สืบทอดเจตนารมณ์ประชาธิปไตย รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์
สัมผัส พึ่งประดิษฐ์
เผด็จการยังไม่สิ้นการปราบปรามประชาชนยังคงมี
ขบวนการนักศึกษา ๑๑ ตุลาคม ๒๔๙๕ ก่อให้เกระแสการคัดค้านเผด็จการ การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย สันติภาพ เอกราช การกินดี อยู่ดี ของประชาชนได้แผ่ขยายกว้างไปสู่ประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา กรรมกร ชาวนาทั้งในกรุงเทพมหานคร และในชนบทมากยิ่งขึ้น จนเป็นที่หวาดหวั่นแก่ผู้ครองอำนาจเผด็จการซึ่งกลัวพลังมวลชน ด้วยเหตุนี้ ภายหลังจากการจัดงานวันที่ ๕ พฤศจิกายน ปี ๒๔๙๕ เพื่อเฉลิมฉลองการได้มหาวิทยาลัยกลับคืนมา และเพื่อสร้างสรรค์ความสามัคคีระหว่าง นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน ผู้รักชาติ รักประชาธิปไตยที่ผ่านไปด้วยความชื่นชมยังไม่ทันจางหาย ทุกคนก็ต้องตกตะลึงว่า “เอาอีกแล้ว” ต่อข่าวการจับกุมกวาดล้างประชาชนครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ ด้วยข้อหากบฏภายในภายนอกราชอาณาจักรหรือที่เรียกว่า “กบฏสันติภาพ” หรือ “กบฏ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๕”
มีผู้ถูกจับกุมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังกวัด ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง เป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ จากผู้มีอาชีพต่าง ๆ ตั้งแต่ นักศึกษา นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง นักกฎหมายทนายความ กรรกร ชาวไร่ ชาวนา ตลอดจนทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ
การจับกุมกวาดล้างประชาชนครั้งใหญ่เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ ทำให้เอกราชอธิปไตย สันติภาพ ประชาธิปไตยของประเทศต้องถอยหลังจมดิ่งสู่ยุคแห่งความมืดมนด้วยอำนาจเผด็จการยิ่งขึ้น เนื่องด้วยหลังจากการจับกุมประชาชน ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ เพียง ๓ วัน รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามก็ได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ เข้าร่วมสนธิสัญญาร่วมมือทางทหารและเศรษฐกิจกับสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมสนธิสัญญาตะวันออกเฉียงใต้ ที่เรียกว่า ซีอาโต เพื่อร่วมกับประเทศในเอเซียอาคเนย์ต่อสู้ปราบปรามคอมมิวนิสต์ ส่งทหารไปรบในสงครามเกาหลีร่วมกับสหรัฐอเมริกา แซงชั่นสินค้าที่เรียกว่ายุทธปัจจัยไม่ให้ส่งไปประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน คัดค้านประเทศสังคมนิยม ตามนโยบายสหรัฐอเมริกา เป็นเหตุให้ประเทศไทยต้องสูญเสียความเป็นเอกราชอธิปไตยทางการเมือง ทางทหาร เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ถูกแทรกแซงจากต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และทางความคิด ไม่สามารถดำเนินนโยบาย เอกราช ประชาธิปไตย เป็นกลาง ไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนที่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลเผด็จการสมัยนั้น
