วาระสุดท้ายจอมเผด็จการมุสโสลินี
ในวันที่สภาบริหารซึ่งเป็นสถาบันการเมืองสูงสุดของอิตาลี ได้มีการประชุมปรึกษาเพื่อกำหนดชะตากรรมของ เบนิโต มุสโสลินี หรือ “ดูเช่” จอมเผด็จการ ผู้ซึ่งได้ครองอำนาจเยี่ยงซีซาร์มาเป็นเวลาถึง ๒๐ ปี
ก่อนหน้านั้น ๗๒ ชั่วโมง ดีโน กรานดี สมาชิกของสภาบริหารผู้หนึ่งได้เสนอญัตติเงียบไปในบรรดาสมาชิก เพื่อขอมติจากที่ประชุมให้ถอดถอนมุสโสลินีออกจากทุกตำแหน่ง ซึ่งหมายถึงการริดรอนอำนาจทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งมุสโสลินีครอบครองอยู่แต่ผู้เดียวเป็นเวลานานปี
สภาบริหารดังกล่าวนี้ประกอบด้วยสมาชิก ๒๘ นายมีทั้งรัฐมนตรีและบุคคลชั้นนำของพรรคฟาสซิสต์อื่น ๆ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแล้วสภาบริหารมีอำนาจบริบูรณ์ในอันที่จะแต่งตั้งและถอดถอน “ท่านผู้นำ” ของประเทศได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วมุสโสลินีมีอำนาจเหนือสภาบริหารอย่างเด็ดขาดมาโดยตลอด แม้กระทั่งเมื่อมุสโสลินีประกาศสงครามกับอังกฤษและฝรั่งเศสเมื่อเดือน มิถุนายน ๒๔๘๓ เพื่อเป็นการสนับสนุนฮิตเล่อร์พันธมิตรของเขา ท่านผู้นำก็มิได้แยแสที่จะหารือกับสภาบริหารของอิตาลีเสียก่อนแต่ประการใด
บรรยากาศของที่ประชุมในวันนั้นแสนอึดอัดทั้งนี้เพราะการ “คว่ำบาตร” ผู้นำของประเทศ ผู้เผด็จการและผู้บัญชาการทหารสูงสุดมิใช่สิ่งที่ใครจะกระทำได้อย่างสะดวกใจ และสำหรับ ดีโน กรานดี ผู้เป็นเจ้าของญัตตินั้นก็อยู่ในสภาพที่เตรียมพร้อมทั้งกายและใจ เขาผูกลูกระเบิดมือเอาไว้ที่ขา ถ้าหากทหารของดูเช่จะกรูกันเข้ามาจับกุมเขาแล้ว ระเบิดก็จะทำงานฉีกร่างกายของเขาให้เป็นธุลีไปโดยพลัน
เสียงตะโกน “ซาลูโต อัลดูเช่” ได้ดังขึ้นท่ามกลางความเงียบเป็นสัญญาณให้ทุกคนรู้ว่าบัดนี้มุสโสลินีได้มาถึงที่ประชุมแล้ว บัดนั้นท่านบัญชาการทหารสูงสุดก็ได้ปรากฏร่างขึ้นในเครื่องแบบทหารสีเขียวปนเทา สมาชิกสภาบริการได้ลุกขึ้นยืนต้อนรับท่านดูเช่ โดยชูมือข้างขวาออกไปเบื้องหน้าจากนั้นก็นั่งลงโดยสงบ ณ ที่ของตนล้อมร้อบโต๊ะประชุมรูปเกือกม้า
เป็นเวลาหลายเดือนมาแล้วที่มุสโสลินีได้รับการเตือนให้ระวังการคบคิดที่จะทำลายอำนาจสูงสุดของเขา และแม้ก่อนหน้านั้นเพียงวันเดียว อธิบดีตำรวจก็ได้เสนอรายงานให้ทราบว่า สมาชิกสภาบริหารบางคนได้มีการประชุมลับเพื่อวางแผนล้มล้างอำนาจของท่านผู้นำ แต่มุโสลินีก็มิได้เอาใจใส่ เขามีความมั่นใจว่า “คนเหล่านี้อยู่ได้ก็เพราะผม ดังนั้นเพียงผมได้พูดจากับเขาสักครั้งเดียว ทุกอย่างก็จะสลายตัวไป”
มุสโสลินีเป็นเอตทัคคะในการพูด ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ด้วยศิลปะในการพูดจูงใจคนที่สูงส่งดังกล่าวประกอบด้วยความกระหายในอำนาจอย่างรุนแรง มุสโสลินีได้ฉวยโอกาสระหว่างที่บ้านเมืองกำลังสับสนวุ่นวายภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ก้าวเข้ามามีอำนาจสูงสุดในอิตาลีในเดือนตุลาคมปี พ.ศ. ๒๔๖๕ เชาได้นำคณะฟาสซิสต์อันเกรียงไกรของเขาเดินขบวนเข้าสู่กรุงโรม แล้วบีบบังคับให้พระเจ้าวิกตอริโอเอมมานูเอลที่ ๓ ทรงมอบอำนาจเด็ดขาดในการปกครองประเทศให้แก่คณะฟาสซิสต์ ในตำแหน่ง “ดูเช่” หรือ “ท่านผู้นำ”
มุสโสลินีก็เข้ามาเป็นตัวแทนของสถาบันแห่งชาติทั้งมวล คำสั่งของเขาคือกฎหมายของบ้านเมือง การกระทำของเขาปราศจากความผิดและจะมีผู้ใดต่อต้านทัดทานมิได้
ครั้งหนึ่งความสำเร็จของมุสโสลินีปราศจากข้อสงสัย ชัยชนะซึ่งอิตาลีได้รับจากสงครามกับเอธิโอเปียเมื่อปี ๒๔๗๙ ก็ดี การประกาศยกฐานะของอิตาลีขึ้นมาเป็น “มหาอาณาจักรโรมัน ยุคที่ ๒” ทำให้มหาชนทั่วประเทศให้ความสนับสนุนและสดุดีอย่างกึกก้องแต่บัดนี้เป็นสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้ว ในสงคราม โลกครั้งที่ ๒ กองทัพของมุสโสลินีประสบกับความพ่ายแพ้ในอาฟริกาเหนือ การสูญเสียกำลังทางเรือและทางอากาศ ความพินาศของกรุงโรมจากการโจมตีทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตร และเมื่อ ๒ สัปดาห์ก่อนหน้านั้นเอง เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ยกพลขึ้นบกที่เกาะชิชิลีทางตอนใต้ของประเทศ
มุสโสลินีได้ใช้เวลาเกือบ ๒ ชั่วโมงเต็มในการแสดงศิลปะในการพูดเพื่อโน้มน้าวความคิดและจิตใจของสมาชิกสภาบริหาร ให้ตระหนักถึงความถูกต้องที่อิตาลีเข้าเป็นสัมพันธมิตรร่วมรุกร่วมรบกับฮิตเล่อร์ ตลอดจนการดำเนินสงครามซึ่งเขาเป็นผู้บงการ ความเป็นบุรุษที่ไม่ย่อท้อต่อการปฏิบัติงานบัดนี้เขาได้ตกอยู่ในสภาวะจิตที่ทรุดโทรม เมื่อกองทัพฝ่ายอักษะได้ยอมพ่ายแพ้แก่กองทัพสัมพันธมิตรที่ อาฟริกาเหนือในเดือนพฤษภาคมปีนั้น มุสโสลินีได้ย้ายนิวาสถานจากกรุงโรมไปพักผ่อนที่บ้านฤดูร้อนของเขา และใช้เวลานับเป็นวัน ๆ ตัดข่าวหนังสือพิมพ์ หรือใช้ดินสอเขียวแดงขีดเส้นใต้ข้อความที่สำคัญ ทั้งนี้โดยไม่อาจตัดสินใจในเรื่องใด ๆ ที่มีความสำคัญได้เลย
ดีโน กรานดี นั่งฟังมุสโสลินีกล่าวจนจบ ด้วยจิตใจที่ร้อนรน ในบรรดาสมาชิกสภาบริหาร ๒๘ คนนั้นเขาได้หยั่งเสียงไว้แล้ว ๑๔ คน ซึ่ง ๑๒ คนในจำนวนนี้ยอมลงชื่อเข้าร่วมในญัติติขับท่านผู้นำออกจากตำแหน่ง เมื่อถึงคราวที่กรานดีจะต้องพูด เขาก็ลุกขึ้นยืนและกล่าวต่อที่ประชุมว่า
“ประชาชนชาวอิตาลี ถูกทรยศหักหลังตั้งแต่วันที่มุสโสลินีเริ่มใช้ระบบเยอรมันในอิตาลี คนผู้นี้คือผู้ที่ผลักดันให้พวกเราเข้าไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮิตเล่อร์ เขาเป็นผู้ลากเราเข้าสู่สงครามที่น่าสพึงกลัว เป็นการขัดแย้งต่อผลประโยชน์และจิตสำนึกของประชาชนชาวอิตาเลียนทั้งหมด”
ที่ประชุมตกอยู่ในความเงียบ เป็นไปได้อย่างไรที่จะมีบุคคลหนึ่งบอกความจริงที่ก้าวร้าวต่อผู้เผด็จการและยังมีชีวิตอยู่ต่อไป มุสโสลินีนั่งจมอยู่กับเก้าอี้ฟังกรานดีพูดด้วยความสงบ และเอามือปิดตาทั้งสองข้างไว้ ดีโน กรานดี กล่าวต่อไปอย่างดุเดือด ใช้มือประกอบตามแบบของคนอิตาเลียน
“ท่านทราบหรือไม่ว่าอิตาลีต้องพังพินาศลง เมื่อวันที่ท่านตั้งตัวเองเป็นจอมพล สละสิ่งบ้า ๆ เหล่านี้เสียเถิด แล้วกลับคือมาเป็นมุสโสลินีของพวกเราคนเดิม”
กรานดีใช้เวลาในการพูด ๑ ชั่วโมง จากนั้นสมาชิกคนอื่นก็ลุกขึ้นพูดบ้าง ส่วนใหญ่ก็คล้องจองกันจนกระทั่งเที่ยงคืน ซึ่งมุสโสลินีได้เสนอขอให้เลื่อนการประชุมไปในวันต่อไป กรานดีไม่ยอม “ไม่ได้ ๆ เราจะต้องตัดสินใจกันคืนวันนี้ “ เขากล่าว
ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการหยุดพักการประชุมเป็นเวลา ๑๕ นาที ซึ่งในระหว่างนั้นมีสมาชิกเข้าร่วมรับรองญัตติของกรานดีเป็นจำนวนถึง ๑๙ นาย
เมื่อการประชุมเริ่มขึ้นอีก และสมาชิกทุกคนได้เข้านั่งประจำที่เรียบร้อยแล้ว มุสโสลินีก็ได้ใช้วาทะศิลปของเขาเพื่อเกลี้ยกล่อมอีก คราวนี้เขาเปลี่ยนเป็นขอความเห็นใจ โดยยอมรับผิดในเรื่องการเข้าสู่สงครามแต่ผู้เดียว และกล่าวถึงผลงานของเขาในระหว่าง ๒๐ ปีที่ผ่านมา ตอนหนึ่งเขาได้กล่าวว่า เมื่อเขาอายุครบ ๖๐ ปีแล้วก็คิดว่าจะปลดเกษียณ “เพื่อจบการผจญภัยในชีวิตการเมืองเสียที” และเมื่อกล่าวเช่นนี้แล้ว ก็กลับมีความมั่นใจในตัวเองเพิ่มขึ้นอีกทีละน้อย “แต่ผมจะไม่ยอมออกจากตำแหน่ง” มุสโสลินีกล่าวสำทับต่อสภาบริหาร “พระเจ้าอยู่หัวยังทรงไว้วางพระราชหฤทัยในตัวผม ประชาชนก็เช่นกัน ผมจะกราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึงเรื่องการประชุมคืนนี้ในวันรุ่งขึ้น และก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ที่ต่อต้านผมในคืนวันนี้”
