Friday, February 27, 2009
บทความที่๔๕๐.บทเรียนที่รัฐบาลเผด็จการชนชั้นไม่เคยจำ กรณีขอตัวผู้ร้ายข้ามแดน
บทความที่๔๔๙.ลัทธิสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ล้าสมัยและล่มสลาย?(จบ)
Thursday, February 26, 2009
บทความที่๔๔๘.ลัทธิสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ล้าสมัยและล่มสลาย?(๗)
บทความที่๔๔๗.ลัทธิสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ล้าสมัยและล่มสลาย?(๖)
บทความที่๔๔๖.ลัทธิสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ล้าสมัยและล่มสลาย?(๕)
(จากหนังสือของคุณสุพจน์ ด่านตระกูล ปี 2541)
ดังนั้นการที่สังคมเข้าถือเอาเครื่องมือและปัจจัยการผลิตของนายทุนเอกชนกลับคืนมาเป็นของสังคม จึงเป็นความชอบธรรมอย่างยิ่ง หลังจากที่สังคมได้รับการปฏิบัติที่ไม่ชอบธรรมจากชนชั้นผู้กดขี่ขูดรีด มาเป็นเวลาอันยาวนานในประวัติศาสตร์แห่งวิวัฒนาการของสังคม
ในส่วนที่เกี่ยวกับวิสาหกิจขนาดย่อม เฉพาะอย่างยิ่งในกิจการที่บุคคลผู้เป็นเจ้าของได้มีบทบาทสำคัญในการผลิตนั้น รูปการย่อมแตกต่างกับกิจการของบริษัทใหญ่ๆดังกล่าวแล้ว
เป็นที่เห็นได้ชัดว่า การที่จะเข้าถือเอาและเข้าดำเนินการจัดการโรงงานขนาดย่อมจำนวนมาก ที่ตั้งอยู่ในที่ต่างๆ กันนั้น เป็นงานอันยากยิ่งและสุดวิสัยทีเดียวที่จะลงมือปฏิบัติในระยะเริ่มแรกที่เตรียมตัวเข้าสู่สังคมนิยม
สิ่งที่เป็นสาระสำคัญในขั้นเริ่มแรกนี้ คือการเตรียมลู่ทางเพื่อให้มีหน่วยจัดการศูนย์กลางที่ใช้กับวิสาหกิจขนาดย่อมเหล่านี้ รวมทั้งกิจการอุตสาหกรรมตามหัวเมืองและเกษตรกรรมย่อมๆ
มรรควิธีที่เป็นการทั่วไปเกี่ยวกับกิจการขนาดย่อมเหล่านี้ในขั้นต้นนั้นได้แก่การส่งเสริมให้มีการเข้าร่วมมือในการทำงาน เพื่อให้ผู้ผลิตขนาดย่อมเหล่านี้ได้เรียนรู้ถึงการผลิตร่วมกัน และให้มีการจัดตั้งหน่วยอำนวยการผลิตขึ้นหน่วยเดียว แทนที่จะปล่อยให้ต่างคนต่างดำเนินการผลิตไปตามบุญตามกรรม ดังที่ทำกันมาในระบบทุนนิยม
ท่านนักวิทยาศาสตร์สังคมได้ให้คำชี้แจงในเรื่องเกี่ยวกับผู้ที่มีที่ดินขนาดย่อมไว้ดังนี้
“ภาระของเราอยู่ที่ว่า จะต้องเปลี่ยนรูปการทำงานของบุคคลประเภทนั้น ที่เป็นการผลิตของแต่ละคนและเป็นการถือกรรมสิทธิ์ของแต่ละคน ให้เป็นการผลิตแบบรวมหมู่ หรือแบบสหการและเป็นการถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ทั้งนี้,โดยมิใช่วิธีการบังคับ แต่โดยการกระทำให้เห็นเป็นตัวอย่างและโดยการให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนเพื่อความประสงค์ข้อนี้”
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตซึ่งมิใช่ด้วยวิธีการบังคับ แต่โดยการกระทำให้เห็นเป็นตัวอย่างและโดยให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชน นี่เป็นหลักเกณฑ์สำคัญของ “หลักการ” ในการเข้าสู่การก่อสร้างสังคมนิยม
ลักษณะสาระสำคัญอันแรกของระบบสังคมนิยมนั้น ได้แก่การเพิกถอนกรรมสิทธิ์ของเอกชนในบรรดาอุปกรณ์การผลิต แล้วนำอุปกรณ์การผลิตเหล่านั้นมาใช้เพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม แต่การกำหนดหลักเกณฑ์เช่นนี้ขึ้นนั้น หลักการมิได้อ้างอิงว่าเป็นหลักเกณฑ์ที่มาจากหลักจริยธรรมอันไพเราะเพราะพริ้ง แต่ไม่มีผลเป็นจริงเป็นจังไปถึงประชาชนแต่อย่างใด
หลักเกณฑ์เช่นนี้มีที่มาจากเหตุผลที่เห็นได้ง่ายๆ ในข้อที่ว่ากรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลในบรรดาอุปกรณ์การผลิตนั้น ตามความจริงแล้วย่อมเหนี่ยวรั้งการผลิต และกีดกันการใช้กำลังผลิตที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้นไว้มิให้นำออกใช้เต็มตามกำลังผลิตที่มีอยู่
เพราะฉะนั้น การโอนกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลไปให้แก่สังคมส่วนรวม จึงเป็นการตบแต่งพื้นที่ให้เรียบร้อยเท่านั้น งานต่อไปจึงได้แก่การคลี่คลายอย่างมีแผนการและมีสำนึกในบรรดากำลังผลิต
การที่กำลังผลิตยังคงล้าหลังอยู่นั้น ก็เนื่องมาแต่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม กล่าวคือเนื่องมาแต่วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่คอยเหนี่ยวรั้งการผลิตอยู่เนืองนิจ เนื่องมาแต่การผลิตเพื่อนำออกขายในตลาด และเพราะว่าภายในลัทธิเศรษฐกิจทุนนิยมนั้นตลาดย่อมอยู่ในความจำกัด เหตุฉะนั้นความเติบโตของกำลังการผลิตจึงพลอยถูกจำกัดไปด้วย เพราะว่าการผูกขาดในทางการค้า จะรวมเอาการคิดประดิษฐ์เครื่องจักรและอื่นๆ ไปไว้ในครอบครองเสียฝ่ายเดียวและกีดกันมิให้การประดิษฐ์หรือค้นคว้าเหล่านั้น ได้นำออกใช้อย่างกว้างขวางและตามวิธีการของลัทธิทุนนิยมนั้นย่อมไม่อาจจัดให้การผลิตเป็นการผลิตที่มีแผนการได้ เพราะนายทุนแต่ละคนต่างก็แย่งกันเป็นใหญในตลาด จึงไม่มีการขยายตัวอย่างมีระเบียบ
เพราะว่ารัฐในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมจำต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากเพื่อเตรียมสงคราม ดังบทพระราชนิพนธ์ทีว่ายามสงบเตรียมรบให้พร้อมสรรค์.. เพราะว่าลัทธิเศรษฐกิจทุนนิยมได้แบ่งแยกงานที่ใช้มือออกต่างหากจากงานที่ใช้สมอง และเพราะว่าเศรษฐกิจทุนนิยมได้ปล่อยให้ผู้คนจำนวนแสนจำนวนล้านต้องว่างงาน
เพราะฉะนั้นบรรดาโรงงานและวิสาหกิจต่างๆ จึงต้องเปลี่ยนรูปการองค์การเสียใหม่ และจะต้องจัดให้กิจการเหล่านั้นดำเนินไปให้ทันสมัยยิ่งขึ้น เพื่อจะได้ประสบความสำเร็จในการยกระดับการผลิตให้สูงขึ้นไป ทั้งนี้โดยวัตถุประสงค์เพื่อยกมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น
บทความที่๔๔๕.ลัทธิสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ล้าสมัยและล่มสลาย?(๔)
ระบบสังคมนิยมก็เช่นเดียวกับระบบอื่นๆ ที่ผ่านมา ในข้อที่ว่า ตัวมูลธาตุของระบบเก่านั้นเองที่ได้ให้กำเนิดระบบใหม่ขึ้นมา ระบบสังคมนิยมก็เช่นกัน มีขึ้นได้ก็แต่โดยอาศัยมูลธาตุของสังคมที่ได้มีอยู่ก่อนแล้ว กล่าวคือเป็นสังคมที่คลอดออกจากครรภ์ของสังคมทุนนิยม
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นในทางเศรษฐกิจ ศีลธรรม และทางปัญญาหรือในทางใดๆ ก็ดี สังคมนิยมที่กำเนิดออกใหม่นั้น ก็จะยังคงมีร่องรอยที่ได้มาจากสังคมเก่าหรือสังคมทุนนิยม
ความจริงแล้ว การคลี่คลายที่มีอยู่ในสังคมทุนนิยมนั้นเอง ทีได้ตระเตรียมลู่ทางให้แก่การกำเนิดของลัทธิสังคมนิยม และบอกให้รู้ว่าลักษณะของการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปฉันใด
การตระเตรียมที่สังคมทุนนิยมได้จัดแจงไว้ให้นั้น ได้แก่การจัดแจงให้การผลิตกลายเป็นการผลิตที่มีลักษณะเป็นการผลิตของสังคมยิ่งขึ้น ทั้งนี้หมายความว่าพวกนายทุนได้จัดแจงให้คนงานได้มารวมกันเป็นหมู่ใหญ่มากขึ้นๆ โรงงานต่างๆ ได้ขยายใหญ่โตออกไปทุกที และการดำเนินการของการผลิตก็ได้กวาดต้อนผู้คนให้มารวมกันเป็นหมู่ใหญ่ในการทำงานแปลงวัตถุดิบให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จรูป ความเกี่ยวข้องอาศัยซึ่งกันและกันในหมู่ชน ก็ขยายตัวกว้างขวางออกไปเป็นอันมาก ระบบทุนนิยมได้ทำลายพันธะและความสัมพันธ์แบบศักดินาย่อยยับลงไปนานแล้ว
แต่จากการคลี่คลายของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมนั้นเอง ที่ได้สร้างความสัมพันธ์อันใหม่ขึ้นมา ซึ่งมีลักษณะเป็นความสัมพันธ์อันแผ่คลุมไปอย่างไพศาล จนกระทั่งว่าแต่ละคนที่อยู่ในสังคมจะพลอยได้รับความกระทบกระเทือนทั่วกันไปไม่มากก็น้อย ในเมื่อมีอุบัติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดเกิดแก่สังคมส่วนรวม อย่างเช่นวิกฤติการณ์ยุค IMF ในปัจจุบันเป็นต้น
อย่างไรก็ดี การผลิตแบบเศรษฐกิจทุนนิยม ถึงแม้ว่าจะมีความโน้มเอียงไปในลักษณะที่กล่าวแล้วข้างต้น แต่ความจริงก็มีอยู่ว่า ผลิตผลที่มวลสมาชิกของสังคมได้ออกน้ำพักน้ำแรงร่วมมือกันผลิตนั้น ก็ได้ตกไปเป็นทรัพย์สมบัติของเอกชนหรือกลุ่มชนเล็กๆ กลุ่มหนึ่งเท่านั้น แทนที่จะตกไปเป็นสมบัติของสังคมหรือของมวลสมาชิกผู้ออกแรงงานผลิตทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นงานขั้นแรกในการก่อสร้างสังคมสังคมนิยม จึงอยู่ที่ว่าจะต้องจัดการให้สังคมได้รับมอบผลิตผลซึ่งสังคมได้ผลิตขึ้น และการจัดการดังกล่าวนี้ก็หมายถึงว่า สังคมในฐานที่เป็นส่วนรวม จักต้องเป็นผู้ครอบครองเครื่องมือและปัจจัยการผลิต ซึ่งภายใต้เศรษฐกิจระบบทุนนิยม บรรดาเครื่องมือและปัจจัยการผลิต เอกชนกลุ่มหนึ่งได้เข้าครอบครองถือไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของตน
พึงเข้าใจว่าการเข้าครอบครองเครื่องมือและปัจจัยการผลิตของสังคมจะบังเกิดขึ้นได้ ก็แต่โดยการอาศัยมูลฐานที่สังคมใหม่ได้รับมรดกตกทอดมาจากสังคมเก่าเท่านั้นเอง และก็เฉพาะแต่กิจการของบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้นที่สังคมจะเข้าถือเอาในทันที
อนึ่ง พึงรู้ไว้ด้วยว่า กิจการใหญ่ๆเหล่านั้น ก็มิใช่ใครที่ไหนเลยเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น แท้จริงการคลี่คลายทางเศรษฐกิจของระบบทุนนิยมนั้นเอง ที่ได้ตระเตรียมการเหล่านี้ไว้ สำหรับสังคมใหม่ จะเข้ารับเอามาดัดแปลงให้เป็นประโยชน์แก่มวลสมาชิกของสังคม ซึ่งเป็นผู้ออกแรงผลิต โดยแท้จริงต่อไป
ตามความเป็นจริงนั้น ได้มีการแยกกันอย่างสิ้นเชิงอยู่แล้ว ระหว่างผู้เป็นเจ้าของและการดำเนินงานในการผลิตในบริษัทใหญ่ๆ เหล่านั้น มีห่วงเชื่อมโยงความสัมพันธ์อยู่เพียงห่วงเดียวเท่านั้น คือ เงินปันผลกำไรหรือดอกเบี้ยที่บริษัทได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น
ด้วยเหตุที่การผลิตนั้นได้ดำเนินไปโดยคณะบุคคลที่เป็นคนงานหรือลูกจ้างอยู่เป็นปกติภาพแล้ว การย้ายการครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ในกิจการหรือสมบัติดังกล่าวไปสู่สังคมส่วนรวม จึงไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกระเทือนการงานของปวงชนคนงานและลูกจ้างแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นสังคมจึงอาจเข้าถือเอากิจการของบริษัทใหญ่ๆ ดังกล่าวนี้ไว้ได้ในทันที
บทความที่๔๔๔.ลัทธิสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ล้าสมัยและล่มสลาย?(๓)
(จากหนังสือของคุณสุพจน์ ด่านตระกูล ปี 2541)
ลัทธิสังคมนิยม (Socialism) คือระบบการจัดระเบียบสังคมระบบหนึ่ง ซึ่งเจ้าของความคิดหรือเจ้าของลัทธิเชื่อว่าเป็นระบบที่ยังความเป็นธรรมให้กับสังคม และยังความผาสุกให้กับสมาชิกแห่งสังคมอย่างถ้วนหน้า
ระบบนี้เกิดจากความทุกข์ยากของคนส่วนใหญ่ในสัคมที่ต้องตรากตรำทำงานหนัก อันเนื่องมาจากถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกกดขี่ขูดรีดจากเจ้าของที่ดินพวกเจ้าศักดินาและวัดในศาสนาคริสต์ รวมทั้งเจ้าของโรงงานหัตถกรรม ซึ่งเป็นคนส่วน้อยในสังคม
จากการเอารัดเอาเปรียบและกดขี่ขูดรีดของคนในสังคมเดียวกัน จึงก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม ระหว่างคนส่วนใหญ่ผู้ทุกข์ยากกับคนส่วนน้อยที่เอารัดเอาเปรียบสังคม ทำให้สังคมไม่ปกติสุข มีการทะเลาะเบาะแว้ง มีการลักขโมย มีการลงโทษ
ด้วยเหตุนี้ นักบุญ นักปราชญ์ และผู้รักความเป็นธรรมมากมายหลายท่าน ได้ศึกษาค้นคว้าหาหนทางที่จะช่วยเหลือคนส่วนใหญ่ให้ได้รับความเป็นธรรม และเพื่อความเป็นปกติสุขของสังคม
นักบุญ นักปราชญ์และท่านผู้รักสัจจะทั้งหลายเหล่านั้นจึงได้เสนอโลกในฝันหรือในอุดมคติอย่างนามธรรม เพื่อความหวังของมหาชน เช่น โลกพระศรีอารย์ โลกคอมมิวนิสต์ โลกมะฮะดี เป็นต้น
จากโลกในฝันหรือในอุดมคติอย่างนามธรรมของนักบุญ นักปราชญ์ และผู้รักความเป็นธรรมในเบื้องต้น ได้ถูกเสนอออกมาเป็นรูปธรรมในทางทฤษฎี โดยนักบุญ นักปราชญ์และผู้รักความเป็นธรรมในเวลาต่อมาอีก อย่างเช่น ข้อเสนอหรือทฤษฎีของบาเบิฟ(1760)ของบลองกี(1798)ของโรเบิร์ท โอเว่น(1800)และแซงต์ซีมอง(1802)และฟูริเอ(1808)
โดยที่นักบุญ นักปราชญ์ และผู้รักความเป็นธรรมดังกล่าวนี้เป็นผู้มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับนับถือของคนในสังคมและเสนอทฤษฎีออกมาอย่างรูปธรรม สังคมจึงเรียกความรู้หรือทฤษฎีนั้น ตามชื่อของเจ้าของทฤษฎี หรือผู้เสนอความรู้นั้นๆ เช่น ทฤษฎีของบาเบิฟ ทฤษฎีของบลองกี เป็นต้น ในเวลานั้นคำว่า “สังคมนิยม” ยังไม่มีใครรู้จัก
ท่านปรีดี พนมยงค์ ได้อธิบายถึงการเกิดขึ้นของคำว่า “สังคมนิยม” ไว้ในบทความของท่านเรื่อง “เราจะต่อต้านเผด็จการได้อย่างไร”* มีความตอนหนึ่งว่าดังนี้
“ต่อมาใน ค.ศ.๑๘๒๖ วารสารของอังกฤษชื่อ “COOPERATION MAGAZINE” ได้เรียกลัทธิเศรษฐกิจจำพวกที่กล่าวนี้เป็นภาษาอังกฤษว่า Socialism ครั้นแล้วใน ค.ศ.๑๘๓๒ วารสารฝรั่งเศสชื่อ GLOBE ได้เรียกลัทธิจำพวกที่กล่าวนี้เป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Socialisme ตั้งแต่นั้นมาก็มีผู้ใช้ศัพท์อังกฤษและฝรั่งเศสดังกล่าวนี้เรียกลัทธิจำพวกดังกล่าวที่เป็นอยู่ในสมัยนั้นและที่จะเป็นไปในสมัยต่อมา(เช่น สังคมนิยมของ ฟรูดอง ขอเออเกน-ดืห์ริง และคาร์ล มาร์กซ์-ผู้เขียน)และได้ใช้ศัพท์นั้นเรียกย้อนหลังไปถึงลัทธิที่มีผู้คิดขึ้นทำนองโซเชียลลิสม์ตั้งแต่สมัยโบราณเป็นต้นมา(อย่างเช่นความคิดของ เซอร์ โธมัส มัวร์ ในบทประพันธ์ชื่อ “ยูโธเปีย”** ในศตวรรษที่๑๖ เป็นต้น-ผู้เขียน)
เดิมในประเทศไทยเรียกลัทธิจำพวกที่กล่าวนี้ โดยทับศัพท์ทั้งภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสดังกล่าวนั้น แต่ภายหลัง พ.ศ.๒๔๗๕ จึงมีผู้ถ่ายทอดเป็นคำไทยว่า “สังคมนิยม”
ด้วยเหตุนี้สังคมนิยมจึงมีมากมายหลายชนิด ท่านปรีดีฯ บอกไว้ในบทความที่อ้างถึงข้างต้นว่า มีประมาณ ๘๐ ชนิด(รวมทั้งหลายชนิดในบ้านเรา)แต่อาจแบ่งเป็นจำพวกใหญ่ๆ ได้ดังนี้ คือ
สังคมนิยมศักดินา Feudal Socialism
สังคมนิยมผู้มีทุนนิยม Petti Bourgeois Socialism
สังคมนิยมจารีตนิยม Conservative Socialism
สังคมนิยมเจ้าสมบัติ Bourgeois Socialism
สังคมนิยมเพียงอุดมคติ Utopian Socialism
สังคมนิยมชนชั้นผู้ไร้สมบัติ Proletarian Socialism
สังคมนิยมวิทยาศาสตร์ Scientifie Socialism
สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ Communist Socialism
* หมายเหตุ : โปรดอ่านบทความ "เราจะต่อต้านเผด็จการได้อย่างไร" ได้ที่
http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/03/blog-post_14.html
http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/03/blog-post_19.html
http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/03/blog-post_4955.html
http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/03/blog-post_20.html
http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/03/blog-post_21.html
** หมายเหตุ : โปรดอ่านบทความ "ยูโธเปีย" ได้ที่
http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/02/blog-post_2164.html
Wednesday, February 25, 2009
บทความที่๔๔๓.ลัทธิสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ล้าสมัยและล่มสลาย?(๒)
บทความที่๔๔๒.ลัทธิสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ล้าสมัยและล่มสลาย?(๑)
บทความที่๔๔๑.การอภิวัฒน์ในนิคารากัว
Monday, February 23, 2009
บทความที่๔๔๐.จดหมายจากท่านปรีดีถึงนายสังข์ พัธโนทัย
จดหมายนายปรีดี พนมยงค์ ถึง นายสังข์ พัธโนทัย
วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๙
คุณสังข์ พันธโนทัย ที่รัก
ผมได้รับจดหมายของคุณฉบับลงวันที่ ๑๒ เดือนนี้กับหนังสือ “ความนึกในกรงขัง” แล้ว ด้วยความรู้สึกขอบคุณมากในไมตรีจิตและความเปนธรรมที่คุณมีต่อผม.
ผมมีความยินดีมากที่ได้ทราบจากคำยืนยันของคุณว่า ท่านจอมพล ป.พิบูลสงครามมิได้เปนศัตรูของผมเลย ท่านมีความรำลึกถึงความหลังอยู่เสมอและอยากจะเห็นผมกลับประเทศทุกเมื่อ. แม้ว่าเหตุการณ์ทางการเมืองจะเปนดังที่คุณกล่าวว่า เหตุการณ์ไม่ช่วยเราเสมอไปและจำเปนต้องใช้ความอดทนอยู่มากก็ตาม แต่ผมก็มีความหวังว่าโดยความช่วยเหลือของคุณ ผู้ซึ่งมีใจเปนธรรมและมีอุดมคติที่จะรับใช้ชาติและราษฎรอย่างบริสุทธิ์ ผมคงจะมีโอกาศทำความเข้าใจกับท่านจอมพล ป.พิบูลสงครามถึงเจตนาดีของผมในส่วนที่เกี่ยวแก่ท่านจอมพล ป.พิบูลสงครามและการงานของชาติและราษฎรที่เราทั้งหลายจะต้องร่วมมือกันเพื่อความเปน เอกราชสมบูรณ์ของชาติ. ผมจึงมีความปรารถนาเปนอย่างมากที่จะได้มีโอกาศพบกับคุณในเวลาไม่ช้านักเพื่อปรึกษาหารือกับคุณถึงเรื่องนี้ และเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงอีกหลายประการซึ่งบางทีคุณอาจต้องการทราบ.
ผมเห็นว่าคุณได้บำเพ็ญบุญกุศลอย่างแรงในการที่คุณได้แจ้งให้ผมทราบถึงบันทึกที่คุณเผ่าได้สอบถามปากคำคุณเฉลียว ชิต บุศย์ ก่อนถูกยิงเป้าที่ยืนยันว่า ผู้บริสุทธิ์ทั้งสามรวมทั้งตัวผมมิได้มีส่วนพัวพันในกรณีย์สวรรคต. ดังนั้น นอกจากผมขอแสดงความขอบคุณเปนอย่างยิ่งมายังคุณ ผมจึงได้ตั้งจิตอธิษฐาน ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยโปรดดลบันดาลให้คุณมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป และประสบทุกสิ่งที่คุณปรารถนาทุกประการ.
ผมขอส่งความรักและนับถือมายังคุณ.
ปรีดี พนมยงค์
*ระหว่างสงครามโลกครั้งที่๒ นายสังข์ พัธโนทัย รับราชการในกรมโฆษณาการ ถือว่าเป็นคนสนิทของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในสมัยนั้น ภายหลังได้ลาออกจากราชการและระหว่างที่ติดต่อนายปรีดี พนมยงค์ เขาเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เสถียรภาพ(รายวัน)ล่าสุดก่อนเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๙(อายุ ๗๒ปี) เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ประโคนชัย(รายสัปดาห์)
Sunday, February 22, 2009
บทความที่๔๓๙.สัมภาษณ์นายปรีดี พนมยงค์กับกรณีสวรรคต
(จากหนังสือในชุด ๑๐๐ ปีชาตกาลรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ในปี ๒๕๔๓)
บุคคลสำคัญคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องในกรณีสวรรคต มากมายทั้งความรับผิดชอบในฐานะหัวหน้ารัฐบาลขณะที่มีกรณีสวรรคตเกิดขึ้น และมีเสียงกล่าวหาว่าพัวพันในทางร้ายแรงเรื่อยมา ก็คือ นายปรีดี พนมยงค์
แม้อายุความเกี่ยวกับกรณีสวรรคตจะสิ้นสุดลงหลายปีแล้ว แต่นายปรีดี พนมยงค์ ก็ยังไม่กลับเมืองไทยหรือกลับเมืองไทยไม่ได้ ทั้งนี้น่าจะเนื่องมาจากที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันกรณีนี้นั่นเอง
มีคนเป็นอันมากอยากรู้ว่านายปรีดี พนมยงค์ ได้พูดเกี่ยวกับกรณีสวรรคตอย่างไรบ้างหรือไม่ เรื่องนี้ปรากฎว่านายวีระ โอสถานนท์ ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ “มหาราษฎร์” ได้สัมภาษณ์ นายปรีดี พนมยงค์ ที่บ้านพักชานกรุงปารีสค่อนข้างยาวซึ่งใจความตอนหนึ่งมีว่า
มีผู้พูดกันว่า จอมพล ป.และ พล.ต.อ.เผ่าได้หลักฐาน(กรณีสวรรคต)ใหม่นั้น ท่านจะบอกได้หรือไม่ว่าคืออะไร
แม้แต่ศาลฎีกาซึ่งมีผู้พิพากษาคณะเดียว โดยมิได้มีการประชุมใหญ่ของผู้พิพากษาศาลฎีกาได้ตัดสินประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศริน ไปแล้วก็ตาม แต่รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ส่งตัวแทนไปพบผมในประเทศจีน แจ้งว่า ได้หลักฐานใหม่ที่แสดงว่าผู้ถูกประหารชีวิตทั้งสามคนและผมเป็นผู้บริสุทธิ์
ฉะนั้นจอมพลพิบูลฯ จึงจะเสนอผู้แทนราษฎรให้ออกกฎหมายให้มีการพิจารณาคดีใหม่ด้วยความเป็นธรรม
การเมืองซึ่งบัดนี้มันก็ผ่านพ้นไปแล้ว เพราะว่าผมเป็นผู้บริสุทธิ์ คนเราบริสุทธิ์เราไม่ต้องกลัวความจริง ถ้าผมเป็นคนทำจริงแล้ว ถ้าเป็นคนที่เรียกว่าไปทำ(ปลงพระชนม์)จริงแล้ว ผมไม่กล้ากลับเมืองไทยหรอก
เราเกิดมามันก็ตายกันทั้งนั้น แต่จะตายอย่างขุนเขา หรือจะตายแบบขนนก แต่ผมคิดว่าถ้าจะตายก็ตายอย่างที่เรียกว่าเป็นประโยชน์ นี่ผมนึกอย่างนี้
บทความที่๔๓๘.บทสัมภาษณ์หลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์(จบ)
นเรศ-ที่ว่านี้ก็แสดงว่าท่านก็ยอมรับว่าได้มีและได้ทราบข่าวลือหลายแง่หลายมุมอยู่เหมือนกันในระหว่างนั้นใช่ไหมครับ?
นเรศ-การเสกสรรปั้นแต่งที่แนบเนียนก็ย่อมจะมีขึ้นได้ ผมได้ยินเขาพูดกันอยู่
นเรศ-นี่ไม่เห็นเลยหรือครับ?
นเรศ-หมายความว่าที่ลือว่า นายปรีดีฆ่าในหลวงก็ไม่มีเค้า?
นเรศ-ที่ลือว่าอุบัติเหตุด้วยน้ำมือคนอื่นก็ไม่จริง?
นเรศ-ที่ลือว่าทรงยิงพระองค์เองก็ไม่เป็นความจริง?
นเรศ-ถ้ากระนั้นก็เหลือทางเดียว
นเรศ-อุบัติเหตุใช่ไหมครับ?
นเรศ-ผมเห็นจะต้องกราบรบกวนท่านต่อไป
นเรศ-ท่านรู้จักท่านปรีดี พนมยงค์ มากน้อยเพียงใด?
นเรศ-กลับจากเมืองนอกแล้ว นายปรีดีเคยชวนท่านเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้างไหมครับ?
นเรศ-ความสนิทสนมกันล่ะครับ ?
นเรศ-การมีความเห็นแย้งของท่าน เป็นที่พูดกันอย่าไรบ้างหรือไม่ในบรรดาสามจำเลย รวมทั้งนายปรีดีหรือเรือเอกวัชรชัย?
นเรศ-ได้ข่าวว่า พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจและตำรวจในระยะนั้น “ข้องใจ” ท่านมาก
นเรศ-ท่านตอบเขาอย่างไร?
นเรศ-การขู่เข็ญอย่างอื่นมีอะไรบ้างไหมครับ?
นเรศ-ทางด้านศาลอุทธรณ์ เมื่อท่านมีความเห็นแย้งครั้งแรก มีปฏิกิริยาอะไรบ้างหรือเปล่าครับ?
นเรศ-ท่านตอบโต้อย่างไร?
นเรศ-ในที่สุดก็อ่านความเห็นแย้งของท่านต่อท้ายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
นเรศ-ท่านคิดว่า ความเห็นแย้งของท่านเมื่อเทียบกับคำพิพากษาของทั้งสามศาลแล้วเป็นอย่างไร?
นเรศ-ท่านคิดว่าประชาชนจะพูดถึงความเห็นแย้งของท่านอย่างไร โดยเฉพาะในอนาคต?
นเรศ-ตามที่นายปรีดี พนมยงค์ ให้สัมภาษณ์นายวีระ โอสถานนท์ ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ “มหาราษฎร์” ว่า จอมพล ป. กับ พล.ต.อ.เผ่า ได้หลักฐานใหม่ ท่านคิดว่าในทางปฏิบัติ หากว่าเป็นความจริงอย่างนั้นจะทำอย่างไร?
นเรศ-ท่านคิดบ้างไหมว่า วันเวลาสำหรับการนำหลักฐานในแต่ละคดีมาสู่ศาลนั้น อาจจะเป็นอุปสรรคหรือจำกัดข้อเท็จจริง หรือทำให้ได้ข้อเท็จจริงเพียงเท่านั้น แต่ไม่ใช่ทั้งหมด?
นเรศ-คำพิพากษาของศาลย่อมถูกจำกัดด้วยคำฟ้องของโจทก์หรือข้อต่อสู้ของจำเลยในแต่ละคดี นั่นหมายความว่า ข้อเท็จจริงแท้ๆ อาจย่อหย่อนได้ไม่มากก็น้อย ท่านคิดว่าจะเป็นไปได้อย่างนี้บ้างหรือไม่?
นเรศ-ผมขอบพระคุณท่านสำหรับความกรุณาให้ผมได้สัมภาษณ์ตลอดมา ซึ่งผมคิดว่า สัมภาษณ์ครั้งนี้แล้วก็คงจะไม่ต้องสัมภาษณ์ท่านอีกแน่ๆ
นเรศ-ขอบพระคุณท่านครับ
บทความที่๔๓๗.บทสัมภาษณ์หลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์(๑)
Friday, February 20, 2009
บทความที่๔๓๖.สำนึกแห่งสัจจะทุกภพชาติ
เราผู้เดียวเป็นผู้ชำนาญในสิ่งที่เป็นประโยชน์จะเข้าไปสู่ป่าใหญ่,อันทำให้เกิดปีติแก่พระโยคาวจร น่ารื่นรมย์เป็นที่อยู่ของหมู่ช้างตกมัน,โดยเร็วพลัน.
เราผู้เดียวจักอาบน้ำในซอกเขาอันเยือกเย็น ในป่าอันเย็นมีดอกไม้บานสะพรั่ง จักจงกรมให้เป็นที่สำราญใจ.
เมื่อไหร่เราจึงจักได้อยู่ในป่าใหญ่อันน่ารื่นรมย์แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสอง จักเป็นผู้ทำกิจสำเร็จหาอาสวะมิได้ ขอความประสงค์ของเราผู้ปรารถนาจะทำดังนี้จงสำเร็จเถิด.
เราจักยังความประสงค์ของเราให้สำเร็จจงได้ ผู้อื่นไม่อาจทำผู้อื่นให้สำเร็จได้ เราจักผูกเกราะคือความเพียร จักเข้าไปสู่ป่าใหญ่ เรายังไม่บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว จักไม่ออกไปจากป่านั้น.
เมื่อลมพัดเย็นมา กลิ่นดอกไม้ก็หอมฟุ้งมา เราจักนั่งบนยอดเขา ทำลายอวิชชา เราจักได้รับความสุขรื่นรมย์อยู่ด้วยวิมุตติสุขในถ้ำที่เงื้อมเขาซึ่งดารดาษไปด้วยดอกโกสุม มีภาคพื้นเยือกเย็นอันมีอยู่ในป่าใหญ่เป็นแน่.
เรามีความดำริอันเต็มเปี่ยม เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ เป็นผู้สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี”
จากขุททกนิกาย เถรคาถา เอกวิหาริยเถรคาถา