บทที่ ๔ การปิดล้อมคอมมิวนิสต์ในเอเซีย
การเผชิญหน้ากันระหว่างมหาอำนาจซึ่งมีผลประโยชน์ และอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ-การเมืองขัดแย้งกัน นอกเหนือจากพฤติการณ์ในกรณีสงครามเกาหลีแล้ว ยังเกิดความตึงเครียดในที่อื่น ๆ อีก อาทิเช่น กรณีวิกฤติการณ์ที่ช่องแคบฟอร์โมซาซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างจีนคอมมิวนิสต์กับจีนไต้หวันซึ่งมี สหรัฐฯหนุนหลังอยู่ นอกจากนั้น จีนยังสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางการเมือง-การทหารแก่ฝ่ายเวียดนามเหนือในสงครามปลดแอกอาณานิคมจากฝรั่งเศสเป็นจำนวนมหาศาล กรณีเหล่านี้ทำให้สหรัฐฯเห็นว่า จีนอาจจะรุกรานประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ได้ทุกเมื่อ ทั้งยังเห็นว่าจีนเป็นตัวแทนของสหภาพโซเวียตในการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาในทวีปเอเซีย ในที่สุด สหรัฐจึงได้นำนโยบายความมั่นคงร่วมกัน (Colltctive Security) ดังที่ใช้ได้ผลในทวีปยุโรปมาปฏิบัติในทวีปเอเซีย ด้วยการแสวงหาพันธมิตร และทำสนธิสัญญาพันธมิตรทางทหารกับประเทศในเอเซีย เช่น ประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ญี่ปุ่นใน พ.ศ. ๒๔๙๔ เกาหลีใต้ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ และไต้หวันในปี พ.ศ. ๒๔๙๗
ในขณะที่ขบวนการปฏิวัติ-ปลดแอกอาณานิคมในภูมิภาคนี้กำลังเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงขึ้นนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ฝ่ายเวียดมินห์-เวียดนามเหนือก็ประสบชัยชนะเหนือฝรั่งเศสในสมรภูมิเดียนเบียนฟู สหรัฐอเมริกาในฐานะผู้นำค่ายทุนนิยม-ประชาธิปไตยจึงเกรงว่า ขบวนการปลดแอกเวียดมินห์ ตลอดจนขบวนการปฏิวัติอื่น ๆ จะได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต และสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ขยายอิทธิพลเข้าครอบงำเวียดนามใต้ ลาว เขมร และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐฯจึงพยายามชักจูงให้อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดจนผู้นำในประเทศภูมิภาคนี้ ซึ่งต้องการรักษาสิทธิผลประโยชน์ของตนและประเทศชาติ ให้ตระหนักถึงภยันตรายและการคุกคามของฝ่ายคอมมิวนิสต์ โดยให้ร่วมมือกันก่อตั้งองค์การส่วนภูมิภาคเพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสม์
ควรจะกล่าวได้ว่า ผู้นำไทยในสมัยนั้นมีความประสงค์ที่จะให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาเป็นผู้ประกันความมั่นคงในภูมิภาคนี้ในลักษณะเดียวกับที่ให้แก่ยุโรปตะวันตก คือองค์การนาโต้ อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาก็แสดงออกอย่างชัดแจ้งว่าไม่อาจจะให้หลักประกันเช่นนั้นได้ สิ่งที่ไทยได้รับจึงเป็นแต่เพียงผลประโยชน์ในรูปของความช่วยเหลือต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง
ดังนั้น ด้วยความพยายามของสหรัฐฯ การสถาปนาองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ เพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของค่ายคอมมิวนิสต์ก็ได้เริ่มขึ้น ในชั้นต้นมีประเทศในเอเซียร่วมด้วย ๓ ประเทศคือ ไทย ฟิลิปปินส์ และปากีสถาน นอกจากนี่ก็มีออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งมีความผูกพันใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ร่วมด้วย ในที่สุด ในวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๗ ทั้ง ๘ ประเทศนี้ก็ได้ลงนามร่วมกันในสนธิสัญญามะนิลา ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ สถาปนาองค์การาสนธิสัญญาแห่งประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ – สปอ. (Southeast Asia Treaty Organization-SEATO) โดยจัดตั้งสำนักเลขาธิการขององค์การขึ้นที่กรุงเทพมหานคร
ในที่สุด สภาพสงครามเย็นก็ได้เข้ามาก่อตัวตึงเครียดขึ้นในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ โดยมีการเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐฯและพันธมิตรในองค์การ สปอ. กับจีน-รัสเซียและขบวนการต่อสู้ปลดแอกอาณานิคมเป็นหลัก สภาพความขัดแย้งเช่นนี้ ทำให้ภูมิภาคซึ่งเคยมีความสมานฉันท์ ต้องหวาดระแวงซึ่งกันและกัน การวมตัวกันของประเทศในภูมิภาคนี้ กระทั่งในยุคต่อ ๆ มามักเป็นไปในฝ่ายลบ เพื่อจุดม่งหมายในการกดดัน-ต่อต้านประเทศเพื่อนบ้านเป็นสำคัญ การรวมตัวกันอย่างสร้างสรรค์เยี่ยงประเทศร่วมภูมิภาค และร่วมอารยธรรมจึงยังไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากสภาวะขัดแย้งในเชิงนามธรรมอันมาจากอิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกยังไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากสภาวะขัดแย้งในเชิงนามธรรมอันมาจากอิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกยังคงดำรงอยู่เช่นนั้น
การเผชิญหน้ากันระหว่างมหาอำนาจซึ่งมีผลประโยชน์ และอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ-การเมืองขัดแย้งกัน นอกเหนือจากพฤติการณ์ในกรณีสงครามเกาหลีแล้ว ยังเกิดความตึงเครียดในที่อื่น ๆ อีก อาทิเช่น กรณีวิกฤติการณ์ที่ช่องแคบฟอร์โมซาซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างจีนคอมมิวนิสต์กับจีนไต้หวันซึ่งมี สหรัฐฯหนุนหลังอยู่ นอกจากนั้น จีนยังสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางการเมือง-การทหารแก่ฝ่ายเวียดนามเหนือในสงครามปลดแอกอาณานิคมจากฝรั่งเศสเป็นจำนวนมหาศาล กรณีเหล่านี้ทำให้สหรัฐฯเห็นว่า จีนอาจจะรุกรานประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ได้ทุกเมื่อ ทั้งยังเห็นว่าจีนเป็นตัวแทนของสหภาพโซเวียตในการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาในทวีปเอเซีย ในที่สุด สหรัฐจึงได้นำนโยบายความมั่นคงร่วมกัน (Colltctive Security) ดังที่ใช้ได้ผลในทวีปยุโรปมาปฏิบัติในทวีปเอเซีย ด้วยการแสวงหาพันธมิตร และทำสนธิสัญญาพันธมิตรทางทหารกับประเทศในเอเซีย เช่น ประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ญี่ปุ่นใน พ.ศ. ๒๔๙๔ เกาหลีใต้ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ และไต้หวันในปี พ.ศ. ๒๔๙๗
ในขณะที่ขบวนการปฏิวัติ-ปลดแอกอาณานิคมในภูมิภาคนี้กำลังเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงขึ้นนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ฝ่ายเวียดมินห์-เวียดนามเหนือก็ประสบชัยชนะเหนือฝรั่งเศสในสมรภูมิเดียนเบียนฟู สหรัฐอเมริกาในฐานะผู้นำค่ายทุนนิยม-ประชาธิปไตยจึงเกรงว่า ขบวนการปลดแอกเวียดมินห์ ตลอดจนขบวนการปฏิวัติอื่น ๆ จะได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต และสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ขยายอิทธิพลเข้าครอบงำเวียดนามใต้ ลาว เขมร และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐฯจึงพยายามชักจูงให้อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดจนผู้นำในประเทศภูมิภาคนี้ ซึ่งต้องการรักษาสิทธิผลประโยชน์ของตนและประเทศชาติ ให้ตระหนักถึงภยันตรายและการคุกคามของฝ่ายคอมมิวนิสต์ โดยให้ร่วมมือกันก่อตั้งองค์การส่วนภูมิภาคเพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสม์
ควรจะกล่าวได้ว่า ผู้นำไทยในสมัยนั้นมีความประสงค์ที่จะให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาเป็นผู้ประกันความมั่นคงในภูมิภาคนี้ในลักษณะเดียวกับที่ให้แก่ยุโรปตะวันตก คือองค์การนาโต้ อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาก็แสดงออกอย่างชัดแจ้งว่าไม่อาจจะให้หลักประกันเช่นนั้นได้ สิ่งที่ไทยได้รับจึงเป็นแต่เพียงผลประโยชน์ในรูปของความช่วยเหลือต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง
ดังนั้น ด้วยความพยายามของสหรัฐฯ การสถาปนาองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ เพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของค่ายคอมมิวนิสต์ก็ได้เริ่มขึ้น ในชั้นต้นมีประเทศในเอเซียร่วมด้วย ๓ ประเทศคือ ไทย ฟิลิปปินส์ และปากีสถาน นอกจากนี่ก็มีออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งมีความผูกพันใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ร่วมด้วย ในที่สุด ในวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๗ ทั้ง ๘ ประเทศนี้ก็ได้ลงนามร่วมกันในสนธิสัญญามะนิลา ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ สถาปนาองค์การาสนธิสัญญาแห่งประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ – สปอ. (Southeast Asia Treaty Organization-SEATO) โดยจัดตั้งสำนักเลขาธิการขององค์การขึ้นที่กรุงเทพมหานคร
ในที่สุด สภาพสงครามเย็นก็ได้เข้ามาก่อตัวตึงเครียดขึ้นในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ โดยมีการเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐฯและพันธมิตรในองค์การ สปอ. กับจีน-รัสเซียและขบวนการต่อสู้ปลดแอกอาณานิคมเป็นหลัก สภาพความขัดแย้งเช่นนี้ ทำให้ภูมิภาคซึ่งเคยมีความสมานฉันท์ ต้องหวาดระแวงซึ่งกันและกัน การวมตัวกันของประเทศในภูมิภาคนี้ กระทั่งในยุคต่อ ๆ มามักเป็นไปในฝ่ายลบ เพื่อจุดม่งหมายในการกดดัน-ต่อต้านประเทศเพื่อนบ้านเป็นสำคัญ การรวมตัวกันอย่างสร้างสรรค์เยี่ยงประเทศร่วมภูมิภาค และร่วมอารยธรรมจึงยังไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากสภาวะขัดแย้งในเชิงนามธรรมอันมาจากอิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกยังไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากสภาวะขัดแย้งในเชิงนามธรรมอันมาจากอิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกยังคงดำรงอยู่เช่นนั้น
No comments:
Post a Comment