การครองโลกของสหรัฐอเมริกา ตอนที่ ๓ (จบ)
“นับตั้งแต่การอภิวัฒน์ฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๓๓๒ ปารีสกลายเป็นต้นกำเนิดแห่งการอภิวัฒน์ประชาธิปไตยในหลายๆ ประเทศในยุโรปและเอเซีย การอภิวัฒน์ทั้งในทางทฤษฎีและในทางปฏิวัติยังคงสืบทอดอยู่ในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นนักศึกษาที่อยู่นั่น มาร์กซ์ เองเกลส์ และเลนิน นักอภัวฒน์ผู้ยิ่งใหญ่ เคยใช้ชีวิตช่วงหนึ่งอยู่ที่นั่น ชาวเอเซียหลายคนที่ปรารถนาเอกราชที่สมบูรณ์ของชาติ และต้องการนำชาติของตนให้พ้นจากการปกครองแบบอาณานิคมหรือกึ่งอาณานิคม ต่างอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสในยุคสมัยนั้น โดยเฉพาะเหงียน ไอ ก็อค (โฮจิมินห์) โจวเอินไหล เฉินยี่ และนักปฏิวัติชาติอื่นๆ”
“สำหรับตัวข้าพเจ้านั้น นอกจากข้าพเจ้าจะรู้จักมักคุ้นกับเพื่อนๆ ชาวไทยด้วยกันและกับเพื่อนชาวฝรั่งเศสแล้ว ข้าพเจ้ายังได้รู้จักนักอภิวัฒน์เอเซียกลุ่มและต่อมาพวกเราได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อความสมานฉันท์และพันธมิตรแห่งเอเซีย”
“ขอให้นึก ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศสยามเป็นประเทศเดียวในบรรดาประเทศในเอเซียอาคเนย์ที่เป็นเอกราช และเป็นสมาชิกดั้งเดิมของสันนิบาติชาติ ซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขณะนั้นเวียดนาม กัมพูชา และลาวเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส พม่า มาลายู และสิงคโปร์เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ อินโดนีเซียเป็นเมืองขึ้นของเนเธอร์แลนด์ ส่วนฟิลิปปินส์เป็นเมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกา”
“ผู้รักชาติจำนวนหนึ่งในประเทศเหล่านี้ ซึ่งมีแนวคิดทางการเมืองและอุดมการณ์ต่างกัน ก็ได้ลี้ภัยหลบซ่อนเข้ามาอยู่ในสยาม ในบรรดาผู้ลี้ภัยเหล่านี้ เหงียน ไอ ก็อค เป็นผู้หนึ่งที่เข้ามาเป็นครั้งคราว ชื่อของเขามีความหมายว่า “เหงียนผู้รักชาติ” เขาเป็นผู้รักชาติที่ยิ่งใหญ่ของเวียดนาม โดยใช้นามแฝงหลายชื่อก่อนใช้ชื่อว่า “โฮจิมินห์” ในที่สุด เขาได้ลค้ยภัยเข้ามาในสยาม ๒ ครั้ง และพำนักอยู่ระยะหนึ่งโดยใช้ชื่ออีกหลายชื่อ”
“ข้าพเจ้ามีความเห็นใจผู้รักชาติลี้ภัยทุกคนที่ข้าพเจ้ารู้จัก โดยไม่แบ่งแยกอุดมการณ์ เพราะแต่ละคนมีเสรีภาพที่จะเลือกทางของตน”
“ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นได้ยึดครองทั่วเอเซียอาคเนย์ ญี่ปุ่นหวังที่จะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในประเทศอาณานิคมเหล่านี้ จึงได้ช่วยบรรดาผู้รักชาติจัดตั้งรัฐบาลที่ตนเรียกว่า “รัฐบาลเอกราช” เช่น รัฐบาลเอกราชพม่า ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบามอ ต่อจากนั้นญี่ปุ่นก็ได้สนับสนุนจักพรรดิเวียดนาม กษัตริย์กัมพูชา และกษัตริย์ลาวเพื่อประกาศอิสรภาพ ผู้รักชาติส่วนใหญ่รู้ดีว่า การกระทำของญี่ปุ่นมีจุดหมายเพื่อเปลี่ยนเจ้าอาณานิคมเก่าไปเป็นเจ้าอาณานิคมใหม่ โดยมีญี่ปุ่นเป็นนาย เพราะทุกประเทศที่ถือว่าได้รับเอกราชใหม่ จะต้องเข้าไปเป็นอาณษนิคมแบบใหม่ของญี่ปุ่น ซึ่งรู้จักกันในนาม “การร่วมวงไพบูลย์แห่งเอเซียบูรพา” มีการตั้งกระทรวง “กิจการมหาเอเซียบูรพา” ขึ้นเป็นกระทรวงใหม่ของญี่ปุ่น เพื่อรับผิดชอบกิจการเกวี่ยวกับประเทศเหล่านี้ รวมทั้งประเทศที่อยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น และรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัว รัฐวังจิงไวของจีนและรัฐสยาม”
“จากการที่ข้าพเจ้าได้สนทนากับผู้รักชาติเหล่านี้ เราได้ลงความเห็นกันว่า ในอนาคตอันใกลนี้ทุกประเทศในเอเซี๊อาคเนย์จะได้รับเอกราช อันเป็นผลจากความพยายามของพวกเขาเองแต่เราจะต้องเผชิญหน้ากับยักษ์ใหญ่สองประเทศ ได้แก่ จีนคณะชาติ ซึ่งโดดเด่นขึ้นมาหลังชัยชนะญี่ปุ่น อกีประเทศหนึ่งคืออินเดียซึ่งได้เอกราชจากอังกฤษ ฉะนั้นหากพวกเราแต่ละประเทศต่างคนต่างอยู่ภายหลังทุกประเทศในภูมิภาคนี้ได้เอกราชแล้ว ก็จะเป็นการยากที่จะป้องกันตนเองในกรณีที่ยักษ์ใหญ่สองประเทศรุกรานเรา”
“ด้วยเหตุนี้ เราจึงก่อตั้งสมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์ขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการป้องกันประเทศ องค์การนี้มิได้เป็นสหภาพหรือสมาพันธรัฐ เนื่องจากแต่ละประเทศมีอิสระทั้งกิจการภายในและกิจการต่างประเทศของตนอย่างสมบูรณ์ องค์การนี้เป็นเพียง “ความเข้าใจกันอย่างฉันท์มิตร” ระหว่างรัฐสมาชิกด้วยกันเท่านั้น เพื่อที่จะทำให้ประชาชนในภูมิภาคนี้ยอมรับสมาคมดังกล่าว จึงจำเป็นต้องเติ่มก่อตั้งสมาคมให้เป็นองค์การของประชาชน เนื่องจากประเทศสยามตั้งอยู่ในใจกลางภูมิภาคนี้ ข้าพเจ้าจึงรับที่จะให้กรุงเทพฯ เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางแห่งแรกขององค์การ ด้วยการให้สร้างที่ทำการและจัดสรรเงินช่วยเหลือตามความจำเป็น”
ท่านปรีดี พนมยงค์ได้บันทึกไว้ว่า
“ผู้รักชาติในประเทศเอเซียอาคเนย์จำนวนหนึ่งได้เข้าร่วมสมาคมนี้ นักล่าอาณานิคมทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ได้กล่าวหาข้าพเจ้าว่า เป็นผู้นำเหล่าขบถในการต่อต้านรัฐบาลอาณานิคม และเป็นศูนย์กลางของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคนี้”
“รัฐประหารเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐ ซึ่งกระทำขึ้นเพื่อเอาใจบรรดานักล่าอณานิคม ได้ยุบสมาคมดังกล่าวและแยกสลายบรรดาสมาชิก”
“สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์มิได้เป็นสันนิบาตคอมมิวนิสต์เพราะสมาชิกประกอบด้วยผู้รักชาติทุกแนวทาง รวมทั้งเจ้าเพ็ดชะลาด อดีตมหาอุปราชลาวด้วย จากการสนทนากับเจ้าเพ็ดชะลาดเกี่ยวกับผู้รักชาติบางคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมนิวนสิต์ พระองค์ได้ตอบด้วยการตั้งคำถามว่า คนที่กำลังจมน้ำนั้น จะมีเวลาพอหรือที่จะดูว่า มือที่ยื่นมานั้นมีสีขาวหรือสีแดง?