นับตั้งแต่ “รัฐประหาร” ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ประเทศไทยได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของคณะทหารตลอดมา ประชาธิปไตยต้องประสบกับการคุกคาม บ่อนทำลาย ปราบปรามมาโดยตลอด ตั้งแต่จอมพล ป.พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สืบต่อมาถึงสมัยจอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียร นักศึกษา ประชาชน ได้เรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย คัดค้านอำนาจเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศมาเป็นระยะเวลายาวนาน จนเกิดการชุมนุมเรียกร้องคัดค้านของนักศึกษา ประชาชนครั้งยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ขับไล่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร-จอมพลประภาส จารุเสถียร จนออกนอกประเทศ
นายสัญญา ธรรมศักดิ์ได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้ระบอบประชาธิปไตยที่พอจะเฟื่องฟู ประชาชน พอที่จะได้ร่าเริงเบิกบานในสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตยได้ชั่วระยะหนึ่ง เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ หฤโหด ที่นักศึกษา ประชาชน ถูกปราบปราม เข่นฆ่า จับกุม ทำร้ายอย่างทารุณโหดเหี้ยมก็ได้เกิดขึ้น จนต้องหนีกระเซอะกระเซิงเข้าป่าดงด้วยอำนาจเผด็จการที่หวนกลับมาอีก
ภายหลังจากกรณี ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ผ่านไปประชาธิปไตยที่ถูกทำลายล้มฟุบไป เมล็ดพืชประชาธิปไตยของนักประชาธิปไตยรุ่นใหม่ก็ได้ผลิดอกออกผลแตกกิ่งก้านสาขาไปทั่วประเทศ ทั่วทุกสำนัก ทำให้ประชาธิปไตยที่ถูกทำลายล้มลงไปกลับฟื้นคืนชีพมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีก มีพรรคการเมือง มีสมาชิกสภาพผู้แทนราษฎร มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยในรูปแบบของยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ประสานอำนาจปกครองประเทศด้วยกลุ่มธนาธิปไตย อมาตยาธิปไตย ธรุกิจธิปไตย กระทั่งมายาธิปไตย ทำให้โฉมหน้าประชาธิปไตยของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน เปลี่ยนไปเป็นเพียงเพื่อชนกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร การปกครองซึ่งเป็นประชาธิปไตยของคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นอภิสิทธิ์ชนเท่านั้น
บนพื้นฐานของกลุ่มอำนาจเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งต่อสู้ระหว่างกลุ่มอำนาจต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มอำนาจเก่ากับอำนาจใหม่ ระหว่างความคิดเก่ากับความคิดใหม่ ระหว่างพรรคการเมืองกับการพรรคการเมือง และระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตย เพื่อช่วงชิงผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจปกครองตามวิถีทางระบอบประชาธิปไตย ได้ทำให้บรรยากาศประชาธิปไตยโปร่งใส่ขึ้นบ้าง
เป็นที่เชื่อกันว่า การยึดอำนาจปฏิวัติรัฐประหารด้วยการใช้กำลังล้มล้างรัฐบาล เลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภา ทำให้ประชาธิปไตยที่มีอยู่บ้างเพียงเสี้ยว ๆ ต้องหดถอยหลังกลับไปสู่ยุคเผด็จการ จนเป็นเหตุให้เกิดพลังประชาชนที่คัดค้านอำนาจเผด็จการ ร.ส.ช.อย่างกว้างขวาง และเกิดการปราบปรามประชาชนอย่างทารุณโหดร้ายขึ้นเมื่อเดือน พฤษภาคม ๒๕๓๕ หฤโหดที่กระฉ่อนไปทั่วโลก
จึงเป็นภาระหน้าที่ของประชาชนผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย ที่จะต้องช่วยกันระมัดระวังด้วยสติปัญญา ด้วยความไม่ประมาท เก็บรับบทเรียนการต่อสู้ที่ผ่านมาในอดีตเพื่อต่อสู้ให้ได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และสืบทอดเจตนารมณ์ประชาธิปไตยที่บรรพบุรุษและวีรชนได้เสียสละชีวิตและเลือดเนื้อเพื่อให้ได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตยของประชาชนสืบต่อไป.
เกี่ยวกับผู้เขียน
สัมผัส พึ่งประดิษฐ์ : อดีตประธาน ต.ม.ธ.ก. รุ่น จ อดีตเลขานุการคณะกรรมการนักศึกษา ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ อดีตบรรณากรหนังสือวันปรีดี พนมยงค์ ๑๑ พ.ค. ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึง พ.ศ.๒๕๓๕
ดาวน์โหลด PDF ที่ http://rapidshare.com/files/33087199/article135.pdf.html
สัมผัส พึ่งประดิษฐ์
เผด็จการยังไม่สิ้นการปราบปรามประชาชนยังคงมี
ขบวนการนักศึกษา ๑๑ ตุลาคม ๒๔๙๕ ก่อให้เกระแสการคัดค้านเผด็จการ การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย สันติภาพ เอกราช การกินดี อยู่ดี ของประชาชนได้แผ่ขยายกว้างไปสู่ประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา กรรมกร ชาวนาทั้งในกรุงเทพมหานคร และในชนบทมากยิ่งขึ้น จนเป็นที่หวาดหวั่นแก่ผู้ครองอำนาจเผด็จการซึ่งกลัวพลังมวลชน ด้วยเหตุนี้ ภายหลังจากการจัดงานวันที่ ๕ พฤศจิกายน ปี ๒๔๙๕ เพื่อเฉลิมฉลองการได้มหาวิทยาลัยกลับคืนมา และเพื่อสร้างสรรค์ความสามัคคีระหว่าง นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน ผู้รักชาติ รักประชาธิปไตยที่ผ่านไปด้วยความชื่นชมยังไม่ทันจางหาย ทุกคนก็ต้องตกตะลึงว่า “เอาอีกแล้ว” ต่อข่าวการจับกุมกวาดล้างประชาชนครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ ด้วยข้อหากบฏภายในภายนอกราชอาณาจักรหรือที่เรียกว่า “กบฏสันติภาพ” หรือ “กบฏ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๕”
มีผู้ถูกจับกุมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังกวัด ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง เป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ จากผู้มีอาชีพต่าง ๆ ตั้งแต่ นักศึกษา นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง นักกฎหมายทนายความ กรรกร ชาวไร่ ชาวนา ตลอดจนทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ
การจับกุมกวาดล้างประชาชนครั้งใหญ่เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ ทำให้เอกราชอธิปไตย สันติภาพ ประชาธิปไตยของประเทศต้องถอยหลังจมดิ่งสู่ยุคแห่งความมืดมนด้วยอำนาจเผด็จการยิ่งขึ้น เนื่องด้วยหลังจากการจับกุมประชาชน ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ เพียง ๓ วัน รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามก็ได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ เข้าร่วมสนธิสัญญาร่วมมือทางทหารและเศรษฐกิจกับสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมสนธิสัญญาตะวันออกเฉียงใต้ ที่เรียกว่า ซีอาโต เพื่อร่วมกับประเทศในเอเซียอาคเนย์ต่อสู้ปราบปรามคอมมิวนิสต์ ส่งทหารไปรบในสงครามเกาหลีร่วมกับสหรัฐอเมริกา แซงชั่นสินค้าที่เรียกว่ายุทธปัจจัยไม่ให้ส่งไปประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน คัดค้านประเทศสังคมนิยม ตามนโยบายสหรัฐอเมริกา เป็นเหตุให้ประเทศไทยต้องสูญเสียความเป็นเอกราชอธิปไตยทางการเมือง ทางทหาร เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ถูกแทรกแซงจากต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และทางความคิด ไม่สามารถดำเนินนโยบาย เอกราช ประชาธิปไตย เป็นกลาง ไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนที่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลเผด็จการสมัยนั้น
นับตั้งแต่ “รัฐประหาร” ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ประเทศไทยได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของคณะทหารตลอดมา ประชาธิปไตยต้องประสบกับการคุกคาม บ่อนทำลาย ปราบปรามมาโดยตลอด ตั้งแต่จอมพล ป.พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สืบต่อมาถึงสมัยจอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียร นักศึกษา ประชาชน ได้เรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย คัดค้านอำนาจเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศมาเป็นระยะเวลายาวนาน จนเกิดการชุมนุมเรียกร้องคัดค้านของนักศึกษา ประชาชนครั้งยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ขับไล่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร-จอมพลประภาส จารุเสถียร จนออกนอกประเทศ
นายสัญญา ธรรมศักดิ์ได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้ระบอบประชาธิปไตยที่พอจะเฟื่องฟู ประชาชน พอที่จะได้ร่าเริงเบิกบานในสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตยได้ชั่วระยะหนึ่ง เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ หฤโหด ที่นักศึกษา ประชาชน ถูกปราบปราม เข่นฆ่า จับกุม ทำร้ายอย่างทารุณโหดเหี้ยมก็ได้เกิดขึ้น จนต้องหนีกระเซอะกระเซิงเข้าป่าดงด้วยอำนาจเผด็จการที่หวนกลับมาอีก
ภายหลังจากกรณี ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ผ่านไปประชาธิปไตยที่ถูกทำลายล้มฟุบไป เมล็ดพืชประชาธิปไตยของนักประชาธิปไตยรุ่นใหม่ก็ได้ผลิดอกออกผลแตกกิ่งก้านสาขาไปทั่วประเทศ ทั่วทุกสำนัก ทำให้ประชาธิปไตยที่ถูกทำลายล้มลงไปกลับฟื้นคืนชีพมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีก มีพรรคการเมือง มีสมาชิกสภาพผู้แทนราษฎร มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยในรูปแบบของยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ประสานอำนาจปกครองประเทศด้วยกลุ่มธนาธิปไตย อมาตยาธิปไตย ธรุกิจธิปไตย กระทั่งมายาธิปไตย ทำให้โฉมหน้าประชาธิปไตยของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน เปลี่ยนไปเป็นเพียงเพื่อชนกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร การปกครองซึ่งเป็นประชาธิปไตยของคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นอภิสิทธิ์ชนเท่านั้น
บนพื้นฐานของกลุ่มอำนาจเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งต่อสู้ระหว่างกลุ่มอำนาจต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มอำนาจเก่ากับอำนาจใหม่ ระหว่างความคิดเก่ากับความคิดใหม่ ระหว่างพรรคการเมืองกับการพรรคการเมือง และระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตย เพื่อช่วงชิงผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจปกครองตามวิถีทางระบอบประชาธิปไตย ได้ทำให้บรรยากาศประชาธิปไตยโปร่งใส่ขึ้นบ้าง
เป็นที่เชื่อกันว่า การยึดอำนาจปฏิวัติรัฐประหารด้วยการใช้กำลังล้มล้างรัฐบาล เลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภา ทำให้ประชาธิปไตยที่มีอยู่บ้างเพียงเสี้ยว ๆ ต้องหดถอยหลังกลับไปสู่ยุคเผด็จการ จนเป็นเหตุให้เกิดพลังประชาชนที่คัดค้านอำนาจเผด็จการ ร.ส.ช.อย่างกว้างขวาง และเกิดการปราบปรามประชาชนอย่างทารุณโหดร้ายขึ้นเมื่อเดือน พฤษภาคม ๒๕๓๕ หฤโหดที่กระฉ่อนไปทั่วโลก
จึงเป็นภาระหน้าที่ของประชาชนผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย ที่จะต้องช่วยกันระมัดระวังด้วยสติปัญญา ด้วยความไม่ประมาท เก็บรับบทเรียนการต่อสู้ที่ผ่านมาในอดีตเพื่อต่อสู้ให้ได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และสืบทอดเจตนารมณ์ประชาธิปไตยที่บรรพบุรุษและวีรชนได้เสียสละชีวิตและเลือดเนื้อเพื่อให้ได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตยของประชาชนสืบต่อไป.
เกี่ยวกับผู้เขียน
สัมผัส พึ่งประดิษฐ์ : อดีตประธาน ต.ม.ธ.ก. รุ่น จ อดีตเลขานุการคณะกรรมการนักศึกษา ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ อดีตบรรณากรหนังสือวันปรีดี พนมยงค์ ๑๑ พ.ค. ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึง พ.ศ.๒๕๓๕
ดาวน์โหลด PDF ที่ http://rapidshare.com/files/33087199/article135.pdf.html
No comments:
Post a Comment