ภายใต้อาณานิคมฝรั่งเศส
ในปีเดียวกันนี้ คือ พ.ศ.๒๔๔๔ ชนชาติขมุหรือข่าในภาคใต้ของลาวที่ไม่พอใจที่ฝรั่งเศสเก็บภาษีมีมาตรการเข้มงวดในด้านการค้า บังคับใช้แรงงานในการสร้างเส้นทางคมนาคมทางบกและการสำรวจเส้นทางเดินเรือในแม่น้ำโขง (ฝรั่งเศสได้เกณฑ์แรงงานชนชาติข่า(ขมุ)ไปสร้างเส้นทางเพื่อลำเลียงแร่จากเหมืองในเขตพื้นที่ภาคกลางและเชื่อมการคมนาคมระหว่างเมืองต่างๆ รวมทั้งใช้เป็นแรงงานในการถ่อเรือสำรวจแม่น้ำโขงจากหลวงพระบางขึ้นไปยังมณฑลยูนนาน)
องแก้วผู้นำชาวขมุจึงนำชาวขมุกว่า ๑๕,๐๐๐ คน จับอาวุธขึ้นต่อต้าน ใช้ธนูอาบยาพิษซุ่มโจมตีทหารฝรั่งเศส ต่อมาองแก้วถูกบิดาของบุนอุ้ม ณ จำปาสัก ผู้สนับสนุนฝรั่งเศสในการปกครองลาว หลอกว่าฝรั่งเศสเปิดการเจรจาแล้วพาไปยิงทิ้ง
องกมมะดำได้ก้าวขึ้นมานำขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสต่อ แต่ว่าหันไปต่อสู้แบบสันติวิธี เขียนจดหมายขอร้องต่อผู้ปกครองฝรั่งเศสให้ผ่อนผันมาตรการต่าง แต่ทว่า องกมมะดำกลับถูกล้อมปราบอย่างเหี้ยมโหด ชาวขมุในทุ่งบลิเวน รวมทั้งในพื้นที่เทือกเขาที่ตั้งเป็นฐานที่มั่นก็ถูกสังหารอย่างไร้ความปรานี
หลังจากองกมมะดำเสียชีวิต ลูกชายคือคำพัน กมมะดำ และสีทน กมมะดำได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำชาวขมุต่อสู้กับฝรั่งเศสอย่างเข้มแข็ง โดยได้ร่วมมือกับขบวนการประเทศลาว ภายใต้การนำของเจ้าสุพานุวง ต่อสู้จนได้รับเอกราช รวมระยะเวลาที่ชนชาติขมุต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสอย่างยืดเยื้อนานถึง ๓๕ ปี
นอกจากนี้ยังมีขบวนการของคนลาวและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ลุกฮือจับอาวุธขึ้นต่อต้านอำนาจการปกครองของฝรั่งเศสอีหลายพื้นที่ทั่วประเทศ อาทิ ในช่วง พ.ศ.๒๔๕๑ – ๒๔๕๓ เจ้าวันนะพูมได้นำประชาชนชาวเมืองอูในพงสาลีลุกฮือขึ้นต่อต้าน จากนั้นในช่วงปี พ.ศ.๒๔๕๗-๒๔๕๘ ประชาชนในซำเหนือก็ได้จับอาวุธขึ้นต่อต้าน
สาเหตุที่นำไปสู่การลุกฮือขึ้นต่อต้านอำนาจฝรั่งเศสก็เนื่องจากผู้ปกครองฝรั่งเศสดำเนินการเก็บภาษีจากผู้ชายชาวลาวและชนเผ่าต่างๆ ผู้มีอายุระหว่าง ๑๘ ถึง ๖๐ ปี อย่างเข้มงวด โดยชาวลาวต้องเสียภาษีรายปีเป็นมูลค่าจำนวน ๕ เหรียญเปียสต้า (๕ Gold Francs) และทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างอีก ๑๐-๒๐ วัน หรืออาจเปลี่ยนเป็นจ่ายเงินแทนอีก ๕ เหรียญเปียสต้า (ภาษีที่เก็บจากความเป็นประชากร โดยใช้แรงงานแทนการจ่ายภาษีนี้ ในสยามเรียกว่า ภาษีรัชชูปกร ที่กดขี่เอากับประชาชนชาวสยามมานับร้อยๆปี จนท่านปรีดี พนมยงค์เมื่อได้นำคณะราษฎรอภิวัฒน์การปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นประชาธิปไตยแล้ว ท่านก็ยกเลิกภาษีรัชชูปกรนี้)
ฝรั่งเศสได้ตอบโต้การต่อสู้ของประชาชนลาว โดยการใช้ยุทธวิธีให้คนลาวฆ่าคนลาว โดยตั้งกองกำลังติดอาวุธและให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่บรรดาชาวลาวที่ยินยอมเป็นพวกเดียวกับฝรั่งเศส ทำหน้าที่เป็นทหารบ้าน (garde indigene) คอยควบคุมดูแลและปราบปรามฝ่ายต่อต้าน
เนื่องจากฝิ่นเป็นสินค้าสำคัญที่สุด นำมาซึ่งรายได้หลักของรัฐบาลสหภาพฝรั่งเศสที่ปกครองดินแดนอินโดจีนทั้งหมด ช่วยให้มีรายได้จากการส่งออกฝิ่นไปยังประเทศในยุโรปปีละมหาศาล เพื่อให้สามารถคงรายได้ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และทวีมูลค่าการส่งออกฝิ่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ฝรั่งเศสได้เข้าไปควบคุมการผลิต การซื้อขาย และการขนส่งฝิ่น พร้อมกันนี้ก็มีมาตรการจัดเก็บภาษีอย่างเข้มงวด
มาตรการดังกล่าวได้นำไปสู่การลุกฮือจับอาวุธต่อต้านอำนาจการปกครองของฝรั่งเศสของบรรดาชาวม้งในภาคเหนือ ภายใต้การนำของเจ้าฟ้าปาใจ (หรือปัดใจ)การต่อต้านดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาติดต่อกันถึง ๕ ปี คือในช่วงระหว่างปี พ.ศ.๒๔๖๑-๒๔๖๕
ในปี พ.ศ.๒๔๖๓ ก็ได้มีการลุกฮือของประชาชนต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสในกรุงเวียงจันทน์ ภายใต้การนำของนายคูคำ
องแก้วผู้นำชาวขมุจึงนำชาวขมุกว่า ๑๕,๐๐๐ คน จับอาวุธขึ้นต่อต้าน ใช้ธนูอาบยาพิษซุ่มโจมตีทหารฝรั่งเศส ต่อมาองแก้วถูกบิดาของบุนอุ้ม ณ จำปาสัก ผู้สนับสนุนฝรั่งเศสในการปกครองลาว หลอกว่าฝรั่งเศสเปิดการเจรจาแล้วพาไปยิงทิ้ง
องกมมะดำได้ก้าวขึ้นมานำขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสต่อ แต่ว่าหันไปต่อสู้แบบสันติวิธี เขียนจดหมายขอร้องต่อผู้ปกครองฝรั่งเศสให้ผ่อนผันมาตรการต่าง แต่ทว่า องกมมะดำกลับถูกล้อมปราบอย่างเหี้ยมโหด ชาวขมุในทุ่งบลิเวน รวมทั้งในพื้นที่เทือกเขาที่ตั้งเป็นฐานที่มั่นก็ถูกสังหารอย่างไร้ความปรานี
หลังจากองกมมะดำเสียชีวิต ลูกชายคือคำพัน กมมะดำ และสีทน กมมะดำได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำชาวขมุต่อสู้กับฝรั่งเศสอย่างเข้มแข็ง โดยได้ร่วมมือกับขบวนการประเทศลาว ภายใต้การนำของเจ้าสุพานุวง ต่อสู้จนได้รับเอกราช รวมระยะเวลาที่ชนชาติขมุต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสอย่างยืดเยื้อนานถึง ๓๕ ปี
นอกจากนี้ยังมีขบวนการของคนลาวและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ลุกฮือจับอาวุธขึ้นต่อต้านอำนาจการปกครองของฝรั่งเศสอีหลายพื้นที่ทั่วประเทศ อาทิ ในช่วง พ.ศ.๒๔๕๑ – ๒๔๕๓ เจ้าวันนะพูมได้นำประชาชนชาวเมืองอูในพงสาลีลุกฮือขึ้นต่อต้าน จากนั้นในช่วงปี พ.ศ.๒๔๕๗-๒๔๕๘ ประชาชนในซำเหนือก็ได้จับอาวุธขึ้นต่อต้าน
สาเหตุที่นำไปสู่การลุกฮือขึ้นต่อต้านอำนาจฝรั่งเศสก็เนื่องจากผู้ปกครองฝรั่งเศสดำเนินการเก็บภาษีจากผู้ชายชาวลาวและชนเผ่าต่างๆ ผู้มีอายุระหว่าง ๑๘ ถึง ๖๐ ปี อย่างเข้มงวด โดยชาวลาวต้องเสียภาษีรายปีเป็นมูลค่าจำนวน ๕ เหรียญเปียสต้า (๕ Gold Francs) และทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างอีก ๑๐-๒๐ วัน หรืออาจเปลี่ยนเป็นจ่ายเงินแทนอีก ๕ เหรียญเปียสต้า (ภาษีที่เก็บจากความเป็นประชากร โดยใช้แรงงานแทนการจ่ายภาษีนี้ ในสยามเรียกว่า ภาษีรัชชูปกร ที่กดขี่เอากับประชาชนชาวสยามมานับร้อยๆปี จนท่านปรีดี พนมยงค์เมื่อได้นำคณะราษฎรอภิวัฒน์การปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นประชาธิปไตยแล้ว ท่านก็ยกเลิกภาษีรัชชูปกรนี้)
ฝรั่งเศสได้ตอบโต้การต่อสู้ของประชาชนลาว โดยการใช้ยุทธวิธีให้คนลาวฆ่าคนลาว โดยตั้งกองกำลังติดอาวุธและให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่บรรดาชาวลาวที่ยินยอมเป็นพวกเดียวกับฝรั่งเศส ทำหน้าที่เป็นทหารบ้าน (garde indigene) คอยควบคุมดูแลและปราบปรามฝ่ายต่อต้าน
เนื่องจากฝิ่นเป็นสินค้าสำคัญที่สุด นำมาซึ่งรายได้หลักของรัฐบาลสหภาพฝรั่งเศสที่ปกครองดินแดนอินโดจีนทั้งหมด ช่วยให้มีรายได้จากการส่งออกฝิ่นไปยังประเทศในยุโรปปีละมหาศาล เพื่อให้สามารถคงรายได้ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และทวีมูลค่าการส่งออกฝิ่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ฝรั่งเศสได้เข้าไปควบคุมการผลิต การซื้อขาย และการขนส่งฝิ่น พร้อมกันนี้ก็มีมาตรการจัดเก็บภาษีอย่างเข้มงวด
มาตรการดังกล่าวได้นำไปสู่การลุกฮือจับอาวุธต่อต้านอำนาจการปกครองของฝรั่งเศสของบรรดาชาวม้งในภาคเหนือ ภายใต้การนำของเจ้าฟ้าปาใจ (หรือปัดใจ)การต่อต้านดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาติดต่อกันถึง ๕ ปี คือในช่วงระหว่างปี พ.ศ.๒๔๖๑-๒๔๖๕
ในปี พ.ศ.๒๔๖๓ ก็ได้มีการลุกฮือของประชาชนต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสในกรุงเวียงจันทน์ ภายใต้การนำของนายคูคำ