เมื่อพิจารณาถึงแนวคิดของ “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาเนย์” จะเห็นว่า วัตถุประสงค์หลักของสมาคมนี้ คือการร่วมมือกันเพื่อสรรค์สร้างความเป็นเอกราช อธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของประชาชนในอินโดจีน ซึ่งเป็นแนวคิดชาตินิยม (Nationalism)สอดคล้องกับหลักแนวคิดอการอภิวัฒน์ฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๓๓๒ ที่มุ่งเน้นอิสรภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ
หากพิจารณาในเลิงเปรียบเทียบจะเห็ฯว่า สาระสำคัญในแนวคิด “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ของนายปีดี พนมยงค์ มีความแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับแนวคิดโครงการ “มหาอาณาจักรไทย” ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่มุ่งขยายดินแดนของไทยให้ครอบคลุมทุกพื้นๆที่มีคนเชื้อสายไทยอาศัยอยู่ อันเป็นแนวคิดคลั่งชาติ (Chauvinism) แบบเดีวกับการเน้นสายเลือดอารยันของฮิตเลอร์ และแนวคิด “การร่วมวงไพบูลย์มหาเอเซียบูรพา” ของญี่ปุ่น
แนวคิดคลั่งชาติ “มหาอาณาจักรไทย” ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่กองทัพญี่ปุ่นให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และมีการลงนามร่วมกันในข้อตกลงระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ในปี .ศ.๒๔๘๒ สาระสำคัญของข้อตกลงดังกล่าว ฝ่ายญี่ปุ่นจะสนับสนุน “มหาอาณาจักรไทย” ในการผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นของไทย คือยึดครองเชียงตุงแล้วเปลี่ยนเป็นสหรัฐไทเดิม ยึดครองดินแดนภาคตะวันตกและภาคเหนือของลาว สิบสองเจ้าไทย รวมทั้งภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน คือมณฑลยูนนานและภาคใต้ของมณฑลเสฉวน ส่วนทางภาคใต้นั้นญี่ปุ่นได้มอบดินแดนรัฐกลันตัน ตรังกานู ปะลิส และไทรบุรีให้ไทยครอบครอง
อย่างไรก็ตาม ความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในอินโดจีนและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้หลักการ “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์โลกว่า แนวคิดในหลักการดังกล่าวเป็นพลวัตของพัฒนการทางการเมืองและพัฒนาการทางสังคมในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ที่สำคัญ เกียรติคุณของนายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำขวนการเสรีไทย ได้รับการยอมรับเชิดชูจากประชาคมโลกอย่างกว้างขวางว่า เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมการอภิวัฒน์สังคม รวมทั้งมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อขบวนการกู้เอกราชในภูมิภาคอินโดจีน กระทั่งประเทศเหล่านี้บรรลุซึ่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ เป็นประเทศเอกราช และมีอธิปไตยโดยสมบูรณ์
“สำหรับตัวข้าพเจ้านั้น นอกจากข้าพเจ้าจะรู้จักมักคุ้นกับเพื่อนๆ ชาวไทยด้วยกันและกับเพื่อนชาวฝรั่งเศสแล้ว ข้าพเจ้ายังได้รู้จักนักอภิวัฒน์เอเซียกลุ่มและต่อมาพวกเราได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อความสมานฉันท์และพันธมิตรแห่งเอเซีย”
“ขอให้นึก ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศสยามเป็นประเทศเดียวในบรรดาประเทศในเอเซียอาคเนย์ที่เป็นเอกราช และเป็นสมาชิกดั้งเดิมของสันนิบาติชาติ ซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขณะนั้นเวียดนาม กัมพูชา และลาวเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส พม่า มาลายู และสิงคโปร์เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ อินโดนีเซียเป็นเมืองขึ้นของเนเธอร์แลนด์ ส่วนฟิลิปปินส์เป็นเมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกา”
“ผู้รักชาติจำนวนหนึ่งในประเทศเหล่านี้ ซึ่งมีแนวคิดทางการเมืองและอุดมการณ์ต่างกัน ก็ได้ลี้ภัยหลบซ่อนเข้ามาอยู่ในสยาม ในบรรดาผู้ลี้ภัยเหล่านี้ เหงียน ไอ ก็อค เป็นผู้หนึ่งที่เข้ามาเป็นครั้งคราว ชื่อของเขามีความหมายว่า “เหงียนผู้รักชาติ” เขาเป็นผู้รักชาติที่ยิ่งใหญ่ของเวียดนาม โดยใช้นามแฝงหลายชื่อก่อนใช้ชื่อว่า “โฮจิมินห์” ในที่สุด เขาได้ลค้ยภัยเข้ามาในสยาม ๒ ครั้ง และพำนักอยู่ระยะหนึ่งโดยใช้ชื่ออีกหลายชื่อ”
“ข้าพเจ้ามีความเห็นใจผู้รักชาติลี้ภัยทุกคนที่ข้าพเจ้ารู้จัก โดยไม่แบ่งแยกอุดมการณ์ เพราะแต่ละคนมีเสรีภาพที่จะเลือกทางของตน”
“ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นได้ยึดครองทั่วเอเซียอาคเนย์ ญี่ปุ่นหวังที่จะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในประเทศอาณานิคมเหล่านี้ จึงได้ช่วยบรรดาผู้รักชาติจัดตั้งรัฐบาลที่ตนเรียกว่า “รัฐบาลเอกราช” เช่น รัฐบาลเอกราชพม่า ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบามอ ต่อจากนั้นญี่ปุ่นก็ได้สนับสนุนจักพรรดิเวียดนาม กษัตริย์กัมพูชา และกษัตริย์ลาวเพื่อประกาศอิสรภาพ ผู้รักชาติส่วนใหญ่รู้ดีว่า การกระทำของญี่ปุ่นมีจุดหมายเพื่อเปลี่ยนเจ้าอาณานิคมเก่าไปเป็นเจ้าอาณานิคมใหม่ โดยมีญี่ปุ่นเป็นนาย เพราะทุกประเทศที่ถือว่าได้รับเอกราชใหม่ จะต้องเข้าไปเป็นอาณษนิคมแบบใหม่ของญี่ปุ่น ซึ่งรู้จักกันในนาม “การร่วมวงไพบูลย์แห่งเอเซียบูรพา” มีการตั้งกระทรวง “กิจการมหาเอเซียบูรพา” ขึ้นเป็นกระทรวงใหม่ของญี่ปุ่น เพื่อรับผิดชอบกิจการเกวี่ยวกับประเทศเหล่านี้ รวมทั้งประเทศที่อยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น และรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัว รัฐวังจิงไวของจีนและรัฐสยาม”
“จากการที่ข้าพเจ้าได้สนทนากับผู้รักชาติเหล่านี้ เราได้ลงความเห็นกันว่า ในอนาคตอันใกลนี้ทุกประเทศในเอเซี๊อาคเนย์จะได้รับเอกราช อันเป็นผลจากความพยายามของพวกเขาเองแต่เราจะต้องเผชิญหน้ากับยักษ์ใหญ่สองประเทศ ได้แก่ จีนคณะชาติ ซึ่งโดดเด่นขึ้นมาหลังชัยชนะญี่ปุ่น อกีประเทศหนึ่งคืออินเดียซึ่งได้เอกราชจากอังกฤษ ฉะนั้นหากพวกเราแต่ละประเทศต่างคนต่างอยู่ภายหลังทุกประเทศในภูมิภาคนี้ได้เอกราชแล้ว ก็จะเป็นการยากที่จะป้องกันตนเองในกรณีที่ยักษ์ใหญ่สองประเทศรุกรานเรา”
“ด้วยเหตุนี้ เราจึงก่อตั้งสมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์ขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการป้องกันประเทศ องค์การนี้มิได้เป็นสหภาพหรือสมาพันธรัฐ เนื่องจากแต่ละประเทศมีอิสระทั้งกิจการภายในและกิจการต่างประเทศของตนอย่างสมบูรณ์ องค์การนี้เป็นเพียง “ความเข้าใจกันอย่างฉันท์มิตร” ระหว่างรัฐสมาชิกด้วยกันเท่านั้น เพื่อที่จะทำให้ประชาชนในภูมิภาคนี้ยอมรับสมาคมดังกล่าว จึงจำเป็นต้องเติ่มก่อตั้งสมาคมให้เป็นองค์การของประชาชน เนื่องจากประเทศสยามตั้งอยู่ในใจกลางภูมิภาคนี้ ข้าพเจ้าจึงรับที่จะให้กรุงเทพฯ เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางแห่งแรกขององค์การ ด้วยการให้สร้างที่ทำการและจัดสรรเงินช่วยเหลือตามความจำเป็น”
ท่านปรีดี พนมยงค์ได้บันทึกไว้ว่า
“ผู้รักชาติในประเทศเอเซียอาคเนย์จำนวนหนึ่งได้เข้าร่วมสมาคมนี้ นักล่าอาณานิคมทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ได้กล่าวหาข้าพเจ้าว่า เป็นผู้นำเหล่าขบถในการต่อต้านรัฐบาลอาณานิคม และเป็นศูนย์กลางของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคนี้”
“รัฐประหารเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐ ซึ่งกระทำขึ้นเพื่อเอาใจบรรดานักล่าอณานิคม ได้ยุบสมาคมดังกล่าวและแยกสลายบรรดาสมาชิก”
“สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์มิได้เป็นสันนิบาตคอมมิวนิสต์เพราะสมาชิกประกอบด้วยผู้รักชาติทุกแนวทาง รวมทั้งเจ้าเพ็ดชะลาด อดีตมหาอุปราชลาวด้วย จากการสนทนากับเจ้าเพ็ดชะลาดเกี่ยวกับผู้รักชาติบางคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมนิวนสิต์ พระองค์ได้ตอบด้วยการตั้งคำถามว่า คนที่กำลังจมน้ำนั้น จะมีเวลาพอหรือที่จะดูว่า มือที่ยื่นมานั้นมีสีขาวหรือสีแดง?