“เป็นการหักหลังกันชัด ๆ“ กรานดีร้องตอบโต้ “ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติเห็นไหมละว่า มุสโสลินีกำลังบังคับให้พวกเราเลือกเอาระหว่างความภักดีเก่า ๆ ซึ่งเราเคยมีต่อเขา กับความจงรักภักดีต่อประเทศชาติของเรา เราจะลังเลใจมิได้อีกแล้ว ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ เราต้องเลือกเอาอิตาลี”
จากนั้นก็มีการลงคะแนนเสียง กรานดีระทึกใจและภายหลังที่มีการนับคะแนนเสร็จ ผลปรากฏว่า ๑๙ เสียงเห็นชอบกับญัตติให้ปลดมุสโสลินีออกจากตำแหน่ง ส่วนอีก ๗ เสียงคัดค้าน มี ๑ เสียงไม่ลงความเห็นใด ๆ และอีก ๑ เสียงลงคะแนนให้กับญัติติต่างหากของตน
ท่านผู้นำพยุงกายลุกขึ้น แล้วกล่าวต่อที่ประชุมว่า “สภาบริหารรับรองญัตติของกรานดี ของปิดการประชุมลงเพียงนี้” กล่าวแล้วก็หันมาจ้องหน้าดีโน กรานดี ด้วยความเกลียดชัง มุสโสลินีกล่าวกับกรานดีว่า “คุณได้ทำลายลัทธิฟาสซิสต์ของเราเสียแล้ว”
ก่อนหน้านั้น ๗๒ ชั่วโมง ดีโน กรานดี สมาชิกของสภาบริหารผู้หนึ่งได้เสนอญัตติเงียบไปในบรรดาสมาชิก เพื่อขอมติจากที่ประชุมให้ถอดถอนมุสโสลินีออกจากทุกตำแหน่ง ซึ่งหมายถึงการริดรอนอำนาจทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งมุสโสลินีครอบครองอยู่แต่ผู้เดียวเป็นเวลานานปี
สภาบริหารดังกล่าวนี้ประกอบด้วยสมาชิก ๒๘ นายมีทั้งรัฐมนตรีและบุคคลชั้นนำของพรรคฟาสซิสต์อื่น ๆ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแล้วสภาบริหารมีอำนาจบริบูรณ์ในอันที่จะแต่งตั้งและถอดถอน “ท่านผู้นำ” ของประเทศได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วมุสโสลินีมีอำนาจเหนือสภาบริหารอย่างเด็ดขาดมาโดยตลอด แม้กระทั่งเมื่อมุสโสลินีประกาศสงครามกับอังกฤษและฝรั่งเศสเมื่อเดือน มิถุนายน ๒๔๘๓ เพื่อเป็นการสนับสนุนฮิตเล่อร์พันธมิตรของเขา ท่านผู้นำก็มิได้แยแสที่จะหารือกับสภาบริหารของอิตาลีเสียก่อนแต่ประการใด
