อาจารย์ปรีดีฯ กล่าวต่อไปว่า
“พันเอกพระยาพหลฯ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากพระยามโนปกรณ์ฯ ได้ดำเนินกิจการบ้านเมืองตามระบอบประชาธิปไตยทุกประการ และเมื่อถึงกำหนดออกตามวาระที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญก็ได้ลาออก โดยพันเอกหลวงพิบูลฯ เป็นนายกรัฐมนตรีสืบแทนต่อมา
ในระยะแรกที่พันเอกหลวงพิบูลฯ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ได้ดำเนินกิจการบ้านเมืองตามระบอบประชาธิปไตย มีอยู่อย่างหนึ่งที่ปฏิบัติผิดไปจากอุดมคติเดิมของคณะราษฎร ที่นายทหารในยามปกติมียศอย่างสูงเพียงแค่นายพันเอกเท่านั้น แต่หลวงพิบูลฯได้รับแต่งตั้งจากผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นนายพลตรี
ครั้นอยู่มาไม่นาน ก็มีบุคคลที่มีทรรศนะสืบเนื่องจากระบบทาส สนับสนุนให้หลวงพิบูลฯ ปกครองประเทศตามระบอบเผด็จการนาซีและฟาสซิสต์ ซึ่งเป็นการปกครองราษฎรอย่างทาส คนสมัยนั้นได้กล่าวขวัญกันถึงว่า มีบางคนได้เข้าไปกราบไหว้ว่าได้แลเห็นแสงรัศมีอันเป็นอภินิหารออกจากกายของหลวงพิบูลฯ คำร่ำลือนั้นอาจขยายมากเกินไป ความจริงมีเพียงว่า
ในค่ำวันหนึ่งมีการแสดงละครที่วังสวนกุหลาบในโอกาสวันเกิดของหลวงพิบูลฯ ข้าพเจ้ากับเพื่อนก่อการฯ หลายคนได้รับเชิญไปในงานนั้นด้วย ซึ่งผู้มีชีวิตอยู่ในขณะนี้ยังจำกันได้ว่า หลวงวิจิตรวาทการเป็นผู้นำละครมาแสดง และในบางฉากท่านผู้นี้ก็แสดงเองด้วย มีฉากหนึ่งแสดงถึงระบำฝูงไก่(หลวงพิบูลฯเกิดปีระกา) ระบำฝูงนั้นแสดงว่า คนมีบุญได้จุติมาเกิดในปีระกา ซึ่งเป็นมิ่งขวัญของชาติไทย
อีกฉากหนึ่งหลวงวิจิตรวาทการแสดงเป็นชายง่อยเปลี้ย เมื่อได้ออกมาเห็นหลวงพิบูลฯ ผู้มีบุญ แล้วได้กราบอภิวาทวันทา ความง่อยเปลี้ยของชายชราก็หมดสิ้นไป หลวงพิบูลฯได้หันหน้ามาทางข้าพเจ้า แสดงอาการขวยเขิน แล้วหันไปประนมมือรับไหว้หลวงวิจิตรวาทการ
ข้าพเจ้าเห็นว่าขณะนั้นหลวงพิบูลฯ ยังไม่คิดที่จะเป็นผู้เผด็จการ แต่ต่อมาเมื่อซากทรรศนะเก่าของบุคคลอีกหลายคนได้สนับสนุนบ่อยๆ ครั้งเข้า รวมทั้งมีพวกที่ได้ฉายาว่าจตุสดมภ์ ที่คอยยกยอ ปอปั้น ก็ทำให้หลวงพิบูลฯ ซึ่งเดิมเป็นนักประชาธิปไตยได้เคลิบเคลิ้มเปลี่ยนจากแนวทางเดิมไป...”
“พันเอกพระยาพหลฯ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากพระยามโนปกรณ์ฯ ได้ดำเนินกิจการบ้านเมืองตามระบอบประชาธิปไตยทุกประการ และเมื่อถึงกำหนดออกตามวาระที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญก็ได้ลาออก โดยพันเอกหลวงพิบูลฯ เป็นนายกรัฐมนตรีสืบแทนต่อมา
ในระยะแรกที่พันเอกหลวงพิบูลฯ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ได้ดำเนินกิจการบ้านเมืองตามระบอบประชาธิปไตย มีอยู่อย่างหนึ่งที่ปฏิบัติผิดไปจากอุดมคติเดิมของคณะราษฎร ที่นายทหารในยามปกติมียศอย่างสูงเพียงแค่นายพันเอกเท่านั้น แต่หลวงพิบูลฯได้รับแต่งตั้งจากผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นนายพลตรี
ครั้นอยู่มาไม่นาน ก็มีบุคคลที่มีทรรศนะสืบเนื่องจากระบบทาส สนับสนุนให้หลวงพิบูลฯ ปกครองประเทศตามระบอบเผด็จการนาซีและฟาสซิสต์ ซึ่งเป็นการปกครองราษฎรอย่างทาส คนสมัยนั้นได้กล่าวขวัญกันถึงว่า มีบางคนได้เข้าไปกราบไหว้ว่าได้แลเห็นแสงรัศมีอันเป็นอภินิหารออกจากกายของหลวงพิบูลฯ คำร่ำลือนั้นอาจขยายมากเกินไป ความจริงมีเพียงว่า
ในค่ำวันหนึ่งมีการแสดงละครที่วังสวนกุหลาบในโอกาสวันเกิดของหลวงพิบูลฯ ข้าพเจ้ากับเพื่อนก่อการฯ หลายคนได้รับเชิญไปในงานนั้นด้วย ซึ่งผู้มีชีวิตอยู่ในขณะนี้ยังจำกันได้ว่า หลวงวิจิตรวาทการเป็นผู้นำละครมาแสดง และในบางฉากท่านผู้นี้ก็แสดงเองด้วย มีฉากหนึ่งแสดงถึงระบำฝูงไก่(หลวงพิบูลฯเกิดปีระกา) ระบำฝูงนั้นแสดงว่า คนมีบุญได้จุติมาเกิดในปีระกา ซึ่งเป็นมิ่งขวัญของชาติไทย
อีกฉากหนึ่งหลวงวิจิตรวาทการแสดงเป็นชายง่อยเปลี้ย เมื่อได้ออกมาเห็นหลวงพิบูลฯ ผู้มีบุญ แล้วได้กราบอภิวาทวันทา ความง่อยเปลี้ยของชายชราก็หมดสิ้นไป หลวงพิบูลฯได้หันหน้ามาทางข้าพเจ้า แสดงอาการขวยเขิน แล้วหันไปประนมมือรับไหว้หลวงวิจิตรวาทการ
ข้าพเจ้าเห็นว่าขณะนั้นหลวงพิบูลฯ ยังไม่คิดที่จะเป็นผู้เผด็จการ แต่ต่อมาเมื่อซากทรรศนะเก่าของบุคคลอีกหลายคนได้สนับสนุนบ่อยๆ ครั้งเข้า รวมทั้งมีพวกที่ได้ฉายาว่าจตุสดมภ์ ที่คอยยกยอ ปอปั้น ก็ทำให้หลวงพิบูลฯ ซึ่งเดิมเป็นนักประชาธิปไตยได้เคลิบเคลิ้มเปลี่ยนจากแนวทางเดิมไป...”
No comments:
Post a Comment