การที่ในเวลาต่อมาไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะราษฎรนั้น อาจารย์ปรีดีฯ ได้กล่าวไว้ในคำขวัญและบทความที่มอบให้แก่คณะกรรมการจัดงานสังสรรค์ชาวธรรมศาสตร์ในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ประจำปี ๒๕๑๖ ซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับความล้มเหลวของการปฏิวัติประชาธิปไตย ดังนี้
“ ก. คณะราษฎรมีความผิดพลาดหลายประการ อันเป็นผลประจักษ์อย่างหนึ่งที่รู้กันว่ามีความแตกแยกกันภายในคณะราษฎร ปัญหาที่จะต้องพิจารณาคือ เหตุใดคณะราษฎรจึงมีความแตกแยกกัน ความแตกแยกนั้นเกิดขึ้นเพราะความแตกต่างกันในระดับจิตสำนึกแห่งความเสียสละ การเห็นแก่ตัวภายหลังที่ได้ชัยชนะก้าวแรกแล้ว และแตกต่างกันในทรรศนะทางสังคม ที่แต่ละคนและกลุ่มบุคคลที่มีซากทรรศนะเก่าค้างอยู่น้อยบ้างมากบ้าง
สมาชิกทุกคนมีทรรศนะตรงกัน และยอมพลีชีพร่วมกันเฉพาะการล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น เมื่อได้ชัยชนะก้าวแรกแล้ว ได้แตกแยกกันตามทรรศนะคงที่ ถอยหลัง ก้าวหน้าที่แต่ละคนแต่ละกลุ่มมีอยู่
ฝ่ายทรรศนะคงที่ก็พอใจที่ล้มระบอบสมบูรณาฯ แล้ว ฝ่ายก้าวหน้าต้องการพัฒนาประเทศให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ฝ่ายถอยหลังต้องการปกครองประเทศตามระบอบเผด็จการ ที่แม้ดูผิวเผินว่าเป็นคนละอย่างกับระบอบทาส แต่ถ้าวิจารณ์ให้ถ่องแท้ก็คือ การปกครองอย่างระบอบทาสที่ถอยหลังไปยิ่งกว่าระบอบศักดินา”
“ ก. คณะราษฎรมีความผิดพลาดหลายประการ อันเป็นผลประจักษ์อย่างหนึ่งที่รู้กันว่ามีความแตกแยกกันภายในคณะราษฎร ปัญหาที่จะต้องพิจารณาคือ เหตุใดคณะราษฎรจึงมีความแตกแยกกัน ความแตกแยกนั้นเกิดขึ้นเพราะความแตกต่างกันในระดับจิตสำนึกแห่งความเสียสละ การเห็นแก่ตัวภายหลังที่ได้ชัยชนะก้าวแรกแล้ว และแตกต่างกันในทรรศนะทางสังคม ที่แต่ละคนและกลุ่มบุคคลที่มีซากทรรศนะเก่าค้างอยู่น้อยบ้างมากบ้าง
สมาชิกทุกคนมีทรรศนะตรงกัน และยอมพลีชีพร่วมกันเฉพาะการล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น เมื่อได้ชัยชนะก้าวแรกแล้ว ได้แตกแยกกันตามทรรศนะคงที่ ถอยหลัง ก้าวหน้าที่แต่ละคนแต่ละกลุ่มมีอยู่
ฝ่ายทรรศนะคงที่ก็พอใจที่ล้มระบอบสมบูรณาฯ แล้ว ฝ่ายก้าวหน้าต้องการพัฒนาประเทศให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ฝ่ายถอยหลังต้องการปกครองประเทศตามระบอบเผด็จการ ที่แม้ดูผิวเผินว่าเป็นคนละอย่างกับระบอบทาส แต่ถ้าวิจารณ์ให้ถ่องแท้ก็คือ การปกครองอย่างระบอบทาสที่ถอยหลังไปยิ่งกว่าระบอบศักดินา”
No comments:
Post a Comment