เราจะต่อต้านเผด็จการอย่างไร
ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์
๒.๗ แม้ว่าระบบทาสและศักดินาจะเสื่อมสลายไปทางระบบเศรษฐกิจการเมืองแต่ซากทัศนะที่เกาะแน่นอยู่ในหมู่ชนใดที่ถ่ายทอดต่อ ๆ กันมาหลายชั่วคน ก็ยังคงมีอยู่เป็นเวลาอีกช้านานมากที่เป็นพลังต่อต้านระบบประชาธิปไตย และพยายามที่จะฟื้นฟูระบบเผด็จการทาสและศักดินาในรูปสมบูรณาญา สิทธิราชย์เก่า หรือรูปที่ใช้ชื่อใหม่ เช่น เผด็จการฟาสซิสต์, นาซี, เผด็จการทหาร ฯลฯ ดั่งจะเห็นได้ตามตัวอย่างตัวไปนี้
ก. เราไม่ต้องดูอื่นไกลคือตัวอย่างรูปธรรมในสยามของเราเองก็จะเห็นว่า แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ (รัชกาลที่ ๕) ได้ทรงยกเลิกระบบทาสใน พ.ศ. ๒๔๔๘ แล้ว แต่ซากทัศนะทาสก็ยังตกค้างอยู่ในชนบทบางหมู่บางเหล่า อันที่ก่อนการประกาศยกเลิกระบบทาส พระองค์ก็ได้มีประกาศยกเลิกธรรมเนียมทาสและศักดินามาก่อนแล้ว เมื่อพระองค์ขึ้นทรงราชย์ได้เพียง ๕ ปีเท่านั้น คือ ในจุลศักราช ๑๒๓๕ ซึ่งตรงกับพุทธศักราช ๒๔๑๖ ...
พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ได้ปฏิบัติตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๕ โดยเฉพาะกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระอาจารย์กฎหมายสยามได้ทรงสั่งสอนตามพระราชประสงค์ของพระราชบิดา ครั้นต่อมา ภายหลังรัฐประหาร ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ โดยความเกื้อกูลสนับสนุนจากซากทัศนะทาสและศักดินาแล้ว รัฐบาลที่ตั้งขึ้นหลายชุดต่อมาได้ทำการฟื้นธรรมเนียมทาสที่เลิกแล้วนั้นขึ้นมาอีก ดังปรากฏในภาพจากนิตยสารหนังสือพิมพ์ นิสิตนักศึกษานักเรียนก็ถูกบังคับให้ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมนั้น ซึ่งท่านย่อมทราบแล้ว คำพิพากษาฎีกาบางฉบับก็มีผู้พิพากษาบางนายได้ตัดสินคดีโดยอาศัยประเพณีเก่าเป็นข้ออ้างลงโทษผู้ต้องหา ผมจึงคิดว่าถ้ารัชกาลที่ ๕ มีญาณวิธีโดยเฉพาะกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เห็นการฟื้นขนบธรรมเนียมประเพณีทาสอันเป็นการขัดพระราชประสงค์และขัดต่อเจตนารมณ์ทางกฏหมายแล้ว พระองค์จะทรงมีความรู้สึกอย่างไร
ข.แม้ในประเทศจีนใหม่ปัจจุบัน ที่เข้าสู่ระบบสังคมนิยมเบื้องต้นแล้ว ท่านก็จะได้ทราบข่าวที่ปรากฏจากเอกสารของสาธารณรัฐแห่งราษฎรจีนเองว่า เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการรณรงค์ต่อต้านซากทัศนะ “ขงจื้อ” (อันเป็นซากทัศนะศักดินาซึ่งเป็นทฤษฎีที่ขงจื้อคิดขึ้นในสมัยโบราณ ขณะที่ประเทศจีนยังมีระบบทาสผสมกับระบบศักดินา) แม้ว่า “หลินเปียว” ตัวแทนซากทัศนะนี้จะตายไปแล้ว แต่เขาก็ยังมีลูกสมุนตกค้างอยู่ซึ่งทำการเผยแพร่ในประเทศจีน และในบางประเทศอื่นที่เคยมีบุคคลโฆษณาสรรเสริญหลินเปียวอยู่พักหนึ่ง แม้ในปารีสท่านอางสังเกตว่า เมื่อข่าวสารบางกระแสแจ้งว่าหลินเปียวขึ้นเครื่องบินหนีจากประเทศจีนแล้วเกิดอุปัทวเหตุเครื่องบินตกทำให้หลินเปียวกับพวกตายนั้น ผู้สดุดีหลินเปียวก็คัดค้านข่าวนั้นว่าไม่จริงเพราะลุ่มหลงทัศนะศักดินาของหลินเปียวอย่างหลับหูหลับตา..
๒.๘ เมื่อระบบทาสในยุโรปตะวันตก ได้เสื่อมสลายลงในปลายสมัยอาณาจักรโรมันโดยระบบศักดินาได้พัฒนาขึ้นมาแทนที่แล้ว แต่ซากทัศนะทาสยังคงเหลืออยู่ในระบบศักดินาเป็นเวลาช้านานหลายศตวรรษ
ต่อมาในปลายสมัยยุคกลางของยุโรปตะวันตก คือ เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ ได้มีบุคคลจำพวกที่ออกสำเนียงตามภาษาฝรั่งเศสว่า “บรูชัวส์” เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “BOURGEOIS” คือพ่อค้าและผู้ประกอบหัตถกรรมที่อยู่ในย่านตลาดการค้า ซึ่งเรียกว่า “บูรก์” เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “BOURG” คำนี้เทียบได้กับคำไทยว่า “บุรี” ฉะนั้น “บูรชัวส์” เทียบได้กับคำไทยว่า “ชาวบุรี” ได้เป็นผู้เริ่มแรกในการจัดตั้งเป็นขบวนการต่อต้านเผด็จการศักดินาซึ่งปกครองท้องที่ ชาวบุรีได้รวมกำลังกันเป็นองค์การร่วมที่เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “กอมมูน” (COMMUNE) ซึ่งแผลงมาจากคำลาติน “COMMUNIS” อันเป็นองค์การที่ชาวบุรีผนึกกำลังกันเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของตน และต่อสู้เจ้าศักดินาท้องถิ่นเพื่อมีอิสระในการปกครองท้องที่ของตนเอง ออกต่างหากจากเผด็จการของเจ้าศักดินาท้องที่ แต่ยังยอมขึ้นตรงต่อพระราชาธิบดีซึ่งเป็นประมุขสูงสุดของรัฐ การต่อสู้นั้นใช้วิธีทัดท้านดื้อด้านไม่ยอมอ่อนข้อให้เจ้าศักดินาท้องที่ การต่อสู้ได้ใช้เวลายาวนาน ชาวบุรีจึงได้รับสัมปทานจากพระราชาธิบดีให้มีสิทธิปกครองท้องถิ่นของตนเองอันเป็นประวัติระบบเทศบาลในฝรั่งเศสและในหลายประเทศของยุโรปตะวันตก
ชาวบุรีก็หมดสภาพเป็นข้าไพร่ของเจ้าศักดินาแห่งท้องที่ โดยพระราชาธิบดีรับรองให้มีฐานันดรที่ ๓ ของสังคม คือเป็นฐานันดรถัดลงมาจากขุนนางบาทหลวง และขุนนางสามัญ คือมีสภาพเป็นชนชั้นกลางระหว่างฐานันดรสูงกับผู้ไร้สมบัติ (PROLETARIAT) ซึ่งยังคงมีฐานะเป็นข้าไพร่ของเจ้าศักดินาท้องถิ่น กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ชาวบุรีมีฐานะเป็นนายทุนชั้นกลาง ต่อมาชาวบุรีได้พัฒนาเครื่องมือหัตถกรรมให้มีสมรรถภาพดีขึ้นตามลำดับ ได้ขยายการค้ากว้างขวางขึ้น สะสมสมบัติเป็นทุนได้มากขึ้น และเมื่อได้เกิดมีผู้ประดิษฐ์เครื่องมือใช้พลังไอน้ำในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ชาวบุรีก็อาศัยทุนอันเป็นสมบัติที่สะสมไว้นั้นเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมและวิสาหกิจสมัยใหม่ สภาพของชาวบุรีซึ่งเดิมเป็นเพียงนายทุนชั้นกลางจึงได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปนายทุนใหญ่สมัยใหม่
แม้สภาพของชาวบุรีหรือบูรชัวส์ได้เปลี่ยนไปจากเดิมแล้ว ซึ่งในภาษาสามัญยังหมายถึงคนชั้นกลางก็ดี แต่ในตำราวิทยาศาสตร์สังคมก็ยังคงเรียกนายทุนสมัยใหม่ตามศัพท์เดิมว่า “บูรชัวส์” และชนชั้นนายทุนใหญ่สมัยใหม่ว่า“บูรชัวชี”(BOURGEOISIE)ตำราวิทยาศาสตร์สังคมที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมันก็ใช้วิธีทับศัพท์คำฝรั่งเศสดังกล่าวนั้น เพื่อเรียกชนชั้นนายทุนใหญ่สมัยใหม่ซึ่งมีความเฉพาะในทางวิทยาศาสตร์สังคม เองเกลส์ได้ทำฟุตโน้ตอธิบายความหมายของคำนี้ว่า
“บูรชัวซี (BOURGEOISIE) หมายถึงชนชั้นนายทุนสมัยใหม่ เจ้าของปัจจัยการผลิตของสังคมและเป็นนายจ้างของแรงงาน”
เพื่อกระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น ขอให้ท่านศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจเบื้องต้น ท่านก็จะพบว่าระบบทุนสมัยใหม่ได้ก่อตัวจาก “ระบบทุนพาณิชย์” (CAPITALISME COMMERCIALE) แล้ว “ระบบทุนการคลัง” (CAPITALISME FINANCIER) แล้วก็มาถึง “ระบบทุนอุตสาหกรรม” (CAPITALISME INDUSTRIEL)
ส่วนชนชั้นผู้มีทุนน้อยมีชื่อเรียกว่า “เปอติเตอะ บูรชัวซี” (PETITE BOURGEOISIE) และนายทุนชั้นกลางมีชื่อเรียกว่า “มัวแยนน์ บูรชัวซี” (MOYENNE BOURGEOISIE)
ฉะนั้น ผมจึงได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ว่าด้วยความเป็นอนิจจังของสังคม” ว่า “บูรชัวซี” ไม่ใช่ชนชั้น “กระฎุมพี” หากแต่เป็นชนชั้นเศรษฐีสมัยใหม่ ซึ่งผมถ่ายทอดเป็นศัพท์ไทยใหม่ว่า “เจ้าสมบัติ”...
ท่านที่ใช้สามัญสำนึกย่อมทราบได้ว่าชนชั้นเจ้าสมบัตินั้นเป็นคนจำนวนน้อยในสังคม ฉะนั้นแม้ชนชั้นเจ้าสมบัติเห็นความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบศักดินามาเป็นระบบประชาธิปไตย แต่โดยลำพังชนชั้นนั้นก็ย่อมไม่เป็นพลังเพียงพอคือ จำต้องอาศัยข้าไพร่ตามระบบศักดินาที่เป็นคนจำนวนส่วนข้างมากของสังคม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ข้าไพร่เกิดมีสำนึกในชนชั้น ข้าไพร่ของตนที่ถูกกดขี่ข่มเหงจากระบบศักดินาและให้เกิดจิตสำนึกในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษยชาติของตนที่จะต้องมีความเสมอภาคกับเพื่อนมนุษย์ในสังคม และมีสิทธิเสรีภาพคือ สิทธิประชาธิปไตย ในการนั้นบทความของนักปราชญ์หลายคนในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ อาทิ “ฮอบบส์” (HOBBS), “ล็อกค์” (LOCKE), และในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ อาทิ “มองเกสติเออ” (MONTESQUIEU),”ดิเดอโรต์ (DEDEROT),วอลแตร์ (VOATAIRE), จ.-จ.รุสโซ (J.J ROUSSEAU) ได้มีอิทธิพลที่ทำให้ราษฎรจำนวนไม่น้อยเกิดจิตสำนึกที่ต้องการความเสมอภาคกับเพื่อนมนุษย์ในสังคมและสิทธิเสรีภาพ นักปรัชญาเหล่านี้ไม่ใช่เป็นนายทุนมั่งมีเงินมหาศาล ท่านแสดงทัศนะเพื่อประชาธิปไตยของราษฎร มิใช่เพื่อชนชั้นเจ้าสมบัติโดยเฉพาะ
ชนชั้นเจ้าสมบัติจึงร่วมกับราษฎรที่มีทัศนะประชาธิปไตยทำการต่อต้านเผด็จการศักดินา เพื่อเปลี่ยนมาเป็นระบบประชาธิปไตย เจ้าศักดินาของประเทศใดยอมเปลี่ยนแปลงโดยสันติ การอภิวัฒน์โดยใช้กำลังอาวุธก็มิได้มีขึ้น แต่เจ้าศักดินาใดดื้อดึงเกาะแน่นอยู่ตามระบบเผด็จการศักดินาของตน การอภิวัฒน์โดยใช้กำลังอาวุธจึงเกิดขึ้น อาทิ การอภิวัฒน์ฝรั่งเศสใน ค.ศ. ๑๗๘๙
ก. เราไม่ต้องดูอื่นไกลคือตัวอย่างรูปธรรมในสยามของเราเองก็จะเห็นว่า แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ (รัชกาลที่ ๕) ได้ทรงยกเลิกระบบทาสใน พ.ศ. ๒๔๔๘ แล้ว แต่ซากทัศนะทาสก็ยังตกค้างอยู่ในชนบทบางหมู่บางเหล่า อันที่ก่อนการประกาศยกเลิกระบบทาส พระองค์ก็ได้มีประกาศยกเลิกธรรมเนียมทาสและศักดินามาก่อนแล้ว เมื่อพระองค์ขึ้นทรงราชย์ได้เพียง ๕ ปีเท่านั้น คือ ในจุลศักราช ๑๒๓๕ ซึ่งตรงกับพุทธศักราช ๒๔๑๖ ...
พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ได้ปฏิบัติตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๕ โดยเฉพาะกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระอาจารย์กฎหมายสยามได้ทรงสั่งสอนตามพระราชประสงค์ของพระราชบิดา ครั้นต่อมา ภายหลังรัฐประหาร ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ โดยความเกื้อกูลสนับสนุนจากซากทัศนะทาสและศักดินาแล้ว รัฐบาลที่ตั้งขึ้นหลายชุดต่อมาได้ทำการฟื้นธรรมเนียมทาสที่เลิกแล้วนั้นขึ้นมาอีก ดังปรากฏในภาพจากนิตยสารหนังสือพิมพ์ นิสิตนักศึกษานักเรียนก็ถูกบังคับให้ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมนั้น ซึ่งท่านย่อมทราบแล้ว คำพิพากษาฎีกาบางฉบับก็มีผู้พิพากษาบางนายได้ตัดสินคดีโดยอาศัยประเพณีเก่าเป็นข้ออ้างลงโทษผู้ต้องหา ผมจึงคิดว่าถ้ารัชกาลที่ ๕ มีญาณวิธีโดยเฉพาะกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เห็นการฟื้นขนบธรรมเนียมประเพณีทาสอันเป็นการขัดพระราชประสงค์และขัดต่อเจตนารมณ์ทางกฏหมายแล้ว พระองค์จะทรงมีความรู้สึกอย่างไร
ข.แม้ในประเทศจีนใหม่ปัจจุบัน ที่เข้าสู่ระบบสังคมนิยมเบื้องต้นแล้ว ท่านก็จะได้ทราบข่าวที่ปรากฏจากเอกสารของสาธารณรัฐแห่งราษฎรจีนเองว่า เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการรณรงค์ต่อต้านซากทัศนะ “ขงจื้อ” (อันเป็นซากทัศนะศักดินาซึ่งเป็นทฤษฎีที่ขงจื้อคิดขึ้นในสมัยโบราณ ขณะที่ประเทศจีนยังมีระบบทาสผสมกับระบบศักดินา) แม้ว่า “หลินเปียว” ตัวแทนซากทัศนะนี้จะตายไปแล้ว แต่เขาก็ยังมีลูกสมุนตกค้างอยู่ซึ่งทำการเผยแพร่ในประเทศจีน และในบางประเทศอื่นที่เคยมีบุคคลโฆษณาสรรเสริญหลินเปียวอยู่พักหนึ่ง แม้ในปารีสท่านอางสังเกตว่า เมื่อข่าวสารบางกระแสแจ้งว่าหลินเปียวขึ้นเครื่องบินหนีจากประเทศจีนแล้วเกิดอุปัทวเหตุเครื่องบินตกทำให้หลินเปียวกับพวกตายนั้น ผู้สดุดีหลินเปียวก็คัดค้านข่าวนั้นว่าไม่จริงเพราะลุ่มหลงทัศนะศักดินาของหลินเปียวอย่างหลับหูหลับตา..
๒.๘ เมื่อระบบทาสในยุโรปตะวันตก ได้เสื่อมสลายลงในปลายสมัยอาณาจักรโรมันโดยระบบศักดินาได้พัฒนาขึ้นมาแทนที่แล้ว แต่ซากทัศนะทาสยังคงเหลืออยู่ในระบบศักดินาเป็นเวลาช้านานหลายศตวรรษ
ต่อมาในปลายสมัยยุคกลางของยุโรปตะวันตก คือ เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ ได้มีบุคคลจำพวกที่ออกสำเนียงตามภาษาฝรั่งเศสว่า “บรูชัวส์” เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “BOURGEOIS” คือพ่อค้าและผู้ประกอบหัตถกรรมที่อยู่ในย่านตลาดการค้า ซึ่งเรียกว่า “บูรก์” เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “BOURG” คำนี้เทียบได้กับคำไทยว่า “บุรี” ฉะนั้น “บูรชัวส์” เทียบได้กับคำไทยว่า “ชาวบุรี” ได้เป็นผู้เริ่มแรกในการจัดตั้งเป็นขบวนการต่อต้านเผด็จการศักดินาซึ่งปกครองท้องที่ ชาวบุรีได้รวมกำลังกันเป็นองค์การร่วมที่เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “กอมมูน” (COMMUNE) ซึ่งแผลงมาจากคำลาติน “COMMUNIS” อันเป็นองค์การที่ชาวบุรีผนึกกำลังกันเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของตน และต่อสู้เจ้าศักดินาท้องถิ่นเพื่อมีอิสระในการปกครองท้องที่ของตนเอง ออกต่างหากจากเผด็จการของเจ้าศักดินาท้องที่ แต่ยังยอมขึ้นตรงต่อพระราชาธิบดีซึ่งเป็นประมุขสูงสุดของรัฐ การต่อสู้นั้นใช้วิธีทัดท้านดื้อด้านไม่ยอมอ่อนข้อให้เจ้าศักดินาท้องที่ การต่อสู้ได้ใช้เวลายาวนาน ชาวบุรีจึงได้รับสัมปทานจากพระราชาธิบดีให้มีสิทธิปกครองท้องถิ่นของตนเองอันเป็นประวัติระบบเทศบาลในฝรั่งเศสและในหลายประเทศของยุโรปตะวันตก
ชาวบุรีก็หมดสภาพเป็นข้าไพร่ของเจ้าศักดินาแห่งท้องที่ โดยพระราชาธิบดีรับรองให้มีฐานันดรที่ ๓ ของสังคม คือเป็นฐานันดรถัดลงมาจากขุนนางบาทหลวง และขุนนางสามัญ คือมีสภาพเป็นชนชั้นกลางระหว่างฐานันดรสูงกับผู้ไร้สมบัติ (PROLETARIAT) ซึ่งยังคงมีฐานะเป็นข้าไพร่ของเจ้าศักดินาท้องถิ่น กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ชาวบุรีมีฐานะเป็นนายทุนชั้นกลาง ต่อมาชาวบุรีได้พัฒนาเครื่องมือหัตถกรรมให้มีสมรรถภาพดีขึ้นตามลำดับ ได้ขยายการค้ากว้างขวางขึ้น สะสมสมบัติเป็นทุนได้มากขึ้น และเมื่อได้เกิดมีผู้ประดิษฐ์เครื่องมือใช้พลังไอน้ำในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ชาวบุรีก็อาศัยทุนอันเป็นสมบัติที่สะสมไว้นั้นเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมและวิสาหกิจสมัยใหม่ สภาพของชาวบุรีซึ่งเดิมเป็นเพียงนายทุนชั้นกลางจึงได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปนายทุนใหญ่สมัยใหม่
แม้สภาพของชาวบุรีหรือบูรชัวส์ได้เปลี่ยนไปจากเดิมแล้ว ซึ่งในภาษาสามัญยังหมายถึงคนชั้นกลางก็ดี แต่ในตำราวิทยาศาสตร์สังคมก็ยังคงเรียกนายทุนสมัยใหม่ตามศัพท์เดิมว่า “บูรชัวส์” และชนชั้นนายทุนใหญ่สมัยใหม่ว่า“บูรชัวชี”(BOURGEOISIE)ตำราวิทยาศาสตร์สังคมที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมันก็ใช้วิธีทับศัพท์คำฝรั่งเศสดังกล่าวนั้น เพื่อเรียกชนชั้นนายทุนใหญ่สมัยใหม่ซึ่งมีความเฉพาะในทางวิทยาศาสตร์สังคม เองเกลส์ได้ทำฟุตโน้ตอธิบายความหมายของคำนี้ว่า
“บูรชัวซี (BOURGEOISIE) หมายถึงชนชั้นนายทุนสมัยใหม่ เจ้าของปัจจัยการผลิตของสังคมและเป็นนายจ้างของแรงงาน”
เพื่อกระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น ขอให้ท่านศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจเบื้องต้น ท่านก็จะพบว่าระบบทุนสมัยใหม่ได้ก่อตัวจาก “ระบบทุนพาณิชย์” (CAPITALISME COMMERCIALE) แล้ว “ระบบทุนการคลัง” (CAPITALISME FINANCIER) แล้วก็มาถึง “ระบบทุนอุตสาหกรรม” (CAPITALISME INDUSTRIEL)
ส่วนชนชั้นผู้มีทุนน้อยมีชื่อเรียกว่า “เปอติเตอะ บูรชัวซี” (PETITE BOURGEOISIE) และนายทุนชั้นกลางมีชื่อเรียกว่า “มัวแยนน์ บูรชัวซี” (MOYENNE BOURGEOISIE)
ฉะนั้น ผมจึงได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ว่าด้วยความเป็นอนิจจังของสังคม” ว่า “บูรชัวซี” ไม่ใช่ชนชั้น “กระฎุมพี” หากแต่เป็นชนชั้นเศรษฐีสมัยใหม่ ซึ่งผมถ่ายทอดเป็นศัพท์ไทยใหม่ว่า “เจ้าสมบัติ”...
ท่านที่ใช้สามัญสำนึกย่อมทราบได้ว่าชนชั้นเจ้าสมบัตินั้นเป็นคนจำนวนน้อยในสังคม ฉะนั้นแม้ชนชั้นเจ้าสมบัติเห็นความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบศักดินามาเป็นระบบประชาธิปไตย แต่โดยลำพังชนชั้นนั้นก็ย่อมไม่เป็นพลังเพียงพอคือ จำต้องอาศัยข้าไพร่ตามระบบศักดินาที่เป็นคนจำนวนส่วนข้างมากของสังคม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ข้าไพร่เกิดมีสำนึกในชนชั้น ข้าไพร่ของตนที่ถูกกดขี่ข่มเหงจากระบบศักดินาและให้เกิดจิตสำนึกในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษยชาติของตนที่จะต้องมีความเสมอภาคกับเพื่อนมนุษย์ในสังคม และมีสิทธิเสรีภาพคือ สิทธิประชาธิปไตย ในการนั้นบทความของนักปราชญ์หลายคนในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ อาทิ “ฮอบบส์” (HOBBS), “ล็อกค์” (LOCKE), และในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ อาทิ “มองเกสติเออ” (MONTESQUIEU),”ดิเดอโรต์ (DEDEROT),วอลแตร์ (VOATAIRE), จ.-จ.รุสโซ (J.J ROUSSEAU) ได้มีอิทธิพลที่ทำให้ราษฎรจำนวนไม่น้อยเกิดจิตสำนึกที่ต้องการความเสมอภาคกับเพื่อนมนุษย์ในสังคมและสิทธิเสรีภาพ นักปรัชญาเหล่านี้ไม่ใช่เป็นนายทุนมั่งมีเงินมหาศาล ท่านแสดงทัศนะเพื่อประชาธิปไตยของราษฎร มิใช่เพื่อชนชั้นเจ้าสมบัติโดยเฉพาะ
ชนชั้นเจ้าสมบัติจึงร่วมกับราษฎรที่มีทัศนะประชาธิปไตยทำการต่อต้านเผด็จการศักดินา เพื่อเปลี่ยนมาเป็นระบบประชาธิปไตย เจ้าศักดินาของประเทศใดยอมเปลี่ยนแปลงโดยสันติ การอภิวัฒน์โดยใช้กำลังอาวุธก็มิได้มีขึ้น แต่เจ้าศักดินาใดดื้อดึงเกาะแน่นอยู่ตามระบบเผด็จการศักดินาของตน การอภิวัฒน์โดยใช้กำลังอาวุธจึงเกิดขึ้น อาทิ การอภิวัฒน์ฝรั่งเศสใน ค.ศ. ๑๗๘๙
No comments:
Post a Comment