อินเดีย-ประวัติศาสตร์ที่ต้องศึกษา
ความตึงเครียดระหว่างชาวฮินดูกับมุสลิมก่อนจะได้รับเอกราช
ปัญหา “การแบ่งแยกกลุ่มชน” (communal problem) ในอินเดียเริ่มาตั้งแต่สมัยที่อังกฤษครอบครองเบงกอลและดินแดนส่วนอื่นๆ ของอินเดียในเวลาต่อมา ทำให้ผู้ปกครองชาวมุสลิมต้องสูญเสียอำนาจที่เคยมีมาก่อน ชนชั้นสูงชาวมุสลิมต้องตกอยู่ในสภาพที่ยากลำบาก และมักถูกกีดกันไม่ให้เข้ารับราชการ ขณะเดียวกันชนชั้นสูงเหล่านี้ก็ไม่ยอมประกอบอาชีพอื่น เพราะถือตัวว่าเคยเป็นผู้นำทางการปกครองและการทหารมาก่อน
นอกจากนี้ชาวมุสลิมยังยึดมั่นในคำสอนของคัมภีร์กุรอ่าน ทำให้ไม่สนใจที่ศึกษาหาความรู้แบบตะวันตก ซึ่งตรงข้ามกับชนชั้นสูงชาวฮินดู อีกทั้งชาวฮินดูยังสนใจที่จะประกอบอาชีพที่มั่งคั่งต่างๆ เช่น เป็นพ่อค้า นักธุรกิจ ผู้รับเหมาก่อสร้างและอื่นๆ ในขณะที่ชนชั้นสูงชาวมุสลิมยังคงเป็นเจ้าของที่ดินเท่าที่มีอยูในระดับหมู่บ้าน และแม้ว่าชาวมุสลิมที่เป็นระดับชาวบ้านจะมีความเป็นอยู่เช่นเดียวกับชาวบ้านฮินดู และได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยทางเศรษฐกิจของชุมชน แต่ชาวบ้านมุสลิมก็มักจะแยกตัวออกจากสังคมของชาวฮินดูเป็นอีกชุมชนหนึ่งต่างหาก
ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ ๑๙ อังกฤษได้ใช้นโยบายให้ความช่วยเหลือแก่ชาวมุสลิม ทำให้สามารถตั้งโรงเรียนสมัยใหม่สำหรับเด็กชายมุสลิมชั้นสูงในปี ๑๘๗๕ โดยความช่วยเหลือของรัฐบาลอังกฤษ โรงเรียนแห่งนี้ตั้งที่เมืองอาลิการ์ห ในแคว้นอุตรประเทศ มีการสอนเกี่ยวกับศาสนาอิสลามซึ่งสำคัญยิ่งสำหรับชาวมุสลิม และสอนวิชาอื่นตามอย่างตะวันตก เมืองอาลิการ์หจึงกลายเป็นศูนย์กลางของชาวมุสลิมซึ่งตื่นตัวขึ้นรับการเปลี่ยนแปลงทางโลกสมัยใหม่
อย่างไรก็ตามชาวมสุลิมก็ยังก้าวไม่ทันชาวฮินดูไม่ว่าด้านการศึกษา ธรุกิจ หรือรับราชการ เพราะชชาวมุสลิมเริ่มต้นได้ช้ากว่าชาวฮินดูมาก และด้วยความล้าหลังกว่าชาวฮินดูทางเศรษฐกิจและการศึกษา จึงทำให้ชาวมุสลิมหวาดระแวงว่าจะตกอยู่ใต้อิทธิพลของชาวฮินดู ดังนั้นเมื่อเริ่มมีการเสนอให้อินเดียมีการปกครองโดยมีผู้แทน เซอร์ เซยิด อาเหม็ด ข่าน ชาวมุสลิมจึงได้พยายามขัดขวางการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเพื่อการปกครองตนเองของอินเดีย
ในปี ค.ศ. ๑๙๐๖ กลุ่มบุคคลสำคัญชาวมุสลิมได้ร่างคำร้องต่ออุปราชอังกฤษ ขอให้มุสลิมได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษในฐานะชนกลุ่มน้อยในอินเดีย ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราส่วนการเข้ารับราชการและให้สำรองที่นั่งพิเศษสำหรับชาวมุสลิมในสภานิติบัญญัติ คำตอบที่ได้รับคืออุปราชได้ให้สัญญาว่าจะปกป้องผลประโยชน์ของชาวมุสลิม และในที่สุดอังกฤษก็ได้ออก พระราชบัญญัติปกครองอินเดีย ค.ศ. ๑๙๐๙ ซึ่งให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งชาวมุสลิมสามารถเลือกผู้แทนของตนเข้าไปนั่งในสภาตามจำนวนที่ได้สำรองให้ไว้เป็นพิเศษ ซึ่งทำให้คองเกรสแห่งชาติอินเดียคัดค้านวิธีการดังกล่าวอย่างมาก แม้กระทั่งในปัจจุบันยังมีชาวอินเดียหลายคนที่เห็นว่าการกระทำของอังกฤษเป็นการเริ่มต้นการใช้นโยบาย “แบ่งแยกเพื่อปกครอง” อีกครั้งหนึ่ง
ปัญหา “การแบ่งแยกกลุ่มชน” (communal problem) ในอินเดียเริ่มาตั้งแต่สมัยที่อังกฤษครอบครองเบงกอลและดินแดนส่วนอื่นๆ ของอินเดียในเวลาต่อมา ทำให้ผู้ปกครองชาวมุสลิมต้องสูญเสียอำนาจที่เคยมีมาก่อน ชนชั้นสูงชาวมุสลิมต้องตกอยู่ในสภาพที่ยากลำบาก และมักถูกกีดกันไม่ให้เข้ารับราชการ ขณะเดียวกันชนชั้นสูงเหล่านี้ก็ไม่ยอมประกอบอาชีพอื่น เพราะถือตัวว่าเคยเป็นผู้นำทางการปกครองและการทหารมาก่อน
นอกจากนี้ชาวมุสลิมยังยึดมั่นในคำสอนของคัมภีร์กุรอ่าน ทำให้ไม่สนใจที่ศึกษาหาความรู้แบบตะวันตก ซึ่งตรงข้ามกับชนชั้นสูงชาวฮินดู อีกทั้งชาวฮินดูยังสนใจที่จะประกอบอาชีพที่มั่งคั่งต่างๆ เช่น เป็นพ่อค้า นักธุรกิจ ผู้รับเหมาก่อสร้างและอื่นๆ ในขณะที่ชนชั้นสูงชาวมุสลิมยังคงเป็นเจ้าของที่ดินเท่าที่มีอยูในระดับหมู่บ้าน และแม้ว่าชาวมุสลิมที่เป็นระดับชาวบ้านจะมีความเป็นอยู่เช่นเดียวกับชาวบ้านฮินดู และได้รับการยอมรับว่าเป็นหน่วยทางเศรษฐกิจของชุมชน แต่ชาวบ้านมุสลิมก็มักจะแยกตัวออกจากสังคมของชาวฮินดูเป็นอีกชุมชนหนึ่งต่างหาก
ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ ๑๙ อังกฤษได้ใช้นโยบายให้ความช่วยเหลือแก่ชาวมุสลิม ทำให้สามารถตั้งโรงเรียนสมัยใหม่สำหรับเด็กชายมุสลิมชั้นสูงในปี ๑๘๗๕ โดยความช่วยเหลือของรัฐบาลอังกฤษ โรงเรียนแห่งนี้ตั้งที่เมืองอาลิการ์ห ในแคว้นอุตรประเทศ มีการสอนเกี่ยวกับศาสนาอิสลามซึ่งสำคัญยิ่งสำหรับชาวมุสลิม และสอนวิชาอื่นตามอย่างตะวันตก เมืองอาลิการ์หจึงกลายเป็นศูนย์กลางของชาวมุสลิมซึ่งตื่นตัวขึ้นรับการเปลี่ยนแปลงทางโลกสมัยใหม่
อย่างไรก็ตามชาวมสุลิมก็ยังก้าวไม่ทันชาวฮินดูไม่ว่าด้านการศึกษา ธรุกิจ หรือรับราชการ เพราะชชาวมุสลิมเริ่มต้นได้ช้ากว่าชาวฮินดูมาก และด้วยความล้าหลังกว่าชาวฮินดูทางเศรษฐกิจและการศึกษา จึงทำให้ชาวมุสลิมหวาดระแวงว่าจะตกอยู่ใต้อิทธิพลของชาวฮินดู ดังนั้นเมื่อเริ่มมีการเสนอให้อินเดียมีการปกครองโดยมีผู้แทน เซอร์ เซยิด อาเหม็ด ข่าน ชาวมุสลิมจึงได้พยายามขัดขวางการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเพื่อการปกครองตนเองของอินเดีย