เมื่อพิจารณาถึงแนวคิดของ “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาเนย์” จะเห็นว่า วัตถุประสงค์หลักของสมาคมนี้ คือการร่วมมือกันเพื่อสรรค์สร้างความเป็นเอกราช อธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของประชาชนในอินโดจีน ซึ่งเป็นแนวคิดชาตินิยม (Nationalism)สอดคล้องกับหลักแนวคิดอการอภิวัฒน์ฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๓๓๒ ที่มุ่งเน้นอิสรภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ
หากพิจารณาในเลิงเปรียบเทียบจะเห็ฯว่า สาระสำคัญในแนวคิด “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ของนายปีดี พนมยงค์ มีความแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับแนวคิดโครงการ “มหาอาณาจักรไทย” ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่มุ่งขยายดินแดนของไทยให้ครอบคลุมทุกพื้นๆที่มีคนเชื้อสายไทยอาศัยอยู่ อันเป็นแนวคิดคลั่งชาติ (Chauvinism) แบบเดีวกับการเน้นสายเลือดอารยันของฮิตเลอร์ และแนวคิด “การร่วมวงไพบูลย์มหาเอเซียบูรพา” ของญี่ปุ่น
แนวคิดคลั่งชาติ “มหาอาณาจักรไทย” ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่กองทัพญี่ปุ่นให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และมีการลงนามร่วมกันในข้อตกลงระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ในปี .ศ.๒๔๘๒ สาระสำคัญของข้อตกลงดังกล่าว ฝ่ายญี่ปุ่นจะสนับสนุน “มหาอาณาจักรไทย” ในการผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นของไทย คือยึดครองเชียงตุงแล้วเปลี่ยนเป็นสหรัฐไทเดิม ยึดครองดินแดนภาคตะวันตกและภาคเหนือของลาว สิบสองเจ้าไทย รวมทั้งภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน คือมณฑลยูนนานและภาคใต้ของมณฑลเสฉวน ส่วนทางภาคใต้นั้นญี่ปุ่นได้มอบดินแดนรัฐกลันตัน ตรังกานู ปะลิส และไทรบุรีให้ไทยครอบครอง
อย่างไรก็ตาม ความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในอินโดจีนและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้หลักการ “สมาคมสหชาติแห่งเอเซียอาคเนย์” ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์โลกว่า แนวคิดในหลักการดังกล่าวเป็นพลวัตของพัฒนการทางการเมืองและพัฒนาการทางสังคมในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ที่สำคัญ เกียรติคุณของนายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำขวนการเสรีไทย ได้รับการยอมรับเชิดชูจากประชาคมโลกอย่างกว้างขวางว่า เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมการอภิวัฒน์สังคม รวมทั้งมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อขบวนการกู้เอกราชในภูมิภาคอินโดจีน กระทั่งประเทศเหล่านี้บรรลุซึ่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ เป็นประเทศเอกราช และมีอธิปไตยโดยสมบูรณ์
เรียบเรียงจากหนังสือ "ปรีดี พนมยงค์ กับ ขบวนการกู้เอกราชในลาว" ของอุดร วงษ์ทับทิม