สืบทอดเจตนารมณ์ประชาธิปไตย รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์
สัมผัส พึ่งประดิษฐ์
วัน “ปรีดี พนมยงค์” ๑๑ พฤษภาคม เป็นวันรำลึกท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองผู้มีบุญคุณต่อประชาชาติไทย และผู้ก่อกำเนิดประชาธิป-ไตยแก่สยามประเทศ ซึ่งทำให้ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยปณิธานที่รำลึกเกียรติคุณ หนุนกตเวที สามัคคีปวงประชา เพื่อชาติและราษฎรไทย ซึ่งเป็นคำขวัญของชมรม ต.ม.ธ.ก.สัมพันธ์
ในขณะเดียวกันก็ให้หวนนึกถึงเหตุการณ์ รัฐประหารเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ที่คณะทหารกลุ่มหนึ่งทำการรัฐประหารยึดอำนาจปกครอง ทำให้รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัยการเมืองไปจากผืนแผ่นดินไทยตลอดชีวิตท่าน ทำให้พวกเราต้องหวนอาลัยถึงท่านด้วยความเคารพรักตลอดเวลาไม่เพียงแต่เท่านั้น รัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ยังเป็นเหตุให้ประเทศชาติที่กำลังเข้าสู่ความเป็นเอกราช ประชาธิปไตย ถอยหลังกลับไปสู่ยุคที่ปกครองด้วยอำนาจเผด็จการทหาร หันกลับไปสู่ความด้อยพัฒนาและเข้าสู่ยุคมืด ที่ประชาชนผู้รักชาติประชาธิปไตยถูกคุกคามปราบปรามอย่างทารุณโหดร้ายด้วยอำนาจเผด็จการ แกระทั่งทำให้เกิดวงจรอุบาทว์เกิดขึ้นจนตราบเท่าทุกวันนี้
ในทางกลับกันก็เป็นเหตุการณ์ที่ให้บทเรียนแก่การต่อสู้ทางการเมืองนับตั้งแต่รัฐบรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ เปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ถึงปัจจุบันนั้นว่า การต่อสู้ระหว่างอำนาจเผด็จการกับประชาชนผู้รักประชาธิไตยหาได้หยุดยั้งเลยไม่ ถึงแม้จะถูกคุกคามปราบปรามอย่างไร ก็ไม่ทำให้การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยของประชาชนถดถอยลงแต่อย่างใด แต่กลับจะพัฒนาก้าวขยายและลงลึกสู่ประชาชนกว้างขวางยิ่งขึ้น
อีกทั้งยังเป็นบทเรียนที่แสดงให้เห็นว่า กาลเวลาที่ล่วงเลยไปแล้วนั้นย่อมไม่อาจหวนทวนกลับมาได้อีก แต่สำหรับเผด็จการนั้น แม้กาลเวลาจะผ่านล่วงเลยไป เผด็จการย่อมที่จะหวนทวนกลับมาได้อีกเสมอ เพราะอำนาจเผด็จการที่ครองอำนาจการปกครองประเทศมาเป็นเวลานับร้อย ๆ ปีย่อมไม่อาจที่จะยอมวางอำนาจ หรือขุดรากถอนโคนให้ผมดสิ้นไปได้โดยง่ายภายในระยะเวลาสั้น ๆ เผด็จการหน้าเก่าสิ้นไป หน้าใหม่ก็เข้ามาแทนเพื่อรักษาอำนาจเผด็จการไว้ จนกว่าจะสูญสิ้นไปด้วยพลังประชาชนผู้รักชาติรักประชาธิปไตย
การต่อสู้กับอำนาจเผด็จการเป็นกระบวนการต่อสู้ของประชาชนที่ยาวนานในช่วงระยะเวลาประวัติศาสตร์ ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ไม่อาจสถาปนาขึ้นได้ง่าย ๆ ดังใจคิด หรือเพียงแค่ได้อำนาจปกครองประเทศแล้วเท่านั้น หากแต่จะต้องผ่านกระบวนการต่อสู้ทางความคิดการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สืบทอดต่อกันไปด้วยเลือดด้วยชีวิตที่ดุเดือด ยาวนาน คนแล้วคนเล่า ตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน และสืบต่อไปในอนาคต
ดังนั้นเมื่อรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ได้ปักธงประชาธิปไตยลงบนผืนแผ่นดินไทย และได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเพื่อเสริมสร้างแลพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ให้มั่นคงก้าวหน้าและก้าวขยายไปสู่ประชาชนตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ผู้เป็นเสาหลักประชาธิปไตยโดยแท้ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองซึ่งเป็นฐานที่มั่นประชาธิปไตยจึงตกเป็นเป้าหมายของการถูกบ่อนทำลาย เพื่อมิให้ประชาธิปไตยเจริญเติบโตบนผืนแผ่นดินไทยด้วยอำนาจเผด็จการตลอดมา
