ข้อ ๓. บทความของประเสริฐฯ อ้างว่า “อาจารย์ปรีดี เป็นนักปฏิวัติประชาธิปไตยคนสำคัญที่สุดของคณะราษฎร กล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้นำที่แท้จริงของคณะราษฎร แต่แทนที่จะนำการปฏิวัติประชาธิปไตยของคณะราษฎรไปสู่ความสำเร็จ ท่านกลับเป็นต้นเหตุให้การปฏิวัติพัง พังมาจนถึงวันอสัญกรรมของท่าน และจะยังพังต่อไปอีกนานทีเดียว”
คุณสุพจน์ ด่านตระกูล ได้ตอบประเด็นนี้ไว้ว่า ก่อนจะระบุลงไปว่าใครเป็นผู้นำที่แท้จริงของคณะราษฎร ควรจะได้ทำความรู้จักโครงสร้างของคณะราษฎรเสียก่อน
ถูกแล้วอาจารย์ปรีดีและเพื่อนอีก ๖ คน เป็นผู้วางแผนในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาฯ มาเป็นประชาธิปไตย เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาในฝรั่งเศส และเมื่อกลับมาไทยแล้วก็ติดต่อหาสมัครพรรคพวก เพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อไป และเนื่องจากในประเทศก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่คิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเฉพาะ พระยาพหลพลพยุหเสนา, พ.อ.พระยาทรงสุรเดช, พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อมีการประสานงานติดต่อกันระหว่างผู้มีความคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองคำว่า “คณะราษฎร” จึงเกิดขึ้น
“คณะราษฎร” ประกอบด้วย ๓ สมาชิก คือ ๑. สายทหารบกจำนวน ๓๒ นายมีพระยาพหลฯ เป็นหัวหน้าสาย ๒.สายทหารเรือจำนวน ๒๑ นาย มีนาวาตรีหลวงสินธุสงครามชัย(สินธุ์ กมลนาวิน)เป็นหัวหน้าสาย ๓.สายพลเรือนจำนวน ๔๖ คนมีอำมาตย์ตรีหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์)เป็นหัวหน้าสาย รวมทั้งหมด ๙๙ นาย (รายชื่อผู้ก่อการนี้ได้ตรวจและรับรองโดยผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี ๒๔๗๕ เก็บอยู่ ณ สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา – จากหนังสือรัฐสภาไทย โดยประเสริฐ ปัทมสุคนธ์ อดีตเลขาธิการรัฐสภา)
“คณะราษฎร” ได้ยกให้ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ และท่านผู้นี้เองที่เป็นผู้อ่านแถลงการณ์ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย เมื่อเช้าตรู่วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
ดังนั้นผู้นำที่แท้จริงของคณะราษฎร คือนำทั้งขบวน จึงควรจะเป็น พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนามากกว่า
คุณสุพจน์ ด่านตระกูล ได้ตอบประเด็นนี้ไว้ว่า ก่อนจะระบุลงไปว่าใครเป็นผู้นำที่แท้จริงของคณะราษฎร ควรจะได้ทำความรู้จักโครงสร้างของคณะราษฎรเสียก่อน
ถูกแล้วอาจารย์ปรีดีและเพื่อนอีก ๖ คน เป็นผู้วางแผนในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาฯ มาเป็นประชาธิปไตย เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาในฝรั่งเศส และเมื่อกลับมาไทยแล้วก็ติดต่อหาสมัครพรรคพวก เพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อไป และเนื่องจากในประเทศก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่คิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเฉพาะ พระยาพหลพลพยุหเสนา, พ.อ.พระยาทรงสุรเดช, พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อมีการประสานงานติดต่อกันระหว่างผู้มีความคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองคำว่า “คณะราษฎร” จึงเกิดขึ้น
“คณะราษฎร” ประกอบด้วย ๓ สมาชิก คือ ๑. สายทหารบกจำนวน ๓๒ นายมีพระยาพหลฯ เป็นหัวหน้าสาย ๒.สายทหารเรือจำนวน ๒๑ นาย มีนาวาตรีหลวงสินธุสงครามชัย(สินธุ์ กมลนาวิน)เป็นหัวหน้าสาย ๓.สายพลเรือนจำนวน ๔๖ คนมีอำมาตย์ตรีหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์)เป็นหัวหน้าสาย รวมทั้งหมด ๙๙ นาย (รายชื่อผู้ก่อการนี้ได้ตรวจและรับรองโดยผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี ๒๔๗๕ เก็บอยู่ ณ สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา – จากหนังสือรัฐสภาไทย โดยประเสริฐ ปัทมสุคนธ์ อดีตเลขาธิการรัฐสภา)
“คณะราษฎร” ได้ยกให้ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ และท่านผู้นี้เองที่เป็นผู้อ่านแถลงการณ์ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย เมื่อเช้าตรู่วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
ดังนั้นผู้นำที่แท้จริงของคณะราษฎร คือนำทั้งขบวน จึงควรจะเป็น พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนามากกว่า
No comments:
Post a Comment