บทที่ ๒ ความคุมแค้นของกลุ่มเสียอำนาจก่อนการปฏิวัติ ๒๔๙๐
เป็นที่ยอมรับกันว่า ท่านปรีดี พนมยงค์ เป็นมันสมองของคณะราษฎรในการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็นการพลิกแผ่นดินครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของไทย ทำให้กษัตริย์และพระราชวงศ์ได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนัก ปัญหาความหวาดระแวงในเจตนาของคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ นั้น อาจกล่าวได้ว่าเริ่มขึ้นในทันทีที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเฉพาะต่อท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นผู้ร่างประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ที่วิพากษ์วิจารณ์โจมตีความเหลวแหลกของสังคมภายใต้การปกครองของรัชกาลที่ ๗ ยังความแค้นเคืองให้เกิดขึ้นในกลุ่มอำนาจเก่าและสบช่องได้โอกาสตอบโต้ออกมาเมื่อ ท่านปรีดี พนมยงค์เสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจต่อรัฐบาล เพื่อให้เป็นไปตามหลัก ๖ ประการของคณะราษฎรข้อที่ ๓ ซึ่งถูกโจมตีวิพากษ์วิจารณ์ตลอดจนมีการเผยแพร่ไปสู่สังคมนอกสภาว่า เค้าโคงร่างการเศรษฐกิจฯ ซึ่งท่านปรีดี พนมยงค์เสนอนั้นว่าเป็นคอมมิวนิสต์ โดยการเผยแพร่ “พระบรมราชวินิจฉัยของพระปกเกล้าฯ” ที่มีต่อเค้าโครงการเศรษฐกิจฯชนิดประโยคต่อประโยค โดยเฉพาะในข้อที่ทรงวินิจฉัยและสรุปว่า “โครงการนี้นั้น เป็นโครงการอันเดียวกันอย่างแน่นอนกับที่ประเทศรัสเซียใช้อยู่”
ต่อจากนั้น วิกฤติการณ์ทางการเมืองที่ตามมาคือพระยามโนปกรณ์ นิติธาดาและกลุ่มได้ใช้อำนาจปิดสภาผู้แทนราษฎร และประการใช้พระราชบัญญัติคอมมิวนิสต์ในวันที่ ๑ และ ๒ เมษายน ๒๔๗๖ ตามลำดับ ท่านปรีดี พนมยงค์ถูกบังคับกดดันให้เดินทางออกนอกประเทศ แต่ต่อมาไม่นานพระยาพหลพลพยุหเสนาก็ใช้กำลังยึดอำนาจคืนมาจากพระยามโนปกรณ์ นิติธาดาและเปิดสภาผู้แทนราษฎร เชิญท่านปรีดี พนมยงค์กลับมา ได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบว่าเป็นผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์จริงหรือไม่ ซึ่งในที่สุดท่านปรีดี พนมยงค์ก็พ้นจากข้อกล่าวหาทั้งหมดแล้วกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการกบฏบวรเดช-อันเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ของกลุ่มอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมยุคแรก ๆ
ท่านปรีดี พนมยงค์ ในระหว่างศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศสนั้นได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมนักเรียนไทยภาคพื้นยุโรป ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของการรวบรวมแนวความคิดของผู้นำรุ่นใหม่อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พร้อมทั้งได้เรียนรู้เกี่ยวกับ “ความรู้ทางทฤษฎี และทางปฏิบัติเกี่ยวกับการอภิวัฒน์” และแลกเปลี่ยนทัศนะกับนักปฏิวัติชาวเอเซียด้วยกัน
เมื่อสถานการณ์สงครามโลกได้สงบลง ท่านปรีดี พนมยงค์ผู้เริ่มมีบทบาทสำคัญทางการเมืองสูงขึ้น ได้ดำเนินมาตรการก้าวหน้าทางการเมืองหลายประการ ในเรื่องการระหว่างประเทศท่านได้ผลักดันและสนับสนุนการจัดตั้ง “สันนิบาตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้” ขึ้นในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อที่จะให้ไทยเป็นผู้นำของกลุ่มประเทศซึ่งจะได้รับเอกราชใหม่ ๆ คือในอินโดจีน มลายู พม่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น โดยมีผู้แทนขบวนการเวียดมินห์ ขบวนการกู้ชาติ ลาวและอื่น ๆ ซึ่งนิยมแนวทางสังคมนิยมเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงานด้วย นอกจากนี้ ทางด้านทางการเมืองภายในประเทศ กลุ่มผู้สนับสนุนท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งนิยมแนวทางสังคมนิยมกลุ่มหนึ่งยังได้รวมตัวกันตั้งเป็นพรรคการเมืองใช้ชื่อว่าพรรคสหชีพ และประกาศใช้นโยบายทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ทั้งนี้โดยอาศัยเค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติของท่านปรีดี พนมยงค์เป็นหลัก นอกจากนี้เมื่อประกอบกับการที่รัฐบาลฝ่ายท่านปรีดี พนมยงค์ได้ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติคอมมิวนิสต์ด้วยเหตุผลทางด้านการเมืองระหว่างประเทศด้วยแล้ว เมื่อเกิดกรณีสวรรคตขึ้นการกล่าวหาท่านปรีดี พนมยงค์ในเรื่องเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ และกรณีสวรรคตจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
เหตุการณ์ได้ทวีความสับสนขึ้นเป็นลำดับ แม้ว่ารัฐบาลของท่านปรีดี พนมยงค์จะพยายามผ่อนคลายแรงกดดันต่าง ๆ แม้จะได้ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วก็ตาม แต่ปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจและกรณีสวรรคตนั้นก็ยังไม่อาจคลี่คลายลงไปได้ ฝ่ายกองทัพบกซึ่งแสดงเจตนาอย่างมุ่งมั่นที่จะเข้ามาในวิถีการเมืองไทยอีกครั้ง จึงลงมือก่อการรัฐประหารขึ้นในวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายนายควง อภัยวงศ์ ตลอดจนกลุ่มผู้นำฝ่ายอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม ในการกรุยทาง-สถาปนาระบอบอำนาจนิยมของฝ่ายทหารในระบบการเมืองไทย ให้มั่นคงเป็นเวลายาวนานมาจนถึงทุกวันนี้ (๑๙ กันยายน ๒๕๔๙)
เป็นที่ยอมรับกันว่า ท่านปรีดี พนมยงค์ เป็นมันสมองของคณะราษฎรในการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็นการพลิกแผ่นดินครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของไทย ทำให้กษัตริย์และพระราชวงศ์ได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนัก ปัญหาความหวาดระแวงในเจตนาของคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ นั้น อาจกล่าวได้ว่าเริ่มขึ้นในทันทีที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเฉพาะต่อท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นผู้ร่างประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ที่วิพากษ์วิจารณ์โจมตีความเหลวแหลกของสังคมภายใต้การปกครองของรัชกาลที่ ๗ ยังความแค้นเคืองให้เกิดขึ้นในกลุ่มอำนาจเก่าและสบช่องได้โอกาสตอบโต้ออกมาเมื่อ ท่านปรีดี พนมยงค์เสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจต่อรัฐบาล เพื่อให้เป็นไปตามหลัก ๖ ประการของคณะราษฎรข้อที่ ๓ ซึ่งถูกโจมตีวิพากษ์วิจารณ์ตลอดจนมีการเผยแพร่ไปสู่สังคมนอกสภาว่า เค้าโคงร่างการเศรษฐกิจฯ ซึ่งท่านปรีดี พนมยงค์เสนอนั้นว่าเป็นคอมมิวนิสต์ โดยการเผยแพร่ “พระบรมราชวินิจฉัยของพระปกเกล้าฯ” ที่มีต่อเค้าโครงการเศรษฐกิจฯชนิดประโยคต่อประโยค โดยเฉพาะในข้อที่ทรงวินิจฉัยและสรุปว่า “โครงการนี้นั้น เป็นโครงการอันเดียวกันอย่างแน่นอนกับที่ประเทศรัสเซียใช้อยู่”
ต่อจากนั้น วิกฤติการณ์ทางการเมืองที่ตามมาคือพระยามโนปกรณ์ นิติธาดาและกลุ่มได้ใช้อำนาจปิดสภาผู้แทนราษฎร และประการใช้พระราชบัญญัติคอมมิวนิสต์ในวันที่ ๑ และ ๒ เมษายน ๒๔๗๖ ตามลำดับ ท่านปรีดี พนมยงค์ถูกบังคับกดดันให้เดินทางออกนอกประเทศ แต่ต่อมาไม่นานพระยาพหลพลพยุหเสนาก็ใช้กำลังยึดอำนาจคืนมาจากพระยามโนปกรณ์ นิติธาดาและเปิดสภาผู้แทนราษฎร เชิญท่านปรีดี พนมยงค์กลับมา ได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบว่าเป็นผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์จริงหรือไม่ ซึ่งในที่สุดท่านปรีดี พนมยงค์ก็พ้นจากข้อกล่าวหาทั้งหมดแล้วกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการกบฏบวรเดช-อันเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ของกลุ่มอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมยุคแรก ๆ
ท่านปรีดี พนมยงค์ ในระหว่างศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศสนั้นได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมนักเรียนไทยภาคพื้นยุโรป ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของการรวบรวมแนวความคิดของผู้นำรุ่นใหม่อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พร้อมทั้งได้เรียนรู้เกี่ยวกับ “ความรู้ทางทฤษฎี และทางปฏิบัติเกี่ยวกับการอภิวัฒน์” และแลกเปลี่ยนทัศนะกับนักปฏิวัติชาวเอเซียด้วยกัน
เมื่อสถานการณ์สงครามโลกได้สงบลง ท่านปรีดี พนมยงค์ผู้เริ่มมีบทบาทสำคัญทางการเมืองสูงขึ้น ได้ดำเนินมาตรการก้าวหน้าทางการเมืองหลายประการ ในเรื่องการระหว่างประเทศท่านได้ผลักดันและสนับสนุนการจัดตั้ง “สันนิบาตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้” ขึ้นในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อที่จะให้ไทยเป็นผู้นำของกลุ่มประเทศซึ่งจะได้รับเอกราชใหม่ ๆ คือในอินโดจีน มลายู พม่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น โดยมีผู้แทนขบวนการเวียดมินห์ ขบวนการกู้ชาติ ลาวและอื่น ๆ ซึ่งนิยมแนวทางสังคมนิยมเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงานด้วย นอกจากนี้ ทางด้านทางการเมืองภายในประเทศ กลุ่มผู้สนับสนุนท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งนิยมแนวทางสังคมนิยมกลุ่มหนึ่งยังได้รวมตัวกันตั้งเป็นพรรคการเมืองใช้ชื่อว่าพรรคสหชีพ และประกาศใช้นโยบายทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ทั้งนี้โดยอาศัยเค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติของท่านปรีดี พนมยงค์เป็นหลัก นอกจากนี้เมื่อประกอบกับการที่รัฐบาลฝ่ายท่านปรีดี พนมยงค์ได้ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติคอมมิวนิสต์ด้วยเหตุผลทางด้านการเมืองระหว่างประเทศด้วยแล้ว เมื่อเกิดกรณีสวรรคตขึ้นการกล่าวหาท่านปรีดี พนมยงค์ในเรื่องเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ และกรณีสวรรคตจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
เหตุการณ์ได้ทวีความสับสนขึ้นเป็นลำดับ แม้ว่ารัฐบาลของท่านปรีดี พนมยงค์จะพยายามผ่อนคลายแรงกดดันต่าง ๆ แม้จะได้ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วก็ตาม แต่ปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจและกรณีสวรรคตนั้นก็ยังไม่อาจคลี่คลายลงไปได้ ฝ่ายกองทัพบกซึ่งแสดงเจตนาอย่างมุ่งมั่นที่จะเข้ามาในวิถีการเมืองไทยอีกครั้ง จึงลงมือก่อการรัฐประหารขึ้นในวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายนายควง อภัยวงศ์ ตลอดจนกลุ่มผู้นำฝ่ายอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม ในการกรุยทาง-สถาปนาระบอบอำนาจนิยมของฝ่ายทหารในระบบการเมืองไทย ให้มั่นคงเป็นเวลายาวนานมาจนถึงทุกวันนี้ (๑๙ กันยายน ๒๕๔๙)
No comments:
Post a Comment