บทที่ ๖ ขบวนการประชาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒
เหตุการณ์ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ หรือที่เรียกกันภายหลังว่า “กบฏวังหลวง” เริ่มขึ้นเมื่อท่านปรีดี พนมยงค์ พร้อมกับผู้ก่อการฝ่ายทหารเรือกลุ่มหนึ่ง ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือตรีทหาร ขำหิรัญ และพลเรือโทหลวงสังวรณ์ สุวรรณชีพ ได้นำกำลังหน่วยนาวิกโยธินจากฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรีเข้ามายังมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งได้มี “ลูกศิษย์ลูกหา” ของท่านปรีดี และนักการเมืองฝ่ายพลเรือน-กลุ่มเสรีไทย โดยมีทวี ตะเวทิกุล เป็นผู้จัดการรวบรวมกำลัง ร่วมกับนายประสิทธิ์ ลุลิตานนท์ เตรียมกำลังรอคอยอยู่แล้ว จากนั้นก็เข้ายึดพระบรมมหาราชวังเป็นที่มั่น และประกาศทางวิทยุกระจายเสียง แต่งตั้งให้นายดิเรก ชัยนามเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับประกาศโยกย้ายและแต่งตั้งนายทหารระดับผู้บัญชาการบางตำแหน่ง รวมทั้งประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๙๒ ที่เพิ่งประกาศใช้ แล้วนำรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๗๕ มาใช้และได้ส่งกำลังทหารและพลเรือนไปยึดจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ๆ เอาไว้
การตอบโต้ของฝ่ายรัฐบาลภายใต้การนำของพลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ ในฐานะผู้บัญชาการปราปรามการก่อจลาจล ได้เริ่มขึ้นอย่างรุนแรงในเช้าวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ และจบลงด้วยความปราชัยของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล หลังจากนั้นฝ่ายรัฐบาลได้ดำเนินการกวาดล้าง ปราบปรามและจับกุมผู้ร่วมก่อการจำนวนมาก อาทิ นายทองเปลว ชลภูมิ นายจำลอง ดาวเรือง นายถวิล อุดล นายเดือน บุนนาค นายชิต เวชประสิทธิ์ นายวิจิตร ลุลิตานนท์ และนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์อดีตรัฐมนตรี ซึ่งท่านปรีดี ได้กล่าวในภายหลังว่านายทองอินทร์ ไม่ได้เข้าร่วมก่อการในครั้งนี้
ในการจับกุมครั้งนี้ได้มีการจับตายบางคนคือ นายทวี ตะเวทิกุล พ.ต.โผน อินทรทัตและ พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ซึ่งได้รับการแต่งตั้งทงวิทยุให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจสันติบาล บุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเสรีไทย และรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลหลายชุดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ส่วนท่านปรีดี พนมยงค์ได้หลบซ่อนอยูในพระนครนานถึง ๕ เดือน โดยความช่วยเหลือของนาวาตรีมนัส จารุภา (ผู้ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในกบฏแมนฮัตตัน)ก่อนที่ท่านปรีดีจะเดินทางออกนอกประเทศ พร้อมกับหลวงสังวรณ์สุวรรณชีพ และเรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช
ความผิดพลาดล้มเหลวของการก่อการ(ที่ท่านปรีดีเรียกว่า “ขบวนการประชาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒”) นั้นได้มีผลกระทบสำคัญอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ต่อการเมืองไทยในเวลาต่อมาก็คือ การขจัดอิทธิพลทางการเมืองของฝ่ายสนับสนุนท่านปรีดีอย่างจริงจัง และปัญหาความหวาดระแวงระหว่างกองทัพเรือกับกองทัพบก
การขจัดอิทธิพลทางการเมืองของฝ่ายสนับสนุนท่านปรีดี นั้นกระทำโดยการกวาดล้างจับกุมผู้ที่เคยใกล้ชิด-เกี่ยวข้องกับท่านปรีดี ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเสรีไทย นักการเมือง นักศึกษา-อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง แต่กรณีที่ก่อให้เกิดความสะเทือนใจ และหวาดผวาในหมู่นักการเมืองฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมากก็คือ กรณีสังหารอดีตรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพลเรือนหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทั้ง ๔ ท่านคือ นายทองเปลว ชลภูมิ, นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์,นายจำลอง ดาวเรือง และนายถวิล อุดล โดยในชั้นต้นฝ่ายตำรวจอ้างว่าเป็นฝีมือของโจรแบ่งแยกดินแดน แต่เมื่อมีการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาพิจารณาใหม่ ได้มีการรับสารภาพว่าเป็นการจัดฉากเพื่อสังหารนักการเมืองทั้ง ๔ คน เนื่องจาก “ผู้ตายเป็นนักการเมืองสำคัญในพรรคฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลในสมัยนั้น” ผู้ตายถูกจับกุมต้องหาว่าเป็นกบฏต่อรัฐบาล แล้วถูกนำตัวจากที่คุมขังขึ้นรถไปเพื่อไปกำจัดเสียตามความประสงค์ของผู้เมาอำนาจในขณะนั้น
คดีการเมืองอีกคดีหนึ่งที่มืดมนสับสนคือ การจำกัดนายเตียง ศิริขันธ์ และพรรคพวกอีก ๔ คนในปี พ.ศ.๒๔๙๕ (หลังเหตุการณ์กบฏสันติภาพ) เป็นที่ทราบกันว่า สูญหายไปโดยสันนิษฐานว่าคงจะถูกฝีมือสมุนตำรวจของพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ลอบสังหารไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีคดีวิสามัญฆาตกรรม พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข นายอารีย์ ลีวีระ ฯลฯ บุคคลที่ตกเป็นเหยื่ออำนาจอธรรมเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นผู้ซึ่งต่อต้านรัฐบาลของคณะรัฐประหาร หรือไม่ก็มีเรื่องราวขัดแย้งไม่พอใจกับ พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ และนายตำรวจลูกสมุน ในภายหลังคดีเหล่านี้ก็ถูกกลุ่มจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์รื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาใหม่
มาตรการโหดเหี้ยมทารุณของฝ่ายตำรวจในทำนองนี้ ย่อมทำให้บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนบุคคลอื่น ๆ ซึ่งไม่พอใจหรือต่อต้านรัฐบาลเกิดความหวาดกลัว พ.ต.อ.เผ่า ยังอาศัยกลไกในการให้สินบนแก่นักการเมืองบางราย เพื่อรวบรวมอำนาจทางการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรให้แก่จอมพล ป.พิบูลสงครามอีกด้วย ดังนั้นในช่วงระยะเวลาไม่นานนัก พรรคการเมืองไทยก็เริ่มแตกสลาย ขณะเดียวกันเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๙๓ คณะรัฐประหารก็ได้จัดการความขัดแย้งภายในของกลุ่ม โดยการขจัดหลวงกาจ กาจสงคราม หนึ่งในผู้ร่วมวางแผนการรัฐประหาร-ผู้มีความมักใหญ่ใฝ่สูงให้ออกไปพ้นจากวิถีการเมืองไทย โดยการกดดันและจี้บังคับให้ลี้ภัยไปอยู่ฮ่องกง ทั้งนี้ทางฝ่ายตำรวจอ้างว่าได้พบหลักฐานแผนการก่อกบฏ (เรียกกันว่ากบฏน้ำท่วม)ของหลวงกาจ กาจสงคราม โดยอาศัยสถานการณ์น้ำท่วมพระนครเพื่อเข้ายึดอำนาจรัฐ ซึ่งข้ออ้างของตำรวจในครั้งนี้ก็เป็นเพียงข้ออ้างเพื่อที่ขจัดหลวงกาจ กาจสงครามสมาชิกคณะรัฐประหารผู้อื้อฉาวตลอดเวลาเท่านั้น
วิธีการกำจัด-ปราบปรามฝ่ายตรงข้ามของจอมพล ป.พิบูลสงครามนี้เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม สามารถประคับประคองอยู่ได้ท่ามกลางกลุ่มผู้ต่อต้านอื่น ๆ
เหตุการณ์ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ หรือที่เรียกกันภายหลังว่า “กบฏวังหลวง” เริ่มขึ้นเมื่อท่านปรีดี พนมยงค์ พร้อมกับผู้ก่อการฝ่ายทหารเรือกลุ่มหนึ่ง ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือตรีทหาร ขำหิรัญ และพลเรือโทหลวงสังวรณ์ สุวรรณชีพ ได้นำกำลังหน่วยนาวิกโยธินจากฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรีเข้ามายังมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งได้มี “ลูกศิษย์ลูกหา” ของท่านปรีดี และนักการเมืองฝ่ายพลเรือน-กลุ่มเสรีไทย โดยมีทวี ตะเวทิกุล เป็นผู้จัดการรวบรวมกำลัง ร่วมกับนายประสิทธิ์ ลุลิตานนท์ เตรียมกำลังรอคอยอยู่แล้ว จากนั้นก็เข้ายึดพระบรมมหาราชวังเป็นที่มั่น และประกาศทางวิทยุกระจายเสียง แต่งตั้งให้นายดิเรก ชัยนามเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับประกาศโยกย้ายและแต่งตั้งนายทหารระดับผู้บัญชาการบางตำแหน่ง รวมทั้งประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๙๒ ที่เพิ่งประกาศใช้ แล้วนำรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๗๕ มาใช้และได้ส่งกำลังทหารและพลเรือนไปยึดจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ๆ เอาไว้
การตอบโต้ของฝ่ายรัฐบาลภายใต้การนำของพลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ ในฐานะผู้บัญชาการปราปรามการก่อจลาจล ได้เริ่มขึ้นอย่างรุนแรงในเช้าวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ และจบลงด้วยความปราชัยของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล หลังจากนั้นฝ่ายรัฐบาลได้ดำเนินการกวาดล้าง ปราบปรามและจับกุมผู้ร่วมก่อการจำนวนมาก อาทิ นายทองเปลว ชลภูมิ นายจำลอง ดาวเรือง นายถวิล อุดล นายเดือน บุนนาค นายชิต เวชประสิทธิ์ นายวิจิตร ลุลิตานนท์ และนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์อดีตรัฐมนตรี ซึ่งท่านปรีดี ได้กล่าวในภายหลังว่านายทองอินทร์ ไม่ได้เข้าร่วมก่อการในครั้งนี้
ในการจับกุมครั้งนี้ได้มีการจับตายบางคนคือ นายทวี ตะเวทิกุล พ.ต.โผน อินทรทัตและ พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ซึ่งได้รับการแต่งตั้งทงวิทยุให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจสันติบาล บุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเสรีไทย และรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลหลายชุดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ส่วนท่านปรีดี พนมยงค์ได้หลบซ่อนอยูในพระนครนานถึง ๕ เดือน โดยความช่วยเหลือของนาวาตรีมนัส จารุภา (ผู้ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในกบฏแมนฮัตตัน)ก่อนที่ท่านปรีดีจะเดินทางออกนอกประเทศ พร้อมกับหลวงสังวรณ์สุวรรณชีพ และเรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช
ความผิดพลาดล้มเหลวของการก่อการ(ที่ท่านปรีดีเรียกว่า “ขบวนการประชาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒”) นั้นได้มีผลกระทบสำคัญอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ต่อการเมืองไทยในเวลาต่อมาก็คือ การขจัดอิทธิพลทางการเมืองของฝ่ายสนับสนุนท่านปรีดีอย่างจริงจัง และปัญหาความหวาดระแวงระหว่างกองทัพเรือกับกองทัพบก
การขจัดอิทธิพลทางการเมืองของฝ่ายสนับสนุนท่านปรีดี นั้นกระทำโดยการกวาดล้างจับกุมผู้ที่เคยใกล้ชิด-เกี่ยวข้องกับท่านปรีดี ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเสรีไทย นักการเมือง นักศึกษา-อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง แต่กรณีที่ก่อให้เกิดความสะเทือนใจ และหวาดผวาในหมู่นักการเมืองฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมากก็คือ กรณีสังหารอดีตรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพลเรือนหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทั้ง ๔ ท่านคือ นายทองเปลว ชลภูมิ, นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์,นายจำลอง ดาวเรือง และนายถวิล อุดล โดยในชั้นต้นฝ่ายตำรวจอ้างว่าเป็นฝีมือของโจรแบ่งแยกดินแดน แต่เมื่อมีการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาพิจารณาใหม่ ได้มีการรับสารภาพว่าเป็นการจัดฉากเพื่อสังหารนักการเมืองทั้ง ๔ คน เนื่องจาก “ผู้ตายเป็นนักการเมืองสำคัญในพรรคฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลในสมัยนั้น” ผู้ตายถูกจับกุมต้องหาว่าเป็นกบฏต่อรัฐบาล แล้วถูกนำตัวจากที่คุมขังขึ้นรถไปเพื่อไปกำจัดเสียตามความประสงค์ของผู้เมาอำนาจในขณะนั้น
คดีการเมืองอีกคดีหนึ่งที่มืดมนสับสนคือ การจำกัดนายเตียง ศิริขันธ์ และพรรคพวกอีก ๔ คนในปี พ.ศ.๒๔๙๕ (หลังเหตุการณ์กบฏสันติภาพ) เป็นที่ทราบกันว่า สูญหายไปโดยสันนิษฐานว่าคงจะถูกฝีมือสมุนตำรวจของพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ลอบสังหารไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีคดีวิสามัญฆาตกรรม พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข นายอารีย์ ลีวีระ ฯลฯ บุคคลที่ตกเป็นเหยื่ออำนาจอธรรมเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นผู้ซึ่งต่อต้านรัฐบาลของคณะรัฐประหาร หรือไม่ก็มีเรื่องราวขัดแย้งไม่พอใจกับ พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ และนายตำรวจลูกสมุน ในภายหลังคดีเหล่านี้ก็ถูกกลุ่มจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์รื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาใหม่
มาตรการโหดเหี้ยมทารุณของฝ่ายตำรวจในทำนองนี้ ย่อมทำให้บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนบุคคลอื่น ๆ ซึ่งไม่พอใจหรือต่อต้านรัฐบาลเกิดความหวาดกลัว พ.ต.อ.เผ่า ยังอาศัยกลไกในการให้สินบนแก่นักการเมืองบางราย เพื่อรวบรวมอำนาจทางการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรให้แก่จอมพล ป.พิบูลสงครามอีกด้วย ดังนั้นในช่วงระยะเวลาไม่นานนัก พรรคการเมืองไทยก็เริ่มแตกสลาย ขณะเดียวกันเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๙๓ คณะรัฐประหารก็ได้จัดการความขัดแย้งภายในของกลุ่ม โดยการขจัดหลวงกาจ กาจสงคราม หนึ่งในผู้ร่วมวางแผนการรัฐประหาร-ผู้มีความมักใหญ่ใฝ่สูงให้ออกไปพ้นจากวิถีการเมืองไทย โดยการกดดันและจี้บังคับให้ลี้ภัยไปอยู่ฮ่องกง ทั้งนี้ทางฝ่ายตำรวจอ้างว่าได้พบหลักฐานแผนการก่อกบฏ (เรียกกันว่ากบฏน้ำท่วม)ของหลวงกาจ กาจสงคราม โดยอาศัยสถานการณ์น้ำท่วมพระนครเพื่อเข้ายึดอำนาจรัฐ ซึ่งข้ออ้างของตำรวจในครั้งนี้ก็เป็นเพียงข้ออ้างเพื่อที่ขจัดหลวงกาจ กาจสงครามสมาชิกคณะรัฐประหารผู้อื้อฉาวตลอดเวลาเท่านั้น
วิธีการกำจัด-ปราบปรามฝ่ายตรงข้ามของจอมพล ป.พิบูลสงครามนี้เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม สามารถประคับประคองอยู่ได้ท่ามกลางกลุ่มผู้ต่อต้านอื่น ๆ
No comments:
Post a Comment