Thursday, March 1, 2007

บทความที่ ๗๕. ประวัติศาสตร์อินเดีย (๒) -ความเสื่อมของจักรวรรดิมุสลิมในอินเดีย

อินเดีย-ประวัติศาสตร์ที่ต้องศึกษา
ยุคใหม่ของประวัติศาสตร์อินเดีย

เมื่อบาบูร์ถึงแก่กรรมใน ค.ศ.๑๕๓๐ โอรสขึ้นครองราชย์ต่อมาได้ไม่นานก็ถูกขุนนางชาวอาฟฆานซึ่งเคยเป็นข้าหลวงในแค้วนพิหารยึดอำนาจการปกครองใน ค.ศ. ๑๕๔๐ แต่ก็กลับมาครองราชย์ได้อีกครั้งในปี ค.ศ. ๑๕๕๕ และสิ้นพระชนม์ในปีต่อมา ผู้ขึ้นครองราชย์ต่อมาคือพระเจ้าอักบาร์ พระองค์ทรงใช้นโยบายขยายอาณาเขตด้วยการรุนรานทำให้อินเดียภาคเหนือทั้งหมดตกอยู่ใต้อำนาจของพระองค์

ในรัชสมัยของพระองค์ซึ่งเป็นคนมุสลิมส่วนน้อยสามารถที่จะปกครองคนอินเดียส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนฮินดูได้นั้น เพราะนโยบายต่างๆ ที่พระองค์นำมาใช้ เช่น พระองค์ได้ยกเลิกภาษีที่เก็บชาวฮินดู ที่เรียกว่าภาษีจิสยา (Jizya) พระองค์ทรงโปรดให้ชาวฮินดูได้เข้ารับราชการในตำแหน่งสูงๆ ทรงสร้างพันธมิตรโดยการอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงชาวราชปุต นอกจากนี้พระเจ้าอักบาร์ยังสนใจในวัฒนธรรมฮินดูจึงก่อให้เกิดการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมของมุสลิมกับฮินดูอย่างใหม่เกิดขึ้นในอินเดีย

จักรพรรดิที่ครองราชย์ต่อมาได้แก่จาฮานกีร๊ จนมาถึง ชาห์ จาฮาน (ค.ศ.๑๖๒๘-๑๖๕๘)ที่ใช้นโยบายรวบรวมและขยายอาณาเขต จนอาณาจักรมุสลิมของเจ้าองค์อื่นในแถบเดคคานได้ตกอยูในอำนาจของราชวงศ์โมกุล จักรพรรดิชาห์ จาฮานได้โปรดให้สร้างทัชมาฮาลและวิหารไข่มุกที่เมืองอักรา รวมทั้งพระราชวังและโบสถ์ใหญ่ที่เมืองเดลี ซึ่งยังคงตั้งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

ความเสื่อมของจักรวรรดิมุสลิมในอินเดีย

โอรสของพระเจ้าชาห์ จาฮาน คือพระเจ้าโอรังเซ็บ (ค.ศ.๑๖๕๘-๑๗๐๗) พระองค์ได้ยกเลิกนโยบายทางศาสนาที่พระเจ้าอักบาร์ริเริ่มไว้ เนื่องจากพระเจ้าโอรังเซ็บเคร่งในศาสนาและไม่ไม่โปรดให้พวกฮินดูมีอำนาจและมั่งคั่งมากยิ่งขึ้น และพระองค์ก็ยังต้องการความจงรักภักดีจากชนชั้นปกครองชาวมุสลิมเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่จักรวรรดิของพระองค์ และด้วยการนี้พระองค์จึงสร้างผลประโยชน์เป็นกอบเป็นกำให้พวกชนชั้นปกครองชาวมุสลิม(ศาสนิกชนเดียวกับพระองค์)โดยการรื้อฟื้นการเก็บภาษีจิสยาขึ้นมาอีก โดยเป็นการเรียกเก็บภาษีจากคนศาสนาอื่นที่ไม่ใช่มุสลิม (ชวนให้นึกถึงประเทศแถวเอเชียอาคเนย์ประเทศหนึ่งที่ชนชั้นปกครอง-นักการทหาร ถูกผีซาตาน ดลจิตดลใจให้สร้างเรื่องปลุกปั่น ใส่ร้ายประชาชนของตนเองที่เรียกร้องความเป็นธรรม ให้กลายเป็นปิศาจ เป็นสัตว์ร้ายในนาม “คอมมิวนิสต์” แล้วปลุกผีชาวบ้าน-กลุ่มประชาชนฝ่ายขวาหัวรุนแรงขึ้นมา หยิบยื่นอาวุธให้ ให้ไปพิฆาตเข่นฆ่า ปิศาจ-สัตว์ร้ายคอมมิวนิสต์นั้นเสียให้สิ้น นักบวชผู้หนึ่งถึงกับกล่าวประโยคอันแสดงถึงจิตใจที่ “ขวาตกขอบ” ของตนเองออกมาว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ ไม่บาป” และจากเหตุการณ์เข่นฆ่าครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ในครั้งนั้นมาจนถึงบัดนี้ ประชาชนในประเทศนั้น ก็กลายเป็นคนง่อยเปลี้ย สมองพิการ ไม่อาจจะยืนขึ้นด้วยขาตนเอง หวังรอคอยปาฏิหาริย์จากเทวดาที่จะมาช่วยให้ประเทศก้าวหน้าวัฒนาถาวร

ประชาชนรุ่นใหม่ที่เกิดหลังเหตุการณ์อันเลวร้ายในครั้งนั้น ถูกบอกกล่าวกล่อมเกลาผ่านสื่อนานาชนิดๆให้เชื่ออย่างมั่นคงว่า การที่ประเทศชาติของพวกเขาจะก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศได้ไม่ใช่เกิดจากตัวแทนประชาชนที่เป็นสามัญชนเพราะสามัญชนมักจะเห็นแก่ตัว คอรัปชั่น กินสินบน และจากการกระทำของตัวแทนประชาชนที่ทำอย่างนั้นบางคน ก็ยิ่งตอกย้ำให้คนในสังคมเชื่อจริงๆจังๆ ว่าตัวแทนของพวกเขาล้วนมีสันดานอย่างนั้น จนไม่อาจแยกแยะว่าใครชั่วจริงใครถูกใส่ร้ายป้ายสี

เมื่อประชาชนโดยเฉพาะคนมีการศึกษาในเมืองใหญ่ๆ เชื่อเช่นนั้น จึงนำไปสู่ความคิดที่ว่า เมื่อระบบตัวแทนประชาชนมันเลวอย่างนี้หมดทุกคน ก็ควรจะนำระบบการปกครองที่ไม่ต้องเป็นตัวแทนจากประชาชน มาปกครองประชาชน และหวังว่าประชาชนส่วนใหญ่จะยอมรับเช่นเดียวกันที่คนมีการศึกษาสูงๆในประเทศนั้นยอมรับ .. และบัดนี้ประเทศนั้นก็ล้าหลังลงทุกวัน และบ้านเมืองก็วุ่นวายจนถึงวันนี้)

พระเจ้าโอรังเซ็บได้กระทำการที่เร่งให้อาณาจักรเสื่อมทรามรอวันแตกแยกขึ้นไปอีก โดยสั่งห้ามไม่ให้ชาวฮินดูสร้างโบสถ์ อีกทั้งยังพยายามที่จะให้ชาวมุสลิมเข้าไปแทนที่พวกข้าราชการชาวฮินดู พระองค์ทำการยิ่งขึ้นไปอีกโดยใช้นโยบายขยายอาณาเขตอย่างจริงจัง เข้าบังคับให้แผ่นดินอินเดียทั้งหมดตกอยู่ในอำนาจของราชวงศ์โมกุล แต่ก็ไม่อาจจะครอบครองปลายแหลมตอนใต้สุดของอินเดียได้ พระเจ้าโอรังเซ็บใช้เวลาถึง ๒๐ ปีในการทำสงครามกับพวกมาราธาทางตอนใต้ ซึ่งมีผู้นำคือ ศิวาจิ (Sivaji) ที่เข็มแข็งยันทัพของพระเจ้าโอรังเซ็บไว้ได้

จากนั้นจักรวรรดิอันกว้างใหญ่ไพศาลของพระเจ้าโอรังเซ็บก็เริ่มแตกออกเป็นส่วนๆ ภายในเวลาไม่กี่สิบปีหลังการสิ้นพระชนม์ การก่อจราจลของกลุ่มกบฏได้เกิดทั่วไปในจักรวรรดิ โดยที่จักรพรรดิองค์ต่อมาไม่อาจจะปราบปรามได้

ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๗๓๙ อินเดียภาคเหนือก็ถูกรุกรานจากเปอร์เซียภายใต้การนำของ นาดีร์ ชาห์ เมื่อล่วงเข้า ค.ศ. ๑๗๕๐ ดินแดนของจักรวรรดิมุสลิมในอินเดียก็คงเหลืออยู่แต่เพียงรอบๆกรุงเดลี ในขณะที่มีอาณาจักรต่างๆเกิดขึ้นมากมายทั่วอินเดีย

วิเคราะห์

แม้ว่าจักรพรรดิชาวมุสลิมที่เข้ายึดครองแผ่นดินภารตะ พระองค์ต้น ๆ ของราชวงศ์จะพยายามปรองดองให้คนมุสลิมซึ่งเป็นคนส่วนน้อย(แต่มีอำนาจเหนือกว่า) สามารถอยู่ร่วมกับคนฮินดูซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่(แต่ด้อยกำลังกว่า) จึงได้มีการผ่อนปรนกฎหมายที่เอารับเอาเปรียบคนส่วนใหญ่ของแผ่นดินและเป็นการฉลาดอย่างยิ่งที่จักรพรรดิมุสลิมไม่ใช้กฎหมายหักหาญน้ำใจของพวกพราหมณ์ ที่เป็นปากเสียงครอบงำความคิดของคนในวรรณะอื่นในสังคมฮินดู จึงเท่ากับไม่เป็นการสร้างศัตรูที่เข้มแข็งให้เกิดขึ้นในสมัยของพระองค์ แต่สัจจธรรมของสังคมก็ยังคงทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ คือความเสื่อมทราม วินาศ ย่อมมาถึงทุกราชวงศ์ เพราะปลายราชวงศ์โมกุลของพวกมุสลิมก็บังเกิดจักรพรรดิโง่เขลาอย่างโอรังเซ็บที่พยายามจะผลักดันให้ศาสนาอิสลามเข้ามาเป็นใหญ่กดคนฮินดูซึ่งเป็นมวลชนส่วนใหญ่ของแผ่นดิน โดยใช้นโยบายเอาใจชนชั้นปกครองชาวมุสลิมให้ปกป้องราชบัลลังก์ให้แก่ตน ซึ่งโอรังเซ็บก็คงคิดได้เพียงแค่นั้น-รักษาราชวงศ์ ราชบัลลังก์ หาได้คิดไปให้ไกลกว่านั้นว่าจะปกป้องราชวงศ์ไว้อย่างไรได้ หากยังกดขี่มวลประชาราษฎรทั้งหลายอยู่ อวสานจึงปรากฏแก่ราชวงศ์โมกุล และการปกครองโดยคนมุสลิมแท้ๆก็เหลือเพียงอาณาจักรเล็กๆรอบกรุงเดลี แต่คนฮินดูแท้ๆและฮินดูผสมมุสลิมก็แตกออกไปสร้างอาณาจักรย่อยอีกมากมาย ปิดฉากจักรวรรดิของมุสลิมในอินเดียแต่เพียงนั้น เพราะจากนั้นไปก็เป็นการปกครองโดยจักรวรรดิตะวันตก-ศัตรูคนใหม่ของคนอินเดีย

มองกลับมาที่ประเทศไทย ที่ขณะนี้ดูเหมือนว่าเหตุการณ์ในอินเดียเมื่อ ๔-๕๐๐ ปีที่แล้วจะเกิดกับประเทศไทย คือ คนมุสลิมจะยึดครองแผ่นดินไทยโดยการวิธีการเข้าหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ ที่ทำให้ประชาชนพูดไม่ออก เริ่มจากยึดอำนาจ ส่งคนของตนเข้าไปมีบทบาทในการ ร่าง ปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญ และลดทอนความสำคัญของพุทธศาสนาลงทีละน้อย เราจึงต้องติดอาวุธทางปัญญาเพื่อป้องกันและรับมือกับเหตุการณ์ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นโดยการศึกษาเรียนรู้ความสำเร็จหรือผิดพลาดล้มเหลวของการต่อสู้ของอารยธรรมบนโลกใบนี้ให้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ในอินเดียก็ยังไม่ได้จบลงหลังจักรวรรดิมุสลิมในอินเดียล่มสลาย เพราะเรื่องราวยังดำเนินต่อมาจึงการแตกเป็นประเทศมุสลิมอย่างปากีสถานและบังคลาเทศ ในบทต่อๆไป

No comments: