สืบทอดเจตนารมณ์ประชาธิปไตย รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์
สัมผัส พึ่งประดิษฐ์
สัมผัส พึ่งประดิษฐ์
เมื่อประชาธิปไตยเติบโต เผด็จการจ้องทำลาย
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ด้วยการยอมพ่ายแพ้สงครามของญี่ปุ่นต่อฝ่ายสัมพันธมิตร สันติภาพกลับคืนมา การปกครองด้วยอำนาจเผด็จการทหารในระหว่างสงครามโลกยุคเชื่อผู้นำชาติพ้นภัยของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ยุติลงประเทศไทยได้กลับคืนสู่ประเทศที่มีเอกราช อธิปไตยอย่างสมยบูรณ์ ซึ่งเป็นผลอันสืบเนื่องจากการต่อสู้กู้ชาติกับการรุกรานจากญี่ปุ่นของขบวนการเสรีไทย ร่วมกับประชาชนผู้รักชาติ
ประเทศไทยที่บอบช้ำจากสงครามทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม ได้เข้าสู่ภาวะแห่งสันติ ประชาธิปไตย และการบูรณะฟื้นฟูประเทศ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย มีการก่อตั้งพรรคการเมืองและเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง มีสมาชิกพฤฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งของ ส.ส.ระยะหนึ่งตามบทเฉพาะกาล ซึ่งขณะนั้นมีพรรคการเมืองใหญ่ ๔ พรรคคือพรรคแนวร่วมรัฐธรรมนูญ มีพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหนัวหน้าพรรค พรรคสหชีพ มี ดร.เดือน บุนนาค เป็นหัวหน้าพรรค พรรคอิสระ มีอาจารย์วิจิตร ลุลิตานนท์เป็นหัวหน้าพรรค และพรรคประชาธิปัตย์ มี พ.ต.ควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค รณรงค์เลือกตั้ง ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พรรคแนวร่วมรัฐธรรมนูญ พรรคสหชีพและพรรคอิสระ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เป็นพันธมิตรทางการเมืองกัน และมีสมาชิกส่วส่วนใหญ่มาจากผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ อดีตพลพรรคขบวนการเสรีไทยและผู้ที่สำเร็จจากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเป็นส่วนใหญ่ ประสบชัยชนะเลือกตั้งได้จัดตั้งรัฐบาลโดยมีพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ประสบความปราชัยทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพฤฒิสภา
รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการและได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐบุรุษอาวุโส เกียรติภูมิของท่านเป็นที่ยกย่องสรรเสริญทั้งภายในประเทศและนานาประเทศในฐานะผู้นำทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยและผู้นำขบวนการเสรีไทยที่ได้ต่อสู้กู้ชาติจากการรุกรานของญี่ปุ่นร่วมกับประเทศสัมพันธมิตรจนประสบชัยชนะทำให้ประเทศไทยได้เป็นประเทศที่มีเอกราชอธิปไตยสมบูรณ์ด้วยความปรีชาสามารถของรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์
ขณะที่ประชาชนทั่วประเทศกำลังแซ่ซ้องสรรเสริญร่าเริงด้วยบรรยากาศแห่งสันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย “รัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐” ก็ได้ฟาดเปรี้ยงลงมาโดยนายทหารบกกลุ่มหนึ่งที่มีจอมพลผิน ชุณหะวัณ นายทหารนอกราชการเป็นหัวหน้า สมคบกับนักการเมืองศักดินายึดอำนาจปกครองประเทศจากรัฐบาลที่พลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากรัฐประหารแล้วก็ได้แต่งตั้ง พ.ต.ควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรีและในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนเป็นจอมพล ป.พิบูลสงคราม
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ด้วยการยอมพ่ายแพ้สงครามของญี่ปุ่นต่อฝ่ายสัมพันธมิตร สันติภาพกลับคืนมา การปกครองด้วยอำนาจเผด็จการทหารในระหว่างสงครามโลกยุคเชื่อผู้นำชาติพ้นภัยของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ยุติลงประเทศไทยได้กลับคืนสู่ประเทศที่มีเอกราช อธิปไตยอย่างสมยบูรณ์ ซึ่งเป็นผลอันสืบเนื่องจากการต่อสู้กู้ชาติกับการรุกรานจากญี่ปุ่นของขบวนการเสรีไทย ร่วมกับประชาชนผู้รักชาติ
ประเทศไทยที่บอบช้ำจากสงครามทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม ได้เข้าสู่ภาวะแห่งสันติ ประชาธิปไตย และการบูรณะฟื้นฟูประเทศ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย มีการก่อตั้งพรรคการเมืองและเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง มีสมาชิกพฤฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งของ ส.ส.ระยะหนึ่งตามบทเฉพาะกาล ซึ่งขณะนั้นมีพรรคการเมืองใหญ่ ๔ พรรคคือพรรคแนวร่วมรัฐธรรมนูญ มีพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหนัวหน้าพรรค พรรคสหชีพ มี ดร.เดือน บุนนาค เป็นหัวหน้าพรรค พรรคอิสระ มีอาจารย์วิจิตร ลุลิตานนท์เป็นหัวหน้าพรรค และพรรคประชาธิปัตย์ มี พ.ต.ควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค รณรงค์เลือกตั้ง ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พรรคแนวร่วมรัฐธรรมนูญ พรรคสหชีพและพรรคอิสระ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เป็นพันธมิตรทางการเมืองกัน และมีสมาชิกส่วส่วนใหญ่มาจากผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ อดีตพลพรรคขบวนการเสรีไทยและผู้ที่สำเร็จจากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเป็นส่วนใหญ่ ประสบชัยชนะเลือกตั้งได้จัดตั้งรัฐบาลโดยมีพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ประสบความปราชัยทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพฤฒิสภา
รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการและได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐบุรุษอาวุโส เกียรติภูมิของท่านเป็นที่ยกย่องสรรเสริญทั้งภายในประเทศและนานาประเทศในฐานะผู้นำทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยและผู้นำขบวนการเสรีไทยที่ได้ต่อสู้กู้ชาติจากการรุกรานของญี่ปุ่นร่วมกับประเทศสัมพันธมิตรจนประสบชัยชนะทำให้ประเทศไทยได้เป็นประเทศที่มีเอกราชอธิปไตยสมบูรณ์ด้วยความปรีชาสามารถของรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์
ขณะที่ประชาชนทั่วประเทศกำลังแซ่ซ้องสรรเสริญร่าเริงด้วยบรรยากาศแห่งสันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย “รัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐” ก็ได้ฟาดเปรี้ยงลงมาโดยนายทหารบกกลุ่มหนึ่งที่มีจอมพลผิน ชุณหะวัณ นายทหารนอกราชการเป็นหัวหน้า สมคบกับนักการเมืองศักดินายึดอำนาจปกครองประเทศจากรัฐบาลที่พลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากรัฐประหารแล้วก็ได้แต่งตั้ง พ.ต.ควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรีและในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนเป็นจอมพล ป.พิบูลสงคราม
No comments:
Post a Comment