ในปี ค.ศ. ๑๙๐๖ กลุ่มบุคคลสำคัญชาวมุสลิมได้ร่างคำร้องต่ออุปราชอังกฤษ ขอให้มุสลิมได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษในฐานะชนกลุ่มน้อยในอินเดีย ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราส่วนการเข้ารับราชการและให้สำรองที่นั่งพิเศษสำหรับชาวมุสลิมในสภานิติบัญญัติ คำตอบที่ได้รับคืออุปราชได้ให้สัญญาว่าจะปกป้องผลประโยชน์ของชาวมุสลิม และในที่สุดอังกฤษก็ได้ออก พระราชบัญญัติปกครองอินเดีย ค.ศ. ๑๙๐๙ ซึ่งให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งชาวมุสลิมสามารถเลือกผู้แทนของตนเข้าไปนั่งในสภาตามจำนวนที่ได้สำรองให้ไว้เป็นพิเศษ ซึ่งทำให้คองเกรสแห่งชาติอินเดียคัดค้านวิธีการดังกล่าวอย่างมาก แม้กระทั่งในปัจจุบันยังมีชาวอินเดียหลายคนที่เห็นว่าการกระทำของอังกฤษเป็นการเริ่มต้นการใช้นโยบาย “แบ่งแยกเพื่อปกครอง” อีกครั้งหนึ่ง
การเน้นการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างออกไปของชาวมุสลิม ได้กลายเป็นพื้นฐานของการตั้งสันนิบาตมุสลิม (Muslim League) ซึ่งประชุมกันเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. ๑๙๐๖ อย่างไรก็ตามผู้นำมุสลิมบางคนก็พอใจที่จะร่วมมือกับคองเกรสแห่งชาติมากกว่าสันนิบาตมุสลิม ซึ่งเป็นองค์กรทางการเมืองที่อิงศาสนา ส่วนพวกฮินดูก็พยายามชี้ให้เห็นว่าคองเกรสแห่งชาติมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางศาสนา นักการเมืองในสันนิบาตมุสลิมจึงมักเอ่ยถึงมุสลิมในคองเกรสแห่งชาติอย่างเย้ยหยันว่าเป็นพวก Tame Muslim หรือ “มุสลิมเชื่อง”
สันนิบาตมุสลิมได้ยืนยันความจงรักภักดีต่ออังกฤษ เพื่อตอบแทนที่อังกฤษได้ให้ความสนับสนุน ทำให้คองเกรสแห่งชาติโจมตีสันนิบาตมุสลิมว่า ทรยศต่อขบวนการชาตินิยม การที่อังกฤษปราบปรามขบวนการชาตินิยม แต่กลับเอาใจสันนิบาตมุสลิมเป็นพิเศษนี้ มีผลทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างมุสลิมกับฮินดูมากขึ้น แม้ว่าอังกฤษจะไม่ยอมรับโดยตรงว่าได้ใช้นโยบาย “แบ่งแยกเพื่อปกครอง” อินเดีย แต่เบื้องหลังการกระทำดังกล่าว ก็คืออังกฤษต้องการปกครองอินเดียให้นานที่สุด โดยไม่คำนึงว่าการกระทำดังกล่าวจะนำไปสู่การแบ่งแยกอนุทวีปอินเดียในอนาคต
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ ชาวมุสลิมในอินเดียเริ่มฝักใฝ่อังกฤษน้อยลงและหันมาร่วมมือกับชาวฮินดูมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลมาจากนโยบายอังกฤษที่มีต่อตุรกี ขณะนั้นกาหลิบแห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นผู้ปกครองตุรกี และเป็นผู้นำศาสนาอิสลามของชาวมุสลิมส่วนใหญ่ ชาวมุสลิมจำนวนมากในอินเดียจึงต่อต้านอังกฤษ เมื่ออังกฤษประกาศสงครามต่อตรุกีใน ค.ศ. ๑๙๑๔ต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๑๖ สันนิบาตมุสลิมและคองเกรสแห่งชาติจึงหันหน้าเข้าหากัน และสามารถทำความตกลงในปัญหาต่างๆที่ขัดแย้งมาก่อนรวมทั้งปัญหาการสำรองที่นั่งในสภานิติบัญญัติ ทั้งสองฝ่ายยังขอร้องให้อังกฤษให้การปกครองตนเองแก่อินเดียภายใต้จักรภพอังกฤษ
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ สิ้นสุดลง ตุรกีเป็นฝ่ายแพ้และถูกลิดรอนดินแดนตามสนธิสัญญาสันติภาพขณะนั้น คานธีซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคองเกรสแห่งชาติจึงสามารถรวบรวมชาวมุสลิมและฮินดูให้มาประชุมร่วมกันเพื่อประท้วงอังกฤษใน ค.ศ. ๑๙๑๙ ที่เรียกว่าการประชุมคิลาฟัตและตั้งขบวนการต่อต้านอังกฤษร่วมกัน
แต่หลังจากกาหลิบแห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกโค่นล้ม โดยพวกยังเตอร์ก (Yong Turks) ใน ค.ศ. ๑๙๒๒ เป้าหมายการต่อสู้ของชาวมุสลิมในอินเดียก็สิ้นสุดลง ความตึงเครียดระหว่างชาวมุสลิมกับฮินดูจึงเริ่มขึ้นอีก การจราจลได้เกิดขึ้นในบริเวณหลายแห่งใน ค.ศ. ๑๙๒๘ คองเกรสแห่งชาติปฏิเสธอย่างชัดเจนไม่ยอมรับการแบ่งเขตเลือกตั้งที่เคยสนับสนุนมาก่อนหน้านั้น อย่างไรก็ตาม สันนิบาตมุสลิมก็ยังไม่ได้รับวควา
ความนิยมจากชาวมุสลิมส่วนใหญ่
ในการเลือกตั้ง ค.ศ. ๑๙๓๗ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. ๑๙๓๕ นั้น ปรากฏว่าพรรคสันนิบาตมุสลิมได้ที่นั่งเพียงเล็กน้อย แม้กระทั่งในรัฐที่มีชาวมุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่ เนื่องจากในขณะนั้นชาวมุสลิมส่สนมากมีความเห็นว่าควรจะร่วมมือกับพรรคคองเกรสซึ่งมีพลังเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้การนำของนักเรียกร้องเคลื่อนไหวหลายคน
ภายหลังการเลือกตั้ง ค.ศ. ๑๙๓๗ สันนิบาตมุสลิมเริ่มเติบโตอย่างน่าตกใจ ทั้งนี้เนื่องจากมูฮัมเหม็ด อาลี จินนาห์ ผู้นำสันนิบาตของมุสลิม(และขึ้นเป็นข้าหลวงใหญ่ปากีสถานในเวลาต่อมา) ได้ขอตำแหน่งอย่างน้อยที่สุดบางตำแหน่งในรัฐบาลส่วนภูมิภาคให้แก่สมาชิกพรรคสันนิบาตมุสลิม พรรคคองเกรสซึ่งเป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง มีความเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เนื่องจากพรรคคองเกรสประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากทุกศาสนาในอินเดียอยู่แล้ว และยังเคยมีประธานซึ่งเป็นชาวมุสลิมและคริสเตียนอีกด้วยพรรคคองเกรสจึงเป็นองค์กรทางการเมืองอย่างแท้จริง โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางศาสนา นอกจากนี้ พรรคคองเกรสยังได้ให้ตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีแก่ชาวมุสลิม แต่เป็นมุสลิมที่เป็นสมาชิกของขบวนการคองเกรสเท่านั้น
จินนาห์จึงกล่าวหาพรรคคองเกรสว่าพยายามทำลายสันนิบาตมุสลิม และไม่ยอมให้อำนาจแก่ชาวมุสลิมที่ไม่ยอมอยู่ใต้อิทธิพลของพรรคคองเกรสและผลประโยชน์ของชาวฮินดู ขณะเดียวกันจินนาห์ก็ประสบผลสำเร็จในการรณรงค์เพื่อเพิ่มสมาชิกให้แก่สันนิบาตมุสลิม
จินนาห์เป็นเนติบัญฑิตที่ได้รับการอบรมจากตะวันตก เขาเคยเป็นสมาชิกพรรคคองเกรสแห่งชาติมาก่อน เขาเป็นคนที่มีบุคลิกตรงข้ามกับคานธี คือเป็นคนค่อนข้างจุกจิก เย็นชา ตึงเครียด เจ้าระเบียบ ไม่ยืดหยุ่นและชอบทำตัวเป็นผู้ดี จินนาห์ไม่พอใจในบุคลิกและวิธีการของคานธีอย่างมาก ทำให้เขาดูถูกเหยียดหยามคานธี แต่คานธีสามารถนำบุคลิกที่เป็นคนธรรมดา ท่าทางใจดีและเป็นกันเองกับคนทั่วไปโดยนำศาสนาฮินดูมาผสมผสานกับการเมืองโดยต่อสู้แบบสัตยเคราะห์จนรัฐบาลอังกฤษต้องสั่นคลอน จินนาห์มีความทะเยอทะยานอยากจะมีอำนาจ จึงพยายามเปิดสาขาสันนิบาตมุสลิมขึ้นทั่วประเทศ และชักชวนให้ชาวมุสลิมสมัครเข้าพรรคสันนิบาต
จินนาห์ยังพยายามโฆษณาชวนเชื่อโดยย้ำให้เห็นว่าชาวฮินดูและมุสลิมเป็นชนสองชาติที่แยกจากกันและบอกต่อไปว่าถ้าอังกฤษถอนตัวออกไปจากอินเดียการปกครองก็จะอยู่ในเมืองของชาวฮินดู ซึ่งจะทำให้ชาวมุสลิมเป็นขี้ข้าของชาวฮินดูตลอดไป จินนาห์ยังพูดให้ชาวมุสลิมเกิดความหวาดระแวงต่างๆนานาเป็นต้นว่า ศาสนาอิสลามไม่เพียงแต่จะตกอยู่ในอันตรายเท่านั้น แต่ชาวมุสลิมยังจะต้องเสียเปรียบในการทำงานและสูญเสียโอกาสที่ตนจะได้รับ นอกจากนี้จินนาห์ยังชี้ให้เห็นความแตกต่างอย่างสุดขั้วระหว่างวัฒนธรรมและค่านิยมของศาสนาอิสลามและฮินดู
ดังนั้นในการประชุมประจำปีที่เมืองเมืองลาฮอร์ ในค.ศ. ๑๙๔๐ สันนิบาตมุสลิมจึงลงมติที่จะมีประเทศของตนเองเมื่ออังกฤษได้ให้เอกราชแก่อนุทวีปอินเดียแล้ว โดยจะใช้ชื่อว่าประเทศปากีสถาน(ปากีสถาน :Pakistan ประกอบด้วยตัวอักษรซึ่งเป็นชื่อของรัฐในอินเดียที่มีชาวมุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่ เรียงตามลำดับได้แก่ Punjab, Afkan (ชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ), Kashmire, Shind และ Baluchistan เมื่อรวมกันแล้วมีความหมายว่า ดินแดนแห่งความบริสุทธิ์) ซึ่งจะรวมเอาดินแดนที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่เข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่ดินแดนด้านตะวันออกและด้านตะวันตกเฉียงเหนือสุดของอินเดีย
แต่เนื่องจากดินแดนดังกล่าวอยู่ห่างไกลกัน ผู้นำบางคนจึงมีความเห็นว่าควรจะตั้งประเทศมุสลิมขึ้น ๒ ประเทศแม้กระทั่งจินนาห์เองก็เคยคิดว่าควรจะทำฉนวนเชื่อมบริเวณทั้งสองโดยตัดผ่านภาคเหนือของอินเดีย แต่ปัญหาที่ยุ่งยากกว่านั้นก็คือ ทั้งในรัฐปัญจาบทางตะวันตกเฉียงเหนือและรัฐเบงกอลตะวันออกซึ่งมีชาวมุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่ ก็ยังมีชาวฮินดูเป็นชนส่วนน้อยอยู่ภายในนั้นอีกเช่นกัน
ดังนั้นประเทศปากีสถานที่จะตั้งขึ้นใหม่ควรจะครอบคลุมดินแดนทั้งหมดในสองรัฐนี้ หรือควรจะเป็นเพียงบางส่วนที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่มากที่สุด จินนาห์ต้องการที่จะได้ดินแดนทั้งหมด แต่ปรากฏว่าดินแดนที่แบ่งแยกออกมานั้นมีน้อยกว่าที่เขาคาดหวังไว้อย่างมาก
No comments:
Post a Comment