Thursday, September 13, 2007

บทความที่ ๒๘๖. การปฏิวัติของประชาชน ๔

การปล้นสะดมในแบบอาณานิคมของชาวยุโรปซึ่งกระทำต่อนานาประเทศย่านเอเซีย ได้ยังผลให้ประเทศหนึ่งในจำนวนนี้ คือญี่ปุ่น สร้างกำลังทางทหารของตนเองขึ้นมาอย่างแข็งแกร่ง จนกระทั่งได้ชัยชนะทางทหารหลายครั้ง และทำให้การพัฒนาประเทศนั้นในฐานะเป็นประเทศเอกราช สามารถดำเนินก้าวหน้าไปได้อย่างมั่นคง โดยนัยเดียวกันการปล้นสะดมอินเดียโดยอังกฤษก็ดี การรณรงค์ของชาวยุโรป “ผู้ก้าวหน้า” ต่อต้านกระบวนการประชาธิปไตยของเปอร์เซียและอินเดียก็ดี จะทำให้ชนกรรมาชีพในเอเชียนับสิบๆ ล้านคนมีความแข็งแกร่งขึ้นพอที่จะต่อต้านผู้กดขี่จนมีชัยเหมือนที่ญี่ปุ่นมีต่อชาวรุสเซีย

ส่วนชาวแรงงานทั้งหลายในยุโรป ผู้ตระหนักดีในการรณรงค์ระหว่างชนชั้นก็ได้มีสหายร่วมการรณรงค์แล้วทางเอเชีย โดยจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นๆ อย่างรวดเร็ว

ในประเทศจีนก็เหมือนกัน ได้มีการเคลื่อนไหวในทางปฏิวัติต่อต้านการปกครองในระบบสมัยกลางเกิดขึ้น ซึ่งแน่ใจได้ว่า “จิตใจปฏิวัติใหม่” ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศนั้น เฉพาะอยางยิ่งในระยะหลังสงครามระหว่างรุสเซียกับญี่ปุ่น และการกบฏก็จะมิใช่เป็นไปตามแบบฉบับเก่าของจีน หากแต่จะพัฒนาต่อไปเป็นการปฏิวัติทางประชาธิปไตยอย่างแน่นอน

ขณะเดียวกัน ฝ่ายที่ใช้ระบบอาณานิคมเป็นเครื่องมือปล้นสะดม มีความวิตกกังวลในเรื่องนี้มากเพียงใด ย่อมเห็นได้จากการที่ฝรั่งเศสผู้ปกครองอาณานิคมในอินโดจีนให้ความช่วยเหลือแก่ “รัฐบาลประวัติศาสตร์” ของประเทศจีนในการปราบฝ่ายปฏวัติในประเทศนั้น เพราะฝรั่งเศสมีความห่วงใยในความปลอดภัยทางอาณานิคมของตนซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับประเทศจีน

No comments: