บทที่ ๓ การเมืองทมิฬหลังรัฐประหาร ๒๔๙๐
เมื่อพลังอำนาจนิยมฝ่ายทหารได้เข้ามาสู่กระบวนการทางการเมือง พร้อมทั้งรื้อฟื้นมาตรการต่าง ๆ เพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้าม เช่น การแยกสลาย-กำจัดพลังที่ต่อต้านกระแสอำนาจเผด็จการทหาร, การที่ฝ่ายอำนาจนิยมอาศัยความสนับสนุนจากภายนอก และกระทั่งการใช้กำลังความรุนแรงทางการเมือง
การรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ นั้น เป็นการล้มเลิกระบอบรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๘๙ ซึ่งเป็นประชาธิปไตยก้าวหน้า แล้วประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๐ แทน พฤติการณ์เช่นนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาความชอบธรรมในแง่นิตินัยขึ้นมา ดังนั้นแถลงการณ์ฉบับที่ ๑๕ ของกองบัญชาการทหารแห่งประเทศไทย จึงได้กล่าวโต้ตอบปัญหาที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ความชอบธรรมในการรัฐประหาร ๒๔๙๐ โดยมีประเด็นที่สำคัญดังนี้
“ การกระทำรัฐประหารในชั้นแรกเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญและกฏหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่เมื่อได้กระทำรัฐประหารสำเร็จ จนผู้กระทำรัฐประหารได้เข้าครองอำนาจอันแท้จริงในรัฐแล้ว ผู้กระทำรัฐประหารก็เป็น ‘รัฐาธิปัตย์’ มีอำนาจเลิกล้มรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ใช้อยู่ได้ และอาจออกรัฐธรรมนูญและกฎหมายใหม่ได้ บรรดาการกระทำที่ได้เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ใช้อยู่เดิม ย่อมไม่เป็นการละเมิดอีกต่อไป..”
ฐานะความเป็นรัฐาธิปัตย์ ที่สถาปนาขึ้นมาจากการใช้กำลังอำนาจเป็นใหญ่นี้ ได้รับการส่งเสริม-คุ้มครองและยอมรับจากกระบวนการทางนิติบัญญัติด้วยการออก “พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐” โดยวุฒิสภา ซึ่งทำหน้าที่รัฐสภาเพื่อให้คณะรัฐประหารพ้นจากความผิดในการกระทำที่ละเมิดกฎหมายใด ๆ อันเนื่องมาจากการทำรัฐประหาร และถือว่าประกาศและคำสั่งใด ๆ ของคณะรัฐประหารชอบด้วยกฎหมายทุกประการ กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก เพราะสมาชิกวุฒิสภาล้วนแต่เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายควง อภัยวงศ์ และคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเข้าไปแทบทั้งสิ้น ดังนั้น จึงเห็นได้ไม่ยากนักว่า การใช้ความรุนแรงเพื่อยึดอำนาจการปกครองประเทศได้รับการสถาปนาอย่างชอบธรรมโดยหลักทางนิติศาสตร์อย่างไร
ผลต่อระบอบรัฐธรรมนูญของไทยจึงเป็นการยอมรับนับถือกำลังอำนาจเป็นใหญ่ ซึ่งเท่ากับเป็นการลบล้างจุดมุ่งหมายในระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องการให้รัฐธรรมนูญเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนเป็นเงื่อนไขกติกาทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยสันติวิธี ดังนั้น การรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ จึงมีนัยยะในทางการเมืองไทย ในฐานะที่เป็นการวางรากฐานในทางกฎหมาย และทางการเมือง-การทหารให้แก่ระบอบอำนาจนิยม ซึ่งจะมั่นคงยิ่ง ๆ ขึ้นในภายหลัง “การปฏิวัติ” ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และทายาททางการเมือง-การทหารยุคต่อ ๆ มา
คณะปฏิวัติ ๒๔๙๐ ได้เชิญนายควง อภัยวงศ์ ตัวแทนของพลังฝ่ายอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมให้มาจัดตั้งรัฐบาลเพื่อเรียกความนิยมจากประชาชนว่า กองทัพบกมิได้ทำรัฐประหารเพื่ออำนาจของตนเอง คำอธิบายต่อการที่นายควง อภัยวงศ์ตลอดจนกลุ่มอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยม ตัดสินใจรับจัดตั้งรัฐบาลนอกวิถีทางระบอบรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยนั้น ต้องพิจารณาเรื่องวิกฤติการณ์ที่กระทบต่อสถานภาพของสถาบันกษัตริย์ภายหลังกรณีสวรรคต ตลอดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอำนาจนิยม-ผู้ริเริ่มสถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๙๐ กับกลุ่มอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมผู้รับภาระในการกรุยทางให้แก่ผู้นำฝ่ายทหารได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ หลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๘๙ ซึ่งไม่ได้ถวายพระราชอำนาจทางการเมืองแก่องค์พระมหากษัตริย์ในบางมาตรา เช่นให้สมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้ง ฯลฯ ซึ่งเมื่อประกาศใช้ได้เพียงหนี่งเดือนก็เกิดกรณีสวรรคตขึ้น จนถึงกับมีผู้วิจารณ์ว่า “พอเปลี่ยนรัฐธรรมนูญได้ไม่กี่วัน เราก็เสียองค์พระกษัตริย์” แต่ไม่ว่าข้อเท็จจริงในกรณีสวรรคตจะเป็นเช่นใด การแสข่าวลืออัปมงคลทั้งหลายได้ก่อให้เกิดความหวาดวิตกอย่างรุนแรงในหมู่ผู้นำอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยม โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับอนาคต และสถานภาพของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้รัฐบาลพลเรือนกลุ่มเสรีนิยม-สังคมนิยมซึ่งมีท่านปรีดี พนมยงค์ ผู้เคยถูกกล่าวหาอย่างรุนแรงว่าเป็นคอมมิวนิสต์และถูกกล่าวหาว่าต้องการสถาปนาระบอบสาธารณรัฐหรือระบอบมหาชนรัฐ เป็นผู้นำ
ดังนั้นเมื่อคณะทหารผู้ก่อการรัฐประหาร ๒๔๙๐ ได้แสดงเจตนามุ่งมั่นที่จะ “จัดการสืบหาตัวผู้ร้าย ผู้ลอบปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์และจัดการฟ้องร้องลงโทษตามกฎหมาย” พร้อมทั้งฟื้นฟูพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม กรณีเหล่านี้จึงน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้นายควง อภัยวงศ์และคณะ ยอมรับจากจัดตั้งรัฐบาล “นั่งร้าน” ให้แก่ฝ่ายทหาร
เมื่อพิจารณาหลักการเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชอำนาจซึ่งเคยเป็นที่ยอมรับร่วมกันในกลุ่มชนชั้นนำฝ่ายพลเรือนในระดับหนึ่ง กระทั่งสามารถบัญญัติเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๘๙ ดังได้กล่าวไว้แล้วนั้น บัดนี้ได้กลายมาเป็นประเด็นหลักประเด็นหนึ่งซึ่งฝ่ายทหารได้หยิบยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างในการก่อการรัฐประหาร โดย น.อ.กาจ กาจสงคราม ผู้อำนวยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แสดงเจตนาจะถวายพระราชอำนาจบริหารให้แก่พระมหากษัตริย์มากขึ้น ทั้งนี้ตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๔๙๐ หรือที่เรียกกันว่า “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม” โดยพระมหากษัตริย์จะทรงสามารถหน่วงเหนี่ยวการผ่านพระราชบัญญัติได้ ด้วยการไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมาย-มาตรา ๓๐, ทรงมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา-มาตรา ๓๓, มีพระราชอำนาจในการถอดถอนรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล หรือคณะรัฐบาลทั้งหมดได้โดยการออกพระราชกฤษฎีกา ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่า โดยทางทฤษฎีแล้ว พระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีพระราชอำนาจอย่างกว้างขวาง แต่ในทางปฏิบัติแล้วพระราชอำนาจของพระองค์อยู่ในขอบเขตจำกัดของระบบคณะอภิรัฐมนตรี ซึ่งเป็นสภาบันที่ได้รับการแต่งตั้งภายใต้การควบคุมของกองทัพบก-มาตรา ๙-๑๑ และ ๑๓-๒๐
หลักการสำคัญอันเกี่ยวแก่การเพิ่มอำนาจของสถาบันพระมหากษํตริย์ดังที่ได้มีความพยายามในการบัญญัติไว้นี้ ยังได้รับการสานต่อโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ.๒๔๙๒ ซึ่งเป็นผลมาจากริ่เริ่มของรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์และกลุ่มอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยม โดยการยืนยันหลักการที่ให้พระมหากษัตริยืทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการเลือกและแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา เพื่อเป็นการเพิ่มพระราชอำนาจ พร้อมทั้งการกำหนดให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา-มาตรา ๘๒ เป็นต้น
นอกเหนือจากหลักการเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชอำนาจ ซึ่งนายควง อภัยวงศ์ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ตรวจตราในรัฐธรรมนูญก่อนที่จะยอมจัดตั้งรัฐบาลแล้ว ยังมีเงื่อนไขเกี่ยวกับสมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจากการแต่งตั้งกับการเลือกตั้งฝ่ายละกึ่งหนึ่งเท่ากัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ฝ่ายบริหารจะใช้ควบคุมสภาให้มีเสียงเด็ดขาดได้ โดยที่อำนาจในการเฟ้นเลือกตัววุฒิสมาชิกนั้น ดูจะตกอยู่แก่การตัดสินใจของฝ่ายนายควง อภัยวงศ์ นอกจากนี้ ยังมีหลักการแบ่งแยกอำนาจระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการประจำ บัญญัติกำกับไว้อีกชั้นหนึ่ง และในประการสำคัญก็คือ คำยืนยันจากจอมพล ป.พิบูลสงครามว่า กองทัพบกให้การสนับสนุนรัฐบาลนี้ และจะไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการของรัฐบาล ปัจจัยเหล่านี้ทำให้นายควง อภัยวงศ์ถึงกับมั่นใจอย่างมากว่า จะสามารถบริหารงานได้โดยอิสระ ดังคำปราศรัยทางวิทยุกระจายเสียงที่ว่า “รัฐบาลนี้เป็นอิสระจากคณะรัฐประหาร อิสระทั้งในนโยบาย ในทางความคิด และในทางการเมือง จึงมีสิทธิโดยสมบูรณ์ในการที่จะบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐประหารยังได้ตกลงที่จะคงเป็นแต่เพียงผู้รับหน้าที่ในด้านการรักษาความปลอดภัย และความสงบของประเทศชาติเท่านั้น”
ซึ่งอำนาจตามความในพระราชกำหนด คุ้มครองความสงบสุขเพื่อให้การดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๔๙๐ ด้วยการคงไว้ซึ่งอำนาจในการใช้กำลังทหาร เพื่อการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำการต่อต้านการรัฐประหาร มีกำหนดเวลาไม่เกิน ๓ เดือน พระราชกำหนดฉบับนี้แสดงถึงการร่วมมือกันระหว่างคณะรัฐประหารกับฝ่ายนายควง อภัยวงศ์ ในการป้องกันการก่อรัฐประหารซ้อนของฝ่ายสนับสนุนท่านปรีดี พนมยงค์
ส่วน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ในนามแฝง “แมลงหวี่” ก็ถึงกับแสดงความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะป้องกันไม่ให้ทหารเล่นการเมืองได้เช่นกัน
จากนั้น นายควง อภัยวงศ์ ก็ดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลและแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา โดยการ “ร่วมมือกับคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เลือกเฟ้นเอาข้าราชการบำนาญที่ช่ำชองในการงานสาขาต่าง ๆ ประกอบกับพ่อค้า วาณิชที่มีชื่อเสียง..” ซึ่งเมื่อดูจากรายนามของวุฒิสมาชิกแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นความพยายามของกลุ่มอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมในการฟื้นฟูฐานะของเจ้านายและขุนนางรุ่นเก่าขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ผลการเลือกตั้ง ก็สะท้อนถึงความสนับสนุนของประชาชนต่อผู้สมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ของนายควง อภัยวงศ์ เหนือคู่แข่งกลุ่มอื่น ๆ อย่างเด่นชัด จะเห็นได้ว่าฐานะพลังฝ่ายอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมในระบอบรัฐธรรมนูญ ๒๔๙๐ ดูเหมือนจะหยั่งรากลึกลงไป และเป็นความหวังของการสถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญพลเรือนที่มั่นคงในอนาคต คือ รัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๙๒ ซึ่งมีการวางรากฐานเอาไว้บ้างแล้วในสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ในท้ายที่สุด นายควง อภัยวงศ์ และคณะก็ต้องพ้นวิถีทางทางการเมืองของไทยไปในช่วงต้นทศวรรษที่ ๒๔๙๐ โดยถูกขับให้พ้นไปจากอำนาจ โดยคณะรัฐประหารในเดือนเมษายน ๒๔๙๑
การจี้ให้รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ออกไปนี้เกิดขึ้นในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๑ โดยคณะรัฐประหารได้ส่ง “๔ ทหารเสือ” คือ พ.ท.ก้าน จำนงภูมิเวช, พ.อ.สวัสดิ์ สวัสดิเกียรติ, พ.อ.ขุนศิลปศรชัย และ พ.ท.ละม้าย อุทยานานนท์ เข้าพบนายควง อภัยวงศ์และได้แจ้งเจตจำนงของคณะรัฐประหารที่จะให้นายควง อภัยวงศ์ และคณะรัฐบาลกราบถวายบังคมลาออกภายใน ๒๔ ชั่วโมง
พฤติการณ์ของคณะรัฐประหารในครั้งนี้ นอกเหนือจากจะแสดงถึงพฤติกรรมการใช้อำนาจเป็นใหญ่อย่างเห็นได้ชัดเจน ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนถึงทัศนคติของชนชั้นนำฝ่ายพลเรือนที่มีต่อ “อำนาจ” และความชอบธรรมทางการเมืองได้อีกเช่นกัน ในแง่นี้กลุ่มนายควง อภัยวงศ์ ก็ตกอยู่ในฐานะที่ต้องจำยอมรับสภาพการใช้กำลังอำนาจเป็นใหญ่ของฝ่ายผู้ถืออาวุธ
ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นผลมาจากการดำริของรัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ์ แต่ร่างเสร็จและมีผลบังคับใช้ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็มีชะตาเช่นเดียวกับรัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ์ คือต้องถูกล้มล้างไป อันที่จริง จอมพล ป.พิบูลสงครามได้แสดงเจตนามุ่งมั่นจะนำรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๕ มาแก้ไขตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๒๔๙๒ ก่อนที่จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยให้เหตุผลไว้ว่า “เพื่อเป็นแบบฉบับในประวัติศาสตร์ไว้ เพราะจะไม่มีครั้งใดในประวัติศาสตร์ของชาติไทยที่พระมหากษัตริย์จะทรงคืนพระราชอำนาจให้แก่ประชาชนชาวไทย” ดังนั้นเมื่อประกอบกับข้ออ้างเรื่องความจำเป็นจากสถานการณ์ระหว่างประเทศ และปัญหาการคุกคามของฝ่ายคอมมิวนิสต์ คณะรัฐประหารพฤศจิกายน ๒๔๙๔ จึงล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๙๒ และนำรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๕ มาแก้ไขและบังคับใช้ใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕
พัฒนาการของกระบวนการสถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.๒๔๙๒ จนกระทั่งถึงการนำรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.๒๔๗๕ มาแก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ล้วนเป็นเครื่องแสดงออกถึงอิทธิพลของพลังกระแสอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยม และอำนาจนิยมในวิถีการเมืองในช่วงระยะเวลานี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของปัจจัยกำลังอำนาจเป็นใหญ่เป็นสำคัญ แม้ว่าจะยังคงถือรูปแบบ วิธีการแลกติกาทางการเมืองในระบอบรัฐสภาก็ตาม แต่รัฐสภาก็ตกอยู่ในฐานะที่ไม่อาจจะเป็นหลักประกันความมั่นคงและเป็นแหล่งความชอบธรรมใด ๆ ให้แก่ระบอบรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่เพื่อสิทธิ เสรีภาพ สันติภาพแก่ประชาชนได้ หากจะเป็นได้ก็แต่เพียงกลไกรองรับความชอบธรรมให้แก่พฤติการณ์ใช้กำลังอำนาจเป็นใหญ่ และการต่อสู้-ช่วงชิงอำนาจนอกวิถีทางของระบอบรัฐธรรมนูญเท่านั้น.
เมื่อพลังอำนาจนิยมฝ่ายทหารได้เข้ามาสู่กระบวนการทางการเมือง พร้อมทั้งรื้อฟื้นมาตรการต่าง ๆ เพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้าม เช่น การแยกสลาย-กำจัดพลังที่ต่อต้านกระแสอำนาจเผด็จการทหาร, การที่ฝ่ายอำนาจนิยมอาศัยความสนับสนุนจากภายนอก และกระทั่งการใช้กำลังความรุนแรงทางการเมือง
การรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ นั้น เป็นการล้มเลิกระบอบรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๘๙ ซึ่งเป็นประชาธิปไตยก้าวหน้า แล้วประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๐ แทน พฤติการณ์เช่นนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาความชอบธรรมในแง่นิตินัยขึ้นมา ดังนั้นแถลงการณ์ฉบับที่ ๑๕ ของกองบัญชาการทหารแห่งประเทศไทย จึงได้กล่าวโต้ตอบปัญหาที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ความชอบธรรมในการรัฐประหาร ๒๔๙๐ โดยมีประเด็นที่สำคัญดังนี้
“ การกระทำรัฐประหารในชั้นแรกเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญและกฏหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่เมื่อได้กระทำรัฐประหารสำเร็จ จนผู้กระทำรัฐประหารได้เข้าครองอำนาจอันแท้จริงในรัฐแล้ว ผู้กระทำรัฐประหารก็เป็น ‘รัฐาธิปัตย์’ มีอำนาจเลิกล้มรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ใช้อยู่ได้ และอาจออกรัฐธรรมนูญและกฎหมายใหม่ได้ บรรดาการกระทำที่ได้เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ใช้อยู่เดิม ย่อมไม่เป็นการละเมิดอีกต่อไป..”
ฐานะความเป็นรัฐาธิปัตย์ ที่สถาปนาขึ้นมาจากการใช้กำลังอำนาจเป็นใหญ่นี้ ได้รับการส่งเสริม-คุ้มครองและยอมรับจากกระบวนการทางนิติบัญญัติด้วยการออก “พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐” โดยวุฒิสภา ซึ่งทำหน้าที่รัฐสภาเพื่อให้คณะรัฐประหารพ้นจากความผิดในการกระทำที่ละเมิดกฎหมายใด ๆ อันเนื่องมาจากการทำรัฐประหาร และถือว่าประกาศและคำสั่งใด ๆ ของคณะรัฐประหารชอบด้วยกฎหมายทุกประการ กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก เพราะสมาชิกวุฒิสภาล้วนแต่เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายควง อภัยวงศ์ และคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเข้าไปแทบทั้งสิ้น ดังนั้น จึงเห็นได้ไม่ยากนักว่า การใช้ความรุนแรงเพื่อยึดอำนาจการปกครองประเทศได้รับการสถาปนาอย่างชอบธรรมโดยหลักทางนิติศาสตร์อย่างไร
ผลต่อระบอบรัฐธรรมนูญของไทยจึงเป็นการยอมรับนับถือกำลังอำนาจเป็นใหญ่ ซึ่งเท่ากับเป็นการลบล้างจุดมุ่งหมายในระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องการให้รัฐธรรมนูญเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนเป็นเงื่อนไขกติกาทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยสันติวิธี ดังนั้น การรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ จึงมีนัยยะในทางการเมืองไทย ในฐานะที่เป็นการวางรากฐานในทางกฎหมาย และทางการเมือง-การทหารให้แก่ระบอบอำนาจนิยม ซึ่งจะมั่นคงยิ่ง ๆ ขึ้นในภายหลัง “การปฏิวัติ” ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และทายาททางการเมือง-การทหารยุคต่อ ๆ มา
คณะปฏิวัติ ๒๔๙๐ ได้เชิญนายควง อภัยวงศ์ ตัวแทนของพลังฝ่ายอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมให้มาจัดตั้งรัฐบาลเพื่อเรียกความนิยมจากประชาชนว่า กองทัพบกมิได้ทำรัฐประหารเพื่ออำนาจของตนเอง คำอธิบายต่อการที่นายควง อภัยวงศ์ตลอดจนกลุ่มอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยม ตัดสินใจรับจัดตั้งรัฐบาลนอกวิถีทางระบอบรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยนั้น ต้องพิจารณาเรื่องวิกฤติการณ์ที่กระทบต่อสถานภาพของสถาบันกษัตริย์ภายหลังกรณีสวรรคต ตลอดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอำนาจนิยม-ผู้ริเริ่มสถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๙๐ กับกลุ่มอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมผู้รับภาระในการกรุยทางให้แก่ผู้นำฝ่ายทหารได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ หลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๘๙ ซึ่งไม่ได้ถวายพระราชอำนาจทางการเมืองแก่องค์พระมหากษัตริย์ในบางมาตรา เช่นให้สมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้ง ฯลฯ ซึ่งเมื่อประกาศใช้ได้เพียงหนี่งเดือนก็เกิดกรณีสวรรคตขึ้น จนถึงกับมีผู้วิจารณ์ว่า “พอเปลี่ยนรัฐธรรมนูญได้ไม่กี่วัน เราก็เสียองค์พระกษัตริย์” แต่ไม่ว่าข้อเท็จจริงในกรณีสวรรคตจะเป็นเช่นใด การแสข่าวลืออัปมงคลทั้งหลายได้ก่อให้เกิดความหวาดวิตกอย่างรุนแรงในหมู่ผู้นำอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยม โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับอนาคต และสถานภาพของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้รัฐบาลพลเรือนกลุ่มเสรีนิยม-สังคมนิยมซึ่งมีท่านปรีดี พนมยงค์ ผู้เคยถูกกล่าวหาอย่างรุนแรงว่าเป็นคอมมิวนิสต์และถูกกล่าวหาว่าต้องการสถาปนาระบอบสาธารณรัฐหรือระบอบมหาชนรัฐ เป็นผู้นำ
ดังนั้นเมื่อคณะทหารผู้ก่อการรัฐประหาร ๒๔๙๐ ได้แสดงเจตนามุ่งมั่นที่จะ “จัดการสืบหาตัวผู้ร้าย ผู้ลอบปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์และจัดการฟ้องร้องลงโทษตามกฎหมาย” พร้อมทั้งฟื้นฟูพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม กรณีเหล่านี้จึงน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้นายควง อภัยวงศ์และคณะ ยอมรับจากจัดตั้งรัฐบาล “นั่งร้าน” ให้แก่ฝ่ายทหาร
เมื่อพิจารณาหลักการเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชอำนาจซึ่งเคยเป็นที่ยอมรับร่วมกันในกลุ่มชนชั้นนำฝ่ายพลเรือนในระดับหนึ่ง กระทั่งสามารถบัญญัติเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๘๙ ดังได้กล่าวไว้แล้วนั้น บัดนี้ได้กลายมาเป็นประเด็นหลักประเด็นหนึ่งซึ่งฝ่ายทหารได้หยิบยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างในการก่อการรัฐประหาร โดย น.อ.กาจ กาจสงคราม ผู้อำนวยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แสดงเจตนาจะถวายพระราชอำนาจบริหารให้แก่พระมหากษัตริย์มากขึ้น ทั้งนี้ตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๔๙๐ หรือที่เรียกกันว่า “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม” โดยพระมหากษัตริย์จะทรงสามารถหน่วงเหนี่ยวการผ่านพระราชบัญญัติได้ ด้วยการไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมาย-มาตรา ๓๐, ทรงมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา-มาตรา ๓๓, มีพระราชอำนาจในการถอดถอนรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล หรือคณะรัฐบาลทั้งหมดได้โดยการออกพระราชกฤษฎีกา ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่า โดยทางทฤษฎีแล้ว พระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีพระราชอำนาจอย่างกว้างขวาง แต่ในทางปฏิบัติแล้วพระราชอำนาจของพระองค์อยู่ในขอบเขตจำกัดของระบบคณะอภิรัฐมนตรี ซึ่งเป็นสภาบันที่ได้รับการแต่งตั้งภายใต้การควบคุมของกองทัพบก-มาตรา ๙-๑๑ และ ๑๓-๒๐
หลักการสำคัญอันเกี่ยวแก่การเพิ่มอำนาจของสถาบันพระมหากษํตริย์ดังที่ได้มีความพยายามในการบัญญัติไว้นี้ ยังได้รับการสานต่อโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ.๒๔๙๒ ซึ่งเป็นผลมาจากริ่เริ่มของรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์และกลุ่มอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยม โดยการยืนยันหลักการที่ให้พระมหากษัตริยืทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการเลือกและแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา เพื่อเป็นการเพิ่มพระราชอำนาจ พร้อมทั้งการกำหนดให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา-มาตรา ๘๒ เป็นต้น
นอกเหนือจากหลักการเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชอำนาจ ซึ่งนายควง อภัยวงศ์ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ตรวจตราในรัฐธรรมนูญก่อนที่จะยอมจัดตั้งรัฐบาลแล้ว ยังมีเงื่อนไขเกี่ยวกับสมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจากการแต่งตั้งกับการเลือกตั้งฝ่ายละกึ่งหนึ่งเท่ากัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ฝ่ายบริหารจะใช้ควบคุมสภาให้มีเสียงเด็ดขาดได้ โดยที่อำนาจในการเฟ้นเลือกตัววุฒิสมาชิกนั้น ดูจะตกอยู่แก่การตัดสินใจของฝ่ายนายควง อภัยวงศ์ นอกจากนี้ ยังมีหลักการแบ่งแยกอำนาจระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการประจำ บัญญัติกำกับไว้อีกชั้นหนึ่ง และในประการสำคัญก็คือ คำยืนยันจากจอมพล ป.พิบูลสงครามว่า กองทัพบกให้การสนับสนุนรัฐบาลนี้ และจะไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการของรัฐบาล ปัจจัยเหล่านี้ทำให้นายควง อภัยวงศ์ถึงกับมั่นใจอย่างมากว่า จะสามารถบริหารงานได้โดยอิสระ ดังคำปราศรัยทางวิทยุกระจายเสียงที่ว่า “รัฐบาลนี้เป็นอิสระจากคณะรัฐประหาร อิสระทั้งในนโยบาย ในทางความคิด และในทางการเมือง จึงมีสิทธิโดยสมบูรณ์ในการที่จะบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐประหารยังได้ตกลงที่จะคงเป็นแต่เพียงผู้รับหน้าที่ในด้านการรักษาความปลอดภัย และความสงบของประเทศชาติเท่านั้น”
ซึ่งอำนาจตามความในพระราชกำหนด คุ้มครองความสงบสุขเพื่อให้การดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๔๙๐ ด้วยการคงไว้ซึ่งอำนาจในการใช้กำลังทหาร เพื่อการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำการต่อต้านการรัฐประหาร มีกำหนดเวลาไม่เกิน ๓ เดือน พระราชกำหนดฉบับนี้แสดงถึงการร่วมมือกันระหว่างคณะรัฐประหารกับฝ่ายนายควง อภัยวงศ์ ในการป้องกันการก่อรัฐประหารซ้อนของฝ่ายสนับสนุนท่านปรีดี พนมยงค์
ส่วน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ในนามแฝง “แมลงหวี่” ก็ถึงกับแสดงความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะป้องกันไม่ให้ทหารเล่นการเมืองได้เช่นกัน
จากนั้น นายควง อภัยวงศ์ ก็ดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลและแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา โดยการ “ร่วมมือกับคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เลือกเฟ้นเอาข้าราชการบำนาญที่ช่ำชองในการงานสาขาต่าง ๆ ประกอบกับพ่อค้า วาณิชที่มีชื่อเสียง..” ซึ่งเมื่อดูจากรายนามของวุฒิสมาชิกแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นความพยายามของกลุ่มอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมในการฟื้นฟูฐานะของเจ้านายและขุนนางรุ่นเก่าขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ผลการเลือกตั้ง ก็สะท้อนถึงความสนับสนุนของประชาชนต่อผู้สมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ของนายควง อภัยวงศ์ เหนือคู่แข่งกลุ่มอื่น ๆ อย่างเด่นชัด จะเห็นได้ว่าฐานะพลังฝ่ายอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมในระบอบรัฐธรรมนูญ ๒๔๙๐ ดูเหมือนจะหยั่งรากลึกลงไป และเป็นความหวังของการสถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญพลเรือนที่มั่นคงในอนาคต คือ รัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๙๒ ซึ่งมีการวางรากฐานเอาไว้บ้างแล้วในสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ในท้ายที่สุด นายควง อภัยวงศ์ และคณะก็ต้องพ้นวิถีทางทางการเมืองของไทยไปในช่วงต้นทศวรรษที่ ๒๔๙๐ โดยถูกขับให้พ้นไปจากอำนาจ โดยคณะรัฐประหารในเดือนเมษายน ๒๔๙๑
การจี้ให้รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ออกไปนี้เกิดขึ้นในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๑ โดยคณะรัฐประหารได้ส่ง “๔ ทหารเสือ” คือ พ.ท.ก้าน จำนงภูมิเวช, พ.อ.สวัสดิ์ สวัสดิเกียรติ, พ.อ.ขุนศิลปศรชัย และ พ.ท.ละม้าย อุทยานานนท์ เข้าพบนายควง อภัยวงศ์และได้แจ้งเจตจำนงของคณะรัฐประหารที่จะให้นายควง อภัยวงศ์ และคณะรัฐบาลกราบถวายบังคมลาออกภายใน ๒๔ ชั่วโมง
พฤติการณ์ของคณะรัฐประหารในครั้งนี้ นอกเหนือจากจะแสดงถึงพฤติกรรมการใช้อำนาจเป็นใหญ่อย่างเห็นได้ชัดเจน ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนถึงทัศนคติของชนชั้นนำฝ่ายพลเรือนที่มีต่อ “อำนาจ” และความชอบธรรมทางการเมืองได้อีกเช่นกัน ในแง่นี้กลุ่มนายควง อภัยวงศ์ ก็ตกอยู่ในฐานะที่ต้องจำยอมรับสภาพการใช้กำลังอำนาจเป็นใหญ่ของฝ่ายผู้ถืออาวุธ
ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นผลมาจากการดำริของรัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ์ แต่ร่างเสร็จและมีผลบังคับใช้ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็มีชะตาเช่นเดียวกับรัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ์ คือต้องถูกล้มล้างไป อันที่จริง จอมพล ป.พิบูลสงครามได้แสดงเจตนามุ่งมั่นจะนำรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๕ มาแก้ไขตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๒๔๙๒ ก่อนที่จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยให้เหตุผลไว้ว่า “เพื่อเป็นแบบฉบับในประวัติศาสตร์ไว้ เพราะจะไม่มีครั้งใดในประวัติศาสตร์ของชาติไทยที่พระมหากษัตริย์จะทรงคืนพระราชอำนาจให้แก่ประชาชนชาวไทย” ดังนั้นเมื่อประกอบกับข้ออ้างเรื่องความจำเป็นจากสถานการณ์ระหว่างประเทศ และปัญหาการคุกคามของฝ่ายคอมมิวนิสต์ คณะรัฐประหารพฤศจิกายน ๒๔๙๔ จึงล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๙๒ และนำรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๕ มาแก้ไขและบังคับใช้ใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕
พัฒนาการของกระบวนการสถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.๒๔๙๒ จนกระทั่งถึงการนำรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.๒๔๗๕ มาแก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ล้วนเป็นเครื่องแสดงออกถึงอิทธิพลของพลังกระแสอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยม และอำนาจนิยมในวิถีการเมืองในช่วงระยะเวลานี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของปัจจัยกำลังอำนาจเป็นใหญ่เป็นสำคัญ แม้ว่าจะยังคงถือรูปแบบ วิธีการแลกติกาทางการเมืองในระบอบรัฐสภาก็ตาม แต่รัฐสภาก็ตกอยู่ในฐานะที่ไม่อาจจะเป็นหลักประกันความมั่นคงและเป็นแหล่งความชอบธรรมใด ๆ ให้แก่ระบอบรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่เพื่อสิทธิ เสรีภาพ สันติภาพแก่ประชาชนได้ หากจะเป็นได้ก็แต่เพียงกลไกรองรับความชอบธรรมให้แก่พฤติการณ์ใช้กำลังอำนาจเป็นใหญ่ และการต่อสู้-ช่วงชิงอำนาจนอกวิถีทางของระบอบรัฐธรรมนูญเท่านั้น.
No comments:
Post a Comment