึ่งแห่งสำนักนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐราษฎรจีน ช่วยสอบถามผู้ใหญ่ฝ่ายจีนว่ามีความเห็นอย่างไรต่อการที่มีผู้เขียนอวดอ้างเช่นนั้น เจ้าหน้าที่ชั้นสูงคนนั้นได้นำเรื่องไปเสนอผู้ใหญ่ฝ่ายจีน และตอบให้ข้าพเจ้าทราบว่า ผู้ใหญ่ฝ่ายจีนไม่ได้รู้เห็นด้วยกับการมีผู้เขียนข้อความผิดผลาดนั้น เพราะผู้ใหญ่ผ่ายจีนทราบดีว่า ขบวนการเสรีไทย เป็นผู้นำ ‘ไท่โกวะเหรินมิน’ คือนำมวลราษฎรไทยต่อสู้ญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒
ต่อมาผู้เขียนเรื่องนั้นได้มาหาข้าพเจ้า ขออภัยที่ได้ลงเรื่องผิดพลาดไปแล้ว และรับปากว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องในการพิมพ์ต่อไป แต่เรื่องนี้ก็ยังมีผู้อ้างต่อนักสังคมนิยมชาวยุโรปคนนั้น อันทำให้ชนรุ่นหลังบางคนเข้าใจผิดอยู่อีก ในฐานะเพื่อน ข้าพเจ้าจะพยายามให้ผู้เขียนคนนั้นรีบเขียนแก้ตามที่รับปากกับข้าพเจ้าไว้นั้น
ข้าพเจ้าคิดว่าข่าวที่กระเส็นกระสาย ตามที่คุณเฉียบฯ แจ้งไปยังข้าพเจ้าจะหมดสิ้นไปแล้ว แต่เมื่อไม่นานมานี้ได้มีนักสังคมนิยมชาวยุโรปผู้หนึ่งได้เข้าไปในประเทศไทย พบกับบุคคลหนึ่งที่แจ้งว่า คณะของเขาเป็นผู้นำราษฎรไทยทำการต่อต้านญี่ปุ่นระหว่างสงครามและได้แพร่คำอ้างเช่นนั้นให้ชนรุ่นหลังได้เข้าใจตามนี้
ข้าพเจ้าจะไม่ข้องใจ ถ้าผู้อ้างเช่นนั้นได้ชี้แจงเป็นเอกสารชัดแจ้งในประเทศไทยแทนที่จะกล่าวทางปากเปล่า เพื่อให้คนไทยรู้ทั่วกันถึงการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ว่าคณะของตนได้นำราษฎรไทยในท้องที่ใดทำการต่อสู้ญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เพื่อชนรุ่นหลังในท้องที่นั้นๆ จะได้สอบถามบรรพบุรุษของตนซึ่งทำการต่อสู้ญี่ปุ่นว่า ตนอยู่ภายใต้การนำของคณะนั้นหรือขบวนการใด และเพื่อเสรีไทยทั้งหลายจะได้รับรู้ไว้ด้วยว่า นอกจากขบวนการเสรีไทยซึ่งมหาประเทศสัมพันธมิตรสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ให้ความร่วมมือแล้ว ยังมีคณะอื่นที่เป็นผู้นำมวลราษฎรไทย เพราะสหภาพโซเวียต,สหรัฐอเมริกา,อังกฤษ และจีน ซึ่งขณะนั้นพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ร่วมกับพรรคกัวะมินตั๋ง ถือว่าจีนมีรัฐบาลถูกต้องเพียงรัฐบาลเดียว ซึ่งตั้งอยู่ที่ นครจุงกิง (โจวเอินไหล เข้าร่วมในตำแหน่ง ร.ม.ต.ช่วยว่าการต่างประเทศ และกองทัพแดงของคอมมิวนิสต์เปลี่ยนเป็นกองทัพที่ ๘ ของจีนที่ร่วมกันนั้น)ได้ตกลงกันตั้งกองบัญชาการสูงสุดขึ้นหลายเขต โดยเฉพาะย่านเอเชียอาคเนย์นั้น มอบให้ลอร์ดเมาแบทเทน เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดตามข้อตกลงระหว่างกองบัญชาการสัมพันธมิตรกับข้าพเจ้ามีว่า บรรดานายทหารสัมพันธมิตรที่เข้ามาในประเทศไทยโดยไม่แจ้งให้ข้าพเจ้าทราบก่อน จึงถูกตำรวจและพนักงานท้องที่ยิงตายบ้าง จับกุมบ้าง ภายหลังจึงแจ้งและขอความช่วยเหลือข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงให้หน่วยเสรีไทยรับรองความปลอดภัย เช่น ที่บริเวณอุทัยธานี
เมื่อเสร็จสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขบวนการเสรีไทยได้มีการชุมนุมใหญ่ และมีการเดินขบวนสวนสนามในกรุงเทพมหานคร ในการนั้นข้าพเจ้าได้จัดให้หน่วยเสรีไทยทั่วราชอาณาจักรส่งพลพรรคจำนวนหนึ่งของแต่ละหน่วยมาเข้าร่วม และมิได้เลือกเจาะจงเฉพาะหน่วยที่ขึ้นตรงกับขบวนการเสรีไทยเท่านั้น คือแม้หน่วยอื่นที่จัดตั้งกันต่อสู้กับญี่ปุ่น เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ ภายหลังก็ได้ให้เข้าร่วมชุมนุมและสวนสนามด้วย เพราะถือว่าเป็นการปฏิบัติรับใช้ชาติเช่นกัน เช่น หน่วยของคุณบุญผ่องฯ ที่ได้ช่วยเหลือเชลยซึ่งเป็นคนสัญชาติสัมพันธมิตรฯลฯ ฉะนั้น ถ้าหากมีคณะใดซึ่งทำการนำมวลราษฎรไทยต่อต้านญี่ปุ่นแล้ว ก็ต้องเป็นการปฏิบัติกว้างขวางใหญ่โตยิ่งกว่าหน่วยของคุณบุญผ่องฯ ที่บริเวณนครปฐมกับกาญจนบุรี ข้าพเจ้าจึงจะต้องมีความบกพร่องมาก ที่มิได้เชิญคณะนั้นเข้าร่วมชุมนุมและสวนสนามด้วย แต่ข้าพเจ้ามิได้ตั้งใจกีดกันคณะใดเลย คือ ถ้าหากมีผู้ใดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบในสมัยนั้น ข้าพเจ้าก็จะเชิญเข้าร่วมชุมนุมและสวนสนามด้วย เพื่อเชิดชูเกียรติคุณให้ประจักษ์ตั้งแต่ครั้งกระนั้นอันจะเป็นหลักฐานดีกว่าที่อ้างแก่ชนรุ่นหลังและแก่นักสังคมนิยมชาวยุโรปบางคน ดังกล่าวแล้ว
อนึ่ง เมื่อค.ศ.๑๙๖๒ ข้าพเจ้าได้เห็นข้อความในสารานุกรมภาษาจีนเล่มหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนเกี่ยวกับประเทศไทยได้กล่าวไว้ว่า คณะหนึ่งเป็นผู้นำ ‘ไท่โกวะเหรินมิน’ ต่อต้านญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยมิได้กล่าวถึงขบวนการเสรีไทย ข้าพเจ้าจะไม่ข้องใจถ้าหากผู้เขียนคนนั้นกล่าวเฉพาะเจาะจงเป็นรูปธรรมว่าคณะของตนนำราษฎรในท้องที่ใดต่อสู้ญี่ปุ่น แต่ผู้เขียนใช้คำว่า ‘ไท่โกวะเหรินมิน’ คำว่า ‘เหรินมิน’ เป็นสมุหนาม (Collective Noun) ซึ่งตรงกับ People ฉะนั้น ‘ไท่โกวะเหรินมิน’ จึงหมายถึง ‘มวลราษฎรไทย’ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าถ้านิ่งไว้ก็จะทำให้คนรุ่นหลังเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงแห่งประวัติศาสตร์ ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงได้ขอให้เจ้าหน้าที่ชั้นสูงคนหนึ่งแห่งสำนักนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐราษฎรจีน ช่วยสอบถามผู้ใหญ่ฝ่ายจีนว่ามีความเห็นอย่างไรต่อการที่มีผู้เขียนอวดอ้างเช่นนั้น เจ้าหน้าที่ชั้นสูงคนนั้นได้นำเรื่องไปเสนอผู้ใหญ่ฝ่ายจีน และตอบให้ข้าพเจ้าทราบว่า ผู้ใหญ่ฝ่ายจีนไม่ได้รู้เห็นด้วยกับการมีผู้เขียนข้อความผิดผลาดนั้น เพราะผู้ใหญ่ผ่ายจีนทราบดีว่า ขบวนการเสรีไทย เป็นผู้นำ ‘ไท่โกวะเหรินมิน’ คือนำมวลราษฎรไทยต่อสู้ญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒
ต่อมาผู้เขียนเรื่องนั้นได้มาหาข้าพเจ้า ขออภัยที่ได้ลงเรื่องผิดพลาดไปแล้ว และรับปากว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องในการพิมพ์ต่อไป แต่เรื่องนี้ก็ยังมีผู้อ้างต่อนักสังคมนิยมชาวยุโรปคนนั้น อันทำให้ชนรุ่นหลังบางคนเข้าใจผิดอยู่อีก ในฐานะเพื่อน ข้าพเจ้าจะพยายามให้ผู้เขียนคนนั้นรีบเขียนแก้ตามที่รับปากกับข้าพเจ้าไว้นั้น
No comments:
Post a Comment