สัมผัส พึ่งประดิษฐ์
วัน “ปรีดี พนมยงค์” ๑๑ พฤษภาคม เป็นวันรำลึกท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองผู้มีบุญคุณต่อประชาชาติไทย และผู้ก่อกำเนิดประชาธิป-ไตยแก่สยามประเทศ ซึ่งทำให้ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยปณิธานที่รำลึกเกียรติคุณ หนุนกตเวที สามัคคีปวงประชา เพื่อชาติและราษฎรไทย ซึ่งเป็นคำขวัญของชมรม ต.ม.ธ.ก.สัมพันธ์
ในขณะเดียวกันก็ให้หวนนึกถึงเหตุการณ์ รัฐประหารเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ที่คณะทหารกลุ่มหนึ่งทำการรัฐประหารยึดอำนาจปกครอง ทำให้รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัยการเมืองไปจากผืนแผ่นดินไทยตลอดชีวิตท่าน ทำให้พวกเราต้องหวนอาลัยถึงท่านด้วยความเคารพรักตลอดเวลาไม่เพียงแต่เท่านั้น รัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ยังเป็นเหตุให้ประเทศชาติที่กำลังเข้าสู่ความเป็นเอกราช ประชาธิปไตย ถอยหลังกลับไปสู่ยุคที่ปกครองด้วยอำนาจเผด็จการทหาร หันกลับไปสู่ความด้อยพัฒนาและเข้าสู่ยุคมืด ที่ประชาชนผู้รักชาติประชาธิปไตยถูกคุกคามปราบปรามอย่างทารุณโหดร้ายด้วยอำนาจเผด็จการ แกระทั่งทำให้เกิดวงจรอุบาทว์เกิดขึ้นจนตราบเท่าทุกวันนี้
ในทางกลับกันก็เป็นเหตุการณ์ที่ให้บทเรียนแก่การต่อสู้ทางการเมืองนับตั้งแต่รัฐบรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ เปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ถึงปัจจุบันนั้นว่า การต่อสู้ระหว่างอำนาจเผด็จการกับประชาชนผู้รักประชาธิไตยหาได้หยุดยั้งเลยไม่ ถึงแม้จะถูกคุกคามปราบปรามอย่างไร ก็ไม่ทำให้การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยของประชาชนถดถอยลงแต่อย่างใด แต่กลับจะพัฒนาก้าวขยายและลงลึกสู่ประชาชนกว้างขวางยิ่งขึ้น
อีกทั้งยังเป็นบทเรียนที่แสดงให้เห็นว่า กาลเวลาที่ล่วงเลยไปแล้วนั้นย่อมไม่อาจหวนทวนกลับมาได้อีก แต่สำหรับเผด็จการนั้น แม้กาลเวลาจะผ่านล่วงเลยไป เผด็จการย่อมที่จะหวนทวนกลับมาได้อีกเสมอ เพราะอำนาจเผด็จการที่ครองอำนาจการปกครองประเทศมาเป็นเวลานับร้อย ๆ ปีย่อมไม่อาจที่จะยอมวางอำนาจ หรือขุดรากถอนโคนให้ผมดสิ้นไปได้โดยง่ายภายในระยะเวลาสั้น ๆ เผด็จการหน้าเก่าสิ้นไป หน้าใหม่ก็เข้ามาแทนเพื่อรักษาอำนาจเผด็จการไว้ จนกว่าจะสูญสิ้นไปด้วยพลังประชาชนผู้รักชาติรักประชาธิปไตย
การต่อสู้กับอำนาจเผด็จการเป็นกระบวนการต่อสู้ของประชาชนที่ยาวนานในช่วงระยะเวลาประวัติศาสตร์ ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ไม่อาจสถาปนาขึ้นได้ง่าย ๆ ดังใจคิด หรือเพียงแค่ได้อำนาจปกครองประเทศแล้วเท่านั้น หากแต่จะต้องผ่านกระบวนการต่อสู้ทางความคิดการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สืบทอดต่อกันไปด้วยเลือดด้วยชีวิตที่ดุเดือด ยาวนาน คนแล้วคนเล่า ตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน และสืบต่อไปในอนาคต
ดังนั้นเมื่อรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ได้ปักธงประชาธิปไตยลงบนผืนแผ่นดินไทย และได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเพื่อเสริมสร้างแลพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ให้มั่นคงก้าวหน้าและก้าวขยายไปสู่ประชาชนตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ผู้เป็นเสาหลักประชาธิปไตยโดยแท้ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองซึ่งเป็นฐานที่มั่นประชาธิปไตยจึงตกเป็นเป้าหมายของการถูกบ่อนทำลาย เพื่อมิให้ประชาธิปไตยเจริญเติบโตบนผืนแผ่นดินไทยด้วยอำนาจเผด็จการตลอดมา
No comments:
Post a Comment