บทที่ ๕ ความพยายามตอบโต้คณะรัฐประหาร ๒๔๙๐
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ได้เกิดการจับกุมฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลอีก เรียกกันว่า “กบฏไฮยิดดิน” โดยข้อหาที่ว่ามีการก่อวินาศกรรมในเขตต่าง ๆ แถบปัตตานี สายบุรี และเบตง เพื่อแบ่งแยกดินแดนเหล่านั้นไปรวมกับสหพันธรัฐมลายู กรณีกล่าวหากบฏและการจับกุมที่ดำเนินไปในช่วงนั้นมีเอกสารข้อมูลไม่มากนัก แต่เท่าที่มีอยู่ก็เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ฝ่ายคณะรัฐประหาร ๒๔๙๐ พร้อมที่จะกระทำทุกวิถีทางเพื่อสืบทอดอำนาจทางการเมืองของตนต่อไป ในขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาณเตือนว่ากลุ่มผู้นำของขบวนการเสรีไทย ตลอดจนผู้นำในส่วนภูมิภาค และพลพรรคสหชีพ แนวร่วมรัฐธรรมนูญ ซึ่งสนับสนุนท่านปรีดี พนมยงค์ เริ่มที่จะเป็นเป้าหมายของการกำราบปราบปรามอย่างรุนแรงจากฝ่ายคณะรัฐประหาร
ในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ มีความพยายามที่จะก่อการกระทำร่วมเพื่อยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม กลุ่มผู้ก่อการโดยมากประกอบด้วยนายทหารในกรมเสนาธิการ มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่อย่างเช่น พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต พลตรีเนตร เขมะโยธิน พันเอกกิตติ ทัตตานนท์ พันโทไสว ทัตตานนท์ และพันโทโพยม จุฬานนท์-สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น ได้ร่วมกับนักการเมืองฝ่ายพลเรือนที่สนับสนุนท่านปรีดี เช่นนายปราโมทย์ พึ่งสุนทร หลวงอรรถกิติกำจร และนายทองเย็น หลีละเมียร เป็นต้น กลุ่มนี้วางแผนที่จะล้อมจับบุคคลสำคัญในคณะรัฐประหาร โดยอ้างเป้าหมายและสาเหตุของการดำเนินการในครั้งนี้ว่า เพื่อต้องการให้มีการปรับปรุงกองทัพ และเพื่อให้ทหารเลิกยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะจะทำให้ทหารแตกแยกกันและจะกลายเป็นเครื่องมือของนักการเมือง
แต่ยังไม่ทันที่จะเริ่มดำเนินการตามแผนก็ถูกปราบปรามเสียก่อน รัฐบาลได้ฟ้องจำเลยทั้งสิ้น ๑๙ คน ในจำนวนนี้เป็นนายทหารเสนาธิการ ๖ คน นายทหารนอกราชการ ๕ คน พลเรือน ๑ คน นอกนั้นเป็นนายทหารที่ไม่มีอำนาจสำคัญในการบังคับบัญชากองทัพ โดยมีนายทหารบางนายหลบหนีได้ ที่สำคัญคือพันโทโพยม จุฬานนท์-ผู้ที่จะเข้าร่วมเป็นกำลังสำคัญให้แก่ขบวนการปฏิวัติไทย-พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ส่วนนักการเมืองฝ่ายพลเรือนที่รอดพ้นจากการจับกุม ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทเคลื่อนไหวอีกในกรณีกบฏวังหลวงได้แก่นายปราโมทย์ พึ่งสุนทรและหลวงอรรถกิติกำจร
ตามแผนการณ์จับกุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะไปร่วมในงานมงคลสมรสของพลโทสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อพิจารณาดูจากสภาพแวดล้อม และตัวผู้ร่วมก่อการที่ไม่ได้มีกำลังทหารในบังคับบัญชาแล้ว มีข้อสังเกตบางประการ กล่าวคือฝ่ายรัฐบาลล่วงรู้แผนการณ์เหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วทันการณ์ จึงน่าจะเกิดจากการ “ทรยศหักหลังพรรคพวก” นอกจากนี้องค์ประกอบของจำเลยดังปรากฏในคำฟ้องร้องคดีคือ ฝ่ายทหารเรือ เสรีไทย และผู้ใกล้ชิดท่านปรีดี พนมยงค์ เช่นหลวงอรรถกิติกำจร พี่ชายต่างมารดาของท่านปรีดี พนมยงค์ และนายปราโมทย์ พึ่งสุนทร เป็นต้น จึงมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะเกิดจากความพยายามในการเสริมสร้างคดีให้ดูรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะจากหลักฐาน พยาน และคำให้การของจำเลยนั้น ยอมรับแต่เพียงว่า ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กองทัพ และคณะรัฐประหาร ๒๔๙๐ เท่านั้น ไม่ได้วางแผนโค่นล้มรัฐบาลโดยการใช้กำลัง แต่ในที่สุด คดีนี้สิ้นสุดลงด้วยการลงโทษสถานเบา มีเพียง ๙ คนเท่านั้นที่ถูกตัดสินลงโทษจำคุก ๓ ปี ส่วนอีก ๑๐ คนได้รับการยกฟ้องปล่อยตัวไป
อย่างไรก็ตาม กรณีจึงน่าจะเป็นสัญญาณเตือนกลุ่มผู้ต่อต้านคณะรัฐประหาร ๒๔๙๘๐ ครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง โดยฝ่ายตำรวจภายใต้การนำของพลตำรวจตรีเผ่า ศรียานนท์ ได้เริ่มนำมาตรการนอกระบบ นอกกระบวนการสืบสวนสอบสวนมาใช้ พร้อมทั้งได้ขึ้น “บัญชีดำ” บุคคลต่าง ๆ ที่ต้องสงสัยไว้ เช่น หลวงอรรถกิติกำจร ซึ่งหลบหนีการจับกุมไปได้ หลวงนฤเบศร์มานิต (นายสงวน จูฑะเตมีย์) อดีตผู้ก่อการคณะราษฎร ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มกบฏในครั้งนี้ได้แก่พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ดร.ทองเปลว ชลภูมิ นายโผน อินทรทัต และนายสงวน ตุลารักษ์ เป็นต้น ตลอดจนบรรดาสานุศิษย์ คนใกล้ชิดท่านปรีดี หรือบุคคลผู้เป็นเสรีไทยมาก่อน ล้วนแต่อยู่ในข่ายที่น่าสงสัยและเฝ้าติดตามจากฝ่ายตำรวจ แรงกดดันเหล่านี้จึงทวีขึ้นเรื่อย ๆ
ท่ามกลางกระแสความเคลื่อนไหวที่ตึงเครียดในช่วงต้นปี พ.ศ.๒๔๙๒ รัฐบาลจอม ป.พิบูลสงคราม ยังได้กำราบ-ปราบปรามตักเตือนกลุ่มผู้กำลังเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลโดยผ่านทางวิทยุกระจายเสียง เช่นในเรื่อง “ประเทศไทยจะมีจลาจลหรือไม่” ว่า “..หากจะดำเนินการต่อไป โดยใช้การจลาจลเพื่อความสำเร็จทางการเมืองภายในแล้ว ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าทุกคนต้องสู้กันไป เลือดเท่านั้นที่จะล้างเมืองไทยให้สะอาดได้..”
ในขณะนั้นทางฝ่ายรัฐบาลคงจะทราบระแคะระคายมาบ้างว่าท่านปรีดี พนมยงค์ได้ลอบกลับเข้ามาในประเทศและมีข่าวการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้สนับสนุนถี่ยิ่งขึ้น ดังนั้นในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ ฝ่ายตำรวจจึงลงมือจับกุมนักการเมืองที่อยู่ในข่ายต้องสงสัย เช่น พ.อ.ทวน วิชัยขัทคะ-อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสมัยรัฐบาลท่านปรีดี พนมยงค์, ร้อยเอกสุนทร ทรัพย์ทวี, ร้อยเอกวิเชียร จาระสุต และร้อยเอกชลิต ชัยสิทธเวช ด้วยข้อหาพยายามก่อการล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จากนั้นรัฐบาลจึงได้ประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อเตรียมกวาดล้างจลาจลอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งสั่งให้กองทัพภาคต่าง ๆ เตรียมพร้อมและทำการปิดถนนสายสำคัญ ๆ ที่มุ่งมายังพระนคร และเพิ่มมาตรการตรวจเซ็นเซอร์ข่าวหนังสือพิมพ์ อาจกล่าวได้ว่า ฝ่ายรัฐบาลคณะรัฐประหารได้พร้อมที่จะรับมือกับกลุ่มต่อต้านอย่างเต็มที่.
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ได้เกิดการจับกุมฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลอีก เรียกกันว่า “กบฏไฮยิดดิน” โดยข้อหาที่ว่ามีการก่อวินาศกรรมในเขตต่าง ๆ แถบปัตตานี สายบุรี และเบตง เพื่อแบ่งแยกดินแดนเหล่านั้นไปรวมกับสหพันธรัฐมลายู กรณีกล่าวหากบฏและการจับกุมที่ดำเนินไปในช่วงนั้นมีเอกสารข้อมูลไม่มากนัก แต่เท่าที่มีอยู่ก็เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ฝ่ายคณะรัฐประหาร ๒๔๙๐ พร้อมที่จะกระทำทุกวิถีทางเพื่อสืบทอดอำนาจทางการเมืองของตนต่อไป ในขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาณเตือนว่ากลุ่มผู้นำของขบวนการเสรีไทย ตลอดจนผู้นำในส่วนภูมิภาค และพลพรรคสหชีพ แนวร่วมรัฐธรรมนูญ ซึ่งสนับสนุนท่านปรีดี พนมยงค์ เริ่มที่จะเป็นเป้าหมายของการกำราบปราบปรามอย่างรุนแรงจากฝ่ายคณะรัฐประหาร
ในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ มีความพยายามที่จะก่อการกระทำร่วมเพื่อยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม กลุ่มผู้ก่อการโดยมากประกอบด้วยนายทหารในกรมเสนาธิการ มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่อย่างเช่น พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต พลตรีเนตร เขมะโยธิน พันเอกกิตติ ทัตตานนท์ พันโทไสว ทัตตานนท์ และพันโทโพยม จุฬานนท์-สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น ได้ร่วมกับนักการเมืองฝ่ายพลเรือนที่สนับสนุนท่านปรีดี เช่นนายปราโมทย์ พึ่งสุนทร หลวงอรรถกิติกำจร และนายทองเย็น หลีละเมียร เป็นต้น กลุ่มนี้วางแผนที่จะล้อมจับบุคคลสำคัญในคณะรัฐประหาร โดยอ้างเป้าหมายและสาเหตุของการดำเนินการในครั้งนี้ว่า เพื่อต้องการให้มีการปรับปรุงกองทัพ และเพื่อให้ทหารเลิกยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะจะทำให้ทหารแตกแยกกันและจะกลายเป็นเครื่องมือของนักการเมือง
แต่ยังไม่ทันที่จะเริ่มดำเนินการตามแผนก็ถูกปราบปรามเสียก่อน รัฐบาลได้ฟ้องจำเลยทั้งสิ้น ๑๙ คน ในจำนวนนี้เป็นนายทหารเสนาธิการ ๖ คน นายทหารนอกราชการ ๕ คน พลเรือน ๑ คน นอกนั้นเป็นนายทหารที่ไม่มีอำนาจสำคัญในการบังคับบัญชากองทัพ โดยมีนายทหารบางนายหลบหนีได้ ที่สำคัญคือพันโทโพยม จุฬานนท์-ผู้ที่จะเข้าร่วมเป็นกำลังสำคัญให้แก่ขบวนการปฏิวัติไทย-พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ส่วนนักการเมืองฝ่ายพลเรือนที่รอดพ้นจากการจับกุม ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทเคลื่อนไหวอีกในกรณีกบฏวังหลวงได้แก่นายปราโมทย์ พึ่งสุนทรและหลวงอรรถกิติกำจร
ตามแผนการณ์จับกุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะไปร่วมในงานมงคลสมรสของพลโทสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อพิจารณาดูจากสภาพแวดล้อม และตัวผู้ร่วมก่อการที่ไม่ได้มีกำลังทหารในบังคับบัญชาแล้ว มีข้อสังเกตบางประการ กล่าวคือฝ่ายรัฐบาลล่วงรู้แผนการณ์เหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วทันการณ์ จึงน่าจะเกิดจากการ “ทรยศหักหลังพรรคพวก” นอกจากนี้องค์ประกอบของจำเลยดังปรากฏในคำฟ้องร้องคดีคือ ฝ่ายทหารเรือ เสรีไทย และผู้ใกล้ชิดท่านปรีดี พนมยงค์ เช่นหลวงอรรถกิติกำจร พี่ชายต่างมารดาของท่านปรีดี พนมยงค์ และนายปราโมทย์ พึ่งสุนทร เป็นต้น จึงมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะเกิดจากความพยายามในการเสริมสร้างคดีให้ดูรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะจากหลักฐาน พยาน และคำให้การของจำเลยนั้น ยอมรับแต่เพียงว่า ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กองทัพ และคณะรัฐประหาร ๒๔๙๐ เท่านั้น ไม่ได้วางแผนโค่นล้มรัฐบาลโดยการใช้กำลัง แต่ในที่สุด คดีนี้สิ้นสุดลงด้วยการลงโทษสถานเบา มีเพียง ๙ คนเท่านั้นที่ถูกตัดสินลงโทษจำคุก ๓ ปี ส่วนอีก ๑๐ คนได้รับการยกฟ้องปล่อยตัวไป
อย่างไรก็ตาม กรณีจึงน่าจะเป็นสัญญาณเตือนกลุ่มผู้ต่อต้านคณะรัฐประหาร ๒๔๙๘๐ ครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง โดยฝ่ายตำรวจภายใต้การนำของพลตำรวจตรีเผ่า ศรียานนท์ ได้เริ่มนำมาตรการนอกระบบ นอกกระบวนการสืบสวนสอบสวนมาใช้ พร้อมทั้งได้ขึ้น “บัญชีดำ” บุคคลต่าง ๆ ที่ต้องสงสัยไว้ เช่น หลวงอรรถกิติกำจร ซึ่งหลบหนีการจับกุมไปได้ หลวงนฤเบศร์มานิต (นายสงวน จูฑะเตมีย์) อดีตผู้ก่อการคณะราษฎร ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มกบฏในครั้งนี้ได้แก่พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ดร.ทองเปลว ชลภูมิ นายโผน อินทรทัต และนายสงวน ตุลารักษ์ เป็นต้น ตลอดจนบรรดาสานุศิษย์ คนใกล้ชิดท่านปรีดี หรือบุคคลผู้เป็นเสรีไทยมาก่อน ล้วนแต่อยู่ในข่ายที่น่าสงสัยและเฝ้าติดตามจากฝ่ายตำรวจ แรงกดดันเหล่านี้จึงทวีขึ้นเรื่อย ๆ
ท่ามกลางกระแสความเคลื่อนไหวที่ตึงเครียดในช่วงต้นปี พ.ศ.๒๔๙๒ รัฐบาลจอม ป.พิบูลสงคราม ยังได้กำราบ-ปราบปรามตักเตือนกลุ่มผู้กำลังเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลโดยผ่านทางวิทยุกระจายเสียง เช่นในเรื่อง “ประเทศไทยจะมีจลาจลหรือไม่” ว่า “..หากจะดำเนินการต่อไป โดยใช้การจลาจลเพื่อความสำเร็จทางการเมืองภายในแล้ว ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าทุกคนต้องสู้กันไป เลือดเท่านั้นที่จะล้างเมืองไทยให้สะอาดได้..”
ในขณะนั้นทางฝ่ายรัฐบาลคงจะทราบระแคะระคายมาบ้างว่าท่านปรีดี พนมยงค์ได้ลอบกลับเข้ามาในประเทศและมีข่าวการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้สนับสนุนถี่ยิ่งขึ้น ดังนั้นในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ ฝ่ายตำรวจจึงลงมือจับกุมนักการเมืองที่อยู่ในข่ายต้องสงสัย เช่น พ.อ.ทวน วิชัยขัทคะ-อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสมัยรัฐบาลท่านปรีดี พนมยงค์, ร้อยเอกสุนทร ทรัพย์ทวี, ร้อยเอกวิเชียร จาระสุต และร้อยเอกชลิต ชัยสิทธเวช ด้วยข้อหาพยายามก่อการล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จากนั้นรัฐบาลจึงได้ประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อเตรียมกวาดล้างจลาจลอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งสั่งให้กองทัพภาคต่าง ๆ เตรียมพร้อมและทำการปิดถนนสายสำคัญ ๆ ที่มุ่งมายังพระนคร และเพิ่มมาตรการตรวจเซ็นเซอร์ข่าวหนังสือพิมพ์ อาจกล่าวได้ว่า ฝ่ายรัฐบาลคณะรัฐประหารได้พร้อมที่จะรับมือกับกลุ่มต่อต้านอย่างเต็มที่.
No comments:
Post a Comment