บรรยากาศของที่ประชุมในวันนั้นแสนอึดอัดทั้งนี้เพราะการ “คว่ำบาตร” ผู้นำของประเทศ ผู้เผด็จการและผู้บัญชาการทหารสูงสุดมิใช่สิ่งที่ใครจะกระทำได้อย่างสะดวกใจ และสำหรับ ดีโน กรานดี ผู้เป็นเจ้าของญัตตินั้นก็อยู่ในสภาพที่เตรียมพร้อมทั้งกายและใจ เขาผูกลูกระเบิดมือเอาไว้ที่ขา ถ้าหากทหารของดูเช่จะกรูกันเข้ามาจับกุมเขาแล้ว ระเบิดก็จะทำงานฉีกร่างกายของเขาให้เป็นธุลีไปโดยพลัน
เสียงตะโกน “ซาลูโต อัลดูเช่” ได้ดังขึ้นท่ามกลางความเงียบเป็นสัญญาณให้ทุกคนรู้ว่าบัดนี้มุสโสลินีได้มาถึงที่ประชุมแล้ว บัดนั้นท่านบัญชาการทหารสูงสุดก็ได้ปรากฏร่างขึ้นในเครื่องแบบทหารสีเขียวปนเทา สมาชิกสภาบริการได้ลุกขึ้นยืนต้อนรับท่านดูเช่ โดยชูมือข้างขวาออกไปเบื้องหน้าจากนั้นก็นั่งลงโดยสงบ ณ ที่ของตนล้อมร้อบโต๊ะประชุมรูปเกือกม้า
เป็นเวลาหลายเดือนมาแล้วที่มุสโสลินีได้รับการเตือนให้ระวังการคบคิดที่จะทำลายอำนาจสูงสุดของเขา และแม้ก่อนหน้านั้นเพียงวันเดียว อธิบดีตำรวจก็ได้เสนอรายงานให้ทราบว่า สมาชิกสภาบริหารบางคนได้มีการประชุมลับเพื่อวางแผนล้มล้างอำนาจของท่านผู้นำ แต่มุโสลินีก็มิได้เอาใจใส่ เขามีความมั่นใจว่า “คนเหล่านี้อยู่ได้ก็เพราะผม ดังนั้นเพียงผมได้พูดจากับเขาสักครั้งเดียว ทุกอย่างก็จะสลายตัวไป”
มุสโสลินีเป็นเอตทัคคะในการพูด ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ด้วยศิลปะในการพูดจูงใจคนที่สูงส่งดังกล่าวประกอบด้วยความกระหายในอำนาจอย่างรุนแรง มุสโสลินีได้ฉวยโอกาสระหว่างที่บ้านเมืองกำลังสับสนวุ่นวายภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ก้าวเข้ามามีอำนาจสูงสุดในอิตาลีในเดือนตุลาคมปี พ.ศ. ๒๔๖๕ เชาได้นำคณะฟาสซิสต์อันเกรียงไกรของเขาเดินขบวนเข้าสู่กรุงโรม แล้วบีบบังคับให้พระเจ้าวิกตอริโอเอมมานูเอลที่ ๓ ทรงมอบอำนาจเด็ดขาดในการปกครองประเทศให้แก่คณะฟาสซิสต์ ในตำแหน่ง “ดูเช่” หรือ “ท่านผู้นำ”
มุสโสลินีก็เข้ามาเป็นตัวแทนของสถาบันแห่งชาติทั้งมวล คำสั่งของเขาคือกฎหมายของบ้านเมือง การกระทำของเขาปราศจากความผิดและจะมีผู้ใดต่อต้านทัดทานมิได้
