สดุดีเกียรติคุณท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์
(เนื่องในวันที่ท่านผู้หญิงพูนศูข พนมยงค์ถึงแก่อสัญกรรมวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐)
(เนื่องในวันที่ท่านผู้หญิงพูนศูข พนมยงค์ถึงแก่อสัญกรรมวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐)
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๕ ที่จังหวัดสมุทรปราการ เป็นธิดาคนที่ ๕ ของมหาอำมาตย์ตรีพระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร) กับคุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิต (สกุลเดิมสุวรรณศร) เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟอคอนแวนต์ ตั้งแต่ชั้นประถม ๑ จนถึงมัธยม ๗ สมรสกับศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ มีบุตรธิดา รวมทั้งสิ้น ๖ คน
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ อาจจะมิใช่นักวิชาการ นักบริหาร หรือนักการเมืองที่โดดเด่นมีชื่อเสียง แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ประวัติชีวิตและประสบการณ์ของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ นั้น เป็นส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งของประเทศไทย ท่ามกลางกระแสแห่งความผันผวนปรวนแปรทางการเมืองที่ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ถูกกระทบอย่างหนักหน่วงรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่านับตั้งแต่เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพและประชาธิปไตย
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ก็ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นเช่นกัน อาทิ ย่ำรุ่งของวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ คณะรัฐประหารนำโดย พลโทผิน ชุณหะวัน (ยศในขณะนั้น) ได้สั่งการให้ขบวนรถถังบุกมาที่ทำเนียบท่าช้างและยิงถล่มไปที่เป้าหมายคือห้องนอนของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ต้องปกป้องบุตรธิดาแต่เพียงลำพัง เนื่องจากศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ได้หลบหนีออกไปก่อนเพียงไม่กี่นาที และต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ
นับแต่นั้นมาท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ได้แบกรับหน้าที่การเป็นพ่อและแม่ในคราวเดียวกันด้วยความอดทน ให้ความรักและความอบอุ่นแก่ลูก ๆ รวมทั้งติดตามข่าวสารและหาหนทางติดต่อคอยช่วยเหลือศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ตลอดเวลา
เมื่อจับศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ไม่ได้ ครอบครัวพนมยงค์ก็ได้รับการกลั่นแกล้งจากผู้มีอำนาจในแผ่นดินมาโดยตลอด ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เองก็ถูกตำรวจับกุมในข้อหา “กบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร” เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ ถูกคุมขังอยู่ ๘๔ วัน กว่าตำรวจจะเสนอเรื่องไปยังกรมอัยการ เมื่อกรมอัยการพิจารณาแล้ว ปรากฎว่าไม่มีหลักฐานฟ้องฐานกบฎได้ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์จึงได้รับการปล่อยตัว
เป็นที่ประจักษ์กันดีว่า ไม่ว่าจะทุกข์จะสุขจะรุ่งเรืองหรือถูกรังแกอย่างไร ต้องติดคุก ต้องหลบหนีภัยต่าง ๆ นานา ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ยังคงแข็งแกร่งยืนหยัดอยู่เคียงข้างคอยเป็นกำลังใจให้ศาสตราจารย์ต่อสู้เพื่ออุดมการณ์มาโดยตลอด
แม้ในยามรุ่งเรืองได้ดำรงฐานะภริยาของผู้มีตำแหน่งหน้าที่สูงสุดในการบริหารประเทศ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ก็ไม่เคยอาศัยตำแหน่งของสามีตักตวงผลประโยชน์เพื่อตนเอง เพื่อพวกพ้องหรือเพื่อวงศ์ตระกูลแต่อย่างไร และไม่เคยเข้าไปแทรกแซงเกี่ยวข้องการงานในหน้าที่ของสามีแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ กลับดำรงชีวิตอย่างสมถะ แต่มีความสุขอย่างเรียบง่าย ยึดมั่นในการรักษาศีล ละเว้นอบายมุขตามหลักธรรมคำสอน มีเมตตาเผื่อแผ่เพื่อนมนุษย์ และกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ประพฤติปฏิบัติอย่างเสมอต้นเสมอปลายจนทุกวันนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นบทเรียนที่ล้ำค่าสำหรับทุกคน
แต่เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้น ขณะที่ญี่ปุ่นรุกรานประเทศไทย ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ พร้อมด้วยชาวไทยผู้รักชาติ ได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้น เพื่อต่อสู้ป้องกันเอกราชอธิปไตยของชาติ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ได้เข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเสรีไทยคนหนึ่ง ด้วยการใช้ความรู้ความสามารถทางด้านภาษาที่ศึกษามาจากโรงเรียนคอนแวนต์ รับฟังวิทยุติดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยลายมือโดยไม่ใช่เครื่องพิมพ์ดีด ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้แก่เสรีไทยที่มาปรึกษางานกับศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเหตุการณ์และการกระทำบางส่วนของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เท่านั้น ในฐานะภรรยาอาจมองได้ว่าเป็นเรื่องปกติวิสัยของผู้เป็นคู่ชีวิตร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา แต่หากท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ มิได้มีจิตสำนึกในเรื่องประชาธิปไตยและการรับใช้ชาติแล้ว ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ก็คงไม่อุทิศตนและเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างอย่างที่ทราบกัน นับได้ว่าท่านผู้หญิง พนมยงค์ เป็นส่วนสำคัญยิ่งส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนคุณูปการทั้งหลายที่ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้ทำไว้ จนได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย การเป็นผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และการได้รับสมญานามว่าเป็นคนดีศรีสยาม
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ยังมีบทบาทสำคัญในการสืบทอดเจตนารมณ์เกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้สร้างไว้ร่วมกับลูกหลานศิษย์เก่า รวมทั้งผู้เคารพศรัทธาในศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ นอกจากท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์จะดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิปรีดี พนมยงค์แล้ว ท่านยังกรุณาเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการจัดงานเชิดชูเกียรติศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาล และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ยังให้คำปรึกษา แนะนำและเสนอความคิดเห็นแก่บุคคล องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจกรรมหรือโครงการที่เป็นการสานต่ออุดมการณ์ของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เป็นการสูญเสียบุคคลสำคัญที่มีคุณงามความดีต่อประเทศชาติไปอีกท่านหนึ่ง แต่คุณงามความดีและคุณูปการของท่านรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์จะถูกประชาชนชาวไทยจารึกจดจำไว้ตราบนาน
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ อาจจะมิใช่นักวิชาการ นักบริหาร หรือนักการเมืองที่โดดเด่นมีชื่อเสียง แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ประวัติชีวิตและประสบการณ์ของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ นั้น เป็นส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งของประเทศไทย ท่ามกลางกระแสแห่งความผันผวนปรวนแปรทางการเมืองที่ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ถูกกระทบอย่างหนักหน่วงรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่านับตั้งแต่เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพและประชาธิปไตย
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ก็ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นเช่นกัน อาทิ ย่ำรุ่งของวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ คณะรัฐประหารนำโดย พลโทผิน ชุณหะวัน (ยศในขณะนั้น) ได้สั่งการให้ขบวนรถถังบุกมาที่ทำเนียบท่าช้างและยิงถล่มไปที่เป้าหมายคือห้องนอนของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ต้องปกป้องบุตรธิดาแต่เพียงลำพัง เนื่องจากศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ได้หลบหนีออกไปก่อนเพียงไม่กี่นาที และต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ
นับแต่นั้นมาท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ได้แบกรับหน้าที่การเป็นพ่อและแม่ในคราวเดียวกันด้วยความอดทน ให้ความรักและความอบอุ่นแก่ลูก ๆ รวมทั้งติดตามข่าวสารและหาหนทางติดต่อคอยช่วยเหลือศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ตลอดเวลา
เมื่อจับศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ไม่ได้ ครอบครัวพนมยงค์ก็ได้รับการกลั่นแกล้งจากผู้มีอำนาจในแผ่นดินมาโดยตลอด ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เองก็ถูกตำรวจับกุมในข้อหา “กบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร” เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ ถูกคุมขังอยู่ ๘๔ วัน กว่าตำรวจจะเสนอเรื่องไปยังกรมอัยการ เมื่อกรมอัยการพิจารณาแล้ว ปรากฎว่าไม่มีหลักฐานฟ้องฐานกบฎได้ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์จึงได้รับการปล่อยตัว
เป็นที่ประจักษ์กันดีว่า ไม่ว่าจะทุกข์จะสุขจะรุ่งเรืองหรือถูกรังแกอย่างไร ต้องติดคุก ต้องหลบหนีภัยต่าง ๆ นานา ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ยังคงแข็งแกร่งยืนหยัดอยู่เคียงข้างคอยเป็นกำลังใจให้ศาสตราจารย์ต่อสู้เพื่ออุดมการณ์มาโดยตลอด
แม้ในยามรุ่งเรืองได้ดำรงฐานะภริยาของผู้มีตำแหน่งหน้าที่สูงสุดในการบริหารประเทศ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ก็ไม่เคยอาศัยตำแหน่งของสามีตักตวงผลประโยชน์เพื่อตนเอง เพื่อพวกพ้องหรือเพื่อวงศ์ตระกูลแต่อย่างไร และไม่เคยเข้าไปแทรกแซงเกี่ยวข้องการงานในหน้าที่ของสามีแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ กลับดำรงชีวิตอย่างสมถะ แต่มีความสุขอย่างเรียบง่าย ยึดมั่นในการรักษาศีล ละเว้นอบายมุขตามหลักธรรมคำสอน มีเมตตาเผื่อแผ่เพื่อนมนุษย์ และกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ประพฤติปฏิบัติอย่างเสมอต้นเสมอปลายจนทุกวันนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นบทเรียนที่ล้ำค่าสำหรับทุกคน
แต่เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้น ขณะที่ญี่ปุ่นรุกรานประเทศไทย ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ พร้อมด้วยชาวไทยผู้รักชาติ ได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้น เพื่อต่อสู้ป้องกันเอกราชอธิปไตยของชาติ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ได้เข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเสรีไทยคนหนึ่ง ด้วยการใช้ความรู้ความสามารถทางด้านภาษาที่ศึกษามาจากโรงเรียนคอนแวนต์ รับฟังวิทยุติดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยลายมือโดยไม่ใช่เครื่องพิมพ์ดีด ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้แก่เสรีไทยที่มาปรึกษางานกับศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเหตุการณ์และการกระทำบางส่วนของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เท่านั้น ในฐานะภรรยาอาจมองได้ว่าเป็นเรื่องปกติวิสัยของผู้เป็นคู่ชีวิตร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา แต่หากท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ มิได้มีจิตสำนึกในเรื่องประชาธิปไตยและการรับใช้ชาติแล้ว ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ก็คงไม่อุทิศตนและเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างอย่างที่ทราบกัน นับได้ว่าท่านผู้หญิง พนมยงค์ เป็นส่วนสำคัญยิ่งส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนคุณูปการทั้งหลายที่ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้ทำไว้ จนได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย การเป็นผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และการได้รับสมญานามว่าเป็นคนดีศรีสยาม
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ยังมีบทบาทสำคัญในการสืบทอดเจตนารมณ์เกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้สร้างไว้ร่วมกับลูกหลานศิษย์เก่า รวมทั้งผู้เคารพศรัทธาในศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ นอกจากท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์จะดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิปรีดี พนมยงค์แล้ว ท่านยังกรุณาเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการจัดงานเชิดชูเกียรติศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาล และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ยังให้คำปรึกษา แนะนำและเสนอความคิดเห็นแก่บุคคล องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจกรรมหรือโครงการที่เป็นการสานต่ออุดมการณ์ของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เป็นการสูญเสียบุคคลสำคัญที่มีคุณงามความดีต่อประเทศชาติไปอีกท่านหนึ่ง แต่คุณงามความดีและคุณูปการของท่านรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์จะถูกประชาชนชาวไทยจารึกจดจำไว้ตราบนาน
No comments:
Post a Comment