ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ ๒๑ ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน
ปรีดี พยมยงค์
บทที่ ๔ สยาม ราชอาณาจักรใต้ดิน
-๗-
ภายหลังที่ญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ แล้ว ข้าพเจ้าได้เปิดเผยขบวนการใต้ดิน และได้ประกาศในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ว่า การประกาศสงครามของจอมพลพิบูลฯ ต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่ ตลอดจนการผนวกเอาดินแดนบางส่วนของพม่าและมลายูของอังกฤษในระหว่างสงครามนั้นเป็นโมฆะ ข้าพเจ้าได้แถลงเช่นเดียวกันว่า ให้ถือเอาวันที่ ๑๖ สิงหาคม เป็น “วันสันติภาพ” และจะมีการฉลองในวันนี้ของทุกๆปี แต่รัฐบาลภายหลังรัฐประหาร ๒๔๙๐ ได้ยกเลิก “วันสันติภาพ” นี้เสีย
รัฐบาลอเมริกันได้ส่งนักการทูตมาเพื่อสถาปนาฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศสยามดังที่ได้ให้สัญญาไว้ รัฐบาลอเมริกันมิได้มีเงื่อนไขใดๆ นอกจากขอให้เราคืนเงินจำนวนหนึ่งให้กับบริษัทอเมริกัน เพราะรัฐบาลจอมพลพิบูลฯ และญี่ปุ่นได้ยึดทรัพย์สินของบริษัทนั้นไป และขอให้จับตัวจอมพลพิบูลฯและผู้สมรู้ร่วมคิดฟ้องศาลฐานเป็นอาชญากรสงคราม
ฝ่ายรัฐบาลอังกฤษเรียกร้องให้ส่งคณะผู้แทนไปพบลอร์ดเมานท์แบทเตนที่กองบัญชาการทหารในประเทศซีลอน เพื่อเจรจากับผู้แทนฝ่ายรัฐบาลอังกฤษ โดยให้สยามยอมรับเงื่อนไขในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับอังกฤษ
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง เราได้ตกลงให้กองทหารอังกฤษเข้ามาในประเทศไทยเพียงเพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นเท่านั้น และให้ถอนกำลังทหารนี้ออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือ ในทันทีที่ปฏิบัติภารกิจในการปลดอาวุธเสร็จสิ้นแล้ว
ในระหว่างนั้น ลอร์ดเมาน์ทแบทเตนและภรรยาได้เดินทางมากรุงเทพฯ ๒ ครั้ง และได้พบปะกับข้าพเจ้า ซึ่งได้กระชับมิตรภาพระหว่างเราให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ลอร์ดเมาน์ทแบทเตนในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ได้จัดพิธีสวนสนามของกองทหารอาสาสมัครอังกฤษที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น เฉพาะพรพักตร์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพในความเป็นเอกราชของชาติไทยและองค์พระประมุข
ส่วนเงื่อนไขทางการเมืองที่รัฐบาลอังกฤษยื่นข้อเรียกร้องมานั้น เราพิจารณาแล้วเห็นว่า เงื่อนไขดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมจำนนกลายๆนั่นเอง แตกต่างกันแต่ในเรื่องวิธีการและคำพูดเท่านั้น ดังนั้น เราจึงไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว การเจรจากันในเรื่องนี้ใช้เวลา ๑ ปีโดยไม่บรรลุผลใดๆ ช่วงเวลานี้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลสยามตามวิถีทางรัฐธรรมนูญถึง ๓ ครั้ง ในที่สุดรัฐบาลสยามจำเป็นต้องส่งมอบข้าวให้รัฐบาลอังกฤษจำนวน ๑,๕๐๐,๐๐๐ ตัน และชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทอังกฤษที่ตั้งขึ้นในสยามก่อนสงคราม และที่ถูกญี่ปุ่นและรัฐบาลพิบูลฯยึดไป ตลอดจนความเสียหายที่เกิดจากภัยทางอากาศในระหว่างสงครามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้กระทำเอง