ครั้งหนึ่งความสำเร็จของมุสโสลินีปราศจากข้อสงสัย ชัยชนะซึ่งอิตาลีได้รับจากสงครามกับเอธิโอเปียเมื่อปี ๒๔๗๙ ก็ดี การประกาศยกฐานะของอิตาลีขึ้นมาเป็น “มหาอาณาจักรโรมัน ยุคที่ ๒” ทำให้มหาชนทั่วประเทศให้ความสนับสนุนและสดุดีอย่างกึกก้องแต่บัดนี้เป็นสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้ว ในสงคราม โลกครั้งที่ ๒ กองทัพของมุสโสลินีประสบกับความพ่ายแพ้ในอาฟริกาเหนือ การสูญเสียกำลังทางเรือและทางอากาศ ความพินาศของกรุงโรมจากการโจมตีทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตร และเมื่อ ๒ สัปดาห์ก่อนหน้านั้นเอง เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ยกพลขึ้นบกที่เกาะชิชิลีทางตอนใต้ของประเทศ
มุสโสลินีได้ใช้เวลาเกือบ ๒ ชั่วโมงเต็มในการแสดงศิลปะในการพูดเพื่อโน้มน้าวความคิดและจิตใจของสมาชิกสภาบริหาร ให้ตระหนักถึงความถูกต้องที่อิตาลีเข้าเป็นสัมพันธมิตรร่วมรุกร่วมรบกับฮิตเล่อร์ ตลอดจนการดำเนินสงครามซึ่งเขาเป็นผู้บงการ ความเป็นบุรุษที่ไม่ย่อท้อต่อการปฏิบัติงานบัดนี้เขาได้ตกอยู่ในสภาวะจิตที่ทรุดโทรม เมื่อกองทัพฝ่ายอักษะได้ยอมพ่ายแพ้แก่กองทัพสัมพันธมิตรที่ อาฟริกาเหนือในเดือนพฤษภาคมปีนั้น มุสโสลินีได้ย้ายนิวาสถานจากกรุงโรมไปพักผ่อนที่บ้านฤดูร้อนของเขา และใช้เวลานับเป็นวัน ๆ ตัดข่าวหนังสือพิมพ์ หรือใช้ดินสอเขียวแดงขีดเส้นใต้ข้อความที่สำคัญ ทั้งนี้โดยไม่อาจตัดสินใจในเรื่องใด ๆ ที่มีความสำคัญได้เลย
ดีโน กรานดี นั่งฟังมุสโสลินีกล่าวจนจบ ด้วยจิตใจที่ร้อนรน ในบรรดาสมาชิกสภาบริหาร ๒๘ คนนั้นเขาได้หยั่งเสียงไว้แล้ว ๑๔ คน ซึ่ง ๑๒ คนในจำนวนนี้ยอมลงชื่อเข้าร่วมในญัติติขับท่านผู้นำออกจากตำแหน่ง เมื่อถึงคราวที่กรานดีจะต้องพูด เขาก็ลุกขึ้นยืนและกล่าวต่อที่ประชุมว่า
“ประชาชนชาวอิตาลี ถูกทรยศหักหลังตั้งแต่วันที่มุสโสลินีเริ่มใช้ระบบเยอรมันในอิตาลี คนผู้นี้คือผู้ที่ผลักดันให้พวกเราเข้าไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮิตเล่อร์ เขาเป็นผู้ลากเราเข้าสู่สงครามที่น่าสพึงกลัว เป็นการขัดแย้งต่อผลประโยชน์และจิตสำนึกของประชาชนชาวอิตาเลียนทั้งหมด”
ที่ประชุมตกอยู่ในความเงียบ เป็นไปได้อย่างไรที่จะมีบุคคลหนึ่งบอกความจริงที่ก้าวร้าวต่อผู้เผด็จการและยังมีชีวิตอยู่ต่อไป มุสโสลินีนั่งจมอยู่กับเก้าอี้ฟังกรานดีพูดด้วยความสงบ และเอามือปิดตาทั้งสองข้างไว้ ดีโน กรานดี กล่าวต่อไปอย่างดุเดือด ใช้มือประกอบตามแบบของคนอิตาเลียน
“ท่านทราบหรือไม่ว่าอิตาลีต้องพังพินาศลง เมื่อวันที่ท่านตั้งตัวเองเป็นจอมพล สละสิ่งบ้า ๆ เหล่านี้เสียเถิด แล้วกลับคือมาเป็นมุสโสลินีของพวกเราคนเดิม”
กรานดีใช้เวลาในการพูด ๑ ชั่วโมง จากนั้นสมาชิกคนอื่นก็ลุกขึ้นพูดบ้าง ส่วนใหญ่ก็คล้องจองกันจนกระทั่งเที่ยงคืน ซึ่งมุสโสลินีได้เสนอขอให้เลื่อนการประชุมไปในวันต่อไป กรานดีไม่ยอม “ไม่ได้ ๆ เราจะต้องตัดสินใจกันคืนวันนี้ “ เขากล่าว
ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการหยุดพักการประชุมเป็นเวลา ๑๕ นาที ซึ่งในระหว่างนั้นมีสมาชิกเข้าร่วมรับรองญัตติของกรานดีเป็นจำนวนถึง ๑๙ นาย
เมื่อการประชุมเริ่มขึ้นอีก และสมาชิกทุกคนได้เข้านั่งประจำที่เรียบร้อยแล้ว มุสโสลินีก็ได้ใช้วาทะศิลปของเขาเพื่อเกลี้ยกล่อมอีก คราวนี้เขาเปลี่ยนเป็นขอความเห็นใจ โดยยอมรับผิดในเรื่องการเข้าสู่สงครามแต่ผู้เดียว และกล่าวถึงผลงานของเขาในระหว่าง ๒๐ ปีที่ผ่านมา ตอนหนึ่งเขาได้กล่าวว่า เมื่อเขาอายุครบ ๖๐ ปีแล้วก็คิดว่าจะปลดเกษียณ “เพื่อจบการผจญภัยในชีวิตการเมืองเสียที” และเมื่อกล่าวเช่นนี้แล้ว ก็กลับมีความมั่นใจในตัวเองเพิ่มขึ้นอีกทีละน้อย “แต่ผมจะไม่ยอมออกจากตำแหน่ง” มุสโสลินีกล่าวสำทับต่อสภาบริหาร “พระเจ้าอยู่หัวยังทรงไว้วางพระราชหฤทัยในตัวผม ประชาชนก็เช่นกัน ผมจะกราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึงเรื่องการประชุมคืนนี้ในวันรุ่งขึ้น และก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ที่ต่อต้านผมในคืนวันนี้”
“เป็นการหักหลังกันชัด ๆ“ กรานดีร้องตอบโต้ “ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติเห็นไหมละว่า มุสโสลินีกำลังบังคับให้พวกเราเลือกเอาระหว่างความภักดีเก่า ๆ ซึ่งเราเคยมีต่อเขา กับความจงรักภักดีต่อประเทศชาติของเรา เราจะลังเลใจมิได้อีกแล้ว ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ เราต้องเลือกเอาอิตาลี”
จากนั้นก็มีการลงคะแนนเสียง กรานดีระทึกใจและภายหลังที่มีการนับคะแนนเสร็จ ผลปรากฏว่า ๑๙ เสียงเห็นชอบกับญัตติให้ปลดมุสโสลินีออกจากตำแหน่ง ส่วนอีก ๗ เสียงคัดค้าน มี ๑ เสียงไม่ลงความเห็นใด ๆ และอีก ๑ เสียงลงคะแนนให้กับญัติติต่างหากของตน
ท่านผู้นำพยุงกายลุกขึ้น แล้วกล่าวต่อที่ประชุมว่า “สภาบริหารรับรองญัตติของกรานดี ของปิดการประชุมลงเพียงนี้” กล่าวแล้วก็หันมาจ้องหน้าดีโน กรานดี ด้วยความเกลียดชัง มุสโสลินีกล่าวกับกรานดีว่า “คุณได้ทำลายลัทธิฟาสซิสต์ของเราเสียแล้ว”
No comments:
Post a Comment