อย่างไรก็ตาม เราเห็นว่าเป็นข้อเรียกร้องที่ไม่ยุติธรรมต่อประเทศเล็กๆอย่างสยามในการที่ต้องรับผิดชอบความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นและฝ่ายสัมพันธมิตรเองเป็นผู้ก่อ แต่เราจำต้องยอมลงนามในความตกลงดังกล่าวนั้น เพื่อที่จะสามารถฟื้นฟูประเทศหลังสงครามได้เร็วที่สุดและเพื่อหาโอกาสอันสมควรในการเจรจาอย่างสันติอีกครั้งหนึ่งกับรัฐบาลพรรคแรงงานของอังกฤษ เพื่อแก้ไขข้อความต่างๆที่ไม่ยุติธรรมสำหรับเรา
ความตกลงดังกล่าวกำหนดให้รัฐบาลสยามจับกุมและลงโทษบุคคลที่ต้องหาว่าเป็นอาชญากรสงคราม ข้อความนี้ตรงกับความต้องการของรัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตรที่สำคัญๆ ทุกประเทศ เมื่อข้าพเจ้าเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ.๒๔๘๙ ข้าพเจ้าได้เจรจากับรัฐบาลอังกฤษให้ยอมจ่ายเงินค่าข้าวที่เราต้องชดใช้ให้เป็นค่าเสียหาย ฝ่ายรัฐบาลอังกฤษตกลงยินยอมที่จะจ่ายเงินค่าข้าวด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาในตลาดโลก นับว่ายังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
ส่วนเรื่องความเสียหายของบริษัทห้างร้านอังกฤษที่เราต้องชดใช้นั้น เราเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมต่อสยามเช่นกัน เพราะในปี พ.ศ.๒๔๙๔ ฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งรวมทั้งรัฐบาลอังกฤษด้วย ได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับรัฐบาลญี่ปุ่นที่ซานฟรานซิสโก ตามสนธิสัญญาฉบับนี้ รัฐบาลอังกฤษเองได้ยกเลิกข้อเรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามจากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญในสงคราม
ภายหลังที่ญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ แล้ว ข้าพเจ้าได้เปิดเผยขบวนการใต้ดิน และได้ประกาศในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ว่า การประกาศสงครามของจอมพลพิบูลฯ ต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่ ตลอดจนการผนวกเอาดินแดนบางส่วนของพม่าและมลายูของอังกฤษในระหว่างสงครามนั้นเป็นโมฆะ ข้าพเจ้าได้แถลงเช่นเดียวกันว่า ให้ถือเอาวันที่ ๑๖ สิงหาคม เป็น “วันสันติภาพ” และจะมีการฉลองในวันนี้ของทุกๆปี แต่รัฐบาลภายหลังรัฐประหาร ๒๔๙๐ ได้ยกเลิก “วันสันติภาพ” นี้เสีย
รัฐบาลอเมริกันได้ส่งนักการทูตมาเพื่อสถาปนาฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศสยามดังที่ได้ให้สัญญาไว้ รัฐบาลอเมริกันมิได้มีเงื่อนไขใดๆ นอกจากขอให้เราคืนเงินจำนวนหนึ่งให้กับบริษัทอเมริกัน เพราะรัฐบาลจอมพลพิบูลฯ และญี่ปุ่นได้ยึดทรัพย์สินของบริษัทนั้นไป และขอให้จับตัวจอมพลพิบูลฯและผู้สมรู้ร่วมคิดฟ้องศาลฐานเป็นอาชญากรสงคราม
ฝ่ายรัฐบาลอังกฤษเรียกร้องให้ส่งคณะผู้แทนไปพบลอร์ดเมานท์แบทเตนที่กองบัญชาการทหารในประเทศซีลอน เพื่อเจรจากับผู้แทนฝ่ายรัฐบาลอังกฤษ โดยให้สยามยอมรับเงื่อนไขในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับอังกฤษ
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง เราได้ตกลงให้กองทหารอังกฤษเข้ามาในประเทศไทยเพียงเพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นเท่านั้น และให้ถอนกำลังทหารนี้ออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือ ในทันทีที่ปฏิบัติภารกิจในการปลดอาวุธเสร็จสิ้นแล้ว
ในระหว่างนั้น ลอร์ดเมาน์ทแบทเตนและภรรยาได้เดินทางมากรุงเทพฯ ๒ ครั้ง และได้พบปะกับข้าพเจ้า ซึ่งได้กระชับมิตรภาพระหว่างเราให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ลอร์ดเมาน์ทแบทเตนในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ได้จัดพิธีสวนสนามของกองทหารอาสาสมัครอังกฤษที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น เฉพาะพรพักตร์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพในความเป็นเอกราชของชาติไทยและองค์พระประมุข
ส่วนเงื่อนไขทางการเมืองที่รัฐบาลอังกฤษยื่นข้อเรียกร้องมานั้น เราพิจารณาแล้วเห็นว่า เงื่อนไขดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมจำนนกลายๆนั่นเอง แตกต่างกันแต่ในเรื่องวิธีการและคำพูดเท่านั้น ดังนั้น เราจึงไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว การเจรจากันในเรื่องนี้ใช้เวลา ๑ ปีโดยไม่บรรลุผลใดๆ ช่วงเวลานี้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลสยามตามวิถีทางรัฐธรรมนูญถึง ๓ ครั้ง ในที่สุดรัฐบาลสยามจำเป็นต้องส่งมอบข้าวให้รัฐบาลอังกฤษจำนวน ๑,๕๐๐,๐๐๐ ตัน และชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทอังกฤษที่ตั้งขึ้นในสยามก่อนสงคราม และที่ถูกญี่ปุ่นและรัฐบาลพิบูลฯยึดไป ตลอดจนความเสียหายที่เกิดจากภัยทางอากาศในระหว่างสงครามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้กระทำเอง อย่างไรก็ตาม เราเห็นว่าเป็นข้อเรียกร้องที่ไม่ยุติธรรมต่อประเทศเล็กๆอย่างสยามในการที่ต้องรับผิดชอบความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นและฝ่ายสัมพันธมิตรเองเป็นผู้ก่อ แต่เราจำต้องยอมลงนามในความตกลงดังกล่าวนั้น เพื่อที่จะสามารถฟื้นฟูประเทศหลังสงครามได้เร็วที่สุดและเพื่อหาโอกาสอันสมควรในการเจรจาอย่างสันติอีกครั้งหนึ่งกับรัฐบาลพรรคแรงงานของอังกฤษ เพื่อแก้ไขข้อความต่างๆที่ไม่ยุติธรรมสำหรับเรา
ความตกลงดังกล่าวกำหนดให้รัฐบาลสยามจับกุมและลงโทษบุคคลที่ต้องหาว่าเป็นอาชญากรสงคราม ข้อความนี้ตรงกับความต้องการของรัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตรที่สำคัญๆ ทุกประเทศ เมื่อข้าพเจ้าเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ.๒๔๘๙ ข้าพเจ้าได้เจรจากับรัฐบาลอังกฤษให้ยอมจ่ายเงินค่าข้าวที่เราต้องชดใช้ให้เป็นค่าเสียหาย ฝ่ายรัฐบาลอังกฤษตกลงยินยอมที่จะจ่ายเงินค่าข้าวด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาในตลาดโลก นับว่ายังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
ส่วนเรื่องความเสียหายของบริษัทห้างร้านอังกฤษที่เราต้องชดใช้นั้น เราเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมต่อสยามเช่นกัน เพราะในปี พ.ศ.๒๔๙๔ ฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งรวมทั้งรัฐบาลอังกฤษด้วย ได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับรัฐบาลญี่ปุ่นที่ซานฟรานซิสโก ตามสนธิสัญญาฉบับนี้ รัฐบาลอังกฤษเองได้ยกเลิกข้อเรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามจากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญในสงคราม